ONDC กับการป้องกันการผูกขาดธุรกิจ Ecommerce แบบ Duopoly ของอินเดีย

ต้องบอกว่าสถานการณ์ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยกำลังเข้าสู่วงจรการผูกขาดแบบ Duopoly หลังจากการถอนตัวของ JD.com ที่ตอนนี้เหลือคู่แข่งเพียงแค่สองรายนั่นก็คือ Lazada กับ Shopee ซึ่งเราจะเห็นได้จากเทรนด์ที่เกิดขึ้นว่าตอนนี้ทั้งสองแทบจะไม่แข่งขันกันแล้ว

ถ้าไปดูตารางค่าคอมมิชชั่นต่าง ๆ เปรียบเทียบกับทั้งสองแพลตฟอร์ม ทั้งค่าขนส่ง ค่าคอมมิชชั่นในการขายสินค้าที่มีการปรับตัวขึ้นคล้าย ๆ กันด้วยตัวเลขที่ใกล้เคียงกันมาก

ซึ่งสถานการณ์รูปแบบเดียวกันนี้มันเกิดขึ้นแล้วในประเทศอินเดียเมื่อมีผู้ผูกขาดสองรายนั่นก็คือ Flipkart กับ Amazon ทางรัฐบาลอินเดียเห็นปัญหานี้ จึงได้หาวิธีในการแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง

ในบ้างเราเองทั้ง Lazada และ Shopee มีการอัดเม็ดเงินลงทุนมาหลายปีมีการยอมขาดทุนเป็นหมื่นล้าน สุดท้ายพวกเขาก็เริ่มที่จะมาทำกำไรกันแล้ว แม้ว่าอาจจะไม่ใช่จากธุรกิจอีคอมเมิร์ซโดยตรงแต่มันก็มีธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น ธุรกิจขนส่ง หรือบริการด้านการค้าต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์ม ที่ช่วยให้พวกเขาสามารถสร้างกำไรได้

แน่นอนว่าพวกเขาไม่ใช่นักบุญมันก็เป็นเรื่องแฟร์ที่พวกเขาต้องเอาสิ่งที่พวกเขาได้ลงทุนไปกลับคืนมา ซึ่งการแข่งขันในธุรกิจอีคอมเมิร์ซบ้านเรามีผู้ที่เข้ามาพยายามต่อสู้มากมาย เช่น 11Street จากเกาหลี หรือ Rakuten ที่จับมือกับ tarad.com หรือว่า JD.com เองก็ตาม แม้จะมีทุนใหญ่จากประเทศจีนหนุนหลังแต่ว่าสุดท้ายก็ไม่สามารถที่จะแข่งขันในตลาดนี้ได้ เพราะเป็นตลาดที่ค่อนข้างแข่งขันกันสูงมาก ๆ ถ้าทุนไม่หนาพอก็เป็นเรื่องยากที่จะขึ้นมาต่อกรกับสองยักษ์ใหญ่อย่าง Shopee และ Lazada

11Street จากเกาหลี ที่เปิดตัวปูพรมทั่วกทม. แต่ก็ม้วนเสื่อกลับไปอย่างรวดเร็ว (CR:Korea Time)
11Street จากเกาหลี ที่เปิดตัวปูพรมทั่วกทม. แต่ก็ม้วนเสื่อกลับไปอย่างรวดเร็ว (CR:Korea Time)

ในอนาคตรูปแบบของ Duopoly มันก็คือรูปแบบการผูกขาดอย่างหนึ่ง ในหลาย ๆ ธุรกิจเราจะเห็นได้ว่าโมเดล Duopoly เองไม่เป็นผลดีกับผู้บริโภค เพราะพวกเขาสามารถจับมือกันตกลงกันได้ในการผลักดันอะไรต่าง ๆ การคิดค่าบริการหรือการอัดโปรโมชั่นต่างๆ ที่เริ่มจะลดน้อยลงไป

แน่นอนว่าที่ผ่านมาทั้ง Shopee และ Lazada ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเสพติดการช็อปปิ้งออนไลน์ไปแล้ว ตอนนี้ส่วนตัวผมเองก็เป็นคนนึงเลยที่ส่วนใหญ่ก็จะเลือกซื้อสินค้าจากสองแพลตฟอร์มนี้ ทำการเปรียบเทียบราคาสินค้าชนิดเดียวกัน ซึ่งก็มีหลากหลายร้านค้าให้เลือกสรรค์

โดยเฉพาะสินค้าจากประเทศจีนเองตอนนี้พ่อค้าคนกลางก็ยากที่จะยืนหยัดอยู่ในแพลตฟอร์มเหล่านี้ เพราะว่าทางฝั่งจีนเองก็มีการมาตั้งโกดัง หรือแม้กระทั่งการส่งจากประเทศจีนเองหลายผลิตภัณฑ์ก็ไม่จำเป็นต้องรีบใช้ เราสามารถรอได้แต่ว่าได้มาในราคาที่ถูกมาก ๆ สินค้าบางชิ้น ราคาเพียงแค่หลัก 10 บาท หรือแม่กระทั่งหนึ่งบาทก็ยังมีขายในแพลตฟอร์มเหล่านี้

มันได้กลายเป็นสิ่งเสพติดให้กับพฤติกรรมผู้บริโภคให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากการไปซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้าปลีกต่าง ๆ เปลี่ยนมาช็อปปิ้งออนไลน์กันมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าปัญหาที่มันจะเกิดขึ้นแน่ ๆ ก็คือการผูกขาดทางด้านธุรกิจที่สุดท้ายเหลือคู่แข่งขันเพียงแค่สองรายกลายเป็นรูปแบบ Duopoly

ธุรกิจโทรศัพท์มือถือตอนนี้เราก็กำลังจะก้าวสู่จุดนั้นหรือธุรกิจบัตรเครดิตมี Visa กับ Mastercard ที่ครองส่วนแบ่งการตลาดแทบจะเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ มันก็คล้าย ๆ กัน สุดท้ายอีคอมเมิร์ซก็จะก้าวไปในจุด ๆ นั้น การแข่งขันก็จะลดลงไปผู้บริโภคก็อาจจะได้รับโปรโมชั่นต่าง ๆ น้อยลง

แต่ปัญหาของธุรกิจอีคอมเมิร์ซมันใหญ่มากเพราะว่ามันส่งผลต่อธุรกิจภายในประเทศเราหลายส่วน เมื่อทุนจากจีน สามารถบุกเข้ามาได้โดยตรงขายสินค้าราคาถูกที่ไม่ได้มาตรฐานแล้วก็ส่งข้ามประเทศกันมา โดยเฉพาะการมีนโยบายที่ปลอดภาษีสั่งสินค้าไม่เกิน 1,500 บาทก็แทบจะไม่ต้องเสียภาษี

นั่นทำให้สินค้าหลาย ๆ อย่างบุกเข้ามา เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน หลาย ๆ ธุรกิจตอนนี้คนที่เปิดโรงงานในประเทศไทยก็เริ่มจะลำบากเพราะโรงงานจากประเทศจีนสามารถส่งสินค้าขายโดยตรงมายังประเทศไทยได้สั่งเพียงหนึ่งชิ้นเขาก็ส่งมาได้

มันค่อนข้างเป็นเรื่องยากมาก ๆ ที่จะไปแข่งขันโดยเฉพาะกับพ่อค้าแม่ค้าชาวจีนปัญหานี้ในอินเดียมันก็เกิดขึ้นที่ก่อนหน้านี้ก็มีการแข่งขันกันหลายรายสุดท้ายมันก็มีการแข่งขันกันจนเหลือเพียงแค่สองรายนั่นก็คือ Amazon กับ Flipkart ที่มีเจ้าของคือ Walmart 

 Amazon กับ Flipkart ที่มีเจ้าของคือ Walmart  ที่ชิงส่วนแบ่งการตลาดแทบจะทั้งหมดของอินเดีย (CR:Business Insider India)
Amazon กับ Flipkart ที่มีเจ้าของคือ Walmart  ที่ชิงส่วนแบ่งการตลาดแทบจะทั้งหมดของอินเดีย (CR:Business Insider India)

อีคอมเมิร์ซในประเทศอินเดียถือว่าเป็นธุรกิจที่มีขนาดใหญ่เนื่องจากจำนวนประชากรอีกไม่นานก็คงจะแซงจำนวนประชากรในประเทศจีน อินเดียเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มากๆ รัฐบาลก็มองเห็นในส่วนนี้ว่าหากปล่อยให้มีการผูกขาดเกิด Duopoly มันไม่ได้เกิดประโยชน์กับผู้บริโภค

รวมถึงธุรกิจรายย่อย ๆ ในอินเดียเองสุดท้ายก็จะถูกขูดรีดจากแพลตฟอร์มเหล่านี้ เราสามารถจินตนาการได้เลยว่าสุดท้ายแล้วสถานการณ์ของอีคอมเมิร์ซในบ้านเรามันจะเป็นอย่างไร ค่าคอมมิชชันในการขายสินค้ามันจะสูงขึ้นไปถึงขนาดไหน สามารถดูที่อินเดียเป็นตัวอย่าง เพราะมีการปรับค่าคอมมิชชั่นต่าง ๆ ไปสูงถึง 15 ถึง 20%

ซึ่งส่วนตัวผมก็มองว่าในประเทศไทยเองหากเหลือเพียงแค่สองรายทั้ง Shopee และ Lazada มันมีโอกาสสูงมาก ๆ ที่ตัวเลขอาจจะถีบตัวไปสูงถึง 15 ถึง 20% ได้ ซึ่งจะทำให้พ่อค้าชาวไทยลำบากมากยิ่งขึ้น

การถือกำเนิดของ Open Network for Digital Commerce

อินเดียเห็นปัญหานี้ก็พยายามแก้ปัญหา พวกเขาได้เปิดตัวระบบที่มีชื่อว่า Open Network for Digital Commerce (ONDC) ที่ถือว่าเป็นแพลตฟอร์มกลางที่เป็นโอเพ่นซอร์สเป็นเครือข่ายแบบเปิดสำหรับการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายดิจิตอล พวกเขาจะสร้างมาตรฐานขึ้นมาใหม่โดยจะเป็นแบบเปิดไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์มใด ๆ

ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ได้โดยจะอยู่ใน ecosystem ทั้งหมดในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ มันคล้ายกับโปรโตคอลอย่าง http ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านอินเทอร์เน็ต แต่ ONDC จะเกิดขึ้นกับการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ

มันเป็นแนวคิดที่ถือว่าน่าสนใจมากๆ อินเดียเห็นปัญหาแล้วพยายามที่จะเข้ามาแก้ไข ผู้ให้บริการรวมถึงผู้บริโภคจะสามารถใช้แอปพลิเคชันใด ๆ ก็ได้ทำงานร่วมกันได้เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและจัดการธุรกรรมผ่านระบบ ONDC ที่จัดการโดยรัฐ

อินเดียจึงมองไปไกลมากกว่ารูปแบบการค้าแบบอีคอมเมิร์ซที่เน้นเป็นแพลตฟอร์มในปัจจุบัน ซึ่ง ONDC สามารถที่จะทำได้หลายอย่าง เช่น จัดการรายการสินค้า การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการคำสั่งซื้อ หรือรูปแบบการชำระเงิน

นั่นทำให้ธุรกิจขนาดเล็ก สามารถใช้แอปพลิเคชันที่เข้ากันได้กับ ONDC แทนที่จะถูกควบคุมจากแพลตฟอร์มบางแพลตฟอร์มโดยเฉพาะ

ส่งผลให้ผู้บริโภค ธุรกิจขนาดเล็ก สามารถถูกค้นพบได้ผ่านเครือข่าย สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ สามารถรองรับการชำระเงินแบบดิจิตอลได้ง่ายมากยิ่งขึ้นเพราะ ONDC จะทำให้อีคอมเมิร์ซครอบคลุมและเข้าถึงได้มากขึ้นสำหรับกลุ่มผู้บริโภค

ผู้บริโภคสามารถค้นหาผู้ค้า สินค้า หรือบริการใด ๆ โดยใช้แอพพลิเคชั่นหรือแพลตฟอร์มที่ต้องมาเชื่อมต่อกับ ONDC ซึ่งหากรัฐบาลเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์เหล่านี้เอง ทำให้สามารถบังคับให้แพลตฟอร์มทุกแพลตฟอร์มที่อยู่ในประเทศให้ต้องผ่านมาตรฐานนี้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มอิสระในการเลือกให้กับผู้บริโภคในท้ายที่สุด

ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าที่เหมาะสมกับพวกเขามากที่สุด สามารถเลือกสินค้าที่อยู่ในท้องถิ่นพวกเขาที่ต้องการได้ มีการส่งเสริมซัพพลายเออร์ที่อยู่ในท้องถิ่น มีการปรับปรุงประสิทธิภาพทางด้านโลจิสติกส์ของตนเอง

สุดท้ายผู้บริโภคก็ได้ประโยชน์หากเป็นการดำเนินการโดยรัฐเอง แม้อาจจะต้องอัดงบประมาณไปบ้าง แต่สุดท้ายแล้วมันก็เป็นสิ่งที่ดีที่สุดกับธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจในประเทศของพวกเขาเอง รวมถึงผู้บริโภคที่แม้ก่อนหน้านี้พวกเขาอาจจะถูกสปอยล์มาจากแพลตฟอร์มต่างประเทศ แต่สุดท้ายเมื่อรัฐลงมาดำเนินการมันก็ทำให้การแข่งขันต่าง ๆ เกิดความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้นในอนาคตนั้นเองครับผม

References :
https://ondc.org/
https://www.reuters.com/world/india/india-govts-open-e-commerce-network-ondc-expands-into-mobility-2023-03-23/
https://en.wikipedia.org/wiki/Open_Network_for_Digital_Commerce
https://techcrunch.com/2023/03/23/india-government-backed-open-e-commerce-network-expands-to-mobility/


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube