Geek Story EP139 : ประวัติ Adam Neumann แห่ง WeWork (ตอนที่ 2)

จากตอนที่แล้วเมื่อทุกอย่างเริ่มเข้าที่เข้าทาง Adam Neumann ก็คิดจะปักหลักที่อเมริกา เพื่อสร้างฝันของเขาให้สำเร็จ ในการเป็นนักธุรกิจระดับแนวหน้าตามความฝันของเขาให้ได้

ซึ่งหลังจากได้วีซ่าเพียงไม่นาน Adam ก็ได้มาพบกับ Rebekah Paltrow ผู้หญิงที่จะมาเปลี่ยนชีวิตของ Adam แบบที่ไม่มีใครคาด

ต้องบอกว่าพวกเขาทั้งคู่มีพลังงานบางอย่างที่เชื่อมต่อกัน และ เธอผู้นี้นี่เอง ที่เป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญในการค้นหาบางสิ่งบางอย่าง สิ่ง ๆ นั้นจะเป็นอะไร แล้วทั้งคู่จะเดินไปทางไหนกับเส้นทางชีวิตตามความฝันแบบ American Dream ในครั้งนี้ รับฟังกันต่อได้เลยครับผม

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3NoXnEY

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3Nl6434

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3IFod8d

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3Lcf0Ww

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/61w8v-pvq1g

Geek Story EP138 : ประวัติ Adam Neumann แห่ง WeWork (ตอนที่ 1)

Adam Neumann ผู้ก่อตั้ง WeWork เป็นอีกหนึ่งดางรุ่งคนล่าสุดในแวดวงเทคโนโลยีที่มีวิสัยทัศน์ แต่ในท้ายที่สุดวิสัยทัศน์นั้นกลับกลายเป็นภาพลวงตาได้อย่างไร

ภาพลักษณ์ของผู้ประกอบการอัจฉริยะด้านเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนทั่วโลกต้องการเป็น ทั้ง Steve Jobs , Mark Zuckerberg หรือ Elon Musk รายต่อไป ซึ่งแน่นอนว่า Neumann ก็อยากที่จะเป็นหนึ่งในนั้น

แต่เรื่องราวของ WeWork มันกำลังบอกอะไรพวกเราได้บางอย่าง ในยุคที่ บริษัท เทคโนโลยีครอบงำทุกอย่าง WeWork พยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้ดูเหมือนยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยี

แต่การใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยและความผิดปกติส่วนตัวของ Neumann และภรรยาของเขา เรื่องราวโกหก หลอกลวง ครั้งใหญ่ ที่มีนักลงทุนระดับตำนานอย่าง Masayoshi Son เข้ามาเกี่ยวข้อง

แน่นอนว่าเหล่านักลงทุนต้องการที่จะค้นหา Facebook / Apple / Uber ตัวถัดไป และ WeWork ก็พยายามที่จะทำตามเคล็ดลับนี้ มันน่าทึ่งมากที่มีการทุ่มเงินจากนักลงทุนจำนวนมหาศาลในเส้นทางการเติบโตของ WeWork ซึ่งสุดท้ายมันก็แสดงให้เห็นว่าคนรวยไม่ได้ฉลาดกว่า พวกเขาสูญเสียเงินจำนวนมหาศาลครั้งประวัติศาสตร์ในครั้งนี้ไปได้อย่างไร

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3ul9Roi

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3DcDxYW

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3IECoKF

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3DbsgrS

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/w-UKJ7QRcy8

ความผิดพลาดครั้งสำคัญที่สุด ของชายที่ชื่อ Masayoshi Son

Masayoshi Son CEO ของ SoftBank Group ยอมรับว่าเขาทำผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงในการจัดการการลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ของ Softbank ใน WeWork โดยเฉพาะในส่วนของ WeTech

“การตัดสินใจลงทุนของผมนั้นแย่มาก” เขากล่าวในการแถลงข่าวที่โตเกียวตามรายงานของ Wall Street Journal “ผมเสียใจในหลาย ๆ ด้าน กับสิ่งที่เกิดขึ้น”

Masayoshi Son นั้นผ่านการลงทุนมามายมายตั้งแต่ช่วง dot com boom เมื่อปี 2000  จนสามารถกลายเป็นบุคคลที่รวยที่สุดในโลกแซงหน้า bill gate ได้ แต่ก็เพียงไม่นาน ชีวิตก็ต้องเปลี่ยนผัน เนื่องจากภาวะ dot com crash ในปี 2000 ทำให้เงินของเขาหายไปกว่า 99% แต่ด้วยความเชื่อของเขาว่า สุดท้าย บริษัทเทคโนโลยีก็จะเข้าสู่จุดสมดุลอีกครั้ง

เนื่องจากการเติบโตของผู้ใช้ internet รวมถึง การพัฒนาการของเทคโนโลยีที่มีอย่างรวดเร็ว ทำให้เขาสามารถกลับมายืนบนเส้นทางนักลงทุนทางด้านเทคโนโลยีได้อีกครั้ง

ที่น่าสนใจคือ เขาเป็นคนแรก ๆ ที่ให้ทุนแก่ jack ma ที่สร้างอาณาจักร alibaba ได้อย่างยิ่งใหญ่ในปัจจุบัน ตอนนั้น บริษัทของ jack ma นั้นแทบจะไม่มีกำไร และมีพนักงานเพียงน้อยนิดเท่านั้น เรียกว่าเป็นการลงทุนที่เชื่อมั่นใน jack ma เป็นอย่างมากเลยก็ว่าได้

Son เป็นผู้ที่เชื่อในตัว Jack Ma มาตั้งแต่เริ่มลงทุนครั้งแรก
Son เป็นผู้ที่เชื่อในตัว Jack Ma มาตั้งแต่เริ่มลงทุนครั้งแรก

ที่ให้ทุนกับ jack ma ไปสร้างอาณาจักร alibaba จนสามารถยิ่งใหญ่ได้ในปัจจุบัน และสามารถทำกำไรให้เขาได้อย่างมากมาย เนื่องจาก alibaba นั้นกลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ แห่งหนึ่งของโลกในขณะนี้ก็ว่าได้

ซึ่งการลงทุนในระดับตำนานของเขาคือการลงทุนใน ARM  ซึ่งเขามองว่า ARM นั้นครองส่วนแบ่งได้ถึง 99% ในตลาด chip ของมือถือ ซึ่งกว่า 1000 ล้าน device ในปัจจุบัน นั้นใช้ chip ของ ARM แล้วทำไมเขาถึงจะไม่ลงทุนในบริษัทที่ส่วนแบ่งการตลาดขนาดนี้ รวมถึง ในอนาคตนั้น ไม่ใช่แค่มือถืออย่างเดียวที่ใช้ chip

แต่ภายหลังจากที่เข้าลงทุนใน WeWork และการลงทุนอื่น ๆ อีก 20 แห่ง ภายใต้กองทุนใหม่ของ Masayoshi Son ที่มีชื่อว่า Vision Fund ที่มุ่งเน้นด้านเทคโนโลยี ที่มีมูลค่ากองทุนกว่าแสนล้านดอลลาร์

ผลการลงทุนครั้งนี้ทำให้ Softbank นั้นขาดทุน 9 พันล้านดอลลาร์ในไตรมาสที่ผ่านมา นับเป็นการขาดทุนรายไตรมาสครั้งแรกนับตั้งแต่ก่อตั้ง SoftBank Group ซึ่งมียอดขาดทุนสุทธิ 6.4 พันล้านดอลลาร์ในไตรมาสที่สามซึ่งถือเป็นสถิติที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ 38 ปี ของบริษัท

ประสิทธิภาพที่ย่ำแย่โดยเฉพาะการลงทุนใน WeWork และ Uber ซึ่งเป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดของ SoftBank ทำให้เกิดความสูญเสียขึ้นกับ SoftBank เป็นอย่างมาก โดยถูกบันทึกมูลค่าหุ้น WeWork ลงเหลือเพียง 4.7 พันล้านดอลลาร์ และทำให้เงินทุน Vision Fund ลดลง 3.5 พันล้านดอลลาร์

SoftBank ได้ชำระหนี้และทุนจำนวน สองหมื่นล้านดอลลาร์ใน WeWork รวมถึงเงินช่วยเหลือจำนวน 9.8 พันล้านดอลลาร์จากการปลด Adam Neumann ซีอีโอคนเก่าออก ตามที่ตกลงกันไว้เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมาซึ่งทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของ Softbank อยู่ที่ 80%  ซึ่ง Son สัญญาว่าการให้ความช่วยเหลือทางการเงินจะเป็นครั้งสุดท้ายสำหรับ WeWork

SoftBank อ้างว่ามูลค่าของ WeWork สูงถึง 47 พันล้านเหรียญสหรัฐจนกระทั่งภายหลังการเกิดวิกฤติครั้งใหญ่ในการเสนอขายหุ้น IPO ซึ่งได้เปิดเผยสถานการณ์ทางการเงินที่น่าเป็นห่วงจนเรื่องมันแดงขึ้นมา

Son ยอมรับว่าเขาประเมินผิดพลาดถึงพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของ Adam Neumann อดีตซีอีโอ ของ WeWork  “ผมผิดพลาดที่มองเขาไม่รอบคอบ” เขากล่าว

การเข้าลงทุนใน WeWork ถือเป็นความผิดพลาดครั้งสำคัญของ Son
การเข้าลงทุนใน WeWork ถือเป็นความผิดพลาดครั้งสำคัญของ Son

Son กล่าวว่าเขามีแผนฟื้นฟูสามขั้นตอน สำหรับ WeWork ซึ่งปัจจุบัน SoftBank เป็นเจ้าของส่วนใหญ่แล้ว ขั้นตอนแรกคือ WeWork หยุดการสร้างสำนักงานใหม่เป็นเวลาสามถึงสี่ปีเพราะการก่อสร้างใหม่เป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก 

ประการที่สองคือทำการปรับปรุงโครงสร้างของ WeWork เพื่อลดต้นทุนอื่น ๆ  และประการที่สาม WeWork สามารถลดธุรกิจที่ไม่ทำกำไรได้  “ดังนั้นด้วยความคิดทั้งสามข้อนี้เราเชื่อมั่นว่าเราจะสามารถปรับปรุง WeWork ได้อย่างมาก” Son กล่าว

แต่ถึงกระนั้นเขาก็ปกป้องผลงานโดยรวมของ Vision Fund และกล่าวว่าเขากำลังวางแผนระดมทุนอีก แสนล้านดอลลาร์ ในกองทุน โดยอ้างว่านักลงทุนในกองทุนแรก มีความกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมลงทุนกับเขาอีกครั้ง

ซึ่งในท้ายที่สุด Son ได้มองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับศักยภาพในการเปลี่ยน WeWork ให้เป็นธุรกิจที่มีกำไรได้ แม้จะเป็นเจ้าของถึง 80% ของบริษัท แต่ก่อนหน้านี้ SoftBank ก็ยังไม่สามารถควบคุม WeWork ได้อย่างเต็มที่ 

ซึ่งหลังจาก Wework ได้รับเงินช่วยเหลืออีก 9.5 พันล้านดอลลาร์ SoftBank ก็สามารถแต่งตั้งประธานกรรมการบริหารของตัวเองได้ โดยคนที่ Son วางไว้ที่จะมากู้วิกฤติที่ WeWork คือ Marcelo Claure ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเป็น ซีอีโอ ของ Sprint บริษัทที่ Softbank เป็นเจ้าของอีกราย

ซึ่งต้องบอกว่าจากประวัติที่ผ่านมา Son เป็นนักลงทุนที่น่าทึ่ง แม้เขาจะผิดพลาดในการลงทุนกับ WeWork หรือ Uber แต่คำ ๆ หนึ่ง นั่นก็คือ คำว่า “Believe” ที่เขามักพูดออกสื่ออยู่บ่อย ๆ นั้น สิ่งที่เขาพูดมักจะกลายเป็นความจริงในทุก ๆ ครั้ง ด้วยความเชื่อ และประสบการณ์ของเขานั้น แม้จะมีความผิดพลาดบ้าง แต่ความเชื่อของเขาโดยส่วนใหญ่นั้นสามารถทำนายอนาคตของเราได้ว่า เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในด้านไหน ที่จะมีบทบาทที่สำคัญอย่างมาก กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ในอนาคตนั่นเองครับ

References : https://www.cityam.com/softbank-warns-of-steeper-losses-as-it-takes-hit-on-wework/
https://www.businessinsider.sg/softbank-ceo-says-he-was-foolish-to-invest-in-wework-2020-5
https://therealdeal.com/2019/11/06/softbanks-masa-son-i-ignored-weworks-problems-made-bad-investments-in-us-tech-firms-and-im-really-sorry/
https://economictimes.indiatimes.com/small-biz/startups/newsbuzz/softbanks-masayoshi-son-had-a-bad-2019-heres-what-he-can-buy-in-2020/articleshow/73040204.cms

ประวัติ Adam Neumann ผู้ก่อตั้ง WeWork จากดาวรุ่งสู่ดาวร่วง

Adam Neumann เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท WeWork ซึ่งเป็น บริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่เขาร่วมก่อตั้งขึ้นในปี 2010 เพื่อเป็นผู้นำในระดับโลกและเป็นสัญลักษณ์สำหรับสำนักงานระดับแนวหน้าด้วยแนวคิดแบบ Startup ยุคใหม่

โดย WeWork มีสถานที่ตั้งมากกว่า 500 แห่งใน 29 ประเทศและเมื่อเร็ว ๆ นี้ในเดือนสิงหาคม ทั่วทั้งโลกได้หันมาจับตามอง Neumann ในฐานะนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ที่กำลังมีบทบาทสำคัญ

แต่เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา คำแถลงของ WeWork ประกาศว่าเขาจะก้าวลงจากตำแหน่งในฐานะหัวหน้าผู้บริหาร ซึ่งเป็นเพียงไม่นานหลังจากที่แผนการของบริษัทที่จะขายหุ้นออกสู่สาธารณะนั้นประสบกับปัญหา

นับเป็นการล่มสลายที่น่าตกใจ ดังนั้นเรื่องมันได้เกิดอะไรขึ้นกับเรื่องราวของเขาที่กำลังพุ่งแรงสุด ๆ แต่ต้องมาตกม้าตายในช่วงเวลาหน้าสิ่วหน้าขวานของบริษัทเช่นนี้?

จาก Kibbutz ไปสู่ Co-Working Space

ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน เมื่อครั้งที่ชาวยิวที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก พากันอพยพกลับมาตั้งถิ่นฐานยังดินแดนที่เป็นประเทศอิสราเอลในปัจจุบัน ในครั้งนั้นชาวยิวส่วนหนึ่งได้รวมตัวกันเป็นชุมชนเกษตรกรรมตามชนบท หรือที่เรียกว่า ‘คิบบุตซ์’ (Kibbutz) ซึ่งปัจจุบันทั่วทั้งประเทศอิสราเอลยังมีคิบบุตซ์อยู่มากกว่า 250 แห่ง

N์eumann เกิดที่อิสราเอล โดยเขาได้มีโอกาสรับใช้กองทัพเรืออิสราเอล ก่อนที่จะย้ายไปนิวยอร์กเพื่อ “รับงานที่ยอดเยี่ยม มีความสนุกสนานมากมาย และทำเงินได้อีกมากโข” ในขณะที่เขาให้สัมภาษณ์กับ TechCrunch ในปี 2017

เขาลงทะเบียนเรียนที่ Baruch College ที่ City University of New York ในปี 2002 แต่ต้องลาออกจากการเรียนเพื่อหันไปทำธุรกิจแบบเต็มตัว

หนึ่งในกิจกรรมแรก ๆ ของเขาคือ บริษัท เสื้อผ้าเด็กที่พัฒนาเป็นแบรนด์ Egg Baby สุดหรู

ต่อมาเขาและหุ้นส่วนทางธุรกิจ Miguel McKelvey ที่เป็นสถาปนิก ได้ทำการปรับปรุงพื้นที่สำนักงานและให้เช่าช่วงทรัพย์สิน พวกเขาขายธุรกิจนั้นออกไป แต่นั่นได้กลายเป็นแนวคิดเริ่มต้นก่อนที่จะกลายมาเป็น WeWork อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน

สองคู่หูที่ช่วยกันปลุกปั้นธุรกิจ WeWork
สองคู่หูที่ช่วยกันปลุกปั้นธุรกิจ WeWork

ในปี 2008 ณ จุดตกต่ำของวิกฤตการณ์ทางการเงินทั่วโลก Neumann และผู้ร่วมก่อตั้งของเขา Miguel McKelvey เริ่มให้เช่าพื้นที่สำนักงานชั่วคราวเพื่อ Freelance , Startup และใครก็ตามที่ต้องการสถานที่ทำงาน ที่มากกว่าแค่โต๊ะทำงานและเก้าอี้

สิ่งที่ Neumann เชื่อคือ พวกเขาขาย ความทุเลาจากความโกลาหลของโลกภายนอก WeWork มันเหมือนคลับเฮาส์ ที่หนุ่มสาวที่อาจจะไม่รู้จักกัน สามารถทำงานร่วมกนแบบไม่รู้สึกโดดเดี่ยว

จากจุดเริ่มต้นด้วยแนวคิดเล็ก ๆ ของ Neumann WeWork นั้นเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ระหว่างปี 2010 ถึงปี 2019 จำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นจาก 450 เป็น 527,000  และมันทำให้เริ่มดึงดูดความสนใจของคนร่ำรวยและมีอำนาจเข้ามาอยู่ใกล้ ๆ ตัว Neumann

ในการสัมภาษณ์ Neumann ผู้ซึ่งได้รับปริญญาของเขาในปี 2017 ได้มีการเชื่อมโยงเรื่องราวต้นกำเนิดของ WeWork เข้ากับตัวเขาเอง โดยเชื่อมโยงวัยเด็กของเขาและเวลาที่ใช้ในการเดินทางไป Kibbutz กับ WeWork

เขาบอกกับหนังสือพิมพ์อิสราเอล Haaretz ในปี 2017 ว่าบางครั้งเขาก็พูดถึง WeWork ว่าเป็น “Kibbutz 2.0”

วิธีการหาเงินง่าย ๆ

บุคลิกที่มีสีสันของ Neumann นั้นเป็นที่ดึงดูดใจนักลงทุนรวมถึง Softbank ยักษ์ใหญ่ด้านการลงทุนของญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักของ WeWork

Masayoshi Son ผู้บริหาร Softbank รายงานว่าได้ตัดสินใจลงทุนใน WeWork นระหว่างการนั่งรถ หลังจากการที่เขาได้เข้าไปใช้เวลาประมาณ 12 นาทีในการสำรวจ สำนักงานของ WeWork ในนิวยอร์ก

การลงทุนของ Softbank ช่วยให้ บริษัท มีการประเมินมูลค่าสูงสุดที่ประมาณ 47,000 ล้านเหรียญ แม้จะมีการขาดทุนที่สูงอย่างต่อเนื่องก็ตามที

SoftBank ของ Son ยังลงทุนใน WeWork
SoftBank ของ Son ยังหลงมนต์เสน่ห์ Neumann และร่วมลงทุนใน WeWork

Neumann อธิบายการขาดทุนของ WeWork โดยบอกกับ Forbes ในปี 2017 ว่า : “การประเมินค่าและขนาดของเราในวันนี้นั้นขึ้นอยู่กับพลังงานและจิตวิญญาณของเรามากกว่ารายได้ที่เป็นตัวเลขหลายเท่า”

เส้นบาง ๆ ระหว่างธุรกิจหรือความเพ้อฝัน

การเติบโตของ WeWork ทำให้ Neumann กลายเป็นมหาเศรษฐีด้วยมูลค่าหุ้นของเขาที่มีสุทธิประมาณ 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ

และชีวิตส่วนตัวอันน่าดึงดูดใจของเขา ภรรยาของเขาคือ เรเบคาห์ เป็นลูกพี่ลูกน้องของนักแสดงหญิง กวินเน็ธ พัลโทรว์ ในขณะที่น้องสาวของเขาอาดีเป็นอดีตนางแบบที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นมิสทีนอิสราเอล

Neumann กับ อาดี น้องสาวของเขา
Neumann กับ อาดี น้องสาวของเขา

แต่การผสมผสานระหว่างการทำงานและความสุขซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของวัฒนธรรมของ WeWork ได้กลายเป็นปัญหาเมื่อ บริษัทวางแผนที่จะเปิดตัวสู่สาธารณะ

นักลงทุนที่มีศักยภาพได้ตั้งคำถามถึงความเชื่อมโยงระหว่างการเงินส่วนบุคคลของ Neumann กับ WeWork รวมถึงการตัดสินใจที่จะขยายกิจการ WeWork ไปสู่ธุรกิจใหม่ที่น่าสนใจ เช่น การท่องเที่ยว และ การศึกษา

พวกเขายังตั้งคำถามเกี่ยวกับการตัดสินใจของเขาท่ามกลางข้อร้องเรียนเกี่ยวกับวิธีการสังสรรค์ของเขา เนื่องจากเขาเป็นหนุ่มปาร์ตี้ ตัวยง นั่นเอง

เมื่อถึงยุคตกต่ำ

แม้ WeWork จะพยายามตอบสนองต่อข้อกังวลเหล่านั้น แต่ก็ยังีเรื่องราวอื้อฉาวอื่น ๆ เช่น กรณีที่ Neumann ขายเครื่องหมายการค้า “We” ให้กับบริษัท WeWork มูลค่า 5.9 ล้านเหรียญ ซึ่งถือเป็นเจตนาไม่ดีในทางจริยธรรม ในขณะที่บริษัทของเขากำลังจะเข้าตลาดหุ้น

แต่แม้จะมีการประกาศเมื่อไม่กี่วันทีผ่านมาว่า Neumann ยอมที่จะหลีกทางและลดอำนาจในการยุ่งเกี่ยวกับบริษัทของตัวเขาเองลง เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับคำถามจากสื่อมวลชนมากมายในเรื่องเกี่ยวกับอนาคตระยะยาวของ WeWork

เหล่านักวิจารณ์ตามสื่อต่าง ๆ กล่าวมานานแล้วว่า WeWork นั้นมีขนาดเล็กกว่า บริษัท อสังหาริมทรัพย์ทั่วไปมาก และการเงินที่สั่นคลอนที่เป็นรายได้จากการทำธุรกิจจริง ๆ ของ WeWork นั้น ได้ถูกบดบังด้วยสไตล์ส่วนตัวของผู้ก่อตั้งอย่าง Neumann ที่ทำให้ WeWork นั้นก้าวมาไกลเกินความเป็นจริงของธุรกิจที่เขาทำ อย่างที่เราได้เห็นในตอนนี้นั่นเอง

References : https://www.bbc.com
https://www.fastcompany.com