Gig Workers กับเส้นทางการต่อสู้เพื่อเอาชนะอัลกอริธึมของแพลตฟอร์มส่งอาหาร

“อย่ายึดติดกับอาชีพที่อยู่ในธุรกิจเผาเงินเป็นเด็ดอันขาด” คำ ๆ นี้ เรียกได้ว่าศักดิ์สิทธิ์จริง ๆ ที่ผ่านบทเรียนมานับต่อนับโดยเฉพาะกับธุรกิจสตาร์ทอัพที่ใช้การเผาเงินอย่างบ้าคลั่งสร้างการเติบโตอย่างรวดเร็ว จนหลอกผู้คนให้เข้ามาสร้างรายได้เยอะ ๆ ในช่วงแรก ๆ เสพติดกับมัน

ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอย่าง Delivery Service , Ecommerce หรือแม้กระทั่ง Social Media เอง ที่จะมีช่วงเวลาทำเงินมหาศาลในแพลตฟอร์มเหล่านี้ แต่หากคิดจะยึดเป็นอาชีพหลักในระยะยาว ต้องบอกว่าเป็นสิ่งที่คิดผิดมหันต์

เป็นบทความหนึ่งที่น่าสนใจจาก MIT Technology Review ที่มีงานวิจัยในเรื่องนี้ในประเทศอินโดนีเซียที่ต้องต่อสู้กับแพลตฟอร์มส่งอาหารชื่อดังอย่าง Gojek

สถานการณ์มันก็ไม่ต่างจากประเทศไทยเราเอง ในตอนแรกเหล่า Rider คิดเพียงแค่จะทำงานนอกเวลาหารายได้เสริม แต่พอเห็นรายได้จากธุรกิจเฟสเผาเงินที่มากกว่างานประจำที่ทำอยู่พวกเขาจึงได้ลาออกมาเป็น Rider เต็มตัว

และแน่นอนว่า ในไม่ช้าความจริงมันก็ปรากฎ เมื่อแพลตฟอร์มี Rider เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ งานก็ลดน้อยลง รายได้ก็ลดลงพร้อมกับอุปทานที่มากเกินไป

จากนั้นเมื่อเข้าสู่สงครามราคา มีคู่แข่งเข้ามาแข่งขัน Grab ที่เป็นคู่แข่งจากสิงคโปร์เข้ามาบุกอินโดนีเซีย สุดท้ายภาระก็ตกมาอยู่กับเหล่า Rider ที่ถูกบังคับให้ทำงานในเวลามากกว่าเดิมในขณะที่รายได้ไม่ขยับเพิ่มขึ้น

Suci Lestari Yuana นักศึกษาปริญญาเอกจาก Utrecht University ที่ได้ศึกษาความขัดแย้งและการโต้เถียงเกี่ยวกับเศรษฐกิจบนแพลตฟอร์มในอินโดนีเซีย กล่าวว่า

“พวกเขา (Rider) เฝ้ามองดูรายได้ที่ลดลง แต่พวกเขาไม่มีทางเลือกอื่นที่จะไปอีกแล้ว พวกเขาต้องพึ่งพาแพลตฟอร์มเหล่านี้เป็นอย่างมาก”

Kejo ในวัย 30 และเป็นพ่อของเด็กสาว 2 คน เริ่มขับสกู๊ตเตอร์ฮอนด้าเพื่อเริ่มงานในเวลา 19.00 น. เช่นเดียวกับ Rider หลาย ๆ คน เขาสวมโลโก้ของชุมชนผู้ขับขี่ Gojek on Twit หรือ GoT ซึ่งเป็นกลุ่มออนไลน์ที่รวมตัวกันของเหล่า Rider

อันที่จริงช่วงพีคที่สุดนั้นเขาสามารถสร้างรายได้ 700,000 ถึง 800,000 รูเปียห์ (ประมาณ 48-56 ดอลลาร์สหรัฐฯ) จนเมื่อปี 2016 Gojek ให้รางวัลแก่ “พาร์ทเนอร์คนขับ” ที่กระตือรือร้นที่สุดด้วยโบนัสมากมายที่สูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำของกรุงจาการ์ตา ที่ราว ๆ 320 ดอลลาร์ต่อเดือน

แต่ทุกวันนี้เขากลับทำเงินสูงสุดได้เพียงแค่ 300,000 รูเปียห์ (21 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เมื่อเวลาผ่านไป Gojek ก็ได้ยกเลิกโบนัสเหล่านี้ เมื่อจำนวน Rider เพิ่มมากขึ้นและเผชิญกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น

แต่ด้วยกลุ่ม GoT นั้น มีหลายคนที่เข้ามาแบ่งปันเคล็ดลับหรือข้อควรกังวัล หรือแม้กระทั่งเรื่องปัญหารายวันบนท้องถนน เช่น หากมี Rider ที่รถเสีย สมาชิกที่อยู่ใกล้เคียงก็จะมาช่วยทันที

เหล่า Rider จะตรวจสอบซึ่งกันและกันทุกวันตั้งแต่คำแนะนำเกี่ยวกับเส้นทางที่ดีที่สุดสำหรับการจัดส่งไปจนถึงกลยุทธ์ในการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น

ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด พวกเขาได้แจกจ่ายเงินและกล่องอาหารให้กับครอบครัวของกันและกัน ซึ่งช่วยให้พวกเขาฝ่าฝันอุปสรรคจากการ lockdown ช่วงโควิดมาได้

เมื่อเหล่า Rider ต่างผิดหวังกับรายได้ที่หดหายไป พวกเขาก็เริ่ม hack อัลกอริธึมของแพลตฟอร์ม เพื่อให้พวกเขาสามารถที่จะกลับมาควบคุมวิธีการสร้างรายได้ด้วยวิธีเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้

Kejo ชอบใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า “account therapy” ซึ่งเป็นวิธีการ hack อัลกอริธึมของ Gojek

เมื่อ order มันน้อยลง และเขาสังเกตเห็นว่าแอป Gojek จะเรียนรู้ความชอบของคนขับโดยการติดตามว่าพวกเขารับงานใด เขาจึงเริ่มปฏิเสธการสั่งอาหารซ้ำแล้วซ้ำอีกและยอมรับเฉพาะการเรียกรถโดยผู้โดยสารเท่านั้น หลังจากที่ทำสิ่งดังกล่าวเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ในที่สุดระบบก็จะเข้าใจ

ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดและมีการดาวน์โหลดมากกว่าครึ่งล้าน คือการหลอก GPS ของโทรศัพท์ พวกเขาสามารถหลอกแพลตฟอร์มว่าพวกเขากำลังทำงานอยู่ในขณะที่กำลังพักผ่อน

ซึ่งมันช่วยหลีกเลี่ยงการโดนบทลงโทษได้ และสามารถเลื่อนระดับบัญชีไปสู่ระดับที่สูงขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ทำให้มีศักยภาพในการสร้างรายได้มากขึ้น

เมื่อเร็ว ๆ นี้ GoT ได้ผลักดันปัญหาในเรื่องที่ Rider มักจะต้องจ่ายค่าจอดรถเองหากไปรับอาหารในห้างสรรพสินค้าหรือสำนักงานบางแห่งที่มีการคิดค่าจอดรถ

ซึ่งหลังจากที่พวกเขารณรงค์ต่อต้านนโยบายดังกล่าวนี้ ตอนนี้ Gojek ได้ให้ร้านค้าที่อยู่ในห้างสรรพสินค้าเป็นคนออกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้แทน

แม้ Gojek ได้เข้มงวดในการควบคุมแอปที่ไม่ได้รับอนุญาตและปราบปรามการละเมิดอย่างเข้มงวดมากขึ้น นอกจากนี้บริษัทยังเสนอแรงจูงใจให้กับ Rider ผ่านกลยุทธ์ต่าง ๆ เช่น การให้พวกเขาเข้าถึงคุณสมบัติใหม่ ๆ ก่อนใครและให้รางวัลแก่พวกเขา

แต่องค์กรที่เรียกว่า Asosiasi Driver Online กำลังวางแผนที่จะผลักดันการเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบเพิ่มเติม ซึ่งรวมถึงการผ่านกฎหมายเพื่อรับรองการทำงานแบบ Gig Workers ในระดับนโยบายของรัฐ ซึ่งจะทำให้กระทรวงคมนาคมและแรงงานสามารถบังคับใช้มาตรฐานขั้นต่ำสำหรับการปฏิบัติต่อ Rider ของแพลตฟอร์มเหล่านี้

ถือเป็น case study ที่น่าสนใจมาก ๆ นะครับสำหรับการรวมกลุ่มกันของ Rider ชาวอินโดนีเซีย ซึ่งสามารถผลักดันสิ่งต่าง ๆ ให้พวกเขาไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากแพลตฟอร์มมากจนเกินไป ซึ่งประเทศเราก็ควรจะมีการรวมตัวในรูปแบบนี้และเริ่มผลักดันสิ่งต่างๆ ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

เพราะสุดท้ายธุรกิจพวกนี้ มันคือธุรกิจเผาเงินที่ได้ผ่านพ้นเฟสเหล่านี้ไปแล้ว และพวกเขาเตรียมที่จะรีดรายได้คืนจากที่พวกเขาได้เสียไปจำนวนมหาศาลกลับคืนมาให้แพลตฟอร์มมากกว่าที่พวกเขาได้เสียไปนั่นเองครับผม

References : https://www.technologyreview.com/2022/04/21/1050381/the-gig-workers-fighting-back-against-the-algorithms


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube