สิ่งที่พวกเราควรต่อสู้อย่างแท้จริงในโลกยุค Digital Bias

ต้องบอกว่าเป็นหัวข้อที่ผมสนใจเป็นอย่างมาก ในเรื่องราวของโลกยุค Digital Bias ที่กำลังเปลี่ยนแปลงสังคมของมนุษย์เราอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

พอดีวันนี้ได้มีโพสต์นึงที่มีความน่าสนใจที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้มาก และ เป็น Quotes ที่โดนใจผมมาก ๆ ของคุณ Patai Padungtin ที่ผมอยากจะมาแตกประเด็นต่อในเรื่องดังกล่าวนี้

“ท่ามกลางการเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ ที่ตั้งคำถามกับระบอบการปกครองและเรียกร้องเพื่ออนาคตที่ดีขึ้น… นอกจากการตั้งคำถามเรื่องรัฐธรรมนูญแล้ว เราควรตั้งคำถามกับ ”ระบบ” ที่เราใช้ชีวิตดิจิทัลกันอยู่ด้วยมั้ย? คุณเห็นโพสต์นี้ของผมเพราะอะไร ทำไมมีเพื่อนอีกหลายคนของผมไม่เห็น… ใครกำหนด แล้วมันแฟร์มั้ย? บางทีมันอาจจะแย่พอๆ กับ 250 เสียงที่เอาเปรียบกันอยู่ในรัฐสภาก็ได้… เราควรลุกมาเรียกร้องบ้างมั้ย? กติกาที่เราใช้ชีวิตดิจิทัลอยู่นี่ กำหนดโดยคนหัวทองไม่กี่คน ที่สร้างปัญหาไปทั่วโลก”

ต้องบอกว่าเป็น Quotes ที่สะท้อนปัญหาหลัก และเป็น Key ที่สำคัญที่สุดของสังคมมนุษย์เราในยุคปัจจุบัน และไม่ได้เป็นเพียงแค่สังคมในประเทศไทยเท่านั้น แต่ตอนนี้ มันได้ส่งผล Impact ต่อเรื่องใหญ่ ๆ ทั่วโลก สำหรับ พลังของ Digital Bias ที่มีต่อโลกของเราในขณะนี้

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมืองของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก หรือแม้กระทั่งการเมืองระดับโลกที่ พลังของ Digital Bias กำลังมีบทบาทที่สำคัญต่อการกำหนดความเป็นไปของสถานการณ์ต่าง ๆ ในโลกเรา

ไม่ว่าจะเรื่องสงครามก่อการร้าย การเลือกตั้ง การเมืองในแทบจะทุกประเทศ แม้กระทั่งการให้ข้อมูลผิด ๆ ในเรื่องสำคัญของโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาวะโลกร้อน การเหยียดผิวแบบสุดโต่ง โรคระบาดอย่าง COVID-19 ข่าวปลอมเรื่องทางการเมือง การใส่ร้ายป้ายสีคู่แข่งทางการเมือง ที่มีอยู่ในทุก ๆ แห่งทั่วโลก

มันได้ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนที่สุดต่อเรื่องของชุดความคิดของมนุษย์ ที่เชื่อในความคิดตัวเองแบบสุดโต่ง ซึ่งเราจะเห็นได้ถึงการถกเถียงในเรื่องต่างๆ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งหลาย ที่เถียงกันไปแบบ 100 ปี ก็ไม่มีวันจบ เพราะเป็นเรื่องของความเชื่อในชุดข้อมูลของตัวเอง

แล้วชุดความคิดของพวกเราเหล่านี้มาจากไหนล่ะ ?

แน่นอนว่าในยุคปฏิวัติข้อมูลข่าวสารที่ข้อมูลต่าง ๆ นั้น หาได้ง่ายเพียงแค่ปลายนิ้ว ทำให้ทุกคนต่างหาข้อมูลในทุกเรื่อง ๆ ได้ แต่คุณจะได้ความจริงหรือไม่นั้น เป็นคำถามที่น่าสนใจ

แน่นอนว่า พวกเราค้นหาข้อมูลผ่าน แพล็ตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Google ,Youtube , Facebook หรือ Twitter ซึ่งก็จะได้ชุดข้อมูล และชุดความคิดมาอย่างนึง จากเรื่องนั้น ๆ

มีการยกตัวอย่างที่น่าสนใจจากสารคดี The Social Dilemma ก็คือ หากเราเข้า Google และค้นหาคำว่า “ภาวะโลกร้อน” เราจะได้เห็นผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริเวณที่เราอาศัยอยู่ ในบางเมืองนั้นอาจจะมีการแนะนำคำค้นหาว่า “ภาวะโลกร้อนคือเรื่องลวงโลก” แต่ในบางสถานที่ เราจะได้เห็นการแนะนำคำค้นหาว่า “ภาวะโลกร้อนทำให้ธรรมชาติพังทลาย” ซึ่งมันเป็นชุดข้อมูลที่ต่างกันแบบสุดขั้ว

ต้องบอกว่าจุดสำคัญก็คือ เมื่อเทคโนโลยีอยู่บนพื้นฐานของเรื่องการสร้างรายได้ เพราะฉะนั้นกลไกเบื้องหลังของอัลกอริธึมเหล่านี้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความจริงจากตัวอย่างที่กล่าวในเรื่องภาวะโลกร้อนแต่อย่างใด มันอยู่ที่ เรื่องต่าง ๆ ที่ Google , Youtube , Facebook , Twitter หรือ แพล็ตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับความสนใจของเราต่างหาก

เรื่องนี้ผมเคยทดสอบด้วยตัวเอง ด้วยการแยกร่างตัวเองด้วยมือถือสองเครื่องที่มีแนวความคิดทางการเมืองที่ตรงข้ามกันแบบสุดขั้ว และ engage กับมันให้มากที่สุดกับทุกแพล็ตฟอร์มในทั้งสองขั้วการเมืองนั้น ซึ่งพบว่าผลลัพธ์มันเป็นอย่างงั้นจริง ๆ มันเหมือนร่างผมทั้งสองร่างนั้นอยู่กันคนละโลกเลยทีเดียวผ่านข้อมูลที่ได้รับจากมือถือทั้งสองเครื่อง เดี๋ยวผมจะเอาผลการทดสอบมาเล่ารายละเอียดให้ฟังอีกครั้งหนึ่ง

แต่ถ้าไม่เชื่อ ลองเปิดมือถือ ของคนที่มีแนวคิดทางการเมืองที่ตรงข้ามคุณดูสิ แล้วลองแลกกันดูข้อมูลต่าง ๆ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่คุณกำลังถกเถียงกันผ่านแพล็ตฟอร์มออนไลน์เหล่านี้ แล้วดูว่า ผลลัพธ์ที่ได้มันเหมือนกันไหม? แล้วคุณจะตกใจว่าเรื่องไหนมันเป็นเรื่องจริงกันแน่

และแน่นอนว่า มันเป็นแบบนี้กับทุก ๆ เรื่องที่เราเสพข้อมูลผ่านแพล็ตฟอร์มออนไลน์เหล่านี้ เราอาจจะไม่ได้รับความจริง จากแพล็ตฟอร์มเหล่านี้ในทุก ๆ เรื่อง แต่ละคนได้ข้อมูลที่แตกต่างกัน ตามความสนใจ และระบบอัลกอริธึมเบื้องหลังของแพล็ตฟอร์มเหล่านี้

และนั่น ทำให้ ในหลาย ๆ เรื่องที่เราถกเถียงกันนั้น ทุกคนต่างเชื่อในชุดข้อมูลของตัวเอง เราจะเห็นได้ในหัวข้อถกเถียงในหลาย ๆ ประเด็น ที่เถียงกันไปเถียงกันมาแบบไม่รู้จบ เพราะทุกคนต่างเชื่อว่า ชุดข้อมูลที่อยู่ในหัวตัวเองนั้นเป็นเรื่องจริงนั่นเอง

เพราะฉะนั้น สิ่งที่ผมเห็นด้วยมาก ๆ ตาม Quotes ข้างบน คือ สิ่งที่เราควรต่อสู้อย่างแท้จริงในโลกยุคปัจจุบัน ก็คือ กฏ กติกาที่พวกเราต้องใช้ชีวิตในโลก Digital ที่กำหนดโดยคนหัวทองไม่กี่คน และมันกำลังสร้างปัญหาต่าง ๆ ไปทั่วโลกอย่างที่เราได้เห็นกันในทุกวันนี้นั่นเองครับ

Credit ต้นทาง post : https://www.facebook.com/patai/posts/10222306097861913

Geek Story EP41 : Rise of South Korea ตอนที่ 3

Fighting DNA เป็นปัจจัยสำคัญ และเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ที่ทำให้เกาหลีใต้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว แต่ทั้งหมดนี้ ก็ต้องแลกมาด้วยผลเสียทางลบที่ คอยบั่นทอนอารมณ์ และจิตใจของผู้คนชาวเกาหลีเช่นเดียวกัน

ซึ่งบางทีนั้น ตอนนี้ในวันที่เกาหลีใต้ได้กลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วสำเร็จ เป้าหมายหลายอย่างของพวกเขาก็ประสบความสำเร็จแล้วแทบจะทั้งสิ้น มันก็อาจจะถึงเวลาที่พวกเขาอาจจะต้องละทิ้งความทะเยอทะยานที่จะเป็นที่หนึ่งลงเสียบ้าง เพื่อแลกกับคุณภาพชีวิตของชาวเกาหลีที่ดีขึ้นกว่าเดิม

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/31tA8my

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/34iLtI1

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/k-Ezaym2h4Y

References : https://www.tharadhol.com/blog-series-rise-of-south-korea

Geek Story EP40 : Rise of South Korea ตอนที่ 2

จุดเปลี่ยนสำคัญของประเทศเกาหลีใต้การผสานความร่วมมือระหว่าง รัฐบาล กับเหล่าธุรกิจยักษ์ใหญ่อย่าง แชโบลนั้น แม้ถ้ามองในปัจจุบันระบบแบบนี้อาจจะไม่เหมาะกับรูปแบบเศรษฐกิจในยุคใหม่ แต่ผลลัพธ์ของเกาหลีใต้นั้นมันทำให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล

มันช่วยให้ประเทศหลุดพ้นจากความยากจนได้สำเร็จ ตัวเลขการส่งออกถีบตัวขึ้นสูงถึง 10,000 ล้านเหรียญ ในปี 1977 เป็นการเติบโตสูงถึง 100 เท่าหากเริ่มนับจากจุดเปลี่ยนครั้งครั้งสำคัญในปี 1964

มันยกระดับชาติจากประเทศยากจน ที่แทบจะแตกสลายให้มาลุกขึ้นยืนได้สำเร็จ และมันถึงเวลาแล้วที่เกาหลีใต้จะวิ่งแซงประเทศอื่น ๆ ได้เสียที แล้ว วิธีการใด ที่ทำให้ เกาหลีใต้สามารถเร่งสปีดแซงหน้าประเทศต่าง ๆ กลายมาเป็นประเทศมหาอำนาจได้อย่างในปัจจุบัน ติดตามรับฟังกันต่อได้เลยครับผม

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/2HiI2bw

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3kgIZj6

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/VKwK_i0MzY4

References : https://www.tharadhol.com/blog-series-rise-of-south-korea

Geek Story EP39 : Rise of South Korea ตอนที่ 1

มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเลยทีเดียวกับการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของประเทศเกาหลี ดินแดนที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่ทศวรรษ เปลี่ยนจากประเทศที่แทบจะยากจนที่สุดแห่งหนึ่งของโลกให้กลายมาเป็นประเทศพัฒนาแล้ว เทียบกับ ญี่ปุ่น , ยุโรป หรือแม้กระทั่งประเทศยักษ์ใหญ่อย่างอเมริกาได้อย่างไร?

เทคโนโลยีจากประเทศเกาหลีใต้ แรกซึมอยู่ในทุกผลิตภัณฑ์ ไล่ตั้งแต่ โทรศัพท์มือถือ ไปจนถึง เครื่องบิน หรือ เรือขนส่งขนาดยักษ์ ประเทศที่มีประชากรเพียง 50 ล้านคนแห่งนี้ บัดดนี้กำลังก้าวขึ้นมาเป็นประเทศมหาอำนาจยักษ์ใหญ่ มี GDP ต่อหัวสูงอันดับต้น ๆ ของโลก Podcast Series ชุดนี้ จะพาไปทำความเข้าใจกับสิ่งต่าง ๆที่เกิดขึ้นกับประเทศเกาหลี ที่ใคร ๆ หลาย ๆ คนยังไม่รู้

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3j6m6gQ

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3dDu681

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/Fy_dMrsgIHo

References : https://www.tharadhol.com/blog-series-rise-of-south-korea
https://famousbio.net/park-chung-hee-4145.html

Telegram กับข้อมูลที่หลุดที่ทำให้ทางการจีนสามารถค้นหาตัวผู้ประท้วงได้สำเร็จ

แอปส่งข้อความที่เข้ารหัสอย่าง Telegram ที่กำลังกลายเป็นกระแสความนิยมของผู้ประท้วงในไทยในขณะนี้ พบว่าประสบปัญหาข้อมูลรั่วไหลจำนวนมากซึ่งเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้หลายล้านคน

Telegram ซึ่งเป็นคู่แข่งกับ WhatsApp ช่วยให้ลูกค้า รับส่งข้อความ Voice Call และ
VDO Call ที่เข้ารหัสแบบ end-to-end แบบส่วนตัวได้ แต่ช่องโหว่ในคุณลักษณะการนำเข้าผู้ติดต่อทำให้บันทึกหลายล้านรายการรวมถึงหมายเลขโทรศัพท์และรหัสผู้ใช้ซึ่งรั่วไหลไปยัง darknet

Kod.ru สื่อสิ่งพิมพ์ด้านเทคโนโลยีของรัสเซียเป็นสื่อรายแรกที่รายงานปัญหาโดยกล่าวว่ามีการโพสต์ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ข้อมูลประจำตัวของผู้ใช้ และหมายเลขโทรศัพท์ในฟอรัม Darknet

ขนาดไฟล์ฐานข้อมูลประมาณ 900 เมกะไบต์ ตามรายงาน ซึ่งบริการแอพ Messenger ยอมรับว่ามีการละเมิดข้อมูลซึ่งเกิดขึ้นหลังจากใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติ contacts import ในส่วนของการลงทะเบียน

อย่างไรก็ตาม บริษัท เสริมว่าบันทึกส่วนใหญ่ที่หลุดออกไป เป็นข้อมูลเก่า โดย 84% ของรายการข้อมูล จะอยู่ในช่วงก่อนกลางปี ​​2019 นอกจากนี้บัญชีส่วนใหญ่ในฐานข้อมูลยังมีข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ Telegram ยังเปิดเผยด้วยว่า 70% ของบัญชีที่เปิดเผยนั้นมาจากอิหร่านในขณะที่อีก 30% เป็นของผู้ใช้จากรัสเซีย

โฆษกของ บริษัท บอกกับ Cointelegraph ว่าช่องโหว่ในฟังก์ชั่น contacts import เป็นสาเหตุของความกังวลต่อแอปส่งข้อความที่คล้ายกันทุกแอปรวมถึง WhatsApp ที่เป็นคู่แข่งด้วยเช่นเดียวกัน “น่าเสียดายที่แอปที่ใช้รายชื่อผู้ติดต่อต้องเผชิญกับความท้าทายของผู้ใช้ที่เป็นอันตรายซึ่งพยายามอัปโหลดหมายเลขโทรศัพท์จำนวนมากและสร้างฐานข้อมูลที่ตรงกับรหัสผู้ใช้เช่นนี้” ตัวแทนกล่าว

พวกเขายังเสริมว่าฐานข้อมูลที่หลุดออกไป มีเฉพาะข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ใช้และรหัสของผู้ใช้เท่านั้น โดยไม่มีข้อมูล เช่น รหัสผ่าน ข้อความ หรือข้อมูลที่ละเอียดอ่อนอื่น ๆ โฆษกย้ำว่าบัญชีไม่ได้ถูกละเมิด

นี่ไม่ใช่การรั่วไหลครั้งแรกของ Telegram

การรั่วไหลของข้อมูลล่าสุดนั้นไม่ใช่ครั้งแรกของ Telegram ในเดือนสิงหาคม 2019 บริษัท ได้กลายเป็นศูนย์กลางของการโต้เถียงเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เมื่อข้อบกพร่องของโปรแกรมได้เปิดเผยหมายเลขโทรศัพท์ของนักรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยฮ่องกง และพบปัญหาทางเทคนิคในฟีเจอร์การส่งข้อความกลุ่มของแอป ซึ่งทำให้ทางการจีนสามารถระบุและค้นหาผู้ประท้วงได้สำเร็จ

แม้ว่าจีนจะสั่งห้ามการใช้งาน Telegram ในปี 2015 แต่ผู้สนับสนุนประชาธิปไตยในฮ่องกงก็สามารถหลีกเลี่ยงข้อ จำกัด และใช้แอปส่งข้อความได้ Telegram ที่เป็นมิตรกับความเป็นส่วนตัวเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ประท้วงเนื่องจากปกปิดการสื่อสารจากสายตาที่ล่วงล้ำของรัฐบาลจีน

อย่างไรก็ตามพบว่าบั๊กหลายอย่างของโปรแกรม สามารถใช้ประโยชน์จากกลุ่มสาธารณะได้ ดังนั้น จึงเปิดเผยหมายเลขโทรศัพท์ของสมาชิกแม้ว่าพวกเขาจะเลือกที่จะเก็บไว้เป็นส่วนตัวก็ตาม

Chu Ka-cheong ผู้อำนวยการฝ่าย Internet Society HongKong กล่าวว่า หมายเลขโทรศัพท์เป็นปัญหากับ Telegram มาโดยตลอดเพราะใช้เป็นตัวระบุ แพลตฟอร์มการส่งข้อความที่ปลอดภัย ซึ่งในแพลตฟอร์มอื่น ๆ ก็ทำเช่นเดียวกัน แต่เขายอมรับว่าพวกเขาประหลาดใจเมื่อพบว่าการตั้งค่าว่าใครสามารถดูหมายเลขโทรศัพท์เป็นไม่มีใคร“ ยังอนุญาตให้ผู้ใช้ที่บันทึกหมายเลขโทรศัพท์ของคุณในสมุดที่อยู่จับคู่หมายเลขโทรศัพท์กับสมาชิกในกลุ่มสาธารณะได้”

อันเป็นผลมาจากการรั่วไหลของข้อมูล Telegram ได้เปิดตัวคุณสมบัติใหม่ในเดือนกันยายน 2019 ซึ่งช่วยให้คุณสามารถไม่แสดงหมายเลขโทรศัพท์ของคุณให้ใครเห็นเลย ตัวเลือกใหม่ช่วยให้มั่นใจได้ว่า “ผู้ใช้แบบสุ่มที่เพิ่มหมายเลขโทรศัพท์ของคุณเป็นผู้ติดต่อ จะไม่สามารถจับคู่โปรไฟล์ของคุณกับหมายเลขดังกล่าวได้”

แต่เมื่อมีการรั่วไหลครั้งล่าสุดแสดงให้เห็นว่า การซิงค์และนำเข้าผู้ติดต่อใน Telegram ยังคงเป็นปัญหาอยู่เหมือนเดิม

แหล่งข้อมูลออนไลน์หลายแห่งเสนอเคล็ดลับเกี่ยวกับวิธีเพิ่มความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์ โดยการไม่เปิดเผยตัวตนและเพิ่มความปลอดภัย ตัวอย่างเช่น การใช้ VPN ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนเส้นทางการรับส่งข้อมูลของคุณ เปลี่ยนที่อยู่ IP ของคุณ และเข้ารหัสข้อมูลของคุณ ซึ่งจะมีความปลอดภัยมากกว่า

References : https://coins77.com/telegram-suffers-massive-data-leak-that-exposed-personal-data-of-its-users-on-darknet/
https://latesthackingnews.com/2020/08/29/telegram-data-leak-exposes-millions-of-records-on-darknet
https://www.engadget.com/2018-09-30-telegram-desktop-app-leaked-ip-addresses.html