ประวัติ Steve Jobs ผู้สร้าง iPod ตอนที่ 10 : The Whiteness of the Whale

ผลงานอันโดดเด่นของ ไอฟฟ์ ในการ ดีไซต์ นั้นมันเห็นผลอย่างชัดเจนกับ iMac หลากสีสัน ที่ออกสู่ตลาดในปี 1998 ใช้เวลาเพียงหยุดสัปดาห์แรกเท่านั้น ก็สามารถทำยอดขายได้สูงเกิน 150,000 เครื่อง ด้วยโครงสร้างเครื่องที่โค้งลงตัว และดูแปลกแหวกแนวกว่าคอมพิวเตอร์ที่มีขายทั่วไปในตลาดอย่างชัดเจน

ไม่เพียง iMac จะตีรูปแบบคอมพิวเตอร์แบบเดิมให้แตกกระเจิงเท่านั้น ยังสร้าง คาแร็กเตอร์ ของตนเองขึ้นมาใหม่ เป็นคาแร็กเตอร์ที่คูลสุด ๆ มันทำให้ iMac นั้นไม่ใช่ พีซี ไม่ใช่เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ผลิตโดย Microsoft แถมการอัดแคมเปญโฆษณา “Chick , not Greek” ระดับ High Profile ส่งให้ผลให้ iMac ทะยานเป็นคอมพิวเตอร์ที่ขายดีที่สุดในอเมริการทันที

งานดีไซน์ ของ ไอฟฟ์ ประสบคามสำเร็จอย่างสูงกับ iMac
งานดีไซน์ ของ ไอฟฟ์ ประสบคามสำเร็จอย่างสูงกับ iMac

และการดีไซต์ iPod ให้ได้อยู่ในแถวหน้าระดับเดียวกับ iMac ที่ประสบความสำเร็จ นั้น  ก็ต้องถูกบรรจงสรรสร้างงานดีไซต์ โดย ไอฟฟ์ เช่นเดียวกัน  และ ไอฟฟ์ กำลังทราบดีว่าตนกำลังดีไซต์เครื่องเล่นเพลงเครื่องแรกที่เป็นตัวการสำคัญที่สุดในศตวรรษที่ 21 ซึ่งสำคัญแท้ทั้งในด้านการใช้งาน และ การปฏิวัติอุตสาหกรรมเพลงไปตลอดกาล

งานทางด้านวิศวกรรมนั้น เป็นหน้าที่ของ ฟาเดลล์ แต่สิ่งสำคัญที่สุดของ iPod ที่จะทำให้แตกต่างจากเครื่องเล่น MP3 ที่มีในตลาดได้ คือ งานด้านการ Design ผลิตภัณฑ์ ซึ่ง ไอฟฟ์ เข้ามารับหน้าที่สานงานดังกล่าว ต่อ จาก ฟาเดลล์

จ๊อบส์ นั้น ต้องการผลิตภัณฑ์ ที่ดูเป็นธรรมชาติ และเห็นแล้วอยากเป็นเจ้าของทันที รวมถึงใช้งานง่ายในแบบที่ใครก็คิดไม่ถึงว่าจะ ดีไซน์ออกมาได้ และ ยังยืนยันว่าต้องเป็นสีขาว สีขาวในแบบของ Apple ซึ่งแตกต่างจากใคร

ไอฟฟ์ เล่นกับโมเดล เครือง iPod ที่ทำจากโฟม และพยายามนึกว่าเครื่องที่เสร็จแล้วนั้น จะมีหน้าตาอย่างไร เช้าวันหนึ่งระหว่างขับรถจากบ้านแถบซานฟรานซิสโก เขาก็เกิดความคิดว่าด้านหน้าของ iPod ควรเป็นสีขาวบริสุทธิ์ ซึ่ง เป็นแนวคิดเดียวกับจ๊อบส์ และต้องเชื่อมติดกับฝาหลังเหล็กกล้ากันสนิมขัดมันอย่างแนบเนียนไร้รอยต่อ

และที่สำคัญ มันต้องทำจากการฉีดพลาสติกสองชั้น ซึ่งถือเป็นกรรมวิธีการผลิตของจากพลาสติก ที่ไม่เคยมีบริษัทใดทำมาก่อน ในการหล่อพลาสติกครั้งที่สองนั้น เป็นการขึ้นแม่พิมพ์ที่ใช้วัสดุต่างประเภทกัน อาจเป็นชนิดพลาสติกที่แตกต่างกัน หรือ ใช้พลาสติกเชื่อมกับโลหะ ซึ่งกรรมวิธีเช่นนี้เป็นการเปิดโอกาสให้วิศวกร ได้คิดค้นความเป็นไปได้ในการวางแบบแม่พิมพ์และกระบวนการทำงานอย่างที่ไม่เคยที่จะปรากฏมาก่อนในตำราไหนๆ  iPod ต้องไม่มีสลักและช่องใส่แบตเตอรี่

และสีขาวที่เขาจะใช้ไม่ใช่ขาวแบบธรรมดา แต่เป็นขาวบริสุทธิ์ และ ไม่ใช่แค่เพียงตัวเครื่องเท่านั้น แต่ หูฟัง สาย และแท่งแบตเตอรี่ก็ต้องเป็นสีขาวด้วยเหมือนกัน แม้จะมีทีมงานหลายคนเถียงว่า หูฟังนั้น ต้องเป็นสีดำเหมือนหูฟังทั่วไป แต่จ๊อบส์ เข้าใจทันที และยอมให้ใช้สีขาวอย่างเต็มใจ และ การที่สายหูฟังมีสีขาว จะทำให้ iPod กลายเป็นไอคอน ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ แตกต่างจากผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มีอยู่ในตลาด ผู้คนจะรู้ทันทีว่านี่คือ iPod

สีขาวทั้งตัวเครื่องรวมถึงหูฟัง ที่เป็นเอกลัษณ์ที่สำคัญของ iPod
สีขาวทั้งตัวเครื่องรวมถึงหูฟัง ที่เป็นเอกลัษณ์ที่สำคัญของ iPod

ทีมโฆษณา ของ ลี คลาว ที่ TBWA\Chiat\Day อยากฉลองความเป็นไอคอนแลความขาวของเครื่อง iPod แทนที่จะทำโฆษณาเปิดตัวสินค้าโดยเน้นองค์ประกอบของอุปกรณ์เป็นหลัก แบบที่ทำกันทั่วไปในตลาด

เจมส์ ิวินเซนต์ หนุ่มอังกฤษ ร่างผอมสูง ซึ่งเคยเป็นสมาชิกวงดนตรี และเคยเป็นดีเจมาก่อน จะมาทำงานกับเอเยนซี่แห่งนี้ เป็นตัวเลือกที่เหมาะมากสำหรับการทำให้โฆษณา ของ apple โดนใจกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ที่รักเสียงเพลง ลี คลาว ได้ร่วมงาน กับ ซูซาน อลินซันกัน อาร์ต ไดเร็กเตอร์ ออกแบบบิลบอร์ดโฆษณา และ โปสเตอร์ สำหรับ iPod แล้วนำผลงานการออกแบบทั้งหมด ไปให้จ๊อบส์ดูในห้องประชุม

ด้านขวาสุดของโต๊ะ ทีมโฆษณา วางเลย์เอาต์งานที่ออกแบบตามแนวดั้งเดิมที่สุด เป็นรูปถ่ายเครื่อง iPod บนพื้นแบ็กกราวด์สีขาว เรียบง่าย และ มีความตรงไปตรงมา ด้านซ้ายสุด เป็นโฆษณา ที่ใช้ กราฟฟิก และสัญลักษณ์เข้ามาช่วยให้มากที่สุด เป็นร่างเงาทึบของใครบางคนกำลังเต้นตามจังหวะเพลงจากเครื่อง iPod อย่างสนุกสนาน จนสายหูฟังพลิ้วไหวไปตามจังหวะเพลง 

กราฟฟิก โฆษณา ที่สุดแหวกแนว เป็นชิ้นที่คลาสสิกที่สุดชิ้นนึงของ apple
กราฟฟิก โฆษณา ที่สุดแหวกแนว เป็นชิ้นที่คลาสสิกที่สุดชิ้นนึงของ apple

จ๊อบส์ ไปประดับใจตอนแรกที่เห็น เพราะไม่ได้โชว์ตัวสินค้า และก็ไม่ได้บอกด้วซ้ำว่ามันคืออะไร วินเซนต์ จึงเสนอให้เติมข้อความตบท้ายเข้าไปว่า “1,000 เพลงในประเป๋าคุณ” เท่านี้ก็สื่อความได้ครบทุกอย่างที่จ๊อบส์ต้องการ

จ๊อบส์ นั้น รู้ดีว่าการที่ apple มีระบบบูรณาการที่เอาทั้ง คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และ อุปกรณ์พกพาเข้าด้วยกัน ยังมีข้อได้เปรียบอีกอย่างหนึ่ง คือ ยอดขาย iPod จะช่วยหนุดยอดขายเครื่อง iMac ซึ่งแปลว่าสามารถโยกงบโฆษณา 75 ล้านเหรียญ ที่ apple จัดไว้สำหรับโฆษณา iMac ไปใช้กับโฆษณา iPod และได้ผลตอบแทนเป็นสองเท่าสำหรับเงินที่ใช้โฆษณาเท่าเดิม หรือ อาจจะเป็นสามเท่าก็ได้ เพราะโฆษณา iPod จะช่วยเพิ่มราศี และ ความสดใหม่ให้กับแบรนด์ apple

การค้นหาเพลงเพื่อมาประกอบภาพยนต์โฆษณา นั้น เป็นเรื่องที่สนุกลำดับต้น ๆ ในกระประชุมเรื่องโฆษณา ของ iPod อย่างที่หลายคนรู้กันว่า จ๊อบส์ นั้นชอบศิลปิน อย่าง บ๊อบ ดีแลน หรือ ศิลปิน เก่า ๆ ในยุคเขา แต่การจะโฆษณา ให้เข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่เป็นเป้าหมายหลักของ iPod ต้องเป็นเพลงที่นำยุคสมัย

ซึ่งโฆษณา ของ iPod นั้นทำให้เกิดวงดนตรีหน้าใหม่หลายวงเลยทีเดียว ที่โดดเด่นที่สุดน่าจะเป็น วง Black Eyed Peas เจ้าของเพลง “Hey Mama” ซึ่งใช้ประกอบโฆษณาชิ้นที่คลาสสิกที่สุดในกลุ่มที่ใช้ภาพเงาทึบ

ถึงตอนนี้ จ๊อบส์ นั้นโครตมั่นใจกับผลิตภัณฑ์ตัวนี้มาก เขาเที่ยวบอกใครต่อใคร ถึงคุณสมบัติที่สุดเจ๋งของมัน  เครื่องเล่นเพลงที่จะมาเป็นตัวกำหนดตลาด เครื่องเล่นที่สามารถเก็บเพลงทุกเพลงที่มีไว้เพื่อฟัง เป็นเครื่องที่ใช้ง่าย ทั้งยังต้องเป็นสิ่งที่มีคุณภาพสุดยอดแบบ Apple อีกด้วย และ ตอนนี้มันก็พร้อม ที่จะเปิดเผยตัวต่อชาวโลกแล้ว จะเกิดอะไรขึ้น กับ iPod สินค้านวัตกรรมตัวใหม่ของ apple และเป็นสินค้าที่ apple ไม่เคยทำมาก่อน เป็นการฉีก Apple ออกจากกฏเกณฑ์เดิม ๆ ที่เคยมีมา แล้วชาวโลกล่ะ จะคิดยังไงกับ iPod โปรดติดตามตอนต่อไป

–> อ่านตอนที่ 11 : Welcome to the iPod era

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The Second Coming  *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Steve Jobs ผู้สร้าง ipod ตอนที่ 9 : Let’s Build It

MP3 เป็นผลงานการคิดค้นของนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันกลุ่มหนึ่งในปี 1987 คล้าย  ๆ กับการตัดไฟล์วีดีโอเพื่อให้เล่นได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการตัดเอา data ที่ไม่จำเป็นออกมาให้มากเท่าที่จะเป็นไปได้ มันเป็นการนำ data ออกไปโดยที่ผู้ฟังไม่ทันสังเกตเห็น 

มันทำให้ไฟล์ที่ได้รับการตัดแต่งแล้วนั้น เป็นไฟล์ที่บรรจุข้อมูลน้อยที่สุด แต่ให้ผลแสดงออกมาที่เยี่ยมสมบูรณ์แบบเมื่อมนุษย์ ได้ยิน และ ได้ฟัง เป็นไฟล์ที่มีขนาดลดลงเหลือเพียง หนึ่งในสิบสองของไฟล์ต้นฉบับ ทำให้ลดจำนวนการเก็บข้อมูลได้มากโขเลยทีเดียว และมันกำลังรอคอยให้ จ๊อบส์ มาเพิ่มพูนคุณประโยชน์ให้กับมัน

ฟาเดลล์ พบจ๊อบส์ ครั้งแรกที่งานเลี้ยงวันเกิดที่บ้านของ แอนดี้ เฮิร์ตซเฟลด์ เมื่อหนึ่งปีก่อนหน้านั้น และเคยได้ยินกิตติศัพท์ของจ๊อบส์มามาก ซึ่งหลายเรื่องนั้นฟังแล้วน่าขนลุก แต่เพราะเขายังไม่รู้จักจ๊อบส์ดีพอ เขาจึงรู้สึกหวั่นใจพอสมควร เมื่อต้องมาประจันหน้ากับจ๊อบส์ จริง ๆ ในการประชุมงานเรื่อง iPod

เดือน เมษายน 2001 มีการประชุมนัดสำคัญ วันนั้นจ๊อบส์ ต้องตัดสินใจเลือกองค์ประกอบพื้นฐานสำหรับเครื่อง iPod ซึ่ง ฟาเดลล์ เป็นคนนำเสนอ โดย มี รูบินสไตน์ ,ชิลเลอร์ , เจฟฟ์ ร็อบบิน และ สแตน อึง ผู้อำนวยการฝ่ายตลาดของ apple เข้าร่วมฟังด้วย

ฟาเดลล์ เป็นผู้นำทีมสร้าง iPod
ฟาเดลล์ เป็นผู้นำทีมสร้าง iPod

การประชุมเริ่มด้วยการนำเสนอเรื่องของศักยภาพของตลาด และเนื้อหาทางการตลาดอื่น ๆ ที่เหล่านักการตลาดมักจะทำกัน แต่จ๊อบส์ เป็นคนที่มีความอดทนต่ำ สไลด์ชุดไหน ที่มีความยาวเกินหนึ่งนาที เขาจะไม่สนใจทันที และเมื่อถึงฟาเดลล์ ที่ต้องกล่าวถึงเรื่องคู่แข่งในตลาด ที่ขณะนั้น มีทั้ง Sony  , Creative หรือ Rio  ที่่อยู่ในตลาดเครื่องเล่น MP3 เหมือนกัน

แต่จ๊อบส์ นั้น โบกมืออย่างไม่แยแส จ๊อบส์ไม่เคยสนใจคู่แข่งเลยด้วยซ้ำ ตอนนี้ โปรเจค iPod ยังเป็นความลับอยู่ เหล่าคู่แข่งยังไม่รู้ว่า apple กำลังทำอะไรด้วยซ้ำ

จ๊อบส์ นั้นชอบให้เอาสิ่งที่จับต้องได้มาโชว์ เพื่อเขาจะได้ สัมผัส ลูบคลำ สำรวจ ฟาเดลล์ จึงได้นำโมเดล 3 แบบเข้ามาในห้องประชุมด้วย รูบินสไตน์ นั้นสอนเทคนิคให้จ๊อบส์ดูเรียงตามลำดับ เพื่อให้ชิ้นที่เขาชอบที่สุดเป็นชิ้นที่เด่นที่สุด ทีมงานจึงซ่อนโมเดล ที่ชอบไว้ใต้โต๊ะประชุม

จากนั้น ฟาเดลล์ เริ่มเอาโมเดลออกมาโชว์ ซึ่งโมเดลเหล่านี้ทำจากโฟมแบบเดียวกับที่ใช้ทำกล่องอาหาร ยัดไส้ตะกั่วเพื่อให้ได้น้ำหนักที่เหมาะสม ตัวอย่างแรกมีช่องใส่เมมโมรี่การ์ดสำหรับบันทึกเพลงแบบถอดได้ จ๊อบส์ตัดตัวอย่างนี้ออกทันทีมันดูซับซ้อนไป

โมเดล iPod จากโฟม เพื่อให้ จ๊อบส์ ได้ตัดสินใจ
โมเดล iPod จากโฟม เพื่อให้ จ๊อบส์ ได้ตัดสินใจ

ตัวอย่างที่สองนั้นใช้เมมโมรี่แบบ dynamic RAM ซึ่งราคาถูกกว่า แต่เพลงทั้งหมดจะถูก delete ทิ้งทันที หากแบตเตอรี่หมด ซึ่งแน่นอนว่าจ๊อบส์ไม่ปลื้มอย่างแน่นอน

จากนั้น แบบที่สามคือ ฟาเดลล์ ได้ทำการจับชิ้นส่วนต่อกันเหมือนเลโก้ เพื่อให้ดูว่าเครื่องเล่นบรรจุฮาร์ดไดร์ฟขนาด 1.8 นิ้วจะมีหน้าตาอย่างไร ซึ่ง โมเดลนี้ จ๊อบส์ดูสนใจมาก ๆ  ซึ่งสุดท้าย จ๊อบส์ ก็เลือกแบบดังกล่าว ซึ่ง ทำให้ฟาเดลล์ ถึงกับทึ่งมาก เพราะปรกติการประชุมแบบนี้ที่บริษัทอื่น จะต้องตัดสินใจแล้ว ตัดสินใจอีก แต่ กับ apple จ๊อบส์ ถือเป็นสิทธิ์ เด็ดขาด สามารถฟันธงได้ทันที ทำให้ทุกอย่างสามารถทำได้รวดเร็ว

 ต่อจากนั้นเป็นคิวของ ฟิล ชิลเลอร์ ซึ่งดำรงตำแหน่งรองประธานบริษัท มันเป็น idea ที่สำคัญที่สุดของ iPod ที่ทำให้แตกต่างจากเครื่องเล่น MP3 อื่น ๆ ในตลาด ชิลเลอร์ นั้นเสนอ ล้อกลม ๆ สำหรับใช้เลือกเพลง ( trackwheel ) แค่ใช้นิ้วโป้งหมุนวงล้อ ผู้ใช้จะสามารถเลือกเพลงใน Playlist ได้ ยิ่งหมุนนาน ก็ยิ่งไล่เพลงได้เร็วขึ้น ถึงจะมีเพลงเป็นร้อยเป็นพันเพลง ก็สามารถไล่ดูได้ง่าย ซึ่งไอเดียนี้ จ๊อบส์ร้องอุทาน “นั่นแหละใช่เลย!!!” แล้วสั่งให้ฟาเดลล์ กับทีมวิศวกร ลงมือทำทันที

ฟิล ชิลเลอร์ ผู้คิดค้น idea trackwheel ของ iPod
ฟิล ชิลเลอร์ ผู้คิดค้น idea trackwheel ของ iPod

โดยหลังจากเริ่มโครงการอย่างเป็นทางการ จ๊อบส์ ก็เข้ามาคลุกคลีด้วยทุกวัน จ๊อบส์ให้ concept หลักของ iPod คือ “ทำให้ง่ายเข้าไว้!” ทุกฟังก์ชัน ต้องทำได้ภายใน 3 click ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะบางครั้งทีมงาน ต้องพยายามแก้ไขปัญหาในส่วนของ User Interface แบบไม่ได้หลับไม่ได้นอน

แต่จ๊อบส์ก็พยายามหาจุดอ่อน ไปเรื่อย ๆ และให้ทีมงานไปคิดหาวิธีแก้มา ซึ่งบางครั้งทีมงานก็คิดไม่ออกว่าจะไปถึงสิ่งที่จ๊อบส์ต้องการได้อย่างไร มันเป็นเรื่องที่บ้ามาก ๆ ในหลายเรื่องที่ทีมงานต้องมานั่งแก้ไขเพื่อให้จ๊อบส์นั้นพอใจ จนตอนนั้น มันทำให้ปัญหาเล็ก ๆ ต่าง ๆ แทบมลายหายไปเลยทีเดียว เพราะจ๊อบส์ จะเห็นรายละเอียดในทุก ๆ จุด และสั่งให้แก้ไขมันทันที

แนวคิดที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จ๊อบส์ได้กำหนดไว้ คือ ควรให้ ซอฟท์แวร์ iTunes ในคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือจัดการกับฟังก์ชั่นต่าง ๆ ให้มากที่สุด แทนที่จะทำในเครื่อง iPod

ให้ iTunes ช่วยจัดการ iPod ให้มากที่สุด
ให้ iTunes ช่วยจัดการ iPod ให้มากที่สุด

และมีคำสั่งอย่างนึงจากจ๊อบส์ ที่ทำให้ทีมงานต่างอึ้งกันไปเลยทีเดียว กับ ความเรียบง่ายตามความต้องการของจ๊อบส์  จ๊อบส์นั้นไม่ต้องการให้ iPod มีปุ่ม เปิด-ปิด และเราจะสังเกตได้ว่า อุปกรณ์อื่น ๆ ของ Apple ก็เป็นอย่างนี้เหมือนกัน คือ ไม่มี ปุ่ม สวิตช์ เปิด-ปิด โดยจะเข้าสู่โหมดพักทันที เมื่อไม่ได้ใช้งาน และ จะ ตื่น เมื่อแตะแป้นใด  ๆ ก็ได้

แล้วทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เริ่มเข้าทางอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น ชิปที่เก็บเพลงได้เป็นพันเพลง ส่วนของ User Interface และวงล้อที่ช่วยนำทางไปหาเพลงต่าง ๆ นั้น การเชื่อมต่อผ่าน FireWire ที่ช่วยให้ดาวน์โหลดเพลง ทั้ง 1,000 เพลง ได้ในเวลาไม่ถึง 10 นาที และแบตเตอรี่ ก็สามารถใช้งานได้ถึง 1,000 เพลงเช่นกัน

ตอนนี้ จ๊อบส์ เริ่มรู้แล้วว่า ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ มันเจ๋ง แค่ไหน ด้วยคอนเซ็ปต์ของเครื่องที่เรียบง่าย และงดงาม มันคือ “หนึ่งพันเพลงในกระเป๋าคุณ” 

iPod ต้องเรียบง่ายที่สุด และ เข้ากับ concept 1,000 เพลงในกระเป๋าคุณ
iPod ต้องเรียบง่ายที่สุด และ เข้ากับ concept 1,000 เพลงในกระเป๋าคุณ

แต่ปัญหาคือ 1,000 เพลงนั้นจะมาจากไหน จ๊อบส์นั้นรู้ดีว่าเพลงบางส่วนนั้นจะถูก คัดลอกมากจาก CD ที่ซื้อมาอย่างถูกกฏหมาย ซึ่งส่วนนี้ไม่ได้มีปัญหาแต่อย่างใด แต่อีกหลายเพลงนั้น อาจจะมาจากการดาวน์โหลดที่ผิดกฏหมาย

แต่จ๊อบส์ นั้น เชื่ออย่างนึงในเรื่องของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และเชื่อว่า ศิลปิน ควรได้รับเงินจากสิ่งที่ตนเองผลิตขึ้นมา ดังนั้น ในช่วงท้าย ๆ ของการพัฒนา iPod เขาจึงออกคำสั่งให้เครื่องสามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ได้เพียงทิศทางเดียวเท่านั้น 

ผู้ใช้สามารถที่จะย้ายเพลงจากคอมพิวเตอร์ลงมาเครื่อง iPod ได้ แต่ไม่สามารถย้ายเพลงจาก iPod ไปใส่คอมพิวเตอร์ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้คนใส่เพลงลงเครื่อง iPod แล้วปล่อยให้เพื่อน ๆ อีกนับสิบถ่ายเพลงจากเครื่องไป นอกจากนี้เขายังตัดสินใจว่า พลาสติกใสที่หุ้มเครื่อง iPod ควรพิมพ์ข้อความเข้าใจง่ายว่า “อย่าขโมยเพลง”  ( “Don’t Steal Music”)

–> อา่นตอนที่ 10 : The Whiteness of the Whale

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The Second Coming  *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Steve Jobs ผู้สร้าง iPod ตอนที่ 3 : Ive Mac

ในวันที่จ๊อบส์ เรียกเหล่าผู้บริหารระดับสูงมาชุมนุมปลุกใจ หลังเข้ารับตำแหน่ง CEO รักษาการ ในเดือนกันยายน 1997 นั้น หนึ่งในผู้ฟังจำนวนนั้น เป็นชายหนุ่มชาวอังกฤษ วัย 30 ปี ผู้มีอารมณ์ ละเมียดละไม และมีควาทุ่มเทกับงานมาก ถึง มากที่สุด เค้าคือ โจนาธาน ไอฟฟ์ หรือ ที่ทุกคนรู้จักในนาม “จอนนี่”

ในช่วงก่อน จ๊อบ จะเข้ามาในรอบที่สองนั้น สถานการณ์ของบริษัท เรียกได้ว่า ย่ำแย่ ไอฟฟ์ ในขณะนั้น กำลังคิดจะลาออก เพราะเบื่อหน่ายกับบริษัท ที่มุ่งเน้นผลกำไรเพียงอย่างเดียว และไม่มีความสนใจในเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์เลย

แต่เป็นคำพูดของ จ๊อบส์ ในวันที่ก้าวเข้ามากู้วิกฤติของ apple รอบที่สอง ที่ทำให้ ไอฟฟ์ เปลี่ยนใจที่จะอยู่ต่อ เพราะ จ๊อบส์ นั้นชัดเจนอยู่แล้วว่า เป้าหมายของ apple ไม่ใช่อยู่ที่เรื่องของการหาเงินเพียงอย่างเดียว แต่ คือ การสร้าง ผลิตภัณฑ์ชั้นเยี่ยม ซึ่งมันเป็นการเปลี่ยนวิสัยทัศน์ จากการบริหารที่ผ่านมาของผู้บริหาร apple คนก่อน ๆ 

Jony Ive ในสมัยเริ่มงานกับ apple ใหม่ ๆ
Jony Ive ในสมัยเริ่มงานกับ apple ใหม่ ๆ

ชีวิตของ ไอฟฟ์ นั้น เข้ามาโคจร เข้าสู่วงการคอมพิวเตอร์ เนื่องมาจาก บริษัท แทงเจอรีน บริษัทเก่าของเขานั้น ได้ถูกว่าจ้างจากบริษัท apple ให้ทำการออกแบบ เครื่อง Powerbook โดยเขาได้แหกกฏพื้นฐานของการออกแบบหมดสิ้น เนื่องมาจากเขาคิดว่าอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์กำลังประสบปัญหากับเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพราะส่วนใหญ่เป็นการสร้างโดยเหล่า วิศวกร ที่ไม่ได้คิดถึงเรื่องการดีไซน์เลยด้วยซ้ำ

ก่อนหน้าที่ ไอฟฟ์ จะเข้ามาปฏิวัตินั้น คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องที่ดูน่ากลัวสำหรับผู้ใช้งาน มีขนาดใหญ่เทอะทะ และไม่มีความ friendly กับผู้ใช้งานเลยด้วยซ้ำ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ดูไม่น่าใช้งาน และแทบจะดีไซน์ เหมือน ๆ กันหมดในทุก ๆ บริษัทที่ผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลขึ้นมา

หลังจากผลงานการออกแบบ Powerbook จึงทำให้ ไอฟฟ์ ถูกดึงตัวมาทำงานเต็มตัวที่ apple ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบ ซึ่ง apple เดิมจะใช้บริษัทจากข้างนอกมาช่วยออกแบบให้ แต่หลังจากนี้ ไอฟฟ์ จะได้สร้างทีมของตัวเองขึ้นมา เพื่อปฏิวัติการออกแบบคอมพิวเตอร์เสียใหม่ทั้งหมด

และนั่นเป็นเหตุทำให้ทั้งคู่ได้เจอกันในที่สุด จ๊อบส์ นั้นตระหนักดีว่าเขาจำเป็นต้องมีคนอย่าง ไอฟฟ์ เพื่อปฏิรูป apple ขึ้นมาใหม่อีกครั้งและจึงเริ่มต้นกับโครงการ iMac รุ่นใหม่

ในงานด้านฮาร์ดแวร์นั้น ถูกรับผิดชอบโดย จอน รูบินสไตน์ ผู้ที่ จ๊อบส์ ได้ดึงตัวมาจาก NeXT บริษัทเก่าของเขา โดย iMac นั้นจะทำการดัดแปลงไมโครโพรเซสเซอร์ และอุปกรณ์ภายในของเครื่อง PowerMac G3 ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ระดับสูงสำหรับผู้ใช้งานมืออาชีพของ apple เพื่อมาใช้เป็นไมโครโพรเซสเซอร์หลักสำหรับเครื่อง iMac ตัวใหม่นี้

สองทีมงานคุณภาพ ไอฟฟ์ และ รูบินสไตน์ ผู้ที่จะมีบทบาทสำคัญใน apple ยุคใหม่ของจ๊อบส์
สองทีมงานคุณภาพ ไอฟฟ์ และ รูบินสไตน์ ผู้ที่จะมีบทบาทสำคัญใน apple ยุคใหม่ของจ๊อบส์

ตัวฝาครอบพลาสติกของ iMac ที่ไอฟฟ์ ออกแบบมาเป็นสีฟ้าอมเขียว และมีความโปร่งแสง ซึ่งเป็นตัวเชื่อม ระหว่างการทำงานภายในเครื่องกับงานดีไซน์ภายนอก iMac มีความละเอียดในการดีไซน์ จนถึงระดับชิป จ๊อบส์นั้นยืนกรานเสมอว่าการติดตั้งชิปบนแผงวงจรต้องทำให้เป็นระเบียบเรียบร้อย แม้จะไม่มีใครเห็นมันก็ตาม

ตัวฝาครอบโปร่งแสงทำให้เห็นความใส่ใจที่ทีมงานมีต่อการสร้าง การประกอบ และการจัดวางชิ้นส่วนทุกชิ้นที่อยู่ภายใน ดีไซน์ ที่ดูขี้เล่นถ่ายทอดความเรียบง่าย แต่ขณะเดียวกันก็เผยให้เห็นความลึกล้ำที่มาพร้อมกับความเรียบง่ายอย่างแท้จริง 

iMac ผลงานการ Design ชิ้นโบว์แดงชิ้นแรก ของ ไอฟฟ์ ที่ได้ร่วมงานกับ จ๊อบส์
iMac ผลงานการ Design ชิ้นโบว์แดงชิ้นแรก ของ ไอฟฟ์ ที่ได้ร่วมงานกับ จ๊อบส์

และ iMac นี่เองกลายเป็นชัยชนะด้านการออกแบบยิ่งใหญ่ ครั้งแรกที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง จ๊อบส์ กับ ไอฟฟ์  ที่ออกสู่ตลาดในปี 1998 และใช้เพียงวันหยุดสุดสัปดาห์แรกเท่านั้น สามารถทำยอดจำหน่ายได้สูงเกิน 150,000 เครื่อง ด้วยโครงสร้างตัวเครื่องที่โค้งลงตัว ไม่เพียงแค่ iMac จะตีรูปแบบคอมพิวเตอร์แบบเดิมให้แตกกระเจิงเท่านั้น

มันยังได้สร้าง คาแร็กเตอร์ของตนเองขึ้นมา และเป็น คาแร็กเตอร์ที่คูลที่สุด เพราะ iMac ไม่ใช่เครื่องพีซี ไม่ใช่เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ถูกผลิตโดย microsoft  คำว่า “Think Different” สำหรับ apple มันกลับมาเกิดใหม่อีกครั้ง

หลังจากวางจำหน่าย iMac ไปจนถึงสิ้นปี 1998 ยอดขายพุ่งขึ้นไปถึง 800,000 เครื่อง ทำสถิติคอมพิวเตอร์ที่ขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของ apple หลังจากนั้นไม่นาน ไอฟฟ์ ก็ได้คิดสีใหม่สำหรับเครื่อง iMac อีก 4 สี ซึ่งแต่ละสีสดใสเตะตาไม่แพ้สีฟ้าบอนได ในรุ่นแรกที่วางจำหน่าย

ขายดีจนต้องออกสีใหม่เพิ่มมาเป็น 5 สีที่สดใส
ขายดีจนต้องออกสีใหม่เพิ่มมาเป็น 5 สีที่สดใส

แต่มันยังเหลือรายละเอียดอีกอย่างหนึ่งที่จ๊อบส์ อยากที่จะปรับปรุงตัว iMac มันคือ ถาดใส่แผ่นซีดี ที่เขาแสนเกลียดรูปร่างมันเป็นอย่างยิ่ง และอยากให้กำจัดทิ้งเสีย เขาอยากเปลี่ยนเป็นไปใช้ไดร์ฟสำหรับโหลดซีดีในชุดสเตอริโอรุ่นแพงของ sony ที่ดูดีกว่า

จ๊อบส์ รู้สึกขัดใจกับช่องใส่ CD ของ iMac
จ๊อบส์ รู้สึกขัดใจกับช่องใส่ CD ของ iMac

แต่ รูบินสไตน์ นั้นได้ทักท้วงไม่ให้เปลี่ยน เพราะในตอนนั้น กำลังจะมีไดร์ฟ แบบใหม่ออกมา ที่สามารถ burn เพลงลงซีดีได้ด้วย ไม่ใช่แค่เล่นเพลงเพียงอย่างเดียวอย่างที่มีในตลาดในขณะนั้น ซึ่งจะทำให้ iMac ตามหลังเทคโนโลยี หากใส่ไดร์ฟ รูปแบบเก่าลงไป

แต่ด้วยความดื้อด้านส่วนตัวของจ๊อบส์ เขาไม่แคร์ และไม่สนใจว่าเทคโนโลยีใหม่จะเป็นอย่างไร จน รูบินสไตน์ต้องยอม และสุดท้ายหลังจากนั้น เป็น รูบินสไตน์ที่คาดการณ์ได้ถูกต้อง เพราะ อีกไม่นาน Panasonic ได้ผลิตไดร์ฟ ตัวใหม่ออกมา ที่สามารถ อ่าน เขียน และบันทึกเพลงได้

ซึ่งจุดสำคัญนี้นี่เอง ไม่รู้ว่าเป็นเพราะพรหมลิขิต หรือ เหตุบังเอิญ หรือโชคชะตาลิขิตมาให้จ๊อบส์ต้องกระโจนเข้าสู่ตลาดเพลง เพราะจากเหตุการณ์นี้ ทำให้ Apple ก้าวช้ากว่าคู่แข่งในตลาดการผลิตคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการคัดลอก (rip) และบันทึก (burn) 
เพลงเอง ซึ่งกำลังเริ่มเป็นที่นิยมในขณะนั้น (iMac นั้นไม่สามารถ rip,burn เพลงได้ เพราะมีไดร์ฟรุ่นเก่า)  สถานการณ์ในตอนนั้น ทำให้ Apple ต้องกระโจนเข้าสู่ตลาดเพลงเพื่อหาทางกระโดดข้ามคู่แข่งให้ได้ โดยเร็วที่สุด

มาถึงตอนนี้ อยู่ดี ๆ apple ต้องตกกระไดพลอยโจร ที่สถานการณ์บังคับให้ apple ต้องเข้าสู่ตลาดเพลงแล้ว มันเพราะความดื้อด้านของจ๊อบส์ หรือ ฟ้าชะตาลิขิต ที่ทำให้ apple ได้ก้าวข้ามจากบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์ ไปสู่ สินค้า consumer ที่มีขนาดตลาดใหญ่กว่าอย่างเครื่องเล่น mp3 จะเกิดอะไรขึ้น กับ apple ต่อจากนี้ ตลาดใหม่ที่มีขนาดใหญ่มหาศาลอย่างตลาดเพลงนั้น จะนำพา apple เริ่มพลิกฟื้นกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งได้อย่างไร  โปรดติดตามตอนต่อไป

–> อ่านตอนที่ 4 : Crazy Jobs

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The Second Coming  *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Steve Jobs ผู้สร้าง iPod ตอนที่ 1 : The Second Coming

ในปี 1985 สตีฟ จ๊อบส์ ในวัยขึ้นเลขสาม เริ่มปีที่ 30 ของอายุด้วยการถูกไล่ออกจาก Apple บริษัทที่เขาสร้างมากับมือ แต่หลังจากนั้นในอีก 10 ปีต่อมา ในปี 1995 เมื่อ สตีฟ จ๊อบส์ อายุ ครบ 40 ปีบริบูรณ์ เขาก็กลับมาสู่จุดที่รุ่งเรืองอีกครั้ง

ปีนั้น เป็นปีที่ ภาพยนต์เรื่อง Toy Story ออกฉาย และในปีต่อมา Apple ก็ได้เข้ามาซื้อกิจการ NeXT ทำให้เขากลับมาสู่บริษัทที่เขาสร้างมากับมืออีกครั้ง 

ในขณะนั้น CEO ของ apple คือ กิล เอเมลิโอ ซึ่งได้เป็นคนชักจูงนำ จ็อบส์ กลับมาที่ apple โดยให้เข้ามารับตำแหน่งที่ปรึกษาแบบพาร์ทไทม์ แต่จ๊อบส์ นั้นหวังมากกว่านั้น เค้าต้องการกลับมาทวงคืนตำแหน่งของเขา สภาพของ apple ในช่วงเวลาดังกล่าว กลายเป็นซากปรักหักพัง สถานการณ์ทางการเงินก็ย่ำแย่ เป็นอย่างมาก

จ๊อบส์กลับมาสู่ apple อีกครั้งผ่าน NeXT
จ๊อบส์กลับมาสู่ apple อีกครั้งผ่าน NeXT

จ๊อบส์ นั้นรู้ดีว่า เอเมลิโอ ไม่ใช่คนที่จะเป็นผู้นำของ apple ได้ เอเมลิโอ นั้นแทบจะไม่มีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของ apple  เขามองว่า เอเมลิโอ นั้นทำงานแทบจะไม่เป็น แม้กระทั่งในงานใหญ่อย่าง Macworld ในปี 1997 ที่เป็นงานใหญ่ ที่เปิดตัว จ๊อบส์ กลับสู่ apple อีกครั้งต่อสาธารณะ แต่ในงานนั้นเละเทะสิ้นดี เอเมลิโอ แทบจะไม่สามารถกล่าวถึง วิสัยทัศน์ของ apple ได้เลย เป็นการพูดแบบด้นสด ที่น่าขายหน้าต่อสื่อที่มาเฝ้ารอการทำข่าวของ apple ซึ่งปีนี้มันพิเศษกว่าปีไหน  ๆ ที่ สตีฟ จ๊อบส์ กำลังจะกลับมาหลังจากหายหน้าไปจาก apple กว่า 10 ปี

เอเมลิโอ นำพา apple ลงเหว กลายเป็นบริษัทไร้อนาคต
เอเมลิโอ นำพา apple ลงเหว กลายเป็นบริษัทไร้อนาคต

ในการกลับมาครั้งนี้ จ๊อบส์ เริ่มจัดแจง คนที่เขาไว้ใจมารับตำแหน่งระดับสูงที่ apple อย่างไม่รอช้า และเริ่มกำจัดคนที่เขาไม่ต้องการออกไป โดยจะนำคนที่เก่ง  ๆ จาก NeXT บริษัทเก่าของเขาเข้ามาแทนในตำแหน่งสำคัญ ๆ 

จ๊อบส์ เริ่มทาบทาม แอวี เทวาเนียน เพื่อนคู่หูที่ NeXT มารับตำแหน่งหัวหน้าแผนกวิศวกรรมซอฟท์แวร์ ส่วนตำแหน่งฝ่ายฮาร์ดแวร์ นั้น เขาเลือก จอน รูบินสไตน์ ซึ่งเคยรับตำแหน่งนี้ที่ NeXT เช่นเดียวกัน 

จอห์น รูบินสไตน์ หนึ่งในบุคคลสำคัญที่ จ๊อบส์ ดึงมาจาก NeXT ผู้บทบาทสำคัญกับ apple ในยุคหลัง
จอห์น รูบินสไตน์ หนึ่งในบุคคลสำคัญที่ จ๊อบส์ ดึงมาจาก NeXT ผู้บทบาทสำคัญกับ apple ในยุคหลัง

หลังจากจัดแจงเรื่องของบุคลากรเสร็จเรียบร้อย ก็เริ่มจัดการกับผลิตภัณฑ์ที่เขาไม่ชอบ สิ่งแรกเลยคือ เจ้า Newton เครื่อง PDA พกพา ที่จ๊อบส์นั้นเกลียดมันเข้าไส้ เขารังเกียจการใช้สไตลัสหรือ ปากกาสำหรับเขียนหน้าจอเป็นอย่างมาก และเหตุผลสำคัญคือ Newton เป็นผลผลิตที่เป็นนวัตกรรมชิ้นเดียวของ จอห์น สคัลลีย์ ผู้ที่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ จ๊อบส์ ต้องออกจาก apple ไปเมื่อ 10 กว่าปีก่อน

และสิ่งสุดท้าย ที่ จ๊อบส์ ต้องทำคือ ปลด เอเมลิโอ ออกจากตำแหน่ง ซึ่งต้องอาศัย บอร์ดบริหารที่นำโดย เอ็ด วูลาร์ด มาช่วยจัดการในเรื่องนี้ ซึ่งตอนนี้ ถือว่า จ๊อบส์ นั้นเป็นต่ออย่างยิ่ง สถานการณ์ ของ apple ตอนนี้ มันยากที่จะแก้ไขแล้ว บอร์ดก็ไม่มีทางเลือกมากนัก จึงต้องทำการแจ้งไปยัง เอเมลิโอ ว่าจะปลดเขาออก โดยจะให้ จ๊อบส์ รับตำแหน่ง CEO แทน

และเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนครั้งที่เขาต้องก้าวออกจาก apple ในครั้งแรก จ๊อบส์ ก็ได้เสนอให้เปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทใหม่ โดยจัดการคนที่เคยปลดเขาออกก่อน เพื่อคุมอำนาจเต็มที่ในการบริหารบริษัท

เอ็ด วูลาร์ด บอร์ดผู้เป็นคนนำจ๊อบส์ กลับมาเป็น CEO แทน เอเมลิโอ
เอ็ด วูลาร์ด บอร์ดผู้เป็นคนนำจ๊อบส์ กลับมาเป็น CEO แทน เอเมลิโอ

เขาจึงเก็บเหลือไว้เพียงแค่ วูลาร์ด และ แกร์เร็ต ชางไว้ และดึงคนที่เขาไว้ใจอย่าง บิล แคมป์เบลล์ ซึ่งเคยเป็นผู้อำนวยการตลาดของ apple ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 เพราะ skill ที่สำคัญอย่างนึงของ แคมป์เบลล์ คือ แคมเบลล์ นั้นเคยเป็นโค้ชอเมริกันฟุตบอล เขาสามารถที่จะทำให้ผู้เล่นเกรดบี ทำงานในระดับเอ ได้ และที่ apple เขาจะได้ทำงานกับพนักงานระดับเอ เท่านั้น

หนึ่งในคณะกรรมการที่ต้องออกไป คือ ไมค์ มาร์คคูลา ผู้ซึ่งเคยเป็นนักลงทุนคนแรกของ จ็อบส์ เคยแวะไปหาจ๊อบส์ที่โรงรถในปี 1976 และเขาเป็นกรรมการคนเดียวที่อยู่มานานถึง 20 ปี แม้จะเปลี่ยน CEO ไปแล้วหลายคนก็ตาม และที่สำคัญเขาเป็นคนเข้าข้าง จอห์น สคัลลีย์ ในศึกชิงอำนาจยกแรกของบริษัทในปี 1985 เมื่อจ๊อบส์กลับมาครั้งนี้ ตัวเขาเองก็รู้ดีว่าถึงเวลาที่เขาต้องจากไป

ไมค์ มาร์คูล่า ผู้ซึ่งเป็นคนลงทุนแรก ๆ ของ apple ก็ต้องเดินจากไปจากตำแหน่งในกรรมการ
ไมค์ มาร์คูล่า ผู้ซึ่งเป็นคนลงทุนแรก ๆ ของ apple ก็ต้องเดินจากไปจากตำแหน่งในกรรมการ

ตอนนี้ จ๊อบส์ นั้นสามารถที่จะกลับควบคุมทุกอย่างของ apple ได้อย่างเบ็ดเสร็จได้อีกครั้ง ตอนนี้ apple ถูก Microsoft เบียดออกจากธุรกิจคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มันถึงเวลาที่ต้องสร้างบริษัทขึ้นมาใหม่เพื่อทำอย่างอื่น อาจจะเป็นบริษัทผลิตเครื่องมือ หรือ สินเค้าเพื่อผู้บริโภคอะไรซักอย่าง ถึงจะพา apple กลับมายิ่งใหญ่ได้อีกครั้ง

การกลับมาอีกครั้งของ จ๊อบส์ ในคำรบที่สอง ครั้งนี้นั้น มาตอนที่ apple อยู่ในสภาพกลายเป็นซากปรักหักพัง ทั้งสถานะการเงิน รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถสู้ได้ในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล จ๊อบส์ นั้นจะกลับมาแก้ไขสถานการ์ณของ apple ได้อย่างไรในสภาพเช่นนี้ โปรดติดตามตอนต่อไป

–> อ่านตอนที่ 2 : From Rival to Respect

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

Blog Series : How iPod Building an Apple Empire

สำหรับ Blog Series ชุดแรกในปี 2019 นี้ ผมอยากจะขอเสนอ เรื่องราวความเป็นมาของการสร้าง Ipod หนึ่งในนวัตกรรมที่สำคัญที่สุดชิ้นนึงของ บริษัท apple

หลาย ๆ ท่านอาจจะคิดว่า iPhone เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของบริษัท apple ให้กลายมาเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ของโลกได้จวบจนถึงทุกวันนี้ แต่นั่นเป็นเพียงส่วนนึงเท่านั้น แนวคิดของ apple รูปแบบใหม่ ที่หันมาสร้างนวัตกรรม และ เปลี่ยนจากบริษัทคอมพิวเตอร์ ให้กลายมาเป็นบริษัทที่จำหน่าย สินค้า consumer product มันเริ่มมาจาก iPod 

มันเป็นนวัตกรรม ชิ้นเอกของ apple ในศตวรรษที่ 21 เลยก็ว่าได้ แม้เวลาจะร่วงเลยมาทำให้ตัว iPod เองได้สูญหายไปตามกาลเวลา แต่เรื่องราวสตอรี่ ของการสร้างมันขึ้นมานั้น ถือว่าเป็นเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะมันเต็มไปด้วยอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย กับการที่จะสร้างเครื่องเล่น Mp3 ขึ้นมา แล้วสามารถบรรจุเพลงได้ถึง 1,000 เพลง ถือว่าในตอนนั้นมันเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อมาก ๆ ที่ apple สามารถสร้างมันขึ้นมาและกลายเป็นสินค้า hot hit ติดตลาดโลกได้อย่างรวดเร็ว

ทุก ๆ ทั่วโลกต่างพกเจ้า iPod ตัวนี้ พร้อมด้วยหูฟังสีขาว ที่เป็นเอกลักษณ์ ถึงวัฒนธรรมของยุคใหม่ของบริษัท apple บริษัท ที่ก่อนจะสร้าง iPod นั้น แทบจะกลายเป็นบริษัทที่ใกล้จะล้มละลายเต็มที สถานะการเงินก็ย่ำแย่ สินค้าตัวชูโรงอย่าง apple หรือ macintosh ก็แทบจะทำตลาดไม่ได้เลยด้วยซ้ำ

เอกลักษ์เด่น หูฟังสีขาวที่ เดินไปไหนก็เจอแต่คนฟัง Ipod
เอกลักษ์เด่น หูฟังสีขาวที่ เดินไปไหนก็เจอแต่คนฟัง iPod

มันเกิดอะไรขึ้นในช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปี ที่เปลี่ยนบริษัท apple จากบริษัทที่ใกล้ตาย กลับมายิ่งใหญ่ในโลกของธุรกิจได้อีกครั้ง

สำหรับเรื่องราวของ Blog Series ชุดนี้นั้น จะอ้างอิง จากหนังสือที่เกี่ยวข้องกับ iPod รวมถึงหนังสือ อัตชีวประวัติของ Steve Jobs รวมถึงข้อมูลจาก wikipedia online ต่างๆ  มารวมรวมใหม่ ในแบบฉบับของผมเองครับ โปรดอย่าพลาดติดตามเป็นอันขาด รับรองสนุกอย่างแน่นอนคร้าบผม

อ่านตอนที่ 1 : The Second Coming

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

หนังสือ สตีฟ จ๊อบส์ : Steve Jobs
ผู้เขียน : Walter Isaacson (วอลเตอร์ ไอแซคสัน)
ผู้แปล : ณงลักษณ์ จารุวัฒน์ และคณะ

หนังสือ IPOD…แบรนด์ นวัตกรรมและจักรกลบันเทิง
ผู้เขียน : Dylan Jones
ผู้แปล : กรกฎ พงศ์พีระ

https://en.wikipedia.org/wiki/IPod

https://www.cnet.com/pictures/the-complete-history-of-apples-ipod/

https://www.lifewire.com/history-ipod-classic-original-2000732

https://www.nytimes.com/topic/subject/ipod

https://www.businessinsider.com/apple-ipod-oral-history-tony-fadell-2020-1