TikTok vs Facebook The Social War

หากคุณไม่เคยได้ยินแอปโซเชียลมีเดียน้องใหม่อย่าง TikTok ที่ออกแบบมาสำหรับการแชร์ วีดีโอ Viral นั้น ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่วัยรุ่นทั่วโลกในขณะนี้ ถือว่าเป็นคนที่ตก เทรนด์เป็นอย่างยิ่ง

นอกจากนี้ TikTock ยังเป็นคู่แข่งรายใหญ่รายแรกนับตั้งแต่ Snapchat ที่มาขัดขวางตลาดที่ครอบงำโดย Facebook แต่เพียงผู้เดียวมานานแสนนานในตลาด App ทางด้าน Social Network การให้บริการมาเพียงแค่สามปีเท่านั้น แถมยังมาพร้อมกับปัญหาเรื่องของข้อมูลส่วนบุคคล ที่ถูกรายงานออกมาเป็นจำนวนมาก 

TikTok เป็น App จีนที่รอดจากการลงโทษของหน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐในเดือนกุมภาพันธ์เมื่อหลังจากทำการรวมเข้ากับแอพ Musical.ly  ในเดือนสิงหาคม ซึ่งทำให้ถูกฟ้องโดยคณะกรรมาธิการการค้าของสหรัฐฯโดยมีโทษปรับสูงสุด 5.7 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นโทษทางแพ่งที่ใหญ่ที่สุด ในเรื่องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน

การร้องเรียนของ FTC กล่าวว่า Musical.ly ไม่ได้ขอความยินยอมจากผู้ปกครองก่อนมีการรวบรวมชื่อที่อยู่อีเมลและข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ และตั้งข้อสังเกตว่า “มีรายงานข่าวว่ามีผู้ใหญ่ที่ใช้งานพยายามติดต่อกับเด็ก ๆ ผ่านทางแอพ Musical.ly”

TikTock นั้นถูกสร้างโดย ByteDance ในประเทศจีนเมื่อต้นปี 2559 TikTok ได้ถูกดาวน์โหลดไปแล้วกว่า 1 พันล้านครั้งทั่วโลกซึ่งเหนือกว่าทั้ง Facebook และ Instagram ในสถิติยอดแอพที่ถูกติดตั้งเมื่อปีที่แล้ว

TikTok ถูกสร้างโดย ByteDance ภายในระยะเวลาไม่ถึง 3 ปี
TikTok ถูกสร้างโดย ByteDance ภายในระยะเวลาไม่ถึง 3 ปี

TikTok ถูกดาวน์โหลด 663 ล้านครั้งทั่วโลกเมื่อปีที่แล้วเปรียบเทียบกับ Facebook ที่มีการดาวน์โหลด 711 ล้านครั้งในปีที่แล้วและ Instagram มีการดาวน์โหลดถึง 444 ล้านครั้ง และตัวเลขดังกล่าวยังคงเป็นปัญหาอยู่: TikTok มีการ Install เพิ่มขึ้น 188 ล้านครั้ง ในไตรมาสแรกของปีนี้และครองตำแหน่งสูงสุดอีกครั้งในแอพเครือข่ายสังคมออนไลน์ 

ตัวเลขของ TikTok นั้นน่าประทับใจเป็นพิเศษไม่ใช่เพียงเพราะ TikTok เป็น บริษัท เล็ก แต่เป็นเพราะพวกเขาไม่รวมการติดตั้งมากับเครื่อง Android เหมือนที่หลาย ๆ บริการในประเทศจีนทำ หมายความว่าจำนวนการดาวน์โหลดจริงนั้นสูงกว่านี้มาก TikTok เรียกว่า Douyin ในประเทศจีนเป็นปรากฏการณ์ในประเทศที่ทั้ง Facebook นั้นต้องจับตามอง

นอกจาก ByteDance ซึ่งเป็นเจ้าของ TikTok กลายเป็น บริษัท Startup ที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยมีมูลค่ามากกว่า Uber โดยมีมูลค่าสูงถึง 78 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีการระดมทุนจากนักลงทุนที่มีชื่อเสียงระดับโลกบางรายรวมถึง SoftBank ในกลุ่มญี่ปุ่น (รวมถึงนักลงทุนใน Uber เองด้วย)

TikTok แซงหน้า Uber กลายเป็น Startup อันดับหนึ่งของโลก
TikTok แซงหน้า Uber กลายเป็น Startup อันดับหนึ่งของโลก

อย่างไรก็ตาม TikTok ได้ถูกรายงานจากหน่วยงานกำกับดูแลของรัฐบาลและผู้ปกครองเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

ในแถลงการณ์จาก TikTok กล่าวว่า พวกเขาจะแบ่งผู้ใช้ตามความเหมาะสมของอายุ แต่นักวิจารณ์กล่าวว่าไม่มีทางที่จะทำให้แน่ใจว่าเรื่องดังกล่าวนั้นเป็นความจริง 

ในอังกฤษ TikTock เข้ามาทำตลาดในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งกลุ่มองค์กรการกุศลแห่งชาติของอังกฤษเพื่อป้องกันการทารุณกรรมเด็ก ได้ทำการสำรวจเด็กนักเรียน 40,000 คนและค้นพบว่าหนึ่งในสี่ของพวกเขารู้สึกประหลาดใจกับคนแปลกหน้า เด็กนักเรียนหนึ่งใน 20 คนกล่าวว่าพวกเขาถูกขอให้ถอดเสื้อผ้าผ่าน App TikTock ตามข้อมูลจาก NSPCC

TikTok ไม่ใช่แอปโซเชียลมีเดียตัวแรกที่เข้ามาถกเถียงกันเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ๆ แต่ในขณะที่ยักษ์ใหญ่โซเชียลมีเดียเช่น Facebook กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่ Platform ที่เน้นความเป็นส่วนตัวมากยิ่งขึ้น

นั่นหมายความว่าข้อมูลสามารถส่งผ่านไปได้เร็วเกินไป – เหตุผลหนึ่งว่าทำไมอินเดียซึ่งมีสัดส่วนถึง 25 เปอร์เซ็นต์ของการดาวน์โหลดแอป Tiktok ได้สั่งแบนแอปชั่วคราวเมื่อเดือนที่แล้วเพราะกลัวว่าเนื้อหาลามกอนาจารภายใน App นั้นจะถูกเปิดเผย อย่างไรก็ดีสุดท้ายศาลอินเดียยกเลิกคำสั่งห้ามไม่ให้ใช้แพลตฟอร์มนี้ในภายหลัง 

References : 
https://www.cbsnews.com/news/tiktoks-most-downloaded-app-beating-facebook-and-instagram-but-its-popularity-comes-with-data-privacy-concerns/

ศึกชิงตัวบุคคลากรด้าน AI ของยักษ์ใหญ่แห่ง Silicon Valley

ต้องบอกว่ากระแสของ AI นั้นมาแรงจริง ๆ ในช่วงนี้ ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องที่เป็นบุคลลากรด้าน AI ทั้งนักวิจัย รวมถึงวิศวกรต่าง ๆ ที่มีความสามารถทางด้าน AI เป็นที่ต้องการจากบริษัทยักษ์ใหญ่ของ silicon valley ไม่ว่าจะเป็น google , microsoft , apple หรือ facebook ซึ่งล้วนแล้วต่างมี project ที่เกี่ยวข้องกับ AI กันแทบทั้งสิ้น

แต่ไม่ใช่เฉพาะบริษัทยักษ์ใหญ่เท่านั้น เหล่า startup เล็ก ๆ ก็ให้ข้อเสนอที่เย้ายวนใจสำหรับบุคคลากรด้านนี้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของหุ้น ซึ่งอาจจะทำให้เป็นเศรษฐีได้หากบริษัท startup เล็ก ๆ เหล่านั้นประสบความสำเร็จแบบบริษัทรุ่นพี่ขึ้นมาจริง ๆ เหมือนที่ google , facebook เคยทำได้ในอดีต

ต้องบอกว่าการแข่งขันทางด้านการแย่งตัวบุคคลากรนั้น ค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากมีพนักงานที่มีคุณสมบัติด้าน AI ที่เป็นไปตามความต้องการของบริษัทเหล่านี้อยู่ไม่มาก จึงต้องมีการแย่งชิงตัวกัน โดยมีข้อเสนอเงินรายได้จำนวนมหาศาลเพื่อเป็นสิ่งล่อใจในการแย่งชิงตัวบุคลากรเหล่านี้

ซึ่งต้องบอกว่าเหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่ใน silicon valley เดิมพันค่อนข้างสูงกับเทคโนโลยี AI ไล่มาตั้งแต่ ระบบการสแกนหน้าผ่าน smartphone เทคโนโลยีทางด้าน healthcare รวมไปถึง ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่กำลังมุ่งสู่ยานยนต์ไร้คนขับ ซึ่งกำลังเดิมพันด้วยจำนวนเงินที่น่าตกใจ ทำให้รายได้ของพนักงานเหล่านี้สูงขึ้นตามไปด้วย

ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ซึ่งรวมถึง ดอกเตอร์ที่เพิ่งจบปริญญาเอกมาใหม่ ๆ หรือแม้กระทั่งพนักงานที่มีประสบการณ์ไม่มากนัก แต่มีความรู้ด้าน AI ตามความต้องการของบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ ก็สามารถเสนอค่าตอบแทนได้สูงถึง 300,000 – 500,000 เหรียญสหรัฐต่อปี รวมถึงให้ข้อเสนอทางด้านหุ้น เพื่อเป็นสิ่งล่อใจให้กับบุคคลากรเหล่านี้ให้เข้ามาอยู่กับบริษัทตัวเองให้ได้

สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานใน field AI มาบ้างแล้วนั้นก็ได้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้นไปอีกในหลักล้านเหรียญสหรัฐต่อปี รวมถึงจำนวนหุ้นที่เป็นข้อเสนอก็จะมีจำนวนมากตามประสบการณ์ของพนักงานคนนั้น ๆ และรูปแบบการต่อสัญญานั้นบางครั้งก็คล้าย ๆ กับนักกีฬาอาชีพเลยก็ว่าได้ ซึ่งสามารถเรียกค่าตอบแทนเพิ่มมากขึ้นในการต่อสัญญาใหม่ โดยสัญญาอาจจะเป็นระยะสั้น เพื่อให้สามารถต่อรองเรื่องสัญญาใหม่ได้เร็วขึ้นนั่นเองเพราะมีหลายบริษัทที่คอยจะฉกตัวกันไปอยู่แล้ว เพราะความต้องการใน domain ดังกล่าวนั้นมีล้นมาก แต่บุคคลากรยังไม่พอต่อความต้องการ

ยิ่งไม่ต้องพูดถึงในระดับผู้บริหารที่มีประสบการณ์กับโครงการ AI นั้น บางรายอาจจะมีปัญหาถึงกับต้องเข้าสู่กระบวนการศาลกันเลยทีเดียวเช่น ในกรณีของ Anthony Levandowski ซึ่งเป็นลูกจ้างเก่าของ google ที่ได้เริ่มงานกับ google มาตั้งแต่ปี 2007 ได้รับค่าแรงจูงใจหรือ incentive ในการไปเซ็นสัญญาเข้าร่วมงานกับบริษัท Uber กว่า 120 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งต้องทำให้ทั้ง google และ Uber ต้องมีปัญหาขึ้นโรงขึ้นศาลกันเนื่องมาจากปัญหาเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่อาจจะถูกละเมิดได้

Anthony Levandowski

มีปัจจัยเร่งไม่กี่อย่างที่ทำให้อัตราการจ่ายค่าจ้างของบุคคลากรด้าน AI นั้นถีบสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หนึ่งในนั้นคือ การแย่งตัวจาก อุตสาหกรรมรถยนต์ ที่กำลังพัฒนาในส่วนรถไร้คนขับ ซึ่งต้องการบุคคลากรแนวเดียวกันกับที่บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้าน internet ใน silicon valley ต้องการ ซึ่งส่วนของบริษัททางด้าน internet อย่าง facebook หรือ google นั้นต้องการแก้ปัญหาหลายอย่างที่ต้องใช้ AI ในการแก้เช่น การสร้างผู้ช่วย digital สำหรับ smart phone หรือ IoT device ที่อยู่ภายในบ้าน หรือการคัดกรองเนื้อหา content ที่ไม่เหมาะสมในระบบก็ต้องอาศัย AI ในการช่วยคัดกรอง ซึ่งการแก้ไขปัญหาเหล่านี้นั้นไม่เหมือนกับการสร้าง application mobile ธรรมดา ๆ ที่สามารถหาบุคคลากรได้ไม่ยาก แต่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในด้าน AI เพื่อช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ง่ายขึ้น

ต้องอาศัยเงินไม่ใช่น้อยหากจะสร้าง Lab ทางด้าน AI ตัวอย่างของ  Deepmind ที่เป็น Lab ที่วิจัยทางด้าน Deep Learning ที่ถูก google aqquired ไปเมื่อปี 2014 มูลค่ากว่า 650 ล้านเหรียญสหรัฐนั้น มีรายจ่ายในการจ้างพนักงาน และเหล่านักวิจัยกว่า 400 คน สูงถึง 138 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งโดยเฉลี่ย ต่อคนสูงถึง 345,000 เหรียญสหรัฐต่อปี ซึ่งเป็นการยากที่บริษัทเล็ก ๆ จะสามารถแข่งขันเรื่องค่าจ้างกับบริษัทยักษ์ใหญ่ดังกล่าวได้

สำหรับความสำเร็จของงานวิจัยด้าน AI นั้นขึ้นอยู่กับ เทคนิคที่เรียกว่า Deep Neural networks ซึ่ง เป็น อัลกอรึธึมทางคณิตศาสตร์ ที่สามารถเรียนรู้ผ่านข้อมูลได้ด้วยตัวเอง เช่น การมองหารูปแบบของสุนัขนับล้านตัว ซึ่งทำให้ Neural Network สามารถเรียนรู้ที่จะจดจำรูปแบบของสุนัขได้ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนั้นต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ยุค 1950 แต่มันยังคงอยู่ในรูปแบบของการศึกษาเท่านั้นจนกระทั่ง 5 ปีที่ผ่านมา ถึงได้เริ่มมีการนำมาประยุกต์ใช้ในงานจริง

googleplex

ในปี 2013 นั้น google , facebook รวมถึงบริษัทอื่น ๆ จำนวนหนึ่งนั้นได้ทำการเริ่มรับสมัครนักวิจัยเพียงไม่กี่คนที่เข้าใจถึง เทคนิคดังกล่าว ซึ่ง Neural Network ในตอนนี้สามารถที่จะช่วยจดจำใบหน้าในภาพถ่ายที่ post ไปยัง facebook หรือ สามารถระบุคำสั่งได้ใน Amazon Echo รวมถึงสามารถที่จะช่วยแปลภาษาต่างประเทศได้ผ่านบริการ skype ของ Microsoft ซึ่งล้วนแล้วแต่เกิดจากการพัฒนาทางด้าน Neural Network และมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจจริงแทบทั้งสิ้น

ซึ่งการใช้ อัลกอริธึมทางคณิตศาสตร์ในลักษณะเดียวกันนั้น นักวิจัยกำลังทำการพัฒนารถยนต์แบบไร้คนขับ รวมถึงพัฒนาบริการของโรงพยาบาลในการวิเคราะห์โรค ผ่าน ภาพทางการแพทย์เช่น ภาพ X-Ray รวมถึงในวงการตลาดเงินหรือตลาดทุนนั้น ก็มีการพัฒนาหุ่นยนต์ที่คอยช่วยซื้อขายหุ้นแบบอัตโนมัติ ซึ่งนักวิจัยเหล่านี้ล้วนเป็นพวกมันสมองที่จบจากมหาวิทยาลัยดัง ๆ ของสหรัฐทั้งนั้น

Uber นั้นได้ทำการว่าจ้างนักจัยกว่า 40 คนจาก Carnegie Mellon เพื่อมาช่วยพัฒนายานยนต์ไร้คนขับของ Uber  และ 1 ใน 4 ของนักวิจัยด้าน AI ชื่อดังได้ลาออกจากงานจากตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาลัยสแตนฟอร์ด ส่วนในมหาวิทยาลัยวอชิงตันนั้น 6 ใน 20 ของนักวิจัยที่อยู่ในมหาลัย รวมถึงคณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญกำลังลาออก และ ไปทำงานให้กับภาคเอกชนยักษ์ใหญ่ของอเมริกา

แต่ก็มีบางรายที่ออกไปอยู่กับองค์กรที่ไม่แสดงหาผลกำไร ตัวอย่าง Oren Etzioni ผู้ซึ่งลาออกจากตำแหน่งศาสตาจารย์จาก University of Washington เพื่อไปดูแล Allen Institute for Artifical Intelligence ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร

ส่วนบางรายก็ใช้รูปแบบการประนีประนอม Luke Zettlemoyer จาก University of Washington ได้มารับตำแหน่งที่ห้องทดลองทางด้าน AI ของ google ในเมือง ซีแอตเติล ซึ่งสามารถจ่ายเงินให้มากกว่าสามเท่าของรายได้เดิมของ Luke โดย google อนุญาติให้เขาสามารถสอนหนังสือต่อได้ที่ Allen Institute

ซึ่ง Zettlemoyes นั้นได้กล่าวไว้ว่า มีสถาบันการศึกษามากมายที่รองรับการทำงานทั้งสองรูปแบบ ที่สามารถแบ่งเวลาให้กับทั้งภาคเอกชน รวมถึง สามารถแบ่งเวลาส่วนนึงให้กับภาคการศึกษาได้ ปัจจัยหลักนั้นเกิดจากความแตกต่างอย่างสุดขั้วของรายได้ระหว่างการทำงานในภาคเอกชนกับภาคการศึกษา ซึ่งคนที่สามารถทำงานทั้งสองอย่างได้นั้น ก็เนื่องมาจากเขาสนใจในงานด้านวิชาการจริง ๆ

เพื่อเป็นการสร้างบุคคลากรรุ่นใหม่ทางด้าน AI ให้เพิ่มมากขึ้น บริษัทอย่าง google หรือ facebook นั้น ได้สร้าง class ที่สอนเนื้อหาเกี่ยวกับ “deep learning” รวมถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้กับพนักงานที่มีอยู่ เพื่อเป็นการสร้างบุคคลากรรุ่นใหม่ภายในบริษัทเอง รวมถึงการเปิด online course ให้กับพนักงานผู้ที่สนใจด้าน AI ได้เข้ามาเรียนรู้

ซึ่งแนวคิดพื้นฐานของ Deep Learning นั้นก็ไม่ได้ยากเกินไปที่จะเรียนรู้ ซึ่งอาศัยความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานหลักของเหล่าวิศวกรในบริษัทเหล่านี้อยู่แล้ว แต่ การที่จะสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านนี้จริง ๆ นั้นต้องอาศัย ความรู้ทางด้านคณิศาสตร์ชั้นสูง รวมถึงความรู้เฉพาะด้าน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสาขาต่าง ๆ เช่น รถขับเคลื่อนอัตโนมัติ หรือ การวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพ

แต่สำหรับบริษัทเล็ก ๆ นั้นการที่จะแข่งขันกับบริษัทยักษ์ใหญ่นั้นก็มีทางเลือกไม่มากนัก ก็ต้องมองหาทางเลือกอื่นที่ใช้งบประมาณไม่สูงเท่า เช่น บางบริษัทได้ว่าจ้าง นักฟิสิกส์ หรือ นักดาราศาสตร์ ที่มีทักษะทางคณิตศาสตร์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ AI ได้ หรือ มองหาพนักงานจากเอเชีย ยุโรปตะวันออก หรือ ที่อื่น ๆ ที่มีค่าแรงต่ำกว่าแทน

แต่เหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่ อย่าง google , facebook หรือ Microsoft ก็ได้ทำการเปิดห้องทดลองด้าน AI ในต่างประเทศ เช่น Microsoft นั้นได้เปิดขึ้นที่ แคนาดา ส่วน google นั้นก็มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นในประเทศจีนเหมือนกัน

ซึ่งสาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแต่ทำให้ไม่แปลกใจว่าการขาดแคลนบุคคลากรด้าน AI นั้นคงจะไม่บรรเทาลงไปในเร็ว ๆ วันนี้อย่างแน่นอน เพราะการสร้างบุคคลากรด้านนี้ขึ้นมานั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่อย่างใด มหาลัยที่เชี่ยวชาญที่สามารถสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพออกได้ก็มีไม่มาก ซึ่งส่วนใหญ่ก็อยู่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจากสาเหตุที่ demand และ supply ของบุคคลากรด้าน AI ยังไม่สมดุลในขณะนี้ ก็มีแนวโน้มที่รายได้ของบุคคลากรในด้านนี้ก็จะยังคงสูงขึ้นต่อไปเรื่อย ๆ อย่างแน่นอน

 

References : www.nytimes.com , www.paysa.com , qz.com

Tencent กับมูลค่าที่ก้าวข้ามผ่าน facebook

ต้องยอมรับกันก่อนว่า บริษัททางด้านเทคโนโลยีจาก silicon valley ที่คิดจะเข้าไปเจาะตลาดจีนนั้นเป็นเรื่องไม่ง่าย เนื่องมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งทางด้านวัฒนธรรม รวมถึง รูปแบบการปกครอง และ นโยบายของรัฐจีนนั้น ค่อนข้างกีดกัน บริษัทจากทางฝั่งตะวันตก

มีบริษัทน้อยรายที่ประสบความสำเร็จในตลาดจีนได้เช่น apple แต่มีบริษัทมากมายที่ต้องมาตกม้าตายที่ตลาดจีน ทั้ง google ,ebay , amazon หรือรายล่าสุดอย่าง Uber ที่ต้องถอยทัพหนีจากตลาดจีนไปเมื่อไม่นานมานี้

ทำให้บริษัทเจ้าถิ่นสามารถที่จะสร้างตัวขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วในทศวรรษหลัง ทั้ง ยักษ์ใหญ่อย่าง Alibaba ที่นำโดย Jack Ma , Baidu เจ้าพ่อ search engine จากจีน รวมถึงบริษัทที่เราจะกล่าวถึงใน blog นี้อย่าง Tencent ซึ่งแม้จะมีข่าวน้อย แต่ก็ทำรายได้เป็นอันดับหนึ่งในจีน แซงหน้า Alibaba ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ถ้าพูดถึง Tencent ก็ต้องกล่าวถึง Wechat บริการด้านการ chat ที่ครอบครองตลาดจีนได้อย่างเบ็ดเสร็จ ซึ่งเป็นต้นทางของบริการหลาย ๆ อย่างของ Tencent ทั้งระบบ E payment หรือ เกมส์ ที่เป็นรายได้หลักของบริษัทในขณะนี้ และลงทุนในบริษัททางด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศอีกมากมาย

ซึ่งผมก็เคยเขียน blog เกี่ยวกับ tencent ไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งตอนนี้นั้น มูลค่าของ tencent ได้มีมูลค่า Market Value แซง facebook ยักษ์ใหญ่ทางด้าน social network จากอเมริกาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมูลค่าล่าสุดนั้นสูงถึง 528,000 ล้านดอลล่าร์  มากกว่า มูลค่า facebook ณ ปัจจุบันอยู่ 6 พันล้านดอลล่าร์

อาจจะเป็นการแซงเพียงชั่วคราวจากมูลค่าหุ้นที่เพิ่มขึ้นมา แต่ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะบริษัทที่ติด Top Ten ของโลกนั้น ล้วนเป็นบริษัทใน silicon valley ซะเป็นส่วนมาก แต่การเข้ามาของ tencent นั้นสามารถเบียดบริษัทจากชาติตะวันตกขึ้นมาเป็นบริษัทที่มูลค่าติดอันดับต้น ๆ ของโลกได้

ซึ่งมีโอกาสสูงที่บริษัทอื่น ๆ เช่น Alibaba หรือ Baidu นั้นก็มีโอกาสที่จะขึ้นมาทาบรัศมีของบริษัทจาก silicon valley เช่นกันในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากการเติบโตของผู้ใช้งาน internet ในประเทศจีน รวมถึงการเกิดขึ้นของชนชั้นกลางอีกจำนวนมากในประเทศจีน ทำให้สามารถสร้างกำลังซื้อ รวมถึงการใช้บริการต่าง ๆ ที่บริษัทเทคโนโลยีของจีนเหล่านี้ให้บริการอยู่ ก็มีโอกาสที่จะทำให้บริษัทเหล่านี้รายได้เพิ่มสูงขึ้นไปอีกในอนาคตอันใกล้นี้

เราคนไทยก็ต้องหันมามองจีนใหม่ ตอนนี้จีนนั้นได้พัฒนาทางด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้าน internet ไปไกลแล้ว บริการต่าง ๆ ของจีนทั้ง e-commerce  ระบบ payment นั้นต้องยอมรับว่ามีการพัฒนา และใช้งานกันในชีวิตประจำวันของคนจีนเป็นปรกติแล้ว ซึ่งบางอย่างนั้นได้ก้าวล้ำกว่าชาติตะวันตกไปอีกด้วย

ซึ่งสิ่งเหล่านี้นั้นล้วนมาจากพื้นฐานทางด้านงาน R&D ของจีน ซึ่งวิศวกรชาวจีนนั้นก็ไม่ได้มีความสามารถด้อยไปกว่าชาวตะวันตกเลยด้วยซ้ำ จะเห็นได้ว่า paper ทางวิชาการต่าง ๆ ในปัจจุบันนั้น ส่วนใหญ่เป็นของชาวจีนมากกว่าทางตะวันตกแล้ว ซึ่งงานวิจัยเหล่านี้บ่งบอกได้ถึงแนวโน้มของเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีโอกาสสูงที่บริษัทจากจีนนั้นจะมีนวัตกรรมที่แซงหน้าบริษัทจากตะวันตกไปได้อย่างแน่นอน

Image Ref : news.abs-cbn.com