Geek Story EP139 : ประวัติ Adam Neumann แห่ง WeWork (ตอนที่ 2)

จากตอนที่แล้วเมื่อทุกอย่างเริ่มเข้าที่เข้าทาง Adam Neumann ก็คิดจะปักหลักที่อเมริกา เพื่อสร้างฝันของเขาให้สำเร็จ ในการเป็นนักธุรกิจระดับแนวหน้าตามความฝันของเขาให้ได้

ซึ่งหลังจากได้วีซ่าเพียงไม่นาน Adam ก็ได้มาพบกับ Rebekah Paltrow ผู้หญิงที่จะมาเปลี่ยนชีวิตของ Adam แบบที่ไม่มีใครคาด

ต้องบอกว่าพวกเขาทั้งคู่มีพลังงานบางอย่างที่เชื่อมต่อกัน และ เธอผู้นี้นี่เอง ที่เป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญในการค้นหาบางสิ่งบางอย่าง สิ่ง ๆ นั้นจะเป็นอะไร แล้วทั้งคู่จะเดินไปทางไหนกับเส้นทางชีวิตตามความฝันแบบ American Dream ในครั้งนี้ รับฟังกันต่อได้เลยครับผม

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3NoXnEY

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3Nl6434

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3IFod8d

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3Lcf0Ww

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/61w8v-pvq1g

Geek Story EP138 : ประวัติ Adam Neumann แห่ง WeWork (ตอนที่ 1)

Adam Neumann ผู้ก่อตั้ง WeWork เป็นอีกหนึ่งดางรุ่งคนล่าสุดในแวดวงเทคโนโลยีที่มีวิสัยทัศน์ แต่ในท้ายที่สุดวิสัยทัศน์นั้นกลับกลายเป็นภาพลวงตาได้อย่างไร

ภาพลักษณ์ของผู้ประกอบการอัจฉริยะด้านเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนทั่วโลกต้องการเป็น ทั้ง Steve Jobs , Mark Zuckerberg หรือ Elon Musk รายต่อไป ซึ่งแน่นอนว่า Neumann ก็อยากที่จะเป็นหนึ่งในนั้น

แต่เรื่องราวของ WeWork มันกำลังบอกอะไรพวกเราได้บางอย่าง ในยุคที่ บริษัท เทคโนโลยีครอบงำทุกอย่าง WeWork พยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้ดูเหมือนยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยี

แต่การใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยและความผิดปกติส่วนตัวของ Neumann และภรรยาของเขา เรื่องราวโกหก หลอกลวง ครั้งใหญ่ ที่มีนักลงทุนระดับตำนานอย่าง Masayoshi Son เข้ามาเกี่ยวข้อง

แน่นอนว่าเหล่านักลงทุนต้องการที่จะค้นหา Facebook / Apple / Uber ตัวถัดไป และ WeWork ก็พยายามที่จะทำตามเคล็ดลับนี้ มันน่าทึ่งมากที่มีการทุ่มเงินจากนักลงทุนจำนวนมหาศาลในเส้นทางการเติบโตของ WeWork ซึ่งสุดท้ายมันก็แสดงให้เห็นว่าคนรวยไม่ได้ฉลาดกว่า พวกเขาสูญเสียเงินจำนวนมหาศาลครั้งประวัติศาสตร์ในครั้งนี้ไปได้อย่างไร

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3ul9Roi

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3DcDxYW

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3IECoKF

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3DbsgrS

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/w-UKJ7QRcy8

SPAC คืออะไร? ทำไมจึงเป็นหนึ่งในแนวโน้มการลงทุนที่ร้อนแรงที่สุดของ Wall Street

เมื่อ WeWork มีแผนการทำ IPO สู่สาธารณะในปี 2019 การเสนอขายหุ้น IPO ของ WeWork ได้เกิดปัญหาใหญ่ขึ้น ทั้งในเรื่องของโมเดลธุรกิจและการบริหารจัดการของ Adam Neumann ผู้ร่วมก่อตั้ง 

นั่นทำให้ WeWork ต้องหาแผนการทำ IPO เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะผ่านช่องทางอื่น: WeWork ได้พิจารณาใช้ SPAC เพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวโน้มที่ร้อนแรงที่สุดใน Wallstreet ในตอนนี้

WeWork เป็นเพียงบริษัทล่าสุดในรายชื่อบริษัทที่กำลังเติบโต: Virgin Galactic ,  DraftKings , Opendoor  และ  Nikola Motor Co. กลายเป็นบริษัทสาธารณะด้วยการควบรวมกิจการกับ SPAC 

ในความเป็นจริง SPAC ประมาณ 200 แห่งเปิดตัวสู่สาธารณะในปี 2020 โดยระดมเงินทุนทั้งหมดได้ประมาณ 64 พันล้านดอลลาร์เกือบเท่ากับการเสนอขายหุ้น IPO ทั้งหมดในปี 2019 รวมกัน ตามข้อมูลของ Renaissance Capital 

SPACs ที่เข้าแถวรอในปี 2021 ได้แก่ Butterfly Network ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพที่ได้รับการสนับสนุนจาก Bill Gates (มูลค่าบริษัทอยู่ที่1.5 พันล้านดอลลาร์ )

Butterfly Network ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพที่ได้รับการสนับสนุนจาก Bill Gates (CR:MobiHealthNews)
Butterfly Network ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพที่ได้รับการสนับสนุนจาก Bill Gates (CR:MobiHealthNews)

สตาร์ทอัพ 23andMe มีรายงานว่าอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อทำ IPO สู่สาธารณะผ่านข้อตกลงมูลค่า 4 พันล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ยังมีข่าวลือว่าบริษัทสื่อดิจิทัลอย่าง BuzzFeed, Vice Media, Bustle Media Group และอื่น ๆ สามารถใช้ SPAC เพื่อนำเงินมาสู่นักลงทุนในที่สุด

แล้ว SPAC คืออะไรกันแน่? อะไรจะทำให้บางบริษัทเลือก SPAC มากกว่า IPO และทำไมนักลงทุนถึงเข้าแถวเพื่อกระโดดเข้ามาลงทุนใน SPAC ตามเทรนด์ที่เกิดขึ้นนี้?

SPAC คืออะไร?

บริษัทซื้อกิจการเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษโดยพื้นฐานแล้วเป็นบริษัทที่มีลักษณะคล้ายบริษัท ‘เปลือก’ ที่จัดตั้งขึ้นโดยนักลงทุน ไม่ได้ขายสินค้า ขายบริการ หรือขายอะไรทั้งสิ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพียงประการเดียวในการระดมเงินผ่านการเสนอขายหุ้น IPO เพื่อซื้อบริษัทอื่น

ตัวอย่างเช่น Diamond Eagle Acquisition Corp. ก่อตั้งขึ้นในปี 2019 และทำ IPO สู่สาธารณะในฐานะ SPAC ในเดือนธันวาคม 

จากนั้นจึงประกาศควบรวมกิจการกับ DraftKings และแพลตฟอร์มเทคโนโลยีการพนัน SBTech DraftKings เริ่มซื้อขายในฐานะบริษัทมหาชนเมื่อข้อตกลงสำเร็จในเดือนเมษายน

ดังนั้น SPAC จึงไม่มีการดำเนินการเชิงพาณิชย์ — ไม่ได้ผลิตสินค้าและไม่ขายอะไรเลย ในความเป็นจริงสินทรัพย์ของ SPAC โดยทั่วไปจะมีเงินเพิ่มขึ้นในการเสนอขายหุ้นของตัวเองเพียงเท่านั้น

โดยปกติ SPAC จะถูกสร้างขึ้นหรือสนับสนุนโดยทีมนักลงทุนสถาบันมืออาชีพใน Wall Street จากโลกแห่งไพรเวทอิควิตี้ หรือกองทุนเฮดจ์ฟันด์

ในขณะที่แม้แต่ซีอีโอที่มีชื่อเสียงอย่าง Richard Branson และเพื่อนมหาเศรษฐี Tilman Fertitta ก็กระโดดเข้ามาเล่นตามกระแส และก่อตั้ง SPAC ของตัวเอง

นั่นเป็นเพราะว่าเมื่อ SPAC ระดมเงิน คนที่ซื้อในการเสนอขายหุ้น IPO ก็แทบจะไม่รู้ว่าบริษัทมีเป้าหมายการเข้าซื้อกิจการอะไรในท้ายที่สุด 

นักลงทุนสถาบันที่มีประวัติความสำเร็จสามารถโน้มน้าวให้ผู้คนลงทุนในสิ่งที่ไม่รู้จักได้ง่ายขึ้น นั่นคือเหตุผลที่ SPAC มักถูกเรียกว่า ”บริษัทเช็คเปล่า”

เมื่อการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน (โดยปกติแล้ว SPAC IPO มีราคาอยู่ที่ 10 ดอลลาร์ต่อหุ้น) เงินนั้นจะเข้าบัญชีทรัสต์ที่มีดอกเบี้ยจนกว่าผู้ก่อตั้งหรือทีมผู้บริหารของ SPAC จะพบบริษัทเอกชนที่ต้องการทำ IPO ออกสู่สาธารณะผ่านการซื้อกิจการ

เมื่อการเข้าซื้อกิจการเสร็จสิ้น (โดยผู้ถือหุ้น SPAC ลงคะแนนให้อนุมัติข้อตกลง) นักลงทุนของ SPAC สามารถแลกเปลี่ยนหุ้นของตนเป็นหุ้นของบริษัทที่ควบรวมกิจการ หรือไถ่ถอนหุ้น SPAC ของตนเพื่อรับเงินลงทุนเดิมคืน บวกกับดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นได้เช่นกัน

โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่ลงทุนใน SPAC จะได้รับส่วนแบ่ง 20% ในบริษัทสุดท้ายที่ควบรวมกิจการ

อย่างไรก็ตาม SPAC ยังมีกำหนดเส้นตายในการค้นหาข้อตกลงที่เหมาะสม โดยปกติภายในเวลาประมาณสองปีของการเสนอขายหุ้น IPO มิฉะนั้น SPAC จะถูกชำระบัญชีและนักลงทุนจะได้รับเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยทั้งหมด

ทำไม SPAC ถึงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว?

SPAC มีมานานหลายทศวรรษแล้วและมักมีไว้เป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับบริษัทขนาดเล็กที่อาจมีปัญหาในการหาเงินในตลาดเปิด 

แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้กลายเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นเนื่องจากความผันผวนของตลาดที่รุนแรงซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการระบาดใหญ่ทั่วโลกของไวรัส COVID-19

ความผันผวนของตลาดที่รุนแรงจาก COVID-19 (CR:Forbes)
ความผันผวนของตลาดที่รุนแรงจาก COVID-19 (CR:Forbes)

หลายบริษัทเลือกที่จะเลื่อนการเสนอขายหุ้นออก (เพราะเกรงว่าความผันผวนของตลาดอาจทำให้หุ้นของบริษัทลดลง) แต่บริษัทอื่น ๆ เลือกเส้นทางอื่นในการเสนอขายหุ้นโดยรวมเข้ากับ SPAC 

การควบรวมกิจการของ SPAC ทำให้บริษัทสามารถเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์และรับเงินทุนได้เร็วกว่าการเสนอขายหุ้นแบบปกติ

เนื่องจากการเข้าซื้อกิจการของ SPAC สามารถปิดดีลได้ในเวลาเพียงไม่กี่เดือน เมื่อเทียบกับกระบวนการในการลงทะเบียนเสนอขายหุ้น IPO กับ ก.ล.ต. ซึ่งอาจใช้เวลาถึงหกเดือน ซึ่งเปรียบเสมือนทางลัดในการระดมทุนที่ลดความซับซ้อนที่เกิดขึ้นจากกระบวนต่าง ๆ ได้นั่นเองครับผม

References : https://www.investopedia.com/terms/s/spac.asp
https://en.wikipedia.org/wiki/Special-purpose_acquisition_company
https://www.cnbc.com/
https://www.forbes.com/advisor/investing/spac-special-purpose-aquisition-company/

Geek Story EP20 : Masayoshi Son สุดยอดนักลงทุนอัจฉริยะแห่งวงการเทคโนโลยี

ต้องบอกว่าประวัติที่ผ่านมาของ Masayoshi Son นั้น ถือเป็นนักลงทุนที่น่าทึ่ง แม้เขาจะผิดพลาดในการลงทุนกับ WeWork หรือ Uber

แต่คำ ๆ หนึ่ง นั่นก็คือ คำว่า “Believe” ที่เขามักพูดออกสื่ออยู่บ่อย ๆ นั้น สิ่งที่เขาพูดมักจะกลายเป็นความจริงในทุก ๆ ครั้ง ด้วยความเชื่อ และประสบการณ์ของเขานั้น แม้จะมีความผิดพลาดบ้าง

แต่ความเชื่อของเขาโดยส่วนใหญ่นั้นสามารถทำนายอนาคตของเราได้ว่า เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในด้านไหน ที่จะมีบทบาทที่สำคัญอย่างมาก กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ในอนาคตนั่นเองครับ

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/2FSHJmQ

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/31v9Fpp

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2Ejh3vl

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/x4fojSAwPpk

ความผิดพลาดครั้งสำคัญที่สุด ของชายที่ชื่อ Masayoshi Son

Masayoshi Son CEO ของ SoftBank Group ยอมรับว่าเขาทำผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงในการจัดการการลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ของ Softbank ใน WeWork โดยเฉพาะในส่วนของ WeTech

“การตัดสินใจลงทุนของผมนั้นแย่มาก” เขากล่าวในการแถลงข่าวที่โตเกียวตามรายงานของ Wall Street Journal “ผมเสียใจในหลาย ๆ ด้าน กับสิ่งที่เกิดขึ้น”

Masayoshi Son นั้นผ่านการลงทุนมามายมายตั้งแต่ช่วง dot com boom เมื่อปี 2000  จนสามารถกลายเป็นบุคคลที่รวยที่สุดในโลกแซงหน้า bill gate ได้ แต่ก็เพียงไม่นาน ชีวิตก็ต้องเปลี่ยนผัน เนื่องจากภาวะ dot com crash ในปี 2000 ทำให้เงินของเขาหายไปกว่า 99% แต่ด้วยความเชื่อของเขาว่า สุดท้าย บริษัทเทคโนโลยีก็จะเข้าสู่จุดสมดุลอีกครั้ง

เนื่องจากการเติบโตของผู้ใช้ internet รวมถึง การพัฒนาการของเทคโนโลยีที่มีอย่างรวดเร็ว ทำให้เขาสามารถกลับมายืนบนเส้นทางนักลงทุนทางด้านเทคโนโลยีได้อีกครั้ง

ที่น่าสนใจคือ เขาเป็นคนแรก ๆ ที่ให้ทุนแก่ jack ma ที่สร้างอาณาจักร alibaba ได้อย่างยิ่งใหญ่ในปัจจุบัน ตอนนั้น บริษัทของ jack ma นั้นแทบจะไม่มีกำไร และมีพนักงานเพียงน้อยนิดเท่านั้น เรียกว่าเป็นการลงทุนที่เชื่อมั่นใน jack ma เป็นอย่างมากเลยก็ว่าได้

Son เป็นผู้ที่เชื่อในตัว Jack Ma มาตั้งแต่เริ่มลงทุนครั้งแรก
Son เป็นผู้ที่เชื่อในตัว Jack Ma มาตั้งแต่เริ่มลงทุนครั้งแรก

ที่ให้ทุนกับ jack ma ไปสร้างอาณาจักร alibaba จนสามารถยิ่งใหญ่ได้ในปัจจุบัน และสามารถทำกำไรให้เขาได้อย่างมากมาย เนื่องจาก alibaba นั้นกลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ แห่งหนึ่งของโลกในขณะนี้ก็ว่าได้

ซึ่งการลงทุนในระดับตำนานของเขาคือการลงทุนใน ARM  ซึ่งเขามองว่า ARM นั้นครองส่วนแบ่งได้ถึง 99% ในตลาด chip ของมือถือ ซึ่งกว่า 1000 ล้าน device ในปัจจุบัน นั้นใช้ chip ของ ARM แล้วทำไมเขาถึงจะไม่ลงทุนในบริษัทที่ส่วนแบ่งการตลาดขนาดนี้ รวมถึง ในอนาคตนั้น ไม่ใช่แค่มือถืออย่างเดียวที่ใช้ chip

แต่ภายหลังจากที่เข้าลงทุนใน WeWork และการลงทุนอื่น ๆ อีก 20 แห่ง ภายใต้กองทุนใหม่ของ Masayoshi Son ที่มีชื่อว่า Vision Fund ที่มุ่งเน้นด้านเทคโนโลยี ที่มีมูลค่ากองทุนกว่าแสนล้านดอลลาร์

ผลการลงทุนครั้งนี้ทำให้ Softbank นั้นขาดทุน 9 พันล้านดอลลาร์ในไตรมาสที่ผ่านมา นับเป็นการขาดทุนรายไตรมาสครั้งแรกนับตั้งแต่ก่อตั้ง SoftBank Group ซึ่งมียอดขาดทุนสุทธิ 6.4 พันล้านดอลลาร์ในไตรมาสที่สามซึ่งถือเป็นสถิติที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ 38 ปี ของบริษัท

ประสิทธิภาพที่ย่ำแย่โดยเฉพาะการลงทุนใน WeWork และ Uber ซึ่งเป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดของ SoftBank ทำให้เกิดความสูญเสียขึ้นกับ SoftBank เป็นอย่างมาก โดยถูกบันทึกมูลค่าหุ้น WeWork ลงเหลือเพียง 4.7 พันล้านดอลลาร์ และทำให้เงินทุน Vision Fund ลดลง 3.5 พันล้านดอลลาร์

SoftBank ได้ชำระหนี้และทุนจำนวน สองหมื่นล้านดอลลาร์ใน WeWork รวมถึงเงินช่วยเหลือจำนวน 9.8 พันล้านดอลลาร์จากการปลด Adam Neumann ซีอีโอคนเก่าออก ตามที่ตกลงกันไว้เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมาซึ่งทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของ Softbank อยู่ที่ 80%  ซึ่ง Son สัญญาว่าการให้ความช่วยเหลือทางการเงินจะเป็นครั้งสุดท้ายสำหรับ WeWork

SoftBank อ้างว่ามูลค่าของ WeWork สูงถึง 47 พันล้านเหรียญสหรัฐจนกระทั่งภายหลังการเกิดวิกฤติครั้งใหญ่ในการเสนอขายหุ้น IPO ซึ่งได้เปิดเผยสถานการณ์ทางการเงินที่น่าเป็นห่วงจนเรื่องมันแดงขึ้นมา

Son ยอมรับว่าเขาประเมินผิดพลาดถึงพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของ Adam Neumann อดีตซีอีโอ ของ WeWork  “ผมผิดพลาดที่มองเขาไม่รอบคอบ” เขากล่าว

การเข้าลงทุนใน WeWork ถือเป็นความผิดพลาดครั้งสำคัญของ Son
การเข้าลงทุนใน WeWork ถือเป็นความผิดพลาดครั้งสำคัญของ Son

Son กล่าวว่าเขามีแผนฟื้นฟูสามขั้นตอน สำหรับ WeWork ซึ่งปัจจุบัน SoftBank เป็นเจ้าของส่วนใหญ่แล้ว ขั้นตอนแรกคือ WeWork หยุดการสร้างสำนักงานใหม่เป็นเวลาสามถึงสี่ปีเพราะการก่อสร้างใหม่เป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก 

ประการที่สองคือทำการปรับปรุงโครงสร้างของ WeWork เพื่อลดต้นทุนอื่น ๆ  และประการที่สาม WeWork สามารถลดธุรกิจที่ไม่ทำกำไรได้  “ดังนั้นด้วยความคิดทั้งสามข้อนี้เราเชื่อมั่นว่าเราจะสามารถปรับปรุง WeWork ได้อย่างมาก” Son กล่าว

แต่ถึงกระนั้นเขาก็ปกป้องผลงานโดยรวมของ Vision Fund และกล่าวว่าเขากำลังวางแผนระดมทุนอีก แสนล้านดอลลาร์ ในกองทุน โดยอ้างว่านักลงทุนในกองทุนแรก มีความกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมลงทุนกับเขาอีกครั้ง

ซึ่งในท้ายที่สุด Son ได้มองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับศักยภาพในการเปลี่ยน WeWork ให้เป็นธุรกิจที่มีกำไรได้ แม้จะเป็นเจ้าของถึง 80% ของบริษัท แต่ก่อนหน้านี้ SoftBank ก็ยังไม่สามารถควบคุม WeWork ได้อย่างเต็มที่ 

ซึ่งหลังจาก Wework ได้รับเงินช่วยเหลืออีก 9.5 พันล้านดอลลาร์ SoftBank ก็สามารถแต่งตั้งประธานกรรมการบริหารของตัวเองได้ โดยคนที่ Son วางไว้ที่จะมากู้วิกฤติที่ WeWork คือ Marcelo Claure ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเป็น ซีอีโอ ของ Sprint บริษัทที่ Softbank เป็นเจ้าของอีกราย

ซึ่งต้องบอกว่าจากประวัติที่ผ่านมา Son เป็นนักลงทุนที่น่าทึ่ง แม้เขาจะผิดพลาดในการลงทุนกับ WeWork หรือ Uber แต่คำ ๆ หนึ่ง นั่นก็คือ คำว่า “Believe” ที่เขามักพูดออกสื่ออยู่บ่อย ๆ นั้น สิ่งที่เขาพูดมักจะกลายเป็นความจริงในทุก ๆ ครั้ง ด้วยความเชื่อ และประสบการณ์ของเขานั้น แม้จะมีความผิดพลาดบ้าง แต่ความเชื่อของเขาโดยส่วนใหญ่นั้นสามารถทำนายอนาคตของเราได้ว่า เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในด้านไหน ที่จะมีบทบาทที่สำคัญอย่างมาก กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ในอนาคตนั่นเองครับ

References : https://www.cityam.com/softbank-warns-of-steeper-losses-as-it-takes-hit-on-wework/
https://www.businessinsider.sg/softbank-ceo-says-he-was-foolish-to-invest-in-wework-2020-5
https://therealdeal.com/2019/11/06/softbanks-masa-son-i-ignored-weworks-problems-made-bad-investments-in-us-tech-firms-and-im-really-sorry/
https://economictimes.indiatimes.com/small-biz/startups/newsbuzz/softbanks-masayoshi-son-had-a-bad-2019-heres-what-he-can-buy-in-2020/articleshow/73040204.cms