The Great (Ghost) Firewall ฉากหน้าของเสรีภาพกับการปฏิวัติทางอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า “ความเป็นส่วนตัว”

คุณจะรู้สึกอย่างไรหากอาศัยอยู่ในประเทศที่มีความเสรีประชาธิปไตยอย่างสูงส่ง แต่กลับถูกเฝ้ามองอยู่ตลอดเวลาว่า คุณกำลังค้นหาอะไรใน Google คุยกับใครในแพล็ตฟอร์ม Messenger หรือทำอะไรอยู่บ้างบนแพล็ตฟอร์ม Social Media

สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศที่ยึดถือระบอบคอมมิวนิสต์ในการนำพาประเทศอย่างจีน แต่กำลังเกิดขึ้นในประเทศที่อ้างเรื่องความเสรีภาพ ประชาธิปไตยแบบสุดโต่งอย่างสหรัฐอเมริกา

เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจากหนังสือ Permanent Record โดย Edward Snowden เป็นหนังสือที่ถ่ายทอดเรื่องราวที่น่าสนใจของ Snowden เกี่ยวกับการออกมาแฉเรื่องราวการสอดส่องพลเมือง รุกล้ำความเป็นส่วนตัวแบบสุดขีดของประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา

แม้จีนจะมีสิ่งที่เรียกว่า The Great Firewall แต่แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนรู้ ทุกคนสามารถที่จะเลือกทำสิ่งต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ได้เพื่อไม่ให้ถูก monitor จากรัฐบาล อย่างน้อยประชาชนก็รู้ตัวและมีทางเลือก

แต่กลับกัน The Ghost Firewall ของอเมริกานั้น ทุกคนแทบจะไม่รู้ว่ามันกำลังเกิดขึ้น แถมยังเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศเสียด้วย

อาชีพของ Snowden ในหน่วยงานอย่าง American Intelligence Community (IC) นั้นถือว่ามีความน่าสนใจ เพราะเขาได้มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การจารกรรมของอเมริกา

เป็นการเปลี่ยนผ่านจากการสอดส่องเป้าหมายของบุคคลเป็นการสอดแนมประชากรแทบจะทั้งประเทศ Snowden เองก็เป็นหนึ่งในทีมงานที่ช่วยในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีในการรวบรวมการสื่อสารทางดิจิทัลทั้งหมดของโลก เก็บมันไว้ และให้รัฐบาลสามารถค้นหาข้อมูลเหล่านี้ได้

ระบบการเฝ้าระวังที่อ้างเรื่องภัยความมั่นคงจากปัญหา 911 นั้นจัดตั้งโดยปราศจากการยินยอมของประชากรในประเทศ ความเสื่อมถอยดังกล่าวนั้นคงเปรียบไม่ต่างจากระบอบบประชาธิปไตยถดถอยไปสู่ระบอบที่ไม่ต่างจากเผด็จการ

นั่นเองที่ทำไมสหรัฐอเมริกาจึงมองสินค้าทางด้านเทคโนโลยีเช่น Huawei หรือแพล็ตฟอร์มจีนต่าง ๆ นา ๆ ว่าเป็น spy ที่คอยสอดแนม ที่ถูกกล่าวหาจากโลกตะวันตก เพียงเพราะพวกเขารู้ดีว่าสิ่งเหล่านี้พวกเขาทำมาก่อนแล้วนั่นเอง ไม่แปลกใจที่พวกเขาจะระมัดระวังมันเป็นพิเศษ

โครงการอย่าง PRISM ซึ่งมันแทบจะไม่ต่างจาก The Great Firewall ของประเทศจีนแต่อย่างใด ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นโครงการของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ (NSA)

มีการทำงานร่วมกับบริษัทเอกชนในการสอดแนมข้อมูลผู้ใช้จากอินเทอร์เน็ตหลายล้านคน บริษัททางด้านเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ก็ล้วนเข้าร่วมไล่มาตั้งแต่ Microsoft ที่เข้าร่วมเป็นรายแรก ตามด้วย Yahoo หลังจากนั้นก็เป็น Google , AOL , Facebook , Skype หรือแม้กระทั่ง Youtube

มันแทบจะเป็นบริการโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีหลักแทบจะทั้งหมดของชาวอเมริกัน แม้จะมีการอ้างคำปฏิเสธต่าง ๆ นา ๆ จากผู้ให้บริการเหล่านี้ว่าไม่ได้เข้าร่วมกับโครงการดังกล่าวก็ตามที

แต่หลักฐานที่ Snowden เปิดมานั้นเรียกได้ว่า ทุกอย่างมันแทบจะกระจ่างกับสิ่งที่รัฐบาลอเมริกาได้ทำไว้ กับประชาชนของพวกเขาที่หวงแหนเรื่องเสรีภาพเป็นอย่างยิ่ง

มันไม่ใช่เพียงแค่การสอดแนมประชาชนชาวอเมริกันเท่านั้น เพราะใครจะไปกล้ารับรองว่า สิ่งที่พวกเรา (ที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในอเมริกา) ใช้กันอยู่ในแพล็ตฟอร์มต่าง ๆ ในวันนี้นั้น จะไม่ถูกสอดแนมจากพวกเขา

การสอดแนมไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของความมั่นคงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเรื่องความได้เปรียบทางเศรษฐกิจอีกมากโข ที่ได้รับข้อมูล inside ของบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก หรือ แม้กระทั่งพฤติกรรมการใช้งานต่างๆ ทั้งใน social media หรือ ecommerce มันจะสร้างความได้เปรียบทางด้านการแข่งขันให้กับประเทศได้มากแค่ไหน หากประเทศเราสามารถเก็บข้อมูลเหล่านี้ออกมาได้

ซึ่งมันคงไม่เกินเลยที่จะกล่าวได้ว่านี่คือจุดเริ่มต้นของการสอดแนมระบบทุนนิยม และจะกลายเป็นจุดจบของอินเทอร์เน็ตในยุคเก่าที่ต้องมีการปฏิวัติเรื่องความเป็นส่วนตัวกันครั้งใหญ่เลยนั่นเองครับผม

References Image : https://www.theguardian.com/us-news/ng-interactive/2019/sep/13/edward-snowden-interview-whistleblowing-russia-ai-permanent-record


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube