ประวัติ Jack Ma แห่ง Alibaba ตอนที่ 16 : Search Wars

แจ๊ค หม่า เริ่มต้นธุรกิจออนไลน์แรก คือ ไชน่าเพจเจส ซึ่งเป็นธุรกิจ เว๊บไดเรคทอรี่ ที่ได้รับแรงบันดาลใจมากจาก YAHOO เมื่อครั้งได้เห็น internet ครั้งแรกที่เมืองซีแอตเทิล ประเทศสหรัฐอเมริกา ในตอนนั้นความฝันสูงสุดของแจ๊ค ก็คือ การสร้าง ไชน่าเพจเจส ให้กลายเป็น YAHOO ของประเทศจีน แต่แล้วก็ไม่สามารถทำได้อย่างที่เขาหวัง

ทั้งแจ๊ค หม่า , มาซาโยชิ ซัน และ เจอร์รี่ หยางผู้ก่อตั้ง YAHOO นั้นต้องเรียกได้มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นเป็นอย่างมาก มาซาโยชิ ก็ได้ลงทุนไปเป็นจำนวนมากกับ YAHOO รวมถึงการสร้าง YAHOO Japan ให้กลายเป็นบริการที่นิยมอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่าง เจอร์รี่ หยาง กับ แจ๊ค หม่านั้นก็เป็นไปด้วยดีตั้งแต่ที่แจ๊ค อาศัยเป็นไกด์ให้กับ เจอร์รี่ ในการเยือนจีนครั้งแรก ๆ ซึ่งก็ต้องเรียกได้ว่าเป็นความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นของผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสามคน

ความสัมพันธ์กับ เจอร์รี่ หยาง แน่นแฟ้น ตั้งแต่เมื่อครั้งเยือนจีนครั้งแรก
ความสัมพันธ์กับ เจอร์รี่ หยาง แน่นแฟ้น ตั้งแต่เมื่อครั้งเยือนจีนครั้งแรก

หลังจากจบศึก อีคอมเมิร์ซ ระหว่าง taobao กับ ebay นั้น โลก internet ก็กำลังมีบริการใหม่ที่กำลังแจ้งเกิดอย่างรวดเร็วและแพร่หลายไปทั่วโลก นั่นก็คือ search engine ถ้าย้อนไปในขณะนั้นก็ต้องบอกว่า google ก็ถือเป็นอับหนึ่งในเรื่อง search engine แต่ YAHOO ก็มี search engine ที่ไม่เลวเลยทีเดียวในขณะนั้น ถ้าเทียบขุมกำลังกันในตอนนั้น google ยังทิ้งห่าง YAHOO ไม่มากนัก ส่วนในจีนนั้นมี Baidu ที่กำลังครองตลาดอยู่ เพราะเน้นการค้นหาภาษาจีนเป็นหลัก

สำหรับ internet ในประเทศจีนนั้น โมเดลจากการทำรายได้จากการ search และการโฆษณานั้น ดูจะล้าหลังกว่าประเทศตะวันตกอยู่มาก สิ่งที่ทำรายได้สูงสุดของวงการ internet ของโลกตะวันตกนั้นก็คือ โฆษณา ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาสินค้า หรือ โฆษณาแบรนด์ก็ตาม เป็นตลาดที่มีมูลค่ามหาศาลมาก

เพราะฉะนั้น แจ๊ค จึงต้องเริ่มคิดถึงยุทธศาสตร์ต่อไปของอาลีบาบา โดยมีแนวความคิดที่จะขอซื้อ YAHOO ประเทศจีน มันเป็นเรื่องยุทธศาสตร์ด้าน internet ล้วน ๆ เพราะถ้าเทียบกับ google หรือ Baidu ที่เป็นจีนแท้ ๆ ก็ตาม แต่ดูเหมือน YAHOO ประเทศจีนนั้นดูจะมีวัฒนธรรมองค์กร รวมถึงค่านิยมต่าง ๆ ใกล้เคียงกับ อาลีบาบามากกว่าใครเพื่อน

ยักษ์ใหญ่อย่าง google กำลังจะเข้ามาตีตลาดจีนในขณะนั้น
ยักษ์ใหญ่อย่าง google กำลังจะเข้ามาตีตลาดจีนในขณะนั้น

และเช่นเดียวกันฝั่ง YAHOO นั้น เจอร์รี่ หยาง ก็คิดถึงการร่วมมือกันระหว่าง YAHOO ประเทศจีน กับ อาลีบาบาด้วยเหมือนกัน เพราะความเป็นมิตรภาพที่สำคัญระหว่าง เจอร์รี่กับแจ๊ค ด้วยแล้วนั้น ก็ดูเหมือนว่าทุกอย่างจะง่าย

แต่ปัญหาใหญ่คือ ตอนนั้น เจอร์รี่ ไม่ได้ดำรงตำแหน่ง CEO ของ YAHOO แล้วโดยหน้าที่ในขณะนั้นเขาไม่มีอำนาจในการตัดสินใจในการบริหารบริษัทอีกแล้ว ตอนนั้น เทอร์รี่ ซีเมล ดำรงตำแหน่ง CEO ของ YAHOO อยู่ ซึ่งทั้ง ซีเมล และ กรรมการนั้น ก็ยังตัดสินใจอยู่ว่าจะทำอย่างไรกับทิศทางของ YAHOO ประเทศจีน เพราะศึก Search Engine กำลังคืบคลานเข้ามาแล้วจาก Google ที่กำลังจะบุกตลาดจีน

แต่ตัวเร่งการตัดสินใจจริง ๆ น่าจะมาจาก ebay เจ้าเก่า ซึ่งอยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้าคลายไม่ออก เนื่องจากความพ่ายแพ้ต่อ taobao ในตลาด C2C ดังนั้นจึงได้ยื่นข้อเสนอที่จะร่วมมือกับอาลีบาบาเลยด้วยซ้ำ โดยราคาที่ ebay เสนอนั้นมีมูลค่าสูงกว่าที่ YAHOO เสนอเสียด้วย

ซึ่งข่าวลือเรื่อง ebay นี่เอง ที่ทำให้ YAHOO เกิดแรงกดดันขึ้น และเรื่องเวลาก็บีบคั้นให้พวกเขาไม่มีทางเลือกมากนักในการตัดสินใจ ซึ่งหลังจากการหารือสั้น ๆ ในหมู่คณะกรรมการของ YAHOO แล้วนั้น พวกเขาก็เห็นชอบกับการตกลงตามเงื่อนไขใหม่อย่างรวดเร็ว

โดยสรุปก็คือ อาลีบาบานั้นได้ซื้อกิจการของ YAHOO สาขาประเทศจีนรวมทั้งทรัพย์สิน ซึ่งได้แก่ ลูกค้าของ YAHOO , Search Engine ของ YAHOO , เว๊บไซต์น้องใหม่อย่าง IM3721 ตลอดจนทรัพย์สินทุกอย่างของ YAHOO บนเว๊บไซต์การประมูล

และในขณะเดียวกันบริษัท YAHOO สาขาใหญ่ที่อเมริกา ได้ตกลงทุ่มทุน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้อาลีบาบา และจะเป็นผู้ลงทุนทางด้านยุทธศาสตร์ที่สำคัญของ อาลีบาบา โดย YAHOO จะได้รับหุ้น 40% จากอาลีบาบา โดยในบอร์ด อาลีบาบา จะมีสองที่นั่ง , YAHOO มีหนึ่งที่นั่ง และ ซอฟต์แบงค์อีกหนึ่งที่นั่ง ซึ่งนี่เป็นการควบรวมกิจการที่ซับซ้อน และ เป็นการรวมกิจการครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ internet ของประเทศจีน

สุดท้ายก็ควบรวมกันได้สำเร็จ
สุดท้ายก็ควบรวมกันได้สำเร็จ

แม้ช่วงแรกของการควบรวมกิจการนั้นจะทำให้พนักงาน YAHOO สาขาประเทศจีนนั้นตื่นตระหนกอยู่บ้าง แต่แจ๊ค ก็ใช้เวลาไม่นานในการซื้อใจพนักงาน YAHOO เหล่านี้ เพื่อรั้งตัวพวกเขาไว้ไม่ให้ย้ายไปอยู่กับคู่แข่งอื่น ๆ 

เรื่อง search engine นั้นเป็นยุทธศาสตร์หลักของแจ๊ค ที่เป็นที่มาของการควบรวมกับ YAHOO สาขาประเทศจีน เพราะทาง อาลีบาบา นั้นแทบจะไม่มี know-how ทางด้าน search engine เลย

ถึงตอนนี้ google ได้บุกทะลวงมาถึงประเทศจีนเรียบร้อยแล้ว และสามารถยึดครองตลาดไปได้อย่างรวดเร็วถึง 45% ส่วน Baidu เจ้าถิ่นนั้นครองไว้ที่ 47% แต่ YAHOO ที่เป็นผู้คิดค้น search engine ที่เก่าแก่ที่สุดกลับเหลือส่วนแบ่งการตลาดเพียง 8% เท่านั้น

Baidu ยังครองส่วนแบ่งการตลาดไว้อย่างเหนียวแน่น
Baidu ยังครองส่วนแบ่งการตลาดไว้อย่างเหนียวแน่น

แจ๊คได้เริ่มเข้ามาผ่าตัดองค์กร YAHOO มากมาย มีการตัดกิจการทิ้งมากมาย รวมถึงกิจการที่เคยเป็นหัวใจหลักของ YAHOO ในอดีตก็ไม่เว้น

เดิมทีนั้นรายได้จำนวนมากของ YAHOO มาจากการโฆษณาของเหล่าเว๊บโป๊ และผลิตภัณฑ์ที่ผิตกฏหมาย มันเป็นเครื่องปั๊มเงินให้ YAHOO กว่าปีละ 8 ล้านหยวน แต่แจ๊คก็ฟังทุกอย่างทิ้งหมด เปลี่ยนระบบการติดตั้งซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ของ YAHOO ที่เดิมนั้นเป็นแบบบังคับให้ install เป็นแบบให้ลูกค้าสมัครใจเลือกเอง 

รวมถึง ได้เข้ามาเร่งเครื่องปรับปรุง YAHOO ใหม่ โดยแปลงโฉมเว๊บใหม่ที่ทำแต่เรื่อง Search Engine โดยเฉพาะ และมันก็กลายเป็นหน้าเว๊บง่าย ๆ คล้าย  ๆ กับ google และ Baidu ไปในที่สุด

ปรับ yahoo ใหม่เพื่อต่อกร google , Baidu
ปรับ yahoo ใหม่เพื่อต่อกร google , Baidu

จากนั้นแจ๊ค ก็ได้ทุ่มทุนมหาศาลให้กับการโฆษณาการ Search ของ YAHOO ทั้งโฆษณาทาง TV มีการว่าจ้างผู้กำกับชื่อดังมาทำภาพยนต์โฆษณาให้กับ YAHOO แต่หลังจากแจ๊คได้ ผลาญเงินไปมหาศาล เขาก็ได้พบความจริงที่น่าหดหู่ว่า ค่าโฆษณามหาศาลเหล่านี้ไม่สามารถที่จะดึงดูดลูกค้าได้เลยด้วยซ้ำ เหล่านัก Search ไม่ได้เปลี่ยนจาก Baidu หรือ Google มาใช้ YAHOO แต่อย่างใด

ดูเหมือนว่าการตัดสินใจครั้งนี้ของแจ๊คนั้น จะเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดในการไปควบรวมกิจการกับ YAHOO ประเทศจีน มันทำให้สถานการณ์ของแจ๊คนั้นแย่ลงไปไม่น้อย เนื่องจากเทคโนโลยีการ search ของ YAHOO นั้นดูจะสู้ผู้นำตลาดอย่าง Google หรือ Baidu ไม่ได้ด้วยซ้ำ จากยุทธศาสตร์ที่จะควบรวมเพื่ออนาคตที่ยิ่งใหญ่ต่ออาลีบาบา นั้น ดูเหมือนตอนนี้ มันจะเริ่มสร้างปัญหาให้กับแจ๊ค และ อาลีบาบาบ้างแล้ว แจ๊ค จะทำอย่างไรต่อไป กับสถานการณ์ของบริษัทที่เกิดขึ้น โปรดติดตามตอนต่อไป

–> อ่านตอนที่ 17 : Singles’Day 11.11

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Internet *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

Book Review : ชีวประวัติ แจ๊ค หม่า มีชีวิตอยู่เพื่อสะท้านโลก

หนังสือเล่มนี้ถือเป็นหนึงในหนังสือที่ผู้ที่ทำ Start Up หรือ เหล่า Entrepreneur ควรที่จะหามาอ่านเป็นอย่างยิ่ง ถือว่าเป็นการรวมรวมประวัติของ Jack Ma ที่มีรายละเอียดที่มากที่สุดเล่มนึง ซึ่งทำการแปลโดยสำนักพิมพ์ postbooks

ด้วยเนื้อหาของหนังสือที่ค่อนข้างเยอะมาก โดยมีรายละเอียดปลีกย่อยของประวัติ Jack Ma ค่อนข้างเยอะมาก ตั้งแต่ช่วงชีวิตการเรียน จนมาสร้างบริษัท Starup และจนประสบความสำเร็จเป็นเจ้าของ Alibaba ในปัจจุบัน และทำ IPO ในตลาดหุ้นนิวยอร์ก จนมีมูลค่า Market Cap สูงถึง 7.3 ล้านล้านบาทซึ่งทำให้กลายเป็นบริษัทที่มูลค่าสูงสุดติดอันดับต้น ๆ ของโลกเลยก็ว่าได้

ประวัติของ Jack Ma นั้นถือว่าไม่ธรรมดาเพราะเริ่มต้นด้วยอาชีพการเป็นครูภาษาอังกฤษ และแทบไม่มีพื้นฐานทางด้านความรู้ของ internet เลยแม้แต่น้อย แต่ด้วยโชคชะตา และ โอกาส ทำให้เค้านั้นได้กลายเป็นเศรษฐีอันดับหนึ่งในจีนทันทีเมื่อบริษัทได้ทำ IPO ในตลาดหุ้นสหรัฐ

ในช่วงเริ่มต้นนั้น jack ma ได้มีโอกาสเป็นตัวแทนของทางเมืองหังโจวเพื่อไปเจรจาทางกาค้ากับบริษัทในอเมริกา เพื่อตรวจสอบความมีตัวตนของบริษัททางฝั่งอเมริกาที่จะมาลงทุนในประเทศจีน ในเมืองบ้านเกิดของเค้าคือ หังโจว  ซึ่งนี่คือจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่ทำให้เค้าได้พบเจอกับ internet ซึ่งในยุคนั้นถือว่ายังเป็นสิ่งที่ใหม่มากของโลกเลยก็ว่าได้ เพราะอเมริกาเป็นจุดเริ่มต้นของ technology internet การที่ jack ได้ประเจอกับสิ่งใหม่คือ internet ทำให้เค้ามีความคิดที่จะกลับบ้านมาสร้างกิจการ internet ที่บ้านของเขาในเมืองจีน ซึ่งแทบจะว่ายังล้าหลังมาก ๆ ในยุคนั้น

่jack ma นั้นเริ่มต้นด้วยการสร้าง web directory ของประเทศจีนและเป็นเจ้าแรก ๆ ในจีนที่ได้สร้างเว๊บไซต์ขึ้น โดยที่เขานั้นยังไม่มีความรู้ใด ๆ  โดยมีการติดต่อกับบริษัทในอเมริกาเพื่อให้สร้าง website ให้และนำมาจัดจำหน่ายในประเทศจีน ซึ่งในยุคนั้น แทบจะไม่มีคนจีนรู้จักกับ internet รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีนั้นในจีนแทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้ทำให้ในตอนแรก มีแต่คนมองว่าเค้าเป็นคนหลอกลวง ซึ่งเค้าก็เพียรพยายามสู้ทุกอย่างเพื่อให้ลูกค้าได้เข้าถึงโอกาสสำคัญที่จะทำให้มีการปฏิวัติการทำธุรกิจในประเทศจีนด้วยระบบ internet

สิ่งที่ jack ma ทำนั้นก็เปรียบเสมือน YAHOO ของประเทศจีนเพื่อทำการ promote ธุรกิจผ่าน website โดยลูกค้าสามารถสมัครเพื่อนำ profile ของบริษัทตัวเองขึ้นสู่ง website เป็น model การทำธุรกิจง่ายๆ  ในสมัยนั้น แต่เนื่องจากไม่มีใครที่มีความรู้เลยในประเทศจีน จึงทำให้ jack ma ถูกมองว่าเป็นบิดาแห่ง internet ประเทศจีนเลยก็ว่าได้ จนต้องถูกทางการที่ปักกิ่งโดยกระทรวงการค้าญี่ปุ่นเรียกตัวไปช่วยสร้างระบบทางการค้าให้กับกระทรวงการค้าของประเทศจีนเพื่อให้สู่ระบบ online เป็นหน่วยงาน แรก ๆ ของประเทศจีนที่ได้สัมผัสกับ internet

แต่การทำงานกับรัฐบาลจีนนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายเลยสำหรับ jack ma ในที่สุดเค้าก็รู้ความจริงว่าถูกหลอกจากรัฐบาลจีนว่าจะให้หุ้นส่วน แต่ความจริงแล้วนั้น รัฐบาลนั้นไม่สามารถให้หุ้นส่วนกับ jack ได้เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านกฏหมาย ซึ่งจุดนี้เป็นจุดแรกที่ทำให้ jack เข้าใจถึงความโหดร้ายของการทำธุรกิจกับรัฐบาลจีน และเนื่องจากเค้านั้นทำงานได้ประสบความสำเร็จกับกระทรวงการค้าจีน และแม้เค้าจะได้รายได้ที่ค่อนข้างดี แต่เค้ามองที่การทำธุรกิจตั้งแต่แรก เค้าจึงเบนเข็มกลับบ้านเกิดที่เมืองหังโจว เพื่อสร้างธุรกิจของตัวเองอย่างเต็มที่ ซึ่งการทำงานกับกระทรวงการค้าจีนนั้นก็ทำให้ jack ma ได้เห็นถึงโอกาสที่ยิ่งใหญ่ของ model ธุรกิจแบบ B2B ซึ่งมี SME อยู่จำนวนมากในประเทศจีนที่ต้องการที่จะเข้าสู่ระบบ internet การมุ่งหน้ากลับมาสร้างธุรกิจใหม่ของ jack นั้นถือว่าเป็นจุดสำคัญ เค้าปฏิเสธงานจากหลายๆ  ที่แม้กระทั่ง YAHOO ในประเทศจีนก็เคยเสนอให้เค้ามาดูแล แต่ jack ma นั้นไม่สนใจแต่อย่างใด เค้ามีเป้าหมายในตัวเองอยู่แล้วที่จะสร้าง website B2B ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกให้ได้

การเริ่มต้นสร้าง alibaba นั้นเต็มไปด้วยความยากลำบากสำหรับ jack ma เนื่องจากเงินทุนเริ่มต้นที่น้อยนิด และเค้าต้องการเริ่มต้นด้วยทุนของตัวเองทั้งหมด จึงได้รวบรวมเงินกับพนักงานผู้ก่อตั้งของเค้าและมากองรวมกัน เพื่อให้ทุกคนได้เป็นหุ้นส่วนของบริษัทใหม่อย่างเต็มตัว และทุ่มเทให้กับการทำงานเต็มที่เพราะทุกคนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ alibaba มาตั้งแต่แรก  เริ่มแรกนั้นก็ใช้บ้านของ jack เป็น office เริ่มต้นในเมืองหังโจวและทุกคนก็มาอยู่ร่วมกัน พวกพนักงานอย่าง programmer ก็แทบจะใช้ชีวิตทั้งกินนอน และทำงานกันอยู่ที่นั่น ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัท startup ส่วนใหญ่ในตอนเริ่มต้นทำกันทั้งในอเมริกาหรือประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

ในช่วงแรกนั้นบริษัทประสบปัญหาต่าง ๆ มากมาย ทั้งเงินทุน ทั้งเรื่องของคนเนื่องจากเป็นพนักงานเพียงไม่กี่คนและทำ website ขนาดใหญ่ที่ต้องการนำ SME ทั่วโลกมาใช้บริการโดยเริ่มต้นจากประเทศจีนบ้านเกิดของเค้าเอง และ สิ่งสำคัญคือตอนนั้น jack ก็ยังไม่ได้คิด model ธุรกิจการทำเงินที่ชัดเจนจึงประสบกับปัญหาสภาวะขาดทุนในช่วงปีแรก ๆ เป็นอย่างมากจนแทบจะไม่มีเงินบริษัทเหลือ

ทางเดียวที่จะทำให้บริษัทอยู่รอดต่อไปนั้น jack ต้องทำการหานักลงทุนเพื่อเข้ามาลงทุนร่วมและเข้าใจเป้าหมายระยะยาวของ alibaba เพื่อให้เป็น partner ร่วมกันไปอีกหลายปี และเนื่องจาก jack นั้นมีการเลือกที่ค่อนข้างละเอียดในส่วนของนักลงทุน จึงทำให้ปฏิเสธการลงทุนไปหลายรายมาก ๆ เค้ามองว่าในอนาคตนั้นบริษัทจะมีมูลค่ามหาศาลแน่ ๆ จึงพิถีพิถันกับการเลือกนักลงทุนที่จะเข้ามาร่วมกับ jack แม้บางบริษัทจะให้เงินทุนจำนวนมาก แต่ jack ก็ปฏิเสธอย่างไม่ใยดีในช่วงแรก เพราะเขาต้องการผู้ลงทุนที่มีวิสัยทัศน์เช่นเดียวกับเขาและมองการลงทุนในระยะยาวมากกว่า การเข้ามาเพื่อหากำไรในระยะสั้น

สุดท้ายบริษัทที่ได้ลงส่วนแรกคือ Goldman sachs ซึ่งเป็นที่น่าแปลกใจอยู่เหมือนกันที่เป็นบริษัททางด้านการลงทุนจากอเมริกา ซึ่งช่วงนั้น jack ก็ได้ขุนพลสำคัญที่จะมาเป็น CFO คู่ใจของเขาอีกยาวนานคือ โจเซฟ ไช่ ซึ่งเป็นนักเรียนนอกจาก harward และทำงานบริษัทใหญ่ ๆ มานักต่อนักแล้ว ซึ่งเป็นสเน่ห์ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ alibaba ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน jack มีความสามารถในการดึงดูดคนเก่ง ๆ มาร่วมงานได้อย่างง่ายดาย  โจเฟซ ไช่ ก็เช่นกันยอมทิ้งเงินเดือนสูง จากบริษัท Investor AB มาร่วมงานกับบริษัทเล็ก ๆ ในเมืองหังโจวอย่าง alibaba เพราะเค้าได้เห็นถึงวิสัยทัศน์ที่ยิ่งใหญ่ของ jack นั่นเอง

เงินลงทุนหลายล้านเหรียญในช่วงแรกนั้น jack ma ทุ่มทุนไปกับการจ้างคน และย้ายที่ทำการบริษัทใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิม โดยช่วงนั้น alibaba ก็เริ่มมีชื่อเสียงกับนักลงทุน มีนักลงทุนหน้าใหม่มากหน้าหลายตามาติดต่อ jack เพื่อที่จะลงทุนกับเขา และนั่นเป็นที่มาให้เขาได้พบนักลงทุนทางด้านยุทธศาสตร์ที่สำคัญกับ alibaba ในอนาคตที่สำคัญอย่าง มาซาโยซิ ซัน จาก Softbank ประเทศยี่ปุ่น ซึ่งคนนี้ถือเป็นคนที่มีบทบาทสำคัญในการขยายตลาดสำหรับ alibaba ในช่วงเริ่มต้น เพราะทาง มาซาโยซิ ซันนั้นได้ให้ลงทุนถึง 30 ล้านเหรียญ สำหรับการถือหุ้น 40% ของ Alibaba ทำให้ alibaba มีเงินทุนสำหรับการขยายตลาดไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกทั้งการตั้งศูนย์ R&D ในอเมริกา การตั้ง สำนักงานใหญ่ในฮ่องกง และ การขยายไปยังทวีปยุโรป

ตัว มาซาโยซิ ซัน นั้นเป็นนักลุงทุนที่เน้นลุงทุนในบริษัทเทคโนโลยีทั่วโลกอยู่แล้ว ในช่วงหนึ่งนั้นมูลค่าหุ้นของเค้าแทบจะทำให้เค้ากลายเป็นบุคคลที่รวยที่สุดในโลกแซงหน้า bill gates ไปเลยก็ว่าได้ แต่เนื่องจากการประสบกับปัญหาของฟองสบู่ดอทคอม ในช่วงปี 2000 นั้นก็ทำให้มูลค่าหุ้นของเขาหายไปกว่า 90% เลย แต่เค้าก็พร้อมที่จะรับความเสี่ยงนี้ต่อไปโดยหลังจาก ช่วงปี 2000 บริษัทดอทคอมก็เริ่มกลับมาบูมอีกครั้ง และเขาก็ได้กระจายการลงทุนไปยังทั่วโลกจนตอนนี้ ก็แทบได้ว่าเขาเป็นมหาเศรษฐีลำดับต้น ๆ ของญี่ปุ่น และของโลก

หลังจากได้เงินทุนจำนวนมหาศาลจาก softbank นั้น jack ก็เน้นไปที่การขยายกิจการเพิ่มขึึ้น และใช้เงินเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการจ้างคนที่มีคุณภาพจากฝั่งอเมริกาและยุโรป ทำให้เงินทุนค่อยๆ ร่อยหรอลงไปเรื่อย ๆ จนแทบจะใกล้หมด กว่าเขาจะรู้ตัวเงินก็เหลือเพียงแค่ไม่กี่ล้านเหรียญแล้ว jack จึงต้องผ่านบททดสอบครั้งใหญ่ในการพากิจการก้าวไปข้างหน้าให้ได้ โดยเขาต้องทำการปลดพนักงานออกเป็นจำนวนมากทั้งในอเมริกา ยุโรป และ ฮ่องกง ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจที่สำคัญครั้งนึงของ jack ในการบริหาร alibaba เลยก็ว่าได้

หลังจากนั้น jack ก็เริ่มมาสนใจธุรกิจที่นอกเหนือจาก B2B อย่าง B2C หรือ C2C จุดใหญ่ที่สำคัญที่เป็นบทพิสูจน์ความเก่งกาจของ jack คือการสร้างธุรกิจ C2C อย่าง เถาเป่า บริษัทการที่แทบจะเลียนแบบ ebay มาเลยก็ว่าได้ ซึ่งในตอนนั้น ebay นั้นเป็นยักใหญ่ในบริษัท C2C และ B2C ของโลกโดยมีการลงทุนเข้าซื้อบริษัทยักใหญ่ในจีน และควบรวมกลายเป็น ebay china ซึ่งครองตลาดกว่า 80% ในขณะนั้น

ebay นั้นพร้อมทุกอย่างทั้งบุคคลากร และเงินทุนจำนวนมากจาก อเมริกา จึงไม่มีใครสามารถสู่ได้ในขณะน้น แต่ jack ก็พร้อมที่จะรบเต็มที่สร้าง เถาเป่า ขึ้นมาเพื่อมาสู้กับ ebay โดยเฉพาะ และสงครามก็เริ่มขึ้น ebay ทุ่มทุน โฆษณาอย่างยิ่งใหญ่ ใช้งบไปหลายร้อยล้านเหรียญ ซึ่งเป็นการสร้างตลาดใหม่ขึ้นมา ทำให้มูลค่าตลาด C2C นั้นสูงขึ้นอย่างมากและ เถาเป่า ก็สู้ได้อย่างสมศักดิ์ศรี และเนื่องจากการที่ jack เป็นคนจีน จึงเข้าใจวัฒนธรรมของคนจีนมากกว่า และ สร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคชาวจีนมากกว่า ทำให้ ผู้บริโภคย้ายมาใช้บริการของ เถาเป่าเป็นจำนวนมาก จนในที่สุดก็สามารถชนะ ebay ได้ จนทำให้ ebay ต้องถอนการลงทุนจากจีนออกไป ซึ่งจุดนี้เป็นบทพิสูจน์ที่สำคัญของ jack ในการบริหารกิจการเล็ก ๆ และล้มยักใหญ่อย่าง ebay ในจีนได้

หลังจากศึก ebay นั้น alibaba group ก็แทบจะครองธุรกิจ ecommerce จีนแบบเบ็ดเสร็จ และเค้าได้สร้างนวัตกรรมที่สำคัญอีกหลายอย่างทั้ง alipay , alimama , china smart logistics เพื่อ inegrate service ของ alibaba ทุกอย่างเข้าด้วยกัน รวมถึงการได้ partner ที่สำคัญอีกบริษัทอย่าง YAHOO ที่สุดท้ายก็ต้องยก YAHOO ประเทศจีนให้กับ alibaba ของ jack ma โดยแลกกับหุ้นส่วน กว่า 40% ในบริษัท alibaba และยอมร่วมเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เช่นเดียวกับ softbank จากญี่ปุ่น

และสุดท้ายบริการที่ยิ่งใหญ่อีกตัวหนึ่งของ alibaba สำหรับตลาดธุรกิจ B2C คือ Tmall โดยมีการแยกออกมาจาก เถาเป่า ซึ่งเป็นบริการล่าสุดของ alibaba group ทำให้ alibaba แทบจะครอบครองส่วนแบ่งการตลาดแบบเบ็ดเสร็จของ ecommerce ในประเทศจีน ซึ่งแค่ยอดขายในวันที่ 11/11 ของทุก ๆ ปีนั้น alibaba group ก็จะมีการลดราคาครั้งยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะในปี 2013 นั้น แค่วันเดียวก็สามารถทำยอดขายได้กว่า หลายหมื่นล้านเหรียญ ซึ่งแซง ecommerce ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของ อเมริกาเป็นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นเอง

สรุปหนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือที่อ่านแล้วจะเข้าใจ jack ma และความสามารถของเค้านั้นได้พิสูจน์มาหลายครั้งแล้วว่าเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำพาบริษัท alibaba ก้าวเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกบริษัทนึงในอนาคตอันใกล้นี้คาดว่า alibaba นั้นก็จะเป็นบริษัท ecommerce ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกนี้อย่างแน่นอนเนื่องจากการ มีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญครบหมดแล้วทั้งด้านการชำระเงิน logistics และ platform ที่ครอบคลุมทั้ง C2C , B2C, และ B2B จึงไม่น่าแปลกใจที่เมื่อทำ IPO ในตลาดหุ้นสหรัฐแล้วนั้นบริษัทจะทำให้บริษัทมีมูลค่ากิจการสุงถึง 7.3 ล้านล้านบาท และ ในอนาคต alibab จะเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่กว่านี้อย่างแน่นอน

เก็บตกจากหนังสือ 

  • Jack Ma นั้นไม่ได้เป็นคนที่พื้นฐานความรู้ทางด้าน technology ที่แข็งแกร่งแบบเดียวกับผู้ก่อตั้งทาฝั่งอเมริกาเลยแต่ก็สามารถนำพาบริษัท technology ที่ยิ่งใหญ่ได้
  • เสน่ห์ที่่สำคัญของ jack คือการที่สามารถดึงดูดคนเก่งมาร่วมงานได้ และยอมถวายชีวิตการทำงานให้กับวิสัยทัศน์ของเค้าได้
  • การลงทุนทางด้านบริษัทเทคโนโลยีนั้นมีความเสี่ยงสูง แต่ return of investment ก็สูงมาก ๆ  เช่นเดียวกัน จึงทำให้ดึงดูดนักลุนทุนจำนวนมาก เช่น YAHOO, Softbank ที่เข้ามาลงทุนกับ alibaba นั้นก็แทบจะไม่มายุ่งกับการบริหารของ alibaba มากมายเลย