Life Story of Bill Gates

ถือว่าเป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่สำหรับวงการ it โลกคนหนึ่งเลยทีเดียวสำหรับ Bill Gates ผู้ซึ่งได้สร้างอาณาจักร microsoft ให้ยิ่งใหญ่ได้จนถึงปัจจุบันนี้

Bill Gates นั้นเป็นผู้ที่ถือได้ว่ามีความอัจฉริยะ มาตั้งแต่เด็ก ๆ แล้ว เนื่องจากในยุคนั้นเป็นยุคแรก ๆ ของ computer ซึ่งไม่ค่อยมีโรงเรียนไหนได้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ซักเท่าไหร่ แม้กระทั่งในอเมริกา แต่ถือเป็นโชคดีของ gates ที่โรงเรียนมัธยมที่เค้าได้เข้าศึกษาในเมือง Seattle  ซึ่งถือว่า computer ก็เป็นสิ่งที่ bill gates หลงรักมาตั้งแต่นั้น

ในช่วงชีวิตมหาลัยในรั้ว harvard นั้น gates หมกมุ่นอยู่กับ computer แทบจะ 24 hrs ทำให้แทบจะไม่ค่อยได้เรียนซักเท่าไหร่ และเขาก็ได้เล็งเห็นโอกาสสำคัญของ Personal Computer ที่กำลังจะเกิดขึ้นในยุคนั้น โดยเริ่มต้นนั้นเขาได้พัฒนาตัว software ให้กับเครื่อง computer altair 8080  ซึ่งก็คือ Basic 1.0 นั่นเอง ซึ่งในตอนนั้น ๆ ยังไม่มีการซื้อ software กันเป็นที่แพร่หลาย คนทั่วไปจะมองค่าแค่ตัว hardware แต่ gates ก็ทำให้วงการยอมรับว่าต้องมี license ในส่วนของ software

หลังจากพัฒนา Basic ให้ Altair Gates ก็เห็นโอกาสอันยิ่งใหญ่ และทำให้ได้ออกจากการเรียนที่ harvard และมาตั้งบริษัทร่วมกับเพื่อนของเค้าอย่าง Paul Allen ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญกับ microsoft ในยุคแรก ๆ และในช่วงนั้น IBM ยักษ์ใหญ่ของตลาดในขณะนั้นกำลังเข้ามาทำตลาดในส่วนของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยเตรียมที่กำลังจะออก IBM PC  แต่ตอนนั้นยังไม่มี software เป็นของตัวเอง Gates จึงได้ไปนำเสนอระบบปฏิบัติการเพื่อให้รันได้กับ IBM PC โดยขายเป็น license fee ตามจำนวนเครื่องที่ IBM ขายได้

ในตอนนั้น gates ก็ยังไม่มีตัว software ระบบปฏบัติการใด ๆ และได้ทำการไปซื้อ MS-DOS มาโดยใช้เงินเพียงแค่ 50,000 เหรียญ แล้วนำมาขายให้กับ IBM ซึ่งเป็นช่วงเปิดตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลพอดีจึงทำให้ Gates กลายเป็นเศรษฐีไปในแทบจะทันที

และเนื่องจากช่วงนั้นในปลายปี 1990-1990 เป็นช่วงที่มีกระแสบูมสุดขีดของ personal computer ทำให้ยอดขายระบบ MS-DOS นั้นเป็นจำนวนเงินมหาศาล รวมทั้ง Gates ไม่ได้ขายให้กับ IBM เพียงเจ้าเดียว ซึ่งเจ้าไหนที่ทำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้นก็จะมีการขายระบบปฏิบัติการของ Bill Gates เข้าไปด้วย ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่มีการแข่งขันกับบริษัท apple ของ Steve Jobs ซึ่งทั้งคู่ก็กลายเป็นคู่แข่งกันอย่างยาวนาน ก่อนที่ลังจากนั้นถัดมาไม่นาน microsoft จะกินรวบตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกว่า 90% หลังจากได้ทำการออก windows 95, 98 และ XP ที่เป็นระบบปฏิบัติการที่มีคนใช้งานมากที่สุดในโลกในช่วงนึงเลยก็ว่าได้

นั่งเองก็ทำให้เขากลายเป็นมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลกอย่างอย่างนานเนื่องจากครองถือหุ้น microsoft ไว้กว่า 40%  และถึงแม้จะมีการฟ้องร้องด้านการผูกขาดตามมาภายหลังก็ตาม แต่ได้ถือว่าเค้าได้ทำลายคู่แข่งในตลาดไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งตลาดระบบปฏิบัติการที่มีคู่แข่งอย่าง Mac OS ที่แทบจะล้มละลายปิดบริษัทไปในช่วงนั้น และ ตลาดของ Browser ที่มีคู่แข่งในตอนนั้นอย่าง Netscape ก็ได้ล้มหายตายไปจากวงการไปเป็นที่เรียบร้อย

ถ้ามองดูตัว bill gates จริง ๆ นั้นถือว่าเป็นผู้บริหารที่มีความสามารถเป็นอย่างมาก การใช้กลวิธีต่างๆ  ในการต่อสู้กับคู่แข่งนั้น microsoft สามารถทำได้อย่างยอดเยี่ยม แต่ก็ตามมาด้วยการถูกตราหน้าว่าเป็นยักษ์ใหญ่ผู้เหี้ยมโหด มีการทำลายบริษัทคู่แข่งไปเป็นจำนวนมากเพื่อให้ตัวเองยึดครองตลาดอยู่เพียงฝ่ายเดียว  อย่างไรก็ตามหลังจากสงครามในยุคแรกจบ  และมาซึ่งสงครามครั้งใหม่ของบริษัท technology ด้าน internet กับคู่แข่งที่น่ากลัวอย่าง google นั้น เราก็ต้องดูกันต่อไปว่าบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง microsoft จะสามารถโค่น google ลงได้เหมือนที่เคยทำกับบริษัทอื่นๆ  ในอดีตได้หรือไม่

 

Book Review : คิดแบบ ลี กวน ยู

 

ถือเป็นหนังสือเล่มเล็กที่เปี่ยมไปด้วยเนื้อหาสรุปเรื่องราวความเป็นมาของประเทศสิงคโปร์ได้ดีทีเดียวสำหรับหนังสือ คิดแบบ ลี กวน ยู ของสำนักพิมพ์ แสงดาว

ความจริงแนวคิดการพัฒนาแบบสิงคโปร์นั้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างมาก สำหรับประเทศที่มีขนาดเล็กและแทบไม่มีทรัพยากรใด ๆ เลยอย่างประเทศสิงคโปร์ ลี กวน ยู นั้นถือเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาของประเทศสิงคโปร์อย่างมากตั้งแต่เริ่มต้นก่อตั้งประเทศสิงค์โปร์ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

เราลองมองย้อนกลับไปในยุคหลังสงครามโลกใหม่ๆ  ตอนนั้นถือว่าประเทศไทยเรานั้นยังเจริญกว่าสิงคโปร์มาก ๆ แถมเราก็ไม่ได้เป็นประเทศแพ้สงครามเสียทีเดียว บ้านเมืองเราก็ไม่ได้เสียหายอะไรมากถ้าเทียบกับเพื่อนบ้านเราที่ใช้เป็นเขตสู้รบซะส่วนใหญ่ ในตอนแรกนั้น สิงคโปร์เป็นเพียงแค่สหพันธรัฐหนึ่งของมาเลเซียเท่านั้น หลังจากรวมได้ไม่นาน ลี กวน ยูก็ต้องแยกออกเป็นประเทศอิสระ ซึ่งตอนนั้นเขาก็ไม่ได้อยากจะแยกจากมาเลเซีย เสียทีเดียว เนื่องจาก ประเทศสิงคโปร์ นั้นแทบจะไม่มีอะไรเลยทั้งทรัพยากรธรรมชาติ และ ทรัพยากรมนุษย์ ยังต้องพึ่งพาน้ำสะอาดจากมาเลเซียเสียด้วยซ้ำ แต่เนื่องจากความแตกต่างทางชาติพันธุ์มาก เนื่องจากส่วนใหญ่คนในเกาะสิงคโปร์นั้นเป็นชาวจีนอพยพ จึงมีวัฒนธรรมที่แตกต่างจาก มาเลเซีย ซึ่งเป็นชาวมุสลิม เสียเป็นส่วนใหญ่ทำให้อยู่ร่วมกันได้ยาก

หลังจากแยกออกมาเต็มตั้วนั้น แนวคิดหลักของ ลี กวน ยู ก็คือสร้างชาติใหม่ โดยเน้นเปิดรับการลงทันจากต่างชาติ และเนื่องจาก ที่ตั้งของสิงคโปร์นั้นเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางการเดินเรือที่สำคัญทำให้ เป็นข้อได้เปรียบเพียงข้อเดียวของสิงคโปร์ในขณะนั้น ที่จะทำให้เขาสร้างชาติขึ้นมาได้

ลี กวน ยู นั้นค่อนข้างจะเป็นผู้นำแบบแนวเผด็จการ โดยรวบอำนาจทั้งหมดไว้ และ ทำลายคู่แข่งด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ถือเป็นกลยุทธ หนึ่งที่ใช้ในการบริหารประเทศ เพราะมีนโยบายการพัฒนาระยะยาวที่ชัดเจนไม่ต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เมื่อเปลี่ยนผู้นำเหมือนหลายประเทศ และประชาชนก็มีชีวิต กินดีอยู่ดีขึ้นทำให้เลือกเขากลับมาทุกครั้งเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ และในสภานั้นก็มีอำนาจแทบจะเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

แนวทางในการบริหารนั้นเน้นพัฒนาคุณภาพของคนเป็นอันดับแรก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานของการพัฒนาสิงคโปร์มาจวบจนถึงปัจจุบันนี้ และเน้นการลงทุนโดยภาครัฐ ทั้งหมดผ่านกองทุนของประเทศอย่าง Government of Singapore Investment  Corporation ( GIC ) โดยลงทุนในหลาย ๆ ธุรกิจที่สำคัญอย่าง ธุรกิจการบิน ธนาคาร การลงทุน การเดินเรือ หรือ ทางด้านการแพทย์ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ลี กวน ยู เน้นการพัฒนาด้านการค้าการลุงทุน มีการจัดตั้งศูนย์กลางทางการเงิน เพื่อรองรับการเป็น hub ทางด้านการเงินของภูมิภาคนี้

ถ้าเปรียบกับประเทศไทยนั้นก็จะคล้ายกับในยุคของ นายก ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี จะเห็นได้ว่าเขาได้พยายามควบคุมอำนาจทุกอย่างไว้ และ บริหารแบบแนวเผด็จการ ซึ่งก็ไม่ต่างจากนาย ลี กวน ยูที่บริหารสิงคโปร์ ซึ่งผมมองว่า ถ้าเราบริหารประเทศไปด้วยแนวทางเดียวกันโดยใช้เวลาในช่วงเวลาหนึ่งนั้น ก็จะมีผลต่อการเติบโตของไทยเช่นเดียวกับการบริหารแบบสิงคโปร์ ซึ่งก็น่าคิดเหมือนกันว่า ถ้าหากนายก ทักษิณ นั้นได้บริหารประเทศมาต่อซัก 10-20 ปีนั้น ประเทศเราก็มีโอกาสที่จะก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วได้แบบสิงคโปร์หรือไม่ ซึ่งแนวคิดแบบนี้นั้นก็ work ในหลายประเทศ และก็ไม่ work ในหลายประเทศเช่นกัน โดยเฉพาะประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยสูงก็จะมีคนต่อต้านมากมายรวมถึงมีโอกาสที่ขัดกับผลประโยชน์กับบางกลุ่มได้เช่นเดียวกับในประเทศไทย

สุดท้ายหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ให้แนวคิดในการบริหารประเทศแบบเดียวกับสิงคโปร์ถึงจะมีเนื้อหาไม่มากนัก แต่ก็พอที่จะสรุปภาพรวมทั้งหมดของแนวคิดของลีกวนยูได้ ซึ่งก็แนะนำให้หามาอ่านเป็นอย่างยิ่งครับ

เก็บตกจากหนังสือ 

  • แนวความคิดแบบประชาธิปไตย แบบ กึ่งเผด็จการนั้น ในระยะสั้นเราอาจจะไม่เห็นภาพ แต่ถ้ามองในระยะยาวก็อาจจะ work ในการบริหารกับบางประเทศเช่นสิงคโปร์
  • ประเทศสิงคโปร์นั้น มีอายุเพียงแค่ 60 กว่าปีเท่านั้น แต่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วมาก ซึ่ง ก็มีโอกาสกับประเทศไทยเหมือนกัน ถ้าเดินเครื่องติด มันก็จะมีพลังงานในการขับเคลือนเศรษฐกิจไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วและใช้เวลาเพียงไม่กี่สิบปี ในการก้าวขึ้นไปเป็นประเทศพัฒนาแล้วอย่างสิงคโปร์ได้เช่นเดียวกัน
  • ประเทศสิงคโปร์นั้นเน้นการพัฒนาคน โดยเน้นทางด้านการศึกษาเป็นอันดับแรกทำให้ผู้คนมีความรู้สูงและส่วนใหญ่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างดีเยี่ยมทำให้ไม่เป็นอุปสรรคในการติดต่อกับต่างชาติ

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage : facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit : blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter : twitter.com/tharadhol
Instragram : instragram.com/tharadhol