Geek Story EP63 : ทำไมยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley ถึงได้ล้มเหลวในดินแดนมังกร

ในฐานะบริการชั้นนำจากอเมริกา หรือ ทั่วโลก บริการอย่าง eBay, Google , Uber , Airbnb , Amazon ทุกบริษัทล้วนแล้วแต่มีความพยายามในการเอาชนะตลาดในประเทศจีน แม้นักวิเคราะห์หลาย ๆ รายได้พยายามสรุปความล้มเหลวของบริการจาก Silicon Vallley เหล่านี้ว่ามาจากการควบคุมของรัฐบาลจีน

แต่ ไค ฟู ลี อดีตผู้บริหารระดับสูงของทั้ง Microsoft และ Google ทั้งในอเมริกาและประเทศจีนกลับมองต่างออกไป

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/2JkU5GJ

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/0CQAp7uiuS0

References : https://www.vox.com/recode/2019/5/1/18511540/silicon-valley-foreign-money-china-saudi-arabia-cfius-firrma-geopolitics-venture-capital
https://lareviewofbooks.org/article/a-chinese-silicon-valley-not-so-fast/
https://www.businessinsider.com/google-isnt-the-only-silicon-valley-company-struggling-in-china-2010-1
http://parisinnovationreview.cn/en/2016/07/14/why-american-internet-companies-fail-in-china-a-cultural-perspective/
https://startupsventurecapital.com/why-shanghai-china-might-be-the-next-silicon-valley-and-why-we-should-care-811672cb12dd

Geek Story EP62 : การก่อกำเนิดของเกม Pong กับการสร้างวัฒนธรรมแหกกฏครั้งแรกใน Silicon Valley

ในวันที่ Atari ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ปี 1972 Nolan Bushnell ได้ว่าจ้างวิศวกรคนแรกของเขา Al Alcorn ซึ่งเป็นนักฟุตบอลระดับมัธยมปลายจากละแวกซานฟรานซิสโก ที่เรียนรู้การซ่อมโทรทัศน์ด้วยตัวเองผ่านหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยเบิร์กลีย์

ในเวลานั้น Bushnell มีสัญญาที่จะสร้างวีดีโอเกมใหม่ให้กับ บริษัท Bally Midway ในเมืองชิคาโก ซึ่งแผนการคือการทำเกมแข่งรถ ซึ่งดูเหมือนจะน่าสนใจกว่า เกมยานอวกาศสุดฮิตอย่าง Spaewar ในสมัยนั้น

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3qbG66p

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2HRsGv2

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/B1BjGBDDNM4

References : https://www.pinterest.com/pin/427771664586310436/?autologin=true

ทำไมยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley ถึงได้ล้มเหลวในดินแดนมังกร

ในฐานะบริการชั้นนำจากอเมริกา หรือ ทั่วโลก บริการอย่าง eBay, Google , Uber , Airbnb , Amazon ทุกบริษัทล้วนแล้วแต่มีความพยายามในการเอาชนะตลาดในประเทศจีน

แม้นักวิเคราะห์หลาย ๆ รายได้พยายามสรุปความล้มเหลวของบริการจาก Silicon Vallley เหล่านี้ว่ามาจากการควบคุมของรัฐบาลจีน

แต่ ไค ฟู ลี อดีตผู้บริหารระดับสูงของทั้ง Microsoft และ Google ทั้งในอเมริกาและประเทศจีนกลับมองต่างออกไป

เขามองว่าการที่บริษัทจากอเมริกันนั้น พยายามทำทุกอย่างในประเทศจีน เหมือนตลาดอื่น ๆ ที่พวกเขาครอบครองได้ทั่วโลก นั่นคือข้อผิดพลาดที่สำคัญที่สุด

การที่บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ ไม่ลงทุนในทรัพยากร หรือให้ความยืดหยุ่นกับทีมงานในประเทศจีน ที่จำเป็นอย่างมากในการแข่งขันกับบริการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศจีนเอง เพื่อปรับบริการต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมชาวจีนนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่บริการเหล่านี้ ไม่สามารถสู้กับบริการท้องถิ่นในประเทศจีนได้

ไค ฟู ลี ได้กล่าวว่า ในบางบริการนั้น อาจจะต้องเริ่มต้นกันใหม่ตั้งแต่ต้น เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดจีน การทำเพียงแค่ แปลเป็นภาษาจีน แล้วใช้ทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนกับในอเมริกานั้น ทำให้ทีมงานที่อยู่ในพื้นที่รู้สึกถึงความไม่ใส่ใจที่แท้จริง

ความแตกต่างที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ บริษัทยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley ได้สูญเสียทรัพยากรบุคคลที่เก่งกาจในประเทศจีนไปเป็นจำนวนมากเนื่องจากปัญหาข้างต้น เหล่าบริษัท สตาร์ทอัพของจีน รวมถึงคนหนุ่มสาวที่มีความทะเยอทะยานที่สุดส่วนใหญ่นั้นมักเลือกที่จะเข้าร่วมกับบริษัทในท้องถิ่น

เพราะพวกเขารู้ดีว่า หากเข้าร่วมกับบริษัทอเมริกัน ผู้บริหารของบริษัทนั้น จะมองพวกเขาเป็นเพียงแค่ แรงงานในพื้นที่ ตลอดไป พวกเขาจะไม่ได้รับโอกาสในการไต่เต้าขึ้นสู่การเป็นผู้บริหารระดับสูงที่แท้จริง ซึ่งสูงสุดเป็นได้เพียงแค่ ผู้จัดการประจำประเทศของบริการนั้น ๆ เพียงเท่านั้น

เพราะฉะนั้น คนหนุ่มสาวเหล่านี้ ที่มีความทะเยอทะยานสูง เลือกที่จะก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพของตัวเอง หรือเข้าร่วมกับบริษัทในประเทศจีน เพื่อเอาชนะบริการยักษ์ใหญ่เหล่านี้ที่มาจาก Silicon Valley นั่นเอง

เพราะฉะนั้นทรัพยากร แรงงานส่วนใหญ่ที่ บริษัทจาก Silicon Valley ได้ไปนั้น มักจะเป็นกลุ่มคนที่ หวังเพียงแค่เงินเดือน หรือ หุ้น มากกว่ากลุ่มคนที่มีความทะเยอทะยานเพื่อเอาชนะในตลาดจีนอย่างแท้จริง

ในขณะที่นักวิเคราะห์จากต่างชาติยังคงสงสัยในคำถามที่ว่า ทำไม บริษัทยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley ไม่สามารถเอาชนะในจีนได้ แต่ บริษัทของจีน กำลังยุ่งอยู่กับการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น

Weibo ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม ไมโครบล็อกที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Twitter ขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีการเพิ่ม Features ต่างๆ มากมาย และทำให้ตอนนี้มีมูลค่ามากกว่า Twitter ที่พวกเขาไป copy มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

หรือบริการอย่าง Didi ที่เลียนแบบมากจาก Uber ได้ขยายบริการและผลิตภัณฑ์อย่างมาก และให้บริการรถโดยสารในประเทศจีนในแต่ละวัน มากกว่าที่ Uber ทำได้ทั่วโลกเสียอีก หรือ Toutiao ซึ่งเป็นแพล็ตฟอร์มข่าวของจีน ที่ถูกเปรียบเทียบกับ BuzzFeed ใช้ อัลกอริธึม Machine Learning ขั้นสูง เพื่อปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้ใช้แต่ละคน

ซึ่งต้องบอกว่า การเติบโตของ Ecosystem ผู้ประกอบการของจีนนั้น เป็นมากกว่าการคิดเพียงแค่แข่งขันกับบริการจาก Silicon Valley หลังจากที่บริษัทต่าง ๆ เช่น Alibaba , Baidu หรือ Tencent นั้นได้พิสูจน์แล้วว่า ตลาดอินเทอร์เน็ตของจีนนั้นสามารถสร้างกำไรได้มากเพียงใด

มันทำให้คลื่นลูกใหม่ของบริษัทด้านการลงทุน ก็เริ่มหลั่งไหลเข้าสู่อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีของประเทศจีน และตลาดก็กำลังร้อนแรงเป็นอย่างมาก จำนวน สตาร์ทอัพในประเทศจีนก็เติบโตขึ้นอย่างทวีคูณ

แม้การต่อสู้กับยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley นั้นจะทำให้เหล่าบริการของจีนยิ่งแข็งแกร่ง แต่การแข่งขันภายในประเทศ กับคู่ต่อสู้ภายประเทศของเขาเองต่างหาก ที่เป็นบทพิสูจน์ที่แท้จริงของบริษัทเทคโนโลยีในประเทศจีน ว่าพวกเขาเจ๋งจริง นั่นเองครับ

References : https://www.vox.com/recode/2019/5/1/18511540/silicon-valley-foreign-money-china-saudi-arabia-cfius-firrma-geopolitics-venture-capital
https://lareviewofbooks.org/article/a-chinese-silicon-valley-not-so-fast/
https://www.businessinsider.com/google-isnt-the-only-silicon-valley-company-struggling-in-china-2010-1
http://parisinnovationreview.cn/en/2016/07/14/why-american-internet-companies-fail-in-china-a-cultural-perspective/
https://startupsventurecapital.com/why-shanghai-china-might-be-the-next-silicon-valley-and-why-we-should-care-811672cb12dd

Geek Life EP4 : ตำแหน่งของคุณทำให้คุณเป็นผู้จัดการ แต่ลูกทีมของคุณจะทำให้คุณเป็นผู้นำ

ถือเป็นอีกหนึ่งบทเรียนเกี่ยวกับเรื่องของผู้จัดการ ที่น่าสนใจจากหนังสือ Trillion Dollar Coach จากสุดยอด โค้ช CEO อย่าง Bill Campbell ที่เคยเป็นที่ปรึกษาให้กับธุรกิจ Startup เล็ก ๆ จนกลายมาเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ของโลกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Apple , Google หรือ Twitter

ต้องบอกว่าความลับความยิ่งใหญ่ของ Silicon Valley นั้น ไม่ใช่ Hardware หรือ Software สุดล้ำ แต่คือสุดยอดโค้ช CEO อย่าง Bill Campbell ที่มีอิทธิพลต่อธุรกิจของ Silicon Valley มากจนเกิดเป็นข้อคิดมากมายที่ได้จากหนังสือ Trillion Dollar Coach : The Leadership Playbook of Silicon Valley’s Bill Campbell

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/2QBcIG1

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3hDbrdM

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/RaRerw0OuFw

References : https://www.peoplemattersglobal.com/article/sports-books-movies/book-review-the-trillion-dollar-coach-22504
https://www.facebook.com/theceolibrary/photos/a.586024991787943/1041018886288549/

เรียนเขียนโปรแกรม 2 วันเพื่อก้าวสู่เส้นทางมหาเศรษฐีของ Facebook Co-Founder อย่าง Dustin Moskovitz

ลองนึกภาพการใช้เวลาสองสามวันเพื่อเรียนรู้ภาษาการเขียนโปรแกรมใหม่ที่จะเปลี่ยนคุณให้กลายเป็นมหาเศรษฐี ฟังดูเรื่องราวเหล่านี้มันเหมือนเป็นเรื่องเพ้อฝัน แต่คุณรู้หรือไม่ว่าเรื่องราวดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องจริงที่เกิดกับชายที่ชื่อว่า Dustin Moskovitz

ในปี 2005 เมื่อ Facebook เพิ่งเป็นบริษัทเล็ก ๆ กับพนักงานเพียง 50 คน Mark Zuckerberg CEO ได้รับเชิญให้ไปบรรยายที่โรงเรียนเก่าของเขา Harvard

เขาเป็นคนที่ไม่มีใครในเวลานั้นไม่รู้จักสิ่งที่เขาสร้างมันขึ้นมาที่ Harvard

ในปี 2005 Facebook สร้างกระแสในโลกนี้ มันได้กลายเป็นเครือข่ายทางสังคมสำหรับนักศึกษาที่แพร่กระจายไปยังมหาวิทยาลัยกว่า 2,000 แห่งและสร้างการเข้าชมเว๊บไซต์ประมาณ 400 ล้านครั้งต่อวัน Zuckerberg กล่าวกับผู้ชมในวันนั้น

เมื่อเราย้อนอดีตกลับไปในปี 2005 Yahoo ยังคงเป็นแพลตฟอร์มใหญ่ที่สุดสำหรับการค้นหา และได้รับการพิจารณาว่าเป็นหนึ่งใน บริษัท อินเทอร์เน็ตที่ประสบความสำเร็จขนาดใหญ่พร้อมกับบริการอย่าง eBay และบริการขายหนังสือออนไลน์ ในขณะนั้นอย่าง Amazon

เรื่องที่ดีที่สุดที่เขาบอกในการบรรยายในครั้งนั้น ก็คือ รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีที่เพื่อนร่วมห้องของเขา Dustin Moskovitz เข้ามาเกี่ยวข้องกับ Facebook ได้อย่างไร

Mark Zuckerberg สร้าง Facebook ในห้องพักหอพักของเขาโดยใช้ภาษาในการเขียนโปรแกรมคือ PHP และเว็บไซต์ดังกล่าวก็กลายเป็นที่นิยม จนฉุดไม่อยู่

“ผมเริ่มเขียนเว๊บไซต์และเปิดตัวที่ Harvard ในเดือนกุมภาพันธ์ 2004 และภายในสองสามสัปดาห์คน 2-3 พันคนสมัครเข้ามาใช้งานและเราเริ่มได้รับอีเมลจากผู้คนที่มหาวิทยาลัยอื่น ๆ เรียกร้องให้เราเปิดตัว Facebook ที่มหาลัยของพวกเขา “เขากล่าว

เขาเรียนวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์อย่างหนัก แต่มันก็สนุกมาก ๆ “แม้มันจะไม่ได้ทำให้ผมมีเวลาเหลือเฟือที่จะทำอะไรกับ Facebook มากมายนักในช่วงเริ่มต้น ดังนั้นเพื่อนร่วมห้องของผม Dustin จึงเป็นมากกว่าแค่ผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ผมต้องการความช่วยเหลือ เราจะทำการขยาย Facebook ” นั่นเป็นประโยคแรกที่ Mark Zuckerberg ได้กล่าวกับเพื่อนร่วมห้องของเขาอย่าง Dustin Moskovitz ให้เข้ามาร่วมงานใน Facebook

Zuckerberg บอกกับ Moskovitz ว่า   “Facebook มันค่อนข้างเจ๋ง แต่ดูเหมือนนายจะไม่รู้เกี่ยวกับภาษา PHP เลย”

โชคดีที่ PHP นั้นเรียนรู้ได้ง่ายโดยเฉพาะถ้าคุณรู้จักภาษา C ซึ่ง  Moskovitz ได้เรียนรู้มา

PHP ไม่ใช่ PERL เพื่อน

“วันหยุดสุดสัปดาห์นั้น Moskovitz ก็ได้กลับบ้านและไปซื้อหนังสือ ‘PERL for Dummies’ กลับมาและบอกกับ Zuckerberg ว่า ‘ฉันพร้อมจะลุยกับนายแล้วเพื่อน’ ก่อนที่ทาง Zuckerberg จะบอกกับเขาว่า “เว็บไซต์ของ Facebook เขียนด้วย PHP ไม่ใช่ PERL นะครับเพื่อน”

หลังจากนั้น Moskovitz ก็ได้ศึกษา PHP อย่างหนัก และเรียนรู้ภาษา PHP อย่างรวดเร็วภายใน “2-3 วัน” และ เริ่มที่จะมาช่วย Zuckerberg จากปัญหาทางเทคนิคของการขยายจากมหาวิทยาลัยหนึ่งไปยังอีกหลายมหาวิทยาลัย

Dustin Moskovitz เรียนรู้ PHP อย่างรวดเร็วจนมาเป็นกำลังสำคัญของ Facebook
Dustin Moskovitz เรียนรู้ PHP อย่างรวดเร็วจนมาเป็นกำลังสำคัญของ Facebook

Zuckerberg และ Moskovitz ได้ย้ายจาก Harvard ไปที่ Palo Alto, California เพื่อทำงานกับ Facebook แบบเต็มเวลาในท้ายที่สุด

Moskovitz ออกจาก Facebook ในปี 2008 สามปีหลังจากการพูดคุยครั้งนี้ ซึ่งหุ้น Facebook ของเขา ในภายหลังจะทำให้เขากลายเป็นมหาเศรษฐีหนุ่มเช่นเดียวกัน

หลายปีต่อมาเรื่องราวที่เล่าขานกันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพวกเขาได้กลายมาเป็นแก่นกลางในหนังสือ “The Accidental Billionaires” ซึ่งนำไปสู่ภาพยนตร์เรื่อง “The Social Network” ในท้ายที่สุด

และ Zuckerberg พูดอย่างอื่นในการบรรยายที่น่าสนใจมาก : เขาไม่เคยวางแผนที่จะให้ Facebook กลายเป็นปรากฏการณ์ระดับโลกที่ยิ่งใหญ่อย่างในทุกวันนี้

“ ลักษณะหนึ่งของ บริษัท ที่ประสบความสำเร็จจริง ๆ ไม่ใช่ว่าเราเพียงแค่ทำมันให้ประสบความสำเร็จจริง ๆ แต่เราต้องตกอยู่ห้วงเวลาที่ พวกเราพยายามทำสิ่งที่เจ๋ง ๆ ออกมาตลอดเวลา และมีไฟที่จะทำมันอยู่เรื่อย ๆ ไม่ใช่เพียงแค่พยายามสร้างบริษัทเพียงเท่านั้น” เขากล่าว

นี่คือ VDO การบรรยายเต็มรูปแบบซึ่งมีความยาวประมาณหนึ่งชั่วโมง ต้องบอกว่าเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจมาก ๆ ของทั้งคู่ในการนำพา Facebook ก้าวมาอยู่ในจุดที่เราได้เห็นกันในทุกวันนี้ :

อ่าน Blog Series : ประวัติ Mark Zuckerberg

References : https://en.wikipedia.org/wiki/Dustin_Moskovitz
https://www.businessinsider.com/how-moskovitz-became-facebook-cofounder-2016-3
https://www.forbes.com/profile/dustin-moskovitz/
https://www.capitalism.com/dustin-moskovitz-net-worth/
https://www.arkansasonline.com/news/2012/apr/16/true-silicon-valley-spirit-facebook-alumn-20120416/
https://www.newstatesman.com/world/2018/01/imperial-ambitions-facebook-founder-mark-zuckerberg