Geek Daily EP146 : Promtpay กับการผลักดันประเทศสู่ผู้นำระดับโลกในการชำระเงินแบบเรียลไทม์

รายงาน “Prime-Time for Real Time ฉบับที่สาม ประจำปี 2022” จัดทำโดย “เอซีไอ เวิลด์ไวด์” (ACI Worldwide) ภายใต้ความร่วมมือกับโกลบอลดาต้า (GlobalData) ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านข้อมูลและการวิเคราะห์ และศูนย์วิจัยทางเศรษฐกิจและธุรกิจ (Centre for Economics and Business Research – Cebr)

พบว่าประเทศไทยรั้งตำแหน่งผู้นำในอาเซียนด้านชำระเงินเรียลไทม์ที่มูลค่าจำนวนเงินไม่สูง และเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากจีน และอินเดีย ด้วยการทำธุรกรรมจำนวน 9.7 พันล้านรายการในปี 2021

“การชำระเงินเรียลไทม์” (Real-time Payment) คือ การโอนเงินและรับเงินได้ทันที สามารถทำธุรกรรมได้ตลอด 24/7 ทั้ง 365 วัน ตัวอย่างในไทยเช่น “พร้อมเพย์” (PromptPay) แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความรวมถึง Digital Payment ทุกประเภทจะเป็นการชำระเงินแบบเรียลไทม์​ เช่น บัตรเครดิต ไม่จัดอยู่ในกลุ่มนี้

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3S76AmR

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3xrOuUR

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3UhDd3g

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3eVrUgV

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/kONjLF0MAWw

References :
https://www.marketingoops.com/reports/real-time-payment/
https://www.aciworldwide.com/real-time-payments-report
https://b2b.mastercard.com/partnerships/partner-perspectives/prime-time-for-real-time-2022/
https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256303_TheKnowledge_PromptPay.aspx

Geek Daily EP145 : เหตุใด Toyota ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในโลก ถึงไม่ผลักดันรถยนต์ไฟฟ้าแบบเต็มตัว

ประมาณสองทศวรรษที่แล้ว Toyota Motor กลายเป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและผู้บริโภคในสหรัฐฯ ชื่นชอบด้วยรถยนต์ไฮบริด Prius ซึ่งเป็นรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า โดยเป็นหนึ่งในรถยนต์ที่สะอาดและประหยัดน้ำมันที่สุดเท่าที่เคยมีมา

แต่เมื่ออุตสาหกรรมยานยนต์เปลี่ยนไปใช้อนาคตที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นรายนี้กลับไม่เห็นด้วยที่จะเดินหน้าเต็มตัวกับรถยนต์ไฟฟ้า Toyota ยังคงมีความลังเลที่จะลงทุนในรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดแบบ 100%

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3QGRkfd

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3d9rfIe

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3Dn5MpB

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3dfo9Cf

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/Wy6gEYNoTVQ

Credit Image : Toyota USA Newsroom

Piestro Robotic Pizza กับวิธีการที่หุ่นยนต์สามารถเปลี่ยนร้านพิซซ่าให้ทำกำไรได้มากกว่าเดิมถึง 2 เท่า

เมื่อหุ่นยนต์เริ่มเข้ามามีบทบาทในหลากหลายอุตสาหกรรม แม้กระทั่งธุรกิจพิซซ่า ชาวอเมริกันทานพิซซ่า 3 พันล้านครั้งในทุก ๆ ปีซึ่งสร้างตลาดขนาดใหญ่มูลค่ากว่า 53 พันล้านดอลลาร์

ปัญหาเดียวคือร้านพิชซ่าแบบดั้งเดิมถูกบีบด้วยอัตรากำไรที่น้อยมาก ๆ แต่มันมีเรื่องราวที่น่าสนใจของ Piestro ร้านพิชซ่าแบบหุ่นยนต์ที่สามารถช่วยให้เจ้าของธุรกิจเพิ่มผลกำไรเป็นสองเท่า!!

Piestro ก่อนตั้งโดย Massimo Noja De Marco ที่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมบริการมานาน

De Marco มากจากครอบครัวเชฟอิตาลีที่ผ่านการเป็นเชพมากว่า 7 ชั่วอายุคน เขายังเคยร่วมงานกับภัตตาคารชื่อดังอย่าง Wolfgang Puck

ซึ่งจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ De Marco เห็นโอกาสบางอย่างที่อุตสาหกรรมร้านอาหารแบบดั้งเดิมต้องตกอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างหนัก

ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนค่าแรง ค่าเช่าและราคาสินค้าที่ถีบตัวสูงขึ้นทำให้อัตรากำไรลดลงเหลือเพียงแค่ 5-10% เท่านั้น แต่ร้านอาหารก็มีความท้าทายในการที่จะรักษาฐานลูกค้าของตน

Piestro จึงได้เป็นแนวคิดใหม่เกี่ยวกับการวิเคราะห์มาอย่างดีของธุรกิจนี้โดยเฉพาะตลาดพิซซ่าที่มีขนาดใหญ่มหาศาล

De Marco ได้พัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบแยกอุณหภูมิที่ซับซ้อนซึ่งรักษาอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับท็อปปิ้งและแป้ง ซึ่งสามารถสร้างสูตรของตนเองได้ และยังสามารถอัปโหลดสูตรใหม่เข้าไปได้อีกด้วย

ความน่าสนใจของ Piestro คือพวกเขาเกิดมาจากการระดมทุนแบบคราวด์ฟันดิ้งผ่านแพลตฟอร์ม StartEngine ช่วงแรก ๆ เขาต้องการเงินทุนราว ๆ 2 ล้านดอลลาร์ เปิดให้เหล่าผู้สนใจเข้ามาลงทุนขั้นต่ำเพียงแค่ 249.39 ดอลลาร์เพียงเท่านั้น

Piestro ระดมทุนแบบคราวด์ฟันดิ้งผ่านแพลตฟอร์ม StartEngine (CR:StartEngine)
Piestro ระดมทุนแบบคราวด์ฟันดิ้งผ่านแพลตฟอร์ม StartEngine (CR:StartEngine)

ซึ่งการเปิดระดมทุนของเขาได้รับความสนใจอย่างมาก ทำให้สามารถระดมทุนได้ถึง 6.02 ล้านดอลลาร์ จากนักลงทุนกล่มแรก ๆ ราว 180 ราย

Piestro ได้รับการพัฒนาโดยตอบสนองความต้องการพิซซ่าที่เพิ่มขึ้นของอเมริกา เทคโนโลยีหุ่นยนต์ของพวกเขาสามารถเสิร์ฟพิซซ่าได้ในเวลาเพียงแค่สามนาที 

ซึ่งตู้ขายอัตโนมัติของ Piestro สามารถไปได้ทุกที่ที่ และพร้อมที่จะอบพิซซ่าที่ทำสดใหม่ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันไม่เว้นวันหยุด

และที่สำคัญ Piestro ยังมีการประกาศจับมือเป็นพันธมิตรกับ Serve Robotics ซึ่งผลิตหุ่นยนต์ส่งของ เพื่อให้บริการส่งพิซซ่าแบบหุ่นยนต์แบบ end-to-end แบบไม่ต้องสัมผัสแก่ลูกค้า หุ่นยนต์ของ Serve สามารถส่งไปยังหน้าประตูของลูกค้าเพื่อทำธุรกรรมแบบ end-to-end โดยที่ไม่ต้องสัมผัส ลูกค้าเพียงแค่ป้อนรหัสผ่านเพื่อรับพิซซ่าจากหุ่นยนต์ส่งของ

เครื่องทำพิซซ่าอัตโนมัติของ Piestro ได้เป็นพันธมิตรกับหุ่นยนต์ส่งของอัตโนมัติของ Serve Robotics
เครื่องทำพิซซ่าอัตโนมัติของ Piestro ได้เป็นพันธมิตรกับหุ่นยนต์ส่งของอัตโนมัติของ Serve Robotics

นั่นหมายความว่าธุรกิจต่างๆ สามารถนำพิซซ่าสดใหม่ไปยังที่ที่ผู้คนต้องการได้มากที่สุดโดยเสียค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยในการเปิดร้านพิชซ่าเมื่อเทียบกับวิธีการแบบดั้งเดิม และธุรกิจต่างๆ ก็เข้าแถวใช้เทคโนโลยีของ Piestro

800 Degrees Pizza แบรนด์พิซซ่านานาชาติโดยเชฟชื่อดัง Anthony Carron และ Carbone Restaurant Group กำลังวางแผนที่จะใช้ Piestro เพื่อกระตุ้นการขยายตัวของธุรกิจ

เหตุผลง่ายๆ ก็คือ Piestro ช่วยให้ร้านอาหารทำเงินได้มากกว่าที่เคย

แม้ว่าพิซซ่าแสนอร่อยจะเอาชนะใจลูกค้าได้ แต่ข้อดีที่แท้จริงสำหรับเจ้าของก็คือต้นทุนที่ลดลงอย่างมาก 

การเปิดร้านอาหารมักมาพร้อมกับสัญญาเช่าที่มีราคาแพงและค่าจ้างของพ่อครัว แม่ครัว พนักงานขับรถส่งของ และอื่นๆ อีกมากมาย 

ระบบอัตโนมัติของ Piestro ทำให้การเปิดสาขาใหม่ ๆ นั้นเป็นเรื่องง่ายกว่าเดิมมาก

ร้านอาหารโดยเฉลี่ยใช้เวลา 9 ถึง 12 เดือนกว่าจะคืนทุน และใช้เงินทุนเริ่มต้นประมาณ 375,000 เหรียญสหรัฐ แต่หุ่นยนต์ของ Piestro สามารถเปิดดำเนินการได้ภายในเวลาเพียงสองสัปดาห์ด้วยต้นทุนเพียงแค่ประมาณ 75,000 เหรียญเท่านั้น

Piestro ช่วยให้ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จขยายตัวได้เร็วยิ่งขึ้น เครื่องติดฉลากสีขาวของ Piestro สามารถปรับแต่งให้เข้ากับแบรนด์พิซซ่าของร้านอาหารใดๆ ก็ได้

นั่นทำให้เจ้าของสามารถขยายสาขาได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมหาศาลในการเปิดร้านที่สองหรือสาม นั่นจะทำให้เงินเข้ากระเป๋าของเจ้าของมากขึ้นนั่นเอง

และเป็นเหตุผลที่ 800 Degrees Pizza ได้ทำการสั่งจองตู้อัตโนมัติล่วงหน้าถึง 3,600 ชิ้น ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 530 ล้านดอลลาร์แทบจะทันที

ลองนึกภาพถึงศักยภาพเมื่อแบรนด์ต่างๆ ใช้ Piestro เพื่อขยายแฟรนไชส์ไปทั่วโลก ให้จำชื่อ Piestro นี้ไว้ให้ดีนะครับอาจจะบุกมาถึงบ้านเราในเร็ววันนี้ก็เป็นได้

References :
https://www.nasdaq.com/articles/crowd-funded-piestro-may-change-chain-pizza-as-we-know-it-2020-06-19
https://www.entrepreneur.com/leadership/how-robots-are-creating-a-2x-more-profitable-pizzeria
https://waxinvest.com/projects/piestro/
https://www.zdnet.com/article/two-robots-just-cut-a-deal-to-bake-and-deliver-your-pizzas/

Geek Monday EP147 : การผูกขาดของ Visa-Mastercard กับภัยคุกคามที่จะมาล้มบัลลังก์ของราชาแห่งบัตรเครดิต

Visa และ Mastercard ซึ่งอำนวยความสะดวกมากกว่าสามในสี่ของธุรกรรมบัตรเครดิตของประเทศอเมริกา ซึ่งการผูกขาดเช่นนี้ทำให้พวกเขาเป็นสองบริษัทที่ทำกำไรได้มากที่สุดในโลกโดย พวกเขามีรายได้จากค่าธรรมเนียมกว่า 138 พันล้านดอลลาร์ในแต่ละปี และมีอัตรากำไรสุทธิสูงถึง 51% ในปีที่แล้ว

ทว่ามีสองภัยคุกคามปรากฏขึ้น กลุ่มแรกมาจากวอชิงตันที่ซึ่งสมาชิกสภานิติบัญญัติหวังจะทุบตีคู่หูในการชำระหนี้ กลุ่มที่สองคือบริษัทสตาร์ทอัพด้าน fintech ซึ่งการชำระเงินมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทั้งในประเทศขนาดใหญ่อย่างบราซิล จีน และอินโดนีเซียด้วยตัวเลือกที่ใช้แอพราคาถูกและสะดวกสบายจากยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี เช่น Mercado Pago, Ant Group, Tencent และ Grab หลังจากที่รอมานาน ผู้เข้าแข่งขันรายใหม่ดูเหมือนจะสามารถเขย่าตลาดอเมริกาได้

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3qqZaz4

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3RVfqUB

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3RwpiEu

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3B5dAKc

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/8bk6JXzQpYo

Credit Image : Finextra

Toyota vs Nokia กับความเหมือนที่แตกต่างจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมของตนเอง

“ธุรกิจของ Tesla ถ้าให้เทียบกับร้านอาหาร ตอนนี้ก็มีแค่เฉพาะ ‘ครัว’ กับ ‘เชฟ’ ซึ่งทั้งครัวและเชฟนั้นยังไม่ได้สร้างธุรกิจในโลกแห่งความเป็นจริงได้เลย สิ่งที่ Tesla ทำก็คือการนำเสนอสูตรอาหาร ส่วนตัวเชฟก็พยายามพูดว่า สูตรของเรานั้นจะกลายเป็นมาตรฐานของโลกในอนาคต ผมคิดว่านั่นคือภาพของธุรกิจที่ Tesla กำลังทำอยู่”

มันได้กลายเป็นสุดยอด quote จาก Akio Toyoda ประธานของโตโยต้า มอเตอร์ ที่ได้กล่าวออกมาหลังจากที่มูลค่าบริษัทของ Tesla แซงหน้ายักษ์ใหญ่เบอร์หนึ่งที่ครองตำแหน่งมาอย่างยาวนานอย่าง Toyota ได้สำเร็จในปี 2020

เรียกได้ว่าเป็นสองธุรกิจที่มีความท้าทายในยุคเปลี่ยนผ่านที่มีความคล้ายคลึงกันอย่างมากนะครับสำหรับทั้งบริษัทยานยนต์ยักษ์ใหญ่อย่าง Toyota และอดีตบริษัทมือถือยักษ์ใหญ่อย่าง Nokia

การเกิดขึ้นของ iPhone ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างในวงการมือถือต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง แม้จะมีเสียงวิจารณ์ตามมามากมาย หลังการเปิดตัวของ iPhone โดย Steve Jobs ซึ่งแน่นอนว่าเหล่าผู้บริหารที่เกี่ยวข้องในวงการธุรกิจมือถือนั้น ได้ให้ความเห็นที่แตกต่างกันมากมาย

ตัวอย่างเช่น สตีฟ บอลเมอร์ CEO ของ Microsoft นั้น ถึงกับหัวเราะดังลั่น หลังจากสื่อได้เข้าไปถามหลังการเปิดตัว iPhone ซึ่ง บอลเมอร์ นั้นมองว่า iPhone จะไม่สามารถดึงดูดลูกค้าธุรกิจได้ เพราะมันไม่มีแป้นพิมพ์ และ Microsoft นั้นก็มีกลยุทธ์ของตัวเองสำหรับ Windows Mobile แล้วและกำลังไปได้สวยอยู่ในตลาด

สตีฟ บอลเมอร์ CEO ของ Microsoft นั้น ถึงกับหัวเราะดังลั่น หลังจากสื่อได้เข้าไปถามหลังการเปิดตัว iPhone (CR:Youtube)
สตีฟ บอลเมอร์ CEO ของ Microsoft นั้น ถึงกับหัวเราะดังลั่น หลังจากสื่อได้เข้าไปถามหลังการเปิดตัว iPhone (CR:Youtube)

ส่วนทางฝั่ง Nokia นั้น ภายในปี 2010 เริ่มตระหนักถึงภัยคุกคามที่ร้ายแรงของ iPhone รวมถึง Android ที่กำลังมากัดกินตลาดของ Nokia มากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนแบ่งของ Nokia ในตลาด smartphone ตกลงอย่างฮวบฮาบ ขณะที่ของ Apple และ Android พุ่งขึ้นอย่างไม่มีทีท่าว่าจะหยุด

จนในที่สุด ประธานบริหาร Nokia อย่าง Olli Pekka Callasvuo ถูกไล่ออกไปในที่สุด มันเป็นการปรับตัวที่ช้ามาก ๆ ของ Nokia ซึ่งแผนธุรกิจที่ดูซับซ้อนเข้าใจยาก และเน้นไปที่การชาร์จค่าบริการต่าง ๆ กับลูกค้า ซึ่งเป็นแนวทางตรงกันข้ามกับสิ่งที่ Apple และ Google ทำ

ฝั่งรถยนต์ไฟฟ้าที่นำโดย Tesla นั้นเรียกได้ว่าปฏิวัติวงการใหม่แทบจะหมด ทั้งเรื่องการขายที่ไม่ได้เน้นตัวแทนจำหน่ายอีกต่อไป หรือ การปรับบริษัทให้คล้ายกับสตาร์ทอัพทางด้านเทคโนโลยีที่เป็นงานถนัดของ elon musk อยู่แล้วทำให้พวกเขาได้เปรียบเป็นอย่างมาก

การเกิดขึ้นของรถยนต์ไฟฟ้านั้นเรียกได้ว่าคล้ายกับวงการมือถือหลังการถือกำเนิดขึ้นของ iPhone และ Android ที่เปลี่ยนแทบจะทุกมิติของอุตสาหกรรม

มันทำให้ยักษ์ใหญ่อย่าง Nokia ยากที่จะปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์คิดทำอะไรดูเหมือนช้าไปหมด แม้ภายหลังจะไปร่วมมือกับ Microsoft เพื่อสร้าง Windows Phone แต่ทุกอย่างมันก็ดูเหมือนจะสายไปเสียแล้ว

ในแวดวงรถยนต์ไฟฟ้าก็ตกอยู่ในสถานการณ์คล้าย ๆ กัน เนื่องจากวัฒนธรรมองค์กร รวมถึงเหล่าผู้บริหารที่ยังคงควบคุมอยู่แน่นอนว่าพวกเขาโตมากับยุคเครื่องยนต์สันดาป การจะพลิกทุกอย่างในเวลาอันสั้นนั้นคงเป็นไปได้ยากมาก ๆ

บทเรียนเรื่องนี้มันเคยเกิดขึ้นกับบริษัทด้านอิเล็กทรอนิกส์จากประเทศญี่ปุ่นที่อยู่ในยุครุ่งเรืองของการเปลี่ยนผ่านจากอนาล็อกไปยังดิจิทัล ซึ่งแบรนด์เกาหลีใต้เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัล พวกเขาทำได้ดีกว่า ทำให้เราได้เห็นข่าวการขายกิจการหรือเลิกธุรกิจสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากแบรนด์ญี่ปุ่นหลายๆ ราย

สินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากแบรนด์ญี่ปุ่นหลายๆ  รายที่ไม่สามารถปรับตัวได้ (CR:Reuters)
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากแบรนด์ญี่ปุ่นหลายๆ รายที่ไม่สามารถปรับตัวได้ (CR:Reuters)

การมีองค์กรที่ใหญ่เทอะทะ ทำให้การปรับตัวยากลำบาก ซึ่งหลาย ๆ บริษัททางด้านรถยนต์กำลังประสบพบเจออยู่แถมยังต้องเจอกับสิ่งใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแบตเตอรี่ หรือ การพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติ ซึ่งมันแทบจะต้องเริ่มต้นจากศูนย์

ส่วนตัวผมเองมองว่าสถานการณ์ในแวดวงยานยนต์ในขณะนี้ไม่ต่างจากวงการมือถือเลย Tesla ก็เปรียบเสมือน iPhone ที่เป็นผู้เริ่มต้นพลิกอุตสาหกรรม ส่วนบริษัทอื่นๆ โดยเฉพาะแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีนก็แทบไม่ต่างจาก Android ที่เน้นฟีเจอร์และราคาที่ถูกกว่า แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปพวกเขาก็จะปรับให้ความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

ซึ่งเรียกได้ว่าสถานการณ์ในตอนนี้เป็นจุดเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ เราจะเห็นข่าวบริษัทยักษ์ใหญ่จากรถยนต์สันดาปหลาย ๆ รายเริ่มปรับตัวกันแล้ว บางรายถึงกับโล๊ะพนักงานออกไปจำนวนมากเพื่อล้างองค์กรครั้งใหญ่

หรือ Toyota เองที่ข่าวล่าสุดมีแผนชัดเจนว่าจะไม่กั๊กอีกต่อไปแล้ว เพราะมันชัดเจนแล้วว่าทั้งเครื่องยนต์ไฟฟ้าพลังงานเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่พวกเขาพยายามผลักดัน หรือ เครื่องยนต์ไฮบริดที่พวกเขาเป็นผู้นำ ตอนนี้มันได้ถึงยุคเปลี่ยนผ่านเต็มตัวแล้ว ซึ่งถ้าพวกเขายังยึดติดกับความสำเร็จเดิม ๆ สุดท้ายพวกเขาอาจจะกลายเป็น Nokia เวอร์ชั่นอุตสาหกรรมรถยนต์ก็เป็นได้นั่นเองครับผม

ปล. มีการถกเถียงกันเรื่องนี้พอสมควรในเว็บไซต์ถามตอบชื่อดังอย่าง quora ในประเด็นที่ว่า Toyota จะประสบชะตากรรมเดียวกับ Nokia หรือไม่ มีหลายมุมมองที่ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยที่น่าสนใจมาก ๆ

อ่านได้ที่ -> https://www.quora.com/Is-Toyota-making-the-same-mistake-as-Nokia-in-being-too-conservative-about-diversifying-into-electric-vehicles

References :
https://www.businessinsider.com/toyota-president-tesla-is-restaurant-without-real-chef-or-kitchen-2020-11
https://brandinside.asia/toyota-president-on-tesla/