TikTok x Propaganda เมื่อยักษ์ใหญ่โซเชียลจากจีนพยายามยัดเยียดโฆษณาชวนเชื่อไปยังยุโรป

ต้องบอกว่าเครือข่ายโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่ทั่วโลกต่างเคยตกเป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อกันมาแทบจะทั้งหมดแล้ว กรณีใหญ่ ๆ ที่เคยเกิดขึ้นตัวอย่างเช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปี 2016 หรือเคสที่เกิดขึ้นกับ Brexit ที่มีหลักฐานมากมายจากการสืบสวนสอบสวนในภายหลัง

แน่นอนว่า TikTok กำลังก้าวขึ้นมาเป็นแพลตฟอร์มที่มีจำนวนผู้ใช้งานหลักพันล้านคน การถูกใช้เป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อนั้น เป็นสิ่งที่ไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด

และ TikTok เองก็มีข้อมูลที่เปิดเผยสู่สาธารณะในข้อมูลจากคลังโฆษณาที่เผยแพร่โดยบริษัทเองเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา

ความน่าสนใจคือจากการวิเคราะห์ที่จัดทำโดยสื่อใหญ่อย่าง Forbes (เอนเอียงไปทางโลกตะวันตก) แสดงให้เห็นว่าโฆษณามากกว่า 1,000 รายการจากสื่อของรัฐจีน เช่น People’s Daily และ CGTN ได้ถูกแสดงบนแพลตฟอร์มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2022

โฆษณาเหล่านี้ได้ถูกแสดงต่อผู้ใช้หลายล้านคนทั่ว ออสเตรีย เบลเยียม สาธารณรัฐเช็ก เยอรมนี กรีซ ฮังการี อิตาลี ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ และสหราชอาณาจักร

โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ที่โฆษณาโดยสื่อทางการของจีนบน TikTok นั้นเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันในวงกว้าง เช่นเรื่อง ซินเจียง มุสลิมอุยกูร์ การละเมิดสิทธิมนุษยชน ฯลฯ

ประเด็นที่มีการถกเถียงกันในวงกว้าง เช่นเรื่อง ซินเจียง มุสลิมอุยกูร์ (CR:The Conversation)
ประเด็นที่มีการถกเถียงกันในวงกว้าง เช่นเรื่อง ซินเจียง มุสลิมอุยกูร์ (CR:The Conversation)

โฆษณาชิ้นหนึ่งซึ่งถูกโปรโมตในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดย China News International นำเสนอชายคนหนึ่งกำลังเต้นรำที่เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมภายใต้คำบรรยายว่า “ซินเจียงเป็นสถานที่ที่ดี!”

วีดีโออีกรายการแสดงให้เห็นพิธีกร CGTN เยี่ยมชมโรงเรียนประถมในซินเจียง ซึ่งเป็นนสถานที่ที่สถาบันนโยบายยุทธศาสตร์ของออสเตรเลียกำลังติดตามการก่อสร้างสถานที่กักกัน 6 แห่ง โฆษณายังโน้มน้าวการท่องเที่ยวในภูมิภาคและวัฒนธรรมของชาวมุสลิมอุยกูร์ส่วนใหญ่

โฆษณาชิ้นหนึ่งซึ่งถูกโปรโมตในช่วงเดือนธันวาคม นำเสนอเนื้อหาทางวิชาการที่วิพากษ์วิจารณ์การต่อต้านของสหรัฐฯ และยุโรปต่อโครงการพัฒนาระหว่างประเทศของจีนอย่าง Belt & Road Initiative

โฆษณาอีกชิ้นแสดงวีดีโอจากบล็อกเกอร์ที่กล่าวหาสื่อตะวันตกว่าโกหกเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลจีน

เมื่อ TikTok ห้ามโฆษณาทางด้านการเมือง

เรื่องที่ตลกก็คือ TikTok นั้นมีนโยบายอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการห้ามโฆษณาในประเด็นทางสังคม การเลือกตั้ง และการเมือง แต่ก็มีข้อยกเว้นไว้ว่า “หน่วยงานของรัฐอาจมีสิทธิ์โฆษณาหากทำงานร่วมกับตัวแทนการขายโฆษณาของ TikTok”

การที่ TikTok ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใด ดูจากการเลือกตั้งที่ผ่านมาของประเทศไทย เมื่อเครื่องมือจากตะวันตกที่เข้าถึงผู้ใช้ระดับ mass อย่าง Facebook นั้นค่อนข้างเข้มงวดกับการใช้แพลตฟอร์มของพวกเขาเป็นเครื่องมือในการหาเสียงเลือกตั้ง เนื่องจากเคยเจอปัญหาในประเทศสหรัฐอเมริกาเองกับการเลือกตั้งปี 2016

Facebook ที่เคยเจอปัญหาในประเทศสหรัฐอเมริกาเองกับการเลือกตั้งปี 2016 (CR:NBC News)
Facebook ที่เคยเจอปัญหาในประเทศสหรัฐอเมริกาเองกับการเลือกตั้งปี 2016 (CR:NBC News)

TikTok จึงกลายเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังมาก ๆ เพราะเป็นโซเชียลมีเดียที่สามารถเข้าถึงผู้คนระดับ mass ไม่ต่างจาก Facebook แต่มีนโยบายการกลั่นกรองที่อาจจะไม่เข้มงวดเท่าแพลตฟอร์มจากตะวันตก

แต่อย่างไรก็ดี นั่นเป็นเนื้อหาที่ผู้ใช้ในแพลตฟอร์มสร้างขึ้นมาเอง เพื่อสนับสนุนพรรคการเมืองที่พวกเขารัก ซึ่งไม่ได้ใช้รูปแบบการโฆษณาผ่านแพลตฟอร์มเหมือนเคสที่เกิดขึ้นในยุโรป

TikTok กำลังเผชิญกับการสอบถามจากรัฐบาลมากมายทั้งในยุโรปและต่างประเทศเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับจีน สำนักงานรัฐบาลในสหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เบลเยียม เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ และนอร์เวย์ รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ได้แบน TikTok จากอุปกรณ์ของรัฐบาลเนื่องจากกังวลว่าแอปดังกล่าวนี้ซึ่ง ByteDance ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของจีนเป็นเจ้าของ

ความกังวลอันดับต้น ๆ ของหน่วยงานกำกับดูแลเกี่ยวกับ TikTok คือความกลัวว่ารัฐบาลจีนอาจใช้มันเพื่อบิดเบือนวาทกรรมของพลเมืองในประเทศประชาธิปไตย

สื่อของรัฐจีนเองก็มีประวัติในการใช้การโฆษณาบนโซเชียลมีเดียเพื่อผลักดันเรื่องเล่าที่สนับสนุนจีนในฝั่งตะวันตก ซึ่งคลังโฆษณาของทั้ง Meta และ Google ก็มีการโฆษณาทำนองนี้จากสื่อของจีนเช่นเดียวกัน

ในปี 2021 พนักงานของ Meta แสดงความกังวลเกี่ยวกับโฆษณาสื่อของรัฐจีนบน Facebook ที่แสดงถึงชาวมุสลิมที่มีความสุขในซินเจียง ซึ่ง Meta กลับมองว่าโฆษณาดังกล่าวไม่ได้ละเมิดนโยบายของบริษัท อย่างไรก็ตามความแตกต่างมันอยู่ตรงที่ว่า Meta และ Google นั้นไม่ได้ห้ามในส่วนนี้ แต่ TikTok ประกาศชัดเจนว่าห้ามโฆษณาเกี่ยวกับการเมือง ปัญหาสังคม หรือการเลือกตั้งบนแพลตฟอร์มของตน

บทสรุป

เอาจริง ๆ บทความนี้เนื้อหาส่วนใหญ่เรียบเรียงมากจาก Forbes ซึ่งแน่นอนว่านำเสนอมุมมองที่เป็นบวกต่อโลกตะวันตก และพยายามยัดเยียดความผิดให้ฝั่งจีนเป็นส่วนใหญ่ ถ้าใครอ่านบทความจากสื่อตะวันตกบ่อย ๆ จะทราบดีว่าพวกเขาก็มี agenda แอบแฝงเช่นเดียวกัน

ผมว่ามันเป็นเรื่องปรกติ ที่แพลตฟอร์มเหล่านี้จะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการโฆษณาชวนเชื่อ เพราะแพลตฟอร์มโลกตะวันตกก็ทำอย่างนี้เช่นเดียวกัน และอัลกอริธึมก็มีความ Bias อย่างชัดเจนมาก ๆ

ตัวอย่างง่าย ๆ ก็คือ ผมแทบจะ engagement กับสื่อจากรัสเซียอย่าง Russia Today แทบจะตลอดเวลา แต่ Facebook มีความชัดเจนในการลดการมองเห็นแบบสุด ๆ สำหรับเนื้อหาในฟีดจากสื่อที่เป็นปฏิปักษ์กับโลกตะวันตกในแพลตฟอร์มของพวกเขา และแน่นอนว่าสื่อจากจีนก็โดนแบบนั้นเช่นเดียวกัน

เพราะฉะนั้น ในเมื่อ TikTok มันก็ชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นของจีน ผมว่ามันไม่แปลกที่พวกเขาจะมีโอกาสชี้แจงข้อมูลอีกด้าน ไม่ใช่ถูกยัดเยียดจากความ Bias ของสื่อตะวันตกเพียงอย่างเดียว เพราะสุดท้ายทุกคนต้องได้รับข้อมูลที่รอบด้าน และควรมา คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ด้วยตนเอง ว่าควรจะเชื่อฝั่งไหนมากกว่ากันนั่นเองครับผม

References :
https://www.forbes.com/sites/iainmartin/2023/07/26/tiktok-chinese-propaganda-ads-europe/?sh=2fdc2bcd203d
https://www.wsj.com/articles/facebook-staff-fret-over-chinas-ads-portraying-happy-muslims-in-xinjiang-11617366096
https://hacked.com/tiktok-propaganda-the-latest-danger-to-your-kids/


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube