หมดยุคการแข่งขัน เมื่อแพลตฟอร์ม ecommerce เริ่มจับมือกันขึ้นค่าธรรมเนียมแบบสุดโหด

ต้องบอกว่ามันไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดกับการแข่งขันที่น้อยลงไปของแพลตฟอร์ม ecommerce โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ภาพใหญ่จากผลประกอบการมันชัดเจนมาก ๆ พวกเขาไม่สามารถขาดทุนไปมากกว่านี้ได้อีกต่อไป

Sea Group ที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์ม shopee นั้นกำลังถูกกดดันจากเหล่านักลงทุนอย่างหนัก เราจะเห็นข่าวการปลดพนักงาน หรือ ยุติกิจการของพวกเขาในหลาย ๆ ประเทศ

ตัวเลขขาดทุนที่เปิดเผยออกมาล่าสุดที่มีผลขาดทุนสุทธิ 931 ล้านดอลลาร์ ทำให้ Sea เจ้าของแแพลตฟอร์มอย่าง Shopee นั้นต้องมีการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจครั้งใหญ่ให้เริ่มสร้างกำไร

ส่วน lazada นั้นสร้างกำไรได้แล้ว แต่ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจขนส่ง ซึ่งเป็นขาหนึ่งใน ecosystem ของแพลตฟอร์ม ecommerce

และที่สำคัญโดยเฉพาะในประเทศไทยเอง เหมือนจะเหลือคู่แข่งกันเพียงแค่ 2 รายเท่านั้นในตอนนี้ jd.co.th ที่มาแรงในช่วงแรก ๆ ก็เหมือนจะไม่สามารถขึ้นมาเทียบเคียงกับ shopee หรือ lazada ได้

jd.co.th ที่ยังแย่งส่วนแบ่งการตลาดไม่ได้มากนัก (CR:Terrabkk)
jd.co.th ที่ยังแย่งส่วนแบ่งการตลาดไม่ได้มากนัก (CR:Terrabkk)

และถ้าใครเป็นพ่อค้าแม่ค้าในแพลตฟอร์มนั้น จะได้รับ mail ขึ้นค่าธรรมเนียมแบบรัว ๆ ซึ่งขึ้นมาทีละนิด ๆ แม้ตัวเลขเฉลี่ยมันจะเป็นตัวเลขเพียงเล็กน้อยที่ราว ๆ 1% เพียงเท่านั้น แต่การปรับแต่ละครั้ง ถือว่าส่งผลกระทบต่อพ่อค้าแม่ค้าที่ขายอยู่ในแพลตฟอร์มพอสมควรเลยทีเดียว

แล้วสิ่งที่สำคัญมาก ๆ มันเห็นสัญญาณชัดเจนถึงยุคการแข่งขันที่กำลังจะสิ้นสุดลง เพราะถ้าดูตัวเลขค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นมา ลองมาเปรียบเทียบของสองแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่นั้น แทบจะเท่า ๆ กัน ต่างแค่จุดทศนิยมนิดหน่อยเพียงเท่านั้น

เมื่อแบรนด์ยักษ์ใหญ่เริ่มหนีไปสร้างช่องทางการขายของตนเอง

ถ้าใครสังเกต เราจะเห็นได้ว่าช่วงนี้แบรนด์หลายแบรนด์ยักษ์ใหญ่ เริ่มโปรโมตช่องทางการขายของแพลตฟอร์มตัวเองหรือเว็บไซต์ของตัวเอง แทนที่จะพึ่งพา marketplace เป็นช่องทางหลักเหมือนเมื่อก่อน

ซึ่งเมื่อเราได้เห็นเทรนด์ที่ชัดเจน เรื่องการเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เพิ่มขึ้น มันก็เป็นสัญญาณชัดเจนว่า ในอนาคต อะไรก็เกิดขึ้นได้ อาจจะขึ้นไปถึง 10% 20% ก็ได้ใครจะไปรู้ ซึ่งคล้ายกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับแพลตฟอร์ม Ecommerce ของจีน หรือแม้กระทั่ง amazon ของอเมริกาที่บางหมวดหมู่มีค่าธรรมเนียมสูงถึง 20%++

เราจะเห็นได้ว่าพวกเขามีการสร้าง Ecosystem ที่ทำการชักจูงพฤติกรรมผู้บริโภคโดยใช้เงินทุนมหาศาลในการ ลด แลก แจก แถม แจกโปรโมชั่นกันอย่างบ้าคลั่ง ซึ่งเป็นเงินที่ระดมทุนมาแทบจะทั้งสิ้น ซึ่งเห็นได้จากตัวเลขการขาดทุนมหาศาลมาหลายปีแล้วของแพลตฟอร์มต่าง ๆ เหล่านี้

เพราะฉะนั้น สิ่งที่พ่อค้าแม่ค้า โดยเฉพาะเหล่าพ่อค้าคนกลางทั้งหลาย ควรทำกับแพลตฟอร์มเหล่านี้ คือ รีบโกยมาให้มากที่สุด ให้เร็วที่สุด และควรหาทางเลือกสำรองไว้ ที่เราสามารถ control ทุกอย่างได้บ้าง ตัวอย่างเช่น การสร้างเว๊บไซต์ของตัวเองขึ้นมาแทน เพราะยังไงหากเป็นบ้านของตัวเองก็ไม่มีใครสามารถมาเปลี่ยนอะไรเราได้อยู่แล้ว

แล้วเปลี่ยนมุมมองกับพวกแพลตฟอร์ม ต่าง ๆ เหล่านี้ ที่เรากำลังพึ่งพานั้นเป็นเพียงช่องทางหนึ่งในการขายเพียงเท่านั้น อย่ามองเป็นช่องทางทำรายได้หลักเด็ดขาด เพราะวันนึงพวกเขาจะเปลี่ยนนโยบายอะไรก็ได้ เราไม่สามารถที่จะ control อะไรได้เลย

ตัวอย่างมีให้เห็นมากมายแล้วที่อยู่ดี ๆ ก็เปลี่ยน policy ต่าง ๆ มากมาย ซึ่งสุดท้ายเราก็อยู่ไม่ได้ อย่างเช่นในแพลตฟอร์ม ใหญ่ ๆ หลายแห่งที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ เช่น Facebook ที่ปรับการเข้าถึง รวมถึงค่าโฆษณาที่แพงขึ้นอย่างมหาศาล

ซึ่งตอนนี้ในตลาด Marketplace มันก็ได้ส่งสัญญาณชัดเจนแล้วว่า มันถึงเวลาที่พวกเขาต้องกอบโกยเงินกลับ หลังจากที่ได้ถลุงเงินไปจำนวนมหาศาลเป็นเวลานานมากแล้วนั่นเองครับผม

Credit Image : disruptive.asia


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube