Geek China EP29 : Baidu Other Investments

• นอกเหนือจากธุรกิจ search engine, digital map, cloud, O2O, fintech, anti-virus ที่ได้เล่าไปใน EP 24-27 แล้ว ไป่ตู้ยังเริ่มมีการลงทุนขยายการลงทุนในด้านธุรกิจอื่น

• เมื่อ M&A สำเร็จ Baidu ก็จะกลายเป็นผู้นำในตลาด OTAในประเทศจีน และดีลนี้ก็สำเร็จในช่วงตุลาคม 2015 เมื่อไป่ตู้ swap หุ้นกับ Ctrip ก็จะถือประมาณ 19% share ใน Ctrip

• Ctrip เป็น OTA ที่ใหญ่ที่สุดในจีน มีรายได้มาจาก 3 ส่วนคือ การจองโรงแรม การจองตั๋วและการท่องเที่ยว ถึงแม้ qunar จะเก็บสะสม business resources มาหลายปี แต่ก็ไม่สามารถ เอาชนะ Ctrip ได้อย่างง่าย โดยเฉพาะในกลุ่มsegmentระดับบน

• ดังนั้นถ้าไป่ตู้รวม Ctrip กับ Qunar ได้ Baidu จะควบคุมตลาด OTAในจีนได้เกือบทั้งหมด ดังนั้นจากคู่แข่งระหว่าง Ctrip และ Qunar ก็มาจับมือกับกลายเป็นพันธมิตร ตอนนี้ ตลาด OTA เปลี่ยนการต่อสู่ระหว่างTencent, Alibaba และ Baidu

• นอกจากต้องการชนะ ในตลาด OTA แล้ว ปลายปี 2014 Baidu ก็ประกาศข่าวใหญ่ในด้านการลงทุนคือ ได้ลงทุนใน Uber กว่า 600 ล้าน USD โดยการแลกกับการถือหุ้นเป็นส่วนน้อย (minority stake) เพื่อที่จะต่อสู้กับ Tencent และ Alibaba ในตลาด ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเรียกจองรถยนต์

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/2XdFZO0

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/Eo7tefFCtYU

Geek China EP9 : China Internet Landscape and Digital Giants Part 4

2001-2008 ช่วงยุคของอาณาจักรทางอินเตอร์เน็ตในประเทศจีนเริ่มแผ่ขยาย (ภาคต่อจาก EP8) เล่าต่อกับช่วงเวลาที่เริ่มแผ่ขยายอาณาจักรของ 3 ก๊กแห่งวงการอินเตอร์เน็ต หรือ The Three Kingdoms: BAT กำลังขยายกิจการในธุรกิจหลัก (Core business)

• Baidu 百度(NASDAQ: BIDU) ผู้บุกเบิกและผู้นำด้าน Search Engine ในจีน
• Alibaba 阿里巴巴 (NYSE: BABA/ SEHK:9988) ผู้บุกเบิกและผู้นำ eCommerce ของจีน
• Tencent 腾讯 (SEHK: 700) ยุคของการเป็นผู้บุกเบิกด้าน Instant messaging (IM) และผู้ครองส่วนแบ่งการตลาดใหญ่ในจีน

มาฟังเรื่องราวการสร้างและขยายธุรกิจแบบเต็ม ๆ ของ Alibaba และ Tencent ในช่วงเวลาปี 2001-2008 ใน EP9

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/2T25xIq

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/31fSqaP

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/gJWcvMicTNo

References Image : https://scioinfotech.com/?p=1463

ทำไมยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley ถึงได้ล้มเหลวในดินแดนมังกร

ในฐานะบริการชั้นนำจากอเมริกา หรือ ทั่วโลก บริการอย่าง eBay, Google , Uber , Airbnb , Amazon ทุกบริษัทล้วนแล้วแต่มีความพยายามในการเอาชนะตลาดในประเทศจีน

แม้นักวิเคราะห์หลาย ๆ รายได้พยายามสรุปความล้มเหลวของบริการจาก Silicon Vallley เหล่านี้ว่ามาจากการควบคุมของรัฐบาลจีน

แต่ ไค ฟู ลี อดีตผู้บริหารระดับสูงของทั้ง Microsoft และ Google ทั้งในอเมริกาและประเทศจีนกลับมองต่างออกไป

เขามองว่าการที่บริษัทจากอเมริกันนั้น พยายามทำทุกอย่างในประเทศจีน เหมือนตลาดอื่น ๆ ที่พวกเขาครอบครองได้ทั่วโลก นั่นคือข้อผิดพลาดที่สำคัญที่สุด

การที่บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ ไม่ลงทุนในทรัพยากร หรือให้ความยืดหยุ่นกับทีมงานในประเทศจีน ที่จำเป็นอย่างมากในการแข่งขันกับบริการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศจีนเอง เพื่อปรับบริการต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมชาวจีนนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่บริการเหล่านี้ ไม่สามารถสู้กับบริการท้องถิ่นในประเทศจีนได้

ไค ฟู ลี ได้กล่าวว่า ในบางบริการนั้น อาจจะต้องเริ่มต้นกันใหม่ตั้งแต่ต้น เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดจีน การทำเพียงแค่ แปลเป็นภาษาจีน แล้วใช้ทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนกับในอเมริกานั้น ทำให้ทีมงานที่อยู่ในพื้นที่รู้สึกถึงความไม่ใส่ใจที่แท้จริง

ความแตกต่างที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ บริษัทยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley ได้สูญเสียทรัพยากรบุคคลที่เก่งกาจในประเทศจีนไปเป็นจำนวนมากเนื่องจากปัญหาข้างต้น เหล่าบริษัท สตาร์ทอัพของจีน รวมถึงคนหนุ่มสาวที่มีความทะเยอทะยานที่สุดส่วนใหญ่นั้นมักเลือกที่จะเข้าร่วมกับบริษัทในท้องถิ่น

เพราะพวกเขารู้ดีว่า หากเข้าร่วมกับบริษัทอเมริกัน ผู้บริหารของบริษัทนั้น จะมองพวกเขาเป็นเพียงแค่ แรงงานในพื้นที่ ตลอดไป พวกเขาจะไม่ได้รับโอกาสในการไต่เต้าขึ้นสู่การเป็นผู้บริหารระดับสูงที่แท้จริง ซึ่งสูงสุดเป็นได้เพียงแค่ ผู้จัดการประจำประเทศของบริการนั้น ๆ เพียงเท่านั้น

เพราะฉะนั้น คนหนุ่มสาวเหล่านี้ ที่มีความทะเยอทะยานสูง เลือกที่จะก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพของตัวเอง หรือเข้าร่วมกับบริษัทในประเทศจีน เพื่อเอาชนะบริการยักษ์ใหญ่เหล่านี้ที่มาจาก Silicon Valley นั่นเอง

เพราะฉะนั้นทรัพยากร แรงงานส่วนใหญ่ที่ บริษัทจาก Silicon Valley ได้ไปนั้น มักจะเป็นกลุ่มคนที่ หวังเพียงแค่เงินเดือน หรือ หุ้น มากกว่ากลุ่มคนที่มีความทะเยอทะยานเพื่อเอาชนะในตลาดจีนอย่างแท้จริง

ในขณะที่นักวิเคราะห์จากต่างชาติยังคงสงสัยในคำถามที่ว่า ทำไม บริษัทยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley ไม่สามารถเอาชนะในจีนได้ แต่ บริษัทของจีน กำลังยุ่งอยู่กับการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น

Weibo ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม ไมโครบล็อกที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Twitter ขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีการเพิ่ม Features ต่างๆ มากมาย และทำให้ตอนนี้มีมูลค่ามากกว่า Twitter ที่พวกเขาไป copy มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

หรือบริการอย่าง Didi ที่เลียนแบบมากจาก Uber ได้ขยายบริการและผลิตภัณฑ์อย่างมาก และให้บริการรถโดยสารในประเทศจีนในแต่ละวัน มากกว่าที่ Uber ทำได้ทั่วโลกเสียอีก หรือ Toutiao ซึ่งเป็นแพล็ตฟอร์มข่าวของจีน ที่ถูกเปรียบเทียบกับ BuzzFeed ใช้ อัลกอริธึม Machine Learning ขั้นสูง เพื่อปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้ใช้แต่ละคน

ซึ่งต้องบอกว่า การเติบโตของ Ecosystem ผู้ประกอบการของจีนนั้น เป็นมากกว่าการคิดเพียงแค่แข่งขันกับบริการจาก Silicon Valley หลังจากที่บริษัทต่าง ๆ เช่น Alibaba , Baidu หรือ Tencent นั้นได้พิสูจน์แล้วว่า ตลาดอินเทอร์เน็ตของจีนนั้นสามารถสร้างกำไรได้มากเพียงใด

มันทำให้คลื่นลูกใหม่ของบริษัทด้านการลงทุน ก็เริ่มหลั่งไหลเข้าสู่อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีของประเทศจีน และตลาดก็กำลังร้อนแรงเป็นอย่างมาก จำนวน สตาร์ทอัพในประเทศจีนก็เติบโตขึ้นอย่างทวีคูณ

แม้การต่อสู้กับยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley นั้นจะทำให้เหล่าบริการของจีนยิ่งแข็งแกร่ง แต่การแข่งขันภายในประเทศ กับคู่ต่อสู้ภายประเทศของเขาเองต่างหาก ที่เป็นบทพิสูจน์ที่แท้จริงของบริษัทเทคโนโลยีในประเทศจีน ว่าพวกเขาเจ๋งจริง นั่นเองครับ

References : https://www.vox.com/recode/2019/5/1/18511540/silicon-valley-foreign-money-china-saudi-arabia-cfius-firrma-geopolitics-venture-capital
https://lareviewofbooks.org/article/a-chinese-silicon-valley-not-so-fast/
https://www.businessinsider.com/google-isnt-the-only-silicon-valley-company-struggling-in-china-2010-1
http://parisinnovationreview.cn/en/2016/07/14/why-american-internet-companies-fail-in-china-a-cultural-perspective/
https://startupsventurecapital.com/why-shanghai-china-might-be-the-next-silicon-valley-and-why-we-should-care-811672cb12dd

เมื่อบริการออนไลน์จากจีน ไม่สามารถที่จะก้าวผ่านกำแพงเมืองจีนได้เสียที

ยักษ์ใหญ่ทางด้านบริการออนไลน์ของประเทศจีน หรือ BAT ที่ประกอบไปด้วย Baidu , Alibaba และ Tencent นั้น กำลังพยายามที่จะก้าวข้ามผ่านการเป็นเพียงแค่บริการในประเทศจีนเท่านั้น แต่ดูเหมือนมันเป็นสิ่งที่ยากเย็นแสนเข็ญเหลือเกินสำหรับพวกเขา

เรียกได้ว่า ตัวเลขรายได้นอกประเทศจีนของทั้งสามบริการนั้นมีสัดส่วนเพียงเล็กน้อย Baidu ที่ 1% , Tencent ที่ 5% ส่วน Alibaba ที่มากหน่อยก็ทำได้เพียงแค่ 11% ซึ่งด้วยความพยายามรุกตลาดสากลของ Alibaba โดยการผลักดันโฆษณา ในฐานะผู้สนับสนุนหลักของโอลิมปิกฤดูหนาวปี 2018 ในประเทศเกาหลีใต้

แน่นอนว่าการเข้าสู่ตลาดสหรัฐอเมริกานั้น เป็นความท้าทายมาก ๆ ของ BAT เครื่องมือค้นหาของ Baidu นั้นเคยมีความพยายามในการเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น เมื่อปี 2007 ด้วยการสร้างเครื่องมือค้นหาภาษาญี่ปุ่น ซึ่งมีอักขระคล้ายกับภาษาจีน แต่ในที่สุด ก็ถูกตีพ่ายยับ จากคู่แข่งที่แข็งแกร่งกว่าอย่าง Google และ Yahoo ทำให้ Baidu ต้องหนีออกจากตลาดไปในท้ายที่สุด

Jack Ma นั้นเคยกล่าวไว้ว่าเป้าหมายของ Alibaba คือการได้ยอดขายครึ่งหนึ่งจากนอกประเทศจีน แต่ก็ต้องดิ้นรนอย่างมากเพื่อให้สามารถที่จะตั้งหลักได้ในอเมริกา Jack Ma ได้ขึ้นข่าวพาดหัวหลายครั้ง ในการสัญญากับประธานาธิบดี ทรัมป์ ในการสร้างงานในอเมริกาให้มากขึ้น และเพื่อดึงดูดธุรกิจขนาดเล็กในอเมริกาให้มาใช้บริการของ Alibaba

แต่สงครามการค้าที่ยิ่งทวีความรุนแรงระหว่างจีน กับ อเมริกา ก็ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างพังทลายลงไปอย่างรวดเร็ว

ในฟากฝั่ง Tencent นั้น บริการอย่าง Wechat ที่ความนิยมแบบผูกขาดในประเทศจีน ไม่ได้ทำให้พวกเขาเข้มแข็งมากนักนอกประเทศจีน แม้ขนาดประเทศไทย Wechat ยังไม่สามารถที่จะต่อกรกับ Line จากประเทศ ญี่ปุ่น ได้เลย มีผู้ใช้บริการเพียงแค่น้อยนิด ซึ่งไม่ต้องพูดถึงในอเมริกา ที่ส่วนใหญ่ ผู้ใช้งานก็มีแค่ ชาวอเมริกันเชื้อสายจีน ที่ต้องติดต่อทำมาค้าขายกับประเทศบ้านเกิดเพียงเท่านั้น

แม้ว่ามีความพยายาม ที่จะปรับบริการให้เข้ากับวัฒนธรรมของอเมริกา ไม่มีการเก็บข้อมูลประวัติของข้อความ หรือเพิ่มบริการชำระเงินเข้าไป ก็ไม่สามารถที่จะต่อกรกับบริการเจ้าถิ่นอย่าง Paypal หรือ Stripe ได้

ซึ่งส่วนใหญ่แอปสำหรับชำระเงินของ Wechat นั้นก็มีไว้เพื่อบริการ ผู้บริหารชาวจีน นักท่องเที่ยว หรือ นักเรียนที่มีบัญชีธนาคารจีน และบัตรประจำตัวประชาชนจีนเป็นหลักเพียงเท่านั้น

นวัตกรรมทางด้านออนไลน์ของจีนเจ๋งจริงหรือ?

ต้องบอกว่า อย่าคาดหวังกับนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีชั้นนำจากประเทศจีน ที่จะก้าวไปสู่กระแสหลักในประเทศอย่างอเมริกาในเร็ววันนี้

เนื่องด้วยความแตกต่างทางวัฒนธรรม แบรนด์ที่ชาวอเมริกาไม่เหลียวแล และกฏระเบียบต่าง ๆ ของรัฐบาล รวมถึงความกลัวว่าบริการออนไลน์จากจีนจะไม่ปลอดภัย เป็นเหตุผลทั้งหมดทั้งมวลของการก้าวไปสู่ระดับโลกของ แบรนด์ทางด้านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตจากจีน เพราะมันเป็นเรื่องของปัจจัยทางจิตใจและอารมณ์เสียเป็นส่วนใหญ่

แต่ถามว่า เมื่อดูจากการเจาะตลาดไปยังประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อเมริกานั้น บริการเหล่านี้ ก็ยังถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นเอเชียด้วยกันเอง อย่าง ญี่ปุ่น หรือ ไทย พวกเขาก็ไม่สามารถเจาะเข้ามาได้ มีบริการน้อยมากที่จะฮิตกลายเป็นกระแสหลักนอกประเทศจีน เหมือนบริการจากประเทศอเมริกา

ต้องบอกว่าแม้บริการออนไลน์ของพวกเขาจะเจ๋ง มีนวัตกรรมล้ำเลิศแค่ไหนในประเทศจีน แต่ดูเหมือนว่า นอกกำแพงเมืองจีน นั้น แทบจะไม่มีใครสนใจบริการของพวกเขาแต่อย่างใดนั่นเองครับผม

References : https://chinafund.com/great-firewall-of-china/

Geek Monday EP44 : China’s AI Awakening การเติบโตอย่างเฟื่องฟูของ AI ในประเทศจีน

ขณะที่กระแสของเทคโนโลยีทางด้าน AI ซึ่งกำลังมีบทบาทอยู่ในทั่วโลกนั้น จีนก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ  กำลังดำเนินการในการสร้างและพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ทางรัฐบาลของจีนได้ทำการเทเงินกว่า หนึ่งแสนล้านหยวน หรือ ประมาณ หนึ่งหมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในเทคโนโลยีดังกล่าว

ขณะที่ภาคเอกชนของจีน ก็ทำการลงทุนขนาดใหญ่กับ AI เทคโนโลยีของอนาคต ซึ่งถ้าหากความพยายามดังกล่าวของจีนประสบความสำเร็จนั้น และขณะนี้ก็มีสัญญาณหลายอย่างที่ปรากฏว่าจีน จะกลายเป็นผู้นำด้าน AI ในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งก็จะทำให้สามารถเพิ่ม productivity ของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของจีน

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน Podbean : https://bit.ly/2ReIg5r

ฟังผ่าน Apple Podcast :https://apple.co/2lEqPPg

ฟังผ่าน Google Podcast :  https://bit.ly/2UK66rP

ฟังผ่าน Spotify : https://spoti.fi/3bYye0p 

ฟังผ่าน Youtube https://youtu.be/UZhlEkwgyCI

References Images : https://www.digitalcrew.com.au/blogs-and-insights/chinas-artificial-intelligence-dominance/