NetScape Time ตอนที่ 12 : Fighting the Real Enemy

สถานการณ์ของ NetScape ดูเหมือนจะดูดีไปเสียทุกอย่าง บริษัทสามารถเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ได้สำเร็จ สร้างสถิติต่าง ๆ ไว้มากมาย สำหรับบริษัทหน้าใหม่ที่เพิ่งเข้าตลาดหลักทรัพย์ มีสื่อมากมายต่างชื่นชมพวกเขา มีการเปรียบเทียบ Marc Andreessen ว่าเป็น Bill Gates คนใหม่แห่งโลก internet

แต่ความจริงแล้วมันไม่ได้เป็นเช่นนั้น ตัวอย่างมีให้เห็นในธุรกิจคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ซึ่งใช้เวลาเพียงไม่ถึง 20 ปี ทุกสิ่งทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงอย่ารวดเร็ว ผู้ให้กำเนิด Computer ส่วนบุคคลอย่าง Steve Jobs ก็ไม่สามารถพา Apple ไปสู่ฝั่งฝันได้

ในธุรกิจเทคโนโลยี สินค้าใหม่ๆ ที่ดีกว่าเดิมนั้นเกิดขึ้นทุก ๆ วัน ไม่มีใครเข้าใจเรื่องดีกว่า Bill Gates แม้เรื่องที่เขาประสบความสำเร็จในการผูกขาดธุรกิจนี้ แต่ไม่มีมีอะไรมาหยุดยั้งความทะเยอทะยานของเขาได้เลย

วิธีการของ Bill Gates นั้น เขาทำราวกับว่า Microsoft นั้นถูกคุกคามอยู่ตลอดเวลา และต้องต่อสู้เพื่อดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นปรัชญาที่สำคัญที่เราจะได้เห็น Microsoft นั้นลงไปแข่งขันในหลากหลายธุรกิจด้านไฮเทค

ในยุคนั้นต้องบอกว่า Microsoft เป็นบริษัทที่แข็งแกร่งมาก ๆ เครื่อง PC แทบจะทั้งโลกใช้ระบบปฏิบัติการของเขา และ Microsoft ก็ยังเป็นผู้ควบคุมโปรแกรมที่อยู่บนเครื่องเหล่านี้

Bill Gates นั้นมักจะแสดงออกอย่างชัดเจน ว่าไม่ต้องการให้ใครมาเติบโตและเข้มแข็ง และเป็นภัยคุกคามกับธุรกิจของเขา Gates จะมองว่า Microsoft คือตัวแทนของเขา ที่มีความทะเยอทะยาน มีความมุ่งมั่น และชอบเอาชนะ

ในปี 1994 กว่า 80% ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลใช้ระบบปฏิบัติการของ Microsoft และพวกเขายังมีความทะเยอทะยาน ที่จะเอาชนะ คู่ต่อสู้ทางธุรกิจในทุก ๆ ราย ไม้เว้นแม้กระทั่งธุรกิจ internet

แม้ในตอนแรก Microsoft จะไม่เข้ามาแข่งโดยตรงกับ NetScape โดยมองธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ internet และทำการก่อตั้ง Microsoft Network เพื่อให้บริการด้านออนไลน์ในปี 1994

Jim นั้นรู้ดีว่า อย่างไรเสีย Microsoft ก็จะกลายเป็นคู่แข่งขันที่น่ากลัวที่สุดสำหรับ NetScape จึงต้องเร่งพัฒนาตัวเองเต็มที่ให้ได้มากที่สุด เพื่อรอการแข่งขันที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้า

NetScape ต้องการลงในระบบปฏิบัติการใหม่ของ Microsoft อย่าง Windows 95
NetScape ต้องการลงในระบบปฏิบัติการใหม่ของ Microsoft อย่าง Windows 95

ในเดือนกันยายนปี 1994 ซึ่งเป็นเวลา 1 เดือนก่อนการเปิดตัวโปรแกรม NetScape มีการติดต่อจากผู้บริหารที่ดูแลการพัฒนาระบบปฏิบัติการ Windows 95 จาก Microsoft ได้แจ้งมาทาง NetScape Communication ว่าต้องการที่จะซื้อลิขสิทธิ์โปรแกรมไปลง โดยเสนอเงินสูงถึง 1 ล้านเหรียญเพื่อเป็นค่าลิขสิทธิ์ดังกล่าว

แน่นอนว่า Jim นั้นไม่ต้องการดำเนินธุรกิจร่วมกับ Microsoft เพราะประวัติศาสตร์มันบอกว่า บริษัทใดที่มอบลิขสิทธิ์โปรแกรมให้ Microsoft แล้วนั้น มักจะถูกกำจัดออกจากเส้นทางอยู่เสมอ ซึ่ง Jim นั้นรู้ในเรื่องนี้ดี

มี Case ตัวอย่างมากมายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Rob Glaser ผู้ก่อตั้ง RealNetwork ผู้ขายลิขสิทธิ์ให้ Microsoft สุดท้ายลงเอยด้วยการขึ้นศาลฟ้องร้องบริษัท Microsoft ในไม่กี่ปีต่อมา หรือใน case ของ Sun Microsystem ที่ให้ลิขสิทธิ์โปรแกรมกับ Microsoft เช่นเดียวกัน และภายหลังต้องยื่นฟ้อง Microsoft ในกรณีละเมิดข้อตกลง

ซึ่ง Microsoft นั้นมักจะใช้วิธี ในการดูดกลืนบริษัทเล็ก ๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Microsoft มากเสียกว่า และ Spyglass ที่เพิ่งเจรจากับ Microsoft ในเรื่องลิขสิทธิ์ของ Mosaic ก็กำลังจะกลายเป็นเหยื่อรายต่อไป

Rob Glacer จาก Realnetwork ที่จบไม่สวยกับ Microsoft
Rob Glacer จาก Realnetwork ที่จบไม่สวยกับ Microsoft (ภาพจาก : GettyImages)

แต่การที่ James Barksdale เข้ามาบริหาร NetScape นั้น ก็ช่วยให้สามารถเพิ่มยอดขายได้เป็นอย่างมาก มีการเพิ่มพนักงานขายเพิ่มอีกเท่าหนึ่ง และสถานการณ์ในขณะนั้น ธุรกิจของ NetScape ยังอยู่ในจุดที่ดีมาก ๆ ซึ่งระหว่างนั้น Jim เองก็คิดว่า Microsoft ก็กำลังจับจ้องมามองที่พวกเขาอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน

หลังจากเปิดตลาดผลิตภัณฑ์ NetScape Communicator 1.0 ในช่วงกลางเดือนธันวาคม ปี 1994 กระแสตอบรับนั้นออกมาดีมาก ๆ มีลูกค้าหลั่งไหล่เข้ามาเซ็นสัญญาจำนวนมากมาย รวมถึงเกิดช่องทางธุรกิจอื่นๆ ที่ตามมาอีกมากมายด้วยเช่นกัน

จนกระทั่งถึงเดือนมีนาคม ปี 1995 มีการพัฒนา NetScape version 2.0 ออกมา และต้องการมีส่วนร่วมกับการทำงานกับโปรแกรมของ Microsoft ในส่วนของ APIs (Application Programming Interfaces ) เพื่อให้โปรแกรม NetScape สามารถต่อสายโทรศัพท์ผ่านเครื่องที่ใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows 95 ได้ ซึ่งแน่นอนว่าต้องการความร่วมมือกับ Microsoft

และ Microsoft ก็ได้เริ่มแผนการแรกด้วยการ ดึงเวลา ไม่ยอมมอบ APIs ให้กับ NetScape ซึ่ง Jim คิดว่าเป็นแผนการของ Microsoft ที่ต้องการเขี่ย NetScape ออกจากวงจรธุรกิจนี้ โดยไม่ให้ผู้ใช้เครื่อง PC ที่มีถึง 80% ของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดใช้งานโปรแกรม NetScape Communicator version 2.0 ที่จะลงใน Windows 95

เรียกได้ว่า สถานการณ์ในตอนนั้น เริ่มสร้างความกดดันให้กับ NetScape เป็นครั้งแรกจากคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดอย่าง Microsoft ซึ่งมันดูเหมือนเป็นเกมส์ที่ไม่ค่อยแฟร์เท่าไหร่เลย เพราะ Microsoft มีระบบปฏิบัติการที่ Control ทุกอย่างของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มันคือแผนการตัดแข้งตัดขา NetScape แบบเห็นได้ชัดเจนครั้งแรก เพราะ APIs เหล่านี้นั้น บริษัทอื่น ๆ ได้รับจาก Microsoft แทบจะทั้งหมด ยกเว้น NetScape เพียงบริษัทเดียวที่ไม่ได้รับความร่วมมือในครั้งนี้

ดูเหมือน Microsoft ยักษ์ใหญ่ สามารถควบคุมเกมส์ ของเขาได้ แน่นอนว่าไม่มีใครอยากสู้กับ Microsoft แต่ Jim และทีมงานจาก NetScape นั้นมาไกลเกินกว่าที่จะถอยแล้ว แล้วพวกเขาจะจัดการปัญหานี้อย่างไร และ เรื่องราวของ NetScape จะลงเอยที่ไหน โปรดอย่าพลาดติดตามตอนหน้าครับผม

–> อ่านตอนที่ 13 : Monopoly Power

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Billion Dollar Company *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

References : https://www.telegraph.co.uk/technology/microsoft/windows/11817065/Twenty-years-ago-Microsoft-launched-Windows-95-changing-the-world.html

Blog Series : Netscape Time The True Legend of Internet

ต้องบอกว่า internet นั้นถือเป็นนวัตกรรมครั้งสำคัญของโลกเรา ที่เปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์เราไปตลอดกาล ข้อมูลข่าวสารจากทั่วทุกมุมโลกที่สามารถเข้าถึงได้เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส

แน่นอนว่าพื้นฐานในการเข้าสู่ internet นั้นต้องใช้โปรแกรมท่องเว๊บอย่าง Web Browser ที่มีอยู่อย่างมากมายในปัจจุบัน แต่การปฏิวัติครั้งสำคัญจน เราสามารถท่องโลก internet ได้อย่างง่ายดายเหมือนปัจจุบันนั่นก็คือ การเกิดขึ้นของ NetScape

แต่การเป็นผู้บุกเบิก ก็ไม่ได้หมายความว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป เมื่อเราแทบจะไม่ได้เห็นชื่อของ NetScape มานานมากแล้ว แต่การต่อสู้กับพวกเขาในยุคนั้น ที่ต้องต่อสู้กับยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft นั้นต้องบอกว่าเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจมาก ที่ผมจะมาเล่าผ่าน Blog Series ชุดนี้นั่นเองครับ

NetScape Time : JIM CLARK
Speeding The Net : Joshua Quittner and Michelle Slatalla

โดยเรื่องราวจะมาจากหนังสือหลักสองเล่ม คือ NetScape Time โดย JIM CLARK และ Speeding The Net โดย Joshua Quittner and Michelle Slatalla ที่มาเรียบเรียงใหม่ผ่านสไตล์ของผมเหมือนเช่นเคย ครับ อย่าลืมติดตามกันด้วยนะครับผม

–> อ่านตอนที่ 1 : Billion Dollar Company

Xerox พลาดอย่างไรในยุค Digital Revolution

หลายท่านอาจจะเคยได้ยินชื่อของ Bell Labs และวิธีการที่ Bell Labs ปฏิวัติโลก โดย Bell Labs เป็นสถานที่ที่คนฉลาด ๆ บางคนรวมตัวกันและคิดค้นสิ่งต่าง ๆ เช่น ทรานซิสเตอร์เลเซอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ภาษาซี รวมถึงสิ่งอื่น ๆ อีกมากมายที่เปลี่ยนแปลงโลก

ด้วยผลงานการันตีคุณภาพด้วย รางวัลโนเบล 8 รางวัล มอบให้แก่ผู้ที่ทำงานที่นี่ Bell Labs จึงเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับคนที่ชื่นชอบเทคโนโลยีในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 แต่มันไม่ได้เป็นเพียงสถานที่เดียวที่มีการวิจัยเทคโนโลยีที่สำคัญ  เมื่อซิลิคอน แวลลีย์ได้เริ่มถือกำเนิดขึ้นในทศวรรษ 1960

Xerox ได้ตัดสินใจสร้างศูนย์วิจัยในพื้นที่ซิลิกอน วัลเลย์ และมุ่งเน้นการวิจัยด้านคอมพิวเตอร์ พวกเขามีกลุ่มคนฉลาดยอดอัจฉริยะเต็มไปหมด และพวกเขาก็คิดค้นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ทันสมัยอย่างที่เราได้รู้กัน 

พวกเขาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีหน้าจอ คีย์บอร์ด เมาส์ และ GUI ที่เรียกว่า Xerox Alto ซึ่งในปี 1973 ในช่วงเวลาที่ผู้คนยังคงคิดว่าคอมพิวเตอร์เป็นเมนเฟรมขนาดใหญ่ในห้องคอมพิวเตอร์ Xerox ได้สร้างเครื่องจักรที่ปฏิวัติวงการอย่างบ้าคลั่งในยุคนั้น และมันทำให้เกิดสิ่งต่าง ๆ มากมายที่เปลี่ยนแปลงโลกเราอย่างที่ไม่เคยเป็นมากก่อน

แต่นั่นไม่ใช่สิ่งเดียวที่พวกเขาทำ พวกเขายังประดิษฐ์วิดีโอเกมแบบ Multi Player เป็นคนแรก โดยใช้เครือข่ายเน็ตเวิร์ก รวมถึงซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word Processing) เทคโนโลยีการพิมพ์ด้วยเลเซอร์  

GUI หรือ Graphic User Interface ในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ผลงานจาก Xerox
GUI หรือ Graphic User Interface ในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ผลงานจาก Xerox

ที่สำคัญพวกเขายังคิดค้นการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุผ่านภาษา Smalltalk สิ่งนี้ทำให้โปรแกรมเมอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเขียนโปรแกรมที่สามารถขยายได้อย่างง่ายดายและจำลองโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งภาษาทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ที่ใช้ในปัจจุบันยังคงใช้พื้นฐานหลักของโปรแกรมเชิงวัตถุที่ Xerox ได้ทำการสร้างไว้มาจวบจนถึงปัจจุบัน

พวกเขายังมีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งอินเทอร์เน็ต พวกเขาคิดค้นเครือข่ายอีเธอร์เน็ต ซึ่งถูกใช้อย่างกว้างขวางโดย Workstation ของ DARPA ซึ่งแน่นอนว่า Xerox มีส่วนร่วมในการช่วยคิดค้นอินเทอร์เน็ต และในปัจจุบันเรายังคงใช้สายเคเบิลอีเธอร์เน็ตในวันนี้เพื่อเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอยู่นั่นเอง

แล้วเกิดอะไรขึ้น? ทำไม Xerox จึงไม่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อสร้างรายได้และครอบครองอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ปัญหาใหญ่ก็คือเหล่า ผู้บริหารระดับสูง ในนิวยอร์กไม่สนใจเรื่องคอมพิวเตอร์เลยด้วยซ้ำ 

ตอนนั้นพวกเขามุ่งเน้นไปที่เครื่องถ่ายเอกสารซึ่งเป็นธุรกิจหลักของ Xerox ในเวลานั้น สิ่งนี้เป็นอุปสรรคที่ขัดขวางความพยายามที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่พัฒนาโดย PARC ของ Xerox เอง  ซึ่ง Xerox ได้ใช้ความพยายามอย่างเดียวในการหารายได้จากงานวิจัยเหล่านี้ โดยในปี 1981 กับเครื่อง Xerox Star แต่มันก็ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่คิด

Xerox Star ที่ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่คิด
Xerox Star ที่ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่คิด

แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจที่สุดก็คือ พวกเขาปล่อยให้สตีฟ จ็อบส์และบิล เกตส์ เข้าไปในสถาบันวิจัยของพวกเขาเพื่อดูสิ่งที่เป็นนวัตกรรมที่ยอดเยี่ยมทั้งหมดที่พวกเขามี 

คงไม่กล่าวเกินเลยไปนักที่จะบอกว่า Xerox ได้มอบเทคโนโลยีทั้งหมดให้กับ Bill Gates และ Steve Jobs ซึ่งทั้งสองต่างประหลาดใจกับความอัจฉริยะของเหล่านักวิจัยของ Xerox ที่คิดค้นสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา

จ๊อบส์ ชอบ GUI และ เม้าส์จริงๆ ส่วน เกตส์ นั้นชอบทุกอย่าง เพราะมันเป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ แทบจะทั้งสิ้นที่คิดค้นโดยเหล่าอัจฉริยะ จนทำให้ Apple ตัดสินใจสร้าง Macintosh ตามนวัตกรรมที่พวกเขาสังเกตเห็น

ส่วน Microsoft เปิดตัว Microsoft Word ซึ่งได้ใช้ตัวแก้ไขข้อความที่ PARC พัฒนาขึ้น และ Windows ก็ตามมาในปี 1985 ทั้งสอง บริษัท ประสบความสำเร็จอย่างน่าขัน บิลล์เกตส์ และสตีฟ จ็อบส์กลายเป็นเศรษฐีพันล้าน และนำพาบริษัท Apple และ Microsoft ขึ้นสู่จุดสูงสุดของบริษัททางด้านเทคโนโลยี

ซึ่งแน่นอนว่าความสามารถที่แท้จริงของพวกเขาทั้งสอง ก็คือ การจดจำเอานวัตกรรมที่ยอดเยี่ยมที่สุดที่พวกเขาเห็นที่ Xerox และมันดูเหมือนการขโมย และไปสร้างขึ้นและนำไปขายในเชิงพาณิชย์ 

แต่เนื่องจากความล้มเหลวของการจัดการของ Xerox เพื่อมาดูแลเหล่านวัตกรรมชั้นยอดที่เป็นผลงานของ PARC ซึ่งถึงตอนนี้นี้ เราได้เห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน Microsoft และ Apple ที่ได้กลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ๋ที่มีประสิทธิภาพ ในขณะที่ภาพของ Xerox ยังคงเป็นผู้ผลิตเครื่องพิมพ์และเครื่องถ่ายเอกสารอย่างง่าย ๆ อยู่เหมือนเดิม เปรียบดังที่ สตีฟ จ็อบส์ เคยกล่าวไว้ว่า “good artists copy; great artists steal “ นั่นเอง

References : https:// https://www.theodysseyonline.com/xerox-bad-decisions-hurt

สหรัฐกับการเปลี่ยนอนาคตของสงครามด้วย AI

Amazon และ Microsoft กำลังแข่งขันกันว่าใครจะเป็นผู้ชนะในการลงทุน 10,000 ล้านเหรียญ ให้แก่กระทรวงกลาโหมสหรัฐ ในความพยายามที่จะช่วยสร้างและพัฒนาระบบ AI ที่กล่าวกันว่าจะเปลี่ยนอนาคตของสนามรบและสงครามแบบที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

อย่างไรก็ตามกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯกำลังเผชิญกับอุปสรรคจากสาธารณชน รวมถึงเหล่าพนักงานของบริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้ ที่อาจทำให้กระบวนการช้าลง เนื่องจากพนักงานของ Microsoft ลังเลที่จะพัฒนาระบบที่ส่งเสริมสงครามและความรุนแรง

ประการที่สองมีการเรียกร้องจาก บริษัทที่สาม (Oracle) ว่าการจ้างงานของ Amazon ในกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯในโปรเจคก่อนหน้านั้น เป็นต้นเหตุให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างพวกเขา ประการที่สามประชาชนไม่เชื่อว่าโครงการมีมูลค่าการใช้จ่ายสูงถึง 10,000 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นงบประมาณที่สูงมาก ๆ

โครงการนี้ เป็นที่รู้จักกันในชื่อ War Cloud และมันจะถูกสร้างขึ้นเพื่อเปลี่ยนสงครามสมัยใหม่ War Cloud สร้างระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์ขนาดใหญ่ที่ช่วยให้ทหารสหรัฐฯสามารถจัดเก็บข้อมูลได้อย่างปลอดภัย ซอฟต์แวร์ด้าน AI จะใช้ข้อมูลนี้เพื่อการวางแผนสงครามอย่างละเอียดมาก ๆ แบบที่ไม่เคยมีสงครามครั้งไหนเคยทำได้มาก่อน 

“คลาวด์เป็นส่วนประกอบพื้นฐานของโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกที่จะช่วยให้ทหารมีข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจในแผนการรบและมีความสำคัญต่อการรักษาความได้เปรียบทางเทคโนโลยีของกองทัพ”

“มันเน้นด้านภารกิจและยุทธวิธีในการรบ พร้อมกับข้อกำหนดในการเตรียมปัญญาประดิษฐ์ในขณะที่ช่วยสร้างระบบสำหรับการป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ ”- รายงานจาก เพนตากอน

กระทรวงกลาโหมสหรัฐอ้างว่าการใช้ AI ในกองทัพสหรัฐจะช่วยให้ทหารดำเนินการตามแผนในอัตราที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สิ่งนี้กล่าวได้ว่าสามารถช่วยให้ทหารสามารถเข้าถึงข้อมูลลับหลายประเภทรวมถึงแผนการรบผ่านคอมพิวเตอร์ด้วยเทคโนโลยี AI ที่ทรงพลังนั่นเองครับ 

References : https://www.aidaily.co.uk

ประวัติ Bill Gates ตอนที่ 12 : Hit Refresh

จากเรื่องราวทั้งหมดของ Series ชุดนี้ จะเห็นได้ว่า Bill Gates นั้นได้มีส่วนร่วมกับ Microsoft มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ยุคก่อตั้ง ในการปฏิวัติคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านอย่างยุคของ อินเตอร์เน็ต ที่ Microsoft ก็ไม่พลาดที่จะตกกระแส แต่อย่างใด ต้องแข่งขันกับคู่ต่อสู้ที่น่ากลัวที่สุดอย่าง Google แต่สุดท้าย Microsoft ก็ผ่านมันมาได้

และการเข้าสู่ยุคของมือถือ นั้น น่าจะเป็นช่วงปลายของ Bill Gates ที่จะมีบทบาทกับ Microsoft แล้ว ซึ่งกลยุทธ์ต่าง ๆ มากมายที่ Microsoft ใช้ต่อสู้ไม่ว่าจะแข่งขันกับคู่ต่อสู้รูปแบบใด ก็ล้วนแล้วแต่มี Bill Gates อยู่เบื้องหลังแทบจะทั้งสิ้น

Microsoft ในยุคของ Steve Balmer ผู้รับช่วงต่อจาก Bill Gate นั้นถึงแม้จะสามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาลอย่างต่อเนื่อง แต่ภายในองค์กรนั้นกลับเต็มไปด้วยปัญหาการเมืองและวัฒนธรรมองค์กร

ความหยิ่งผยองในความสำเร็จของ Windows และเครื่องมือต่างๆที่ถูกออกแบบขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้งานทุกคนมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้นได้กลับทำให้ Microsoft ไม่สามารถพัฒนา “นวัตกรรม” และในที่สุดก็ได้ถูกคู่แข่งอย่าง Apple, Google, Facebook และ Amazon ก้าวขึ้นมาแซงหน้าในหลายๆด้านในที่สุด

และเมื่อเข้าสู่ยุคปลาย ของ CEO อย่าง Steve Ballmer นั้น ต้องบอกว่า เป็นช่วงขาลงที่ตกต่ำที่สุด ของ microsoft เลยก็ว่าได้ มีการก้าวเดินที่ผิดพลาดหลายอย่างในยุค Ballmber ขึ้นคุมบังเหียน ทั้งการพลาดในตลาดมือถือ ทั้งที่ตัวเองเป็นผู้นำอยู่ก่อนใน  Smart Phone ยุคก่อนหน้า iPhone ที่มี Windows Mobile ซึ่งถือว่าล้ำที่สุดในสมัยนั้นครองตลาดอยู่

เมื่อถึงเวลา ก็ต้องเปลี่ยนผู้นำเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่คนยุคเก่า ๆ เริ่มตามไม่ทัน ด้วยการเข้ามา Refresh Microsoft อีกครั้ง ของ สัตยา นาเดลลา ที่เปรียบเสมือนการเข้ามา Refresh องค์กรใหม่ทั้งหมด ผ่านการบริหารงานของเค้าหลังจากได้รับไม้ต่อมาจาก Steve Ballmer และ Bill Gates ที่ถึงเวลาลงจากตำแหน่งจริง ๆ เสียที

Microsoft ถึงเวลาส่งต่อให้ผู้นำรุ่นต่อไปเสียที
Microsoft ถึงเวลาส่งต่อให้ผู้นำรุ่นต่อไปเสียที

และการทิ้งผลิตภัณฑ์ Windows Phone ที่ไม่น่าจะต่อกรกับยักษ์ใหญ่ได้อีกแล้ว ที่ microsoft ทำการ take over Nokia เข้ามาในตอนแรกนั้น ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่สำคัญอย่างนึงของ สัตยา นาเดลลา ซึ่งมองว่า ในระยะยาว การลงทุนด้าน Windows Phone นั้นไม่น่าจะสามารถแย่งส่วนแบ่งจากเจ้าตลาดอย่าง IOS และ Android ได้อีกต่อไปแล้ว การตัดขาดทุน รวมถึงการโละพนักงานออกไปเป็นจำนวนมากเป็นสิ่งที่ยากของคนระดับ CEO แต่เพื่อพยุงบริษัทในระยะยาวนั้น ต้องถือว่า เป็นการที่ตัดสินใจที่ถูกต้องอย่างยิ่ง ของสัตยา นาเดลลา

และเราจะเห็นได้ว่า การแค่เพียงเปลี่ยนเพียงผู้นำเป็น สัตยา นาเดลลา ต้องบอกว่าเป็นการเลือกตัดสินใจที่ถูกต้องอีกครั้งนึงของ Microsoft และ Bill Gates เพราะใช้เวลาเพียงแค่ไม่กี่ปี ทุกอย่างก็พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ

ภาพลักษณ์ของ microsoft กลับมาดูดีขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด ทั้งในเรื่องรายได้ กำไร ความเป็นบริษัทนวัตกรรม เริ่มดึงดูดคนรุ่นใหม่กลับมาทำงานได้อีกครั้ง ซึ่งแน่นอนว่าคนตัดสินใจคนสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในครั้งนี้ ก็คงต้องเป็น Bill Gates อีกนั่นเอง ที่ถึงเวลาแล้วจริง ๆ ที่เขาจะต้องลงจากตำแหน่งในการกำหนดยุทธศาสตร์ของ Microsoft เสียที เพราะมันได้ถึงเวลาแล้วที่ Microsoft จะได้ผลัดใบไปสู่ยุคใหม่ที่รุ่งโรจน์อีกครั้งนั่นเองครับผม

แล้วเราได้อะไรจากการเรื่องราวของ Bill Gates จาก Blog Series ชุดนี้

ต้องบอกว่าเรื่องราวของ Bill Gates นั้นได้แสดงให้เห็นถึงการต่อสู้ในเชิงธุรกิจ ที่ Bill Gates นั้นได้ทำมาโดยตลอดในฐานะผู้วางยุทธ์ศาสตร์หลักของ Microsoft แม้จะมีการเปลี่ยนผ่าน CEO ไปยัง Steve Ballmer แต่ Bill Gates ก็ยังคงมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจทุก ๆ ครั้งของ Microsoft

Bill Gates ได้พาทั้งตัวเขาเอง และ บริษัทอย่าง Microsoft ขึ้นไปสู่จุดสูงสุดของบริษัททางด้านเทคโนโลยีได้สำเร็จ ด้วยฝีมือของเขาแทบจะทั้งสิ้น ต้องบอกว่าเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจมาก ๆ

Microsoft นั้นเราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เป็นองค์กรที่ใหญ่ และมีอุปสรรคมากมายต่อการเติบโต ซึ่งแน่นอนว่า องค์กรใหญ่ ๆ หลาย ๆ องค์กรต้องเคยเจอ เมื่อตัวเองเติบโตไม่ใช่บริษัทเล็ก ๆ อีกต่อไป การขับเคลื่อนเพื่อที่จะสู้กับบริษัทเล็ก  ๆ นั้นก็เป็นเรื่องยาก ซึ่งมันก็ไม่ได้เป็นเรื่องแปลกแต่อย่างใดกับสิ่งที่ Microsoft เจอ เพราะเราเห็นบทเรียนเหล่านี้มามากมายกับบริษัทยักษ์ใหญ่จำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่พวกเข้าเหล่านั้นกลับล่มสลายไปเลย แต่มันไม่ใช่กับ Microsoft

Microsoft กลับมาเติบโตได้อีกครั้งในยุคของ สัตยา นาเดลลา
Microsoft กลับมาเติบโตได้อีกครั้งในยุคของ สัตยา นาเดลลา

ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าแม้หลาย ๆ ครั้ง Microsoft จะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ แต่อย่างน้อยพวกเขาก็ได้ลองแข่งขัน และได้เรียนรู้วิธีที่จะสู้กับบริษัทเล็ก ๆ เหล่านี้  ซึ่งสุดท้ายในปัจจุบัน เราจะเห็น Microsoft สามารถปรับตัวให้เข้ากับการแข่งขันในธุรกิจยุคใหม่ได้ในที่สุด ไม่ได้ล้มหายตายจากเหมือนยักษ์ใหญ่บริษัทอื่น ๆ  และสามารถก้าวอย่างมั่นคงมาจวบจนถึงปัจจุบันนั่นเองครับ

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 A Revolution Begins *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

รวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุดรวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุด

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

อย่าลืมติดตามผลงานเรื่องต่อ ๆ ไปของผมก่อนใครได้ที่ blockdit นะครับ โหลดได้เลย

อย่าลืม ค้นหา “ด.ดล Blog” แล้ว กด follow กันด้วยนะครับผม