AI สามารถเอาชนะหมอได้ในการจำแนกมะเร็ง

ต้องบอกว่า AI กำลังเริ่มที่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในวงการแพทย์หลังจากผลวิจัยล่าสุดที่ชี้ให้เห็นว่า AI มีความสามารถในการวิเคราะห์มะเร็งเต้านมได้ดีกว่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญซะอีก ซึ่งก็ต้องบอกว่าไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจใด ๆ กับผลการวิจัยดังกล่าวเนื่องจาก AI ที่มีพื้นฐานจาก Machine Learning นั้น เป็นการเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์เรา

แต่ทำไมถึงมีประสิทธิภาพมากกว่าล่ะ?  ก็เพราะมนุษย์ยังมีขีดจำกัดหลาย ๆ อย่างที่ไม่สามารถต่อกรกับ AI ได้เช่น หน่วยความจำ  หรือ อารมณ์ ที่มีผลเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการทำงานของมนุษย์เรา

ผมได้เคยเขียน blog ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ทั้ง  Machine Learning กับการวิเคราะห์มะเร็งเต้านม ที่เป็นงานวิจัยเมื่อหลายปีมาแล้วยังให้ประสิทธิภาพที่น่าตกใจ หรือ blog AI ตัวช่วยหรือภัยคุกคามอาชีพรังสีแพทย์  ซึ่งจะเห็นภาพได้ถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้าน AI ที่กำลังมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ กับวงการแพทย์ โดยเฉพาะงานที่สามารถเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ได้อย่าง การวิเคราะห์มะเร็ง จากภาพ Digital Mammogram Image

ซึ่งจาก งานวิจัย ล่าสุด ของ Babak Ehteshami Bejnordi ที่ Radbound University Medical Center ในประเทศ Netherlands นั้น ได้รายงานผลการแข่งขันในหัวข้อ การแพร่กระจายของมะเร็งในมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( หรือที่เรียกว่า CAMELYON16) ซึ่งการแข่งขันใช้เวลา 12 เดือน จนถึงเดือนพฤศจิกายนปี 2016

ซึ่ง CAMELYON16 นั้นเป็นการวิจัยที่ต้องหาวิธีการตรวจหาเซลล์มะเร็งในการตรวจชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลืองจากผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมโดยวิธีอัติโนมัติ ซึ่งในระหว่างการผ่าตัดนั้นศัลยแพทย์ จะทำการฉีดสารรังสีและทำให้เนื้อเยื่อเต้านมที่ใกล้กับเนื้องอกกลายเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งบริเวณเหล่านี้นั้นจะได้รับการหล่อเลี้ยงโดยระบบต่อมน้ำเหลือง โดยจะอยู่บริเวณรักแร้ ของร่างกายเรา

โดยแพทย์สามารถตรวจหาต่อมน้ำเหลืองด้วยวิธีการนับ Geiger และใช้สายตาในการวิเคราะห์ เพื่อค้นหา node ที่เป็นสีน้ำเงิน ซึ่งใช้ชื่อเรียกว่า “Sentinel Node”  โดย และขั้นตอนสำคัญสุดท้ายคือการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจสอบโดยนักพยาธิวิทยาโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ในการตรวจหา

ซึ่งการตรวจที่ไม่พบเซลล์มะเร็งนั้นเป็นเรื่องที่ดีอย่างแน่นอน แต่หากพบเซลล์มะเร็งใน Sentinel Node นั้น ก็อาจจะบ่งบอกพฤติกรรมถึงการแพร่กระจาย ซึ่งต้องรักษาต่อด้วยการฉายรังสี หรือ ทำการผ่าตัดต่อ ซึ่งการผ่าตัดเพื่อกำจัดต่อมน้ำเหลืองใต้วงแขนนั้นอาจจะทำให้เกิด effect ให้ผู้ป่วยแขนบวม หรือ ทำให้แขนใช้การไม่ได้ ก็เป็นได้

และจากการศึกษาในปี 2012 พบว่า หลังจากการส่งตรวจสอบโดยละเอียดจากพยาธิแพทย์พบว่า  1 ใน 4 ของผลการตรวจนั้นถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นประเภทที่ร้ายแรงมากยิ่งขึ้น เพราะผ่านการตรวจละเอียดผ่านกล้องจุลทรรศน์ และเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาล่าสุดที่อ้างอิงจากงานวิจัยในวารสาร The Journal of the American Medical Association (JAMA) การใช้เทคนิคของ Machine Learning Algorithm นั้น พบว่าในการตรวจจำนวน 129 ชิ้นเนื้อนั้น พบว่า 49 ชิ้นมีเซลล์ของมะเร็ง ส่วนอีก 80 ชิ้นนั้นไม่พบความผิดปรกติ

ซึ่งจากงานศึกษาดังกล่าวเมื่อเปรียบเทียบแล้วนั้น พยาธิแพทย์ ต้องใช้เวลาและประสบการณ์ทำงานมาหลายปี แต่ ต่างจาก AI ที่ได้รับการ trained เพียง 270 ตัวอย่าง โดย 110 ตัวอย่างที่นำมา train ผ่าน Machine Learning Algorithm นั้นจะเป็น cell มะเร็งโดยจะมีป้ายกำกับอยู่

และยิ่งเมื่อเทียบกับเวลาที่ใช้ตรวจสอบนั้น พยาธิแพทย์ ใช้เวลา 2 ชม.ในการตรวจสอบชิ้นเนื้อของคนไข้แต่ละรายใน workload การทำงานปรกติ แต่หากในกรณีพยาธิแพทย์ที่ไม่มีการ limit เวลาเพื่อให้ตรวจได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้นพบว่าใช้เวลาถึง 30 ชม.ในการตรวจสอบ

นักพยาธิวิทยา ใช้เวลาเยอะกว่า AI มากในการวิเคราะห์ผล

นักพยาธิวิทยา ใช้เวลาเยอะกว่า AI มากในการวิเคราะห์ผล

ซึ่งหากเป็น workload ปรกตินั้น พยาธิแพทย์ สามารถตรวจสอบได้ความแม่นยำ 31 ชิ้น จาก 49 ชิ้นที่เป็นเซลล์มะเร็ง แต่หากปล่อยให้มีเวลามากขึ้นและให้ตรวจสอบอย่างละเอียดนั้นสามารถตรวจได้ความแม่นยำ 46 ชิ้น จาก 49 ชิ้นที่เป็นเซลล์มะเร็ง

จะเห็นได้ว่าเรื่องของเวลานั้นก็มีผลต่อความแม่นยำในการตรวจสอบเหมือนกัน ตามภาระ workload การทำงานของพยาธิแพทย์ จึงไม่ได้รีดเอาประสิทธิภาพทั้งหมดของพยาธิแพทย์จริง ๆ หากทำงานในภาวะปรกติที่มีเวลาจำกัด

ซึ่งเมื่อเทียบกับ AI นั้น อัลกอริทึม ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด นำเสนอโดย Harvard Medical School และสถาบัน MIT ซึ่งสามารถให้ความแม่นยำเทียบเท่าพยาธิแพทย์ ที่ใช้เวลา 30 ชม.ในการตรวจสอบในแต่ละชิ้นเนื้อ ซึ่งแต่ถ้าเทียบความเร็วนั้น AI สามารถทำได้ภายในไม่กี่วินาที

ต่างจากพยาธิแพทย์ที่ต้องใช้เวลาถึง 30 ชม.ต่อชิ้นเนื้อเพื่อให้ได้ความแม่นยำเท่า AI  ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติจริงที่พยาธิแพทย์มี workload การทำงานมหาศาล

ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2017 มีอีกรายงานจากนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ที่ได้รายงานว่าอัลกอริธึมที่ได้วินิจฉัยโรคมะเร็งผิวหนังมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับแพทย์ผิวหนังที่ได้รับ Certified ทางด้าน Dermatologists

จากนั้นในเดือนเมษายน ปี 2017 งานวิจัยที่นำโดย Stephen Weng จาก University of Nottingham พบว่า AI นั้นมีความสามารถในการทำนายอาการหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยทั่วไป ซึ่ง ผลจากงานวิจัยดังกล่าวทำให้นำไปสู่แนวทางการหาทางป้องกันให้กับผู้ป่วยได้ดีขึ้น

ในเดือนกรกฎาคมปี 2017 การศึกษาของทีม Andrew Ng จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้รายงานว่า Deep Learning Algorithm นั้นสามารถที่จะตรวจพบภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ถูกบันทึกจากเครื่อง ECG มีความแม่นยำกว่าการตรวจของหมอ

และมีการศึกษาอื่น ๆ ของทีม Andrew Ng ที่เผยแพร่ในเดือน พฤศจิกายน ปี 2017 ที่ได้รายงาน Algorithm ที่สามารถตรวจสอบหาโรคปอดบวมได้ดีกว่ารังสีแพทย์ จากการตรวจ Chest X-rays

Andrew Ng ปรมาจารย์ด้าน AI ลำดับต้น ๆ ของโลก

Andrew Ng ปรมาจารย์ด้าน AI ลำดับต้น ๆ ของโลก

และในเดือนเดียวกันนี้ Tien Yin Wong จาก Singapore National Eye Center ได้ทำการศึกษาด้วยเทคนิค Deep Learning เพื่อตรวจสอบภาพจากม่านตาที่ใช้ข้อมูลในการทดสอบกว่า 500,000 ภาพนั้น พบว่าสามารถใช้ Deep Learning ในการหาผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวานได้จากม่านตา ได้ความแม่นยำ เทียบเท่า ผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้

Jeffrey Golden จาก Harvard Medical School ได้กล่าวไว้ว่า “AI และการใช้เทคนิคทางคอมพิวเตอร์อื่น ๆ นั้นต้องมีการรวมเข้ากับโปรแกรมการฝึกอบรมของเหล่านักศึกษาแพทย์ ซึ่งอนาคตของนักพยาธิวิทยานั้นต้องปรับตัวในการทำงานร่วมกับ AI ในการปฏิบัติงานประจำวันของพวกเขา เพื่อให้มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีกับผู้ป่วย”

งานเขียนในวารสาร New England Journal of Medicine ในเดือนกันยายนของปี 2017 นั้น Dr.Ziad Obermeyer และ Thomas Lee ได้กล่าวไว้ว่า “การเตรียมความพร้อมของนักศึกษาแพทย์ในช่วงปริญญาตรีในปัจจุบันนั้นเป็นสิ่งที่ล้าสมัยไปแล้ว ในภาวะที่เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์กำลังก้าวรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว แต่การศึกษาด้านแพทย์นั้นไม่ค่อยมีการฝึกอบรมด้าน Data Science , ข้อมูลสถิติ หรือ ด้านวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำ computer algorithm ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติทางคลินิกได้” ซึ่งเรื่องเหล่านี้นั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่เหล่าผู้บริหารของ Medical School รวมถึง คณบดีคณะแพทย์ในทุกพื้นที่ทั่วโลก ที่รับผิดชอบในการออกแบบหลักสูตรทางการแพทย์ควรรับฟังเป็นอย่างยิ่ง

References : cosmosmagazine.com , camelyon16.grand-challenge.org

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage :facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit :blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter :twitter.com/tharadhol
Instragram :instragram.com/tharadhol

Failed Startup Stories : Beepi Secondary Online Marketplace for cars

Beepi เป็นบริษัที่ให้บริการสำหรับซื้อขายรถมือสองผ่านระบบ online โดยมีที่ตั้งอยู่ใน Mountain View , California ซึ่งสามารถทำ Transaction ในการซื้อขายได้ผ่านทาง smart phone หรือ desktop pc โดยเริ่มให้บริการในเดือนเมษายน ในปี 2014

โดยรูปแบบบริการของ Beepi ผ่าน model การหารายได้แบบง่าย ๆ โดยคิดค่า commission สูงสุดที่ 9%  และหากรถขายไม่ได้ภายใน 30 วันนั้น ทาง Beepi จะเป็นคนซื้อไว้เอง โดยที่ผู้ซื้อนั้นไม่ต้องทำการทดสอบรถใด ๆ ก่อนซื้อ ซึ่ง Beepi ให้เวลา 10 วันในการรับประกันสามารถคืนได้ โดย Beepi เปิดทางเลือกให้ลูกค้าสามารถชำระเงินได้ผ่านบริการใหม่ ๆ เช่น bitcoin รวมถึง credit card โดยในปี 2016 นั้นบริษัทก็ได้ประกาศให้บริการด้านสินเชื่อรถยนต์ของตัวเองเพื่อให้ผู้ซื้อสามารถซื้อได้ง่ายที่สุดผ่านระบบ Beepi

ประวัติของ Beepi

Beepi นั้นก่อตั้งโดย Ale Resnik โดยรับตำแหน่ง CEO และ Owen Savir ที่รับตำแหน่ง COO ของบริษัท โดยก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายนในปี 2014  ในตอนแรกนั้นจะให้บริการเฉพาะพื้นที่ในบริเวณ Sanfrancisco เท่านั้น ซึ่งแรงบรรดาลใจในการสร้าง Beepi นั้นเกิดมาจากประสบการณ์ส่วนตัวของ Resnik ที่ได้รับประสบการณ์ที่แย่มากในการซื้อรถมือสองในขณะเรียนที่ MIT

Beepi นั้นสามารถระดมทุนในรอบ Series A ในเดือนเมษายนปี 2014 ได้ถึง ห้าล้านเหรียญสหรัฐ โดย Jeff Brody จาก Redpoint Ventures รวมถึง angle investors ของอุตสาหกรรมทางด้านเทคโนโลยี และการเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้บริษัทได้รับเงินลงทุนใน Series B ถึง 60 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนตุลาคม ปี 2014 ทำให้มูลค่าของบริษัทพุ่งขึ้นไปสูงถึง 200 ล้านเหรียญสหรัฐภายในเวลาเพียง 6 เดือนหลังจากเริ่มปล่อย product version แรกออกสู่ตลาด ซึ่งในตอนนั้นคาดการณ์ว่าจะมีรายได้ถึง 15 ล้านเหรียญสหรัฐ และได้เริ่มทำการขยายบริการไปยังเมือง Los Angeles รวมถึง San Diego

ในเดือนเมษายน ปี 2015 หลังจากบริษัทดำเนินการมาได้ 1 ปีก็ได้ไปเปิด office ที่เมือง Phoenix เป็นเมืองแรกนอกรัฐ California ที่มี office เป็นของตัวเอง ซึ่งในขณะนั้นผู้คนกว่า 200 เมืองสามารถใช้งาน Beepi ได้แล้ว แต่บริการ free delivery นั้นจะให้บริการเฉพาะใน California และ Arizona เท่านั้น

ในเดือน พฤษภาคมปี 2015 นั้น Resnik ได้บอกกับ the wall street journal ว่าเขาคาดหวังจะได้รับการลงทุนมากกว่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะทำให้มูลค่าของบริษัทพุ่งสูงไปถึง สองพันล้านเหรียญ หลังจากการดำเนินงานบริษัทมาได้แค่ปีเศษ  และ ในเดือน ตุลาคม ปี 201ุ6 นั้น Beepi ได้รับเงินลงทุนอีกรอบจาก SAIC Motor บริษัทยักษใหญ่ทางด้าน automobile market ของประเทศจีน

แต่บริษัทก็เริ่มมีผลงานต่ำลงโดยในฤดูใบไม้ร่วงของปี 2016 นั้น ยอดขายของ Beepi เหลือเพียง 153 คันต่อเดือน สำหรับเมืองหลักที่เป็นจุดเริ่มต้นอย่าง California ในขณะที่คู่แข่งที่ให้บริการลักษณะเดียวกันนั้นขายได้กว่า 8,500 คันต่อเดือน

หลังจากนั้น Beepi ก็ต้องเร่งปรับเกมสู้ในตลาดรถมือสอง โดยการปิดจุดอ่อนของตัวเองคือไม่มีบริการด้านสินเชื่อเป็นของตัวเอง  โดยการจับมือกับ Ally Financial เพื่อให้บริการด้านสินเชื่อแก่ลูกค้าของ Beepi

สุดท้ายก็ต้องปิดบริการ

หลังจากมีปัญหาเรื่องเงินลงทุนจากจีนในเดือนธันวาคมปี 2016 Beepi ก็เริ่มเข้าสู่ความยากลำบาก จากบริการของตัวเอง ที่ไม่สามารถแบกรับต้นทุนได้ เนื่องจากปัญหาหลาย ๆ อย่าง ทั้งเกิดจากความไม่เต็มใจของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายที่จะมาทำการขายผ่าน E-commerce โดยที่ไม่ได้เห็นหน้ากัน รวมถึงภาระในการที่ต้องเก็บรถไว้เองหากขายไม่ได้ภายใน 30 วันนั้น ก็เป็นปัจจัยหลัก เพราะรถเป็นสินทรัพย์ที่มีแต่มูลค่าจะลดลงไม่เหมือนบ้านหรือที่ดิน การเก็บ stock ไว้เองนั้น แม้จะเรียกลูกค้าได้ในตอนแรกเพราะสามารถการันตีว่าถ้าขายไม่ได้ Beepi จะซื้อไว้เอง แต่ไม่สามารถยืนได้ในระยะยาว เนื่องมาจากปัจจัยเรื่องมูลค่าของรถที่มีแต่จะลดลงนั่นเอง การคิด idea แบบ Beepi นั้นไม่ได้คิดถึงผลที่จะตามมาภายหลังอย่างรอบคอบ คิดแค่จะสร้างฐานลูกค้าเพื่อไปรับเงินลงทุนเพิ่มเติม แต่มันไม่สามารถที่จะทำให้กลายเป็นธุรกิจจริง ๆ ได้ เมื่อพ้นช่วงของการระดมทุน ก็เกิดปัญหา เพราะภาระค่าใช้จ่ายที่สูง สุดท้ายก็ได้เริ่มปิดกิจการนอกเขต California และเริ่มหาทางขายกิจการให้กับคู่แข่งอย่าง Shift และทำการปลดพนักงานกว่า 180 คน และเริ่มต้นกระบวนการในการควบรวมกับ Fair.com  แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2017 การควบรวมกับ Fair.com ก็ต้องล้มลง  และบริษัทก็ต้องเริ่มขายสินทรัพย์เพื่อเข้าสู่กระบวนการปิดกิจการอย่างถาวร

สรุป

ปัญหาของ Beepi เราสามารถวิเคราะห์ได้มาจากปัจจัยหลัก ๆ คือ idea ที่มันคิดได้ง่ายมาก ในการเก็บรถไว้เองหากขายไม่ได้ใน 30 วัน ซึ่งมันเป็นแรงจูงใจง่าย ๆ ให้คนเข้ามาใช้บริการ เพราะคนก็อยากการันตีว่าขายรถได้อย่างแน่นอน ซึ่ง idea นี้นั้นสุดท้ายก็มาทำร้ายบริษัทเอง เพราะต้องแบกรับต้นทุนในการจัดการทั้ง stock รวมถึงมูลค่าของรถ ที่มีแต่จะลดลง ในตอนแรกอาจจะหานักลงทุนมาลงเงินได้ง่าย เพราะ กิจการ เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในแง่ของ ยอดผู้ใช้งาน หรือ ยอดการซื้อขายในระบบ แต่สุดท้ายเมื่อไม่สามารถหาเงินมาต่อยอดได้อีกก็ต้องพบสัจธรรมที่แท้จริงว่า idea ลักษณะนี้ไม่สามารถมาทำให้เป็นกิจการที่สร้างรายได้ รวมถึงกำไรให้กับบริษัทแบบถาวรได้ จึงใช้เวลาเพียงแค่ไม่ถึง 3 ปีก็ต้องปิจกิจการลงไปในที่สุด

References :  en.wikipedia.orgblog.caranddriver.com