Kiva กับแนวคิด Peer-to-Peer Lending ที่ปฏิวัติวงการ Microfinance

Kiva ใช้แพลตฟอร์ม Crowd Lending แบบ peer-to-peer ที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อให้ผู้ประกอบการทั่วโลกสามารถเข้าถึงเงินทุนที่พวกเขาต้องการเพื่อช่วยเหลือตนเองจากความยากจนได้

Kiva นั้นเกิดจากแนวคิดของ Premal Shah หนึ่งในสมาชิกของ Paypal Mafia โดยจุดเริ่มต้นของโครงการดังกล่าว เกิดจากการถูกมอบหมายให้ไปสร้างต้นแบบของแนวคิดด้าน micro-lending แบบบุคคลต่อบุคคล ในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นสิ่งที่ Shah นั้นสนใจมาตั้งแต่เรียนใน stanford

ซึ่งหลังจากทีได้ไปคลุกคลีทำงานในอินเดียถึง 2 ปี ทำให้เขาอยากเอาแนวคิดดังกล่าวมาช่วยเหลือคนที่เข้าถึงแหล่งทางการเงินยากๆ  ในประเทศอเมริกาบ้าง 

และเมื่อเขากลับมายัง Silicon Valley อีกครั้งในปี 2005 ก็ได้ไปเจอกับ Matt Flannery และ Jessica Jackley ที่กำลังก่อตั้งบริการด้าน micro-lending พอดี ซึ่งตรงกับความต้องการของ Shah ที่ต้องการมาสร้างบริการแบบนี้ที่อเมริกา

Premal Shah หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Kiva
Premal Shah หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Kiva

ซึ่งจากผลงานงานที่ผ่านมาของ Shah กับ Paypal นั้น ก็ทำให้ทั้ง Flannery และ Jackley เชื่อใจให้เขาเข้ามาร่วมปั้นบริการ Kiva ให้กลายเป็นองค์กรระดับโลกให้ได้ 

ซึ่งในที่สุด พวกเขาก็ได้ ก่อตั้ง Kiva ขึ้นในปี 2005 เป็นแพลตฟอร์มที่ไม่แสวงหาผลกำไรแห่งแรกที่พัฒนาขึ้นเพื่อเปิดใช้งาน “การระดมทุน” ของสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการในประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่สามารถเข้าถึงเครดิตในลักษณะที่เป็นทางการได้ 

Kiva ทำงานอย่างไร

Kiva ใช้เว็บไซต์เพื่อแสดงคุณสมบัติผู้ประกอบการทั่วโลกพร้อมด้วยรูปภาพของผู้ประกอบการจำนวนเงินกู้ที่ขอและคำอธิบายว่าจะใช้เงินกู้อย่างไร โดยสามารถเข้าสู่เว๊บไซต์ Kiva เรียกดูโปรไฟล์ผู้ประกอบการแต่ละรายได้

ด้วยความสามารถในการกรองข้อมูลของ อุตสาหกรรมในแต่ละภูมิภาค และคุณลักษณะอื่น ๆ และยังสามารถเลือกผู้ประกอบการที่พวกเขาต้องการให้ยืม ผู้ให้กู้สามารถมีส่วนร่วมโดยใช้เงินเพียงแค่ 25 ดอลลาร์ ในการเข้าร่วม

Kiva ดำเนินงานใน 83 ประเทศผ่านพันธมิตรกว่า 300 ราย เช่น สถาบันการเงินรายย่อย Microfinance Institutions(MFIs) ซึ่ง Kiva ได้สร้างพันธมิตรด้วย MFIs เหล่านี้ จะทำการกลั่นกรองผู้กู้เพื่อรับความเสี่ยงและความตั้งใจและเงินทุนที่ได้รับจากผู้ให้กู้

โดยเงินทุนของ Kiva จะถูกส่งไปยังผู้ประกอบการผ่านทาง MFI ในท้ายที่สุด โดยทั่วไปหุ้นส่วนของ Kiva จะปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติแบบดั้งเดิมและเรียกเก็บดอกเบี้ยให้กับลูกค้าของพวกเขาเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของพวกเขา (แม้ว่า Kiva เองจะไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ จากจำนวนเงินกู้) 

อย่างไรก็ตามการดำเนินการผ่านทาง Kiva นั้น MFI ทั่วไปจะมีแหล่งเงินทุนขนาดใหญ่ซึ่งสามารถให้บริการลูกค้าได้มากกว่า Kiva ติดตามกระบวนการตรวจสอบความเสี่ยงอย่างละเอียดก่อนที่จะร่วมมือกับ MFIs ใหม่ ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินงานทางการเงินและการควบคุมทางการเงินได้รับการการันตี เพื่อป้องกันการฉ้อโกงหรือการใช้ประโยชน์ทางการเงินในด้านอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง

ซึ่งแตกต่างจากเว็บไซต์ระดมทุนอื่น ๆ เช่น Kickstarter หรือ GoFundMe โดยแง่มุมที่แตกต่างของ Kiva คือมันเป็นแพลตฟอร์มการให้ยืม ไม่ใช่แพลตฟอร์มการลงทุนทางการเงิน

ดังนั้นผู้ให้กู้สามารถคาดหวังว่าไม่เพียงช่วยคนที่ต้องการเงินทุนเท่านั้น แต่ยังสามารถรับเงินปันผลคืนได้ โดยได้รับการพิสูจน์มาแล้ว เนื่องจาก Kiva มีอัตราการชำระหนี้สูงถึง 98.5% จากสินเชื่อทั้งหมด

Peer-to-Peer Lending สนับสนุนผู้ประกอบการที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนปรกติ
Peer-to-Peer Lending สนับสนุนผู้ประกอบการที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนปรกติ

นอกเหนือจากความเสี่ยงด้านสินเชื่อที่จำกัด Kiva ยังเสนอแพลตฟอร์มที่น่าเชื่อถือ Kiva ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการบริจาคเงินกู้และไม่ใช้เงินยืมใด ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของตนเอง

ซึ่งแทนที่จะได้รับเงินทุนภายนอกจากการบริจาคเหมือนบริการ Crowd Funding อื่น ๆ นอกจากนี้กระบวนการตรวจสอบอย่างละเอียดของ Kiva ในการจัดการความเสี่ยงนั้นได้รับการสนับสนุนโดย Kiva Fellows ซึ่งเป็นอาสาสมัครที่ใช้เวลาประมาณ 10 สัปดาห์ในการทำงานกับพันธมิตรทางการเงินรายย่อยของ Kiva เพื่อช่วยระบุถึงพฤติกรรมการฉ้อโกงที่อาจเกิดขึ้นได้

Kiva ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการรุ่นใหม่และธุรกิจขนาดเล็กทั่วโลก รูปแบบ peer-to-peer ช่วยให้ผู้ให้กู้สามารถค้นหาผู้ประกอบการที่ต้องการสนับสนุนและติดต่อกับบุคคลเหล่านั้นได้ทันที 

การขยายแพลตฟอร์มด้วย Kiva Zip

ในปี 2011 Kiva ได้ใช้โมเดล Kiva Zip ซึ่งเป็นนวัตกรรมเพิ่มเติมบนแพลตฟอร์มที่มีผู้คนใช้งานจำนวนมาก ผ่านทาง Kiva Zip, ซึ่ง Kiva หวังว่าจะให้บริการสินเชื่อดอกเบี้ย 0% แก่ธุรกิจขนาดเล็ก (เทียบกับรูปแบบการคิดดอกเบี้ยแบบดั้งเดิมที่เรียกเก็บโดย MFIs)

โดยใช้เครือข่ายส่วนบุคคลของผู้ประกอบการ เพื่อวัดความน่าเชื่อถือ และขอให้พวกเขารับรองผู้ประกอบการที่ต้องการกู้เงิน 

หลังจากที่ถึงเกณฑ์การระดมทุนที่กำหนดที่จะได้รับจากผู้ที่ได้รับการรับรอง ซึ่ง แคมเปญสินเชื่อของผู้ประกอบการที่ได้รับนั้น ก็จะกลายเป็นโปรไฟล์แบบสาธารณะ สำหรับให้ผู้อื่นในแพลตฟอร์มที่จะมีส่วนร่วมในการสนับสนุนสินเชื่อต่อ (เริ่มต้นที่ 25 ดอลลาร์)  

นอกจากนี้ Kiva Zip ยังมีข้อเสนอเพิ่มเติมของความสามารถในการสนทนาโดยตรงกับผู้ยืมเมื่อผู้ให้กู้สนับสนุนเงินกู้ของพวกเขา ซึ่งเมื่อเทียบกับรูปแบบ Kiva ดั้งเดิม ที่ผู้ให้กู้ไม่มีการสื่อสารกับผู้ยืมเป็นหลัก 

รูปแบบนวัตกรรมของ Kiva ในการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อให้การทำธุรกรรมแบบ peer-to-peer ประสบความสำเร็จอย่างมากในปัจจุบัน ผู้คนมากกว่า 1.9 ล้านคนให้ยืมแก่ผู้ประกอบการกว่า 3.6 ล้านคนทั่วโลกโดยมีสินเชื่อเกือบ 1 ล้านบัญชี ที่มีมูลค่ากว่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัฐ

References : http://www.kiva.org/about/stats
http://www.kiva.org/zip
http://www.cnbc.com/2015/08/06/alternative-small-business-loans.html
http://www.nation.co.ke/lifestyle/smartcompany/How-online-lender-is-transforming-lives-through-small-loans/-/1226/2818906/-/pde99w/-/index.html
http://www.theatlantic.com/business/archive/2015/08/crowdfunding-success-kickstarter-kiva-succeed/400232/
https://openmicroc.com/how-a-kiva-loan-could-get-your-business-off-the-ground/

Geek Daily EP16 : FRESH 3D กับเทคโนโลยีในการสร้างองค์ประกอบการทำงานของหัวใจมนุษย์

ทีมนักวิจัยจาก Carnegie Mellon University เพียงพิมพ์ 3 มิติองค์ประกอบการทำงานของหัวใจมนุษย์ ที่สามารถรองรับรูปร่างที่ซับซ้อน รวมถึงหลอดเลือดขนาดเล็กและโพรงขนาดใหญ่ของหัวใจ

นักวิจัย ได้ทำการโครงสร้างทางกายวิภาคเฉพาะของผู้ป่วยอย่างแม่นยำ ที่พวกเขาบอกว่าสามารถหดและขยายได้เหมือนส่วนกายวิภาคที่แท้จริงของหัวใจมนุษย์

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/2Oynhcf

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/32sxOh9

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3fEBhwU

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/ilW1Qv1mROs

References : https://eurekalert.org/pub_releases/2019-08/f-f3p080119.php
Credit Image : PIXABAY / VICTOR TANGERMANN

Chinapages กับจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในชีวิตของ Jack Ma

หลายคนน่าจะทราบกันดีว่าเดิมทีนั้น Jack Ma เป็นครูสอนภาษาอังกฤษ ที่เมืองหังโจว ของประเทศจีน แต่ ครูสอนภาษาอย่างเขา เจอจุดเปลี่ยนอะไรที่ทำให้ กลายมาเป็นเจ้าพ่อบริษัทเทคโนโลยีอย่าง Alibaba ที่เราได้เห็นกันในวันนี้

เรื่องมันเริ่มต้นจากในต้นปี 1995 นั้น เมืองหังโจวเกิดดีความสัญญากับต่างประเทศขึ้นมาคดีหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องการลงทุนสร้างทางด่วนกับบริษัทในอเมริกา ซึ่งมีข้อพิพาทกัน ทำให้เทศบาลเมืองหังโจวต้องตัดสินใจส่งตัวแทนไปติดต่อกับฝ่ายอเมริกัน เพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

ซึ่งมันกลายเป็นภารกิจของแจ๊ค ที่ขณะนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องภาษาอังกฤษที่สุดแห่งสำนักแปลไห่โป่ ที่ต้องไปช่วยเหลือเทศบาล โดยเขาต้องเดินทางไปยังอเมริกาที่เมือง ลอสแองเจลลิส

ตอนอยู่ประเทศจีนมีครูต่างชาติคนหนึ่งที่ชื่อฟิล ซึ่งเคยเล่าเรื่องลูกเขยของเขาให้ฟัง ว่ากำลังทำอะไรบางอย่างกับ “internet” อยู่ที่เมือง ซีแอตเทิล

นั่นเองเป็นจุดเริ่มต้นที่แจ๊ค ได้ถือโอกาส ไปทำความรู้จักกับ internet โดยหลังจากภารกิจเสร็จ แจ๊คไปตามที่อยู่ที่ฟิลได้ให้ไว้ และไปพบกับลูกเขยของเพื่อนอย่างรวดเร็ว เขาคือแซม ที่ขณะนั้น กำลังก่อตั้งบริษัท VBN บริษัทขนาดเล็ก ซึ่งตอนนั้นกำลังให้บริการ ISP เจ้าแรกแห่ง Silicon Valley แถมยังเป็นบริษัทแรกที่ทำธุรกิจนี้ในอเมริกาอีกด้วย

และนี่เป็นครั้งแรกที่แจ๊ค ได้เห็นเจ้า internet กับตาตัวเอง ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่แจ๊คเห็นตอนนั้นคือเครื่อง PC386 ที่ทันสมัยที่สุดในโลกของยุคนั้น ซึ่งมีราคาอยู่ที่ประมาณ 600-700 เหรียญ

PC 386 เครื่องคอมพิวเตอร์สุดแรงในยุคนั้น
PC 386 เครื่องคอมพิวเตอร์สุดแรงในยุคนั้น

แจ๊คซึ่งตอนนั้นแทบจะไม่เคยเห็นเจ้าคอมพิวเตอร์มาก่อนเลยด้วยซ้ำ ไม่ต้องพูดถึง internet ซึ่งเป็นสิ่งที่ใหม่มากในยุคนั้น และเริ่มทดลองใช้มัน โดยลองพิมพ์คำว่า “Beer” ลงใน Search Engine ของ Yahoo ซึ่งต้องบอกว่าตอนนั้น Yahoo ในยุคก่อนการเกิดของ Google นั้นถือเป็น Search Engine ที่ทันสมัยที่สุดในโลก internet เลยก็ว่าได้

แต่สิ่งที่ทำให้แจ๊คสงสัยมากที่สุด คงจะเป็น ทำไมถึงไม่มีเบียร์จีนโผล่ขึ้นมาเลย แจ๊คนึกในใจว่า หรือเบียร์ฝรั่ง จะมีชื่อเสียงมากกว่าเบียร์จีน พวกฝรั่งคงรู้จักแต่เหมาไถของกุ้ยโจว แต่ไม่รู้จักเบียร์จีนกันอย่างแน่แท้

แต่เขาก็คิดอีกว่า ต่อให้ไม่พบเบียร์จีนใน internet แต่ถ้าจะหา ประเทศจีน ที่มีประชากรถึง 1 ใน 5 ของโลกและมีเนื้อที่ใหญ่โตมหาศาล คงจะหาเจอละมั๊ง

และแล้ว เขาจึงบรรจง คีย์คำว่า “China” ลงในช่อง search engine ของ yahoo อีกครั้ง ผลปรากฏว่าบนจอขึ้นคำที่เหลือมากคือ “no data” หรือไม่มีข้อมูล

และจุดนี้นี่เองที่ทำให้เขาได้ปิ๊งไอเดียที่จะทำการขยายธุรกิจของสำนักแปลไห่โป๋ได้แล้ว โดยจะให้ทีมงานของแซม ช่วยสร้างเว๊บเพจสำนักแปลไห่โป๋เสร็จ และอัพโหลดขึ้น internet ทันที

มันเป็นหน้าเว๊บที่เรียบง่าย จนเข้าขั้นน่าเกลียดเลยด้วยซ้ำ ไม่มีภาพ ไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่มีโฆษณา Flash มีแต่คำอธิบายเป็นตัวอักษรไม่กี่ตัวอักษร คือ เป็นการแนะนำสำนักแปลไห่โป๋ บวกกับรายการค่าจ้างแปล เช่น 1,000 ตัวอักษร คิด xx หยวน เป็นต้น พร้อมกับ email ในการติดต่อ

เมื่อแจ๊คเดินทางกลับจากซีแอตเทิลถึงหังโจว ซึ่งการกลับมาครั้งนี้ของแจ๊คนั้นได้นำเอาของวิเศษหนึ่งอย่างมาจากอเมริกาด้วย มันคือ คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คอินเทล 386 ซึ่งเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในขณะนั้นเลยก็ว่าได้

เพียงแค่คืนแรกที่กลับถึงหังโจว แจ๊ค เขาก็เริ่มเดินหน้าธุรกิจที่เขาได้คิดไว้อย่างทันที เขาเชิญเพื่อนสนิทที่สุด 24 คนมากินข้าวที่บ้าน และเริ่มบรรเลงโชว์ ของวิเศษ (คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คอินเทล 386) ทุกคนที่ถูกเชิญมาต่างอ้าปากค้าง และรู้สึกทึ่งกับเจ้าสิ่งนี้ ซึ่งไม่ต่างจากตอนที่แจ๊ค นั้นเห็นคอมพิวเตอร์สุดแรงนี้ ครั้งแรกที่อเมริกา

Jack Ma กับเพื่อนสนิท 24 คนของเขา
Jack Ma กับเพื่อนสนิท 24 คนของเขา

เขากล่าวกับเพื่อนว่า ๆ จะลาออกจากงานมาเริ่มธุรกิจ internet แต่มันกลับกลายเป็นว่าเพื่อน ๆ ของเขาทั้งหมดแทบจะคัดค้านกับแนวคิดของ แจ๊ค หลาย ๆ คนก็พยายามถามรายละเอียดของ internet จากแจ๊ค 

แต่ก็อย่างที่ทราบ แจ๊ค นั้นก็มีความรู้ทางด้าน internet แบบผิวเผินเท่านั้น ไม่สามารถตอบคำถามใด ๆ จากเพื่อน  ๆ เขาได้เลย ซึ่งหลังจากให้ทำการโหวตปรากฏว่า 23 คันค้าน และมีคนเห็นด้วยกับแจ๊ค เพียงแค่คนเดียวเท่านั้น

และแม้จะแทบไม่มีเสียงสนับสนุน แต่ สัญชาติญาณของแจ๊ค นั้นก็สั่งให้เขาเริ่มธุรกิจนี้แบบทันที ก้าวแรกของการสร้างธุรกิจคือหาเงินทุน ซึ่งแจ๊คและภรรยานั้นได้ทุ่มเงินหมดตัว 6,000 หยวน และทำการรวบรวมจากญาติพี่น้องได้อีกราว  ๆ 40,000 หยวน และ อีกส่วนคือการนำเอาสินทรัพย์ของสำนักแปลภาษาไห่โป๋ธุรกิจแรกของเขาออกเทขายทั้งหมด ซึ่งได้มาอีก 30,000 หยวน รวมเป็นส่วนของตัวเขาและภรรยาทั้งสิ้น 80,000 หยวน

และเพื่อนที่สนับสนุนแนวคิดนี้ของแจ๊คอย่าง เหออิปิง นั้น ก็ได้ร่วมลงทุน 10,000 หยวน ส่วนอีก 10,000 หยวนสุดท้ายได้มาจากเพื่อนอีกคนที่ชื่อ ซ่งเว่ยชิง  ซึ่งทำให้มีเงินลงทุนตั้งต้นของธุรกิจใหม่ของแจ๊คนั้น มีรวมแล้วประมาณ 100,000 หยวน

และในที่สุดบริษัทเทคนิคอินเตอร์เน็ตไห่โป๋ เจ้อเจียง ที่ดำเนินการกิจการไดเร็กทอรี่อุตสาหกรรมการค้าออนไลน์ และเป็นเว๊บไซต์ internet แห่งแรกของประเทศจีน – เยลโล่เพจเจส ประเทศจีน ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อเดือน เมษายน ปี 1995

และในวันที่ 9 พฤษภาคม 1995 ไชน่าเพจเจส (http://www.chinapages.com) ก็ได้ขึ้นออนไลน์อย่างเป็นทางการ และเป็นเว๊บไซต์ธุรกิจเว๊บแรกในประวัติศาตร์ของ internet ของประเทศจีนในที่สุด

Chinapages ธุรกิจ internet แรกของ Jack Ma
Chinapages ธุรกิจ internet แรกของ Jack Ma

แม้ช่วงแรก ๆ จะล้มลุกคลุกคลาน แต่เขาก็พาบริษัทฝ่าวิกฤติ จนสุดท้ายได้หันมา ทำธุรกิจ ecommerce อย่าง alibaba และพาบริษัทก้าวขึ้นเป็นยักษ์ใหญ่ของวงการเทคโนโลยีในประเทศจีนอย่างที่เราได้เห็นกันในทุกวันนี้นั่นเองครับ

–> อ่าน Blog Series : Jack Ma Rise of the Dragon

References : https://socket3.wordpress.com/tag/386/
https://www.alibabagroup.com/en/about/history?year=1999

Geek Daily EP15 : Cortical Labs กับการสร้างชิปคอมพิวเตอร์โดยใช้เซลล์ประสาทของมนุษย์

Cortical Labs บริษัท Startup จากประเทศออสเตรเลีย กำลังวางแผนที่จะ “สร้างเทคโนโลยีที่ควบคุมศักยภาพของสมองมนุษย์” เพื่อสร้าง “คลาสใหม่” ของ AI ที่สามารถแก้ไข “ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของสังคม ”

ความคิดในการใช้เซลล์ประสาทชีวภาพกับคอมพิวเตอร์พลังงานไม่ใช่เรื่องใหม่ การประกาศของ Cortical Labs นั้นเกิดขึ้นหนึ่งสัปดาห์หลังจากกลุ่มนักวิจัยชาวยุโรปเปิดใช้งานเครือข่ายประสาทที่ทำงานได้ซึ่งช่วยให้เซลล์สมองและชิปซิลิกอนสามารถสื่อสารกันได้ผ่านอินเทอร์เน็ต

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/30gqwuf

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/2Wq9SHw

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3evwxZc

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/ccYwoc0Ero4

References : https://fortune.com/2020/03/30/startup-human-neurons-computer-chips/

การปลูกถ่ายเส้นประสาทกับการช่วยผู้ป่วยอัมพาตให้เคลื่อนไหวได้อีกครั้ง

Natasha van Zyl ศัลยแพทย์ชาวออสเตรเลีย ได้ช่วยเหลือ ผู้ป่วย 13 ราย ที่มีอาการอัมพาต ให้มีอาการดีขึ้นอย่างมาก หลังจากได้รับการผ่าตัดเพื่อถ่ายโอนเส้นประสาทของพวกเขาได้สำเร็จ รายงานจาก The Guardian

ซึ่งก่อนที่จะถึงมือของศัลยแพทย์ชาวออสเตรเลียนั้น แขน ขา ทั้งสี่ ของผู้ป่วยแต่ละรายเป็นอัมพาตเนื่องจากอุบัติเหตุทางกีฬาหรืออุบัติเหตุจากการจราจร

ศัลแพทย์ชาวออสเตรเลียได้ใช้เทคนิคที่รู้จักกันในชื่อ การถ่ายโอนเส้นประสาท ซึ่ง Van Zyl ได้รับการฟื้นฟูความสามารถในการยืดข้อศอก รวมถึงการจับและบีบมือได้สำเร็จ – และเธอคิดว่าคนอื่น ๆ จะได้รับประโยชน์เช่นนี้เหมือนกัน

เธอและทีมงานของเธอที่ Austin Health ในเมืองเมลเบิร์นประเทศออสเตรเลียเริ่มต้นด้วยการนำเส้นประสาทที่ใช้งานได้ออกจากการบาดเจ็บกระดูกสันหลัง จากนั้นพวกเขาย้ายประสาทเข้าไปในแขนขาที่เป็นอัมพาตของผู้ป่วย

สองปีหลังจากการผ่าตัดตามรายงานผู้ป่วยมีการปรับปรุงการทำงานของมืออย่างมีนัยสำคัญ

ดังที่ Van Zyl บอกกับ The Guardian ว่าเทคนิคการถ่ายโอนเส้นประสาทมีมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ก็ไม่ได้ผลที่ชัดเจนนัก จนกระทั่งในปี 2014 ที่เธอและทีมของเธอออกแบบการปลูกถ่ายเส้นประสาทสามเส้นเพื่อรักษาอาการอัมพาตได้สำเร็จ

ความสำเร็จของการผ่าตัดครั้งแรกนั้นนำไปสู่การศึกษาใหม่ซึ่งผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาหวังว่าจะสนับสนุนให้ผู้อื่นเลือกใช้เทคนิคการถ่ายโอนเส้นประสาทนี้ ในการแก้ไขอาการอัมพาตจากอวัยวะส่วนต่าง ๆ

“อาจจะมีคนที่ไม่เห็นว่านี่เป็นตัวเลือก” เขาบอกกับ The Guardian “มันทำให้ชีวิตฉันเปลี่ยนไปอย่างมาก หวังว่ามันจะช่วยคนอื่นได้เช่นกัน มันเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงชีวิตฉันได้จริงๆ”

อย่างไรก็ตามนักวิจัยเตือนว่าการผ่าตัดถ่ายโอนเส้นประสาทนั้นมีก็ยังมีข้อจำกัดอยู่

ตัวอย่าง เช่น อาจต้องใช้เวลาเป็นเดือนในการเคลื่อนไหว และอาจใช้เวลาหลายปีที่ผู้ป่วยจะประสบความสำเร็จอย่างเต็มที่ในกล้ามเนื้อ นอกจากนี้การถ่ายโอนเส้นประสาทต้องเกิดขึ้นนานถึง 12 เดือนหลังจากได้รับบาดเจ็บเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

ในผู้เข้าร่วมทดลองทั้งหมดนั้น พบว่าจากการถ่ายโอนเส้นประสาทมีถึง 4 ครั้งที่เกิดความล้มเหลว นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อลดความล้มเหลว และประเมินว่าผู้เข้าร่วมรายใดเหมาะสมที่สุดในการผ่าตัดถ่ายโอนเส้นประสาทในเทคนิคดังกล่าวนี้นั่นเอง

ต้องถือว่าเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่น่าสนใจกับผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต ให้กลับมาเคลื่อนไหวร่างกายได้อีกครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นความหวังสูงสุดของผู้ป่วยเหล่านี้ แต่แน่นอนว่า เทคนิคนี้อาจจะให้ผลลัพธ์ที่ยังอยู่ในช่วงการทดลอง แต่ถือเป็นก้าวที่สำคัญมาก ๆ สำหรับผู้ป่วยอัมพาตที่จะได้รับความช่วยเหลือในอนาคตนั่นเองครับ

References : https://www.theguardian.com/world/2019/jul/04/pioneering-surgery-brings-movement-back-to-paralysed-hands https://www.medicalnewstoday.com/articles/325688.php