Geek China EP8 : China Internet Landscape and Digital Giants Part 3

2001-2008 ช่วงยุคของอาณาจักรทางอินเตอร์เน็ตในประเทศจีนเริ่มแผ่ขยาย การกำเนิดและการนำไปใช้งานของอินเตอร์เน็ตจากยุคที่แล้วเริ่มทำให้ผู้คนในประเทศเปิดหูเปิดตามากยิ่งขึ้น ผู้คนสามารถเข้าถึงความรู้ ข้อมูลข่าวสาร สินค้าและบริการ

อีกทั้งเป็นยุคที่สร้างโอกาสแห่งผู้ประกอบการ (entrepreneurs) หลายต่อหลายคนที่ต้องการสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ต่อมา ภาคนี้จะเล่าต่อถึง กลุ่ม Web Portal ขนาดใหญ่ที่กำเนิดจากยุคก่อนหน้าและถือเป็นยุคที่ยิ่งใหญ่ของกลุ่มอำนาจเก่าอย่าง SNS คือ
• Sohu (NASDAQ: SOHU)
• Netease (NASDAQ:NTES)
• Sina (NASDAQ: SINA)

ก่อนที่จะค่อยๆแพ้ไปให้กับ 3 ก๊กแห่งวงการอินเตอร์เน็ต หรือ The Three Kingdoms อย่าง BAT
• Baidu (NASDAQ: BIDU)
• Alibaba (NYSE: BABA/ SEHK:9988)
• Tencent (SEHK: 700)

นอกเหนือจากการสร้างอาณาจักรอย่างดุเดือดของ BAT ยุคนี้เราจะได้พบกับการกำเนิดของบริษัททางอินเตอร์เน็ตที่เกิดในยุคนี้ ได้แก่
• Dianping (ยุคก่อนที่จะมีการรวมตัวกับ Meituan)
JD.com (NASDAQ: JD)
• Qihoo 360 (SHA: 601360)
• Tudou (ก่อนที่จะถูกรวมตัวกับ Youku)
• Youku (NYSE:YOKU)

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3o0xQoL

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3lVOvId

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/lxL4-kUFoe4

References Image : https://digiday.com/media/inside-chinas-triopoly-baidu-tencent-alibaba-dominate-market/

Digital Propaganda กับการปรับเปลี่ยนวิธีคิดของมนุษย์ ให้กลายเป็นรูปแบบ Logic มากยิ่งขึ้น

Propaganda หรือ การโฆษณาชวนเชื่อต้องบอกว่าเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับโลกของเรามาอย่างยาวนานมากแล้ว แต่ตอนนี้ มันกำลังวิวัฒนการใหม่ผ่านรูปแบบของข้อมูล Digital ที่เกิดขึ้นในโลกของ Social Platform ต่าง ๆ ที่รายล้อมอยู่รอบตัวเราในปัจจุบัน

ที่ผ่านมาการ โฆษณาชวนเชื่อนั้น มีทั้งสิ่งที่ดี และ สิ่งที่เลวร้าย กับผลที่ตามมา ซึ่ง ผลของ Propaganda ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดน่าจะเป็น การโฆษณาชวนเชื่อครั้งใหญ่ ครั้งแรกของรัฐบาลเยอรมนี หลังการพ่ายแพ้ของเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

Hitler ได้ใช้ทฤษฎีการโฆษณาชวนเชื่อของเขาซึ่งเป็นฐานที่ทรงพลังสำหรับการขึ้นสู่อำนาจในปี พ.ศ. 2476 ซึ่งโฆษณาชวนเชื่อที่ถูกกรอกใส่หูประชาชนชาวเยอรมนี อย่างบ้าคลั่งในช่วงนั้น ผ่านสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น TV หรือ วิทยุ ถูกผลิตโดยกระทรวงการโฆษณาชวนเชื่อของประชาชนภายใต้การนำของ โจเซฟ เกิ๊บเบลส์

และเมื่อโลกของเราหมุนไปอย่างรวดเร็ว ตอนนี้สื่อที่มีบทบาทหลักในการชี้นำความเห็นของประชาชน ได้กลายมาเป็นแพลตฟอร์มที่อยู่บนโลกออนไลน์ ที่มี Impact สูงต่อสังคมมากกว่าสื่อในยุคเดิมอย่าง TV หรือ วิทยุ ไปเสียแล้ว

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคงจะเป็น Feed ในหน้า Social Network ชื่อดังต่าง ๆ ที่เราเล่นกันในปัจจุบัน ที่แต่ละคนนั้นจะได้เห็น Feed ข้อมูลที่ต่างกันคนละโลก แม้จะเป็นเพื่อนสนิทกันและมีกลุ่มเพื่อนเดียวกันก็ตามที แต่โลกที่เราเห็นในหน้าจอนั้นมันแตกต่างกันสิ้นเชิง

ซึ่งแน่นอนเมื่อเวลาผ่านไป เราก็จะอาจจะเข้าใจผิดว่า ทุกคนเห็นตรงกันกับเราแทบจะทั้งหมดผ่าน Feed หน้าจอที่เราได้รับจากความสนใจของเรา และเมื่อเราอยู่ในภาวะนั้น เราจะถูกชักจูงได้ง่ายมาก ๆ

ซึ่งตัวอย่างเรื่องการเมืองในประเทศเราน่าจะเป็น Case Study ที่แสดงให้เห็นถึงหลักการนี้ได้อย่างชัดเจนมาก ๆ เมื่อเราฝังตัวอยู่ในกลุ่มการเมืองฝั่งนึง ก็จะทำให้เราได้อยู่ในอีกโลกนึงที่แทบไม่ได้รับข้อมูลจากอีกฝั่งเลย

และจะเริ่มคิดว่า ทำไมคนกลุ่มตรงกันข้ามนั้นโง่จัง ซึ่งความจริงแล้ว ทั้งสองฝั่งนั้นคิดในแบบเดียวกันเลยว่าทำไมฝั่งตรงข้ามนั่นโง่จัง เพราะทั้งสองฝั่งนั้นไม่ได้เห็นชุดข้อมูลเดียวกันนั่นเอง

ซึ่งมันได้ส่งผลโดยตรง ให้มนุษย์เรานั้น เริ่มปรับแนวความคิดให้กลายเป็นแบบคอมพิวเตอร์ ซึ่ง ก็มีแค่ Logic 0 หรือ 1 ซึ่งต้องบอกว่ามันได้ปรับแนวคิดของมนุษย์เราทุก ๆ เรื่องไม่เว้นแม้แต่เรื่องของการเมืองอย่างที่เราได้เห็นกันในทุกวันนี้

ทั้งที่ความจริงแล้วนั้น ความคิดเห็นโดยเฉพาะในเรื่องของการเมืองนั้น มันมีรายละเอียดปลีกย่อยอยู่เยอะมาก ๆ ในแต่ละเรื่องที่แตกต่างกันไป แน่นอนว่ามันไม่สามารถที่จะแบ่งได้เหมือน Logic ทางคอมพิวเตอร์ที่มีแค่ 0 หรือ 1

เมื่อคุณแสดงความเห็นอย่างนึงที่เกี่ยวกับการเมืองที่ถูกใจผั่งนึง คุณจะถูกผลักไปอยู่ตรงข้ามของอีกฝั่งที่ไม่เห็นด้วยทันที ทั้งที่บางครั้งเรานั้น แสดงแค่จุดยืนในเรื่องนั้น ๆ เช่น เรื่องความรุนแรง เรื่องสถาบัน เรื่องเศรษฐกิจ หรือแม้กระทั่งนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลเองก็ตาม ซึ่งต้องบอกว่า มันมีทั้งด้านดีและด้านแย่ ซึ่งมันก็ต้องแยกออกไปเป็นเรื่อง ๆ

แต่ตอนนี้เราจะได้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนแนวคิดของมนุษย์เราที่กลายเป็นแบบเหมารวมมากขึ้น การออกความเห็นขัดใจฝั่งนึง จะถูกผลักไปฝั่งตรงข้ามทันที เช่น คุณคือสลิ่ม หรือ คุณคือพวกล้มเจ้า โดยที่แทบจะไม่ได้ฟังเหตุผลอะไร จากผู้ที่ออกความเห็นเลยด้วยซ้ำ

ซึ่งต้องบอกว่ามันไม่น่าแปลกใจ ว่าสิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นเรื่องปรกติมากขึ้น เรื่อย ๆ ของสังคมเรา และไม่ใช่แค่ในประเทศไทยเท่านั้น พลังของ Digital Propaganda ได้ส่งผลกระทบไปทั่วทั้งโลก

ตัวอย่างระดับโลกที่ชัดเจนที่สุดน่าจะเป็นเรื่องของ Cambridge Analytica ที่แสดงให้เห็นถึง พลังของ Digital Propaganda ว่าทรงพลังมากแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ หรือ Campaign Brexit ของประเทศอังกฤษ ที่แสดงให้เห็นถึงพลังของ Digital Propaganda เหล่านี้ ว่ากำลังมีบทบาทที่สำคัญโดยเฉพาะในเรื่องของความคิดเห็นทางด้านการเมืองในปัจจุบัน

เพราะฉะนั้น เมื่อเราอยู่ในแพลตฟอร์มเหล่านี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราจะต้องตั้งสติ และพินิจพิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ให้มากขึ้นกว่าเดิม รับฟังความเห็นที่หลากหลายขึ้น แม้จะขัดใจเรามากมายขนาดไหน (ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากมาก ๆ ) ในการเสพสื่อจากโลก Online Platform เหล่านี้นั่นเองครับผม

Image References : https://www.pexels.com/photo/graffiti-obey-propaganda-pattern-san-diego-18945/