South Korea ตอนที่ 2 : Fighting DNA

สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของประเทศเกาหลี คือ จิตวิญญาณของนักสู้ ว่ากันว่า มีแต่เหล่านักสู้เท่านั้้นที่จะอยู่รอดในสังคมของประเทศเกาหลีใต้ได้ ทุกคนต่างต้องแข่งขันกัน ขับเคี่ยวกันในทุกเรื่องในชีวิต ตั้งแต่ การพยายามอย่างหนักในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย การหางาน การเลือกคู่ครอง ต้องเรียกได้ว่าคนเกาหลีนั้นจะต้องแข่งขันตั้งแต่วัยเด็ก และไม่มีทีท่าว่าจะลดลงเลยแม้จะเกษียณจากการทำงานไปแล้วก็ตาม

หลังจากสงครามเกาหลีจบสิ้น แม้มันจะไม่ได้เป็นการจบเลยเสียทีเดียว มันเป็นแค่การเจรจาสงบศึกชั่วคราวมาจวบจนถึงปัจจุบันเพียงเท่านั้น ด้วยความยากจนข้นแค้น เป็นชาติที่ถูกรุกราน และถูกโจมตีอยู่เสมอ มันบีบให้เกาหลีใต้ต้องคิดหาทางให้หลุดพ้นจากสถานภาพอันเลวร้ายนี้

ซึ่งทางออกเดียวที่มีคือ การทุ่มเทพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเต็มที่เพื่อ จะได้ไปเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป

แม้ในปี 1945 มีประชากรชาวเกาหลีใต้เพียง 5% เท่านั้นที่ได้รับการศึกษาระดับมัธยม หรือ สูงกว่า แต่หลังจากที่นายพล ปาร์ค ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 1961 นั้น ประชาชนได้ถูกกระตุ้น ให้ทำงานอย่างหนัก และร่วมแรงแข็งขันกัน เพื่อพัฒนาชาติ และยกระดับให้เกาหลีใต้เหนือกว่าประเทศอื่นให้จงได้

ท่านประธานาธิบดี ปาร์ค ต้องการให้เกาหลีเติบโตให้เร็วที่สุด
ท่านประธานาธิบดี ปาร์ค ต้องการให้เกาหลีเติบโตให้เร็วที่สุด

ถึงขั้นที่ว่า มีการ รณรงค์ ให้ โค่นญี่ปุ่น โดยผ่านการพัฒนาอุตสาหกรรม มีการปลุกจิตวิญญาณนักสู้ของชาวเกาหลี มีการตั้งเป้าหมายของประเทศ ให้ทำลายสถิติการส่งออกผลิตภัณฑ์ ให้ได้ทุก ๆ ปี เพื่อให้เกาหลีใต้นั้น ก้าวสู่การพัฒนาอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ มันเป็นการร่วมแรงร่วมใจของชาวเกาหลีทุกคน ไม่ว่าอุตสาหกรรม ยักษ์ใหญ่ แรงงาน หรือ เหล่าชนชั้น กลาง ทุกคนต่างร่วมใจกันพัฒนาให้เกาหลีใต้ ก้าวขึ้นไปเทียบเคียงกับยักษ์ใหญ่อย่างญี่ปุ่นให้ได้

เกาหลีต้องการโค่นญี่ปุ่นลงให้จงได้ ทั้งสองมีประวัติที่ไม่ลงรอยกันมานาน
เกาหลีต้องการโค่นญี่ปุ่นลงให้จงได้ ทั้งสองมีประวัติที่ไม่ลงรอยกันมานาน

ถึงขั้นที่ว่า คนเกาหลีนั้นถูกปลุกฝังตั้งแต่เยาว์วัย ว่า เมื่อเติบโตขึ้นนั้น เขาจะต้องเป็นเหมือนดั่งนักรบ นักรบในอุตสาหกรรม เด็ก ๆ ทุกคนมีหน้าที่ในการสร้างประวัติศาสตร์ในการฟื้นฟูชาติขึ้นมาใหม่ เหล่านักเรียนทุกคน ต้องขยันเรียนมากขึ้น มากกว่าชาติอื่น ๆ ที่เขาร่ำเรียนกัน เพราะเมื่อเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่แล้วนั้น เหล่าเด็ก ๆ เหล่านี้ จะต้องอุทิศกำลังทั้งชีวิต เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น เป้าหมายใหญ่ของประเทศในตอนนั้นคือ การขยับตัวเลขการส่งออกของเกาหลีใต้ให้ไต่เต้าขึ้นไปอยู่อันดับต้น ๆ ของโลกให้จงได้

มันเป็นเพราะสถานะที่ไม่มั่นคงเลยของเกาหลี พวกเขาได้พลิกวิกฤตนี้ให้เป็นโอกาส พวกเขาต้องรีบสั่งสมอำนาจทางเศรษฐกิจโดยเร็วที่สุด ประเทศเล็ก ๆ แห่งนี้เกิดมาพร้อมกับความยากจน ทรัพยากรก็น้อยนิด แถมยังมาถูกแบ่งแยกจากเขตอุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิมในแถบทิศเหนือ ที่ตอนนี้กลายเป็นของเกาหลีเหนือเป็นที่เรียบร้อย

เกาหลีใต้ถูกโอบล้อมด้วยรัฐที่มีทั้งอำนาจและแข็งแกร่งกว่าในทุก อย่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจีน รัสเซีย หรือ ญี่ปุ่นก็ตาม เหล่าผู้นำจึงต้องพยายามทำทุกอย่าง ให้เกาหลีใต้มีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจมากที่สุด และเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งการค้าขายนั้น ไม่ได้เพียงทำให้เกาหลีใต้มีความมั่งคั่งเพียงเท่านั้น แต่มันยังช่วยให้ประเทศอยู่อย่างปลอดภัยจากชาติมหาอำนาจรอบข้างด้วยอีกอย่างหนึ่ง

เกาหลีใต้ถูกโอบรอบด้วยชาติมหาอำนาจทั้ง จีน รัสเซีย ญี่ปุ่น รวมถึง เกาหลีเหนือที่มีความไม่แน่อน
เกาหลีใต้ถูกโอบรอบด้วยชาติมหาอำนาจทั้ง จีน รัสเซีย ญี่ปุ่น รวมถึง เกาหลีเหนือที่มีความไม่แน่อน

มีอุตสาหกรรมอย่างนึงที่น่าสนใจเป็นอย่างมากคือ อุตสาหกรรมการต่อเรือ ซึ่ง ในช่วงแรกนั้น เกาหลีใต้แทบจะไม่มีอุตสาหกรรมต่อเรืออยู่เลย แต่ท่านผู้นำอย่างปาร์ค นั้นต้องการให้เกาหลีใต้เป็นประเทศอุตสาหกรรมต่อเรืออันดับหนึ่งของโลก และพยายามหาช่องทางทุกวิถีทางให้ยุทธศาสตร์นี้เป็นจริงขึ้นมาได้ และเรื่องเหลือเชื่อก็คือ เป้าหมายนี้สำเร็จได้ในช่วงปี 1980 แต่เสียดายว่าในตอนนั้น ท่านนายพล ปาร์ค ได้เสียชีวิตไปเสียแล้ว ไม่ได้มาเห็นความฝันของท่าน เป็นจริงได้สำเร็จ

นโยบายที่สำคัญของการศึกษาของเกาหลีใต้ ก็คือ ความเสมอภาค รวมถึงสิทธิในการเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม ซึ่งมันทำให้การแข่งขันเพื่อเข้าศึกษาในปริญญาตรีของเกาหลีใต้เป็นไปอย่างดุเดือด

งานราชการ งานกฏหมาย การแพทย์ และงานในบริษัทชั้นนำอย่างกลุ่ม แชโบล นั้น สามารถเปลี่ยนชีวิตเด็กคนนึงได้จากความยากจนข้นแค้น ให้กลายเป็นคนที่มีความมั่งคั่งได้ ซึ่งมันทำให้เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรง ทุกคนต้องเป็นนักสู้ ต้องมีการทำสิ่งต่าง ๆ ให้เหนือกว่าผู้อื่นอยู่เสมอ ตั้งแต่แต่ที่โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือแม้กระทั่งในที่ทำงานก็ตาม 

และมันได้ส่งผลรุ่นต่อรุ่น มายังลูกหลานของพวกเขาด้วย จิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ รวมถึงการเอาชนะนั้น ทุกครอบครัวต้องต่อสู้กัน มันเลยได้นำพาเกาหลีใต้ ก้าวไกลมาได้จนถึงปัจจุบัน มันเหมือน DNA ของชาวเกาหลีใต้ ที่ถูกปลูกฝังมารุ่นต่อรุ่น ตั้งแต่ยุคหลังสงครามเกาหลีเลยก็ว่าได้

ซึ่งการศึกษาของเกาหลีนั้น มีการแข่งขันที่สูงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเลยก็ว่าได้ เหล่าผู้ปกครองพร้อมที่จะทุ่มหมดหน้าตักให้ลูกหลานของตัวเองได้เรียนในโรงเรียนกวดวิชา หรือ ครูสอนพิเศษ

การแข่งขันด้านการเรียนในเกาหลีใต้ นั้นสูงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
การแข่งขันด้านการเรียนในเกาหลีใต้ นั้นสูงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ซึ่งนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 นั้น เหล่าเด็ก ๆ ในเกาหลีใต้จะใช้ช่วงเวลาในช่วงบ่ายและเย็นเรียนพิเศษในวิชาต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการที่ต้องทำการบ้านทั้งของโรงเรียน และ ที่มาจากการเรียนพิเศษด้วย และ มันเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมากสำหรับบรรดาผู้ปกครองชาวเกาหลีใต้ ซึ่งสิ่งนี้ได้ส่งผลต่ออัตราการเกิดของเกาหลีใต้ที่ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ

และการที่ทุกคนต้องลงทุน และ ลงแรงอย่างหนักเพื่อให้ประสบความสำเร็จทางด้านการศึกษานี่เอง มันจึงส่งผลต่อการเรียนในระดับปริญญาตรี ซึ่งหากมีผลการเรียนที่ดีนั้น ก็จะเปิดโอกาสให้สามารถหางานที่ดีได้ แต่ ด้วยจำนวนงานนั้นมีอยู่อย่างจำกัด

มันทำให้วังวนแห่งการแข่งขันนี้ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก ต่างคนต่างถูกบีบให้สร้างความโดดเด่นขึ้นมาให้เหนือคนอื่น ซึ่งมันทำให้ในปัจจุบันนั้น ปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยชั้นน้ำของเกาหลีอย่าง มหาวิทยาลัยโซล นั้นไม่เพียงพออีกต่อไป

มันทำให้ทุกคนต่างไขว่ขว้า โอกาสที่สูงขึ้นไปอีก โดยเฉพาะมหาลัยชั้นนำระดับท็อป ๆ ของโลก ตัวอย่างเช่นที่ มหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด มีจำนวนนักศึกษาเกาหลีใต้สูงเป็นอันดับสามในบรรดานักศึกษาต่างชาติทั้งหมด ด้วยเหตุนี้เหล่าผู้ปกครองที่มีเงินมากพอ ก็จะพยายามส่งลูกหลานไปในประเทศชั้นนำในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ทั้งหมดก็เพื่อแต้มต่อในการสมัครงานของลูกหลานของพวกเขานั่นเอง

แม้ในระดับประเทศ เกาหลีใต้นั้น จะสั่งสมอำนาจทางเศรษฐกิจมาโดยตลอด คนเกาหลีใต้ถูกปลูกฝังให้มีความสำเร็จจากการศึกษาเป็นบันได้ขั้นแรก ซึ่ง แม้ในขณะที่ประเทศจะติดอันดับประเทศร่ำรวยแล้วในช่วงปี 1990 นั้น แต่จิตวิญญาณแห่งการแข่งขันมันก็ไม่ได้ลดลงเลย 

ต้องแข่งขันแม้กระทั่งตอนทำงาน ยิ่งบริษัทยักษ์ใหญ่ยิ่งแข่งขันสูง
ต้องแข่งขันแม้กระทั่งตอนทำงาน ยิ่งบริษัทยักษ์ใหญ่ยิ่งแข่งขันสูง

บริษัททั้งหลายโดยเฉพาะยักษ์ใหญ่อย่าง กลุ่ม แชโบล นั้น ก็ยังคงกระตุ้นให้พนักงานทำงานหามรุ่งหามค่ำต่อไป ทุก ๆ ปี พนักงานชาวเกาหลีนั้นทำงานโดยเฉลี่ย 2,193 ชั่วโมง ซึ่งสูงที่สุดในกลุ่มประเทศ OECD แุถมบางครั้งยังต้องทำงานนอกเวลาแบบไม่จ่ายค่าแรงอีกด้วย

วงเวียนแห่งการแข่งขันของชาวเกาหลีนั้น ยังคงหมุนอย่างไม่หยุดหย่อน ทุก ๆ ปีจะมีบัณฑิตจบใหม่จำนวน 500,000 คน ในขณะที่บริษัทใหญ่ ๆ หน่วยงานรัฐ มีตำแหน่งรองรับเพียงแค่ 100,000 ตำแหน่งเท่านั้น และมันทำให้ อีก 400,000 คนนั้น ต้องทำงานกับบริษัทขนาดกลางหรือขนาดเล็กที่ไม่มีความมั่นคงแต่อย่างใด บริษัทขนาดเล็กเหล่านี้ ไม่สามารถที่จะต่อการกับบริษัทยักษ์ใหญ่ใน แชโบล ได้เลย 

ซึ่งทั้งหมดทั้งมวล นั้นเป็นสิ่งที่เรียกว่า Fighting DNA ของชาวเกาหลี ที่มีมาตั้งแต่เยาว์วัย มันทำให้ชาติสามารถเจริญรุดหน้าไปได้ก็จริง แต่ก็มีการถกเถียง เรื่องของคุณภาพชีวิตของชาวเกาหลีที่ดูแย่ลงเรื่อย ๆ 

แม้ประเทศจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว แต่คุณภาพชีวิต โดยเฉพาะเรื่องการทำงานนั้น ย่ำแย่สำหรับชาวเกาหลี
แม้ประเทศจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว แต่คุณภาพชีวิต โดยเฉพาะเรื่องการทำงานนั้น ย่ำแย่สำหรับชาวเกาหลี

พวกเขาเริ่มที่จะตระหนักว่าการพักผ่อนไม่เพียงพอ และการทุ่มเทแรงกายอย่างไม่มีสิ้นสุดนั้น อาจจะเริ่มส่งผลให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ มันทำให้เกิดความเครียดสูงในหมู่ชาวเกาหลี  และการแข่งขันนี้เอง ที่เป็นปัจจัยให้ประเทศนี้มีอัตรการฆ่าตัวตายที่สูงมาก

ซึ่ง ความเครียด การไร้ความสุขในการทำงาน คุณภาพชีวิต สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ อาจจะเป็นปัจจุัยที่คอยขัดขวางการเกิดขึ้นของนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของเกาหลีในอนาคต

ซึ่ง Fighting DNA นี่แหละเป็นปัจจัยสำคัญ และเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ที่ทำให้เกาหลีใต้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว แต่ทั้งหมดนี้ ก็ต้องแลกมาด้วยผลเสียทางลบที่ คอยบั่นทอนอารมณ์ และจิตใจของผู้คนชาวเกาหลีเช่นเดียวกัน ซึ่งบางทีนั้น ตอนนี้ในวันที่เกาหลีใต้ได้กลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วสำเร็จ เป้าหมายหลายอย่างของพวกเขาก็ประสบความสำเร็จแล้วแทบจะทั้งสิ้น มันก็อาจจะถึงเวลาที่พวกเขาอาจจะต้องละทิ้งความทะเยอทะยานที่จะเป็นที่หนึ่งลงเสียบ้าง เพื่อแลกกับคุณภาพชีวิตของชาวเกาหลีที่ดีขึ้นกว่าเดิม

–> อ่านตอนที่ 3 : Trendy Korea

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Foundation *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

South Korea ตอนที่ 1 : Foundation

ประเทศเกาหลีใต้ในขณะนี้นั้นได้กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นแนวหน้าของโลก เป็นประเทศที่ผลิต chip ที่เป็นชิ้นส่วนสำคัญที่เป็นหัวใจของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิค ทั่วโลกได้มากกว่าใครในโลก มันนับเป็นก้าวย่างที่รวดเร็วมากที่สามารถทำให้ประเทศเกาหลีใต้ก้าวมาถึงจุดนี้ได้

หลาย ๆ คนทั่วโลกยังเข้าใจผิดในหลาย ๆ เรื่องเกี่ยวกับประเทศเศรษฐกิจใหม่แห่งนี้ การร่วมมือ และร่วมใจของคนทั้งชาติ การทำงานอย่างหนัก ความคิดสร้างสรรค์ที่สุดโต่ง ล้วนเป็นสิ่งที่นำพาให้ประเทศเกาหลีใต้มาถึงจุดนี้ได้ 

ซึ่งการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานของประเทศใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งคมนาคม หรือ โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ที่มีหัวใจคือ ระบบ internet Hi-Speed มันช่วยยกระดับประเทศเกาหลีให้เปลี่ยนแปลงไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วได้อย่างเหลือเชื่อ

ไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยีเพียงเท่านั้น เกาหลีใต้ ยังเป็นผู้นำทางด้านศิลปะ มีการสร้างงานศิลปะ ระดับ World-Class รวมถึงเรื่องดนตรี ที่ K-Pop นั้นได้กระจายกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ไปทั่วโลก ทุกคนหลงรัก K-Pop แม้กระทั่งชาติมหาอำนาจอย่าง อเมริกาเองก็ตามยังต้องยอมสยบให้กับวัฒนธรรมที่กำลังบุกรุกอย่างบ้าคลั่งของ K-Pop มันไม่ใช่แค่บุกเพียงทวีปเอเชียแล้วแต่ตอนนี้มันกำลังบุกไปทั่วโลก

กระแส K-Pop ที่ได้บุกไปทั่วโลกแล้ว
กระแส K-Pop ที่ได้บุกไปทั่วโลกแล้ว

ซึ่งเมื่อย้อนไปเมื่อร้อยปีที่แล้ว นั้น ประเทศแห่งนี้ ถูกบุกรุก จนแทบจะสูญสิ้นประเทศ จากสงครามต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากเพื่อนบ้านกันเองอย่างญี่ปุ่น หรือ การถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองระหว่างประเทศในการแบ่งแยก เกาหลีเหนือ – เกาหลีใต้ แต่พวกเขาใช้เวลาเพียงแค่ 2 ชั่วอายุคนเท่านั้น ในการเปลี่ยนโฉมหน้าประเทศ จากประเทศที่แสนยากจนข้นแค้น GDP ต่อหัว เพียงแค่ 100 เหรียญสหรัฐเท่านั้น จนกลายมาเป็นมหาอำนาจที่มี GDP ต่อหัว สูงถึงกว่า 30,000 เหรียญในปัจจุบัน 

จากการที่ต้องถูกแบ่งประเทศเป็น เกาหลีเหนือ และ เกาหลีใต้ ผลพวงจากยุคสงครามเย็นระหว่างมหาอำนาจยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง สหภาพโซเวียต และ สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ช่วงปี 1950 แม้สงครามของทั้งสองจะจบลงแล้วตั้งแต่ ปี 1953 ก็ตาม แต่มันก็ยังไม่สามารถรวมทั้งสองประเทศให้กลายเป็นหนึ่งได้เหมือนในอดีต

และนี่ก็น่าจะเป็นส่วนสำคัญอย่างนึงที่ถ้าเทียบกับเหล่าประเทศผู้นำ G20 ทั่วโลก มันก็คือ ความขัดแย้งที่ยังคงมีอยู่ระหว่าง เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ มันเป็นแรงผลักสำคัญให้ชาวเกาหลีใต้รีบสร้างเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นมาโดยเร็วที่สุด ความไม่มั่นคงกับปัญหานิวเคลียร์ ระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ ต้องเรียกได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างนึงเลยก็ว่าได้ มันเปรียบเหมือนชาวเกาหลีใต้กำลังอยู่ภายใต้ความมืดมนที่ปกคลุมอยู่ มันเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้มานานหลายทศวรรษแล้ว สำหรับความแตกแยกระหว่างประเทศทั้งสอง

การเร่ง สปีดการพัฒนาของเกาหลีใต้ นั้น แม้ตอนเริ่มต้นดูเหมือนเกาหลีเหนือจะได้เปรียบอยู่บ้าง เนื่องจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในยุครวมประเทศนั้นอยู่ในแถบดินแดนเกาหลีเหนือ แต่ตอนนี้ เกาหลีใต้ได้แซงหน้าไปไกลแล้ว GDP ต่อหัวของ เกาหลีใต้นั้นมากกว่า เกาหลีเหนือกว่า 130 เท่า 

แม้ช่วงทศวรรษ 1950 นั้น เกาหลีใต้จะอยู่ในสภาพที่ยากจนที่สุด  ผลจากสงครามเกาหลี ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนไร้บ้าน GDP ที่ต่ำเตี้ยเรี่ยดินต่ำกว่าหัวละ 100 เหรียญสหรัฐ รัฐบาลจำเป็นต้องพึ่งพาเงินช่วยเหลือจากต่างชาติโดยเฉพาะสหรัฐ การเมืองก็เต็มไปด้วยการคอรัปชั่น มองไม่เห็นอนาคตของเกาหลีในปัจจุบันได้เลยด้วยซ้ำ

จุดเปลี่ยนที่น่าสนใจของประเทศเกาหลีใต้ นั้น มาจากการที่ นายพลปาร์ค ซุงฮี ซึ่งได้ฉวยโอกาสจากสถานการณ์ย่ำแย่ดังกล่าว ตัดสินใจยึดอำนาจในวันที่ 16 พฤษภาคม 1961 และได้คิดริเริ่มวางแผนการในการที่จะทำให้ประเทศเกาหลีใต้กลายเป็นประเทศร่ำรวยให้จงได้

แนวทางการบริหารแบบเผด็จการ มีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นคนที่ได้รับเครดิตสำคัญในการชุบชีวิตเศรษฐกิจของเกาหลีใต้เลยก็ว่าได้ ในช่วงยุค 1950 อันเลวร้ายนั้น เหล่านักธุรกิจที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลก่อนหน้า ต่างร่ำรวยขึ้นจากการกว้านซื้อทรัพย์สินที่เจ้าอาณานิคมญีปุ่นในยุคก่อนหน้าทิ้งไว้

นายพล ปาร์ค ผู้มาพลิกโฉมประเทศเกาหลีใต้
นายพล ปาร์ค ผู้มาพลิกโฉมประเทศเกาหลีใต้

และหนึ่งในบริษัทที่ได้รับประโยชน์สูงสุดคือ บริษัทซัมซุงนั่นเอง โดย ลี บยองซอล ผู้ก่อตั้ง ซัมซุง เป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จที่สุดในเกาหลีใต้ช่วงทศวรรษ 1950 นายพลปาร์คนั้น ลีบยองซอล ถูกกล่าวหาอย่างร้ายแรงว่าเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินที่มิชอบ ซึ่งท่านนายพลปาร์คมองว่าเป็นทรัพย์สินของชาติ

แต่ ด้วยไหวพริบและความสามารถในการเจรจาของเขา จึงได้ยื่นข้อเสนอต่อนายพล ปาร์ค โดยจะบริจาค ทรัพย์สินส่วนใหญ่คืนให้กับประเทศ และจะชวนเหล่าผู้ประกอบการให้คล้อยตามแผนเศรษฐกิจที่ท่านนายพลปาร์คได้ร่างไว้

และนี่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้นาย ลี บยองซอล ผู้ก่อตั้งซัมซุง ได้รับการแต่งตั้งจากนายพลปาร์คเป็นหัวหน้ากลุ่มอุตสาหกรรมเกาหลี (Federation of Korean Industries) ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลเหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่จนมาจวบจนถึงปัจจุบันนี้

โดยนายพล ปาร์ค นั้นมุ่งวางโครงสร้างพื้นฐานด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี 1962-1967 และเริ่มมีจำนวนบริษัทเอกชนที่ตบเท้าเข้าร่วมเพิ่มมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ คิม วูซุง ผู้ก่อตั้งบริษัท Daewoo ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีนั้น Daewoo เป็นบริษัทผลิตสิ่งทอ แต่ภายหลังได้เปลี่ยนไปผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ และเรือเดินสมุทร เพื่อให้สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว

คิม วูซุง ผู้ก่อตั้ง Daewoo (ภาพจาก Getty Image)
คิม วูซุง ผู้ก่อตั้ง Daewoo (ภาพจาก Getty Image)

และเนื่องด้วยรัฐบาลนั้นมีเงินมากมายจากการอัดฉีดของต่างชาติที่นำโดยอเมริกา จึงได้เป็นแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยถูกผ่านธนาคารแห่งชาติเกาหลี เพื่ออัดฉีดให้เหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ได้ไปก่อร่างสร้างตัว

นายพลปาร์ค ที่ต่อมาได้กลายเป็นประธานาธิบดีปาร์ค นั้นได้เริ่มนโยบายที่จะส่งเสริมการส่งออก เพื่อให้เหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้เรียนรู้ที่จะแข่งขันในระดับสากลได้ แต่ยังคงกำแพงภาษีไว้สูงเพื่อกีดกันการแข่งขันจากต่างชาติ เมื่อต้องแข่งขันในประเทศ ในขณะเดียวกันการส่งเสริมการส่งออกนั้นก็ช่วยให้บริษัทอย่างซัมซุงหรือแอลจี สามารถดำเนินการได้อยา่งมีประสิทธิภาพมีมาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้น

ซึ่งเครือข่ายธุรกิจเหล่านี้ ภายใต้การอัดฉีดเงินจากรัฐบาลด้วยดอกเบี้ยต่ำทำให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ถูกเรียกในภายหลังว่า แชโบล โดยใช้แนวคิดคล้าย ๆ กับระบบของประเทศญี่ปุ่น แต่แชโบล นั้นจะเน้นรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางมากกว่า และรัฐบาลจะรับหน้าที่จัดการเรื่องการเงินให้ โดยมีพี่ใหญ่อย่าง ประธานาธิบปาร์ค นั้นเป็นคนคอยคุมกระเป๋าเงินให้

กลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ มีอิทธิพลต่อประเทศ ถูกเรียกว่า แชโบล
กลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ มีอิทธิพลต่อประเทศ ถูกเรียกว่า แชโบล

ส่วนเรื่องการบริหารงานแบบ แชโบลนั้น ก็เป็นแนวคิดแบบภายในครอบครัวเป็นหลัก กล่าวคือ ลูกชายของประธานบริษัทจะค่อย ๆ ไต้เต้าขึ้นมาจากตำแหน่งล่าง ๆ จนได้รับโอกาสดูแลธุรกิจในเครือในที่สุด โดยทายาทที่มีผลงานดีที่สุดนั้น จะได้รับการสืบทอดตำแหน่งประธานของกลุ่มบริษัททั้งหมดต่อจากพ่อ ซึ่งแชโบลนั้นใช้รูปแบบนี้มาจวบจนถึงปัจจุบัน โดย แชโบลใหญ่ ๆ จะบริหารโดยสืบสายเลือดหรืออาจจะเป็นลูกเขยของเหล่าผู้ก่อตั้งแทบจะทั้งสิ้น 

ซึ่งมันทำให้เศรษฐกิจของเกาหลีถูกครอบครองโดยยักษ์ใหญ่เหล่านี้แทบจะทั้งสิ้น ไม่ต้องพูดถึงการแข่งขันแบบเสรี มันไม่มีเกิดขึ้นในเกาหลีใต้ เหล่าแชโบลยักษ์ใหญ่มักจะแข่งขันอย่างหนักในตลาดต่างประเทศมากกว่า

แต่มันไม่ใช่ชาวเกาหลี ที่ไม่มีทางเลือกมากนัก สินค้าแทบจะทุกอย่างในประเทศผลิตจากแชโบลยักษ์ใหญ่เหล่านี้แทบจะทั้งสิ้น ซึ่งส่วนใหญ่นั้นเป็นสินค้า copy จากต่างชาติ หรือ สินค้าที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์มาจากต่างชาติ

และมันทำให้อิทธิพลของบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้นั้นครอบคลุมไปทั้งประเทศ ไม่มีวัฒนธรรมการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เมื่อเรียนจบเหล่านักศึกษาก็จะมุ่งเข้าหาบริษัทยักษ์ใหญ่ของแชโบลแทบจะทั้งสิ้น 

มันมีเพียงธุรกิจสมัยใหม่เท่านั้น ที่พอจะก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาได้ เช่นธุรกิจทางด้าน internet ตัวอย่างเช่น NHN เจ้าของ Naver.com หรือ NCSoft บริษัทผลิตเกมส์ชื่อดัง ซึ่ง internet นั้นได้สร้างความเท่าเทียมทางการแข่งขันให้กับเหล่านักธุรกิจรุ่นใหม่ได้พอจะลืมตาอ้าปากได้บ้าง แต่พวกเขาก็ยังคงหลีกเลี่ยงธุรกิจที่จะต้องแข่งขันกับเหล่า แชโบล ยักษ์ใหญ่โดยตรงอยู่ดี

มีเพียงธุรกิจ internet เท่านั้นที่พอจะลืมตาอ้าปากในประเทศเกาหลีใต้ได้
มีเพียงธุรกิจ internet เท่านั้นที่พอจะลืมตาอ้าปากในประเทศเกาหลีใต้ได้

ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า จุดเปลี่ยนสำคัญของประเทศเกาหลีใต้การผสานความร่วมมือระหว่าง รัฐบาล กับเหล่าธุรกิจยักษ์ใหญ่อย่าง แชโบลนั้น แม้ถ้ามองในปัจจุบันระบบแบบนี้อาจจะไม่เหมาะกับรูปแบบเศรษฐกิจในยุคใหม่ แต่ผลลัพธ์ของเกาหลีใต้นั้นมันทำให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล

มันช่วยให้ประเทศหลุดพ้นจากความยากจนได้สำเร็จ ตัวเลขการส่งออกถีบตัวขึ้นสูงถึง 10,000 ล้านเหรียญ ในปี 1977 เป็นการเติบโตสูงถึง 100 เท่าหากเริ่มนับจากจุดเปลี่ยนครั้งครั้งสำคัญในปี 1964 ซึ่งแนวคิดหลักในการบริหารดังกล่าวนั้น มักจะเปิดให้มีการเล่นพรรคพวก และ เปิดช่องให้โกงแบบไม่น่าเกลียดจนเกินไป แต่มันเป็นวิธีแก้ปัญหาระดับชาติที่ได้ผล มันยกระดับชาติจากประเทศยากจน ที่แทบจะแตกสลายให้มาลุกขึ้นยืนได้สำเร็จ และมันถึงเวลาแล้วที่เกาหลีใต้จะวิ่งแซงประเทศอื่น ๆ ได้เสียที แล้ว วิธีการใด ที่ทำให้ เกาหลีใต้สามารถเร่งสปีดแซงหน้าประเทศต่าง ๆ กลายมาเป็นประเทศมหาอำนาจได้อย่างในปัจจุบัน โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปนะครับผม

–> อ่านตอนที่ 2 : Fighting DNA

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

Blog Series : Rise of South Korea

มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเลยทีเดียวกับการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของประเทศเกาหลี ดินแดนที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่ทศวรรษ เปลี่ยนจากประเทศที่แทบจะยากจนที่สุดแห่งหนึ่งของโลกให้กลายมาเป็นประเทศพัฒนาแล้ว เทียบกับ ญี่ปุ่น , ยุโรป หรือแม้กระทั่งประเทศยักษ์ใหญ่อย่างอเมริกาได้อย่างไร?

เทคโนโลยีจากประเทศเกาหลีใต้ แรกซึมอยู่ในทุกผลิตภัณฑ์ ไล่ตั้งแต่ โทรศัพท์มือถือ ไปจนถึง เครื่องบิน หรือ เรือขนส่งขนาดยักษ์ ประเทศที่มีประชากรเพียง 50 ล้านคนแห่งนี้ บัดดนี้กำลังก้าวขึ้นมาเป็นประเทศมหาอำนาจยักษ์ใหญ่ มี GDP ต่อหัวสูงอันดับต้น ๆ ของโลก Blog Series ชุดนี้ จะพาไปทำความเข้าใจกับสิ่งต่าง ๆที่เกิดขึ้นกับประเทศเกาหลี ที่ใคร ๆ หลาย ๆ คนยังไม่รู้

ในขณะที่เทียบกับประเทศยักษ์ใหญ่ในเอเชียอย่าง สิงคโปร์ หรือ จีน ที่เป็นระบอบผสมผสานระหว่าง อำนาจนิยม (การควบคุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จจากรัฐบาล) และ ทุนนิยม แต่ เกาหลีใต้นั้น ไม่ได้ใส่ใจแค่เรื่องความมั่งคั่งร่ำรวยเพียงเท่านั้น แต่พวกเขายังยึดหลักประชาธิปไตย และสิทธิพลเมืองอีกด้วย ซึ่งเป็นเพียงไม่กี่ประเทศที่จะสามารถก้าวมาได้ไกลถึงขนาดนี้

หนังสือ Korea The Imppossible Country
หนังสือ Korea The Imppossible Country โดย Daniel Tudor

โดยข้อมูลที่มาจะมาจาก 2 แหล่งหลักคือ Documentary ของ History Channel : South Korea : A Nation to Watch และ หนังสือ Korea The Imppossible Country โดย Daniel Tudor ที่แปลโดยคุณ ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ ฝากติดตามกันด้วยน้า

–> อ่านตอนที่ 1 : Foundation

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

หนังสือ Korea The Imppossible Country โดย Daniel Tudor

หนังสือ มหัศจรรย์เกาหลี : จากเถ้าถ่านสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม
ผู้เขียน Daniel Tudor (แดเนียล ทิวดอร์)
ผู้แปล ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ

หนังสือ Samsung’s Way วิถีแห่งผู้ชนะ
ผู้เขียน John Hyungjin Moon (จอห์น ฮยองจิน มุน)
ผู้แปล ภัททิรา จิตต์เกษม

Documentary ของ History Channel : South Korea : A Nation to Watch

Netflix Documentary : Explained ( K- Pop )

en.wikipedia.org/wiki/South_Korea

The Innovators ตอนที่ 8 : Henry Ford

ในที่สุดก็ก้าวย่างถึงศตวรรษที่ 20 อเมริกา ถึงตอนนี้ อเมริกาได้เป็นผู้นำในเวทีโลก เป็นครั้งแรกได้สำเร็จ มันกลายเป็นโลกเสรี ที่เต็มไปด้วยโอกาส ผู้คนหลายล้านคนจากทั่วโลกต่างหลั่งไหลเข้ามา ขับเคลื่อนโดยเหล่าผู้นำทางด้านเศรษฐกิกจ ผู้ที่มีอิทธิพลสูงที่สุด อย่าง J.P Morgan , John D.Rockefeller รวมถึง Andrew Carnegie 

แต่ตอนนี้สถานการณ์ได้เริ่มเปลี่ยนไปแล้ว หลังจากประธานาธิบดี Mckinley ได้ถูกลอบสังหารในเดือนกันยายนปี 1901 ในเมืองบัฟฟาโล Theodore Roosevelt ผู้เป็นรองประธานาธิบดี ต้องขึ้นรับตำแหน่ง ประธานาธิบดีแทน

โดยที่เขาเป็นขั้วที่ตรงข้ามอย่างสุดขั้วกับนักธุรกิจ ผู้มีอิทธิพลที่กำลังยึดครองประเทศทั้ง 3 คน Theodore Roosevelt เป็นผู้นำคนใหม่ที่จะมาจัดการกับการผูกขาดที่อยู่กับประเทศอเมริกามากว่า 30 ปี เขาต้องการกวาดล้างการผูกขาดเหล่านี้ให้สิ้นซาก

เขาได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างล้นหลาม โดยเฉพาะประชาชนผู้ที่กำลังถูกกดขี่ข่มเหงจากนายทุนยักษ์ใหญ่เหล่านี้ เขาได้เริ่มฟ้องศาลรัฐบาลกลาง เพื่อจัดการเรื่องการผูกขาดธุรกิจโดยเริ่มต้นจากอาณาจักรรถไฟที่ตอนนี้เจ้าของคือ J.P Morgan ก่อนเป็นอันดับแรก

และในที่สุดการผูกขาดบริษัทรถไฟของ J.P Morgan ต้องพังทลายลง มันเป็นความเจ็บปวด ครั้งแรก ๆ ของ J.P Morgan นับตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจมาเลยก็ว่าได้ Theodore Roosevelt นั้นเป็นคนที่ไม่ยอมใครง่าย ๆ และไม่ชอบให้ใครมาบงการ แม้ J.P Morgan จะพยายามที่จะติดต่อขอเจรจาด้วย แต่เขาก็ไม่ยอมเจรจาแต่อย่างใด และตอนนี้ เหล่านักธุรกิจยักษ์ที่เหลือเริ่มที่จะกดดันอย่างหนักแล้ว หลังจากได้เห็นเคสกรณีตัวอย่างของอาณาจักรรถไฟของ J.P Morgan 

ที่สำคัญ Roosevelt นั้นยังถูกเลือกให้ดำรงตำแหน่งในสมัยที่สอง ตอนนี้เขาได้รับสิทธิ์อำนาจเต็มจากประชาชนแล้ว ไม่ใช่เป็นการเข้ามาแบบตัวแทน McKinley ในสมัยแรก เขามีอำนาจชอบธรรมในการจัดการทุกสิ่ง มันถึงเวลาต้องกวาดล้างเหล่าผู้มีอิทธิพลทั้งหมดนี้เสียที 

Theodore Roosevelt ได้รับอำนาจเต็มจากประชาชนมาจัดการธุรกิจผูกขาด
Theodore Roosevelt ได้รับอำนาจเต็มจากประชาชนมาจัดการธุรกิจผูกขาด

ตอนนี้มันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกครั้งนึงของประเทศ ทั้ง J.P Morgan , Andrew Carnegie รวมถึง John D.Rockefeller ต้องมาเป็นฝ่ายตั้งรับแทนเสียแล้ว พวกเขาเริ่มถูกบีบให้ป้องกันรักษาอาณาจักรของตนเอง 

และมันเป็นช่วงเวลาหลายปีของการกวาดล้างโดย Roosevelt สุดท้ายเหลือแค่เพียง Standard Oil ของ Rockefeller เท่านั้นที่สามารถรอดพ้นเงื้อมมือกฏหมายป้องกันการผูกขาดมาได้ แต่เขาก็ไม่สามารถอยู่ในสภาพนี้ได้ตลอดกาล มันถึงเวลาเปลี่ยนเข้าสู่ยุคใหม่ของธุรกิจและอุตสาหกรรมสหรัฐเสียที

แม้จะไม่โดนลงโทษจากศาล แต่ Standard Oil นั้นกลายเป็นบริษัทที่มีคนเกลียดมากที่สุดของอเมริกา มันกลายเป็นสัญลักษณ์ของความชั่วร้าย มันเป็นตัวอย่างของธุรกิจใหญ่ ๆ ที่มีอำนาจมากเกินไปที่ไม่มีใครสามารถเอาชนะได้ง่าย ๆ 

ข่าวหน้าหนึ่งทั่วประเทศ บริษัท Standard Oil กลายเป็นบริษัทที่ประชาชนเกลียดมากที่สุด
ข่าวหน้าหนึ่งทั่วประเทศ บริษัท Standard Oil กลายเป็นบริษัทที่ประชาชนเกลียดมากที่สุด

มันเป็นการต่อสู้เรื่องกฏหมายด้านการผูกขาดที่ใหญ่ที่สุดตลอดกาล ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ พยานคนสำคัญที่สุดที่จะมาตอบคำถามทั้งหมดให้กับศาลได้ก็คือตัวของ Rockefeller เอง แต่เขาเลือกเดินหนีไปทั่วอเมริกา หลังจากถูกหมายศาลเรียกตัว เขากำลังหนีฝ่ายกฏหมายอยู่

เขาพยายามหนีอยู่หลายเดือน แต่หลานคนแรกของเขาได้ออกมาลืมตัวดูโลกพอดี ในช่วงที่เขาหนี เขาไม่ได้มีโอกาสที่จะมาเจอหลานคนแรกของเขาเลยด้วยซ้ำ ในที่่สุดตัวเขาก็เริ่มทนไม่ไหว มันเป็นปมของเขามาตั้งแต่เด็ก เขาถูกพ่อของตัวเองทอดทิ้งไปตั้งแต่เด็ก เขาจะไม่ยอมให้สิ่งแบบนี้เกิดขึ้นกับลูกหลานเขาอย่างแน่นอน 

ในที่สุดเขาก็ยอมมอบตัวและให้ปากคำในชั้นศาล เกี่ยวกับคดีของ Standard Oil รวมถึงข้อหาเกี่ยวกับคดีในธุรกิจทั้งหมดของเขาด้วย โดยคดีนี้จะเป็นสิ่งที่ท้าทายที่สุดของชายที่ชื่อ John D.Rockefeller มันเป็นสิ่งที่จะกำหนดอนาคตของประเทศ Rockefeller ต้องปกป้องอาณาจักรที่เขาสร้างขึ้นมา

ซึ่งมันเป็นการต่อสู้ที่ดุเดือดในชั้นศาล เขาปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ที่ทางรัฐบาลกล่าวหาเขา เขาพยายามปกป้อง Standard Oil จนถึงนาทีสุดท้าย

และมันเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับนักธุรกิจหนุ่มคนใหม่ไฟแรง ในนาม Henry Ford ที่กำลังต่อสู้กับความอยู่รอดของธุรกิจใหม่อย่างการผลิตรถยนต์  เขากำลังสร้างรถยนต์แบบใหม่ขึ้นมา มันจะเป็นรถคันแรกในราคาถูกที่คนทั่วไปสามารถซื้อไปขับได้

Henry Ford นักธุรกิจรุ่นใหม่ที่ต้องการสร้างรถยนต์ให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงได้
Henry Ford นักธุรกิจรุ่นใหม่ที่ต้องการสร้างรถยนต์ให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงได้

ในตอนนั้นประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีรถยนต์เป็นของตัวเอง และรถยนต์นั้นถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ฟุ่มเฟือย และไม่มีความจำเป็น แต่ Ford นั้นคิดตรงข้าม เขามองว่ารถยนต์นั้นเป็นสิ่งจำเป็น มันเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก และรถยนต์ควรเข้าถึงคนส่วนใหญ่ได้ ในราคาที่ไม่แพงจนเกินไป

เขาได้ใช้เวลาหลายปีในการพัฒนารถยนต์โมเดลแรกขึ้นมา ตอนนั้นเขามีอายุ 33 ปี โมเดลนั้นถูกเรียกว่า Ford Recycle แต่มันยังดูราคาแพงเกินไปที่จะผลิตในจำนวนมาก และมันยังมีปัญหาอยู่มากที่ยังแก้ไขไม่ได้

เขาได้เริ่มพัฒนาโมเดลที่สองขึ้นมาในชื่อ โมเดล A ซึ่งดูแล้วเหมาะกับความต้องการของชาวอเมริกันมากกว่า แต่ปัญหาคือ Ford นั้นจะยังขายมันไม่ได้ ถ้าไม่ได้รับการอนุญาติจากองค์กรที่ถือสิทธิบัตรการผลิตรถยนต์ของอเมริกา อย่าง A.L.A.M

ซึ่ง A.L.A.M นั้นมักจะใช้วิธีแบล็กเมล์บริษัทรถยนต์อื่น ๆ โดยมีการขู่ให้จดทะเบียนกับพวกเขา ไม่เช่นนั้นเหล่าบริษัทผลิตรถยนต์ใหม่ ๆ นั้นจะถูกฟ้องร้องในข้อหา ละเมิดสิทธิบัตร และรถยนต์ โมเดล A ของ Henry Ford ก็ถูกปฏิเสธ มันทำให้เขาผิดหวังมาก แต่เขาก็มุ่งมั่นจะแสดงให้ทั้งโลกให้เห็นว่าถ้าคิดจะประสบความสำเร็จในอเมริกามันต้องมีทั้งชื่อเสียงและความอัจฉริยะควบคู่กันไปด้วย

หลังจากถูกปฏิเสธโดย A.L.A.M ตัว Ford เองนั้นก็ไม่มีทางเลือกมากนัก เขาไม่ยอมที่จะทิ้งความฝันไปง่าย ๆ ตอนนั้นมีหลายบริษัทกำลังสร้างรถยนต์ขึ้นมา เขามุ่งมั่นที่เอาชนะ A.L.A.M ให้จงได้ มันคือระบบผูกขาดอีกอย่างหนึ่งในอุตสาหกรรมรถยนต์ในอเมริกา

A.L.A.M ที่กำลังถือสิทธิบัตรการผลิตรถยนต์ในอเมริกา อีกหนึ่งการผูกขาดที่ Henry Ford ไม่ยอมแพ้
A.L.A.M ที่กำลังถือสิทธิบัตรการผลิตรถยนต์ในอเมริกา อีกหนึ่งการผูกขาดที่ Henry Ford ไม่ยอมแพ้

เหล่าผู้นำที่ยิ่งใหญ่ในโลกธุรกิจ มีนิสัยสำคัญอย่างนึงคือ ความกล้า ซึ่งความกล้านี่เองเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เหล่านผู้ยิ่งใหญ่ในโลกธุรกิจนั้นประสบความสำเร็จได้ เช่นเดียวกับ Henry Ford

เขาจึงกล้าที่จะลุยเต็มตัว โดยทำการท้าแข่งกับ ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่กับประเทศในขณะนั้น เขาต้องการสร้างชื่อให้กับตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก ตอนนั้น Alexander Winton เป็นผู้ที่ขับรถได้เร็วที่สุดในประเทศอเมริกา และที่สำคัญเขายังเป็นสมาชิกผู้ทรงเกียรติของ A.L.A.M พ่วงอีกหนึ่งตำแหน่งด้วย

ถ้าเขาสามารถเอาชนะ Winton ได้ด้วยรถที่เขาออกแบบมานั้น มันก็จะเป็นแรงสนับสนุนที่สำคัญที่จะพิสูจน์ว่า รถของเขาเจ๋งจริง และยังสามารถที่จะช่วยเหลือในการตั้งบริษัทรถยนต์ของเขาตามที่เขาฝันไว้ได้อีกด้วย

แต่ปัญหาใหญ่เลยก็คือ ตัว Henry Ford นั้นไม่เคยขับรถแข่งมาก่อนเลยด้วยซ้ำ ซึ่งตรงข้ามกับคู่แข่งเขา Alexander Winton ซึ่งตอนนั้นกำลังโด่งดัง และมีรถที่มีประสิทธิภาพสูงมาก

แต่เขาก็สามารถทำมันได้สำเร็จ การเอาชนะคู่แข่งที่เก่งที่สุดในอเมริกาอย่าง Winton นั้น ทำให้เขาสร้างชื่อโด่งดังขึ้นมาในวงการรถยนต์ทันที มันทำให้เหล่านักลงทุนนั้นเริ่มสนใจที่จะหันมาลงทุนในการผลิตรถยนต์ของ Ford 

การเอาชนะ Alexander Winton ทำให้นักลงทุนหันมาสนใจ Henry Ford
การเอาชนะ Alexander Winton ทำให้นักลงทุนหันมาสนใจ Henry Ford

ซึ่งจากเหตุการณ์นี้เอง มันทำให้เขาได้ทุนมาถึง 28,000 เหรียญ  หรือเทียบเท่ากับประมาณ 700,000 เหรียญเมื่อเทียบกับค่าเงินปัจจุบัน มันทำให้เขาสามารถที่จะสร้างโรงงานผลิตรถยนต์แห่งแรกได้สำเร็จ ในเมือง มิชิแกน

และไม่นานหลังจากนั้น เขาก็สามารถที่จะผลิตรถยนต์ออกมาได้ 15 คันต่อวัน ด้วยราคาที่ต่ำพอสำหรับชาวอเมริกันส่วนใหญ่ เขาเชื่อมาตลอดว่าเขาสามารถทำมันได้ และในที่สุดมันก็พิสูจน์ความเชื่อของชายที่ชื่อ Henry Ford ได้สำเร็จ ณ ตอนนี้ อุตสาหกรรมรถยนต์กำลังมุ่งหน้าไปสู่ทิศทางใหม่

แต่องค์กรผูกขาดสิทธิบัตรอย่าง A.L.A.M นั้นก็จับจ้องมอง Ford อยู่ และในที่สุดก็ได้เริ่มดำเนินการฟ้องร้อง ในเรื่องการละเมิดสิทธิบัตรการผลิตรถยนต์ของพวกเขา พวกเขาทำทุกวิถีทางเพื่อเอาชนะ Ford ให้จงได้

แต่ Henry Ford นั้นก็พร้อมจะต่อสู้ในชั้นศาล และเหตุการณ์มันไปบังเอิญเป็นช่วงเดียวกันกับ การไต่สวนในเรื่องธุรกิจผูกขาดบริษัท Standard Oil ของผู้ยิ่งใหญ่อย่าง John D. Rockefeller 

ซึ่งในขณะที่ Rockefeller กำลังถูกไต่สวนอย่างหนักในเรื่องการผูกขาด แต่ทาง J.P Morgan นั้นยังรอดพ้นจากการเอาผิดในการผูกขาดธุรกิจเหล็กของเขาได้ เขาได้ใช้อำนาจและอิทธิพลช่วยให้เกิดข้อตกลงต่าง ๆ ของอเมริกา และใช้ธุรกิจเหล็กของเขาอย่าง U.S Steel ช่วยส่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับสาธารณูปโภคของประเทศ

แต่ตอนนั้นสัญญาที่ใหญ่ที่สุดของ J.P Morgan จะเริ่มขึ้นในอเมริกากลาง มันเป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่จะมีการสร้างคลองเชื่อมระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิก กับ แอตแลนติก การสร้างคลองนี้จะช่วยลดเวลาการเดินทางลงได้กว่าครึ่ง และเรือจะเดินทางน้อยลงกว่า 8,000 ไมล์ในแต่ละเที่ยว หากต้องการขนส่งสินค้าจากโลกตะวันตก ไปยังโลกตะวันออก

ในตอนนั้นไม่มีบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ไหนในโลก มีศักยภาพที่จะทำได้ แต่ J.P Morgan นั้นทำหน้าที่เป็นคนกลางให้กับรัฐบาล และบริจาคเงินมากกว่า 40 ล้านเหรียญ หรือ เทียบเท่า 7,000 ล้านเหรียญในปัจจุบัน เพื่อเริ่มโครงการนี้

คลองปานามา กลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีความท้าทายที่สุดเท่าที่โลกเราเคยมีมา เหล่าคนงานกว่า 75,000 คน ต้องทำงานท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อนจัด  และที่สำคัญต้องต่อสู้กับโรคร้ายในแถบโซนนั้น เพื่อที่จะขุดคลองยาว 51 ไมล์ จากมหาสมุทรแอตแลนติก ไปยัง แปซิฟิก

การก่อสร้างโครงการขนาดยักษ์อย่างคลองปานามานั้น มีอเมริกาเพียงประเทศเดียวที่สามารถทำได้
การก่อสร้างโครงการขนาดยักษ์อย่างคลองปานามานั้น มีอเมริกาเพียงประเทศเดียวที่สามารถทำได้

มีเพียงประเทศเดียวที่มีศักยภาพพอที่จะสามารถสร้างโครงการขนาดยักษ์ดังกล่าวได้ เนื่องจากการเติบโตของอุตสาหกรรมต่าง ๆ จากเหล่านักปฏิวัติอุตสาหกรรม ของอเมริกา ณ เวลานั้น อเมริกากำลังเจริญก้าวหน้าแซงทุกประเทศทั่วทั้งโลก และโครงการนี้มันยังเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้อเมริกากลายเป็นประเทศที่มีอิทธิพลที่สุดในโลกจวบจนถึงปัจจุบัน

โครงสร้างคลองที่มาจากเหล็กกล้า และใช้พลังงานไฟฟ้า และถูกขับเคลื่อนโดยน้ำมัน ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นมาได้เนื่องจากอุตสาหกรรมหลักที่ผูกขาดโดยเหล่าผู้มีอิทธิพลของประเทศแทบจะทั้งสิ้น 

แต่ยุคของการผูกขาดนั้น กำลังจะสิ้นสุดลง มันถึงเวลาที่จะถูกตัดสินโดยศาลรัฐบาลกลางสหรัฐ และในท้ายที่สุดนั้น อิทธิพลของเหล่ายักษ์ใหญ่เหล่านี้มันจะไม่สามารถที่จะอยู่ไปได้ตลอดกาล

ตอนนี้คดีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษ ระหว่าง ประชาชนชาวอเมริกัน กับ บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Standard Oil กำลังจะถูกตัดสิน การแถลงของศาลนั้นเต็มไปด้วยเรื่องน่ารังเกียจของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Standard Oil

คดีประวัติศาสตร์ของประเทศอเมริการะหว่างประชาชนกับบริษัท Standard Oil
คดีประวัติศาสตร์ของประเทศอเมริการะหว่างประชาชนกับบริษัท Standard Oil

มันไม่มีบริษัทไหนในประวัติศาสตร์อเมริกา มีการผูกขาดเพื่อผลกำไรเทียบเท่ากับที่ Standard Oil ได้ทำขึ้นมาก่อน Standard Oil ใช้ประโยชน์จากข้อมูลลับของบริษัทรถไฟอื่น ๆ และมีการตั้งราคาที่สูง ใช้การข่มขู่ และมีการกำหนดเขตในการขาย เพื่อบีบให้บริษัทคู่แข่งออกไปจากธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน ในช่วงเวลาตลอด 30 ปีที่ผ่านมา Standard Oil ใช้ความพยายาม ที่จะกำจัดคู่แข่ง และก็ทำให้ตัวเองเป็นบริษัทผูกขาด เพื่อที่จะกำหนดราคาน้ำมันก๊าซ เพื่อผูกขาดการขายเพียงรายเดียว

ส่วน Rockefeller ในฐานะจำเลยนั้น ได้ให้ถ้อยแถลงในคดีประวัติศาสตร์นี้คือ ในตอนที่เขาเข้ามาสู่อุตสาหกรรมน้ำมัน มันมีแต่ความวุ่นวาย เขามองว่าตัวเองนั้นเข้ามาจัดระเบียบ และต้องมาจัดการกับตลาดที่ไม่มีประสิทธิภาพ เขามองว่าที่เขาต้องทำเช่นนั้น เพราะมันเป็นวิธีที่สมควรที่สุดแล้ว เขาทำให้ทุกบ้านสว่างไสว เขาสร้างงานนับแสนนับล้านตำแหน่งให้กับชาวอเมริกัน เขามองว่าน้ำมันเป็นสิ่งที่ช่วยขับเคลื่อนประเทศนี้  แม้คนอื่นจะเรียกมันว่าการผูกขาด แต่เขาเรียกมันว่า “การลงทุน”

และมันเป็นการรอคอยเช่นเดียวกันสำหรับ Henry Ford ที่กำลังต่อสู้กับการผูกขาดของ A.L.A.M องค์กรผู้ครอบครองสิทธิบัตรด้านการผลิตรถยนต์ของสหรัฐอยู่ เขาก็ต้องพึ่งศาลเพื่อตัดสินว่า เขายังสามารถที่จะขายรถยนต์จากบริษัท Ford Motor ของเขาได้หรือไม่

สมาคมผู้ผลิตรถยนต์อเมริกา A.L.A.M ได้ทำการฟ้อง Ford ในเรื่องสิทธิบัตรการผลิตรถยนต์ทุกคันที่ Ford ได้ผลิตออกมาขาย หากเขาพ่ายแพ้แล้วต้องจ่ายค่าสิทธิบัตรนั้น มันก็จะส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตรถยนต์ที่จะสูงขึ้น และมันจะทำให้ไม่สามารถกระจายไปยังผู้บริโภคส่วนใหญ่ของอเมริกา ตามความฝันอันสูงสุดของเขาได้

Ford นั้นเชื่อว่า ยุคของการผูกขาดที่อยู่มานานนั้นได้จบลงแล้ว การที่เขาได้ฟ้องต่อศาลนั้น ก็เพื่อเป็นการทำลายอิทธิพลของ A.L.A.M ที่มีต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ของอเมริกา เขามุ่งมั่นที่จะทำให้มันเกิดขึ้นให้ได้ เขาต่อต้านการผูกขาด ต่อต้านแม้กระทั่ง Rockefeller หรือ Andrew Carnegie เขาต้องการให้อุตสาหกรรมของอเมริกา ยกเลิกการผูกขาดโดยเหล่าผู้มีอิทธิพลเหล่านี้เสียที

เขาเห็นด้วยกับการแข่งขัน เห็นด้วยกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อแข่งกัน ไม่ใช่การทำธุรกิจให้ผูกขาดเหมือนเหล่าผู้มีอิทธิพลในยุคก่อนหน้า เขาเป็นนักธุรกิจรุ่นใหม่ ที่มีความคิดแบบใหม่ ๆ ที่เขาเชื่อว่าจะสามารถยกระดับประเทศอเมริกาขึ้นไปได้

เขาเป็นนักธุรกิจคนแรก ๆ ที่จ่ายค่าแรงให้กับคนงานอย่างยุติธรรม ไม่มีการกดขี่ข่มเหงแรงงานของเขา ซึ่งมากกว่าที่โรงงานส่วนใหญ่ในอเมริกาในสมัยนั้นจ่ายให้กว่าสองเท่า และไม่เพียงจ่ายค่าจ้างเพิ่มเท่านั้น แต่เขายังเพิ่มผลผลิตออกมาด้วย

เขาได้ปฏิวัติระบบใหม่ขึ้นมาในการผลิตรถยนต์ แทนที่จะใช้มือประกอบรถทีละคัน เขาเปลี่ยนมาให้คนงานยืนเรียงแถวกันและแยกประกอบคนละชิ้น ซึ่งมันได้กลายเป็นมาตรฐานใหม่ที่เรียกกันว่า “สายพานการผลิต” และมันได้มาเปลี่ยนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมไปตลอดกาล

สายการผลิต หนึ่งในสุดยอดนวัตกรรมของ Henry Ford ที่เปลี่ยนโรงงานอุตสาหกรรมไปตลอดกาล
สายการผลิต หนึ่งในสุดยอดนวัตกรรมของ Henry Ford ที่เปลี่ยนโรงงานอุตสาหกรรมไปตลอดกาล

ด้วยการใช้สายพานการผลิตนั้น มันทำให้คนงานของ Ford สามารถที่จะผลิตได้มากกว่าโรงงานอื่น ๆ ทั่วโลกถึง 8 เท่า  สามารถที่จะลดเวลาการประกอบจาก 12 ชั่วโมงให้เหลือเพียง หนึ่งชั่วโมงครึ่งเท่านั้น นวัตกรรมใหม่นี้ทำให้บริษัท Ford ได้กำหนดมาตรฐานการทำงานใหม่ขึ้นมา ที่ 8 ชม.ต่อวัน และ 5 วันต่อสัปดาห์

แต่สิ่งสำคัญคือ เขาต้องชนะคดีเรื่องสิทธิบัตรให้จงได้ ตอนนี้อนาคตของเขา ก็ไม่ต่างจากชายผู้ยิ่งใหญ่อย่าง John D.Rockefeller ที่อยู่ในมือผู้พิพากษาของศาลรัฐบาลกลาง  มันทำให้ Henry Ford และ John D.Rockefeller นั้นกลายเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของชาวอเมริกันจากรุ่นที่ต่างกัน บนแนวคิดที่ต่างกันสุดขั้ว และมันส่งผลต่ออนาคตของประเทศในเวลาต่อมา

ผลการตัดสินครั้งสำคัญนี้ จะทำให้ธุรกิจของอเมริกาจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป คดีประวัติศาสตร์นี้กำลังจะถูกตัดสินแล้ว ด้วยปัจจักษ์พยายานกว่า 400 คน และบันทึกคำให้การจากพยานกว่า 12,000 หน้า

ศาลได้ตัดสินว่า บริษัท Standard Oil ผิดในข้อหาการไม่มีจรรยาบรรณ และละเมิดกฏต่อต้านการผูกขาด มันทำให้บริษัท Standard Oil ต้องถูกแบ่งย่อยออกภายใน 6 เดือน 

มันคือความพ่ายแพ้ครั้งยิ่งใหญ่ของ John D.Rockefeller ตอนนี้ บริษัท Standard Oil ของเขากำลังจะถูกแยกออกเป็นเสี่ยง ๆ โดยกลายเป็นบริษัทย่อย 34 บริษัท ตอนนี้อนาคตของการผูกขาดในอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ในอเมริกา ได้จบลงแล้ว 

Standard Oil ถูกแตกย่อยกลายเป็นบริษัทมากมาย
Standard Oil ถูกแตกย่อยกลายเป็นบริษัทมากมาย

และการตัดสินครั้งนี้ มันส่งผลดีต่อคดีของ Henry Ford ที่เป็นนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่กำลังจะก้าวขึ้นมาพร้อมกับอเมริกายุคใหม่ มันมีผลต่อทุกอุตสาหกรรมในอเมริกานับจากนี้ และผลการตัดสินนั้นก็เป็นฝ่าย Henry Ford ที่เอาชนะ A.L.A.M ได้สำเร็จ

A.L.A.M นั้นไม่มีสิทธิอ้างเกี่ยวกับการออกแบบรถยนต์ มันทำให้ Henry Ford ได้รับอิสระในการปฏิวัติการผลิตรถยนต์ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาติ A.L.A.M อีกต่อไป ความฝันของเขากลายเป็นจริง การสร้างรถเพื่อทุกคน

ความสำเร็จของ Ford นั้นส่งผลกระทบชัดเจนต่อชาวอเมริกัน ด้วยภาพที่เขาเป็นนักธุรกิจรุ่นใหม่ ต่างจาก Rockefeller หรือ Carnegie เขาเป็นคนกล้าหาญที่สู้ไม่ถอย และไม่ยอมแพ้ต่อการผูกขาดโดยเด็ดขาด เขาทำให้ผลิตภัณฑ์เข้าถึงทุกคน มันทำให้ประชาชนชาวอเมริกันชื่นชอบ และทำให้ Henry Ford กลายเป็น วีรบุรุษ

และ Ford ต้องเร่งการผลิตให้ท้นต่อความต้องการของผู้บริโภค รถรุ่นใหม่ของเขาอย่าง Model T นั้น ราคาอยู่ที่แค่ 825 เหรียญ มันเป็นครั้งแรกที่มีรถยนต์ที่ใครก็สามารถที่จะซื้อไปขับได้ Henry Ford ได้สร้างสิ่งที่กำลังจะมาเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญที่สุดต่อเศรษฐกิจอเมริกา มันส่งผลต่อชีวิตทุกส่วนของชาวอเมริกัน เขาได้มาเปลี่ยนอเมริกาไป ทั้งวิธีในการใช้ชีวิต วิธีในการทำสิ่งต่าง ๆ รวมถึงวิธีในการทำธุรกิจของชาวอเมริกันไปตลอดกาล

Ford Model T ที่สามารถเข้าถึงประชาชนทั่วไปได้ด้วยราคาประหยัด
Ford Model T ที่สามารถเข้าถึงประชาชนทั่วไปได้ด้วยราคาประหยัด

การปฏิวัติอุตสาหกรรมของเขานั้นมันได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ ๆ และมันช่วยเปลี่ยนวิถีชีวิตของชาวอเมริกันไป เพื่อนคนสนิทของเขาอย่าง William  Harley และ Arthur Davidson ได้นำเครื่องยนต์ไปติดกับจักรยาน และได้กลายเป็นรถมอเตอร์ไซต์ขายออกไปทั่วประเทศ 

Milton Hershey ได้นำเอาแนวคิดสายพานการผลิตของ Henry Ford ไปใช้กับผลิตภัณฑ์ของเขาอย่างช็อคโกแลต ส่วนพ่อค้าชาว ชิคาโก William Wrigley ก็ใช้แนวคิดเดียวกันในการผลิตหมากฝรั่งออกขายไปได้ทั่วประเทศ 

มันทำให้เกิดนักธุรกิจใหม่ ๆ และสร้างสิ่งต่าง ๆ ด้วยแนวคิดใหม่ ที่มีต้นแบบมาจาก Henry Ford พวกเขาได้คิดค้นการผลิตสินค้าจำนวนมากขึ้นมา และจ่ายค่าแรงที่เหมาะสมให้กับคนงาน ภายใต้สภาพการทำงานที่ปลอดภัย 

ตอนนี้ ยุคของ John D.Rockefeller , Andrew Carnegie รวมถึง J.P Morgan มันได้เดินมาถึงจุดจบเสียแล้ว แต่มันทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสามแน่นแฟ้นมากขึ้น อุตสาหกรรมใหม่อย่างรถยนต์นั้น มันก็ได้ทำให้เกิดปั๊มน้ำมันของ Standard Oil ไปทั่วทั่งประเทศ รวมถึงใช้เหล็กของ Carnegie และโรงงานที่ได้พลังงานไฟฟ้าจาก J.P Morgan 

ปั๊มน้ำมัน Standard Oil เกิดขึ้นทั่วประเทศผลจากอุตสาหกรรมรถยนต์ที่เฟื่องฟู
ปั๊มน้ำมัน Standard Oil เกิดขึ้นทั่วประเทศผลจากอุตสาหกรรมรถยนต์ที่เฟื่องฟู

แม้เส้นทางของนักธุรกิจรุ่นใหม่จะต่างจากเหล่านักปฏิวัติยุคบุกเบิก แต่มันก็ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ ถ้ามันไม่มีการวางรากฐานไว้ โดยผู้ยิ่งใหญ่อย่าง Vanderbilt , Carnegie , J.P Morgan และ John D. Rockefeller

ผลก็คือความรุ่งเรืองที่เริ่มกระจายออกไปทั่วประเทศ ด้วยนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอเมริกา เพื่อคนชนชั้นกลางที่กำลังเติบโตขึ้นมา การปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้น มันก่อให้เกิดการพัฒนาของชนชั้นกลาง มันทำให้เกิดความมั่งคั่งขึ้นในแบบที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อน

แม้ตัว John D.Rockefeller อาจจะแพ้คดีในศาล แต่บริษัทที่เล็กลงที่แตกออกมาจาก Standard Oil ก็ได้เติบโตจนกลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่มากมาย เช่น Exxon Mobile หรือ Chevron และสุดท้าย Rockefeller เองก็เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ และมันทำให้ Rockefeller นั้นร่ำรวยยิ่งขึ้นกว่าเดิม มันทำให้เขารวยที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลก ด้วยทรัพย์สินสุทธิ 160,000 ล้านเหรียญ หากเทียบเป็นเงินในปัจจุบัน

และหลังจากศาลตัดสินคดีประวัติศาสตร์ได้เพียง 2 ปี โลกก็ได้สูญเสียชายผู้ยิ่งใหญ่ในโลกแห่งการเงินอย่าง J.P Morgan ผู้ซึ่งได้เข้ามาปฏิรูประบบการเงินของอเมริกา เขาเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุดในแวงวงการธนาคาร เขาได้ช่วยสร้างระบบการเงินใหม่ขึ้นมา มันช่วยยกระดับระบบการเงินที่ทันสมัยให้กับประเทศอเมริกา เมื่อถึงช่วงท้ายของชีวิต เหล่าผู้บุกเบิกของอเมริกา ก็ได้เริ่มหันมาให้เกียรติซึ่งกันและกัน ตอนนี้เวลาของพวกเขาใกล้หมดลงแล้ว

มันถึงเวลาที่จะนำเงินของพวกเขาที่สร้างมาทั้งชีวิตมาสร้างสิ่งที่เกิดประโยชน์แทน ตอนนี้มันไม่ใช่การแข่งขันทางธุรกิจอีกต่อไปแล้ว มันเป็นการแข่งขันเรื่องการบริจาค Andrew Carnegie นั้นเริ่มเป็นรายแรก ที่เริ่มหันมาทำประโยชน์ให้กับสาธารณชน เขาอยากที่จะตายอย่างมีเกียรติ ซึ่งทำให้ Carnegie นั้นบริจาคเงินไปกว่า 315 ล้านเหรียญ หรือเทียบเท่า 67,000 ล้านเหรียญ ถ้าเทียบกับค่าเงินปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่เพื่อการศึกษา

และ การแข่งขันครั้งนี้ Carnegie กำลังจะถูกท้าทายด้วยคู่แข่งของเขาเองอย่าง John D.Rockefeller และด้วยเงินที่มากกว่า ทำให้ Rockefeller สามารถบริจาคเงินได้มากกว่า Carnegie ได้ทำไว้ ซึ่งบริจาคให้กับโบสถ์ และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เขาได้ก่อตั้งมูลนิธิ Rockefeller ขึ้นมา เพื่อนำไปใช้กับโครงการด้านสุขภาพของประชาชนทั่วโลกต่อไปอีกหลายทศวรรษ

เมื่อยุคของการผูกขาดธุรกิจจบลง ชาวอเมริกานั้นก็เริ่มตระหนักถึงความเป็นไปที่ว่า อะไรก็เกิดขึ้นได้ ตราบที่พวกเขาทำงานร่วมกัน ทั้งประเทศรวมเป็นหนึ่งภายใต้เศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ซึ่งไม่ได้เอื้อเฉพาะกับคนรวยเท่านั้น แต่กับทุกคน มันเป็นหนึ่งในจุดเริ่มต้นของยุคที่อเมริการุ่งเรืองที่สุดเท่าที่เคยมีมา มันทำให้ประเทศอเมริกานั้นยิ่งแข็งแกร่งขึ้น และมันกำลังจะถูกนำไปใช้  ในสงครามโลกที่จะเกิดขึ้น จนมันทำให้อเมริกาได้รับชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ จนกลายเป็นประเทศที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อโลกใบนี้จวบจนถึงปัจจุบัน

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Cornelius Vanderbilt  *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

รวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุดรวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุด

อย่าลืมติดตามผลงานเรื่องต่อ ๆ ไปของผมก่อนใครได้ที่ blockdit นะครับ โหลดได้เลย

อย่าลืม ค้นหา “ด.ดล Blog” แล้ว กด follow กันด้วยนะครับผม

References : 
https://www.biography.com/people/jp-morgan-9414735
https://en.wikipedia.org/wiki/Andrew_Carnegie
https://en.wikipedia.org/wiki/John_D._Rockefeller
https://www.history.com/topics/us-presidents/theodore-roosevelt
https://en.wikipedia.org/wiki/Henry_Ford
https://www.history.com/topics/inventions/henry-ford
https://www.history.com/shows/men-who-built-america

The Innovators ตอนที่ 7 : Theodore Roosevelt

ต้องบอกว่า อเมริกา ภายใต้ยุคเหล่าผู้บุคเบิก ไม่ว่าจะเป็น Vanderbilt , Rockefeller , Carnegie , Thomas Edison , J.P Morgan หรือ Nikola Tesla นั้น นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามกลางเมืองในปี 1865 หลังจากนั้นเพียงไม่เกิน 35 ปี ประเทศอเมริกาได้ยกระดับประเทศขึ้นเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ และมีความเจริญรุ่งเรืองและมีอิทธิพลต่อทั่วโลกทันที เพราะนวัตกรรมทั้งหมด มันเกิดขึ้นในประเทศแห่งดินแดนเสรีภาพนี้ และมันเปลี่ยนอเมริกาไปตลอดกาล

แต่ถึงตอนนี้ มันกำลังถึงก้าวที่สั่นคลอนของเหล่าผู้มีอิทธิพลเหล่านี้ ทั้ง Rockefeller ,Carnegie รวมถึง J.P Morgan นั้นต้องพักศึกชั่วคราวหันมาร่วมมือกัน เพื่อเป้าหมายไม่ให้ธุรกิจที่พวกเขากำลังผูกขาดล้มครืนลงมาต่อหน้าต่อตาได้

ตอนนี้ เหล่าประชาชนผู้ยากไรต่างเริ่มไม่พอใจ กับการผูกขาดธุรกิจของเหล่าผู้มีอิทธิพลทั้ง 3 มันทำให้ช่องว่างระหว่างความรวยกับความยากจนข้นแค้นของชาวอเมริกานั้น ถีบตัวห่างออกไปเรื่อย ๆ โดยที่รัฐบาลไม่สามารถทำอะไรกับพวกเขาเหล่านี้ได้เลย

Rockefeller , Carnegie รวมถึง Morgan ณ ตอนนี้มีทรัพย์สินรวมกันถึง กว่า หนึ่งล้านล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับค่าเงินปัจจุบัน พวกเขากำลังควบคุมประเทศอยู่ เศรษฐกิจทั้งประเทศกำลังถูกผูกขาดโดยพวกเขา

สามผู้ยิ่งใหญ่มีทรัพย์สินรวมกันกว่า หนึ่งล้านล้านเหรียญ เมื่อเทียบกับค่าเงินปัจจุบัน
สามผู้ยิ่งใหญ่มีทรัพย์สินรวมกันกว่า หนึ่งล้านล้านเหรียญ เมื่อเทียบกับค่าเงินปัจจุบัน

เหล่าคนงานอยู่ในสภาพความยากจน รวมถึงสภาพการทำงานก็เลวร้ายลงไปเรื่อย ๆ แต่ตอนนั้น มันกำลังจะถึงจุดเปลี่ยน เพราะจะมีการเลือกตั้งในปี 1896 มันมีชายคนหนึ่งที่จะตอบสนองความโกรธแค้นของประชาชน และมุ่งมั่นที่จะเข้าไปสู่ทำเนียบขาวเพื่อเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ให้ได้

เขาคือ William Jennings Bryan นักการเมืองหนุ่มหน้าใหม่ เขาได้เริ่มการออกหาเสียง โดยมีนโยบายหลักคือความเท่าเทียม เขาจะขอเป็นเสียงให้กับคนจน และจะสู้กับยักษ์ใหญ่ของประเทศนี้

เขาได้กลายเป็นกระบอกเสียงของประชาชน และเข้าใจถึงประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เขาต้องการล้มเหล่าธุรกิจยักษ์ใหญ่นี้ ประชาชนต้องการการป้องกันการผูกขาด มันกลายเป็นภัยคุกคามครั้งใหญ่หลวงที่สุดนับตั้งแต่เหล่าผู้บุกเบิกเคยเจอมา

William Jennings Bryan นักการเมืองหนุ่มผู้ลุกขึ้นมาท้าทายเหล่าผู้มีอิทธิพล
William Jennings Bryan นักการเมืองหนุ่มผู้ลุกขึ้นมาท้าทายเหล่าผู้มีอิทธิพล

แต่ด้วยเงินทองที่มากมายของพวกเขาทั้งสาม รวมถึงการผนึกกำลังกันเพื่อการต่อสู้ครั้งนี้นั้น พวกเขาได้ใช้อิทธิพลทั้งหมด โดยเฉพาะเหล่านักการเมืองที่ต้องการเงิน เงินของพวกเขาเหล่านี้นั้นมากพอที่จะซื้อใครก็ได้ที่จะทำประโยชน์ให้กับพวกเขา

ตอนนั้น William Jennings Bryan นั้นลงสมัครในนามของพรรค รีพับรีกัน พวกเขาจึงต้องสนับสนุนฝั่งตรงข้ามเลยเล็งไปที่  William Mckinley ที่เป็นอดีตผู้ว่าการรัฐโอไฮโอ ที่เข้าใจถึงอุตสาหกรรมสมัยใหม่มากกว่า พวกเขาจึงได้ทุ่มเงินอย่างเต็มที่เพื่อการนี้โดยเฉพาะ ในแคมเปญการรณรงค์หาเสียงของ Mckinley

William Mckinley ผู้มาเป็นตัวแทนของเหล่าผู้มีอิทธิพล
William Mckinley ผู้มาเป็นตัวแทนของเหล่าผู้มีอิทธิพล

พวกเขาได้ใช้อิทธิพลไปทั่ว รวมถึงการซื้อสื่ออย่างกว้างขวางเพื่อกระจายไปยังกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ แต่ Bryan นั้นก็ไม่ยอมแพ้ โดยการออกเดินสายหาเสียงไปทั่วประเทศ ไปพูดกับประชาชนโดยตรง ซึ่งกลายมาเป็นต้นแบบของการหาเสียงเลือกตั้งจนมาถึงปัจจุบันนี้

มันเป็นการสู้ศึกกันอย่างดุเดือด มันการเล่นสกปรกกันอย่างมากมาย โดยฝ่าย 3 ผู้มีอิทธิพล  ทั้งประเทศถูกแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายคนรวย กับ ฝ่ายคนจน ซึ่งแน่นอนว่า ฝ่ายคนจนนั้นมีมากกว่าอยู่แล้ว เป็นการเลือกตั้งที่คึกคักเป็นอย่างมาก ประชาชนกว่า 90% เข้าคูหาเลือกตั้ง

ตอนนี้อนาคตของคนทั้งชาติแขวนอยู่บนเส้นด้าย ทั้งสองฝ่ายต่างรอผลการเลือกตั้งอย่างใจจดใจจ่อ ซึ่งในที่สุดผลการเลือกประธานาธิบดีก็ออกมา Mckinley เอาชนะไปได้อย่างหวุดหวิด และแน่นอนฝ่ายคนรวยเอาชนะไปได้สำเร็จ

มันทำให้ Rockefeller , Carnegie และ Morgan มีอำนาจมากขึ้นกว่าเดิม และถึงเวลาแล้วที่ต้องยกเลิกการเป็นพันธมิตรกันอีกครั้ง พวกเขาจึงต้องกลับมาแข่งขันกันเหมือนเดิม

การโดนไฟฟ้าเริ่มมาแย่งตลาดน้ำมันก๊าซของ Rockefeller ทำให้เขาเริ่มมองหาธุรกิจใหม่มาเสริมความแข็งแกร่งให้เขา และเขาเล็งไปที่ ธุริจเหล็ก ซึ่งเป็นฐานที่มั่นของ Carnegie 

การต่อสู้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง แร่เหล็กซึ่งมีมากมายมหาศาลในขณะนั้น มันทำให้ Carnegie ไม่ค่อยจะสนใจกับการเข้ามาสู่ธุรกิจเหล็กของ Rockefeller เพราะเขามองว่า เขาทำมานานและมีประสบการณ์มากกว่า ยากที่ Rockefeller จะตามทันในธุรกิจที่เขาถนัดอย่างธุรกิจเหล็กกล้า

Rockefeller เจาะฐานที่มั่น Carnegie เริ่มต้นจากเหมืองถลุงแร่เหล็กก่อน
Rockefeller เจาะฐานที่มั่น Carnegie เริ่มต้นจากเหมืองถลุงแร่เหล็กก่อน

แต่ดูเหมือน Carnegie จะประเมิน Rockefeller ต่ำไปหน่อย เพราะ Rockefeller ได้เริ่มต้นส่งแร่เหล็กไปยังคู่แข่งของ Carnegie ด้วยสนนราคาที่ต่ำมาก มันทำให้การแข่งขันดุเดือดขึ้น มันไปแย่งลูกค้าของ Carnegie โดยตรง ส่งผลต่อกำไรของ Carnegie โดยตรง

Rockefeller เริ่มคิดแผนใหม่ขึ้นมา เขาจะสร้างโรงงานเหล็กขึ้นมา ที่ไม่ได้ด้อยไปกว่าสิ่งที่ Carnegie ได้สร้างขึ้น Carnegie ต้องขัดขวางทุกวิถีทาง โดยเข้าไปพบกับ Rockefeller เพื่อขู่ให้ Rockefeller เลิกยุ่งกับธุรกิจเหล็กเสีย มันเป็นการปะทะกันซึ่ง ๆ หน้าเป็นครั้งแรก โดยที่ไม่มีฝ่ายไหนยอมถอย มันเป็นการเจรจาที่ยืดเยื้อกว่าหลายเดือน

Carnegie ไม่มีทางเลือกมากนัก ที่จะรักษาอาณาจักรของเขาไว้ เขาต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้ Rockefeller ออกไปจากธุรกิจนี้ซะ สุดท้ายมันก็มีการเจรจาตกลงกันได้สำเร็จ พวกเขาทั้งสองรู้ดีว่าต่างคนต่างยิ่งใหญ่กันเกินไปที่จะมาห้ำหั่นกันเองแบบนี้ มันจะเจ็บตัวทั้งคู่เสียเปล่า ๆ 

โดย Carnegie เสนอซื้อแร่เหล็กทั้งหมดที่ Rockefeller ขุดมาได้ โดยบังคับไม่ให้ Rockefeller ห้ามขายไปยังคู่แข่งในธุรกิจเหล็กกล้าของเขา ซึ่งมันเป็น Deal ที่ Win-Win ทั้งสองฝ่าย โดยไม่มีการรุกล้ำอาณาเขตซึ่งกันและกันแต่อย่างใด 

สุดท้ายก็เจรจาผลประโยชน์ลงตัวระหว่าง Carnegie และ Rockefeller
สุดท้ายก็เจรจาผลประโยชน์ลงตัวระหว่าง Carnegie และ Rockefeller

และเรื่องข้อตกลงดังกล่าวนั้นดังไปถึงหูของ J.P Morgan ผู้ยิ่งใหญ่อีกหนึ่งคน ที่มองเห็นว่าน่าจะทำอะไรบางอย่างได้ ระหว่าง Deal ของ Carnegie และ Rockefeller  Morgan นั้นมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจของประเทศมากกว่า ทั้ง Carnegie และ Rockefeller

Morgan นั้นใช้ความสามารถของเขาในการเข้าไปเจรจาควบรวมกิจการหลายแห่งทั่วสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ธุรกิจเหมือนแร่จนถึงการขนส่งทางรถไฟ Morgan ต้องการยุติการแข่งขันในอุตสาหกรรมเหล็กกล้า เขาต้องการรวมคู่แข่งทั้งหมดในอุตสาหกรรมให้เหลือเพียงหนึ่งเดียว มันเป็นการรวมกิจการที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เขาเคยทำมา และที่สำคัญมันยังมีความเสี่ยงสูงที่สุดอีกด้วย ซึ่งวิธีการก็คือ เข้ายึดอาณาจักรของ Andrew Carnegie ทั้งหมดให้ได้

และมันเป็นช่วงเวลาประจวบเหมาะพอดี ที่ Carnegie ที่ตอนนั้นเหนื่อยกับการต่อสู้อย่างยาวในการแข่งขันของธุรกิจเหล็กกล้า และเริ่มไม่ค่อยมั่นใจในแนวคิดของตนเอง เพราะมันต้องต่อสู้ไปตลอดอีกชีวิต

มันเป็นวิธีที่เสี่ยงสำหรับ Morgan เขาไม่อาจะเข้าไปคุยกับ Carnegie โดยตรงได้ เขาจึงเลือกที่จะเข้าไปคุยกับผู้ช่วยของ Carnegie แทน ซึ่งเขาคนนั้นคือ  Charles  Schwab ผู้ซึ่งทำงานให้ Carnegie มากว่า 15 ปี ซึ่ง Morgan ต้องการทราบราคาโดยให้ Schwab นั้นไปสืบราคามาให้ และเสนอตำแหน่งประธานบริษัทให้หาก Deal สำเร็จ

ความจริงนั้น Carnegie ก็ไม่ได้มีแผนการที่จะขายธุรกิจเหล็กของเขาเสียด้วยซ้ำ แต่หลังจาก Schwab ได้ลองถามดู หากต้องการขาย Carnegie จะขายที่ราคาเท่าไหร่ เขาเลยนึกตัวเลขคร่าว ๆ ว่าน่าจะประมาณ 480 ล้านเหรียญ หรือ เทียบเท่า 400,000 ล้านเหรียญหากเทียบกับค่าเงินปัจจุบัน 

มันเป็นจำนวนที่สูงยิ่งกว่างบประมาณของรัฐบาลสหรัฐทั้งหมดเสียด้วยซ้ำ ตัว Carnegie เองก็คงไม่คิดว่า J.P Morgan นั้นจะบ้าซื้อได้ในราคาดังกล่าวได้อย่างแน่นอน แต่คนอย่าง Morgan นั้นต้องการควบรวมกิจการในอุตสาหกรรมขนาดยักษ์อย่างธุรกิจเหล็กกล้า 

มันเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้วที่ ทั้ง Andrew Carnegie และ John D. Rockefeller ต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงการที่จะได้เป็นผู้ที่ร่ำรวยที่สุดในอเมริกา และในที่สุด มันก็ถึงเวลาที่ Carnegie ชนะเสียที ข้อตกลงกับ J.P Morgan นั้นมันได้ทำให้ Carnegie มีทรัพย์สินส่วนตัวพุ่งขึ้นไปสูงถึง 310,000 ล้านเหรียญ ถ้าเทียบกับค่าเงินปัจจุบัน และเขายังเป็นผู้ที่เคยมีทรัพย์สินมากที่สุด เท่าที่โลกใบนี้ได้ถือกำเนิดขึ้นจวบจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีใครสามารถล้มสถิตินี้ได้

หลังจากเป้าหมายของ J.P Morgan สำหรับ เขาได้ตั้งชื่อบริษัทใหม่ว่า U.S Steel มันได้กลายเป็นธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นบริษัทแรกของโลกที่มูลค่ากว่า 1,000 ล้านเหรียญ และมันได้ครอบความเป็นใหญ่ในธุรกิจเหล็กกล้าอีกกว่า 100 ปี อย่างที่ไม่มีใครเทียบได้

การควบรวมจนกลายเป็นบริษัท U.S Steel บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก
การควบรวมจนกลายเป็นบริษัท U.S Steel บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก

แต่อย่างที่เกริ่นไว้ก่อนหน้า ถึงแม้เหล่าผู้มีอิทธิพลเหล่านี้ จะซื้อประธานาธิดีขึ้นมาได้ แต่พวกเขาไม่สามารถหนีการเมืองไปได้ตลอดกาล อำนาจที่พวกเขามีเหนืออุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ในประเทศ ได้ดึงดูความสนใจของนักการเมืองคนหนึ่ง ที่ชื่อ Theodore Roosevelt

Roosevelt นั้นมีลักษณะนิสัยแทบจะไม่ต่างจาก เหล่าผู้มีอิทธิพลทั้ง 3 เขาเป็นคนที่ชอบข่มคนอื่น และมีนิสัยที่ชอบสั่งการ  ตัว Roosevelt เองนั้นเติบโตมาจากครอบครัวที่ร่ำรวยย่านนิวยอร์ก และกลายมาเป็นยักษ์ใหญ่แบบเดียวกับที่ Carnegie หรือ Rockefeller ทำได้

แต่แทนที่จะไปเป็นนักธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ แบบทั้ง 2 นั้น เขากลับเลือกเส้นทางการเมืองแทน แม้ภาพลักษณ์เขาจะไม่ค่อยดีนัก แต่เขาก็พยายามปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ตัวเองจากชนชั้นสูง มาเป็นคนที่ทำงานเพื่อประชาชน เขาได้สมัครเข้าร่วมรบกับกองทัพ ในสงครามสเปนนิช-อเมริกัน  เขาได้ก้าวขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เพียงไม่นานเขาก็ได้กลายมาเป็นผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก

Roosevelt เลือกเส้นทางการเมืองแทนการเป็นนักธุรกิจ
Roosevelt เลือกเส้นทางการเมืองแทนการเป็นนักธุรกิจ

Roosevelt นั้นแสดงให้เห็นถึงตัวตนที่ชัดเจนของเขา เขาไม่ต้องการให้ใครมาบังคับเขาได้ไม่ว่าเรื่องใด ๆ ก็ตาม เขาได้เริ่มท้าทายบริษัทใหญ่ โดยออกกฏหมาย เพื่อให้มีการกดขี่ข่มเหงจากบริษัทใหญ่ ๆ และตอนนี้เป้าหมายใหญ่ที่สุดของเขาคือ การยกเลิกการผูกขาดที่ทรงพลังที่สุดของประเทศ

แต่ด้วยฐานะที่ร่ำรวยอยู่แล้ว มันทำให้เขาไม่สามารถซื้อได้ด้วยเงิน ดังนั้นเหล่าผู้มีอิทธิพล อย่าง Morgan และ Rockefeller นั้นต้องหาวิธีที่จะทำให้เขาอ่อนแอที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยทำทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้ Roosevelt นั้นขึ้นเป็นประธานาธิบดีได้

เมื่อการเลือกตั้งใกล้เข้ามาอีกครั้ง เหล่าผู้ท้าชิงจากปี 1896 ระหว่าง 
Mckinley กับ Bryan และมีผู้สนับสนุนเบื้องหลังมากมาย เพื่อหวังให้ Mckinley เอาชนะให้ได้อีกครั้ง เหล่าผู้มีอิทธิพลก็ใช้แผนเดิม ๆ ทำให้ Mckeinley นั้นสามารถกลับมาเป็นประธานาธิบดีได้อีกครั้ง

โดยจุดเปลี่ยนที่สำคัยคือ Roosevelt นั้นสามารถก้าวขึ้นมาเป็น รองประธานาธิบดีได้สำเร็จ แต่ต้องบอกว่าในสมัยนั้น ตำแหน่งนี้ไม่ได้มีอำนาจมากมายเหมือนอย่างในปัจจุบัน มันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ทั้ง Morgan และ Rockefeller ก็ต่างคิดว่าพวกเขาสามารถปกป้องอาณาจักรของตัวเองได้สำเร็จอีกครั้งหนึ่ง

Mckinley นั้นได้ดำรงตำแหน่งต่ออีก 4 ปี มันทำให้เหล่าผู้มีอิทธิพลนั้นสบายใจ และพร้อมที่ขยายอาณาจักรของพวกเขาให้ยิ่งใหญ๋ยิ่งขึ้นไปอีก แต่มันมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้เกิดขึ้น ในเดือนกันยายนปี 1901 นั้น ประธานาธิบดี Mckinley ได้เดินทางไปยังเมืองบัฟฟาโล เพื่อกล่าวสุนทรพจน์เชิดชูความรุ่งเรืองของอเมริกา 

แต่ความรุ่งเรืองนั้นกลับไปไม่ถึงทุกคน ผู้คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะผู้ยากจนนั้นต้องดิ้นรนเพื่ออยู่รอด พวกเขาต่างเบื่อความสัมพันธ์ระหว่าง Mckinley กับเหล่ายักษ์ใหญ่ทางธุรกิจที่กำลังผูกขาดประเทศอยู่

Leon Czolgosz เป็นอดีตคนงานในโรงงาน เขาเพิ่งเสียงานในบริษัทแห่งหนึ่งจากการที่ J.P Morgan ได้เข้าไป take over เพื่อรวมให้กลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง U.S Steel เขาเชื่อในลัทธิ Anachy โดยเชื่อว่าคนรวยตักตวงผลประโยชน์จากคนจน และเขามุ่งมั่นที่จะหยุดมันลงให้ได้ และเขาก็ได้ทำการลอบสังหาร ประธานาธิบดี Mckinley จนได้รับบาดเจ็บสาหัส หลังจากนั้นอีก 8 วันนับจากการลอบสังหาร ประธานาธิบดี Mckinley ก็เสียชีวิตไปในที่สุด 

Leon Czolgosz ลอบสังหาร Mckinley จนเสียชีวิตในที่สุด
Leon Czolgosz ลอบสังหาร Mckinley จนเสียชีวิตในที่สุด

และมันกลายเป็นแผนที่ผิดพลาดของเหล่าผู้มีอิทธิพลที่ไม่ได้วางเอาไว้หากเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่นนี้ เพราะตอนนี้ Roosevelt จอมต่อต้านการผูกขาดที่เป็นฝั่งตรงข้ามกับเหล่าผู้มีอิทธิพล กำลังจะขึ้นสู่จุดสูงสุดของอำนาจในการเป็นปรธานาธิบดีแทน Mckinley ที่เสียชีวิตไป

ตอนนี้ ทุกอย่างมันผิดแผนไปหมดแล้ว มันได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สำหรับเหล่าผู้มีอิทธิพลทั้งหมด Roosevlet นั้นส่งสัญญาณไปยังเหล่าผู้มีอิทธิพลทันทีว่า ควรตระหนักตัวให้ดีว่า พวกเขานั้นเป็นเพียงแค่นักลงทุน ไม่มีสิทธิ์อะไรที่จะมาใหญ่โตควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างได้อีกต่อไป

ส่วนตัวเขานั้นเป็นคนที่ถูกเลือกโดยประชาชน ให้มาบริหารประเทศ เขามีสิทธิอำนาจแบบเต็มมือในการจัดการทุกอย่าง ไม่นานเขาก็เริ่มแผนที่จะต่อกรกับเหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศทันที และเป้าหมายแรกของเขาคือ บริษัทอาณาจักรรถไฟ ที่ตอนนี้กลายเป็นของ J.P Morgan

Roosevelt นั้นไม่ใช่คนที่จะควบคุมอะไรได้เหมือนกับ Mckinley อีกต่อไปตอนนี้ เหล่าผู้มีอิทธิพลกำลังอยู่ในสถานกรณ์ลำบาก แม้ J.P Morgan จะพยายามเข้าไปพูดคุยด้วย แต่ก็ไม่ได้ผล 

Roosevelt ได้เริ่มฟ้องร้องต่อศาลรัฐบาลกลาง ในเรื่องการผูกขาดธุรกิจ ต่อบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย และมันเริ่มต้นด้วยชัยชนะทันที การผูกขาดธุรกิจรถไฟของ J.P Morgan ต้องพังทลายลงทันที 

เริ่มเดินหน้าฟ้องธุรกิจผูกขาดทั้งหลายต่อศาลรัฐบาลกลางทันที
เริ่มเดินหน้าฟ้องธุรกิจผูกขาดทั้งหลายต่อศาลรัฐบาลกลางทันที

และตัวอย่างแรกมันได้เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เหลือ ไม่นานหลังจากนั้น เขาก็ได้ถูกเลือกให้เป็นประธานาธิบดีในสมัยที่สองต่อทันที เขาได้เริ่มทำการฟ้องร้องการผูกขาดธุรกิจไปหลายสิบคดีต่อศาลรัฐบาลกลางสหรัฐ มันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกครั้งของประเทศอเมริกา ตอนนี้เหล่ายักษ์ใหญ่ทั้งหลาย ต้องมาเป็นฝ่ายตั้งรับบ้างแล้ว

จะเกิดอะไรขึ้นต่อ เมื่อถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญของอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ในอเมริกา การเข้ามากวาดล้างของ Roosevelt นั้นทำให้เหล่าผู้มีอิทธิพลยักษ์ใหญ่ ที่ตอนนี้เริ่มโรยราไปตามวัย ต้องพบกับสถานการณ์ที่ยากลำบากในการต่อสู้ ซึ่งตอนหน้าจะเป็นบทสรุปทั้งหมดของ ซีรี่ย์ชุดนี้แล้วนะครับ โปรดอย่าพลาดติดตามนะคร้าบ

–> อ่านตอนที่ 8 : Henry Ford (ตอนจบ)

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Cornelius Vanderbilt  *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

References : 
https://www.biography.com/people/jp-morgan-9414735
https://en.wikipedia.org/wiki/J._P._Morgan
https://en.wikipedia.org/wiki/Andrew_Carnegie
https://en.wikipedia.org/wiki/John_D._Rockefeller
https://www.history.com/topics/us-presidents/theodore-roosevelt
https://en.wikipedia.org/wiki/Theodore_Roosevelt
https://www.biography.com/people/theodore-roosevelt-9463424
https://en.wikipedia.org/wiki/William_McKinley
https://www.history.com/topics/us-presidents/william-mckinley
https://www.history.com/shows/men-who-built-america