ถ้า TikTok กลายมาเป็นของอเมริกา คุณคิดว่าใครควรจะเป็นเจ้าของ?

แน่นอนว่า เรื่องราวของ TikTok นั้นถือเป็นวิบากกรรมของบริษัท ที่พยายามสร้างบริการแบบ Global แต่ต้องมาถูกเตะตัดขาจากพี่ใหญ่แห่งอเมริกา ที่มองว่า เป็นภัยต่อความมั่นคงหากให้บริการเหล่านี้มาเฉิดฉายในประเทศอเมริกา

การแพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ COVID-19 ที่เกิดขึ้น ทำให้บริการอย่าง TikTok นั้นยิ่งแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วทั่วโลก และสามารถเจาะขุมทรัพย์ตลาดที่สำคัญที่สุดได้นั่นก็คือ วัยรุ่นชาวอเมริกัน

ซึ่งเป็นตลาดที่เจาะได้ยากที่สุดและ หากเจาะตลาดนี้ได้แล้วนั้น บริการพร้อมที่จะทะยานขึ้นไปสู่กลุ่มคนอื่น ๆ ได้ง่าย เหมือนอย่างที่ facebook ทำสำเร็จมาแล้วกับบริการของพวกเขาในช่วงแรกที่เจาะกลุ่มเริ่มต้นที่นักศึกษามหาวิทยาลัยทั่วโลก ก่อนจะแพร่ระบาดอย่างไรวัส มีผู้ใช้งานกว่าพันล้านคนทั่วโลกอย่างที่เราได้เห็นในปัจจุบัน

เช่นเดียวกับ อีกหลากหลายบริการที่มักเจาะไปที่กลุ่มวัยรุ่นก่อน ก่อนที่จะทะยานขึ้นบริการที่สำคัญทั่วโลกได้ และ TikTok สามารถที่จะทำมันได้สำเร็จ

ปัญหาใหญ่ของพวกเขาตอนนี้ คือ กำลังจะถูกแบน หรือ ถูกบีบบังคับให้ขายให้กับบริษัทจากอเมริกา ซึ่งจากข่าวที่ออกมานั้น ดูเหมือน Microsoft จะกลายเป็นตัวเต็งในการซื้อกิจการนี้

ซึ่งแน่นอนว่า Microsoft นั้นต้องการตลาดนี้มานาน ต้องการส่วนแบ่งตลาดการโฆษณาในโลกออนไลน์ที่มีมหาศาล ที่ Microsoft ยังไม่สามารถเข้าไปกอบโกยได้ แม้จะมี บริการ Search Enginge อย่าง Bing แต่ก็ดูเหมือนจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ให้กับ Google อย่างย่อยยับ

Bing ที่ดูเหมือนจะไม่สามารถสู้ Google ได้เลย
Bing ที่ดูเหมือนจะไม่สามารถสู้ Google ได้เลย

แต่ถ้าถามว่าใครอยากได้ TikTok มากที่สุด คงหนีไม่พ้น Facebook อย่างแน่นอน ที่ตอนนี้ กำลังถูกแย่งชิงฐานผู้ใช้งานไปอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องของเวลาที่อยู่ใน Platform นั้นดูเหมือน ว่า TikTok จะสามารถดึงดูดวัยรุ่นให้อยู่ใน Platform ของพวกเขาได้มากกว่า

มันคือภัยคุกคามอย่างชัดเจนต่อธุรกิจ ของ Facebook แม้จะพยายามสร้างบริการเลียนแบบอย่าง Lasso หรือ สร้างบริการขึ้นมาในผลิตภัณฑ์ตัวเองอย่าง Instagram Reels ก็ตาม แต่ดูเหมือนยังไม่สามารถที่จะการันตีได้ว่าจะเอาชนะ TikTok ที่กำลังฮิตติดลมบนได้

แต่ดูจากประวัติศาตร์แล้วนั้น ต้องบอกว่า Microsoft กับ Facebook ถือเป็นพันธมิตรที่ดีต่อกันมานานแสนนาน ตั้งแต่ตั้งใจซื้อหุ้นสร้างมูลค่าให้กับ Facebook ในยุคแรกเริ่มเพื่อกันท่า Google ไม่ให้มาครอบครอง Facebook แล้วนั้น ดูเหมือนว่าหลังจากนั้นทั้งสองบริษัทจะกลายเป็นพันธมิตรกันอย่างเหนียวแน่น

ยามใดที่ Facebook ต้องออกศึกกับ Google ก็ดูเหมือนพี่ใหญ่อย่าง Microsoft ก็มักจะมาช่วยเหลืออยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น ในตอนที่สู้กันเมื่อ Google Plus ของ Google ได้ออกมาพร้อม Features มากมายพร้อมฟังก์ชั่นเด็ดอย่าง Hangout ทางฝั่ง Microsoft ก็ส่ง Skype เข้ามาช่วยเหลือ Facebook ได้อย่างทันท่วงที ไม่ให้พลาดท่าแก่ Google ในศึกครั้งนั้น

ซึ่งด้วยความที่เป็นพันธมิตรที่เหนียวแน่น ถึงขนาดว่า faceboook ยอมใช้ map ของ microsoft ไม่ได้ใช้ map ของ Google ใน platform ของตัวเอง ต้องบอกว่า หาก Microsoft ได้ TikTok มาครอบครอง โลกของ Social นั้นก็จะถูกยึดโดยทีมพันธมิตร Microsoft-Facebook ได้อย่างแน่นอน

แต่อีกฝั่งที่ผมเชียร์ ก็คือ Google ที่มองว่ายังขาด Product ที่เป็น Social Platform ที่แม้จะพยายามปลุกปั้น (Google Plus) หรือ เข้าซื้อกิจการมาก็แล้ว (Orkut) ก็ดูเหมือนว่ายังคงปั้นไม่ขึ้น กับบริการในด้าน Social

Orkut ที่ Google เคยซื้อกิจการมา
Orkut ที่ Google เคยซื้อกิจการมา

ซึ่ง TikTok เอง ก็ถือว่า เข้ามารุกรานธุรกิจหลักของ Google เช่นกัน เพราะมันก็ถือว่าเป็น Platform วีดีโอ ที่แม้จะเป็น วีดีโอ แบบสั้น ๆ แต่ก็ถือว่าแย่งฐานผู้ใช้งานหลักที่เป็นวัยรุ่นไปจาก Youtube เช่นเดียวกัน

ส่วนตัวก็ยังคิดว่า ควรจะ Balance โลก Social ให้เกิดการแข่งขันกันมากกว่านี้ ซึ่ง หาก TikTok ได้มาเป็นเจ้าของโดย Google น่าจะเป็นการดีกว่า ซึ่งจะคอย Balance โลก Social ให้แข่งขันกันสนุกขึ้น และ ข้อมูล พฤติกรรม ของพวกเราใน social จะไม่ตกอยู่ในฝั่งใดฝั่งหนึ่งมากเกินไปนั่นเอง

แล้วถ้า TikTok ต้องถูกครอบครองโดยบริษัท อเมริกันจริง ๆ คุณคิดว่าใครควรจะเป็นเจ้าของ Platform น้องใหม่ที่มาแรงสุด ๆ อย่าง TikTok กันแน่ครับ?

References : https://findyoursounds.com/2020/08/01/microsoft-in-talks-to-acquire-tiktok-say-reports/

Canva กับการเปลี่ยนความคิดหนังสือรุ่นโรงเรียนมัธยมให้กลายเป็นธุรกิจพันล้าน

การเริ่มต้นสร้างบริษัทเป็นสิ่งหนึ่งที่เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย แต่การเริ่มต้นบริษัทด้วยการต้องแข่งขันกับบริษัทเทคโนโลยีระดับสูงอย่าง Microsoft และ Adobe นั้น ถือว่าไม่เป็นเรื่องง่ายเลย

แต่นั่นคือสิ่งที่ Melanie Perkins นักธุรกิจสาวชาวออสเตรเลียทำเมื่อเธอสร้างผลิตภัณฑ์สำหรับการออกแบบเพื่อแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีเหล่านี้

“เป้าหมายของเราคือการนำระบบนิเวศการออกแบบทั้งหมดมารวมไว้ในหน้าเดียวแล้วทำให้มันเข้าถึงได้ทั่วโลก” Perkins กล่าว

Perkins เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง และ ซีอีโอของ Canva อายุ 32 ปี เป็นแพลตฟอร์มการออกแบบออนไลน์ที่ใช้งานได้แบบฟรี ๆ

ผู้ก่อตั้งรุ่นเยาว์เริ่มก่อตั้งบริษัทที่ประเทศออสเตรเลียในปี 2013 เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการออกแบบได้ไม่ว่าจะเป็นโลโก้นามบัตรหรืองานนำเสนอหรือ presentation แบบมืออาชีพ และภายใน 5 ปีเธอได้กลายมาเป็นหนึ่งในซีอีโอหญิงที่อายุน้อยที่สุดของบริษัทเทคโนโลยีในขณะที่เธอมีอายุเพียง 30 ปี

สองปีต่อมา บริษัท ที่มีสำนักงานใหญ่ในซิดนีย์ กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่า 3.2 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งทำให้ Perkins และผู้ร่วมก่อตั้งและคู่หมั้นของเธอ Cliff Obrecht กลายเป็นเศรษฐี โดยมีมูลค่าทรัพย์สินประมาณ 900 ล้านเหรียญสหรัฐ และต้องบอกว่าเรื่องราวของ Canva นั้นน่าสนใจเพราะ มันเริ่มต้นด้วยธุรกิจรายงานประจำปีของโรงเรียนมัธยม

ความฝันของวัยรุ่น

Perkins ที่ในขณะนั้นมีอายุเพียง 19 ปี เมื่อเธอได้เริ่มแนวคิดครั้งแรก ในปี 2006 ซึ่งขณะนั้นเธอกับ Obrecht กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยในเมืองเพิร์ธ

วัยรุ่นจะได้รับรายได้เพียงเล็กน้อยจากการสอนโปรแกรมการออกแบบให้กับนักเรียนคนอื่น ๆ แต่เหล่านักเรียนพบว่าแพลตฟอร์มที่สร้างโดย Microsoft และ Adobe ใช้งานยากมาก ๆ และเธอรู้สึกว่าต้องมีวิธีที่ดีกว่า

“ ผู้คนจะต้องใช้เวลาทั้งภาคเรียนในการเรียนรู้ว่าปุ่มแต่ละปุ่มนั้นอยู่ที่ไหนและมันดูไร้สาระมากๆ ” Perkins กล่าว “ฉันคิดว่าในอนาคตทุกคนจะออนไลน์และใช้ความร่วมมือกัน และสร้างเครื่องมือที่ง่ายกว่าเครื่องมือที่ยากจริง ๆ เหล่านี้”

ดังนั้นเธอกับ Obrecht จึงพยายามทำวิสัยทัศน์นั้นให้เป็นจริง

จุดเริ่มต้นเล็ก ๆ

ด้วยทรัพยากรที่น้อยและประสบการณ์ทางธุรกิจที่แทบจะไม่มีเลย พวกเขาทั้งคู่เริ่มต้นเล็ก ๆ ด้วยการสร้างธุรกิจออกแบบหนังสือเรียนออนไลน์ Fusion Books เพื่อทดสอบความคิดของพวกเขา

พวกเขาเปิดตัวเว็บไซต์สำหรับนักเรียนเพื่อ “ทำงานร่วมกันและออกแบบหน้าโปรไฟล์และบทความโดยสามารถทำงานร่วมกันได้” โดยทั้งคู่จะสร้างรายงานประจำปีและส่งมอบให้กับโรงเรียนทั่วประเทศออสเตรเลีย

“ห้องนั่งเล่นของแม่ของฉัน ได้กลายเป็นสำนักงานของฉันและแฟนของฉันก็กลายเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจของฉันและเราก็เริ่มเปิดโรงเรียนเพื่อสร้างหนังสือรุ่นของพวกเขาจริง ๆ แบบ ง่าย ๆ” Perkins อธิบาย

ธุรกิจประสบความสำเร็จและยังคงแข็งแกร่งอยู่มาจวบจนถึงปัจจุบัน แต่สำหรับ Perkins มันเป็นเพียงก้าวแรกในสิ่งที่เธอเรียกว่า “ความฝันที่ยิ่งใหญ่” สำหรับเว็บไซต์ดีไซน์ครบวงจร – ดังนั้นเธอจึงเริ่มไล่ล่าเพื่อตามหาเหล่านักลงทุน

Go to Silicon Valley

ไม่กี่ปีต่อมาในปี 2010 ขณะที่การประชุมที่เมืองเพิร์ธ Perkins ได้มีโอกาสพักผ่อนครั้งใหญ่ครั้งแรกของเธอ

โอกาสที่เธอจะได้พบกับแหล่งเงินทุนครั้งสำคัญที่ Silicon Valley เมื่อ นักลงทุน Bill Tai ได้เชิญ Perkins ไปซานฟรานซิสโก เพื่อเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับโปรเจ็คของเธอ และเพียงไม่กี่ชั่วโมงต่อมาผู้ร่วมทุนในตำนานที่ประทับใจอย่างชัดเจนก็สนใจที่จะร่วมทุนแทบจะทันที

Bill Tai ที่เป็นคนชักชวน Perkins มาที่ Silicon Valley : ภาพจาก GettyImage
Bill Tai ที่เป็นคนชักชวน Perkins มาที่ Silicon Valley : ภาพจาก GettyImage

“ ฉันคิดว่าเขาไม่ชอบสิ่งที่ฉันพูด เขามองแต่โทรศัพท์ของเขา และฉันคิดว่านั่นหมายความว่าเขาไม่ได้มีส่วนร่วมในสิ่งที่ฉันจะพูดเกี่ยวกับอนาคตของเว๊บไซต์ดีไซต์ครบวงจรของเธอ ” Perkins เล่า

“ แต่แล้วฉันก็กลับถึงบ้านและตระหนักว่าจริง ๆ แล้วเขาแนะนำฉันให้กับนักลงทุนที่มีศักยภาพอีกหลาย ๆ คน”

การเติบโตของทีมงาน

ซึ่งใช้เวลาไม่นานทั้งคู่ก็ได้รับชัยชนะเหนือนักลงทุนรายใหญ่ และสร้างแพลตฟอร์มการออกแบบของ Canva ด้วยทีมวิศวกรด้านเทคโนโลยีที่ทำให้แพล็ตฟอร์มนั้นเติบโตอย่างรวดเร็ว

แต่มันเป็นในปี 2012 ที่ธุรกิจเริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจัง ด้วยความช่วยเหลือของที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีและผู้ร่วมก่อตั้ง Google Maps, Lars Rasmussen ซึ่ง Perkins และ Obrecht ได้มาเจอผู้ร่วมก่อตั้งที่มากฝีมืออย่าง Cameron Adams และ Dave Hearnden ที่มาช่วยในเรื่องเทคนิคของแพล็ตฟอร์ม Canva

หลายเดือนต่อมาในช่วงปิดการระดมทุนรอบแรก การลงทุนเริ่มต้น 1.5 ล้านนั้น นำโดยรัฐบาลออสเตรเลียเพื่อเป็นการรั้งให้บริษัทอยู่บนชายฝั่งของออสเตรเลีย

โดยในปีหลังจากนั้น Canva ได้เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถสมัครสมาชิก และสร้างการออกแบบออนไลน์ที่หลากหลายได้ฟรี

การออกแบบสำหรับอนาคต

ปัจจุบัน Canva ได้ช่วยสร้างงานออกแบบเกือบ 2 พันล้านชิ้นใน 190 ประเทศและได้รับการสนับสนุนจากคนดังอย่าง Owen Wilson และ Woody Harrelson

ในเดือนตุลาคม 2019 การระดมทุนรอบล่าสุดกว่า 85 ล้านดอลลาร์ ซึ่งนำโดยนักลงทุนพันธบัตร Mary Meeker’s ของ Silicon Valley ทำให้ บริษัท ถูกประเมินมูลค่าสูงขึ้นไปเป็น 3.2 พันล้านดอลลาร์

ด้วยทีมงานคุณภาพ และ เงินทุน ทำให้ Canva กลายเป็นแพล็ตฟอร์มยอดนิยมในที่สุด
ด้วยทีมงานคุณภาพ และ เงินทุน ทำให้ Canva กลายเป็นแพล็ตฟอร์มยอดนิยมในที่สุด

Perkins กล่าวว่าเธอวางแผนที่จะใช้เงินทุนเพิ่มเติมเพื่อขยายทีมงานของ 700 คน ในซิดนีย์ , ปักกิ่งและมะนิลา ในขณะที่เงินอีกส่วนหนึ่ง ยังใช้ในการสร้างบริการชำระเงินของบริษัท Canva Pro และ Canva สำหรับองค์กร

กลยุทธ์ดังกล่าวจะนำพา Perkins มาให้ใกล้เคียงที่สุดกับการแข่งขันโดยตรงกับเครื่องมือออกแบบมืออาชีพที่สร้างโดย บริษัท ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีเช่น Microsoft และ Adobe

แต่ด้วย 85% ของ บริษัท ที่ติดอันดับ Fortune 500 ใช้แพลตฟอร์มของเธออยู่แล้วผู้ก่อตั้งรุ่นเยาว์ กล่าวว่าเธอพร้อมที่จะท้าทายบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งสอง ในการก้าวขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งของแพล็ตฟอร์มสำหรับการออกแบบทั้งสำหรับบุคคลทั่วไป และ สำหรับมืออาชีพให้ได้

References : https://about.canva.com/story/
https://blog.markgrowth.com/growth-story-how-canva-acquired-10-million-users-within-5-years-bfe5275b321c
https://www.bbc.com/news/business-42552367
https://www.theceomagazine.com/business/coverstory/canva-melanie-perkins/
https://www.cnbc.com/2020/01/09/canva-how-melanie-perkins-built-a-3point2-billion-dollar-design-start-up.html

Geek Monday EP44 : China’s AI Awakening การเติบโตอย่างเฟื่องฟูของ AI ในประเทศจีน

ขณะที่กระแสของเทคโนโลยีทางด้าน AI ซึ่งกำลังมีบทบาทอยู่ในทั่วโลกนั้น จีนก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ  กำลังดำเนินการในการสร้างและพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ทางรัฐบาลของจีนได้ทำการเทเงินกว่า หนึ่งแสนล้านหยวน หรือ ประมาณ หนึ่งหมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในเทคโนโลยีดังกล่าว

ขณะที่ภาคเอกชนของจีน ก็ทำการลงทุนขนาดใหญ่กับ AI เทคโนโลยีของอนาคต ซึ่งถ้าหากความพยายามดังกล่าวของจีนประสบความสำเร็จนั้น และขณะนี้ก็มีสัญญาณหลายอย่างที่ปรากฏว่าจีน จะกลายเป็นผู้นำด้าน AI ในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งก็จะทำให้สามารถเพิ่ม productivity ของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของจีน

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน Podbean : https://bit.ly/2ReIg5r

ฟังผ่าน Apple Podcast :https://apple.co/2lEqPPg

ฟังผ่าน Google Podcast :  https://bit.ly/2UK66rP

ฟังผ่าน Spotify : https://spoti.fi/3bYye0p 

ฟังผ่าน Youtube https://youtu.be/UZhlEkwgyCI

References Images : https://www.digitalcrew.com.au/blogs-and-insights/chinas-artificial-intelligence-dominance/

NetScape Time ตอนที่ 14 : The Fall of Netscape

ในปี 1994 Bill Gates ได้กล่าว คำ ๆ นึงที่ดูเหมือนจะส่งผลกระทบต่อ NetScape เป็นอย่างมากนั่นก็คือ เขาหวังว่าจะไม่มีผู้ผลิตรายใดสร้างรายได้จากโปรแกรม Browser อย่างที่ NetScape กำลังทำอยู่

ต้องบอกว่า สถานการณ์ในขณะนั้น บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft นั้นมีเงินสดในมือกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญ ผ่านเครื่องจักรทำเงินของพวกเขาอย่าง ระบบปฏิบัติการ Windows และชุดโปรแกรม Office

ซึ่งแนวคิดของ Bill Gates มันก็ชัดเจนอยู่แล้ว พวกเขาผู้ขาดธุรกิจของระบบปฏิบัติการ และมีส่วนแบ่งการตลาดที่สูงมาก ๆ ในโปรแกรมที่พวกเขาวางขายทุก ๆ ตัว การที่จะต้องแจกโปรแกรมบางอย่างฟรี ๆ มันเป็นเรื่องง่ายสำหรับพวกเขามาก

โดยทาง Microsoft นั้นใช้แผนที่เหนือเมฆมาก ๆ คือนำ Internet Exproler ออกสู่ตลาดโดยแถมมากับระบบปฏิบัติการ Windows 95 เลยแทบจะทันที โดย Microsoft นั้นก็ได้พัฒนาตัว IE โดยใช้พื้นฐานมาจาก Mosaic ที่พวกเขาได้ลิขสิทธิ์ต่อมาจาก Spyglass นั่นเอง

Microsoft ปล่อย Internet Exproler มากับ Windows แบบฟรี ๆ
Microsoft ปล่อย Internet Exproler มากับ Windows แบบฟรี ๆ

แต่ NetScape ก็ไม่ได้กลัวแต่อย่างใด เพราะหลังจากปล่อย NetScape Version 2.0 ออกไปนั้น ได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้ามาก ๆ จนทำให้มีผู้ใช้งานกว่า 38 ล้านคนทั่วโลก และนับเป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลก สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดไปได้ถึง 80% เลยทีเดียวในช่วงปี 1996

NetScape นั้นใช้กลยุทธ์ในการนำโปรแกรมออกเผยแพร่ทาง internet ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้ามาดูตัวโปรแกรมได้ และได้เริ่มก้าวไปสู่การพัฒนาโปรแกรมสำหรับเครือข่ายในองค์กร และโปรแกรมด้านการค้าใน internet เพื่อสร้างรายได้ให้มากที่สุด

แต่ Microsoft นั้นเป็นบริษัทที่ทุนหนาอยู่แล้วจึงไม่มีปัญหาเรื่องการเงินแต่อย่างใด จึงได้เข้ามาต่อสู้อย่างเต็มตัวและดุเดือดมากยิ่งขึ้น ซึ่งในการแถม Browser ไปกับระบบปฏิบัติการ และเป็นยิ่งส่งเสริมให้คนหันมาใช้ ระบบปฏิบัติการ Windows 95 มากยิ่งขึ้น

ซึ่งสุดท้ายก็มีการฟ้องร้องกัน โดยมีการกล่าวหาว่า Microsoft ผูกขาดการตลาดของระบบปฏิบัติการ ทางฝั่ง Microsoft นั้นก็ไม่แยแสในเรื่องที่เกิดขึ้นเดินหน้าแถม Browser ต่อไปจนครองส่วนแบ่งแทบจะทั้งหมดของ Browser ไปได้ในท้ายที่สุด

และ ทำให้ Netscape ต้องถูกขายให้กับ AOL ในภายหลังก่อนจะพัฒนากลายมาเป็น Mozilla Firefox อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ส่วนคดีความฟ้องร้องนั้น ถึงแม้สุดท้าย ศาลจะพิพากษาให้ Microsoft เป็นฝ่ายผิด แต่ Microsoft ก็ยินยอมจ่ายค่าปรับเพียงร้อยกว่าล้านเหรียญเท่านั้น ซึ่งเปรียบเหมือนในสงครามนี้ Microsoft ยอมแพ้ในศาลแต่ ในเชิงธุรกิจนั้น Netscape ได้ตายไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นเองครับผม

แล้วเราได้อะไรจากการเรื่องราวของ NetScape จาก Blog Series ชุดนี้

ต้องบอกว่า Web Browser นั้นถือเป็นอีกหนึ่งในนวัตกรรม ที่เปลี่ยนโลกเราไปตลอดการ แม้การเกิดขึ้นของ World Wide Web จาก Tim Berner lee นั้นจะเกิดมาก่อนก็ตาม แต่การที่ทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึง internet ได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้นนั้น ก็เป็นผลมาจากโปรแกรม Web Browser ตัวแรกอย่าง Mosaic ที่ Marc Andreeessen เป็นผู้ให้กำเนิดขึ้นมา

แน่นอนว่าเรื่องราวของการก่อตั้งบริษัทใหม่อย่าง NetScape นั้น เป็นเรื่องราวที่ดั่งปาฏิหาริย์ เพราะใช้เวลาเพียงปีกว่า ๆ เท่านั้น พวกเขาก็สามารถพาบริษัทเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ได้สำเร็จ และ สร้างปาฏิหาริย์มากมายให้กับ WallStreet

แต่แน่นอนว่า เมื่อการเติบโตไปเข้าหูยักษ์ใหญ่ ที่ครอบครองตลาดแบบเบ็ดเสร็จอย่าง Microsoft มันก็เป็นเรื่องยากที่พวกเขาจะชนะยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ได้ ถือเป็นบทเรียนครั้งสำคัญครั้งหนึ่งให้กับเหล่า startup ยุคหลังว่า ไม่ควรที่จะเข้าไปต่อกรกับ ยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft แต่เนิ่น ๆ

แน่นอนว่า เราจะได้เห็นบริษัทยุคหลัง ได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้จากเรื่องราวของ NetScape ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดก็คงจะเป็น Google ที่พวกเขาทำทุกอย่างให้เงียบที่สุด และเลี่ยงการต่อกรกับยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ให้มากที่สุด

ซึ่ง Google นั้นประสบความสำเร็จ เพราะกว่า Microsoft จะรู้ตัวนั้น พวกเขาได้พัฒนาเทคโนโลยีจนนำห่างไปไกลแล้ว จน Microsoft ไม่สามารถที่จะไล่ตาม Google ได้ทันในที่สุด แม้จะพยายามบีบอย่างไร แต่มันก็ช้าเกินไปเสียแล้วนั่นเอง ซึ่งจะเห็นได้ว่า Google นั้นรับบทเรียนจากการเข้าไปต่อสู้กับ Microsoft ของ NetScape อย่างชัดเจน

แน่นอนว่า โลกยุคใหม่นั้น บริษัทขนาดใหญ่อย่าง Microsoft นั้นไม่ได้เปรียบในทุกเรื่องเสมอไป ด้วยขนาดองค์กรที่ใหญ่ ทำให้เคลื่อนตัวผ่านนวัตกรรมใหม่ ๆ เป็นไปด้วยความลำบาก ทำให้เกิดบริษัทหน้าใหม่ Startup หน้าใหม่ ขึ้นมาเปลี่ยนโลกมากมายอย่างที่เราได้เห็นกันในปัจจุบัน

ซึ่งบทเรียนของ NetScape นั้นก็ ถือเป็น Case Study ที่สำคัญให้ เหล่าบริษัท Startup หน้าใหม่ยุคหลัง สามารถที่จะลืมตาอ้าปาก ไม่ถูกกลืนกิน เหมือนในยุคก่อนหน้าได้ ต้องถือว่าเรื่องราวของพวกเขา สร้างคุณูปการให้กับนักธุรกิจยุคหลังเป็นอย่างมาก นั่นเองครับผม

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Billion Dollar Company *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

รวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุดรวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุด

References : https://www.theguardian.com/global/2015/mar/22/web-browser-came-back-haunt-microsoft

อย่าลืมติดตามผลงานเรื่องต่อ ๆ ไปของผมก่อนใครได้ที่ blockdit นะครับ โหลดได้เลย

อย่าลืม ค้นหา “ด.ดล Blog” แล้ว กด follow กันด้วยนะครับผม

NetScape Time ตอนที่ 13 : Monopoly Power

แน่นอนว่าความขัดแย้งที่เริ่มต้นขึ้นจาก Microsoft ในเรื่อง APIs นั้น นำไปสู่ความล่าช้าในการพัฒนาโปรแกรม NetScape 2.0 ซึ่งแต่เดิมงานด้านการพัฒนานั้นก็หนักอยู่แล้วในการพัฒนา Features ใหม่ ๆ ออกมา แต่การเตะตัดขาโดย Microsoft นั้นทำให้งานยากขึ้นเป็นเท่าตัว

วันที่ 21 มิถุนายน ปี 1995 Marc , James Barksdale และทีมงาน ได้พบกับตัวแทนของ Microsoft ซึ่ง ตอนนั้น Microsoft พร้อมที่จะมอบ APIs ให้ แต่เรียกร้องหลายสิ่งหลายอย่างเป็นการตอบแทน

โดย Microsoft นั้นต้องการที่นั่งในคณะกรรมการบริษัท และหุ้นของบริษัทจำนวนหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่า Microsoft นั้นเป็นยักษ์ใหญ่ที่มีเงินเหลือมากมาย มันเป็นการบีบบังคับทางธุรกิจ ซึ่ง Microsoft นั้นมีอำนาจเหนือกว่าเพราะเป็นคนควบคุมระบบปฏิบัติการที่เป็นหน้าด่านของโปรแกรมทุกสิ่ง

Jim คิดว่านี่่มันเป็นการใช้อำนาจมาบีบบริษัทชัด ๆ ซึ่งมันดูไม่แฟร์ ซึ่งเขามองว่ามันเป็นเรื่องที่ผิดกฏหมาย และ James เอง ก็รู้สึกโมโหเช่นเดียวกันในเรื่องดังกล่าว จึงได้ตอบปฏิเสธไปในการพบกันครั้งนั้น

NetScape 2.0 ที่ต้องการลงใน Windows 95
NetScape 2.0 ที่ต้องการลงใน Windows 95

หลังจากนั้นเพียงอาทิตย์เดียว Microsoft ก็ยอมให้ส่วนของ APIs สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows 95 ในที่สุด และ ทางทีมงานของ Marc ก็ได้เร่งทำจนเสร็จตามกำหนดในที่สุด แต่ไม่มีคำอธิบายใด ๆ จาก Microsoft ว่าความล่าช้าที่เกิดขึ้นมันเป็นเพราะอะไรกันแน่

ตัว James เองนั้น มองถึงอนาคต และทราบดีถึงการแข่งขันที่รุนแรงกำลังจะเกิดขึ้น เมื่อยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ตื่น แม้ NetScape จะได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าก็ตาม และผู้ใช้ internet ทั่วโลกต่างหลงรักใน NetScape ในการท่องโลก internet

แม้ Microsoft นั้นจะทำเป็นไม่สนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น และแทบจะไม่ได้พัฒนาโปรแกรม Mosaic เพิ่มเติมแต่อย่างใด หลังจากที่ได้รับลิขสิทธิ์มาจาก Spyglass ก็ตามที พวกเขาทำทีเหมือนจะสนใจแค่บริการ online ผ่าน Microsoft Network เพียงเท่านั้น

แน่นอนว่า Windows 95 นั้นจะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญมาก ๆ ทาง James จึงได้เข้าไปติดต่อกับเหล่าผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรายใหญ่ ๆ เพื่อทำการผนวกโปรแกรม NetScape 2.0 เข้าไปในระบบปฏิบัติการที่ให้พวกเขานำมาใส่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะทำการขายให้กับลูกค้า

มันเป็นการเพิ่มฐานลูกค้า เพื่อช่วยขยายส่วนแบ่งทางการตลาดไปสู่คนที่ยังไม่เคยใช้งาน internet ซึ่งโปรแกรมที่แถมไปด้วยกับเครื่อง น่าจะเป็นผลดีกับลูกค้า ซึ่งถือเป็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์ไปในตัว

แต่แผนการของ James ก็ต้องถูกเบรค โดย Microsoft เพราะหลังจากที่ Microsoft รู้เรื่องดังกล่าว ก็ได้ทำการบีบเหล่าผู้ผลิต ไม่ให้ใช้ โปรแกรม NetScape ติดไปกับเครื่อง เป็นการแทรกแซงอีกครั้งจากยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft

ซึ่งหนึ่งในบริษัทที่แหกกฏอย่าง Compaq ยักษ์ใหญ่ในวงการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในตอนนั้น ซึ่งได้นำโปรแกรม NetScape 2.0 เข้าไปผนวกในเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนหลายรุ่นที่พวกเขาจำหน่าย

แต่ไม่นานนักทาง Microsoft ได้ประกาศยกเลิกลิขสิทธิ์โปรแกรมระบบปฏิบัติการ Windows 95 ที่เคยมอบให้บริษัท Compaq จน Compaq ต้องยุติการติดตั้งโปรแกรม NetScape 2.0 ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองในที่สุด

Compaq ที่เป็นผู้ผลิตอันดับต้น ๆ ในขณะนั้น ยังไม่กล้าขัด Microsoft
Compaq ที่เป็นผู้ผลิตอันดับต้น ๆ ในขณะนั้น ยังไม่กล้าขัด Microsoft

มีการบีบบังคับผู้ผลิตทุกรายไม่ให้ใช้โปรแกรม NetScape มีการขู่ว่าจะเพิ่มค่าลิขสิทธิ์ Windows 95 อีก 3 เหรียญ หากมีการลงโปรแกรม NetScape ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะขายให้กับลูกค้า

เรียกได้ว่ามันเป็นการใช้อำนาจที่ควบคุมตลาดได้แบบเบ็ดเสร็จ ในตลาดระบบปฏิบัติการ Windows ที่ตอนนั้นควบคุมผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์กว่า 80% ที่มีอยู่ทั่วโลก ไม่มีบริษัทใดกล้าต่อกร กับ Microsoft แม้แต่รายเดียว โดยเฉพาะเหล่าบริษัทผู้ผลิต Software ทั้งหลาย

การเรียกค่าลิขสิทธิ์เพิ่มหากมีผู้ผลิตใดลงโปรแกรม NetScape ก็เทียบได้กับว่า Microsoft พยายามเรียกร้องค่าลิขสิทธิ์เพิ่มในตัวโปรแกรม NetScape นั่นเอง แต่ไปขูดรีดกับเหล่าผู้ผลิตที่คิดจะฝ่าฝืนกฏของ Microsoft แทนที่จะบีบมาที่ NetScape โดยตรง

แน่นอนว่าในตอนนั้น ไม่มีโปรแกรม Broswer ใด ที่สามารถทำงานได้ดีกว่า NetScape แม้ผู้ใช้งานจะชอบโปรแกรม NetScape เพียงใดก็ตาม แต่การนำโปรแกรมเข้าไปบรรจุในเครื่องนั้น จะทำให้เหล่าผู้ผลิตต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น จึงไม่มีผู้ผลิตรายใดกล้าใส่โปรแกรม NetScape เข้าไป

มันเป็นที่ชัดเจนแล้ว่า Bill Gates กำลังจ้องมองลงมาที่ NetScape แบบชัดเจน และเริ่มใส่ใจว่า NetScape จะกลายเป็นภัยคุกคามของพวกเขาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผ่านการกระทำต่าง ๆ อย่างที่ได้กล่าวไป

การที่ระบบปฏิบัติการถูกผูกขาดโดย Microsoft กลายเป็นปัญหาใหญ่ของ NetScape เมื่อสัญญาณมันชัดเจนขนาดนี้ NetScape จะตอบโต้กลับอย่างไร และต้องเตรียมการสำหรับการต่อสู้ในครั้งนี้ด้วยความยากลำบากแค่ไหน ศึกครั้งนี้ ใครจะเป็นผู้ชนะ ตัวจริง โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 14 : The Fall of NetScape (ตอนจบ)

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Billion Dollar Company *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***