ประวัติ Steve Jobs ผู้สร้าง iPod ตอนที่ 4 : Crazy Jobs

ไม่มีใครสงสัยในเรื่องที่จ๊อบส์ เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ และ มีวิสัยทัศน์ ซึ่ง จ๊อบส์นั้นได้แสดงคุณสมบัติเหล่านี้ให้เห็นอย่างชัดเจนตั้งแต่เขาคุม apple ในสมัยแรก แต่ปัญหาหลักของจ๊อบส์ น่าจะอยู่ที่การบริหารงานบริษัทมากกว่า การทะเลาะกับทีมงานไปทั่ว นิสัยเอาแต่ใจตัวเอง รวมถึง การดูถูก เหยีดหยาม แม้กระทั่งทีมงานตัวเอง หากทำอะไรไม่ดั่งใจของเขา นั้นเป็นสาเหตุสำคัญที่ ทำให้เขาถูกบีบออกจาก apple ในปี 1985

การกลับมาครั้งที่สองในรอบนี้ของจ๊อบส์นั้น เขาเติบโตขึ้นมาก ทั้งในเรื่องความคิด และ นิสัยส่วนตัว หลักการบริหารของ apple ในยุคใหม่ของเขามันเป็นคำสั้น ๆ แต่มี impact อย่างมหาศาลต่อ apple คือ คำว่า “โฟกัส”

ในการบริหาร apple รอบสองนี้ ยึกหลักใหญ่ที่สำคัญคือ
ในการบริหาร apple รอบสองนี้ ยึดหลักใหญ่ที่สำคัญคือ “โฟกัส”

เขาได้เริ่มตัดสายผลิตภัณฑ์ ที่ไม่จำเป็นทิ้ง ตัด function หรือ features ที่ไม่จำเป็นสำหรับระบบปฏิบัติการใหม่ของ apple ออกไป  ในเรื่องการผลิตนั้นเขาหันไปจ้างผู้ผลิตจากภายนอกให้ทำแทนทุกอย่าง ตั้งแต่แผงวงจร ไปจนถึง คอมพิวเตอร์ที่ประกอบเสร็จสมบูรณ์แล้ว 

เขาเพิ่มความเฮี้ยบ กับเหล่า ซัพพลายเออร์ทุกราย โดยให้มีวินัยอย่างเคร่งครัด ปรับการจัดการสินค้าคงคลังใหม่ทั้งหมด โดยเมื่อถึงต้นปี 1998 นั้น จ๊อบส์ นั้นสามารถลดปริมาณสินค้าคงคลังให้ลดลงเหลือเพียงครึ่งนึงจากเดิม ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุนแฝง ที่สูญเงินเปล่าของ apple แทบจะทั้งสิ้น และเพียงไม่นานก็ส่งผลกระทบต่อกำไรของบริษัททันที โดยมีกำไรเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 500 ล้านเหรียญ จากการจัดการเรื่องดังกล่าวทั้งหมด

เรียกได้ว่าการกลับมารอบใหม่ของจ๊อบส์ นั้น เค้าเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง มีเพียงนิสัยเดิม ๆ บางอย่างที่ยังคงเหลืออยู่บ้าง แต่ อยู่ในหลักการหลักที่จ๊อบส์ยึดมั่นไว้เสมอในการบริหารงาน apple รอบนี้ คือ การ โฟกัส กับสิ่งที่ทำ

และด้วยการทำงานอย่างบ้าคลั่งของ จ๊อบส์ นั้นทำให้ผู้บริหารหลาย ๆ รายเริ่มจะทนความกดดันไว้ไม่ไหว หลังจากจ๊อบส์ บริหารงานได้ 3 เดือน ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการของ apple ก็ต้องขอลาออก และเป็นเวลาเกือบปีที่จ๊อบส์ นั้นต้องลงมาดูงานปฏิบัติการทั้งหมดด้วยตัวเอง เพราะผู้สมัครในตำแหน่งนี้ทุกคนที่เขาสัมภาษณ์ นั้น ยังไม่ถูกใจเขา เขาอยากได้คนที่สามารถสร้างระบบโรงงานซัพพลายเชนแบบทันท่วงที หรือ (just-in-time-JIT) อย่างที่ ไมเคิล เดลล์ เคยทำได้มาแล้ว

Tim Cook

และในที่สุดปี 1998 จ๊อบส์ ก็ได้เจอกับ ทิม คุก ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อและซัพพลายเชนของ Compaq Computers ซึ่งในขณะนั้น เป็นหนุ่มโสด วัย 37 ปี  คุก นั้นตกหลุมเสน่ห์ของจ๊อบทันทีเมื่อได้สัมภาษณ์งานกับจ๊อบ เขาใช้เวลาเพียง 5 นาที ในการตัดสินใจมาร่วมงานกับจ๊อบส์ ซึ่งการร่วมงานกับ apple นั้นเป็นโอกาสเดียวในชีวิตที่จะได้ทำงานกับ อัจฉริยะด้านความคิดสร้างสรรค์อย่าง จ๊อบส์

บทบาทหลักของ คุก ที่ apple คือการนำสิ่งที่จ๊อบส์คิด มาลงมือปฏิบัติ การที่เขาเป็นหนุ่มโสด ทำให้เขาสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ เขาตื่นตีสี่ครึ่งในทุกวัน ออกกำลังกายเสร็จ เขาก็จะเข้ามาที่ office ของ apple ในเวลาหกโมงเศษ

การได้จิ๊กซอว์ ชิ้นสำคัญอย่าง คุก มานั้น ทำให้ apple สามารถลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมหาศาล คุกนั้นได้ลดจำนวนซัพพลายเออร์รายสำคัญของ apple จาก 100 รายให้เหลือเพียง 24 ราย เขาได้เกลี้ยกล่อมให้ซัพพลายเออร์หลายราย ย้ายโรงงานมาอยู่ใกล้ ๆ โรงงานของ apple

ทิม คุก คือ keyman คนสำคัญที่ จ๊อบส์ ไว้ใจมากที่สุด
ทิม คุก คือ keyman คนสำคัญที่ จ๊อบส์ ไว้ใจมากที่สุด

สิ่งที่จ๊อบส์ทำได้คือ เคยลดสินค้าคงคลังจากเดิมที่มีปริมาณเท่ากับ 2 เดือน ให้เหลือเพียงเดือนเดียวได้ในปี 1998 แต่ คุก นั้นสามารถทำให้ จ๊อบส์ เซอร์ไพรซ์อย่างมาก ด้วยการทำให้มันลดเหลือเพียงแค่ 2 วัน ซึ่งนับว่าน่าทึ่งมาก และเขายังสามารถที่จะลดระยะเวลาในการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ของ apple แต่ละเครื่องลงจาก 4 เดือน เหลือเพียงแค่ 2 เดือน ซึ่งทั้งหมดนี้นอกจากจะช่วยประหยัดเงินแล้วนั้น ยังทำให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องได้ใช้ชิ้นส่วนล่าสุดที่มีอยู่ในท้องตลาดอีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างตลาดคอมพิวเตอร์

และที่สำคัญนั้น ทิม คุก นั้นเป็นคนเดียวที่รู้ว่า จ๊อบส์ ต้องการอะไร มีวิสัยทัศน์ ในด้านการผลิตแบบเดียวกับจ๊อบส์ และสามารถคุยสื่อสารเรื่องยุทธศาสตร์ระดังสูงได้ ทำให้ คุก กลายมาเป็นคนที่ จ๊อบส์ ไว้ใจมากที่สุด

Presenter ระดับเซียน

หนึ่งใน skill ที่สำคัญที่สุดอย่างนึงของจ๊อบส์ คือ เขากลายเป็นพรีเซ็นเตอร์ระดับเซียน ซึ่งไม่มีผู้นำคนใด แม้กระทั้งบริษัทใหญ่ ๆ ในอเมริกา เองก็ตามที สามารททำได้อย่างที่เขาทำ

การนำเสนอของจ๊อบส์แต่ละครั้งนั้น มันเหมือนมีมนต์สะกด ให้กับผู้ฟัง คอยจดจ่อกับการบรรยาย สรรพคุณ หรือ ผลิตภัณฑ์ของ จ๊อบส์ และเขาเริ่มจะเก็บทุกอย่างไว้เป็นความลับไม่ให้แพร่งพรายออกไปถึงมือสื่อ ก่อน การพรีเซ็นต์ในงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของ apple

skill ที่สำคัญคือ การ present บนเวทีของ จ๊อบส์
การนำเสนอของจ๊อบส์แต่ละครั้งนั้น มันเหมือนมีมนต์สะกดต่อผู้ฟังให้คล้อยตาม

ซึ่งงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่แต่ละครั้งนั้น จ๊อบ และทีมงานต้องเตรียมการอย่างละเอียด จ๊อบส์ นั้นจะเขียนคำบรรยายสไลด์และประเด็นที่จะพูดด้วยตัวเองทั้งหมด และซ้อมการพรีเซ็นต์อย่างหนัก ก่อนที่จะขึ้นเวทีจริง

และการสาธิตผลิตภัณฑ์แต่ละครั้ง นั้น จะใช้เพียงเวทีที่ปล่อยโล่ง มีของประกอบฉาก เพียงไม่กี่ชิ้นเพียงเท่านั้น ซึ่งมันเป็นการสะท้อนถึงอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ apple เป็นอย่างดี เพราะมันเป็นความเรียบง่าย แต่ลึกลงไปนั้น มันคือความเหนือชั้นอย่างแท้จริง

การกลับมาในครั้งนี้ของจ๊อบส์ นั้น มันกำลังเปลี่ยน apple ไปอย่างสิ้นเชิง เขามาพร้อมกับไฟที่เต็มเปี่ยม ทั้งประสบการณ์จากความพลาดพลั้งที่ผ่านมา มันเป็นบทเรียนให้จ๊อบส์ จะไม่ทำพลาดอีกในคำรบที่สอง ครั้งนี้ จ๊อบ ได้รวบรวม ทีมงานที่มีคุณภาพในทุกด้าน

สุดยอดทีมงานคุณภาพของจ๊อบส์
สุดยอดทีมงานคุณภาพของจ๊อบส์

ทุกคนเป็นคนที่จ๊อบส์ คัดเลือกมากับมือ ที่พร้อมจะพา apple ทะยานไปข้างหน้าอย่างไม่กลัวใครอีกต่อไปแล้ว จ๊อบส์ กำลังจะเปลี่ยนโลกอีกครั้ง และครั้งนี้ มันจะยิ่งใหญ่กว่าเดิมอย่างแน่นอน โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปเด็ดขาด 

–> อ่านตอนที่ 5 : Digital Hub

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The Second Coming  *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Steve Jobs ผู้สร้าง iPod ตอนที่ 3 : Ive Mac

ในวันที่จ๊อบส์ เรียกเหล่าผู้บริหารระดับสูงมาชุมนุมปลุกใจ หลังเข้ารับตำแหน่ง CEO รักษาการ ในเดือนกันยายน 1997 นั้น หนึ่งในผู้ฟังจำนวนนั้น เป็นชายหนุ่มชาวอังกฤษ วัย 30 ปี ผู้มีอารมณ์ ละเมียดละไม และมีควาทุ่มเทกับงานมาก ถึง มากที่สุด เค้าคือ โจนาธาน ไอฟฟ์ หรือ ที่ทุกคนรู้จักในนาม “จอนนี่”

ในช่วงก่อน จ๊อบ จะเข้ามาในรอบที่สองนั้น สถานการณ์ของบริษัท เรียกได้ว่า ย่ำแย่ ไอฟฟ์ ในขณะนั้น กำลังคิดจะลาออก เพราะเบื่อหน่ายกับบริษัท ที่มุ่งเน้นผลกำไรเพียงอย่างเดียว และไม่มีความสนใจในเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์เลย

แต่เป็นคำพูดของ จ๊อบส์ ในวันที่ก้าวเข้ามากู้วิกฤติของ apple รอบที่สอง ที่ทำให้ ไอฟฟ์ เปลี่ยนใจที่จะอยู่ต่อ เพราะ จ๊อบส์ นั้นชัดเจนอยู่แล้วว่า เป้าหมายของ apple ไม่ใช่อยู่ที่เรื่องของการหาเงินเพียงอย่างเดียว แต่ คือ การสร้าง ผลิตภัณฑ์ชั้นเยี่ยม ซึ่งมันเป็นการเปลี่ยนวิสัยทัศน์ จากการบริหารที่ผ่านมาของผู้บริหาร apple คนก่อน ๆ 

Jony Ive ในสมัยเริ่มงานกับ apple ใหม่ ๆ
Jony Ive ในสมัยเริ่มงานกับ apple ใหม่ ๆ

ชีวิตของ ไอฟฟ์ นั้น เข้ามาโคจร เข้าสู่วงการคอมพิวเตอร์ เนื่องมาจาก บริษัท แทงเจอรีน บริษัทเก่าของเขานั้น ได้ถูกว่าจ้างจากบริษัท apple ให้ทำการออกแบบ เครื่อง Powerbook โดยเขาได้แหกกฏพื้นฐานของการออกแบบหมดสิ้น เนื่องมาจากเขาคิดว่าอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์กำลังประสบปัญหากับเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพราะส่วนใหญ่เป็นการสร้างโดยเหล่า วิศวกร ที่ไม่ได้คิดถึงเรื่องการดีไซน์เลยด้วยซ้ำ

ก่อนหน้าที่ ไอฟฟ์ จะเข้ามาปฏิวัตินั้น คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องที่ดูน่ากลัวสำหรับผู้ใช้งาน มีขนาดใหญ่เทอะทะ และไม่มีความ friendly กับผู้ใช้งานเลยด้วยซ้ำ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ดูไม่น่าใช้งาน และแทบจะดีไซน์ เหมือน ๆ กันหมดในทุก ๆ บริษัทที่ผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลขึ้นมา

หลังจากผลงานการออกแบบ Powerbook จึงทำให้ ไอฟฟ์ ถูกดึงตัวมาทำงานเต็มตัวที่ apple ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบ ซึ่ง apple เดิมจะใช้บริษัทจากข้างนอกมาช่วยออกแบบให้ แต่หลังจากนี้ ไอฟฟ์ จะได้สร้างทีมของตัวเองขึ้นมา เพื่อปฏิวัติการออกแบบคอมพิวเตอร์เสียใหม่ทั้งหมด

และนั่นเป็นเหตุทำให้ทั้งคู่ได้เจอกันในที่สุด จ๊อบส์ นั้นตระหนักดีว่าเขาจำเป็นต้องมีคนอย่าง ไอฟฟ์ เพื่อปฏิรูป apple ขึ้นมาใหม่อีกครั้งและจึงเริ่มต้นกับโครงการ iMac รุ่นใหม่

ในงานด้านฮาร์ดแวร์นั้น ถูกรับผิดชอบโดย จอน รูบินสไตน์ ผู้ที่ จ๊อบส์ ได้ดึงตัวมาจาก NeXT บริษัทเก่าของเขา โดย iMac นั้นจะทำการดัดแปลงไมโครโพรเซสเซอร์ และอุปกรณ์ภายในของเครื่อง PowerMac G3 ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ระดับสูงสำหรับผู้ใช้งานมืออาชีพของ apple เพื่อมาใช้เป็นไมโครโพรเซสเซอร์หลักสำหรับเครื่อง iMac ตัวใหม่นี้

สองทีมงานคุณภาพ ไอฟฟ์ และ รูบินสไตน์ ผู้ที่จะมีบทบาทสำคัญใน apple ยุคใหม่ของจ๊อบส์
สองทีมงานคุณภาพ ไอฟฟ์ และ รูบินสไตน์ ผู้ที่จะมีบทบาทสำคัญใน apple ยุคใหม่ของจ๊อบส์

ตัวฝาครอบพลาสติกของ iMac ที่ไอฟฟ์ ออกแบบมาเป็นสีฟ้าอมเขียว และมีความโปร่งแสง ซึ่งเป็นตัวเชื่อม ระหว่างการทำงานภายในเครื่องกับงานดีไซน์ภายนอก iMac มีความละเอียดในการดีไซน์ จนถึงระดับชิป จ๊อบส์นั้นยืนกรานเสมอว่าการติดตั้งชิปบนแผงวงจรต้องทำให้เป็นระเบียบเรียบร้อย แม้จะไม่มีใครเห็นมันก็ตาม

ตัวฝาครอบโปร่งแสงทำให้เห็นความใส่ใจที่ทีมงานมีต่อการสร้าง การประกอบ และการจัดวางชิ้นส่วนทุกชิ้นที่อยู่ภายใน ดีไซน์ ที่ดูขี้เล่นถ่ายทอดความเรียบง่าย แต่ขณะเดียวกันก็เผยให้เห็นความลึกล้ำที่มาพร้อมกับความเรียบง่ายอย่างแท้จริง 

iMac ผลงานการ Design ชิ้นโบว์แดงชิ้นแรก ของ ไอฟฟ์ ที่ได้ร่วมงานกับ จ๊อบส์
iMac ผลงานการ Design ชิ้นโบว์แดงชิ้นแรก ของ ไอฟฟ์ ที่ได้ร่วมงานกับ จ๊อบส์

และ iMac นี่เองกลายเป็นชัยชนะด้านการออกแบบยิ่งใหญ่ ครั้งแรกที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง จ๊อบส์ กับ ไอฟฟ์  ที่ออกสู่ตลาดในปี 1998 และใช้เพียงวันหยุดสุดสัปดาห์แรกเท่านั้น สามารถทำยอดจำหน่ายได้สูงเกิน 150,000 เครื่อง ด้วยโครงสร้างตัวเครื่องที่โค้งลงตัว ไม่เพียงแค่ iMac จะตีรูปแบบคอมพิวเตอร์แบบเดิมให้แตกกระเจิงเท่านั้น

มันยังได้สร้าง คาแร็กเตอร์ของตนเองขึ้นมา และเป็น คาแร็กเตอร์ที่คูลที่สุด เพราะ iMac ไม่ใช่เครื่องพีซี ไม่ใช่เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ถูกผลิตโดย microsoft  คำว่า “Think Different” สำหรับ apple มันกลับมาเกิดใหม่อีกครั้ง

หลังจากวางจำหน่าย iMac ไปจนถึงสิ้นปี 1998 ยอดขายพุ่งขึ้นไปถึง 800,000 เครื่อง ทำสถิติคอมพิวเตอร์ที่ขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของ apple หลังจากนั้นไม่นาน ไอฟฟ์ ก็ได้คิดสีใหม่สำหรับเครื่อง iMac อีก 4 สี ซึ่งแต่ละสีสดใสเตะตาไม่แพ้สีฟ้าบอนได ในรุ่นแรกที่วางจำหน่าย

ขายดีจนต้องออกสีใหม่เพิ่มมาเป็น 5 สีที่สดใส
ขายดีจนต้องออกสีใหม่เพิ่มมาเป็น 5 สีที่สดใส

แต่มันยังเหลือรายละเอียดอีกอย่างหนึ่งที่จ๊อบส์ อยากที่จะปรับปรุงตัว iMac มันคือ ถาดใส่แผ่นซีดี ที่เขาแสนเกลียดรูปร่างมันเป็นอย่างยิ่ง และอยากให้กำจัดทิ้งเสีย เขาอยากเปลี่ยนเป็นไปใช้ไดร์ฟสำหรับโหลดซีดีในชุดสเตอริโอรุ่นแพงของ sony ที่ดูดีกว่า

จ๊อบส์ รู้สึกขัดใจกับช่องใส่ CD ของ iMac
จ๊อบส์ รู้สึกขัดใจกับช่องใส่ CD ของ iMac

แต่ รูบินสไตน์ นั้นได้ทักท้วงไม่ให้เปลี่ยน เพราะในตอนนั้น กำลังจะมีไดร์ฟ แบบใหม่ออกมา ที่สามารถ burn เพลงลงซีดีได้ด้วย ไม่ใช่แค่เล่นเพลงเพียงอย่างเดียวอย่างที่มีในตลาดในขณะนั้น ซึ่งจะทำให้ iMac ตามหลังเทคโนโลยี หากใส่ไดร์ฟ รูปแบบเก่าลงไป

แต่ด้วยความดื้อด้านส่วนตัวของจ๊อบส์ เขาไม่แคร์ และไม่สนใจว่าเทคโนโลยีใหม่จะเป็นอย่างไร จน รูบินสไตน์ต้องยอม และสุดท้ายหลังจากนั้น เป็น รูบินสไตน์ที่คาดการณ์ได้ถูกต้อง เพราะ อีกไม่นาน Panasonic ได้ผลิตไดร์ฟ ตัวใหม่ออกมา ที่สามารถ อ่าน เขียน และบันทึกเพลงได้

ซึ่งจุดสำคัญนี้นี่เอง ไม่รู้ว่าเป็นเพราะพรหมลิขิต หรือ เหตุบังเอิญ หรือโชคชะตาลิขิตมาให้จ๊อบส์ต้องกระโจนเข้าสู่ตลาดเพลง เพราะจากเหตุการณ์นี้ ทำให้ Apple ก้าวช้ากว่าคู่แข่งในตลาดการผลิตคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการคัดลอก (rip) และบันทึก (burn) 
เพลงเอง ซึ่งกำลังเริ่มเป็นที่นิยมในขณะนั้น (iMac นั้นไม่สามารถ rip,burn เพลงได้ เพราะมีไดร์ฟรุ่นเก่า)  สถานการณ์ในตอนนั้น ทำให้ Apple ต้องกระโจนเข้าสู่ตลาดเพลงเพื่อหาทางกระโดดข้ามคู่แข่งให้ได้ โดยเร็วที่สุด

มาถึงตอนนี้ อยู่ดี ๆ apple ต้องตกกระไดพลอยโจร ที่สถานการณ์บังคับให้ apple ต้องเข้าสู่ตลาดเพลงแล้ว มันเพราะความดื้อด้านของจ๊อบส์ หรือ ฟ้าชะตาลิขิต ที่ทำให้ apple ได้ก้าวข้ามจากบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์ ไปสู่ สินค้า consumer ที่มีขนาดตลาดใหญ่กว่าอย่างเครื่องเล่น mp3 จะเกิดอะไรขึ้น กับ apple ต่อจากนี้ ตลาดใหม่ที่มีขนาดใหญ่มหาศาลอย่างตลาดเพลงนั้น จะนำพา apple เริ่มพลิกฟื้นกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งได้อย่างไร  โปรดติดตามตอนต่อไป

–> อ่านตอนที่ 4 : Crazy Jobs

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The Second Coming  *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Steve Jobs ผู้สร้าง iPod ตอนที่ 2 : From Rival to Respect

มันเป็นความสัมพันธ์ที่มีความซับซ้อน อย่างแปลกประหลาด ระหว่าง บิล เกตส์ และ สตีฟ จ๊อบส์ ยุคแรกของการปฏิวัติ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ทั้งคู่ เป็นคู่แข่งที่ขับเคี่ยวกันอย่างหนักมาก ๆ แทบจะเป็นศัตรู คู่อาฆาต กันเลยด้วยซ้ำ แถม บิล เกตส์ ยังมาลอกระบบปฏิบัติการ macintosh ที่เป็น User Interface แบบใหม่ในสมัยนั้น ไปทำแข่งกลายเป็น ระบบปฏิบัติการ Windows ที่เป็นที่นิยมทั่วโลก อย่าง Windows 1.x – 3.x

ต้นแบบของ windows ที่คนใช้กันทั่วโลกคือ macintosh ของ apple นั่นเอง
ต้นแบบของ windows ที่คนใช้กันทั่วโลกคือ macintosh ของ apple นั่นเอง

แต่เวลาเมื่อกาลเวลาเปลี่ยน จ๊อบส์ ได้เติบโตขึ้นอีกระดับ วุฒิภาวะทางอารมณ์ ของเขาก็ดีขึ้นกว่าเก่าเป็นอย่างมาก การกลับมาคุมบังเหียน apple ในรอบที่ 2 ด้วยสถานะของบริษัท apple ที่ไม่เหมือนเดิม ตอนนี้ apple ไม่ได้เป็นผู้นำระดับต้น ๆ ในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลอีกต่อไป สถานะทางการเงินก็ง่อนแง่น ใกล้เข้าสู่ภาวะล้มละลายเต็มที มันคงถึงเวลาที่เขาต้องหันกลับมาพึ่งพา บิล เกตส์ ศัตรู คู่อาฆาต ในอดีตเสียแล้ว

Macworld Boston , สิงหาคม 1997

หลังจากการประกาศตัวรับตำแหน่ง CEO อย่างเป็นทางการของ จ๊อบส์ ก็ทำให้มูลค่าหุ้นของ apple นั้นพุ่งจาก 13$ ขึ้นไปถึง 20$ ภายในเดือนเดียวเพียงเท่านั้น

งานเปิดตัวครั้งแรกต่อหน้าสาวกตัวจริงของ apple คือ งาน Macworld Boston ในเดือนสิงหาคมปี 1997 เหล่าสาวกกว่า 5,000 ต่างรอคอยการกลับมาของ ฮีโร่ ของเขา เพียงแค่เริ่มการปรากฏตัวบนเวที  เหล่าสาวก ต่าง ตะโกนเรียกร้อง แห่เชียร์ เสียงร้อง สตีฟ สตีฟ สตีฟ ๆๆๆ  ดังสนั่นฮอล์ที่ใช้ในการจัดงานประชุม

สตีฟ จ๊อบส์ เปิดตัวต่อหน้าแฟน ๆ ในฐานะ CEO apple คำรบสอง
สตีฟ จ๊อบส์ เปิดตัวต่อหน้าแฟน ๆ ในฐานะ CEO apple คำรบสอง

มันเป็นการนำเสนอวิสัยทัศน์ ใหม่ของ apple หลังจากก่อนหน้านี้ ทุกสิ่งทุกอย่างของ apple กำลังแย่ลงไปเรื่อย ๆ ยอดขายตกไปกว่า 30% ภายในเพียงแค่ 2 ปี 

สิ่งที่ทำก่อนหน้าในช่วงที่เขาไม่อยู่นั้น เป็นการเดินทางที่ผิดพลาดของ apple มันไม่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาจาก apple เลย มันเปรียบเหมือนบริษัทที่เน้นจะขาย ๆ ๆ  และยัดเยียดให้กับลูกค้าเพียงอย่างเดียว โดยไม่สนใจว่า เหล่าสาวกของ apple ต้องการอะไร

ลูกค้าของ apple ไม่เหมือนลูกค้าบริษัทอื่น ๆ พวกเขาต้องการความแตกต่าง ที่จะซื้อสินค้าของ apple แต่ทิศทางของบริษัทในอดีตก่อนหน้านี้ กลับทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม ทำให้ลูกค้าค่อย ๆ หายไปจาก apple 

จ๊อบกล่าวในเวทีดังกล่าว ว่า apple ในยุคใหม่นั้นจะต้องสร้างสิ่งที่เหล่าสาวก apple ต้องการ มันต้องเป็นสิ่งที่พิเศษ กว่าที่มีอยู่ในตลาด และต้องคิดแบบแตกต่างแบบเริ่มตั้งแต่ต้นใหม่ทั้งหมด

แม้คำกล่าวของ จ๊อบส์ ในงานดังกล่าว มันเป็นเพียงการปลุกขวัญกำลังใจให้กับเหล่าสาวก apple ว่า ตอนนี้ ถึงเวลาที่ apple กำลังจะกลับมาแล้ว ซึ่งมันเป็นคำพูดง่าย ๆ แบบเดิมที่จ๊อบส์ใช้พูดเป็นประจำ แต่มันมีความหมายต่อเหล่าสาวก apple เป็นอย่างมาก ระหว่างที่กำลังฟังจ๊อบส์พูดในงาน นั้น เหล่าสาวกต่างมองหน้ากัน จับมือกัน หลาย ๆ คนถึงกับกลั้นน้ำตาเอาไว้ไม่อยู่ เพราะ ฮีโร่ ของเขา พร้อมที่จะกลับมาปลุก apple ให้กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งแล้ว

From Rival to Respect

สำหรับ จุด climax ของงาน Macworld Boston ครั้งนี้ จะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกเสียจากการปรากฏภาพของ Microsoft มาเป็น พาร์ทเนอร์ ทางธุรกิจใหม่ของ apple ซึ่งเป็นสิ่งที่แฟน ๆ สาวก apple ถึงกับอึ้งกันเลยทีเดียวเมื่อเห็นภาพนี้ครั้งแรก

ประกาศความร่วมมือกับ microsoft เพื่ออนาคตของ apple ยุคใหม่
ประกาศความร่วมมือกับ microsoft เพื่ออนาคตของ apple ยุคใหม่

apple และ microsoft นั้นเป็นศัตรูกันมากว่า ทศวรรษ มีการต่อสู้ทั้งผลิตภัณฑ์ รวมถึงการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา มากมาย ที่อยู่ในชั้นศาล แม้ว่าในสมัย จอห์น สคัลลีย์ นั้นจะมีการเจรจายอมความ ให้ microsoft ชดใช้ค่าเสียหายจากการ copy User Interface แต่ก็ดูเหมือนท่าทีของสงครามระหว่างบริษัททั้งสองก็ยังคงไม่จบกันง่าย ๆ 

ไม่ต้องคิดถึงความเป็น พาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ ที่ทั้งสองบริษัท ไม่มีทางจะร่วมมือกันได้ในอดีต microsoft นั้นแทบจะไม่พัฒนา product หลักอย่าง microsoft word หรือ Excel ให้กับ ระบบปฏิบัติการ macintosh ของ apple เลย

แม้จะมีความพยายามเจรจากันในยุคของ เอเมลิโอ บ้าง แต่ด้วยเงื่อนไขทางธุรกิจที่ซับซ้อน ทำให้การเจรจาล่าช้าออกไปมาก จนถึงการกลับมาของ จ๊อบส์ ในรอบที่สอง

จ๊อบส์ ต้องการให้ deal ทุกอย่างกับ microsoft ง่ายขึ้น โดยมีการนัดคุยกันที่บ้านของจ๊อบส์ เพื่อตัดปัญหา เรื่องความยุ่งยากทั้งหมด โดยคุยกันแบบง่าย ๆ กับ เกตส์ และสุดท้าย ทั้งคู่ก็ได้ตกลงเป็น พาร์ทเนอร์ธุรกิจกันในที่สุด

ในงาน Macworld นั้น สิ่งที่ เซอร์ไพรซ์แฟน ๆ มากที่สุดคงจะเป็น การขึ้น projector หน้าจอขนาดใหญ่ และ บิลล์ เกตส์ ได้ทำการ วีดีโอ คอลผ่านระบบดาวเทียม (ในสมัยนั้น)  เข้ามายังงานดังกล่าวด้วย

เกตส์ โผล่หน้าผ่าน วีดีโอคอลเข้ามาในงาน macworld เป็นสิ่ง เซอร์ไพรซ์สุด ๆ
เกตส์ โผล่หน้าผ่าน วีดีโอคอลเข้ามาในงาน macworld เป็นสิ่ง เซอร์ไพรซ์สุด ๆ

มันเป็นการ deal กันทางธุรกิจ ล้วน ๆ เพื่อ apple สามารถที่จะก้าวต่อไปได้ จ๊อบส์ ต้องลดทิฐิ ตัวเองลง และหันไปจับมือกับ microsoft โดย microsoft นั้นจะนำผลิตภัณฑ์ หลักของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น word , excel มาลงในระบบปฏิบัติการ macintosh ตัวใหม่

จ๊อบส์ต้องการให้ software ชื่อดังอย่างตระกูล microsoft office มาลงน macintosh
จ๊อบส์ต้องการให้ software ชื่อดังอย่างตระกูล microsoft office มาลงน macintosh

และที่สำคัญนั้น microsoft ยังได้เข้ามาลงทุนใน apple ซึ่งเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อมาก ๆ ว่าศัตรูเก่า คู่อาฆาต อย่าง microsoft จะเข้ามาลงทุนใน apple โดยลงเงินมูลค่า 150 ล้านเหรียญ ในบริษัท apple โดยเป็นหุ้นแบบไม่มีเสียงโหวตในคณะกรรมการบริษัท

ถึงตอนนี้ สถานะของ apple ก็เริ่มที่จะกลับมาอยู่ในเส้นทางที่จะก้าวเข้าไปข้างหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคงอีกครั้ง ตอนนี้ จ๊อบส์เข้ามาเคลียร์สถานการณ์ ทุกอย่างของ apple ให้กลับมาปรกติเรียบร้อยแล้ว เรื่องสถานะทางการเงิน หลังจากได้ microsoft เข้ามาเป็นผู้ลงทุนรายใหม่ apple ก็พร้อมแล้วสำหรับอนาคตใหม่ที่จะเกิดขึ้น แล้วอนาคตใหม่ของ apple จะเดินไปทางไหนต่อ โปรดติดตามตอนต่อไป

–> อ่านตอนที่ 3 : Ive Mac

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The Second Coming  *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Steve Jobs ผู้สร้าง iPod ตอนที่ 1 : The Second Coming

ในปี 1985 สตีฟ จ๊อบส์ ในวัยขึ้นเลขสาม เริ่มปีที่ 30 ของอายุด้วยการถูกไล่ออกจาก Apple บริษัทที่เขาสร้างมากับมือ แต่หลังจากนั้นในอีก 10 ปีต่อมา ในปี 1995 เมื่อ สตีฟ จ๊อบส์ อายุ ครบ 40 ปีบริบูรณ์ เขาก็กลับมาสู่จุดที่รุ่งเรืองอีกครั้ง

ปีนั้น เป็นปีที่ ภาพยนต์เรื่อง Toy Story ออกฉาย และในปีต่อมา Apple ก็ได้เข้ามาซื้อกิจการ NeXT ทำให้เขากลับมาสู่บริษัทที่เขาสร้างมากับมืออีกครั้ง 

ในขณะนั้น CEO ของ apple คือ กิล เอเมลิโอ ซึ่งได้เป็นคนชักจูงนำ จ็อบส์ กลับมาที่ apple โดยให้เข้ามารับตำแหน่งที่ปรึกษาแบบพาร์ทไทม์ แต่จ๊อบส์ นั้นหวังมากกว่านั้น เค้าต้องการกลับมาทวงคืนตำแหน่งของเขา สภาพของ apple ในช่วงเวลาดังกล่าว กลายเป็นซากปรักหักพัง สถานการณ์ทางการเงินก็ย่ำแย่ เป็นอย่างมาก

จ๊อบส์กลับมาสู่ apple อีกครั้งผ่าน NeXT
จ๊อบส์กลับมาสู่ apple อีกครั้งผ่าน NeXT

จ๊อบส์ นั้นรู้ดีว่า เอเมลิโอ ไม่ใช่คนที่จะเป็นผู้นำของ apple ได้ เอเมลิโอ นั้นแทบจะไม่มีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของ apple  เขามองว่า เอเมลิโอ นั้นทำงานแทบจะไม่เป็น แม้กระทั่งในงานใหญ่อย่าง Macworld ในปี 1997 ที่เป็นงานใหญ่ ที่เปิดตัว จ๊อบส์ กลับสู่ apple อีกครั้งต่อสาธารณะ แต่ในงานนั้นเละเทะสิ้นดี เอเมลิโอ แทบจะไม่สามารถกล่าวถึง วิสัยทัศน์ของ apple ได้เลย เป็นการพูดแบบด้นสด ที่น่าขายหน้าต่อสื่อที่มาเฝ้ารอการทำข่าวของ apple ซึ่งปีนี้มันพิเศษกว่าปีไหน  ๆ ที่ สตีฟ จ๊อบส์ กำลังจะกลับมาหลังจากหายหน้าไปจาก apple กว่า 10 ปี

เอเมลิโอ นำพา apple ลงเหว กลายเป็นบริษัทไร้อนาคต
เอเมลิโอ นำพา apple ลงเหว กลายเป็นบริษัทไร้อนาคต

ในการกลับมาครั้งนี้ จ๊อบส์ เริ่มจัดแจง คนที่เขาไว้ใจมารับตำแหน่งระดับสูงที่ apple อย่างไม่รอช้า และเริ่มกำจัดคนที่เขาไม่ต้องการออกไป โดยจะนำคนที่เก่ง  ๆ จาก NeXT บริษัทเก่าของเขาเข้ามาแทนในตำแหน่งสำคัญ ๆ 

จ๊อบส์ เริ่มทาบทาม แอวี เทวาเนียน เพื่อนคู่หูที่ NeXT มารับตำแหน่งหัวหน้าแผนกวิศวกรรมซอฟท์แวร์ ส่วนตำแหน่งฝ่ายฮาร์ดแวร์ นั้น เขาเลือก จอน รูบินสไตน์ ซึ่งเคยรับตำแหน่งนี้ที่ NeXT เช่นเดียวกัน 

จอห์น รูบินสไตน์ หนึ่งในบุคคลสำคัญที่ จ๊อบส์ ดึงมาจาก NeXT ผู้บทบาทสำคัญกับ apple ในยุคหลัง
จอห์น รูบินสไตน์ หนึ่งในบุคคลสำคัญที่ จ๊อบส์ ดึงมาจาก NeXT ผู้บทบาทสำคัญกับ apple ในยุคหลัง

หลังจากจัดแจงเรื่องของบุคลากรเสร็จเรียบร้อย ก็เริ่มจัดการกับผลิตภัณฑ์ที่เขาไม่ชอบ สิ่งแรกเลยคือ เจ้า Newton เครื่อง PDA พกพา ที่จ๊อบส์นั้นเกลียดมันเข้าไส้ เขารังเกียจการใช้สไตลัสหรือ ปากกาสำหรับเขียนหน้าจอเป็นอย่างมาก และเหตุผลสำคัญคือ Newton เป็นผลผลิตที่เป็นนวัตกรรมชิ้นเดียวของ จอห์น สคัลลีย์ ผู้ที่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ จ๊อบส์ ต้องออกจาก apple ไปเมื่อ 10 กว่าปีก่อน

และสิ่งสุดท้าย ที่ จ๊อบส์ ต้องทำคือ ปลด เอเมลิโอ ออกจากตำแหน่ง ซึ่งต้องอาศัย บอร์ดบริหารที่นำโดย เอ็ด วูลาร์ด มาช่วยจัดการในเรื่องนี้ ซึ่งตอนนี้ ถือว่า จ๊อบส์ นั้นเป็นต่ออย่างยิ่ง สถานการณ์ ของ apple ตอนนี้ มันยากที่จะแก้ไขแล้ว บอร์ดก็ไม่มีทางเลือกมากนัก จึงต้องทำการแจ้งไปยัง เอเมลิโอ ว่าจะปลดเขาออก โดยจะให้ จ๊อบส์ รับตำแหน่ง CEO แทน

และเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนครั้งที่เขาต้องก้าวออกจาก apple ในครั้งแรก จ๊อบส์ ก็ได้เสนอให้เปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทใหม่ โดยจัดการคนที่เคยปลดเขาออกก่อน เพื่อคุมอำนาจเต็มที่ในการบริหารบริษัท

เอ็ด วูลาร์ด บอร์ดผู้เป็นคนนำจ๊อบส์ กลับมาเป็น CEO แทน เอเมลิโอ
เอ็ด วูลาร์ด บอร์ดผู้เป็นคนนำจ๊อบส์ กลับมาเป็น CEO แทน เอเมลิโอ

เขาจึงเก็บเหลือไว้เพียงแค่ วูลาร์ด และ แกร์เร็ต ชางไว้ และดึงคนที่เขาไว้ใจอย่าง บิล แคมป์เบลล์ ซึ่งเคยเป็นผู้อำนวยการตลาดของ apple ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 เพราะ skill ที่สำคัญอย่างนึงของ แคมป์เบลล์ คือ แคมเบลล์ นั้นเคยเป็นโค้ชอเมริกันฟุตบอล เขาสามารถที่จะทำให้ผู้เล่นเกรดบี ทำงานในระดับเอ ได้ และที่ apple เขาจะได้ทำงานกับพนักงานระดับเอ เท่านั้น

หนึ่งในคณะกรรมการที่ต้องออกไป คือ ไมค์ มาร์คคูลา ผู้ซึ่งเคยเป็นนักลงทุนคนแรกของ จ็อบส์ เคยแวะไปหาจ๊อบส์ที่โรงรถในปี 1976 และเขาเป็นกรรมการคนเดียวที่อยู่มานานถึง 20 ปี แม้จะเปลี่ยน CEO ไปแล้วหลายคนก็ตาม และที่สำคัญเขาเป็นคนเข้าข้าง จอห์น สคัลลีย์ ในศึกชิงอำนาจยกแรกของบริษัทในปี 1985 เมื่อจ๊อบส์กลับมาครั้งนี้ ตัวเขาเองก็รู้ดีว่าถึงเวลาที่เขาต้องจากไป

ไมค์ มาร์คูล่า ผู้ซึ่งเป็นคนลงทุนแรก ๆ ของ apple ก็ต้องเดินจากไปจากตำแหน่งในกรรมการ
ไมค์ มาร์คูล่า ผู้ซึ่งเป็นคนลงทุนแรก ๆ ของ apple ก็ต้องเดินจากไปจากตำแหน่งในกรรมการ

ตอนนี้ จ๊อบส์ นั้นสามารถที่จะกลับควบคุมทุกอย่างของ apple ได้อย่างเบ็ดเสร็จได้อีกครั้ง ตอนนี้ apple ถูก Microsoft เบียดออกจากธุรกิจคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มันถึงเวลาที่ต้องสร้างบริษัทขึ้นมาใหม่เพื่อทำอย่างอื่น อาจจะเป็นบริษัทผลิตเครื่องมือ หรือ สินเค้าเพื่อผู้บริโภคอะไรซักอย่าง ถึงจะพา apple กลับมายิ่งใหญ่ได้อีกครั้ง

การกลับมาอีกครั้งของ จ๊อบส์ ในคำรบที่สอง ครั้งนี้นั้น มาตอนที่ apple อยู่ในสภาพกลายเป็นซากปรักหักพัง ทั้งสถานะการเงิน รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถสู้ได้ในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล จ๊อบส์ นั้นจะกลับมาแก้ไขสถานการ์ณของ apple ได้อย่างไรในสภาพเช่นนี้ โปรดติดตามตอนต่อไป

–> อ่านตอนที่ 2 : From Rival to Respect

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

Blog Series : How iPod Building an Apple Empire

สำหรับ Blog Series ชุดแรกในปี 2019 นี้ ผมอยากจะขอเสนอ เรื่องราวความเป็นมาของการสร้าง Ipod หนึ่งในนวัตกรรมที่สำคัญที่สุดชิ้นนึงของ บริษัท apple

หลาย ๆ ท่านอาจจะคิดว่า iPhone เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของบริษัท apple ให้กลายมาเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ของโลกได้จวบจนถึงทุกวันนี้ แต่นั่นเป็นเพียงส่วนนึงเท่านั้น แนวคิดของ apple รูปแบบใหม่ ที่หันมาสร้างนวัตกรรม และ เปลี่ยนจากบริษัทคอมพิวเตอร์ ให้กลายมาเป็นบริษัทที่จำหน่าย สินค้า consumer product มันเริ่มมาจาก iPod 

มันเป็นนวัตกรรม ชิ้นเอกของ apple ในศตวรรษที่ 21 เลยก็ว่าได้ แม้เวลาจะร่วงเลยมาทำให้ตัว iPod เองได้สูญหายไปตามกาลเวลา แต่เรื่องราวสตอรี่ ของการสร้างมันขึ้นมานั้น ถือว่าเป็นเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะมันเต็มไปด้วยอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย กับการที่จะสร้างเครื่องเล่น Mp3 ขึ้นมา แล้วสามารถบรรจุเพลงได้ถึง 1,000 เพลง ถือว่าในตอนนั้นมันเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อมาก ๆ ที่ apple สามารถสร้างมันขึ้นมาและกลายเป็นสินค้า hot hit ติดตลาดโลกได้อย่างรวดเร็ว

ทุก ๆ ทั่วโลกต่างพกเจ้า iPod ตัวนี้ พร้อมด้วยหูฟังสีขาว ที่เป็นเอกลักษณ์ ถึงวัฒนธรรมของยุคใหม่ของบริษัท apple บริษัท ที่ก่อนจะสร้าง iPod นั้น แทบจะกลายเป็นบริษัทที่ใกล้จะล้มละลายเต็มที สถานะการเงินก็ย่ำแย่ สินค้าตัวชูโรงอย่าง apple หรือ macintosh ก็แทบจะทำตลาดไม่ได้เลยด้วยซ้ำ

เอกลักษ์เด่น หูฟังสีขาวที่ เดินไปไหนก็เจอแต่คนฟัง Ipod
เอกลักษ์เด่น หูฟังสีขาวที่ เดินไปไหนก็เจอแต่คนฟัง iPod

มันเกิดอะไรขึ้นในช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปี ที่เปลี่ยนบริษัท apple จากบริษัทที่ใกล้ตาย กลับมายิ่งใหญ่ในโลกของธุรกิจได้อีกครั้ง

สำหรับเรื่องราวของ Blog Series ชุดนี้นั้น จะอ้างอิง จากหนังสือที่เกี่ยวข้องกับ iPod รวมถึงหนังสือ อัตชีวประวัติของ Steve Jobs รวมถึงข้อมูลจาก wikipedia online ต่างๆ  มารวมรวมใหม่ ในแบบฉบับของผมเองครับ โปรดอย่าพลาดติดตามเป็นอันขาด รับรองสนุกอย่างแน่นอนคร้าบผม

อ่านตอนที่ 1 : The Second Coming

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

หนังสือ สตีฟ จ๊อบส์ : Steve Jobs
ผู้เขียน : Walter Isaacson (วอลเตอร์ ไอแซคสัน)
ผู้แปล : ณงลักษณ์ จารุวัฒน์ และคณะ

หนังสือ IPOD…แบรนด์ นวัตกรรมและจักรกลบันเทิง
ผู้เขียน : Dylan Jones
ผู้แปล : กรกฎ พงศ์พีระ

https://en.wikipedia.org/wiki/IPod

https://www.cnet.com/pictures/the-complete-history-of-apples-ipod/

https://www.lifewire.com/history-ipod-classic-original-2000732

https://www.nytimes.com/topic/subject/ipod

https://www.businessinsider.com/apple-ipod-oral-history-tony-fadell-2020-1