เมื่อ Facebook , Google และ Twitter กำลังแข่งกันกระจายข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับ Coronavirus

การแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของ coronavirus ในประเทศจีนและทั่วโลกได้ส่งผลให้ แพลตฟอร์มออนไลน์ยักษ์ใหญ่อย่าง Facebook, Google และ Twitter เกิดการแพร่กระจายชุดข้อมูลของความจริงที่ถูกต้องและความเท็จที่ผิดพลาดอีกมากมายเกี่ยวกับการระบาดร้ายแรงครั้งนี้

ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีทั้งสามแห่งใน Silicon Valley พยายามที่จะลดการเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพที่เป็นอันตรายรวมถึงการโพสต์ภาพถ่ายและวิดีโอที่พยายามทำให้ผู้คนแตกตื่น 

Facebook และทีมงาน ได้พยายามที่จะต่อสู้กับทฤษฎีสมคบคิดที่แพร่หลายรวมถึงการหลอกลวงที่อ้างว่ามาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสหรัฐฯอย่างไม่ถูกต้อง  ซึ่งข้อมูลที่ผิดบางส่วนได้แพร่กระจายผ่าน Facebook ส่วนตัว ซึ่งเป็นช่องทางที่ยากสำหรับนักวิจัยและทีมงานของ Facebook ในการตรวจสอบแบบเรียลไทม์ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากข่าวแพร่ระบาดครั้งแรกเกี่ยวกับ coronavirus

“ออริกาโนออยล์พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพต่อต้านโคโรนาไวรัส” โพสต์ที่มีการแชร์อย่างน้อย 2,000 ครั้งในหลายกลุ่มภายในวันจันทร์ที่ผ่านมาก โพสต์ต้นฉบับเป็นข้อมูลเก่า และนักวิทยาศาสตร์ได้กล่าวว่าไม่มีการรักษาดังกล่าวสำหรับ coronavirus

โดยเจ็ดองค์กรที่เป็นพันธมิตรกับ Facebook ได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริง 9 ครั้งในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาโดยพบว่ามีโพสต์เกี่ยวกับ coronavirus หลายตัวที่ถูกระบุว่าเป็นข้อมูลเท็จซึ่งรวมถึงการรักษาด้วยยาปลอม  Facebook กล่าวว่ามีข้อความที่ไม่ถูกต้องและได้ทำการลดการมองเห็นลงในฟีดข้อมูลรายวันของผู้ใช้งาน

ข้อมูล fake news จำนวนมากถูกเผยแพร่บน facebook
ข้อมูล fake news จำนวนมากถูกเผยแพร่บน facebook

ส่วนทวิตเตอร์ ผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกาค้นหา hashtags coronavirus ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค YouTube ของ Google กล่าวว่าอัลกอริทึมของพวกเขามีการจัดลำดับความสำคัญของแหล่งที่น่าเชื่อถือมากขึ้น ถึงกระนั้นวิดีโอจำนวนหนึ่งรวมทั้งที่มีมากกว่า 430,000 วีดีโอ ได้ส่งข้อมูลที่น่าสงสัยเกี่ยวกับต้นกำเนิดของ coronavirus และวิธีการแพร่ระบาดของมัน

ในการค้นหาข้อมูลที่ผิดพลาดเกี่ยวกับ coronavirus, Facebook, Google และ Twitter ก็กำลังต่อสู้กับความรับผิดชอบของพวกเขาในฐานะผู้ดูแลข้อมูลขาเข้าจากผู้ใช้งาน ซึ่งมีทั้งข้อมูลที่จริง และ เท็จ

โดยทั่วไปแล้วยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีทั้งสาม จะรักษานโยบายเฉพาะเกี่ยวกับการโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้แน่ใจว่าการสร้างข้อมูลทางดิจิทัลจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อโลกแห่งความจริง 

แต่บริการที่ได้รับความนิยมสูงสุดของ Silicon Valley ยังคงดิ้นรนเพื่อสร้างสมดุลกับการเฝ้าระวังของหน่วยงานกำกับดูแลและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ยกตัวอย่าง เช่น หลายเดือนก่อนที่ Facebook ทำการตอบโต้เนื้อหาที่เชื่อมโยงวัคซีนกับออทิซึมอย่างผิด ๆ ซึ่งมีผู้คนจำนวนมากที่ส่งเสริมการรักษาแบบผิด ๆ และข้อมูลดังกล่าวก็ยังคงอยู่ในแพลตฟอร์ม แม้ว่า Facebook จะเตือนผู้คนที่จะเข้าไปร่วมกลุ่มก่อนแล้วก็ตามที

ในทำนองเดียวกันกับวิดีโอต่อต้านการฉีดวัคซีน Google ได้ทำการปรับแต่งอัลกอริทึมของ YouTube เมื่อปีที่แล้วเพื่อหยุดเนื้อหาที่เป็นอันตรายจำนวนมากไม่ให้ปรากฏในผลการค้นหา และ Twitter ได้พยายามทำสิ่งที่คล้ายคลึงกัน แต่การบิดเบือนข้อมูลที่เป็นอันตรายยังคงมีอยู่ในแพลตฟอร์มเหล่านี้ ซึ่งเป็นสิ่งกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสหรัฐฯยังคงมองว่าโซเชียลมีเดียยังมีช่องโหว่กับเรื่องดังกล่าวอยู่

Youtube มีการปรับอัลกอริทึมเพื่อป้องกันข่าวปลอม
Youtube มีการปรับอัลกอริทึมเพื่อป้องกันข่าวปลอม

เมื่อจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น Facebook และ Twitter ในช่วงสุดสัปดาห์ พบว่ามีโพสต์ยอดนิยมจำนวนมาก ที่ให้ข้อมูลผิด ๆ ว่าสหรัฐฯหรือรัฐบาลต่างประเทศอื่น ๆ ได้รับสิทธิบัตรสำหรับ coronavirus มาก่อนหน้านี้แล้ว โดยมีทวีตรายหนึ่งเรียก Coronavirus ว่า “โรคแฟชั่น” ซ้ำแล้วซ้ำอีกซึ่งเป็นโรคที่ได้รับการจดสิทธิบัตรมาแล้ว และมีการแชร์ประมาณ 5,000 ครั้งบน Twitter เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา

ผู้ใช้ Facebook หลายพันคนยังได้เข้าร่วมชุมชนที่สร้างขึ้นใหม่โดยเฉพาะเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ coronavirus ซึ่งเป็นการค้นหาจากเว็บไซต์เครือข่ายสังคมเหล่านี้ ซึ่งเป็นการสร้างชุดข้อมูลที่ผิดๆ

มีผู้ใช้ Facebook มากกว่า 1,100 รายซึ่งดูเหมือนจะกลัวความเจ็บป่วยที่รุนแรง ในกลุ่มที่มีชื่อว่า“ Coronavirus Warning Watch” โดยผู้คนในกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนทฤษฎีเกี่ยวกับการแพร่กระจายของมัน ในบางกรณีโยงเรื่องดังกล่าวไปเกี่ยวข้องกับแผนการ “การลดประชากร” ของรัฐบาล เช่นเดียวกับทุกกลุ่มโพสต์ภาพถ่ายและวิดีโอที่แชร์จะถูกส่งไปยังฟีดข่าวของผู้เข้าร่วมเพื่อเพิ่มการเข้าถึงให้มากที่สุด

ยังมีคนอื่น ๆ ใน facebook ที่ใช้กลุ่ม coronavirus เพื่อเน้นทฤษฎีที่ น้ำมันออริกาโนหรือซิลเวอร์คอลลอยด์สามารถรักษาโรคดังกล่าวได้ซึ่งเป็นข้อมูลเท็จ โดยในบางกรณีจะมีการโพสต์ลิงก์ไปยังวิดีโอ YouTube รวมถึงคลิปยอดฮิตที่มีความยาว 11 นาที ตอนนี้มีผู้ชมมากกว่า 20,000 ครั้งซึ่งเป็นการกล่าวอย่างผิด ๆ ว่าไวรัสได้ฆ่าชีวิต กว่า 180,000 คน ในประเทศจีน

Farshad Shadloo โฆษกของ YouTube กล่าวว่า บริษัท “ลงทุนอย่างหนักเพื่อเพิ่มเนื้อหาที่มีความถูกต้องบนเว็บไซต์ของเราและลดการแพร่กระจายของข้อมูลที่ผิดใน YouTube” เช่น สร้างความมั่นใจว่าผู้ที่ค้นหาข่าวจะเห็นผลลัพธ์ที่เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง YouTube ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดหากมีการดำเนินการเฉพาะอื่น ๆ เกี่ยวกับวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับ coronavirus

ส่วนใน Twitter ในขณะเดียวกันผู้ใช้บางคนที่มีผู้ติดตามจำนวนมากได้แชร์ข้อมูลว่า coronavirus แพร่กระจายไปสู่มนุษย์เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารจีน ซึ่งรวมถึงเรื่องเกี่ยวกับการเหยียดผิวชาวจีน โดยผู้เชี่ยวชาญกล่าวในตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้ชี้ไปที่ต้นกำเนิดของการติดเชื้ออย่างชัดเจนนัก ยังต้องมีการตรวจสอบให้ชัดเจนอีกซักระยะหนึ่ง

ความคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้เขียน

จะเห็นได้ว่าปัญหาเรื่อง Fakenews นั้น มันไม่ได้มีเฉพาะแค่ในประเทศไทยเราอย่างเดียวเท่านั้น เราจะเห็นได้ว่าหากเกิดวิกฤติคราใด เหล่าข้อมูลเท็จก็จะออกมามากมายผ่านเครือข่ายแพลตฟอร์มออนไลน์ยักษ์ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Facebook , Google หรือ Twitter

ในฝั่งตะวันตกนั้น อาจจะมีระบบการตรวจสอบบ้างอย่างที่กล่าวในบทความนี้ เนื่องจากสามารถใช้ เทคนิคทางด้าน computer algorithm ในการตรวจจับข่าวเท็จเหล่านี้ได้ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษอาจจะเป็นสิ่งที่ตรวจสอบได้ง่าย

แต่พอมาเป็นภาษาอื่น ๆ อย่างในภาษาไทยของเรา เราจะสังเกตได้ว่า ระบบแทบจะไม่ได้ตรวจจับข้อมูลเท็จเหล่านี้เลยด้วยซ้ำ ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องข้อจำกัดของภาษาอย่างนึง ที่แพลตฟอร์มเหล่านี้ไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนข้อมูลภาษาอังกฤษ

ผมก็เป็นอีกหนึ่งคนที่เห็นด้วยมาก ๆ ที่เรื่องของ Fakenews เหล่านี้ แพลตฟอร์มออนไลน์เหล่านี้ไม่ว่าจะเป็น Facebook , Twitter หรือ Google ต้องมีส่วนในการรับผิดชอบกับเรื่องดังกล่าว เพราะพวกเขาเป็นคนรับข้อมูลเข้าระบบ การตรวจสอบต่าง ๆ นั้นจะง่ายกว่า ให้รัฐบาลแต่ละประเทศมาจัดการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยาก และที่สำคัญน่าจะใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่าการมาแก้ที่ปลายเหตุมาก ๆ

แน่นอนว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องท้าทายที่สำคัญของแพลตฟอร์มออนไลน์เหล่านี้ ในการสร้างความน่าเชื่อถือของข้อมูล และที่สำคัญก็คือ ด้วยกลไกทางด้านอัลกอริธึม ที่เน้นการสร้าง engagement มากที่สุด ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่สำคัญที่ทำให้ข้อมูลเท็จ Fakenews เหล่านี้ ถูกกระจายเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว และ ทำให้ผู้คนต่างหันมาเลียนแบบได้ เพราะมันได้มาซึ่ง engagement ที่ดีขึ้นนั่นเอง ซึ่งสุดท้ายมันเป็นการเพิ่มรายได้ที่จะเข้ามาจากแพลตฟอร์มเหล่านี้

มีแนวคิดหนึ่งที่ผมเคยได้อ่านจากเรื่องราวของ Jack Ma ที่จัดการเรื่องนี้ในประเทศจีน หากไม่สามารถกรองข้อมูล input ขาเข้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ แพลตฟอร์มก็ควรมีการ Hold โพสต์ใด ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องเข้าใจผิด ๆ อย่าง เรื่องทางด้านสาธารณสุข หรือ ข้อมูลสุขภาพ เมื่อมีการแพร่กระจายแบบผิตปรกติเสียก่อน

ข้อมูลเหล่านี้ควรมากจาก Account ที่ มีการ Verified ที่ชัดเจนแล้ว เช่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรื่องดังกล่าวจริง ๆ เพราะมันเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ควรให้คนทั่วไปกระจายข่าวมั่ว ๆ ได้แบบง่าย ๆ ควร Hold ไว้แล้วตรวจสอบก่อน หากเป็นแหล่งที่ยังไม่ได้รับการ Verified ข้อมูลอย่างถูกต้อง เพราะเรื่องเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น Coronavirus อย่างที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก ๆ ที่ไม่ควรที่จะมีข้อมูลเท็จปล่อยออกมาจากแพล็ตฟอร์มเหล่านี้ นั่นเองครับ

References : https://www.washingtonpost.com/technology/2020/01/27/facebook-google-twitter-scramble-stop-misinformation-about-coronavirus/ https://www.20minutos.es/noticia/4133023/0/facebook-twitter-y-google-se-unen-a-la-lucha-contra-el-coronavirus-combatiendo-las-fake-news/