Alpha Go กับมุมมองที่เปลี่ยนไปต่อ AI

ต้องบอกว่า Blog นี้ มาจากการที่ได้มีโอกาสดู Documentary ของ Netflix ที่ชื่อว่า Alpha Go  ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องถึง ความเป็นมาของ Alpha Go ของทาง Lab Deepmind ของ Google ที่มีฐานอยู่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ก่อนหน้าที่จะเกิด Alpha Go นั้น ทาง Lab Deepmind ก็ได้ทำการทดลองกับเกมส์ Classic อย่าง Atari Breakout  ซึ่งเป็นเกมส์ที่ไม่ได้เล่นยากเกินไปถ้าเทียบกับเกมส์ อย่าง โกะ หรือ หมากรุก ซึ่งต้องบอกว่าผลการทดสอบกับ Atari-Breakout นั้นได้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจ คือ การเรียนรู้ด้วยตัวเองของ AI ทำให้สามารถเรียนรู้ที่จะชนะเกมส์อย่าง Break Out ได้อย่างเด็ดขาด

หลังจากนั้น ก็เริ่มทำการทดลองกับเกมส์ที่ยากขึ้นอย่าง โกะ ซึ่งต้องบอกว่าเป็น บอร์ดเกมส์ ที่ขึ้นชื่อว่ายากที่สุด และมีความน่าจะเป็นที่เกิดขึ้นกับกระดานโกะ มากกว่า เกมส์อย่าง หมากรุก หรือ หมากฮอส หลายเท่า

ซึ่งการที่จะพัฒนา AI ที่เล่นเกมส์โกะ ให้เอาชนะแชมป์โลกได้นั้น เป็นเรื่องที่ไกลเกินเอื้อม และคงไม่มีนักเล่นโกะคนใด ที่คิดว่า Alpha Go จะสามารถเอาชนะ แชมป์โลกโกะได้ในขณะนั้น แต่ Deepmind นั้นก็ได้เริ่มพัฒนา Alpha Go ขึ้นมาโดยเริ่มแรกให้เรียนรู้จาก ผู้เล่น Online ที่อยู่ในระบบก่อน โดยเป็นการเรียนรู้การเล่นกว่าแสนเกมส์ ทำให้ช่วงแรกนั้นก็ยังมีข้อผิดพลาดอยู่บ้าง

จนถึงการมาพบกับแชมป์โกะของยุโรป อย่าง Fan Hui ซึ่งเป็นเจ้าของแชมป์ยุโรปคนล่าสุด  ต้องบอกว่าก่อนมาแข่งนั้น Fan Hui  นั้นมั่นใจมาก ๆ ว่า Alpha Go ไม่สามารถเอาชนะเขาได้แน่ ๆ แต่การแข่งขันจริงนั้น เขาแพ้ให้กับ Alpha Go ไปแบบหมดรูป 5-0 เกมส์ ทำให้มุมมองของ Fan Hui นั้นเปลี่ยนไปเลยทีเดียว ต้องหันกลับมามอง เจ้า Alpha Go ใหม่อีกครั้ง และสุดท้ายก็ยอมเป็นที่ปรึกษาให้กับ Deepmind เพื่อทำการพัฒนาเจ้า Alpha Go ให้เก่งขึ้นไปอีกระดับ ก่อนที่จะมาแข่งขันจริงกับ Lee Sedol แชมป์โลก ระดับ 9 ดั้ง ซึ่งถือเป็นชั้นสูงสุดของวงการเกมส์โกะ

ซึ่งต้องบอกว่าก่อนแข่งนั้น Lee Sedol ได้ปรามาส Alpha Go ไว้ค่อนข้างเยอะ และ ค่อนข้างมั่นใจเช่นเดียวกับ Fan Hui ว่าเขาสามารถเอาชนะ เจ้า Alpha Go ได้แน่ ๆ

ต้องบอกว่าเกมส์ นี้ เป็นเกมส์เดิมพันที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว Deepmind มีโอกาสที่จะเสียหน้าต่อสายตาคนทั้งโลกเลยก็ว่าได้  แม้กระทั่งหัวหน้าด้านการวิจัย Alpha Go ของ Deepmind เองก็ยังไม่ค่อยมั่นใจเท่าไหร่ในตอนแรกว่า Alpha Go จะสามารถเอาชนะ Lee Sedol ได้หรือไม่  เพราะก่อนแข่งนั้น Fan Hui ที่มารับบทที่ปรึกษาได้ค้นพบจุดอ่อนบางอย่างของ Alpha Go ซึ่งไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ทันการแข่งขัน จึงต้องทำการ Build Version ที่เสถียรที่สุดออกไปก่อน เพราะการแข่งขันได้ถูกกำหนดวันที่ไว้เป็นทีเ่รียบร้อยแล้ว

แต่ต้องบอกว่า การแข่งขันจริงนั้น Lee Sedol พ่ายแพ้ไปอย่างหมดรูป โดยเฉพาะ 3 เกมส์แรกนั้น ต้องบอกว่าการเดินหมากของ Lee Sedol นั้นไม่เป็นตัวของตัวเองเลยด้วยซ้ำ เหตุผลนึงน่าจะมาจาก เค้าไม่สามารถรับรู้ได้ถึงความรู้สึกของคู่แข่ง เหมือนแข่งกันมนุษย์จริง ๆ เพราะ Alpha Go ใช้คนเดินหมากแทน โดยให้ Alpha Go เป็นคนคิดว่าจะวางหมากไว้จุดใด ซึ่งทำให้ Lee Sedol ไม่สามารถอ่านใจคู่แข่งได้เลย ว่าอยู่ในอารมณ์ไหน ซึ่งเป็นจุดสำคัญจุดนึงเลยก็ว่าได้ ที่ Alpha Go มีความได้เปรียบ เพราะ ไม่มีการแสดงออกทางกายภาพเลยว่า ตอนนี้หมากในเกมส์เป็นอย่างไร ได้เปรียบ หรือ เสียเปรียบอยู่

พอถึงเกมส์ที่ 4 ซึ่ง Lee Sedol เริ่มไร้ความกดดันใด ๆ แล้ว เพราะยังไงก็แพ้แน่นอนแล้ว จึงทำให้สามารถกลับมาเล่นในเกมส์ของตัวเองได้อีกครั้ง และครั้งนี้ เหมือนกับ Alpha Go จะมีการเดินหมากที่ผิดพลาดอยู่หลายครั้งมาก ทั้งที่ควรจะชนะไปได้แบบไม่ยากเย็น แต่ Lee Sedol ก็สามารถแก้เกมส์กลับมาเอาชนะไปได้ ซึ่งความกดดันนั้นน่าจะเป็นเหตุผลหลักเหตุผลนึงเลยก็ว่าได้ ที่ทำให้ Lee Sedol แพ้ไปอย่างหมดรูปใน 3 เกมส์แรก พอเริ่มคลายความกดดัน จึงสามารถเล่นเกมส์ ของตัวเองได้ จนมาชนะในเกมส์ที่ 4 แต่ในเกมส์สุดท้าย Alpha Go ก็กลับมาชนะได้อีกครั้ง รวมเป็นผล 4-1  ต้องถือว่าบรรลุเป้าหมายของทาง Deepmind ที่สามารถเอาชนะมนุษย์ที่เก่งเกมส์โกะ ที่สุดในโลกไปได้

การเอาชนะแชมป์โกะเปลี่ยนแปลงมุมมองต่อ AI อย่างไร?

ต้องบอกว่า ก่อนหน้านี้ ที่ IBM เคยเอาชนะแชมป์หมากรุกโลกได้นั้น ถือเป็นเรื่องเล็ก ๆ ไปเลย เมื่อเทียบกับเกมส์โกะ เพราะเกมส์โกะ เป็นเกมส์ที่มีความน่าจะเป็นในกระดานสูงมาก และต้องคิดแบบหลายชั้น ซึ่งการที่ AI สามารถเอาชนะขีดจำกัดในข้อนี้ของมนุษย์ได้นั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดา เราต้องลองจินตนาการว่า หาก Alpha Go สามารถเอาชนะแชมป์โลกโกะ ได้ แล้วต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อ AI สามารถเรียนรู้การทำงานของมนุษย์ และรู้ถึงจุดอ่อนของมนุษย์เราได้

ต่อจากนี้เราก็อาจจะได้เห็น Alpha Go ในทุก Domain เลยก็ว่าได้ลองจินตนาการว่า  หมอที่เก่งที่สุดในโลกในด้านที่ AI สามารถจำลองการทำงานได้ เช่น รังสีแพทย์ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลจากการถ่าย X-RAY ไม่ว่าจะเป็น Ultrasound , MRI , CT-Scan เพื่อใช้ในการวิเคราะห์โรคร้ายต่าง ๆ ซึ่งหมอเล่านี้นั้น ต้องใช้การเรียนรู้ + ประสบการณ์ในการ วิเคราะห์ภาพที่ได้จากเครื่อง X-RAY ชนิดต่าง ๆ ซึ่ง ไม่ยากเลยสำหรับ AI ที่จะเรียนรู้แบบหมอได้ และเทคโนโลยีปัจจุบันนั้น คิดว่า สมมติว่ามีการแข่งขัน ให้หมอที่เทพที่สุดด้านนี้ มาแข่งกับ AI ผลน่าจะไม่ต่างจากเกมส์โกะ ที่สามารถเอาชนะแชมป์โลกไปได้อย่างไม่ยากเย็น แต่ก็อยู่ที่ว่ามนุษย์เรานั้นจะสามารถยอมรับได้หรือไม่ หากต่อไป นั้น เราจะถูกวินิจฉัยโดย AI ซึ่งไม่ใช่หมอ เช่นเดียวกับ ในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะยอมรับได้มั๊ยว่า รถแบบขับเคลื่อนอัตโนมัตินั้น จะเป็นรถปรกติที่วิ่งบนถนนเดียวกับเรา ซึ่ง ยังไงอัตรการเกิดอุบติเหตุจาก AI เหล่านี้ ก็น่าจะน้อยกว่ามนุษย์อยู่แล้ว เพราะความแม่นยำที่สามารถตรวจสอบได้ และขีดจำกัดหลาย ๆ อย่างของมนุษย์นั้น จะไม่สามารถทำงานได้เทียบเท่า AI อีกต่อไป

 

References : Netflix.com

AI First กับ Game Changer ของ Google

ก่อนหน้านี้ผมเคยเขียน Blog ไว้หลาย ๆ เรื่องว่า Facebook นั้นกำลังก้าวขึ้นมาต่อกรกับ Google และมีโอกาส แซง Google ได้ในอนาคตอันใกล้ นี้ แต่หลังจากงาน Google IO 2018 เมื่อกลางปีนั้นทำให้ความคิดผมต้องเปลี่ยนไป ต้องขอบอกว่า Google นั้นไปไกล เกินกว่าที่ Facebook หรือบริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ จะไล่ตามทันเป็นอย่างมาก

โดยเฉพาะเรื่องงานวิจัยด้าน AI  ถ้าได้มองใน Google Research จะพบว่ามีการวิจัยที่ก้าวล้ำไปอย่างมาก และ google นั้นมองถึงเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนโลกเรา และ เน้นไปที่การสร้างสังคมที่ดีขึ้น อย่างที่ concept ของ ผู้ก่อตั้ง ที่เคยกล่าว ไว้คือ “google make the world a better place

รวมถึงปัญหาต่าง ๆ ที่รุมเร้า facebook ในปัจจุบันทั้งเรื่องข้อมูลที่หลุดรั่วอย่าง Cambridge Analytica รวมถึงประเด็นเรื่องข่าวลวงต่าง ๆ ที่ไม่มีวี่แววว่า facebook นั้นจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างเด็ดขาดเสียที ซึ่งจากปัญหาร้ายแรงเหล่านี้นั้น Mark Zuckerberg ควรที่จะลงจากตำแหน่ง

และควรที่จะมอบหน้าที่ให้ มืออาชีพ ด้านการบริหารมาดูแลแทนได้แล้ว เหมือนอย่างที่ google เคยให้ Eric schmidt มาช่วยดูแลในช่วงแรก ๆ ก่อนส่งไม้ต่อไปให้สองผู้ก่อนตั้งหลังจากผ่านการเรียนรู้อย่่างมากมายจาก Eric Schmidt ก่อนที่จะมาแข็งแกร่งเหมือนทุกวันนี้

From Mobile First to AI First

จาก mobile first เปลี่ยนเป็น AI First

จาก mobile first เปลี่ยนเป็น AI First

ปีนี้นั้น Google เปลี่ยนการขับเคลื่อนธุรกิจทั้งหมดใหม่ทั้งหมด โดยเน้นเรื่องหลักคือ AI First ซึ่งอย่างที่ CEO ของ Google อย่าง ซันดาร์ พิชัย เคยกล่าวไว้ในปีก่อน ๆ หน้า แม้เราอาจจะเห็นบริษัทอื่นๆ  อย่าง Apple ที่มีผลิตภัณฑ์อย่าง SIRI หรือ Amazon ที่มี Alexa แต่ต้องบอกว่า Google Assistant ของ Google นั้นมาไกลเกินกว่าที่ SIRI หรือ Alexa กำลังทำอยู่ค่อนข้างที่จะห่างมาก

แล้วทำไม Google ถึงไปไกลกว่าคนอื่น  ถ้าพูดถึง วิศวกรด้าน AI เทพ ๆ นั้นมีการถูกซื้อตัวกันเป็นว่าเล่นเป็นเรื่องปรกติในซิลิกอน วัลเลย์ ซึ่งเทคโนโลยีหรืองานวิจัยระดับสูงนั้น ต้องอาศัยวิศวกรที่มีความรู้ด้านนี้ค่อนข้างสูง และมีจำนวนน้อยคนนัก ซึ่ง Google นั้นทุ่มเททรัพยากรด้านนี้มากกว่าใครเพื่อนใน Silicon Valley เลยก็ว่าได้

ซึ่งสาเหตุสำคัญนั้นน่าจะมาจากการที่ Product ของ Google หลัก ๆ นั้นค่อนข้างจะนิ่งและทำเงินได้สูงดังตัวอย่างของ Google Search และ Youtube ซึ่งทำให้ Google สามารถนำงบประมาณไปทุ่มกับการวิจัยเป็นจำนวนมหาศาล สามารถที่จะจ้างวิศวกรค่าแรงสูง ๆ และมีความสามารถสูงมารวมตัวกันได้อย่างมากมาย และตอนนี้มันกำลังเริ่มเห็นผลแล้วว่า บริษัทที่มีการทุ่มงบด้าน R&D สูงนั้นสามารถสร้างเทคโนโลยีที่เปลี่ยนโลกของเราได้

แต่ที่น่าสนใจมากที่สุดหลังจากการเปลี่ยนขับเคลื่อนธุรกิจมาที่ AI First  ก็น่าจะเป็นเพราะว่า ตอนนี้ Google กำลังทำ AI ให้นำมา Implement ใช้จริงในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา ซึ่งก่อนหน้านี้ เราอาจจะดูว่า AI เป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องในนวนิยาย เป็นเรื่องล้ำ ๆ เกินกว่าที่เราจะเข้าถึง แต่เทคโนโลยีล่าสุดของ Google ที่แสดงในงาน Google I/O เมื่อกลางปีนั้นสามารถนำมาใช้ในชีวิตจริง ๆ ของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์เราดียิ่งขึ้น และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างง่ายขึ้น สมกับ concept ของ Google คือ “google make the world a better place

เทคโนโลยีที่น่าสนใจที่นำ AI มา Implement ใช้จริงของ Google

ต้องบอกว่าอุปกรณ์ของ Google นั้นในตอนนี้แทบจะยึดโลกแล้วก็ว่าได้ แค่เพียง Android อย่างเดียวก็เป็นพันล้านเครื่องแล้ว ยังไม่นับรวมพวก IoT Device ต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างมากมาย ที่ใช้ระบบปฏิบัติการของ Google ซึ่งเมื่อผนึกกับ Technology ทางด้าน AI นั้นที่ Google แทบจะใส่ไปในทุกผลิตภัณฑ์หลักเลยไม่ว่าจะเป็น Google Assistant , Google Map , Google Photo , Google Lens หรือ ใน Self-Driving Car ก็ล้วนแล้วแต่ใช้ เทคโนโลยีด้าน AI มาเป็นส่วนสำคัญของผลิตภัณฑ์ในแทบจะทุกตัว แต่ถ้าพูดถึง Detail ของ Technology ด้าน AI ที่ค่อนข้างน่าสนใจในปีนี้ของ Google นั้น ในมุมมองส่วนตัวของผมน่าจะเป็น

  • Naturally Conversation & Continued Conversation

ตัองบอกว่า Google Assistant ในปีนี้ ถือเป็น Product เด่นเลยทีเดียว ด้วยความสามารถที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน แทบจะมีความสามารถเทียบเท่ามนุษย์ขึ้นไปทุกวัน Google ได้แก้ปัญหาหลักอย่าง Naturally Conversation และ Continued Conversation เพื่อให้ Assistant นั้นแทบจะทำงานได้เหมือนมนุษย์จริง ๆ สามารถตอบโต้กลับไปกลับมาได้ใกล้เคียงกับมนุษย์จริงมากยิ่งขึ้น ซึ่งเบื้องหลังการทำงานนี่ต้องบอกว่าต้องผ่านการวิจัยที่โหดพอสมควร ถึงเราจะได้เห็น Product ที่ ใช้งาน ได้แบบนี้ขึ้นมา

  • Google Maps and Lens

ถือว่าเป็นการผสมผสานที่ลงตัวเลยทีเดียวที่ใช้พลังของ AI มาใช้งานร่วมกับ Camera รวมถึง Google Maps ทำให้ชีวิตเรานั้นง่ายขึ้น รวมถึงช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ของเราได้อย่างดีเยี่ยมผ่านนวัตกรรมของ AI จาก Google โดยเฉพาะ Google Lens นั้น ถือว่า Surprise มากอยากใช้งานจริงได้ไว ๆ เราสามารถที่จะหาสินค้า หรือของทุกสิ่งได้ผ่าน Camera ของเราได้อย่างง่ายดายมากขึ้น ต้องบอกว่าเป็นสุดยอดนวัตกรรมเลยก็ว่าได้สำหรับ Google Lens ที่ขับเคลื่อนด้วยพลัง AI ของ Google

Google ไม่ใช่นักบุญสุดท้ายก็จะทำเงินจาก Product เหล่านี้อยู่ดี

ถึงแม้จะมี Product ที่ว้าวขนาดไหน ช่วยแก้ปัญหาให้การใช้ชีวิตประจำวันเราได้มากขนาดไหน แต่สุดท้าย ที่ google ทำก็เพื่อขายโฆษณาอยู่ดี ไม่ต้องคิดเลยว่าต่อไปเราจะมี Google Assistant Ads ที่เราสามารถลงโฆษณาได้ โดยให้ Google Assistant เลือกบริการของเราก่อนใคร เมื่อผู้ใช้งานเรียกใช้บริการต่าง ๆ ผ่าน Google Assistant หรือ แม้กระทั่ง Google Lens มันเป็น Product ที่ค่อนข้างชัดเจน ที่ทำมาเพื่อตอบโจทย์การโฆษณาชัด ๆ

ลองจินตนาการ ว่าเราอยากได้สินค้าที่เพื่อนมี ไม่ต้องไปหาที่ไหน เอากล้องเล็งไปที่สินค้านั้น ๆ Google ก็จะ Provide หาสินค้ามาให้เราซื้อได้เอง โดยแทบไม่ต้องไปค้นหาจากไหนเลย ซึ่งเหล่านี้ล้วนนำมาซึ่ง Model ธุรกิจใหม่ ๆ ของ Google ล้วน ๆ ซึ่งจากช่วงหลังเราจะเห็นได้ว่า Google แทบจะมีได้รายได้หลักมาจาก Google Search เพียงอย่างเดียว แต่มันก็เพียงพอที่ Google สามารถที่จะนำเงินไปทุ่มเททรัพยากรเพื่อทำการ R&D ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อย่างที่เราเห็นและสุดท้ายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ก็จะกลายเป็นแหล่งขุมทรัพย์ใหม่ ๆ ให้ google อยู่ดีนั่นเอง

Credit Image : https://www.facebook.com/ProgrammersCreateLife

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage :facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit :blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter :twitter.com/tharadhol
Instragram :instragram.com/tharadhol

AI สามารถรู้ได้ว่าคุณจะตายเมื่อไหร่

ต้องบอกว่าไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ ซะแล้ว สำหรับงานวิจัยชิ้นล่าสุดจาก University of Adelaide ซึ่งพัฒนา AI ให้สามารถบอกได้ว่าคุณกำลังที่จะตายหรือไม่ โดยการวิเคราะห์ผ่าน CT Scan จากผู้ป่วย 48 ราย ด้วยวิธี Deep Learning Algorithms ซึ่งสามารถที่จะ predict ได้ว่าผู้ป่วยเหล่านั้นจะตายภายใน 5 ปี ด้วยความแม่นยำถึง 69% ซึ่งใกล้เคียงกับการวิเคราะห์จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ซึ่งการทำนายดังกล่าวนั้นอาจจะช่วยให้แพทย์สามารถหาวิธีป้องกันไม่ให้เสียชีวิตก่อนได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการช่วยแพทย์ปรับวิธีการรักษาให้กับคนไข้แต่ละรายได้อย่างเหมาะสม ซึ่ง Dr. Luke Oakden-Rayner จาก University of Adelaide นั้น ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “แทนที่แพทย์จะมุ่งเน้นไปที่การค้นหาโรคร้ายแรงจากผู้ป่วย ระบบอัติโนมัติเหล่านี้สามารถที่จะช่วยเหลือแพทย์ที่อาจจะไม่ได้รับการฝึกฝนมามากพอ เช่น กลุ่มแพทย์ที่จบใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีความเชี่ยวชาญในการค้นหาโรคร้ายแรงจากผู้ป่วยได้ ซึ่งระบบอัติโนมัติเหล่านี้นั้นผ่านการ trained มาจากข้อมูลจำนวนมหาศาล และตรวจจับรูปแบบ pattern ที่ซับซ้อนของการเกิดโรคได้ดีกว่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียอีก” 

ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้นั้น ระบบได้มองหาสิ่งต่าง ๆ ที่อาจจะเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้เช่น ภาวะของอวัยวะหัวใจที่ขยายตัว หรือ ภาวะหลอดเลือดแข็งตัว ซึ่ง ระบบ Deep Learning นั้นถูก train ด้วยข้อมูลกว่า 16,000 ภาพ ซึ่งสามารถที่จะบ่งบอกถึงสัญญาณโรคในอวัยวะดังกล่าวได้ ซึ่งเครื่องมืออัตโนมัติเหล่านี้ ได้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ต้องอาศัยการฝึกอบรมอย่างยาวนาน ถึงจะมีความสามารถเทียบเท่า AI เหล่านี้

AI can pick problems in the heart and lungs (at left) that might lead to an early death.

สำหรับงานวิจัยดังกล่าวนั้นไม่ได้สร้างมาเพื่อวิเคราะห์เฉพาะข้อมูลผู้ป่วยย้อนหลังเท่านั้น แต่ทางทีมวิจัยกำลังมองหาวิธีในการสร้างรากฐานในการพัฒนาอัลกอริทึม ที่สามารถวินิจฉัยสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยมากกว่าเพียงแค่การจำแนกโรคเพียงอย่างเดียว ซึ่งการที่จะทำได้อย่างที่กล่าวนั้น ก็ต้องอาศัยฐานข้อมูลที่มีคุณภาพเช่นภาพ scan ที่มีความละเอียดที่สูงขึ้น เพื่อปรับปรุงผลการตรวจวินิจฉัยในอนาคต

ซึ่งงานวิจัยด้งกล่าวนั้นเป็นการเปิดทางใหม่ ๆ สำหรับการประยุกต์ใช้ AI ในการวิเคราะห์ภาพทางการแพทย์ และเป็นการสร้างความหวังใหม่ ๆ ในการตรวจหาความโรคที่มีความซับซ้อนได้ แต่อย่างไรก็ดีก็ต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในการวินิจฉัยร่วม เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดกับผู้ป่วย

Reference : www.engadget.com