AI vs Human Emotions กับความต่างทางวัฒนธรรมของสองแพล็ตฟอร์มระหว่าง Instagram และ Facebook

ต้องบอกว่าแม้ Meta จะเป็นเจ้าของทั้งแพล็ตฟอร์ม Instagram และ Facebook แต่ก็เรียกได้ว่าความรู้สึกของผู้ใช้งานของทั้งสองแพลตฟอร์มนั้นแทบจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

เราจะสังเกตุได้ว่า ยังมีกลุ่มวัยรุ่น Gen ใหม่ ๆ บางกลุ่มที่ยังติดหนึบอยู่กับแพลตฟอร์มอย่าง Instagram เพื่อหลีกหนีความวุ่นวาย เมื่อพ่อแม่ของพวกเขาเข้ามาเล่นในแพล็ตฟอร์มอย่าง Facebook

ในขณะที่ Facebook เป็นแพล็ตฟอร์มที่ถูกขับเคลื่อนโดยการตัดสินใจผ่านข้อมูลเป็นหลัก ในการสร้างสรรค์ฟีเจอร์ต่าง ๆ ออกมา เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจของพวกเขาที่ใช้สำหรับคนหมู่มาก

แต่ Instagram นั้นแตกต่างออกไป โดยเฉพาะในช่วงที่ Kevin Systrom และ Mike Krieger ยังเป็นผู้นำอยู่ การตัดสินใจหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้นบนแพล็ตฟอร์มนั้น อาศัยเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกจากมนุษย์โดยเฉพาะจาก Systrom เป็นหลัก

Kevin Systrom และ Mike Krieger สองผู้ก่อตั้ง Instagram (CR:ABCNews.go.com)
Kevin Systrom และ Mike Krieger สองผู้ก่อตั้ง Instagram (CR:ABCNews.go.com)

แม้จะก่อตั้งมาเพียงไม่ถึงสองปี แล้วได้ทำการขายกิจการให้กับ Facebook ไปมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์ แต่หลังจากถูกเข้าซื้อนั้น Mark Zuckerberg ก็ยังให้ Systrom ควบคุม Instagram แบบอิสระ

ถ้าย้อนไปในยุคนั้น Facebook มีผู้ใช้งานเกือบแตะ 1 พันล้านคน แต่ Instagram ยังมีผู้ใช้งานเพียงหลักร้อยล้านคน เพิ่งจะมี version android ออกมาได้ไม่นานเพียงเท่านั้น

หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมเหล่า influencers ที่มีอิทธิพลสูงสุดนั้น ส่วนใหญ่จะนับจากยอด follower ของแพล็ตฟอร์ม Instagram เป็นหลัก

เพราะมันคือเรื่องของ Human Emotions ที่ถูกออกแบบมาตั้งแต่ต้น Systrom นั้นควบคุมทุกอย่างด้วยตัวของเขาเองให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการ scale กิจการ หรือ ประสบการณ์ต่าง ๆ ในแแพล็ตฟอร์ม

Instagram สามารถเติบโตแบบก้าวกระโดดได้ง่าย ๆ ด้วยการใช้ฟีเจอร์หลาย ๆ อย่างของ Facebook เช่น การแชร์ ซึ่งทำให้แพล็ตฟอร์มนั้นเติบโตแบบก้าวกระโดดได้มากกว่า เพราะมีการ Viral ของโพสต์อย่างที่เราเห็นในทุกวันนี้

แต่การที่ Instagram ไม่มีปุ่มแชร์ มันคือสเน่ห์ที่สำคัญลำดับต้น ๆ ของแพล็ตฟอร์มเลยก็ว่าได้ เพราะทุกเนื้อหาที่จะโพสต์ใน account ใด ๆ นั้น ต้องมาจากเจ้าของตัวจริง ไม่มีการนำโพสต์จากที่อื่นมาแชร์ออกไป

สิ่งนี้ทำให้ Influencers ในแพล็ตฟอร์มของ Instagram นั้นจะมีอิทธิพลสูงกว่าแพล็ตฟอร์มอื่น ทำให้พวกเขาสร้างรายได้มากกว่าแแพล็ตฟอร์มอื่น ๆ เพราะความ exclusive ที่ถูกออกแบบมาโดย Systrom นั่นเอง

ถึงขั้นที่ว่า Mark Zuckerberg เองก็มีการระแวงแพล็ตฟอร์มอย่าง Instagram ที่เขาเป็นเจ้าของด้วยซ้ำในช่วงแรก ๆ หลังจากการซื้อกิจการ

เพราะกลัวจะถูกแย่งส่วนแบ่งจากไข่ในหินของ Zuckerberg อย่าง Facebook เพราะตอนแรกดูเหมือนว่าแพล็ตฟอร์มทั้งสองนั้นจะแข่งกันเองด้วยซ้ำ

ในขณะที่ Facebook เติบโตจนมีผู้ใช้งานเป็นพันล้านคน สามารถสร้างรายได้จากโฆษณาได้มากมาย มีการปล่อยให้เจ้าของเพจสามารถมา boost โพสต์ได้เอง คล้าย ๆ กับสิ่งที่ Google ทำใน Adsword เพราะมันจะได้ตลาดที่มีขนาดใหญ่กว่ามาก

แต่ Instagram ในยุคแรกช่วงที่ Systrom ปกครองอยู่นั้น ไม่ต้องการสร้างรายได้ด้วยอะไรแบบนี้ เพราะมันส่งผลต่อภาพลักษณ์ของแพล็ตฟอร์ม จะเกิดโฆษณาขยะขึ้นในแพล็ตฟอร์มที่เขารักและหวงมาก ๆ

เพราะฉะนั้น Systrom เอง จึงเลือกที่จะควบคุมคนที่จะมาลงโฆษณาเองในทุก ๆ แบรนด์ ต้องสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับแพล็ตฟอร์ม และต้องตรงกับกลุ่มเป้าหมายของแพล็ตฟอร์ม ทุกโฆษณาจะผ่านตา Systrom โดยตรง

Systrom เลือกที่จะควบคุมคนที่จะมาลงโฆษณาเองในทุก ๆ แบรนด์ในช่วงแรกของการเปิดให้ลงโฆษณา (CR:Forbes)
Systrom เลือกที่จะควบคุมคนที่จะมาลงโฆษณาเองในทุก ๆ แบรนด์ในช่วงแรกของการเปิดให้ลงโฆษณา (CR:Forbes)

หรือแม้แต่ในเรื่องความสัมพันธ์กับเหล่าผู้ทรงอิทธิพลในแวดวงต่างๆ ก็ดี Systrom นั้นเลือกที่จะเดินหน้าสานสัมพันธ์ด้วยตัวเขาเองตั้งแต่ดารานักร้องในฮอลลีวู้ด นักกีฬาชื่อดัง หรือแม้กระทั่ง สมเด็จพระสันตปาปา

มีหลากหลายฟีเจอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นบนแพลตฟอร์ม ที่ได้รับ feedback มาจากเหล่า influencers โดยตรง ซึ่งไม่แปลกว่าทำไมในตอนนี้ Instagram จึงเป็นแพล็ตฟอร์มที่เป็นที่รักของเหล่า influencers และ แบรนด์ต่าง ๆ มากที่สุด

แต่ก็ต้องบอกว่าเรื่องราวที่กล่าวมาข้างต้น ผมเรียบเรียงมาจากหนังสือ No Filter : The Inside Story of Instagram โดย Sarah Frier ซึ่งฉายภาพเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับเรื่องราวที่เหมือนเปรียบเหมือนปาฏิหาริย์ของ Instagram

แต่หลังจาก Systrom ได้ออกจากบริษัทไป ทุกอย่างก็เริ่มเปลี่ยนไป เพราะสุดท้ายตอนนี้ Instagram นั้นก็ถูกตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ โดย AI หรือ ข้อมูล ผ่านการวิเคราะห์ ที่ไม่ต่างจาก Facebook ซึ่งทำให้ Instagram ในตอนนี้ไม่ได้มีสเน่ห์ที่ดึงดูดใจเหมือนยุคของ Systrom อีกต่อไปนั่นเองครับผม

Credit Image : https://www.digitalinformationworld.com/2019/04/instagram-founder-kevin-systrom-facebook-mark-zuckerberg.html


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube