การแจ้งเตือนข่าวปลอมช่วยให้คุณจำข้อเท็จจริงได้ดีขึ้นหรือไม่?

ต้องบอกว่าโลกเราในยุคปัจจุบันนั้น ข่าวปลอมแพร่กระจายเหมือนไวรัส  นักวิจัยจาก Stanford Engineering ได้ทำการวิเคราะห์การแพร่กระจายของข่าวปลอมราวกับว่ามันเป็นสายพันธุ์ของไวรัสจริง ๆ อย่างอีโบลา 

นักวิจัยได้ทำการปรับรูปแบบการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวปลอมที่เหมือนเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่เชื้อสู่คนได้มากกว่าหนึ่งครั้ง เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นว่าข่าวปลอมแพร่กระจายและดึงดูดผู้คนได้อย่างไร

นักวิจัยศึกษาว่ามีกี่คนที่ “อ่อนแอ” ต่อข่าวปลอม  นักวิจัยยังดูด้วยว่ามีคนจำนวนเท่าใดที่สัมผัสกับข่าวปลอมพวกเขา “ติดเชื้อ” ได้อย่างไร (เชื่อเรื่องนี้) และมีกี่คนที่มีแนวโน้มที่จะแพร่กระจาย “การติดเชื้อ” (ข้อมูลที่ผิด) ไปยังผู้อื่น

เช่นเดียวกับไวรัสการศึกษานี้มีข้อสรุปที่น่าสนใจได้ว่าเมื่อเวลาผ่านไปการได้เจอกับข่าวปลอมหลายสายพันธุ์ สามารถลดความต้านทานของบุคคล และทำให้พวกเขาเริ่มเชื่อข่าวปลอมน้อยลง

ยิ่งหลายครั้งที่คน ๆ หนึ่งต้องเผชิญกับข่าวปลอมประเภทเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมาจากแหล่งที่มีอิทธิพลที่พวกเขาศรัทธาเป็นทุนเดิมอยู่แล้วนั้น พวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะถูกชักจูงมากขึ้นไม่ว่าข่าวดังกล่าวจะเป็นจริงก็ตามที

“สิ่งที่เรียกว่า ‘กฎอำนาจ’ ของโซเชียลมีเดียซึ่งเป็นรูปแบบที่มีการบันทึกไว้อย่างดีในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ถือได้ว่าข้อความจะถูกแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วที่สุดหากมีการกำหนดเป้าหมายไปที่ผู้มีอิทธิพลจำนวนน้อยแต่มีจำนวนผู้ติดตามจำนวนมาก” นักวิจัยอธิบายใน การศึกษา

การวิจัยใหม่เกี่ยวกับข่าวปลอมได้ค้นพบบางสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับข้อมูลผิดๆ

การศึกษาในปี 2020 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Psychological Science สำรวจแนวคิดที่ว่าการแจ้งเตือนเรื่องข่าวปลอมสามารถช่วยให้คุณจดจำข้อเท็จจริงได้ดีขึ้นหรือไม่

การเปิดรับข่าวสารปลอมอาจทำให้เกิดการจดจำและเชื่อข้อมูลที่ผิดพลาด ในการทดลองสองครั้งทีมงาน (นำโดย Christopher N.) ได้ทำการทดลองดังต่อไปนี้

ทีมงานได้นำหัวข้อข่าวจากเว็บไซต์ข่าวที่เป็นข้อเท็จจริง แล้วสร้างข้อความของข้อมูลที่ผิดเข้าไป จากนั้นให้อาสาสมัครอ่านข้อความที่ทำการแก้ไขข้อมูลจากต้นฉบับให้ผิด 

จากนั้นจะมีการแจ้งเตือนข้อมูลที่ไม่ถูกต้องให้กับอาสาสมัครรับรู้ ก่อนที่จะมีการแก้ไขบางอย่างแต่ไม่ใช่ทั้งหมดของที่ผิด หลังจากนั้นอาสาสมัครจะอ่านข่าวที่ถูกแก้ไข และให้ระบุว่าพวกเขาจำการแก้ไข และข้อมูลที่ผิดได้หรือไม่

ผลการศึกษาพบว่าการการแจ้งเตือนข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนั้น จะช่วยเพิ่มความจำและความถูกต้องของความเชื่อของอาสาสมัครได้ และเมื่อมีนำข้อมูลที่ผิดทั้งหมดกลับมาใส่ใหม่อีกครั้ง ผู้เข้าร่วมก็สามารถจำได้ว่ามีการแก้ไขเกิดขึ้น

นักวิจัยในโครงการอธิบายว่า : “การค้นพบนี้แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์หนึ่งที่การแจ้งเตือนข้อมูลที่ผิดสามารถลดผลกระทบเชิงลบของการรับข่าวปลอมในระยะสั้น”

ข้อสรุป: ข้อมูลที่ผิดพลาดของข่าวปลอมซึ่งได้รับการแก้ไขโดยข้อมูลที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงสามารถปรับปรุงทั้งความจำและความถูกต้องของความเชื่อในข้อมูลจริงของผู้คนที่ได้รับข่าวดังกล่าวได้

“เราตรวจสอบผลกระทบของการแจ้งเตือนข้อมูลที่ผิด โดยการศึกษาของเรารวมถึงข้อมูลที่ผิด ๆ เกี่ยวกับข่าวปลอมในชีวิตประจำวันซึ่งได้รับการแก้ไขโดยข้อความที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อแสดงให้เห็นว่าการช่วยเตือนดังกล่าวนั้นสามารถช่วยเหลือพวกเขาได้นั่นเอง” นักวิจัยอธิบาย

ต้องบอกว่าเป็นเรื่องน่าสนใจอย่างยิ่ง กับการทดลองครั้งนี้ เพราะตอนนี้ ข่าวปลอม นั้นได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว และรุนแรงมาก ๆ โดยเฉพาะในเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งทำให้มีปัญหาเป็นอย่างมากต่อผู้รับข่าวสาร

แต่ก็ต้องบอกว่า การแก้ไขข้อมูลที่ผิดไปแล้วนั้น มันมักจะไปไม่ถึง คนที่ได้รับรู้ข่าวผิด ๆ ได้ครอบคลุมทั้งหมด เพราะจะสังเกตุได้ว่า การแชร์ การ engagement ของข่าวปลอมนั้น มักจะสูงลิ่ว

แต่เมื่อมีข่าวจริงมาแก้ไข แม้จะถูกแชร์จากคน ๆ เดิมก็ตาม แต่ ปริมาณผู้คนที่ได้รับข่าวสารข้อเท็จจริงนั้นมันไม่เท่าเดิมอีกต่อไป มันได้กลายเป็นช่องว่างขนาดใหญ่ของผู้ที่ได้รับข้อมูลผิด ๆ ไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับข้อมูลที่มีการแก้ไขให้ถูกต้อง

ซึ่งงานวิจัยนี้ก็ชี้ให้เห็นว่า หากมีการแจ้งเตือนไป ให้ทุกคนที่ได้รับข่าวปลอมได้รับรู้ถึงข้อมูลข้อเท็จจริง ก็จะช่วยเหลือพวกเขาได้อย่างมาก ให้เขาสามารถ ปรับปรุงทั้งความจำและความเชื่อในข้อมูลของพวกเขาได้ในท้ายที่สุดนั่นเองครับผม

References : https://engineering.stanford.edu/magazine/article/how-fake-news-spreads-real-virus
https://www.psychologicalscience.org/news/releases/2020-oct-fake-news-remember.html
https://www.forbes.com/sites/bryanrobinson/2020/10/17/a-new-study-shows-fake-news-may–benefit-your-memory/?sh=2b31ee32687b
https://journals.sagepub.com/doi/10.1177/0956797620952797#