Geek Monday EP38 : Coronavirus กับบทบาทของเทคโนโลยีในการลดการแพร่ระบาด

โลกเราได้เรียนรู้ผ่านการระบาดของไวรัสครั้งใหญ่ ตัวอย่างของโรคซาร์ส ในปี 2003 ซึ่งทำให้เราสามารถสร้างเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างหุ่นยนต์ หรือ Telehealth เพื่อป้องกันการกระจายของไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เทคโนโลยีอย่าง Machine Learning ของ BlueDot ก็สามารถช่วยในการทำนายการแพร่กระจาย ของไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในอนาคต ผมก็เชื่อว่าเทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านี้ จะมีบทบาทที่สำคัญ ที่จะช่วยให้ ไวรัสใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น สร้างความเสียหายให้กับโลกเราได้น้อยลงเรื่อย ๆ ได้อย่างแน่นอนครับ

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน Podbean : http://bit.ly/2OZGeoK

ฟังผ่าน Apple Podcast :  https://apple.co/2lEqPPg

ฟังผ่าน Google Podcast :  http://bit.ly/2SQRbKi

ฟังผ่าน Spotify : https://spoti.fi/323QVf9

ฟังผ่าน Youtube : https://youtu.be/AmNeLdxtT5U

Digital Propaganda เมื่อเราทุกคนกำลังตกเป็นเหยื่อ Bias Algorithm ของ Social Network

Propaganda หรือ การโฆษณาชวนเชื่อต้องบอกว่าเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับโลกของเรามาอย่างยาวนานมากแล้ว แต่ตอนนี้ มันกำลังวิวัฒนการใหม่ผ่านรูปแบบของข้อมูล Digital ที่เกิดขึ้นในโลกของ Social Platform ต่าง ๆ ที่รายล้อมอยู่รอบตัวเราในปัจจุบัน

ที่ผ่านมาการ โฆษณาชวนเชื่อนั้น มีทั้งสิ่งที่ดี และ สิ่งที่เลวร้าย กับผลที่ตามมา ซึ่ง ผลของ Propaganda ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดน่าจะเป็น การโฆษณาชวนเชื่อครั้งใหญ่ ครั้งแรกของรัฐบาลเยอรมนี หลังการพ่ายแพ้ของเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

Hitler ได้ใช้ทฤษฎีการโฆษณาชวนเชื่อของเขาซึ่งเป็นฐานที่ทรงพลังสำหรับการขึ้นสู่อำนาจในปี พ.ศ. 2476 ซึ่งโฆษณาชวนเชื่อที่ถูกกรอกใส่หูประชาชนชาวเยอรมนี อย่างบ้าคลั่งในช่วงนั้น ผ่านสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น TV หรือ วิทยุ ถูกผลิตโดยกระทรวงการโฆษณาชวนเชื่อของประชาชนภายใต้การนำของ โจเซฟ เกิ๊บเบลส์

และเมื่อโลกของเราหมุนไปอย่างรวดเร็ว ตอนนี้สื่อที่มีบทบาทหลักในการชี้นำความเห็นของประชาชน ได้กลายมาเป็นแพลตฟอร์มที่อยู่บนโลกออนไลน์ ที่มี Impact สูงต่อสังคมมากกว่าสื่อในยุคเดิมอย่าง TV หรือ วิทยุ ไปเสียแล้ว

แต่ปัญหาใหญ่ของแพลตฟอร์มเหล่านี้ โดยเฉพาะ Social Network นั่นก็คือ Bias Algorithm ซึ่งแน่นอนว่า บรรดา Feed ต่าง ๆ ที่ส่งมาให้เราในโลก Social นั้นส่วนใหญ่ จะเสนอในสิ่งที่เราชอบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี สำหรับ สินค้า และ บริการ ที่เลือกสิ่งที่เหมาะสมกับเรามาให้เสพผ่าน Feed

แต่ตรงข้ามเลย ในเรื่องแนวคิดทางการเมือง เพราะการได้แนวคิดผ่าน Bias Algorithm เหล่านี้นั้น จะทำให้เราถูก Propaganda หรือ การโฆษณาชวนเชื่อ จากแนวคิดของพรรคการเมืองต่าง ๆ หรือแนวความคิดทางการเมืองต่าง ๆ ได้ง่ายดาย ยิ่งขึ้นมาก ๆ โดยใช้เงินลงทุนที่ต่ำมาก ๆ เมื่อเทียบกับสื่อยุคเดิมอย่าง TV หรือ วิทยุ

ซึ่งที่ผ่านมาเราจะได้เห็นถึงความสุดขั้วทางการเมือง ที่เปลี่ยนใครหลาย ๆ คนให้คิดแบบสุดขั้วมากมาย ทั้งนักวิชาการชื่อดัง อาจารย์มหาลัยชื่อดัง หรือ อีกหลากหลายคนบนโลก Social Network ที่ถูก Digital Propaganda จนแสดงออกมาได้แบบสุดขั้วอย่างที่เราได้เห็นในข่าว หลาย ๆ ครั้ง

เพราะพวกเขาเหล่านั้น ในตอนนี้ เมื่อมาอยู่บนแพลตฟอร์มโลกออนไลน์ แล้วนั้น ก็อาจจะถูก Bias Algorithm ของ Social Network พาไปในโลกของความเห็นทางการเมืองแบบสุดขั้ว และ เจอแต่คนที่มีแนวคิดเดียวกันเท่านั้น ทำให้กลายเป็นว่าเชื่อในทุกข้อมูลที่ถูก feed ผ่านเข้ามาใน Social Network เพราะเป็นสิ่งที่พวกเขาชอบ พวกเขาอยากได้จริง ๆ นั่นเอง

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดน่าจะเป็นเรื่องของ Cambridge Analytica ที่แสดงให้เห็นถึง พลังของ Digital Propaganda ว่าทรงพลังมากแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ หรือ Campaign Brexit ของประเทศอังกฤษ ที่แสดงให้เห็นถึงพลังของ Digital Propaganda เหล่านี้ ว่ากำลังมีบทบาทที่สำคัญโดยเฉพาะในเรื่องของความคิดเห็นทางด้านการเมืองในปัจจุบัน

เพราะฉะนั้น เมื่อเราอยู่ในแพลตฟอร์มเหล่านี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราจะต้องตั้งสติให้มากขึ้นกว่าเดิม รับฟังความเห็นที่หลากหลายขึ้น แม้จะขัดใจเรามากมายขนาดไหน (ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากมาก ๆ ) ในการเสพสื่อจากโลก Online Platform เหล่านี้นั่นเองครับผม

Image References : https://www.pexels.com/photo/graffiti-obey-propaganda-pattern-san-diego-18945/