Gap Year กับทางเลือกอนาคตสำหรับเด็กยุคใหม่

พอดีผมบังเอิญได้ไปดู Youtube Channel ช่องนึง ที่ได้ถกเถียงกันในเรื่องของวัฒนธรรม Gap Year จากฝั่งประเทศตะวันตก ว่าเหมาะที่จะนำมาใช้กับประเทศไทยหรือไม่

ต้องบอกว่าเป็นเรื่องน่าสนใจเลยทีเดียว ในเรื่องของ วัฒนธรรม Gap Year ที่มีมานานมาแล้วในประเทศฝั่งตะวันตก ที่ หลังจากจบมัธยมปลาย เด็ก ๆ จะใช้เวลา 1 ปี เพื่อค้นหาตัวเอง ซึ่งจะอยู่ภายใต้แนวคิดที่ว่า ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนที่จะต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัย

เป็นการใช้เวลา 1 ปีนั้น เพื่อพิสูจน์ให้แน่ชัด ว่า อยากตัวเองอยากเรียนอะไรกันแน่ แล้วค่อยสมัคร ก็ยังไม่สายเกินไป ดีกว่า จะต้องใช้เวลาอยู่กับมันทั้งชีวิต หากเรียนจนมหาลัยแล้วในสาขาที่ตัวเองนั้น ไม่ได้อยากที่จะเป็นจริง ๆ

ซึ่งตอนนี้ แนวคิดนี้ก็เริ่มมีการใช้กันบ้างแล้วในประเทศไทย เพราะเวลาเพียงแค่ 1 ปีนั้น เมื่อแลกกับ สิ่งที่ได้มาว่า เราชอบที่จะทำอะไรกันแน่ ถือเป็นเวลาที่คุ้มค่ามาก ๆ

แน่นอนว่าเมื่อก่อนหลาย ๆ คนอาจจะไม่มีเวลาคิดมากมาย เพื่อที่จะวางแผนกับตัวเองว่าชอบอะไรกันแน่ เพราะสังคมไทยเรานั้น ค่อนข้างฝังแนวคิด ว่าเรียนจบมัธยม ก็ต้องต่อมหาวิทยาลัย หรือ แม้กระทั่งยุคก่อนหน้ามีการสอบข้ามชั้นเรียน เพื่อให้ไปมหาลัยให้เร็วที่สุด กันเลยทีเดียว โดยที่แทบจะยังไม่รู้ตัวเองด้วยซ้ำ ว่าเราชอบอะไรกันแน่

แต่เมื่อโลกเราเปลี่ยน ทางเลือกในการดำรงชีวิตนั้น มีหลากหลายมากยิ่งขึ้น ไม่ถูกจำกัดอยู่ไม่กี่อาชีพเหมือนเมื่อก่อน ที่เรามีกรอบความคิดไม่กี่อาชีพ เช่น หมอ วิศวกร บัญชี นักกฏหมาย ข้าราชการ หรือ อีกไม่กี่อาชีพ เมื่อเราถูกตั้งคำถามในวัยเด็ก เราก็จะตอบอาชีพวนเวียนอยู่เพียงแค่นี้เท่านั้น

แต่โลกยุคปัจจุบัน ด้วยการปฏิวัติข้อมูลข่าวสาร เกิดการเชื่อมต่อกันกับคนทั้งโลกได้อย่างง่ายดายเพียงแค่ปลายนิ้ว ทำให้ เกิดอาชีพที่หลากหลาย ที่สามารถดำรงชีวิตได้เหมือนอาชีพอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น Blogger , Youtuber , พ่อค้า แม่ค้า online หรือ นักเขียนนิยายออนไลน์ กลุ่ม Creator Content บนโลกออนไลน์ ที่ตอนนี้สามารถทำรายได้มหาศาลไม่ต่างจากอาชีพแบบโบราณ ที่ผู้ใหญ่ยึดถือกัน

ผมว่าตอนนี้ประเทศเราถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญ โดยเฉพาะเรื่องอาชีพการงานต่าง ๆ ที่เปิดกว้าง และหลากหลายมากยิ่งขึ้น ไม่ได้ยึดติดเหมือนเมื่อก่อนที่ คนที่ เก่ง คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ถูกยอมรับว่าเป็นคนเก่งของสังคม

ซึ่งตอนนี้มันได้กลายเป็นเพียงแค่ศาสตร์แขนงหนึ่งเพียงเท่านั้น ซึ่งในอดีตมันสำคัญจริง ๆ แต่ตอนนี้มันแทบจะไม่มีผลใด ๆ ต่อการสร้างรายได้ให้กับเราในอนาคตอีกต่อไป ขอแค่คุณเก่งซักทางก็พอ ไม่ว่าเรื่องใด ไม่จำเป็นต้องเก่งในวิชาหลัก ๆ อย่างที่ถูกยึดติดในอดีตอีกต่อไป

เพราะตอนนี้มันไม่ใช่แล้ว เพราะ ความฉลาดของเด็ก ๆ นั้นมาในหลาย ๆ รูปแบบมาก ๆ บางคนอาจจะวาดรูปเก่ง มาสร้างเพจการ์ตูน ทำรายได้หลายล้านต่อไป ซึ่งในอดีตนั้น มันเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ หรือ คนที่มีมุกเจ๋ง ๆ สามารถสร้าง character จากมุกตลกต่าง ๆ บนโลกออนไลน์แล้วหาเงินได้มากมายมหาศาล หรือนักเขียนนิยายอายุน้อย ที่สามารถสร้างนิยาย คนอ่านหลักหลายล้านคน และทำรายได้มหาศาลไม่ต่างจาก อาชีพอื่น ๆ อีกต่อไป

ผมมองว่า Gap Year จะกลายเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ ในอนาคต ที่เด็ก ๆ ควรต้องค้นหาตัวเองว่าอยากที่จะทำอะไรกันแน่ และชอบในสิ่งที่ทำ อย่าให้เหมือนกับผู้ใหญ่ยุคก่อน ๆ ที่กว่าจะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว และต้องทนอยู่กับอาชีพนั้น ๆ เป็นอีกหลายสิบปี ทั้งที่ตัวเองไม่ได้ชอบมันแต่อย่างใด ซึ่งการเสียเวลาเพียงแค่ปีเดียวนั้น มองยังไงมันก็คุ้มมาก ๆ กับเส้นทางเดินในชีวิตอีกหลายสิบปีข้างหน้า ที่คุณจะมีความสุขกับการทำงานที่คุณรักตลอดไปนั่นเองครับผม

Image References : https://gln.edu.vn/kinh-nghiem-du-hoc-my/gap-year-phan-2

Geek Monday EP38 : Coronavirus กับบทบาทของเทคโนโลยีในการลดการแพร่ระบาด

โลกเราได้เรียนรู้ผ่านการระบาดของไวรัสครั้งใหญ่ ตัวอย่างของโรคซาร์ส ในปี 2003 ซึ่งทำให้เราสามารถสร้างเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างหุ่นยนต์ หรือ Telehealth เพื่อป้องกันการกระจายของไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เทคโนโลยีอย่าง Machine Learning ของ BlueDot ก็สามารถช่วยในการทำนายการแพร่กระจาย ของไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในอนาคต ผมก็เชื่อว่าเทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านี้ จะมีบทบาทที่สำคัญ ที่จะช่วยให้ ไวรัสใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น สร้างความเสียหายให้กับโลกเราได้น้อยลงเรื่อย ๆ ได้อย่างแน่นอนครับ

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน Podbean : http://bit.ly/2OZGeoK

ฟังผ่าน Apple Podcast :  https://apple.co/2lEqPPg

ฟังผ่าน Google Podcast :  http://bit.ly/2SQRbKi

ฟังผ่าน Spotify : https://spoti.fi/323QVf9

ฟังผ่าน Youtube : https://youtu.be/AmNeLdxtT5U

Digital Propaganda เมื่อเราทุกคนกำลังตกเป็นเหยื่อ Bias Algorithm ของ Social Network

Propaganda หรือ การโฆษณาชวนเชื่อต้องบอกว่าเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับโลกของเรามาอย่างยาวนานมากแล้ว แต่ตอนนี้ มันกำลังวิวัฒนการใหม่ผ่านรูปแบบของข้อมูล Digital ที่เกิดขึ้นในโลกของ Social Platform ต่าง ๆ ที่รายล้อมอยู่รอบตัวเราในปัจจุบัน

ที่ผ่านมาการ โฆษณาชวนเชื่อนั้น มีทั้งสิ่งที่ดี และ สิ่งที่เลวร้าย กับผลที่ตามมา ซึ่ง ผลของ Propaganda ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดน่าจะเป็น การโฆษณาชวนเชื่อครั้งใหญ่ ครั้งแรกของรัฐบาลเยอรมนี หลังการพ่ายแพ้ของเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

Hitler ได้ใช้ทฤษฎีการโฆษณาชวนเชื่อของเขาซึ่งเป็นฐานที่ทรงพลังสำหรับการขึ้นสู่อำนาจในปี พ.ศ. 2476 ซึ่งโฆษณาชวนเชื่อที่ถูกกรอกใส่หูประชาชนชาวเยอรมนี อย่างบ้าคลั่งในช่วงนั้น ผ่านสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น TV หรือ วิทยุ ถูกผลิตโดยกระทรวงการโฆษณาชวนเชื่อของประชาชนภายใต้การนำของ โจเซฟ เกิ๊บเบลส์

และเมื่อโลกของเราหมุนไปอย่างรวดเร็ว ตอนนี้สื่อที่มีบทบาทหลักในการชี้นำความเห็นของประชาชน ได้กลายมาเป็นแพลตฟอร์มที่อยู่บนโลกออนไลน์ ที่มี Impact สูงต่อสังคมมากกว่าสื่อในยุคเดิมอย่าง TV หรือ วิทยุ ไปเสียแล้ว

แต่ปัญหาใหญ่ของแพลตฟอร์มเหล่านี้ โดยเฉพาะ Social Network นั่นก็คือ Bias Algorithm ซึ่งแน่นอนว่า บรรดา Feed ต่าง ๆ ที่ส่งมาให้เราในโลก Social นั้นส่วนใหญ่ จะเสนอในสิ่งที่เราชอบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี สำหรับ สินค้า และ บริการ ที่เลือกสิ่งที่เหมาะสมกับเรามาให้เสพผ่าน Feed

แต่ตรงข้ามเลย ในเรื่องแนวคิดทางการเมือง เพราะการได้แนวคิดผ่าน Bias Algorithm เหล่านี้นั้น จะทำให้เราถูก Propaganda หรือ การโฆษณาชวนเชื่อ จากแนวคิดของพรรคการเมืองต่าง ๆ หรือแนวความคิดทางการเมืองต่าง ๆ ได้ง่ายดาย ยิ่งขึ้นมาก ๆ โดยใช้เงินลงทุนที่ต่ำมาก ๆ เมื่อเทียบกับสื่อยุคเดิมอย่าง TV หรือ วิทยุ

ซึ่งที่ผ่านมาเราจะได้เห็นถึงความสุดขั้วทางการเมือง ที่เปลี่ยนใครหลาย ๆ คนให้คิดแบบสุดขั้วมากมาย ทั้งนักวิชาการชื่อดัง อาจารย์มหาลัยชื่อดัง หรือ อีกหลากหลายคนบนโลก Social Network ที่ถูก Digital Propaganda จนแสดงออกมาได้แบบสุดขั้วอย่างที่เราได้เห็นในข่าว หลาย ๆ ครั้ง

เพราะพวกเขาเหล่านั้น ในตอนนี้ เมื่อมาอยู่บนแพลตฟอร์มโลกออนไลน์ แล้วนั้น ก็อาจจะถูก Bias Algorithm ของ Social Network พาไปในโลกของความเห็นทางการเมืองแบบสุดขั้ว และ เจอแต่คนที่มีแนวคิดเดียวกันเท่านั้น ทำให้กลายเป็นว่าเชื่อในทุกข้อมูลที่ถูก feed ผ่านเข้ามาใน Social Network เพราะเป็นสิ่งที่พวกเขาชอบ พวกเขาอยากได้จริง ๆ นั่นเอง

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดน่าจะเป็นเรื่องของ Cambridge Analytica ที่แสดงให้เห็นถึง พลังของ Digital Propaganda ว่าทรงพลังมากแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ หรือ Campaign Brexit ของประเทศอังกฤษ ที่แสดงให้เห็นถึงพลังของ Digital Propaganda เหล่านี้ ว่ากำลังมีบทบาทที่สำคัญโดยเฉพาะในเรื่องของความคิดเห็นทางด้านการเมืองในปัจจุบัน

เพราะฉะนั้น เมื่อเราอยู่ในแพลตฟอร์มเหล่านี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราจะต้องตั้งสติให้มากขึ้นกว่าเดิม รับฟังความเห็นที่หลากหลายขึ้น แม้จะขัดใจเรามากมายขนาดไหน (ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากมาก ๆ ) ในการเสพสื่อจากโลก Online Platform เหล่านี้นั่นเองครับผม

Image References : https://www.pexels.com/photo/graffiti-obey-propaganda-pattern-san-diego-18945/

Geek Story EP12 : Go-Jek จากรถมอเตอร์ไซต์ 20 คัน สู่ Unicorn Startup ระดับโลก

ในวันนี้ชาวอินโดนีเซียโดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงจาการ์ตาและเมืองปริมณฑลได้ยอมรับ Go-Jek เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของพวกเขาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ซึ่งเพียงแค่ภายในหนึ่งปีแรก แอปพลิเคชั่น Go-Jek มียอดดาวน์โหลดเกือบ 10 ล้านครั้ง มีพนักงานขับรถของ ojek มากกว่า 200,000 คน และขยายกิจการไปทั่วภูมิภาคอาเซียนอย่างรวดเร็ว

ปัจจุบัน Go-Jek ได้กลายเป็น Super App ที่ให้บริการต่าง ๆ มากมาย ได้รับการสนับสนุนจากผู้ให้บริการสินเชื่อและการชำระเงินระดับโลกอย่าง VISA ซึ่งได้เข้าร่วมในการระดมทุนรอบ Series F ที่ต่อเนื่องของ Go-Jek ด้วยจำนวนเงินที่ไม่เปิดเผย 

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน Podbean : http://bit.ly/31UwnWl

ฟังผ่าน Apple Podcast : https://apple.co/2lEqPPg

ฟังผ่าน Google Podcast :  http://bit.ly/2HoIYba

ฟังผ่าน Spotify : https://spoti.fi/37omUI1

ฟังผ่าน Youtube : https://youtu.be/kmp8k17-qII

References : https://indiekraf.com/jadi-decacorn-pertama-dari-indonesia-begini-jalan-panjang-yang-dilalui-gojek/ https://www.goodnewsfromindonesia.id/2018/01/11/4-unicorn-startup-indonesia

Virus Detector กับ App ช่วยตรวจสอบผู้ใกล้ชิดว่าได้รับเชื้อ Coronavirus หรือไม่

ประเทศจีนได้เปิดตัวแอพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดการแพร่กระจายของ coronavirus โดยแจ้งเตือนผู้ใช้เมื่อพวกเขาอยู่ใกล้กับคนที่ป่วย ตามรายงานใน Xinhua สำนักข่าวของจีน

โดยแอพที่มีชื่อว่า Close Contact Detector ให้ผู้ใช้ตรวจสอบสถานะของพวกเขา โดยการสแกนรหัส QR โดยใช้ แอพ เช่น Alipay, WeChat หรือ QQ จากนั้นจะถูกนำไปใส่ชื่อและหมายเลขประจำตัวประชาชนของพวกเขา และสามารถตรวจสอบสถานะของหมายเลข ID อื่น ๆ ได้อีกด้วย

จากข้อมูลของ Xinhua การติดต่ออย่างใกล้ชิดรวมถึงผู้ที่ทำงานร่วมกัน แชร์ห้องเรียน หรืออาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ที่ทำงานกับผู้ป่วยและผู้โดยสารบนระบบขนส่งมวลชน ซึ่งหากแอพพบว่าผู้ใช้อยู่ใกล้กับคนที่มีหรือกำลังแสดงอาการของไวรัสพวกเขาจะได้รับคำแนะนำให้อยู่ที่บ้านทันที

Xinhua ยังไม่เปิดเผยว่าแอปที่พัฒนาโดยรัฐบาลทำงานอย่างไร และเป็นตัวกำหนดความเสี่ยงของการสัมผัสกับผู้ที่ป่วยได้อย่างไร อย่างไรก็ตามที่สำนักข่าว รายงานว่าแอปดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐหลายแห่งรวมถึงคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติกระทรวงคมนาคมกระทรวงรถไฟจีน และการบินพลเรือนของจีนเพื่อให้มั่นใจว่า “ข้อมูลเหล่านี้ถูกต้องเชื่อถือได้”

ความต้องการของแอป โดยเฉพาะ เลขประจำตัวประชาชน ทำให้มีข้อกังวลจากนักวิจารณ์เรื่องความเป็นส่วนตัว

รัฐบาลจีนเป็นที่รู้จักกันดีว่ามีการเฝ้าระวังในระดับสูงต่อพลเมืองของตน อย่างไรก็ตามจากข้อมูลล่าสุด ที่ได้ยืนยันว่าเกิดจากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรน่า ซึ่งมีผู้เสียชีวิตกว่า 1,000 ราย ซึ่งอาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องมีการละเมิดความเป็นส่วนตัวของแต่ละบุคคล เพื่อหยุดการกระจายของโรคดังกล่าวให้เร็วที่สุดนั่นเอง

ความคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้เขียน

ถือเป็นแนวคิดที่ดีมาก ๆ ในการลดการแพร่กระจายของ coronovirus ในประเทศจีน ซึ่งตอนนี้ดูเหมือนสถานการณ์จะยังไม่สามารถควบคุมได้

แน่นอนว่า การเก็บข้อมูลจากผู้ใช้งานนั้น ก็ต้องมีการเก็บข้อมูลที่มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของสุขภาพ ประวัติการเดินทาง หรือพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้ผู้ใช้งาน เข้าใกล้กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

แต่ก็ต้องแลกกับเรื่องของข้อมูลส่วนตัว ที่เนื่องจากเป็น แอปที่พัฒนาโดยรัฐบาล ซึ่งอาจจะมีการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวที่มีความเข้มข้นมากกว่าเดิม ซึ่งก็ต้องเป็นสิ่งที่แลกกันเพื่อให้ประเทศจีน สามารถก้าวผ่านวิกฤติครั้งนี้ได้เสียทีนั่นเองครับ

References : https://www.engadget.com/2020/02/12/china-close-contact-detection-app-coronavirus