NFTs have Fallen แม้แต่งานศิลป์ดิจิทัลระดับท็อปอย่าง Bored Ape ราคาก็ยังดิ่งลงเหว

ตลาดสำหรับโทเค็นที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้ (NFT) เช่น งานศิลปะของลิงเบื่อและนกเพนกวินตัวเล็กๆ นั้นกำลังเสื่อมถอย หลังจากยอดขายลดลงอย่างรวดเร็ว และราคาของ NFT ที่ได้รับความนิยมลดลงในช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา 

สินทรัพย์ของ Web3 ทั้งหลายแหล่ ที่อ้างว่าเป็นอนาคตของสุดยอดเทคโนโลยีสุดล้ำ ดำดิ่งสู่หายนะในปัจจุบัน เนื่องจาก NFT งานศิลป์ดิจิทัลราคาแพงที่เหล่าเซเลบต่างก็รัก มีมูลค่าลดต่ำลงอย่างน่าเหลือเชื่อมาก ๆ

Bloomberg  รายงานว่านี่น่าจะเป็นเดือนแรกนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2021 ที่ยอดขาย NFT จะไม่ถึง 1 พันล้านดอลลาร์จากตลาดโดยรวม 

ในขณะเดียวกัน NFT ที่มีมูลค่าสูงซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ซึ่งรวมถึงคอลเลกชั่นระดับท็อปของ Bored Ape Yacht Club ราคาลดลงถึง 30 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่านั้นในเวลาเพียงแค่ 30 วัน

“ตลาด NFT ตกดิ่งลงสู่ก้นเหวในเดือนมิถุนายน” Pedro Herrera หัวหน้าฝ่ายวิจัยของ DappRadar ตัวติดตามข้อมูลบล็อคเชนกล่าวกับ Bloomberg 

“ในขณะที่ตลาดเติบโตมากขึ้น แต่ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนกำลังมองหาสถานที่ที่ปลอดภัยกว่าเพื่อนำเงินของพวกเขาไปเก็บไว้ท่ามกลางการล่มสลายของ Terra และข่าวลือเกี่ยวกับแพล็ตฟอร์มต่าง ๆ ที่กำลังจะล่มสลายตามมารัว ๆ ในเร็ว ๆ นี้”

แม้แต่การเข้าซื้อกิจการแพลตฟอร์ม NFT ที่มีชื่อเสียง เช่นข้อตกลง ของ eBay ใน การซื้อตลาด NFT KnownOrigin และการซื้อ Genie ซึ่งเป็นตลาด NFT ของ Uniswap หรือแม้กระทั่งกิจกรรมล่าสุด เช่น งานประชุม NFT.NYC และงาน ApeFest 2022 ของ Bored Apes ในนิวยอร์ก ก็ล้มเหลวในการฟื้นฟูความกระตือรือร้นของนักลงทุนมือหนักที่จะเข้ามาจับจ่ายใช้สอยในตลาดนี้ 

eBay เข้าซื้อตลาด NFT KnownOrigin (CR:Forbes India)
eBay เข้าซื้อตลาด NFT KnownOrigin (CR:Forbes India)

ระดับมูลค่าต่ำสุดนี้เกิดขึ้นจากคดีละเมิดลิขสิทธิ์ที่ยื่นฟ้องโดยเจ้าของ BAYC อย่าง Yuga Labs ซึ่งได้ฟ้อง Ryder Ripps ศิลปินจาก LA ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของลิงเบื่อเครื่องจักรทำเงินอันล้ำค่าของเขา 

ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม Ripps ได้เปิดตัว RR/BAYC (Ryder Ripps Bored Ape Yacht Club) ซึ่งเป็นโครงการ NFT ที่ใช้ภาพและชื่อโดยตรงจาก BAYC ซึ่ง Yuga Labs อ้างว่า RR/BAYC ทำร้ายธุรกิจของพวกเขา

Ripps แย้งว่าโครงการ RR/BAYC “ใช้เพื่อเป็นการเสียดสีและการประท้วงและให้ความรู้แก่ผู้คน” เกี่ยวกับ BAYC และ NFT

เจ้าของ BAYC อย่าง Yuga Labs ซึ่งได้ฟ้อง Ryder Ripps ศิลปินจาก LA ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของเขา (CR:NFT News)
เจ้าของ BAYC อย่าง Yuga Labs ซึ่งได้ฟ้อง Ryder Ripps ศิลปินจาก LA ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของเขา (CR:NFT News)

คดีดังกล่าวจุดประกายให้เกิดการถกเถียง และอาจยืนยันอีกครั้งถึงความกลัว ความหวาดระแวง และแม้กระทั่ง การเยาะเย้ยเหล่ามหาเศรษฐีที่มักจะถูกหลอกให้ลงทุนกับสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้

ถึงแม้ว่าดัชนี NFT JPG จะลดลง 70% นับตั้งแต่เปิดตัวในเดือนเมษายน นักลงทุนและนักวิเคราะห์บางคนก็หวังว่าอุตสาหกรรมนี้จะต้องเผชิญกับความเจ็บปวดที่เพิ่มขึ้นไปอีกนาน

“ความบ้าคลั่งส่วนใหญ่ได้หายไปจาก NFT และพวกเขากำลังอยู่ในช่วงของการควบรวมกิจการ” Aaron Brown นักข่าวและนักลงทุนคริปโต กล่าว 

ในมุมมองระยะยาว Brown อาจจะพูดถูก แต่ในตอนนี้โลกของคริปโตกำลังปั่นป่วนไปทั่วทั้งกระดาน ไม่ว่าลิงดิจิทัลจะมุ่งหน้าไปสู่หายนะหรืออุตสาหกรรมจะอยู่ในช่วงความหนาวเย็นยะเยือกเพียงชั่วครู่ แต่เราก็ยังคงต้องรอติดตามกันต่อไปว่ามันจะไปสิ้นสุดลงเมื่อใด

References :
https://techcrunch.com/2022/07/01/openseas-13b-valuation-doesnt-make-sense-as-nft-trading-volumes-plunge
https://www.bloomberg.com/news/articles/2022-06-29/nfts-have-fallen-off-the-cliff-as-sales-sink-to-lowest-in-year
https://blockworks.co/nft-artists-struggle-to-price-mints-amid-crypto-crash/
https://www.theartnewspaper.com/2022/07/01/bored-ape-yacht-club-yuga-labs-lawsuit-ryder-ripps-infringement
https://www.artnews.com/art-news/news/yuga-labs-owner-of-bored-ape-yacht-club-nfts-sues-ryder-ripps-for-his-conceptual-knockoff-project-rr-bayc-1234632908/

NFT x OpenSea กับการโจรกรรม ฉ้อโกง และการฟ้องร้องใน NFT Marketplace ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

Chris Chapman เคยเป็นเจ้าของ NFT ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก Bored Ape Yatch Club ภาพดิจิทัลที่เป็นเอกลักษณ์ของลิงที่มีขนที่แหลมคมกำลังสวมชุดอวกาศ

Chapman ได้ลงทุนมหาศาลเพื่อให้ได้มันมาครอบครองในปีที่แล้ว ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เขาได้ลงประกาศขาย Bored Ape ของเขาใน OpenSea ซึ่งเป็นตลาดซื้อขาย NFT ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยตั้งราคาไว้ที่ประมาณ 1 ล้านดอลลาร์ และเขาก็หวังจะทำกำไรจากสิ่งนี้

แต่สองเดือนต่อ มันก็ได้เกิดเหตุการณ์ประหลาดขึ้น ในขณะที่เขากำลังพาลูกสาวไปที่สวนสัตว์ App OpensSea ได้มีการแจ้งเตือนถึงเขา ลิงตัวนี้ถูกขายไปในราคาประมาณ 300,000 ดอลลาร์ นั่นทำให้เขาช็อค!!

ต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจนะครับ นักต้มตุ๋นคริปโตใช้ประโยชน์จากข้อบกพร่องในระบบของ OpenSea เพื่อซื้อลิงตัวนั้นในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าของมันเป็นอย่างมาก

ทาง OpenSea ได้เสนอความรับผิดชอบให้กับ Chapman เป็นจำนวนเงิน 300,000 ดอลลาร์ ซึ่งเขาปฏิเสธ เพราะมองว่า มันเป็นความผิดพลาดที่ร้ายแรงของระบบ

Chapman เป็นหนึ่งในผู้สนใจคริปโตหลายคนที่ได้เริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับ OpenSea ที่เป็นเว็บไซต์คล้าย ๆ กับ eBay ที่ผู้คนสามารถมาเลือกสรรค์ NFTs นับล้าน ซื้อภาพและขายภาพของตัวเองได้

ในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา OpenSea ได้กลายเป็นตลาด NFT ที่มาแรงมาก ๆ เป็นหนึ่งในสตาร์ทอัพด้านคริปโตที่มีชื่อเสียงที่สุด ได้รับการระดมทุนกว่า 400 ล้านดอลลาร์ มีมูลค่าบริษัทสูงถึง 13.3 พันล้านดอลลาร์

แต่เมื่อ OpenSea เริ่มเติบโตขึ้น ก็เกิดการฉ้อโกง และโจรกรรมขึ้นมากมาย ตัวอย่างเรื่องที่เกิดขึ้นกับ Chapman ที่ได้สูญเสีย NFT ของเขาไปนั้น นำไปสู่การฟ้องร้องหลายเดือน ส่งผลให้ OpenSea ต้องจ่ายเงินมากกว่า 6 ล้านดอลลาร์ให้กับเขา

Chris Chapman กล่าวว่าข้อบกพร่องในระบบของ OpenSea ทำให้ผู้ค้าสามารถซื้อ NFT อันมีค่าของเขาได้ในราคาไม่ถึงหนึ่งในสามของราคาจริง (CR: The New York Times)
Chris Chapman กล่าวว่าข้อบกพร่องในระบบของ OpenSea ทำให้ผู้ค้าสามารถซื้อ NFT อันมีค่าของเขาได้ในราคาไม่ถึงหนึ่งในสามของราคาจริง (CR: The New York Times)

ต้องเรียกได้ว่า ปัญหาของ OpenSea นั้นมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งเรื่องระบบที่ช้าเป็นเต่า แฮ็กเกอร์เข้ามาขโมยผลงาน หรือ งานศิลปะที่ลอกเลียนแบบได้เผยแพร่ไปทั่วแพลตฟอร์ม

ศิลปินต่างโกรธแค้นที่เคยมองว่า NFT คือทางรอดในชีวิตของพวกเขา แต่กลายเป็นว่า ผลงานที่พวกเขาอุตส่าห์สร้างมากลับถูกขโมยไปดื้อ ๆ ซึ่งบริษัทกำลังเผชิญกับคดีฟ้องร้องอย่างน้อยสี่คดี และที่สำคัญที่สุดอดีตผู้บริหารของ OpenSea คนหนึ่งได้ถูกฟ้องร้องในข้อหาเกี่ยวกับการซื้อขายโดยใช้ข้อมูลวงในที่เกี่ยวข้องกับ NFT

ซึ่งด้วยความคิดของ OpenSea ที่ต้องการให้ศิลปินใช้งานง่าย ได้สร้างเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้คนสร้าง NFT ได้ด้วยการคลิกเพียงไม่กี่ครั้ง โดยแปลงรูปภาพปรกติให้กลายเป็นภาพใน blockchain ได้แบบง่าย ๆ นั่นทำให้เกิดการลอกเลียนแบบได้อย่างง่ายดายมาก ๆ

DeviantArt กลุ่มศิลปินที่เป็นเจ้าของโดยบริษัทพัฒนาเว็บไซต์ชื่อดังอย่าง Wix ใช้งานซอฟต์แวร์ที่สแกน NFT นับล้านทุกวันเพื่อตรวจจับภาพที่ลอกเลียนแบบจากผลงานของศิลปิน ซึ่งสามารถระบุ NFT ที่ถูกลอกเลียนแบบได้มากกว่า 290,000 รายการบน OpenSea และตลาด NFT อื่น ๆ

DeviantArt ที่ใช้การสแกน NFT เพื่อตรวจดูผลงานลอกเลียนแบบ (CR : Line Today)
DeviantArt ที่ใช้การสแกน NFT เพื่อตรวจดูผลงานลอกเลียนแบบ (CR : Line Today)

Aja Trier ศิลปินในเท็กซัสกล่าวว่า “พวกเขา (OpenSea) ทำให้แนวคิดของ NFT พังทลาย”

เอาจริง ๆ OpenSea ก็ถูกควบคุมโดยคนกลาง มันไม่ได้กระจายอำนาจอย่างแท้จริง ดูตัวอย่างข้อมูล insider ที่ผู้บริหารสามารถนำมาทำกำไรกับ NFT ในแพลตฟอร์มของตัวเองได้

มันแทบไม่ต่างจากแพลตฟอร์มเดิม ๆ ที่มีอยู่แล้วตัวอย่างเช่น Shutterstock ที่มีการซื้อขายผลงานศิลปะหรือรูปถ่ายมานานแสนนานแล้ว มันไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด แค่มีกรอบของคำว่า blockchain เข้ามาทำให้ OpenSea ดูน่าสนใจ

การปะทะกันระหว่างบริษัทกับผู้ใช้งานแสดงให้เห็นถึงความตึงเครียดที่เกิดขึ้น เทคโนโลยีอย่าง Web3 เป็นวิสัยทัศน์ในอุดมคติของอินเทอร์เน็ตที่เป็นประชาธิปไตยมากกว่าถูกควบคุมโดยบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เหมือนในยุคเก่า

แต่ถึงวันนี้ OpenSea ได้ชี้ให้เห็นถึงช่องโหว่ กับอุดมการณ์เพ้อฝัน โดยใช้คำหรู ๆ อย่าง blockchain เพื่อดึงดูดเงินจากนักลงทุน ซึ่งแพลตฟอร์มของพวกเขาก็แทบไม่ต่างจากบริการใน Web2.0 เลย เป็นแค่ gateway สร้างตลาดที่มีการควบคุมอย่างหลวม ๆ

ซึ่งนั่นเองที่เราได้เห็นการล่มสลายของหลากหลายแพลตฟอร์มที่เกิดขึ้นกับเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เกิดกับกลุ่มคนภายในแทบจะทั้งสิ้น ที่เห็นช่องทางในการทำกำไรสร้างรายได้มหาศาล เพราะตราบใดที่แพลตฟอร์มเหล่านี้ยังมีคนกลาง ความโลภของมนุษย์มันก็จะสามารถเอาชนะอุดมการณ์เพ้อฝันได้ทุกสิ่งนั่นเองครับผม

References :
https://www.nytimes.com/2022/06/06/technology/nft-opensea-theft-fraud.html
https://www.forbes.com/sites/johnhyatt/2022/04/05/the-richest-crypto-and-blockchain-billionaires-in-the-world-2022
https://www.nytimes.com/2022/01/04/business/opensea-13-billion-valuation-venture-funding.html
https://www.nytimes.com/interactive/2022/03/18/technology/nft-guide.html
https://indianexpress.com/article/technology/crypto/all-the-times-bored-ape-nfts-were-stolen-7955194/
https://variety.com/vip/bored-ape-yacht-club-theft-underscores-rising-risk-of-nft-ownership-1235286378/

Virtual Baby กับอนาคตทางเลือกใหม่ในการมีลูกแบบทามาก็อตจิ บนโลก Metaverse

Catriona Campbell ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์จากสหราชอาณาจักร ได้กล่าวว่าอีกไม่นานมนุษย์เราอาจเลี้ยงเด็กเสมือนจริงในรูปแบบของปัญญาประดิษฐ์ภายใน metaverse แทนที่จะมีการผลิตลูกเป็นมนุษย์จริง ๆ ออกมา

ลูกหลานสมมุติเหล่านี้ถูกเรียกว่า “เด็กทามาก็อตจิ” โดยอ้างอิงถึงสัตว์เลี้ยงเสมือนจริงยอดนิยมจากช่วงทศวรรษ 1990

ในหนังสือเล่มใหม่ของเธอ ” AI by Design: A Plan For Living With Artificial Intelligence ” Campbell ให้เหตุผลว่าเด็กเสมือนจริงเหล่านี้อาจเป็นคำตอบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูที่ถูกกว่าสำหรับการมีประชากรมากเกินไปและทรัพยากรที่จำกัด

ทารกเสมือนจริงสามารถ “แก้ปัญหาเร่งด่วนที่สุดบางอย่างในปัจจุบัน รวมถึงการมีประชากรมากเกินไป”

มุมมองของ Campbell ในเรื่องนี้สืบเนื่องมาจากปัญหาจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและกำลังมีผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม

เป็นที่น่าสังเกตว่า มีการคาดการณ์ว่าประชากรโลกจะเริ่มลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษปัจจุบัน นั่นเป็นสิ่งที่ทำให้ CEO ของ SpaceX อย่าง Elon Musk ตั้งประเด็นว่าว่าเราควรพิจารณาการมีลูกมากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาประชากรล้นเหมือนที่เกิดขึ้นในประเทศจีน

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญบางคนยังแนะนำว่าด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมของเด็กแต่ละคนจะเสื่อมโทรมลงอย่างมากเมื่อเวลาผ่านไป

ถึงกระนั้น Campbell ก็มั่นใจ และในขณะที่อาจฟังดูแปลก เธอคาดการณ์ว่าเมื่อ metaverse กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน มันจะกลายเป็นเรื่องปรกติเกี่ยวกับการเลี้ยงทารกในรูปแบบ AI บน metaverse

“เด็กเสมือนจริงอาจดูเหมือนเป็นเรื่องก้าวกระโดดครั้งใหญ่จากโลกที่เราอยู่ในทุกวันนี้” ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI เขียนไว้ในหนังสือของเธอ “แต่ภายใน 50 ปี เทคโนโลยีจะก้าวหน้าไปถึงระดับที่ทารกที่มีอยู่ใน metaverse จะแตกต่างจากเด็กในโลกแห่งความจริง.”

การเลี้ยง “ลูกทามาก็อตจิ” จะไม่ฟรีทั้งหมด เธอกล่าว แต่จะทำให้ “เข้าถึงได้อย่างกว้างขวางด้วยค่าบริการรายเดือนที่ค่อนข้างต่ำ”

ต้องบอกว่าเป็นแนวคิดที่น่าสนใจมาก ๆ นะครับ ที่ในอนาคตประชากรที่สูงอายุอาจจะสนใจที่จะเลี้ยงลูกเสมือนจริงในโลกดิจิทัลหรือไม่? ซึ่งไม่แน่มันอาจจะเกิดเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ขึ้นจริง ๆ ในโลกของ Metaverse ในอนาคตก็เป็นได้ครับผม

References :
https://www.theguardian.com/technology/2022/may/31/tamagotchi-kids-future-parenthood-virutal-children-metaverse
https://www.studyfinds.org/virtual-babies-digital-children-metaverse-catriona-campbell/
https://english.alarabiya.net/News/world/2022/06/02/Metaverse-will-lead-to-evolution-of-virtual-babies-who-grow-up-in-real-time-Expert

เมื่อ Music NFT จะกลายเป็น Next Breakthrough แอปพลิเคชั่นลำดับถัดไปในโลกของ crypto

James Gardin เป็นนักดนตรีมากว่า 15 ปี คุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลงตามกระแสเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป อย่างแรก เขามีเพลงที่ดังใน แพล็ตฟอร์มสตรีมมิ่งชื่อดังอย่าง Spotify ซึ่งพุ่งขึ้นมาในช่วงต้นปี 2010 แล้วก็ยังมีเพลงใน Apple Music อีกด้วย ทุกวันนี้ เขายุ่งอยู่กับการสร้างเพลงของตัวเองในตลาดเพลง NFT ที่เห็นได้ชัดว่ามอบความยุติธรรมให้กับนักดนตรีมากกว่าเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มแบบเดิมๆ

นักดนตรีในสหรัฐฯ ชนะการต่อสู้ด้วยเพลงแบบโหวตสดเพื่อแปลงเพลงล่าสุดของเขา “Parade” เป็น NFT โดยถูกขายผ่าน แพลตฟอร์มบล็อกเชนเพลง Catalog ในอีกสี่วันต่อมาในราคา 0.5 อีเธอร์ (1,635 ดอลลาร์สหรัฐ)

ในที่สุดนักดนตรีก็ได้รับ 0.3 อีเธอร์กลับบ้าน หรือประมาณ 900 ดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากจ่ายค่าแก๊สประมาณ 80 ดอลลาร์สหรัฐฯ และจ่ายส่วนแบ่ง 15% ให้กับ Phlote ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่กระจายอำนาจซึ่งดำเนินการแสดงเพลงโหวตสดทุกสัปดาห์ 

เขายังจะได้รับเงินจากกรณีมีการขายต่ออีก 20% แม้ว่าราคาอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ระหว่าง 0% ถึง 100% ในครั้งต่อไปที่ NFT ถูกขายต่อ Gardin เป็นหนึ่งในศิลปินเพลงจำนวนมากที่หันมาใช้แพลตฟอร์มบล็อคเชนเพื่อสำรวจแหล่งรายได้ใหม่ๆ

ในยุคของการสตรีม Spotify เป็นผู้เล่นที่โดดเด่นที่สุดในภาคธุรกิจที่กำลังเติบโตนี้ โดยสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีที่แล้วโดยเป็นผู้เล่ารายใหญ่ในอุตสาหกรรมเพลง และจ่ายเงินให้กับศิลปินสูงที่สุดซึ่งอยู่ที่ 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

James Gardin ที่เปิดช่องทางหารายได้รูปแบบใหม่ ๆ ผ่าน Music NFT (CR:marmosetmusic)
James Gardin ที่เปิดช่องทางหารายได้รูปแบบใหม่ ๆ ผ่าน Music NFT (CR:marmosetmusic)

ทว่าศิลปินรวมถึงแร็ปเปอร์ซุปเปอร์สตาร์ Kanye West กล่าวว่าแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งไม่ได้ชดเชยอย่างยุติธรรมสำหรับต้นทุนและความพยายามในการสร้างเพลง ศิลปินที่สตรีมบน Spotify ต้องมีผู้ฟัง 250 คนเพื่อสร้างรายได้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ อิงจากรายได้เฉลี่ย 0.004 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเพลงหลังจากแชร์ค่าลิขสิทธิ์กับค่ายเพลง ผู้จัดจำหน่าย และบุคคลที่สามอื่นๆ

แพลตฟอร์มบล็อกเชนเพลง เช่น Catalog และ Sound.xyz วางตำแหน่งตัวเองให้เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับศิลปินอิสระในการแชร์เพลง สร้างชุมชน สร้างโทเค็นให้กับเพลงของพวกเขา และรับเงินเป็นสกุลเงินดิจิทัลทันที รายได้ของศิลปินนั้นอาจน้อยกว่าค่าแก๊สและค่าคอมมิชชั่นขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์ม Spotify เองก็กำลังทดลองกับโทเค็นดิจิทัลที่เชื่อมโยงกับศิลปิน

บางแพลตฟอร์ม เช่น Opulous ก้าวไปอีกขั้น บริษัทกล่าวว่าเป็นแพลตฟอร์มเพลงเพียงแพลตฟอร์มเดียวที่เสนอการแบ่งปันรายได้ใน NFT ที่มีลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา โดยขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างศิลปินและ Opulous

โดยจะมีค่าลิขสิทธิ์เพลง ค่าลิขสิทธิ์การเผยแพร่เนื้อหา หรือทั้งสองอย่าง นี่เป็นช่องทางสำหรับแฟนเพลงที่กระตือรือร้นในการสนับสนุนศิลปินที่พวกเขาชื่นชอบ ในขณะที่เป็นการสร้างรายได้แบบ Passive ให้กับศิลปิน หากโทเค็นมีมูลค่าเพิ่มขึ้น

Opulous กำลังทำงานเกี่ยวกับฟีเจอร์ใหม่ที่จะช่วยให้ศิลปินสามารถกู้ยืมเงินจากบริษัทได้ โดยอิงจากรายได้ที่คาดการณ์ไว้จาก NFT ของพวกเขา เมื่อเปิดตัว ศิลปินจะสามารถยืมเงินกู้ในสกุลเงินที่มีเสถียรภาพ เช่น USDC และแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดผ่านการแลกเปลี่ยน crypto ที่ต้องการได้ โทเค็นของ Opulous คือ OPUL จดทะเบียนในตลาดแลกเปลี่ยน 11 แห่ง และซื้อขายที่ 0.70 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในตอนนี้

“เราต้องการเปิดช่องทางให้ศิลปินเข้าถึงเงินสดล่วงหน้าโดยใช้รายได้จากค่าลิขสิทธิ์เพลงในอนาคตเป็นหลักประกันในการให้เงินกู้ยืมแก่นักดนตรี” Opulous COO Miles Carroll กล่าว

เขาเสริมว่า: “ยิ่งศิลปินมีรายได้มากขึ้น [ผ่านการจ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์เพลง] จำนวนเงินกู้ที่พวกเขามีสิทธิ์ได้รับก็จะสูงขึ้น”

การเผยแพร่เพลงก็ไม่ต่างจากการเล่นเกมเพื่อหารายได้

ศิลปินพยายามอย่างหนักที่จะเจรจากับแพล็ตฟอร์มและค่ายเพลงที่จำหน่ายเพลงของพวกเขา แต่ศิลปินอินดี้ประสบปัญหาที่หนักอึ้งตั้งแต่เริ่มแรก เพราะมันเป็นการท้าทายที่จะเผยแพร่เพลงของพวกเขา และเมื่อทำเช่นนั้น พวกเขามักจะไม่โดดเด่นเท่าศิลปินกระแสหลัก ที่ได้รับการโปรโมตในงบประมาณที่ค่อนข้างสูง

Cadenverse บริษัทที่แยกตัวออกจาก Amanotes บริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีเพลงในเวียดนามกำลังทดลองใช้แนวทางใหม่ในแพลตฟอร์ม NFT ด้านดนตรีกับเกม play-to-earn (P2E)

ที่รู้จักกันดีที่สุดสำหรับ Magic Tiles 3 เกมเพลงง่ายๆ ที่เล่นคล้ายกับ Guitar Hero ซึ่ง Amanotes กล่าวว่ามียอดดาวน์โหลดมากกว่าสองพันล้านครั้งและมีผู้ใช้งานมากกว่า 120 ล้านคนต่อเดือน

Magic Tiles 3 เกมเพลงง่ายๆ ที่เล่นคล้ายกับ Guitar Hero (CR:Khmerbuddha)
Magic Tiles 3 เกมเพลงง่ายๆ ที่เล่นคล้ายกับ Guitar Hero (CR:Khmerbuddha)

ความเชี่ยวชาญของ Amanotes ในเกมเพลงบนมือถืออาจทำให้ Cadenverse แตกต่างไปจากเพลง NFT ซึ่งคาดว่าจะเป็นแอปพลิเคชั่นฝ่า BreakThrough ใหม่สำหรับเทคโนโลยีบล็อคเชน

Vincent Hoang ซีอีโอ ของ Cadenverse กล่าวว่า “เป็นเรื่องยากสำหรับศิลปินอินดี้ที่จะสร้างรายได้ ใน Spotify หรือ Apple Music ก่อนหน้าที่จะมาทำงานกับ Cadenverse Hoang เป็นหัวหน้าฝ่ายเกมที่ Amanotes เขากล่าวว่าประโยชน์ที่สำคัญของการทำสัญญาค่าลิขสิทธิ์บนบล็อคเชนคือไม่ต้องมีคนกลาง เช่น ทนายความและผู้ดูแลระบบค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งช่วยลดต้นทุนการออกใบอนุญาต

“ด้วยบล็อกเชน เราจะเชื่อมต่อศิลปินกับผู้บริโภคเพลงโดยตรง” Hoang กล่าวเสริม ศิลปินใน Cadenverse สามารถสร้างโทเค็นให้กับเพลงของตนให้กลายเป็น “เกมเพลง NFT” ซึ่งควบคุมการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ทุกครั้งที่ใช้เพลงในเกมใดเกมหนึ่ง หรือเป็น “เพลงในรูปแบบ Collection NFT” ซึ่งสามารถซื้อและขายได้ในตลาดกลางของ NFT

โทเค็นทั้งสองประเภทจะมีการส่งเสริมกัน เกมเพลง NFT ให้ประโยชน์สำหรับแทร็กเพลงและการเปิดรับเพิ่มเติมสำหรับศิลปินอินดี้ที่อาจพบว่าผู้ฟังค้นพบได้ยาก 

ดังนั้นศิลปินจึงมีอิสระในการขายเพลงเดียวกันบนแพลตฟอร์มที่แตกต่างกัน เนื่องจาก Cadenverse สร้างขึ้นบน Polygon ซึ่งเป็น Ethereum Layer 2 ค่าธรรมเนียมแก๊สจึงต่ำกว่า

Cadenverse ระดมทุนได้ 1 ล้านเหรียญสหรัฐจนถึงปัจจุบัน มีกลุ่มที่เข้ามาลงทุนทั้ง Kyber Network และ Tomochain เป็นผู้สนับสนุน ขณะนี้กำลังระดมทุนผ่านการขายส่วนตัวและในรูปแบบ governance token

โทเค็น Cadenverse หรือ CDV ซึ่งกำหนดให้จดทะเบียนในแพล็ตฟอร์มการแลกเปลี่ยนแบบกระจายอำนาจในเดือนพฤษภาคม เกม P2E เกมแรกของบริษัทคือ Looper Band อยู่ในช่วงเบต้าและสามารถดาวน์โหลดได้ 

ในขณะเดียวกัน ตลาดสำหรับ Collection เพลง NFT มีกำหนดจะเผยแพร่ในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า ในขณะที่แพลตฟอร์มสำหรับเพลงเกม NFT จะเปิดตัวในไตรมาสที่ 2 ของปี 2023

ข้อดีของ play-to-earn (P2E)

นักดนตรีอย่าง Gardin กำลังกระโดดเข้าสู่แพลตฟอร์ม Web3 เพื่อทำความคุ้นเคยกับ NFT แต่ความท้าทายที่ใหญ่กว่าคือการทำให้ฐานแฟนๆ ที่มีอยู่ของพวกเขาหันมาใช้คริปโต

เนื่องจากผลประโยชน์ที่มาพร้อมกับมัน เช่นการเข้าถึงที่นั่งในคอนเสิร์ตแถวหน้าปกอัลบั้มพิเศษ และสินค้าของที่ระลึกต่าง ๆ แต่ในตอนนี้ผู้ฟังส่วนใหญ่ยังคงใช้บริการสตรีมมิ่ง เช่น Spotify เนื่องจากมีคลังเพลงขนาดใหญ่จากศิลปินยอดนิยม ผู้ใช้ส่วนใหญ่ยังต้องการทำธุรกรรมโดยใช้เงินสดสำหรับคอนเสิร์ตหรือสินค้า

แนวทางของ Cadenverse ในการใช้เกม P2E สามารถเชื่อมช่องว่างนั้นได้โดยเข้าถึงฐานผู้ใช้ทั่วโลก ทำให้ศิลปินอินดี้ได้สัมผัสกับฐานแฟนคลับที่พวกเขาอาจไม่สามารถเข้าถึงได้จากอย่างอื่น

 Cadenverse ในการใช้เกม P2E สามารถเชื่อมช่องว่างนั้นได้โดยเข้าถึงฐานผู้ใช้ทั่วโลก (CR: Twitter)
Cadenverse ในการใช้เกม P2E สามารถเชื่อมช่องว่างนั้นได้โดยเข้าถึงฐานผู้ใช้ทั่วโลก (CR: Twitter)

ณ เดือนธันวาคม 2021 มีผู้คนประมาณ 2.5 ล้านคนเล่นเกม P2E ยอดนิยม Axie Infinity  Hoang กล่าวว่า Cadenverse จะกำหนดเป้าหมายผู้ใช้งาน 120 ล้านคนต่อเดือนของ Amanotes ผ่านการโปรโมตข้ามแพลตฟอร์ม 

ผู้ใช้จะกลับมาสนับสนุนศิลปินที่พวกเขาชื่นชอบอย่างต่อเนื่องโดยการซื้อ NFT เขากล่าวเสริม ในขณะที่ Opulous กำลังมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบนิเวศทางการเงินแบบกระจายศูนย์ ซึ่งรวมถึง Launchpad และแพล็ตฟอร์มการแลกเปลี่ยน NFT และอาจให้สินเชื่อคริปโตแก่ศิลปิน แต่ก็ไม่ได้ปิดกั้นในการรวมคุณสมบัติการเล่นเกมเข้ากับแพลตฟอร์ม 

“เห็นได้ชัดว่าการเล่นเกมเป็นกลุ่มตลาดขนาดใหญ่ในบล็อคเชน และเราพร้อมที่จะสำรวจความเป็นไปได้ของ Opulous ในอนาคต” Carroll กล่าว

บทสรุป

เนื่องจากแพลตฟอร์มเพลง NFT ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น  ในแต่ละเดือน มีศิลปินเพียงไม่กี่คน ที่ได้รับเชิญมาใช้งานแพล็ตฟอร์มเหล่านี้เท่านั้น

ตัวอย่าง แคมเปญ “Mona Lisa” ของแร็ปเปอร์ชาวอเมริกัน Lil Pump ปิดราคาที่ 500,000 เหรียญสหรัฐในสองชั่วโมง ในขณะที่แร็ปเปอร์ชาวอังกฤษ Ard Adz ระดมทุน 50,000 เหรียญสหรัฐจากการขาย NFT ที่ควบคุมลิขสิทธิ์ให้กับซิงเกิลที่ยังไม่วางจำหน่ายของเขา “Patek Myself,” ภายใน 45 นาที

สำหรับศิลปินหลายๆ คน การเข้าถึงชุมชนผู้ฟังที่ “ถูกต้อง” ถือเป็นสิ่งสำคัญ “ไม่ว่าชุมชนจะใหญ่แค่ไหนหรือว่าเพลงของคุณ ‘ดี’ แค่ไหน หากผิดกลุ่ม ก็ไม่มีโอกาสในการพัฒนา” Binh Le นักดนตรีจากเวียดนามกล่าว

Le ซึ่งใช้ชื่อในวงการว่า Dozen Districts กำลังพิจารณาที่จะอัปโหลดเพลงของเขาไปยัง Cadenverse เมื่อตลาดเพลง NFTซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่เขาเผยแพร่เพลงบนแพลตฟอร์ม Web3

ต้องบอกว่าศิลปินหลายคนไม่ได้มีความจู้จี้จุกจิกเกี่ยวกับแพลตฟอร์มที่พวกเขาเผยแพร่ “ฉันคิดว่าจุดประสงค์ของ Web3 คือการกระจายอำนาจ ดังนั้นแพลตฟอร์มจึงเป็นเพียงเครื่องมือ ฉันไม่จำเป็นต้องจงรักภักดีหรือผูกขาดกับพวกเขาไปตลอด” Gardin กล่าว

แม้จะประสบความสำเร็จในการหาประโยชน์จากแพลตฟอร์มบล็อกเชนเพลง NFT แต่ Gardin ก็ไม่ได้วางแผนที่จะละทิ้งแพลตฟอร์มหลักโดยสิ้นเชิง “ฉันชอบแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งที่ใช้งานง่ายและเข้าถึงเพลงได้มากมาย ฉันชอบที่จะได้รับเงินสำหรับการสตรีม แต่ฉันมองว่าการสตรีมเป็นเครื่องมือสำหรับการค้นพบเพลงใหม่ๆ ได้”

เขาอธิบายถึงแพล็ตฟอร์มหลักตั้งแต่บริการสตรีมมิ่งไปจนถึงค่ายเพลงรายใหญ่ต่างมองหาการรวมความสามารถของ Web3 เข้ากับแพลตฟอร์มของพวกเขาที่มีอยู่แล้ว 

มีรายงานว่า Spotify กำลังวางแผนที่จะเพิ่มเทคโนโลยีบล็อคเชนและ NFT ให้กับบริการสตรีมมิ่งเพื่อป้องกันการแข่งขันจาก สตาร์ทอัพด้านคริปโต 

โฆษกของ Spotify ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนสำหรับ NFT และบล็อคเชน เมื่อต้นปีนี้ Warner Music Group ร่วมมือกับ Splinterlands ผู้พัฒนาบล็อกเชนเพื่อให้ศิลปินที่ได้รับการคัดเลือกมีโอกาสสร้างเกมบล็อกเชน P2E สไตล์อาร์เคด

“หนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับนักดนตรีอิสระคือการเข้าถึงเงินทุนเพื่อใช้ในอาชีพของพวกเขา” Shirlyn Tan นักร้องนำของวง Shirlyn + The UnXpected ในสิงคโปร์และผู้จัดการสำนักงานที่ Opulous กล่าว 

“ศิลปินอินดี้อาจไม่มีทางเข้าถึงเครือข่ายแฟน ๆ ที่กว้างขวาง และแน่นอนว่ามันสามารถทำได้ แต่ก็ใช้เวลานานมาก”สิ่งที่แพลตฟอร์ม NFT เช่น Opulous ทำคือ “ให้พวกเขาเข้าถึงฐานแฟนเพลงที่จัดตั้งขึ้นโดยตรงผ่านชุมชนนักลงทุนและแฟนเพลงของเราเอง” Tan กล่าวปิดท้าย

References :
https://www.techinasia.com/music-nfts-breakthrough-application-crypto
https://thesolesupplier.co.uk/news/heres-why-music-nfts-are-the-next-big-thing/
https://cryptoslate.com/nfts-will-empower-musicians-to-take-back-control/
https://www.forbes.com/sites/bobbyowsinski/2021/03/07/will-nfts-finally-fulfill-the-blockchain-promise-to-music

Play2Earn x Blockchain สามารถขับเคลื่อนกระบวนทัศน์ในการสร้างเศรษฐกิจของเกมยุคใหม่ได้อย่างไร

ต้องบอกว่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา รูปแบบธุรกิจที่โดดเด่นในอุตสาหกรรมเกมคือ Free2Play ซึ่งโมเดลนี้ได้มอบประสบการณ์พื้นฐานของเกมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จากนั้นจึงค่อยสร้างรายได้จากฐานผู้เล่นผ่านโฆษณาและการซื้อของในแอป

และที่สำคัญเมื่อเวลาผ่านไปรูปแบบธุรกิจนี้ประสบความสำเร็จอย่างมหาศาล โดยช่วยสร้างอุตสาหกรรมมูลค่า 159 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งในขณะนี้มีขนาดมากกว่าสองเท่าของอุตสาหกรรมภาพยนตร์และดนตรีทั่วโลกรวมกันเสียด้วยซ้ำ

การเติบโตอย่างมากนี้เริ่มต้นขึ้นในปี 2007 เมื่อ iPhone เปิดตัวและสมาร์ทโฟนและเริ่มแพร่หลายอย่างรวดเร็ว จนทุกวันนี้ อุตสาหกรรมเกมบนมือถือเพียงอย่างเดียวมีมูลค่า 77 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็น 48% ของตลาดเกมทั้งหมด

การสร้างรายได้จากการล่าเหยื่อ

เกมบนมือถือใช้กลยุทธ์การสร้างรายได้บางอย่างเพื่อหลอกล่อผู้เล่นให้ซื้อ “ชุด” ของไอเท็มในเกม ผู้เล่นจะได้รับตัวเลือกในการซื้อ ซึ่งปกติจะมีราคาตั้งแต่ 1.99 ถึง 99.99 ดอลลาร์ ซึ่งรวมถึงกล่องของขวัญ การเพิ่มตัวละคร และสกุลเงินในเกมที่จะช่วยให้พวกเขาเก่งขึ้นและโดดเด่นยิ่งขึ้นในเกม

ในที่สุด โมเดลนี้ก็ได้กลายเป็นสภาพแวดล้อมของ “Pay2Win” ซึ่งผู้ที่มีรายได้มากที่สุด ที่เรียกว่า “whales (ปลาวาฬ)” จะมีความได้เปรียบโดยการซื้อไอเทมที่เหนือชั้นและใช้เวลาดำเนินการในสิ่งต่าง ๆ เร็วขึ้น ไอเท็มที่ดีที่สุดมักจะหาได้จากการซื้อแบบสุ่มผ่านกล่องของขวัญเท่านั้น (โดยมีโอกาส <1% ที่จะดรอปได้)  

นั่นทำให้ผู้เล่นส่วนใหญ่เสียเปรียบ เนื่องจากพวกเขาไม่สามารถจ่ายได้หรือไม่ต้องการจ่าย และจะต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนในการเล่นเพื่อให้ได้ไอเท็มเดียวกันแบบฟรี ๆ

ตามรายงานของ Facebook Gaming พบว่า 61% ของเกมเมอร์กล่าวว่าพวกเขารู้สึกเสียใจหลังการซื้อเกมที่ต้องมีการซื้อไอเทมเพิ่มเติมในเกม เพื่อให้สามารถเล่นแข่งขันกับผู้อื่นได้

ในขณะที่ Free2Play ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จในการช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมให้ก้าวไปข้างหน้าในทศวรรษที่ผ่านมา เรากำลังเข้าสู่ยุคใหม่ที่จะปฏิเสธการสร้างรายได้จากเหล่า whales มากขึ้น และจะเปลี่ยนผ่านสู่โมเดลที่ผู้พัฒนาเกมที่ทำรายได้สูงสุดจะมอบคุณค่านั้นคืนให้กับผู้เล่น 

โมเดลธุรกิจใหม่ที่เรียกว่า Play2Earn มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในการใช้จ่ายนี้โดยตรง ในรูปแบบนี้ การเปลี่ยนแปลงของตลาดแบบเปิดช่วยให้สินทรัพย์ในเกมสามารถรักษามูลค่าไว้ได้ โดยสอดคล้องกับแรงจูงใจของผู้เล่น นักพัฒนาที่เก่งกาจกำลังเลือกที่จะให้อำนาจผู้เล่นในการแลกเปลี่ยนทรัพย์สิน ทำให้พวกเขารู้สึกเป็นเจ้าของและมีอำนาจที่เหนือกว่ารูปแบบเก่า ๆ

การสร้างรายได้ทั้งหมดไม่ได้ถูกสร้างขึ้นอย่างเท่าเทียมกัน

ในรูปแบบโมเดลของ Free2Play โดยรวมแล้ว นี่เป็นปัญหาใหญ่ที่เลวร้ายเมื่ออุตสาหกรรมเติบโตขึ้น แม้ว่าสตูดิโอเกมทั่วไปจะรักษาอัตรากำไรไว้ได้โดยการสร้างรายได้จากโฆษณาและการซื้อในแอป แต่สตูดิโอเกมที่ประสบความสำเร็จที่สุดไม่จำเป็นต้องมีโฆษณาด้วยซ้ำ เนื่องจากพวกเขาทำกำไรได้มหาศาลด้วยการสร้างรายได้แบบขายเกมเพียงอย่างเดียว

เกมอย่าง Call of Duty, Clash Royale และ PUBG MOBILE สร้างรายได้หลายสิบล้านดอลลาร์ในแต่ละไตรมาส เกมส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จในระดับนี้ แต่เกมที่กลายเป็นสินค้าที่เป็นตัวทำกำไรให้บริษัทได้ดีหลายปี เป็นเรื่องปกติสำหรับพวกเขาที่จะเผยแพร่เนื้อหาใหม่ ๆ แบบรายไตรมาส ทำให้ผู้เล่นมีเนื้อหาเพียงพอสำหรับการบริโภคเพื่อให้พวกเขามีส่วนร่วมน้อยที่สุดและใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง แต่ประสบการณ์จะไม่เปลี่ยนแปลงในทางเนื้อหาใดๆ  

Call of Duty เกมระดับ AAA ที่ทำรายได้หลายสิบล้านดอลลาร์ในแต่ละภาค (CR :  Chaos)
Call of Duty เกมระดับ AAA ที่ทำรายได้หลายสิบล้านดอลลาร์ในแต่ละภาค (CR : Chaos)

ไม่ผิดอย่างแน่นอนที่อยากจะสร้างบริษัทเกมที่ทำกำไรได้สูง แต่มีโอกาสใหญ่สำหรับเกมที่ทำรายได้สูงสุดในการทดลองโมเดลธุรกิจใหม่ๆ จากเงินหลายสิบล้านดอลลาร์เหล่านี้ในแต่ละไตรมาส มันสมเหตุสมผลแล้วที่จะให้มูลค่าบางส่วนไหลกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของเกม ซึ่งมันสามารถนำกลับไปอยู่ในมือของผู้เล่นที่ช่วยสร้างมูลค่าสูงสุดได้ 

ในขณะเดียวกัน การทำเช่นนี้อาจสร้างการมีส่วนร่วมที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้เล่นจะได้รับแรงจูงใจโดยตรงในการสร้างภารกิจรายวันและเล่นเกมต่อเนื่องในระยะยาว การให้รางวัลแก่ผู้เล่นที่สร้างมูลค่ามากโดยจะจ่ายเป็นเงินปันผลในระยะยาว 

“การสร้างโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับผู้เล่นนอกเหนือจากการใช้โอกาสในการใช้จ่ายสามารถช่วยสร้างโลกดิจิทัลที่ยั่งยืนมากขึ้น” 

รูปแบบใหม่ที่รวมเอาหลักการเหล่านี้และแสดงถึงการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการที่เศรษฐศาสตร์ของเกมสามารถทำงานได้เป็นที่รู้จักในชื่อ Play2Earn

การถือกำเนิดของโมเดลใหม่ Play2Earn

Play2Earn มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้เล่นมากกว่าผลกำไร โดยสรุปเป็นสามหลักการสำคัญของ Play2Earn :

  • ให้ผู้เล่นที่มีทักษะได้รับรางวัลสำหรับการมีส่วนร่วมอย่างมากกับเกม มักจะอยู่ในรูปของสกุลเงินในเกมที่มีความผันผวน
  • เพิ่มความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้เล่นเป็นเจ้าของและสามารถซื้อขายและสร้างรายได้จากสินทรัพย์ของตนได้
  • เศรษฐกิจในเกมที่โปร่งใสและมีส่วนร่วม ผู้พัฒนาเกมอนุญาตและสนับสนุนให้สร้างประสบการณ์เพิ่มเติมนอกเหนือจากประสบการณ์หลักของเกม

อุตสาหกรรมเกมส่วนใหญ่เป็นระบบนิเวศแบบปิด ผู้เล่นใช้จ่ายโดยสกุลเงินในเกมและได้รับไอเท็มที่พวกเขาไม่ได้เป็นเจ้าของอย่างแท้จริง และมักจะไม่สามารถแลกเป็นมูลค่าที่แท้จริงของโลกได้ ผู้เล่นได้รับความเพลิดเพลินจากเกมใดเกมหนึ่งเป็นเวลาสองสามเดือน แต่ในที่สุดพวกเขาก็เลิกรา  

ผู้เล่นระดับกลางส่วนใหญ่ไม่เคยใช้เงินกับเกม Free2Play เลย สำหรับบางคน อาจเป็นเพราะพวกเขาไม่สามารถลงทุนเงิน 99 ดอลลาร์ได้ สำหรับคนอื่น ๆ อาจเป็นเพราะพวกเขารู้สึกว่าพวกเขาไม่ได้รับคุณค่าเพียงพอ ไม่ใช่เรื่องดีที่จะเสียเวลาหลายเดือนและฟสุดท้ายไอเท็มที่เก็บสะสมกลายเป็นทรัพย์สินที่ไร้ค่า เหลือไว้เพียงแค่ค่าใช้จ่ายที่น่าผิดหวังในบัตรเครดิตเมื่อหยุดเล่น 

นอกจากนี้ ผู้เล่นจะไม่รับรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในส่วนหลังของเศรษฐกิจของเกม ผู้พัฒนาเกมคือธนาคารกลางของตนเอง พวกเขากำหนดอุปทานและอัตราเงินเฟ้อของไอเท็มโดยไม่มีความโปร่งใส ระบบนิเวศแบบปิดเหล่านี้สนับสนุนสถานการณ์ผูกขาดเพื่อดึงผลกำไร ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขากีดกันการใช้จ่ายโดยอ้อม เนื่องจากผู้เล่นหลายคนปฏิเสธที่จะจ่ายโดยรู้ว่าทรัพย์สินเหล่านั้นถูกล็อคในบัญชีของตนตลอดไป 

แพลตฟอร์มก็มีความผิดเช่นกัน

ไม่ใช่แค่ผู้พัฒนาเกมชั้นนำเท่านั้นที่ทำลายระบบนิเวศแบบปิด Steam, Google และ Apple ลด 30% สำหรับการซื้อในร้านค้าและในแอปทั้งหมดเป็นการผูกขาดการชำระเงินเป็นหลัก ผู้คนมากกว่าหนึ่งพันล้านคนเล่นเกมบนอุปกรณ์ Apple และตอนนี้เกมสร้างรายได้มากกว่า 80% ใน App Store ของพวกเขา Apple ได้กลายเป็นแพลตฟอร์มวิดีโอเกมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกอย่างเงียบ ๆ

Apple ได้กลายเป็นแพลตฟอร์มวิดีโอเกมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก (CR:Polygon)
Apple ได้กลายเป็นแพลตฟอร์มวิดีโอเกมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก (CR:Polygon)

ปัญหาการต่อต้านการผูกขาดและการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นกำลังกระตุ้นให้นักพัฒนาจำนวนมากขึ้นหลีกเลี่ยงระบบนิเวศของ Apple และมีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงขึ้นหากพวกเขาไม่คิดที่จะลดค่าธรรมเนียม

กระตุ้นการใช้จ่าย

เกมบนมือถือส่วนใหญ่ 43% ของรายได้ของพวกเขา มาจากเพียงแค่ประมาณ 5% ของฐานผู้เล่นเกมเพียงเท่านั้น 

ซึ่งหมายความว่ารายได้ 33.2 พันล้านดอลลาร์ (43% ของรายได้เกมมือถือของ Newzoo ประมาณ 77.2 พันล้านดอลลาร์ในปี 2020) จะมาจากผู้เล่นเพียง 5% เท่านั้น

จากตรรกะนี้ จำนวนผู้เล่นที่ใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้น 1% จะสร้างรายได้ใหม่ประมาณ 6.5 พันล้านดอลลาร์ ในอีกทางหนึ่ง หากผู้เล่นเพิ่มขึ้น 2% เริ่มใช้จำนวนเงินโดยเฉลี่ย อุตสาหกรรมจะสร้างรายได้มากกว่าอุตสาหกรรมเพลงทั้งหมดในปี 2019 ( 11.1 พันล้านดอลลาร์ ) 

“เป็นที่ชัดเจนว่านักพัฒนามือถือจำเป็นต้องหาวิธีใหม่ๆ ในการเพิ่มมูลค่าให้กับผู้เล่นอีก 95% ที่เหลือ”

ในโลกแห่งความเป็นจริง ผู้บริโภคสามารถจ่ายเงินไปกับทรัพย์สินทางกายภาพของตนได้ เช่น รถยนต์ บ้าน และทรัพย์สินอื่นๆ ซึ่งมันควรจะเป็นเช่นเดียวกันในโลกดิจิทัล การใช้เวลาหลายเดือนในการสร้างสรรค์ชุดเกราะหายากหรือปลดล็อกสกินน่าจะเหมือนกับการสร้างพีซีระดับท็อป หรือการซื้อรถยนต์ และเมื่อคุณไม่ต้องการสินทรัพย์เหล่านั้นอีกต่อไป คุณสามารถขายให้ผู้อื่นได้

รับรางวัล Play2Earn บนบล็อคเชน

วิธีที่ตรงไปตรงมาที่สุดในการใช้คุณสมบัติ Play2Earn คือการให้รางวัลแก่ผู้เล่นที่มีทักษะสูงของเกมโดยตรง ตัวอย่างหนึ่งคือเกม SkyWeaver ผู้พัฒนาเกมอย่าง Horizon ได้เลือกที่จะไม่สร้างรายได้จากการซื้อการ์ดแบบสุ่ม หากผู้เล่นต้องการซื้อการ์ด SkyWeaver บางใบ พวกเขาจะต้องชนะประจำสัปดาห์หรือซื้อการ์ดในตลาดรองจากผู้เล่นอื่นที่ชนะในการแข่งขันครั้งก่อน

ด้วยการเล่นในโหมดเกมแบบผู้เล่นหลายคนที่แข่งขันกัน ผู้เล่นจะเข้าสู่อันดับในลีดเดอร์บอร์ดโดยอัตโนมัติ โดยผู้เล่น 1,000 อันดับแรกจะได้รับรางวัลเป็นการ์ดบล็อคเชนของ SkyWeaver ในแต่ละสัปดาห์ การ์ดที่ชนะเหล่านี้เป็นทรัพย์สินของผู้เล่นที่สามารถเล่น แลกเปลี่ยน หรือแม้แต่ขายในเหรียญ DAI ได้

การถือกำเนิดของเทคโนโลยีบล็อกเชนช่วยให้สามารถสร้าง NFT (โทเค็นที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้) ช่วยให้ SkyWeaver ติดตามที่มาและข้อมูลอื่น ๆ ของสินทรัพย์ NFT แต่ละรายการในเกมได้ 

ผู้เล่นมืออาชีพและสตรีมเมอร์สามารถแลกเปลี่ยนทรัพย์สินในเกม และทุกคนสามารถค้นหาว่าการ์ดแต่ละใบมีอยู่กี่ใบพร้อมประวัติการเป็นเจ้าของ “เศรษฐกิจแบบเปิดเปลี่ยนแรงจูงใจให้ผู้เล่นซื้อหรือแข่งขันเพื่อชิงไอเท็มเกมที่มีมูลค่า” Peter Kieltyka ซีอีโอของ Horizon กล่าว “ด้วยการถือกำเนิดของบล็อคเชน ตอนนี้เราสามารถให้ผู้เล่นของเราเป็นเจ้าของและแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนของโลกเสมือนจริงของเราได้”

เกมไพ่ดิจิทัลที่คล้ายคลึงกัน เช่น Hearthstone ไม่ได้ให้รางวัลโดยตรง และไม่สามารถขายการ์ดแยกกันในตลาดกลาง (หรือแลกเปลี่ยนได้เลย) 

โดยการสร้างรายได้ใน Hearthstone คุณต้องเป็นผู้เล่นมืออาชีพที่มีเงินเดือนหรือสตรีมเมอร์ที่มีความสามารถซึ่งสามารถสร้างแบรนด์ได้ด้วยตัวเอง ผู้เล่นทั่วไปแทบไม่เคยได้รับเงินโดยตรงจากรูปแบบการเล่นสำหรับมืออาชีพของ Hearthstone ที่ต้องใช้เวลาหลายเดือนในไต่อันดับในลีดเดอร์บอร์ดจึงจะมีสิทธิ์ได้รับเงิน จากนั้นผู้เล่นจะต้องเดินทางไปแข่งขันในทัวร์นาเมนต์แบบตัวต่อตัว ซึ่งการไม่ติดอันดับใน 16 อันดับแรกหมายความว่าไม่มีรางวัลเป็นตัวเงินและต้องเสียค่าเดินทางจำนวนมาก 

ศึกแย่งชิงรางวัล

ใน Axie Infinity จักรวาลที่ได้รับแรงบันดาลใจจากโปเกมอนที่ผู้เล่นต่อสู้ เลี้ยง และรวบรวมสิ่งมีชีวิตแฟนตาซี เกมดังกล่าวเน้นถึงประโยชน์ของ Play2Earn ผ่านการเล่นเกมที่ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยผู้เล่น การต่อสู้กับสัตว์ประหลาดในโหมด PvE ของเกมจะทำให้คุณได้รับโทเค็นที่เรียกว่า Love Potions ซึ่งสามารถขายให้กับ Ether สกุลเงินดิจิทัลที่มีสภาพคล่องสูงได้ ด้วยรายได้เหล่านั้น คุณสามารถเลือกซื้อสินค้าเพิ่มเติมใน Axie Infinity หรือย้ายมูลค่านั้นไปยังเกมอื่นหรือแม้แต่ขายเป็นดอลลาร์สหรัฐ 

Axie ยังจ่ายโทเค็นจากผู้สนับสนุนเช่น MakerDAO & Kyber Network ซึ่งเป็นโครงการ DeFi ชั้นนำสองโครงการ ให้กับผู้เล่น 50 อันดับแรกบนกระดานผู้นำของพวกเขา นี่เป็นรูปแบบใหม่ที่งบประมาณการโฆษณาส่งตรงไปยังผู้เล่น ซึ่งกระตุ้นการมีส่วนร่วมและเพิ่มความต้องการเนื้อหาภายในระบบนิเวศของเกม

ผู้เล่น Axie ประมาณการว่าสามารถทำเงินได้ 1.50 – 2.50 เหรียญต่อชั่วโมง ซึ่งสำหรับผู้เล่นในประเทศที่ด้อยพัฒนา นี่อาจเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับผู้เล่นโดยเฉลี่ยในสหรัฐฯ รายได้ดังกล่าวแค่เพียงพอที่จะลงทุนซ้ำในเกมและเล่นต่อโดยไม่ต้องทำการซื้ออะไนเพิ่มเติมเพียงเท่านั้น 

Axie Infinity ที่กลายเป็นโมเดล Play to Earn ต้นแบบยอดฮิต (CR : The Whale Journal)
Axie Infinity ที่กลายเป็นโมเดล Play to Earn ต้นแบบยอดฮิต (CR : The Whale Journal)

Jeff Zirlin ผู้นำด้านการเติบโตของ Axie Infinity กล่าวว่า “Axie ดึงดูดผู้เล่นจากประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำ เช่น เวเนซุเอลาและอินโดนีเซีย เรายังมีคู่แข่ง PVP ที่คลั่งไคล้รางวัลโทเค็นสำหรับลีดเดอร์บอร์ดของเรา นักสะสมและผู้ค้าซึ่งได้รับอำนาจจากตลาดบน Ethereum ของเราได้ซื้อและขาย Axies แต่ละรายการด้วยราคากว่าหมื่นดอลลาร์ โดยไม่มีความเสี่ยงจากคู่สัญญา”

“ในอนาคต เราต้องการเพิ่มพลังให้ชุมชนของเราโดยอนุญาตให้พวกเขาได้รับโทเค็นที่อนุญาตให้พวกเขาควบคุมระบบนิเวศในอนาคต ซึ่งการตัดสินใจ เช่น เนื้อหาที่จะเพิ่มภายในเกม สิ่งที่ควรเน้นการอัปเกรด และจะทำอย่างไรกับเงินทุนที่เกิดจากการดำเนินการของเกม”

เศรษฐกิจชุมชนรูปแบบใหม่

ตัวอย่างของการขยายเศรษฐกิจดิจิทัลในเกม ได้แก่เครื่องมือติดตามสำรับสำหรับเกมการ์ดดิจิทัล หรือไซต์สำหรับติดตามราคาและแนวโน้มในราคาประมูลของเกม ตามที่เราได้เห็นในเกมอย่าง Axie Infinity, The Sandbox และ SkyWeaver นักพัฒนาไม่เพียงแต่ได้รับอนุญาตเท่านั้น แต่ผู้ผลิตเกมยังสนับสนุนเครื่องมือและทรัพย์สินที่สร้างโดยชุมชนเพราะพวกเขาเข้าใจว่าสิ่งนี้จะขยายระบบนิเวศและขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมภายในเกม

การใช้ Smart Contract การซื้อสกินหรือทรัพย์สินที่ออกแบบโดยศิลปินภายนอกแต่ละครั้งสามารถ สร้างแบ่งรายได้เล็กน้อยที่จ่ายโดยอัตโนมัติตามระยะเวลาที่กำหนด 

เหล่าครีเอเตอร์ที่มีความสามารถสามารถหารายได้เสริมสำหรับการออกแบบของพวกเขา ไม่ต้องพูดถึงงานของพวกเขาที่จารึกไว้ในเกม ศิลปินสามารถได้รับการยอมรับจากทั่วโลกสำหรับงานของพวกเขาผ่านการเสริมสร้างศักยภาพของผู้เล่นในเศรษฐกิจสร้างสรรค์

Crowdsourcing เนื้อหาจากชุมชนในลักษณะนี้จะช่วยลดต้นทุนสำหรับนักพัฒนา และยังช่วยให้ผู้เล่นสามารถสร้างธุรกิจจากเศรษฐกิจในเกมได้ ซึ่งสามารถเห็นได้ใน The Sandbox ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ศิลปินสามารถสร้างสรรค์โลกของพวกเขาได้

“วิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเบื้องหลัง The Sandbox Metaverse คือการนำเสนอเศรษฐกิจแบบกระจายอำนาจอย่างแท้จริง ด้วยเกมและเนื้อหาที่สร้างและควบคุมโดยชุมชนผู้ใช้ เศรษฐกิจหมุนเวียนของเราอาศัยการใช้บล็อคเชนและโทเค็นต่างๆ เพื่อสร้างสิ่งที่เราเชื่อว่าเป็นพื้นฐานที่แข็งแกร่งสำหรับ Play2Earn ” Sebastien Borget, COO ผู้ก่อตั้ง The Sandbox กล่าว

“ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้เล่น ผู้สร้าง นักลงทุน เจ้าของที่ดิน หรือผู้มีส่วนร่วม คุณควรได้รับรางวัลจากการเข้าร่วมและมีส่วนในการเพิ่มมูลค่าในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของแพลตฟอร์มรวมถึงเนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้นภายในเกม” 

“Blockchain ช่วยเพิ่มสิ่งจูงใจและสนับสนุนโอกาสในการพัฒนาที่นอกเหนือไปจากที่นักพัฒนาตั้งใจไว้แต่แรก ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เรากำลังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจทั้งหมดจะเป็นของผู้เล่น 100% และบทบาทของเราจะเป็นเพียงการพัฒนาบริการเพิ่มเติมสำหรับผู้ใช้ของเรา”

The Sandbox Metaverse คือการนำเสนอเศรษฐกิจแบบกระจายอำนาจอย่างแท้จริง (CR : Token-Information)
The Sandbox Metaverse คือการนำเสนอเศรษฐกิจแบบกระจายอำนาจอย่างแท้จริง (CR : Token-Information)

เกมกระแสหลักอย่าง Roblox ได้โอบรับระบบเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วมแล้วในวงกว้าง ชุมชนของเกมมีนักพัฒนามากกว่า 2 ล้านคนที่ได้รับเครื่องมือและการสนับสนุนเพื่อสร้างสิ่งต่าง ๆ บนแพลตฟอร์ม ในปี 2019 นักพัฒนา Roblox และสตูดิโอที่สร้างบนแพลตฟอร์มของพวกเขา ทำเงินได้มากกว่า 110 ล้านดอลลาร์ 

ตามที่ David George แห่ง A16z กล่าวไว้ แพลตฟอร์มของ Roblox นำเสนอ “Network Effect สำหรับผู้สร้าง/ผู้เล่น ที่ผู้เล่นดึงดูดผู้สร้างจำนวนมากขึ้นเพื่อสร้างเกมที่ยอดเยี่ยม ซึ่งจะดึงดูดผู้เล่นจำนวนมากขึ้น มันเป็นการสร้างระบบนิเวศที่ยอดเยี่ยมที่เพิ่มมูลค่าให้กับเครือข่ายทั้งหมดสำหรับทุกคน”

เศรษฐศาสตร์ของ Play2Earn ที่ยังไม่ผ่านการทดสอบ 

นักพัฒนาเกมที่กำลังพิจารณาที่จะใช้ระบบเศรษฐกิจแบบเปิดมีคำถามมากมายเกี่ยวกับผลกระทบที่มีต่อผลกำไรของพวกเขา พวกเขาจะสูญเสียเงินโดยรวมและจะส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้เล่นอย่างไร? คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้เหล่าผู้เล่นใช้บอทได้หรือไม่? ควรมีตลาดรองสำหรับการซื้อขายหรือไม่?

โดยเฉพาะคำถามสุดท้ายนั้น นักพัฒนามีโอกาสที่น่าสนใจในการสร้างและดูแลตลาดรองของตนเอง ตลาดกลางของบุคคลที่สามที่มีรายการซื้อขายได้ดำเนินการในตลาดมืด อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้สร้างเกม สิ่งนี้ทำให้เกิดการฉ้อโกงและค่าธรรมเนียมที่สูงเกินไป 

นอกจากนี้ยังอาจก่อให้เกิดผลกระทบ เช่น การแข่งขันเดิมพันที่สูงขึ้น ผู้เล่นเพิ่มขึ้นจากการที่มีความเสี่ยงมากขึ้น และตลาดใหม่ เช่น เหล่าของที่ระลึกสำหรับผู้เล่นจากสตรีมเมอร์ชื่อดังที่ขายไอเทมของพวกเขา ด้วยตลาดของที่ระลึกกีฬามูลค่า 5.4 พันล้านดอลลาร์เป็นที่ชัดเจนว่ามีตลาดขนาดใหญ่สำหรับการรวบรวมสิ่งของหายากและมีค่า และเช่นเดียวกันกับของสะสมดิจิทัลในเกมยอดนิยม 

อนาคตของ Play2Earn

โมเดลใหม่นี้จะใช้ได้กับผู้พัฒนาเกมทุกขนาด ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เป็นโมเดลธุรกิจทดลองที่ใช้บล็อคเชนซึ่งต้องการเพิ่มการมีส่วนร่วมเหนือผลกำไรสูงสุด เพื่อสร้างฐานผู้ใช้ขนาดใหญ่ในระยะยาว 

แต่เราจะต้องเห็นการใช้งานที่ประสบความสำเร็จในวงกว้างและการวิจัยเพิ่มเติมจากสตูดิโอระดับ AAA เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่นี้ เช่น NFT และเหรียญที่มีเสถียรภาพโดยใช้แนวทางเหล่านี้ เมื่อสิ่งนั้นเกิดขึ้นพร้อมกับผลลัพธ์ที่เป็นบวก เราจะเริ่มเห็นการกลับมาของบรรดาผู้ผลิตเกมรายใหญ่และจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ

นักเล่นเกมในปัจจุบันฝันถึง World of Warcraft 2.0 ที่จะสร้างมูลค่า GDP ในเกมระดับท็อป และ MAU อยู่ในระดับพันล้าน ผลกำไรมหาศาลที่เกิดจากการค้าขายในเกมจะถูกสูบกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยสำรองไว้เพียงพอสำหรับการพัฒนาเกมคุณภาพสูงและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องเพียงเท่านั้น

ซึ่งในอนาคตการสร้างเกมนั้น จุดสนใจหลักไม่ได้ทำให้ผู้ถือหุ้นเพียงพอใจเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับผู้เล่นที่สร้างมูลค่าสูงสุดและมีทักษะการเล่นสูงสุด เมื่อแนวทางใหม่เหล่านี้ขยายออกไปและได้รับความนิยมในวงกว้าง คงจะมีความน่าสนใจมากที่จะได้เห็นผลกระทบของเครือข่ายที่เกิดขึ้น และเกิดการสร้างเศรษฐกิจในเกมที่เปิดกว้างอย่างแท้จริงในอนาคตนั่นเองครับผม

References :
https://coinmarketcap.com/alexandria/glossary/play2earn-play-to-earn
https://hackernoon.com/play-2-earn-a-new-trend-on-the-crypto-market
https://cia.news/en/what-is-play2earn-and-why-is-it-important/
https://cointelegraph.com/magazine/2020/06/27/play2earn-blockchain-gaming-economies
https://cryptobullsclub.com/play-2-earn-crypto-model/
https://cointelegraph.com/news/with-the-rise-of-nfts-pay-to-win-games-have-got-mightily-expensive