สหภาพแรงงาน! ตัวช่วยพนักงาน หรือ ภาระอังหนักอึ้งขององค์กร?

นายจ้างและลูกจ้างนั้น ดูเหมือนจะมีมุมมองเรื่ององค์กรที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ในอดีตสหภาพแรงงานนั้น ถือเป็นองค์กรที่สำคัญมาก ๆ ในการเป็นตัวแทนของลูกจ้างเพื่อไปเจรจากับนายจ้างมานานหลายศตวรรษ ซึ่งจุดเริ่มต้นของการเกิดสหภาพแรงงานนั้นก็คงต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ช่วงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเลยทีเดียว

การผลิตในยุคเก่านั้น แรงงานเป็นสิ่งสำคัญต่อการขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจ นายจ้างค่อนข้างที่จะแคร์ลูกจ้างมาก ๆ มีการปรับสถานที่ทำงาน การให้สวัสดิการต่าง ๆ ที่ดีเลิศ ซึ่งยุคเริ่มต้นนั้น สหภาพแรงงานนั้นจะมีการก่อตั้งในโรงงานเหล็ก โรงงานสิ่งทอ และเหมืองแร่

แต่เมื่อเวลาได้ดำเนินผ่านไป สหภาพแรงงานได้แพร่กระจายไปสู่อุตสาหกรรมอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งส่วนใหญ่นั้นจะเกี่ยวข้องกับ เศรษฐกิจยุคเก่า ตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา และเริ่มลามมาถึง อุตสาหกรรมด้านการขนส่ง สาธารณูปโภค รวมถึงรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในยุคหลัง

แต่ด้วยอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการเข้าสู่ยุค Digital Disruption ที่หลายๆ องค์กรนั้นถูก Disruption อย่างหนักจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้การตั้งสหภาพแรงงานแบบดั้งเดิมนั้นทำได้ยากขึ้นมาก ๆ

เราจึงได้เห็นเฉพาะสหภาพแรงงาน ที่เก่าแก่ อย่างในไทย ก็มีหลายองค์กรที่แข็งแกร่งมาจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น สหภาพแรงงานของการบิน หรือ รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ของไทยนั้นก็มักจะมีสหภาพแรงงานเหล่านี้ ที่มีอำนาจต่อรองค่อนข้างสูง

ตัวอย่างที่เห็นภาพมาก ๆ คือบรรดาโรงงานการผลิตต่าง ๆ ในประเทศฐานการผลิตใหญ่ของโลกอย่างประเทศจีน ซึ่งมักจะคัดค้านการเกิดขึ้นของสหภาพเหล่านี้ ซึ่งใน Documentary ดังใน Netflix อย่าง American Factory นั้นก็ตีแผ่ภาพดังกล่าวให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ในเรื่องของความพ่ายแพ้ของคนอเมริกา ที่ไม่สามารถที่จะไปผลิตสู้โรงงานจากจีนได้เลย เพราะในสารคดีชุดนี้มันได้ชี้ให้เห็นความแตกต่างหลาย ๆ อย่างระหว่างแรงงานชาวอเมริกาและจีน

มันเป็นความแตกต่างทุก ๆ อย่าง ทั้งประสิทธิภาพ ความคล่องตัว ระเบียบวินัย แทบจะทุก ๆเรื่องนั้น ความสามารถของแรงงานจีนนั้นกินขาดอย่างเห็นได้ชัด แถมยังไม่ต้องมานั่งกังวลเรื่องสหภาพแรงงาน ที่ทางฝั่งอเมริกานั้นพยายามเรียกร้องอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย

ซึ่งแน่นอนว่า อิทธิพลของสหภาพแรงงานนั้นค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการต่อรองค่าจ้าง หรือการจัดการอุปทานด้านแรงงาน ซึ่งมีงานวิจัยที่น่าสนใจที่พบว่า การเจรจาต่อรองผ่านสหภาพแรงงานนั้น นายจ้างจะต้องจ่ายค่าแรงที่สูงกว่าจุดตัดสมดุลปรกติ (จุดตัดของเส้นอุปทานแรงงานและความต้องการแรงงาน)

ต้องเรียกว่าในอดีตนั้น สหภาพแรงงานเหล่านี้ ล้วนมีอิทธิพลอย่างมาก ไมว่าจะเป็นเรื่องการหาแรงงานเข้าสู่บริษัท การกดดันอัตราค่าจ้าง และมีกฏหมายรองรับที่คุ้มครองในระดับหนึ่งของกิจกรรมในสหภาพแรงงานเหล่านี้

ซึ่งอย่างที่กล่าวไปว่า ในเศรษฐกิจยุคเก่านั้น เป็นยุค ปลาใหญ่กินปลาเล็ก ซึ่งทำให้สหภาพแรงงานเหล่านี้สามารถอยู่ต่อไปได้ และคงอิทธิพลต่อไปได้ นายจ้างก็ไม่ค่อยกล้าที่จะล้มสหภาพแรงงานเหล่านี้ และองค์กรส่วนใหญ่ก็เป็นแบบผูกขาด

แต่ในยุค Disruption อย่างที่เราได้เห็นในปัจจุบัน นั้นการเคลื่อนตัวที่ช้า การไม่สามารถตัดสินใจเชิงธุรกิจได้แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เนื่องจากเกรงกลัวอิทธิพลของสหภาพแรงงาน ในที่สุดก็ทำให้หลายองค์กรนั้นถึงจุดจบได้เช่นเดียวกัน เพราะมันได้กลายเป็นยุคของปลาเร็วกินปลาช้าไปเสียแล้ว การขับเคลื่อนองค์กรที่ช้า เราก็ได้เห็นถึงสภาพของหลาย ๆ องค์กรที่มีสหภาพแรงงานที่แข็งแกร่ง แต่พวกเขาก็ไม่สามารถแข่งขันได้ และสุดท้ายก็อาจต้องเข้าสู่ภาวะล้มละลายไปในที่สุดนั่นเองครับ

References : https://www.investopedia.com/articles/economics/09/unions-workers.asp https://www.investopedia.com/financial-edge/0113/the-history-of-unions-in-the-united-states.aspx