การปฏิวัติทางด้านเทคโนโลยี ถ้าให้ประโยชน์เพียงแค่กลุ่มคนบางกลุ่มมันก็ถึงเวลาที่ต้องเหยียบเบรก

ต้องบอกว่าเทคโนโลยีมีอยู่ทุกหนทุกกแห่งและเป็นสิ่งที่ดีต่อมนุษย์เราอยู่เสมอ ในที่สุดเทคโนโลยีใหม่ๆ มักจะสร้างงานที่ดีขึ้น สร้างความมั่นคงให้กับโลกเราได้ในท้ายที่สุด

แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเทคโนโลยีถูกนำมาใช้สำหรับกำจัดคู่แข่งทางการเมือง รวมถึงปกป้องชนชั้นสูงเพื่อให้พวกเขาอยู่ยั้งยืนยงตลอดไป

เป็นหนังสือที่น่าสนใจที่มีชื่อว่า Power and Progress โดยนักเศรษฐศาสตร์ MIT Daron Acemoglu และ Simon Johnson ที่มีการสำรวจช่วงเวลาต่าง ๆ ของประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับการปฏิวัติทางด้านเทคโนโลยี

เมื่อเทคโนโลยีนำไปสู่สิ่งที่ตรงกันข้ามกับความเท่าเทียม แทนที่จะมีความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน แต่มันกลับสร้างความได้เปรียบให้กลุ่มชนชั้นบางกลุ่มเพียงเท่านั้น

ที่ผ่านมาเทคโนโลยีทางด้านการเกษตรแทบสร้างประโยชน์ให้กับชาวนาจริง ๆ น้อยมาก ๆ พวกเขายังจมปลักอยู่กับความจนอย่างเดิมไม่ว่ากี่ยุคกี่สมัย ความก้าวหน้าในการออกแบบเรือทำให้การค้าทาสเติบโตขึ้น และการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำให้เหล่าผู้จัดการเพิ่มชั่วโมงการทำงานและลดค่าจ้างเสียมากกว่า รวมถึงการพัฒนารอบล่าสุดอย่างการปฏิวัติ AI ที่อาจจะทำให้หลายคนต้องเดือดร้อนกับตำแหน่งงานที่สูญหายไป

น่าสนใจนะครับ นักวิชาการจาก MIT แต่มีมุมมองแบบ Bias ต่อเรื่องของเทคโนโลยีค่อนข้างมาก นักวิชาการทั้งสองมีแนวคิดที่แตกต่างในการเพิ่มผลผลิตของเทคโนโลยีและวิธีการกระจายเทคโนโลยีให้เกิดความเท่าเทียมเมื่อเทียบกับนักวิชาการคนอื่น ๆ

ทั้งคู่ได้แสดงให้เห็นว่าระบบอัตโนมัติทั้งหลายที่เกิดขึ้นนั้น เป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดนับตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม

มันไม่ได้เกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน แต่มันเป็นการแทนที่ต่างหาก ระบบอัตโนมัติไม่ได้เกิดมาเพื่อทำให้ค่าจ้างลดลง หรือ ต้องบังคับให้แรงงานต้องฝึกปรือฝีมือเพิ่มเติมเพื่อมาต่อสู้กับระบบเหล่านี้ แต่ระบบอัตโนมัติทำให้งานและค่าจ้างลดลงไปจากที่มีอยู่เดิม

การเกิดขึ้นของพลังงานไฟฟ้าในศตวรรษที่ 19 มันทำให้งานของอาชีพระดับสูงอย่างวิศวกรหรือผู้จัดการโรงงานเพิ่มมากขึ้น แต่ส่งผลกระทบต่องานของคนงานระดับล่าง

แต่ด้วยความช่วยเหลือจากเหล่านักกฎหมายที่ส่งเสริมให้เกิดรูปแบบของสหภาพแรงงานมากขึ้น และทำให้องค์กรเหล่านี้เกิดความเข้มแข็ง ทำให้ชนชั้นล่างสามารถมีอำนาจต่อรองกับเหล่าชนชั้นปกครองได้มากยิ่งขึ้น

นั่นทำให้ในช่วงทศวรรษที่ 1960 ส่วนแบ่งรายได้ของประชากร 1% แรกลดลงเหลือ 13% ซึ่งลดลงจาก 22% ในช่วงปี 1920 เพราะค่าจ้างโดยเฉลี่ยของแรงงานนั้นเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา ความเชื่อมโยงดังกล่าวเริ่มถึงจุดแตกหัก ส่วนใหญ่เพราะการลดลงของสหภาพแรงงาน แม้ว่าโดยรวมแล้วคนงานชาวอเมริกันจะสร้างผลผลิตออกมามากยิ่งขึ้น แต่พวกเขาก็ไม่ได้มีส่วนในการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด

สถานการณ์เมื่อมาถึงวันนี้โลกเรากำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในเรื่องของเทคโนโลยี แม้แต่เหล่าผู้มีอิทธิพลใน Silicon Valley เช่น Elon Musk และ Steve Wozniak ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple ก็เรียกร้องให้มีการชะลอการเปิดตัว AI เพื่อศึกษาถึงผลกระทบที่แท้จริงของมันให้ดีก่อน

ฝั่ง Google และ Microsoft แม้จะพยายามโน้มน้าวว่าไม่มีอะไรต้องกังวล แต่มันก็เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวของพวกเขาแทบทั้งสิ้น ที่จะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยี AI เพราะพวกเขามีขุมทรัพย์มหาศาลที่พร้อมจะทำเงินมากมายในเทคโนโลยีดังกล่าวนี้

ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เหล่าผู้ประกอบการทางด้านเทคโนโลยีรายใหญ่ ไล่มาตั้งแต่ยุคอดีตมาจวบจนล่าสุดอย่างเครือข่าย Big Tech ที่ทำตัวเปรียบเสมือนทุนนิยมแบบสอดแนม ที่ผลักดันให้มีการอนุญาตขุดคุ้ยข้อมูลและหากำไรจากข้อมูลส่วนบุคคลของเรา ได้ใช้อำนาจและอิทธิพลในการกำหนดเรื่องราวของธุรกิจดังกล่าวนี้

ซึ่งเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่จะสร้างความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันก็ต่อเมื่อมันความเป็นประชาธิปไตยเพียงพอ ไม่ใช่สร้างมาเพื่อกลุ่มชนชั้นนำกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพียงเท่านั้นอย่างที่เป็นอยู่

เพื่อให้แน่ใจว่าประวัติศาสตร์มันจะไม่ซ้ำรอยเดิม กับสิ่งที่เกิดขึ้นกับหลาย ๆ เทคโนโลยีก่อนหน้านี้ เหล่าสหภาพแรงงานและรัฐบาลของทุกประเทศต้องดำเนินการบางอย่างโดยเฉพาะในแง่ของกฎหมายเพื่อให้แน่ใจว่า การปฏวัติของเทคโนโลยีใหม่อย่าง AI จะไม่จบลงด้วยคราบน้ำตาของใครอีกหลายคนนั่นเอง

References :
https://www.ft.com/content/46d56c75-57d5-44ef-812c-5e58865f0179
https://www.history.com/topics/industrial-revolution


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube