มุมมองที่แตกต่างอย่างสุดขั้วต่อ Cryptocurrency

ถ้าเราได้เห็นข่าวที่มีต่อ cryptocurrency ชื่อดังอย่าง Bitcoin ในช่วงที่ผ่านมานั้น เราก็อดสงสัยไม่ได้ว่าทำไมถึงมีความเห็นออกเป็น 2 ขั้วอย่างชัดเจนระหว่างฝั่งสายการเงินการลงทุน กับ ฝั่งสายเทคโนโลยี ที่มีมุมมองตรงข้ามกันอย่างชัดเจน  ซึ่งเมื่อเรามาไล่เรียงดู timeline ของข่าวในช่วงปีที่ผ่านมาจะพบว่า

มุมมองที่แตกต่างอย่างสุดขั้วของเหล่า influences สายการเงิน และ เหล่า influences สาย technology ผ่านการพาดหัวข่าวจากสื่อต่าง ๆ 

1.สายการเงิน

2.สาย Technology

เราเห็นอะไรในข่าวที่ได้จากเหล่าผู้มีอิทธิพลทั้งสายการเงิน และ สายเทคโนโลยี จะเห็นได้ว่ามุมมองต่อ cryptocurrency ของฝั่งการเงินนั้นมองในแง่ลบเกือบแทบจะทั้งหมด น้อยคนนักที่จะกล่าวถึง bitcoin หรือ cryptocurrency ในด้านบวก แม้กระทั่งนักวิชาการชาวไทยเองก็ตามหลาย ๆ ท่านถ้าติดตามด้านความเห็น ที่ส่วนใหญ่จะเป็นความเห็นจากนักวิชาการทางด้านการเงินหรือนักเศรษฐศาสตร์นั้นจะมอง bitcoin ในด้านลบอยู่เสมอ แต่ทำไมฝั่ง technology กลับมองเป็นด้านบวกล่ะ

ต้องบอกว่าความซับซ้อนของระบบการเงินโลกนั้นที่มีการเชื่อมโยงกัน และการอ้างอิงมูลค่าต่าง ๆ ที่สายการเงินกล่าวอ้างกันนั้น เป็นทฤษฏีที่ใช้กันมาเนิ่นนานกว่า 100 ปีแล้ว และทฤษฏีเหล่านี้ ก็ถูกถ่ายทอดกันมารุ่นสู่รุ่นผ่านตำราเรียนต่าง ๆ ที่แทบจะเหมือนกันทั่วโลก แล้วเมื่อมีคนคิดระบบใหม่อย่าง cryptocurrency ขึ้นมาก็เป็นเรื่องธรรมดาที่เหล่าผู้มีอิทธิพล หรือ นักวิชาการด้านการเงินการลงทุนนั้นจะกล่าวถึงเรื่องนี้คล้าย ๆ กัน และเป็นคำพูดที่ซ้ำ ๆ กันเช่น ฟองสบู่ เสี่ยงโชค ฟอกเงิน ว่างเปล่า ไม่มีมูลค่าอะไรเลย

จะเห็นได้ว่าหลาย ๆ ข่าว เราก็ได้ยินคำซ้ำ ๆ กันเพราะพวกเขาเหล่านี้นั้นมองรูปแบบของเทคโนโลยีทางด้านการเงินใหม่เหล่านี้ แทบจะเหมือนกันซึ่งก็ต้องบอกว่าเป็นความเห็นที่น่ารับฟัง เพราะ สุดท้ายแล้วคนเหล่านี้ก็ยังมีอิทธิพลต่อโลกการเงินการลงทุนของเราอยู่ดี ไม่ว่าเทคโนโลยีของโลกเรานั้นจะก้าวไกลไปขนาดไหนก็ตาม

ต่างจากสาย technology ที่เติบโตมากับนวัตกรรมอยู่แล้วเป็นทุนเดิม ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่มีแนวทางที่่สนับสนุนนวัตกรรมใหม่ ๆ อยู่ตลอดไม่เว้นแม้แต่นวัตกรรมทางด้านการเงินอย่าง cryptocurrency ซึ่งเหล่าคนสายเทคโนโลยีนั้น เข้าใจถึง concept ต่างๆ ของ cryptocurrency ได้เร็วกว่าฝั่งสายการเงินเป็นส่วนมากอยู่แล้ว เพราะมันเกิดจากนวัตกรรมทางด้าน it และกลุ่มผู้สร้างกลุ่มแรก ๆ นั้นเป็นคนฝั่ง it ซะเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นคนทางฝั่งเทคโนโลยีหรือ IT นั้นมองนวัตกรรมเหล่านี้ในแง่บวก

เพราะนวัตกรรมหลาย ๆ อย่างจากฝั่ง it ในช่วงไม่กี่ปีมานั้นเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์ทั่วโลกไปอย่างสิ้นเชิงไม่ว่าจะเป็น มือถือ , social network , search engine สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มี impact ต่อการดำรงชีวิตของเราเป็นอย่างมากโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่ปี ซึ่ง หลาย ๆ คนจากฝั่งเทคโนโลยี ก็น่าจะมองเห็นอนาคตของ cryptocurrency ไม่ต่างกันว่าจะมาปฏิวัติระบบการเงิน และปรับรูปแบบการเงินที่มีมายาวนานกว่า 100 ปี ของมนุษย์เราได้อีกครั้งหนึ่ง แต่มันจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่นั้น เราก็ต้องมาดูกันต่อไปครับผม

Reference Image : images.readwrite.com

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage :facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit :blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter :twitter.com/tharadhol
Instragram :instragram.com/tharadhol

Mark Zuckerberg The Real Face Behind Facebook

Featured Video Play Icon

ถือว่าเป็น icons ของวงการ startup ทั่วโลกเลยก็ว่าได้สำหรับ Mark Zuckerberg  ผู้ก่อตั้ง facebook ที่มีผู้ใช้งานทั่วโลกกว่า 1,200 ล้านคนในขณะนี้ ซึ่งก็ทำให้เค้าติดอันดับเศรษฐีลำดับต้น ๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา

สำหรับ mark นั้นเขามีประวัติด้านคอมพิวเตอร์ที่ไม่ธรรมดามาตั้งแต่ตอนเรียน high school โดยเขากับเพื่อนได้ร่วมกันสร้าง software ชื่อ synapse สำหรับจดจำรสนิยมการฟังเพลง mp3 โดยปล่อยให้ download ได้ฟรี ๆ  ซึ่งตอนนั้น มีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง microsoft และ AOL  ได้มาขอซื้อโดยเสนอเงินให้ในหลักล้านเหรียญ แต่เขาก็ไม่ได้ขายแต่อย่างใด ซึ่งเขาได้แจ้งทาง microsoft และ AOL ไปว่า เขาไม่ได้ทำไว้ขาย ทำให้แจกให้ใช้ฟรีเท่านั้น

หลังจากที่ได้เข้าเรียนด้าน computer science ที่ harvard นั้น mark ก็ได้ทำการสร้างเว๊บ facemash.com ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้ทำการ vote เปรียบเทียบหน้าของเพื่อนๆ  ที่ mark นั้นได้ไป hack รูปของ facebook ของหอพักแต่ละแห่งเข้ามาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้สนุกกันกับการ Votes โดยมีผู้เข้าใช้งานกว่า 22,000 คร้้งและทำให้ server ของ harvard ถึงกับล่มไปเลยทีเดียว  แต่สิ่งที่เขาทำแล้วโดนโจมตีนั้นคือการเอารูปสัตว์มาเปรียบเทียบกับใบหน้าคนด้วย ทำให้ในช่วงนั้น mark โดนประนามไปไม่ใช่น้อยหลังจากนั้น

หลังจาก facemash นั้น mark ก็ค่อนข้างเริ่มมีชื่อเสียง ทั้งด้านบวก และ ด้านลบ โดยชื่อเสียงด้านการทำ software ของเค้านั้นได้ไปถึง ฝาแฝด winklevoss ซึ่งตอนนั้นมี idea ที่จะทำ social network สำหรับมหาลัย harvard ชื่อ harvard connection โดยเน้นการ exclusive สำหรับ user ที่มี email @harvard.edu เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นจุดแตกต่างสำหรับ social network ที่เป็นเจ้าตลาดในขณะนั้นอย่าง myspace.com หรือ friendster.com ที่ไม่เป็น exclusive user ทำให้เราได้ connect กับกลุ่มคนที่เราต้องการในมหาลัยเท่านั้น

หลังจาก mark ตกลงที่จะทำงานร่วมกับฝาแฝด winklevoss เค้าก็ได้มาคุยกับเพื่อสนิทอย่าง Eduardo saverin เพื่อที่จะทำ thefacebook ขึ้นมาแทน โดยใช้เงินทุนจาก Eduardo Saverin เพื่อใช้ในการตั้งต้นเช่า Server ของบริษัท ซึ่งแต่แรกนั้นใช้ domain ชื่อ thefacebook.com

หลังจากปล่อย thefacebook.com ออกให้ใช้งาน มีผู้ร่วมตอบรับอย่างมากมาย ซึ่ง mark นั้นกลายเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในมหาลัยทันที เพราะแทบจะทุกคนใช้ในมหาวิทยาลัย harvard นั้นเป็น user ของ thefacebook หลังจากนั้น mark ก็ทำการขยายไปสู่มหาลัยชั้นนำอีก 9 แห่ง เช่น Stanford , Columbia  ฯลฯ  ซึ่งทำให้ยอดผู้ใช้งานเริ่มสูงขึ้นมาก และนักศึกษาในทุกมหาลัยที่ได้ใช้ facebook นั้น มีการตอบรับอย่างดีเยี่ยม

ด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ mark ต้องทำการ drop จากการเรียนที่ harvard เพื่อมุ่งหน้าสู่ silicon valley อย่างเต็มตัว โดยได้ไปเช่าบ้านอยู่ใกล้มหาลัย stanford เพื่อให้เข้าใกล้แหล่งลงทุนชื่อดังใน silicon valley และทำให้เขาได้พบกับ sean parker ซุปเปอร์สตาร์แห่งวงการ internet ผู้สร้าง napster ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญในการเจริญเติบโตของ facebook ในยุคแรก ๆ  ซึ่ง sean ช่วยพา mark ไปติดต่อกับนักลงทุนจำนวนมาก เนื่องจากเขามีสายสัมพันธ์ที่ดีกับนักลงทุนตั้งแต่ทำ napster แล้ว

และในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาเดียวกันที่ eduardo saverin ที่ไม่ได้บินตามมาที่ silicon valley จึงไม่ได้ติดตามสถานการณ์ของ facebook อย่างใกล้ชิด จึงทำให้ mark พยายามที่จะถอด eduardo ออกจากการเป็น co-founder ของ facebook ประจวบกับการได้งบลงทุนก้อนใหญ่จากนักลงทุนใน silicon valley จึงทำให้ mark ไม่ต้องการ eduardo อีกต่อไป

หลังจากการได้เงินทุกก้อนใหญ่เพื่อมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ mark ก็ได้ทำการจ้างพนักงานฝีมือดีจำนวนมากมาร่วมงานและเน้นการพัฒนา features ของ facebook ทั้ง  wall ,  feeds ,  หรือ การ tag image ซึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรมที่สำคัญของ facebook เลยก็ว่าที่ยิ่งทำให้ facebook ยิ่งเติบโตอย่างรวดเร็วและสุดท้ายก็ต้องเปิดให้ผู้ใช้งานทั่วไปได้ใช้งาน และด้วยความที่มี features ที่แตกต่างจาก social networks เดิมอย่าง myspace หรือ friendster นั้นก็ทำให้ facebook เติบโตจนกลายเป็น social network ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลกจนถึงปัจจุบัน

ทั้งเรื่องของฝาแฝด vinklevoss และ eduardo savering นั้น สุดท้ายต้องมาถกเถียงในชั้นศาลว่า mark นั้นได้ขโมย idea จาก ฝาแฝด winklevoss ไปจริง ๆหรือไม่ซึ่งสุดท้ายก็ยอมความกันในที่สุดโดย facebook ยอมจ่ายเงินสูงถึง 31 ล้านเหรียญ เพื่อยุติการฟ้องร้อง ส่วน saverin นั้นก็ได้หุ้นคืนกลับไป โดยมีการเจรจาว่าไม่ให้มีการสัมภาษณ์กับสื่อมวลชนอีกต่อไป และ นำชื่อเขากลับเข้าสู่ facebook.com ในฐานะ co-founder ซึ่งเนื่องจากหลังจากนั้นไม่นาน facebook.com นั้นกลายเป็นบริษัทมูลค่าหลายพันล้านเหรียญไปเป็นทีเ่รียบร้อยแล้วทำให้ Saverin ก็กลายเป็นเศรษฐีไปอีกคนหลังจากบริษัทนำหุ้นออกทำการ IPO ในตลาดหุ้นนิวยอร์ก

สำหรับ documentary ชุดนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าศึกษาสำหรับการตั้งบริษัท startup ให้ยิ่งใหญ่ได้อย่าง facebook ซึ่งการที่กว่าจะก้าวมาถึงระดับนี้ได้นั้น ก็ต้องผ่านเรื่องราวมากมาย จนกลายเป็นบริษัทที่เติบโตรวดเร็วที่สุด บริษัทหนึ่งในโลกของสหรัฐอเมริกาจวบจนถึงปัจจุบัน