Geek Daily EP225 : เมื่อ Elon Musk กล่าวว่า AI จะมีความฉลาดมากกว่ามนุษย์ภายในปีหน้า

ความสามารถของโมเดลปัญญาประดิษฐ์ใหม่จะเหนือกว่าสติปัญญาของมนุษย์ภายในสิ้นปีหน้า ตราบใดที่มีพลังงานและฮาร์ดแวร์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของเทคโนโลยีที่ทรงพลังเหล่านี้มากขึ้นได้ ตามที่ Elon Musk กล่าว “ฉันเดาว่าเราจะมี AI ที่ฉลาดกว่ามนุษย์น่าจะประมาณสิ้นปีหน้า” ผู้ประกอบการมหาเศรษฐีผู้เป็นเจ้าของ Tesla, X และ SpaceX กล่าว

และภายในห้าปีข้างหน้า ความสามารถของ AI อาจจะเกินกว่าความสามารถของมนุษย์ทุกคน Musk ได้กล่าวระหว่างการให้สัมภาษณ์กับ Nicolai Tangen ผู้บริหารระดับสูงของ Norges Bank Investment Management

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://tinyurl.com/3ymtsnep

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://tinyurl.com/bdfbj26r

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://tinyurl.com/2s4kjcpd

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://tinyurl.com/2svnywkv

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/2yf05XpQYMU

เจแอนด์ที เอ็กซ์เพรส ประเทศไทย ใส่ใจทุกบริการ มอบความสุขให้ทุกยิ้มกับแคมเปญ “Ha Hai”

เจแอนด์ที เอ็กซ์เพรส ประเทศไทย ประกาศความมุ่งมั่นสู่ภารกิจในการสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับผู้บริโภค เปิดตัวแคมเปญเบื้องหลังการส่งมอบรอยยิ้มผ่านบริการกับ #JnTBehindYourSmile ในปี 2567

โครงการนี้ดังกล่าวถูกออกแบบขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความทุ่มเทของบริษัทฯ ในการยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าและมุ่งหวังที่จะส่งต่อรอยยิ้มไปทั่วประเทศไทย เจแอนด์ที เอ็กซ์เพรส พร้อมที่จะเดินหน้าเพื่อพัฒนาการบริการให้ทุกวันเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเฉลิมฉลอง 

นอกจากนี้ แคมเปญ #JnTBehindYourSmile ยังแสดงให้เห็นถึงความทุ่มเทของพนักงาน เจแอนด์ที เอ็กซ์เพรส ทุกท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานส่งพัสดุ หรือที่รู้จักกันในชื่อ “สปรินเตอร์ (Sprinter)” บุคคลเหล่านี้ทำงานอย่างเหนือความคาดหมายอยู่เสมอ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าพัสดุทุกชิ้นจะถูกส่งไปถึงปลายทางอย่างรวดเร็วและปลอดภัย สะท้อนถึงความมุ่งมั่นที่จะทำให้ เจแอนด์ที เอ็กซ์เพรส เป็นเบื้องหลังรอยยิ้มของคุณ

“Ha Hai” ฉลองครบรอบห้าปีแห่งการให้บริการอันเปี่ยมสุข

เริ่มต้นกับกิจกรรมแรกของแคมเปญที่มีชื่อว่า “Ha Hai” ที่จะเผยแพร่บนช่องทางออนไลน์เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 5 ปี ของ เจแอนด์ที เอ็กซ์เพรส ประเทศไทย ซึ่งจะถูกจัดตั้งแต่เดือนมีนาคมไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2567

กิจกรรม “Ha Hai” นี้ สร้างสรรค์จากการเล่นคำ อย่าง “Ha” หรือ (ห้า) หมายถึงห้าปีของการให้บริการ และ “Hai” (ให้) เป็นสัญลักษณ์ของพันธกิจในการส่งมอบความสุขของ เจแอนด์ที เอ็กซ์เพรส กิจกรรมนี้จะนำเสนอด้วยการสัมภาษณ์ผู้คนตามสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศไทย โดยผู้เข้าร่วมจะมีโอกาสลุ้นรับรางวัลที่น่าตื่นเต้นอีกด้วย

แคมเปญ #JnTBehindYourSmile ครั้งนี้ จะไม่หยุดอยู่เพียงแค่กิจกรรม “Ha Hai” เท่านั้น โดย เจแอนด์ที เอ็กซ์เพรส วางแผนที่จะเปิดตัวกิจกรรมอีกมากมายตลอดทั้งปี ทั้งบนแพลตฟอร์มออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อส่งมอบความสนุกและรอยยิ้ม รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมให้กับผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น

โดยสามารถติดตามการอัปเดตล่าสุดและการเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมา ได้ทางโซเชียลมีเดียของ เจแอนด์ที เอ็กซ์เพรส ประเทศไทย ซึ่งช่องทางเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงแหล่งอัปเดต แต่ยังเป็นพื้นที่แบ่งปันข้อมูลต่างๆ ทั้งความสุขและความสนุกด้วยกันภายในกลุ่มผู้บริโภคของ เจแอนด์ที เอ็กซ์เพรส อีกด้วย 

Geek Book EP42 : The Coming Wave กับการเรียนรู้จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของมวลมนุษยชาติ

ในประวัติศาสตร์มวลมนุษยชาติ มีช่วงเวลาที่เป็นจุดเปลี่ยนที่ส่งผลต่อชะตากรรมของมนุษยชาติ ไม่ว่าจะเป็นการค้นพบไฟ การประดิษฐ์วงล้อ การถือกำเนิดของไฟฟ้า ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงอารยธรรมของมนุษย์ และเปลี่ยนแปลงวิถีแห่งประวัติศาสตร์ไปตลอดกาล

และตอนนี้เรากำลังยืนอยู่ที่ชายขอบของอีกช่วงเวลาสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง ในขณะที่เราเผชิญกับคลื่นลูกใหม่ของเทคโนโลยีที่กำลังจะมาถึงซึ่งรวมถึง AI ขั้นสูงและเทคโนโลยีด้านชีวภาพ เราไม่เคยเห็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้มาก่อนซึ่งจะเปลี่ยนโลกของเราในรูปแบบที่สุดโหดในแบบที่มนุษย์เราไม่เคยประสบพบเจอมาก่อน

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://tinyurl.com/4as6wc8s

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://tinyurl.com/ywn7exka

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://tinyurl.com/2p9exunm

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
 https://tinyurl.com/yck8wt7s

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/5V5JTM5yCK0

ฟิลิปส์เผย 10 เทรนด์เทคโนโลยีด้านสาธารณสุขที่น่าจับตามองของปี 2024

ด้วยปัญหาการขาดแคลนบุคลากรบวกกับปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้น และความผันผวนทางเศรษฐกิจล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ท้าทายผู้ให้บริการทางสาธารณสุขทั่วโลกในการพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินงานและคิดค้นรูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยใหม่ๆ

ในขณะเดียวกัน ผู้บริหารแถวหน้าในวงการสาธารณสุขยังตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ด้วยการหันมาให้ความสำคัญกับการยกระดับความเท่าเทียมด้านการเข้าถึงระบบสาธารณสุข ตลอดจนความจำเป็นในการลดก๊าซคาร์บอนในอุตสาหกรรมเพื่อการรักษาสุขภาพของโลกเช่นเดียวกัน เพื่อเป็นการตอบสนองต่อความท้าทายดังกล่าว ฟิลิปส์จึงได้รวบรวม 10 เทรนด์เทคโนโลยีสาธารณสุขที่คาดว่าจะมาแรงในปี ค.ศ. 2024 นี้

1.การเพิ่มประสิทธิภาพระบบการทำงานอัตโนมัติ (Workflow Automation) ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI)

ปัจจุบันองค์กรด้านสาธารณสุขต้องเผชิญกับภาวะการขาดแคลนบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้องค์กรเหล่านี้ต้องปรับกลยุทธ์การทำงาน เพื่อดึงดูดบุคลากรใหม่ๆ และดูแลบุคลากรเดิมในองค์กร ด้วยการเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่มองหาสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานที่ดีขึ้น

นอกจากนี้ภายในองค์กรยังหันมาใช้ระบบการทำงานอัตโนมัติและ AI เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและแบ่งเบาภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์

ยกตัวอย่างเช่น ในด้านรังสีวินิจฉัย (Diagnostic Imaging) การบูรณาการ AI ให้เข้ากับระบบเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) จะช่วยลดเวลาการทำงานในขั้นตอนที่ใช้เวลามากที่สุดของนักรังสีการแพทย์ เพื่อให้พวกเขาได้ใช้เวลากับผู้ป่วยมากขึ้น ด้วยการใช้ AI สร้างภาพถ่ายรังสีที่มีคุณภาพสูง เพื่อช่วยในการวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำขึ้น

นอกจากนี้ AI ยังช่วยลดความซับซ้อนของ การอัลตราซาวด์หัวใจ  ด้วยการจำลองภาพหัวใจแบบ 3 มิติรวมถึงการประเมินแบบอัตโนมัติในอวัยวะอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้นักรังสีการแพทย์สามารถวิเคราะห์ภาพถ่ายได้อย่างแม่นยำ รวมถึงช่วยให้แพทย์มีแนวทางการดูแลรักษาหัวใจได้ดียิ่งขึ้น และในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ระบบอัตโนมัติจะได้รับการส่งเสริมเพิ่มเติมจากการเพิ่มขึ้นของ Generative AI ในด้านสาธารณสุข 

2. การทำงานร่วมกันแบบเสมือนเพื่อจัดการกับปัญหาการขาดแคลนบุคลากรและทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญ

เทรนด์ของเทคโนโลยีด้านสาธารณสุขที่ควบคู่ไปกับระบบอัตโนมัติคือการทำงานร่วมกันแบบเสมือนเพื่อลดผลกระทบของการขาดแคลนบุคลากรและทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญ การเติบโตที่คาดหวังในด้านนี้มีประโยชน์เพิ่มเติมในการปรับปรุงการเข้าถึงการดูแลในพื้นที่ห่างไกลและในชนบท ที่ซึ่งบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมีแนวโน้มที่จะขาดแคลนเป็นพิเศษ

ระบบ Tele-ICU (เทเล-ไอซียู) จะยังคงถูกนำมาใช้งานอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขจะยิ่งมองหาระบบบูรณาการเพื่อดูแลผู้ป่วยข้างเตียงแบบเสมือนจริงที่ไร้รอยต่อ เจ้าหน้าที่และพยาบาลสามารถดูแลผู้ป่วยวิกฤติแบบทางไกลได้ โดยมีระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนอัตโนมัติที่ทำงานด้วย AI สามารถลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ได้

แม้ว่าบุคลากรทางการแพทย์จะมีอายุมากขึ้น แต่รูปแบบการทำงานเสมือนจริงนี้จะช่วยให้พวกเขาสามารถถ่ายทอดประสบการณ์และความเชี่ยวชาญต่างๆให้แก่บุคลากรทางการแพทย์รุ่นน้องได้เป็นอย่างดี ซึ่งถือเป็นการรักษาองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญให้คงอยู่ต่อไป เนื่องด้วยสถานการณ์ที่แพทย์จำนวนมากเลือกที่จะเกษียณอายุก่อนกำหนดมากขึ้น รวมถึงกลุ่มพยาบาลเองก็มีแผนที่จะลาออกจากระบบสาธารณสุข อีกด้วย

3. การวินิจฉัยแบบบูรณาการที่สนับสนุนการทำงานร่วมกันแบบสหวิทยาการ

ความก้าวหน้าในการวินิจฉัยแบบบูรณาการจะช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขในต่างสาขาสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น เพื่อช่วยให้พวกเขาทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากขึ้น

เปรียบเหมือนกับเป็นการสร้าง ‘ห้องนักบิน’ ที่ใช้ทำงานร่วมกัน เป็นที่ซึ่งรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันจากโดเมนต่างๆ
ในสภาพแวดล้อมดิจิทัลของ Vendor-agnostic เพื่อสนับสนุนการวินิจฉัยที่รวดเร็วและแม่นยำสำหรับผู้ป่วย

ยกตัวอย่างเช่น ในเคสผู้ป่วยโรคมะเร็งการได้รับการวินิจฉัยที่ตรงจุดแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้การรักษาเห็นผลลัพธ์ที่ดีมากขึ้น ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ยังได้รับข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมว่าการค้นพบของพวกเขามีความสอดคล้องกันมากเพียงใด ทำให้เกิดวงจรความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการวินิจฉัยให้ดียิ่งขึ้นได้

4. ยกระดับการทำงานร่วมกัน เพื่อการติดตามและการประสานการดูแลที่ดียิ่งขึ้น

ความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นความท้าทายที่เกิดขึ้นในด้านสาธารณสุขมาอย่างยาวนาน โดยเกิดจากความซับซ้อนและกระจัดกระจายของเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพและโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลด้านการดูแลสุขภาพส่วนใหญ่

ผู้บริหารในวงการสาธารณสุข บนรายงาน Future Health Index (FHI) ของฟิลิปส์ปี 2023 ระบุว่ารายงานนี้เป็นหนึ่งในสี่ปัจจัยแห่งความสำเร็จอันดับต้นๆ ในการมอบแนวทางใหม่ๆในการดูแลที่ผสมผสานการดูแลแบบตัวต่อตัวและแบบเสมือนจริงในทุกสภาพแวดล้อม

ความสามารถในการทำงานร่วมกันแบบใหม่สามารถรวบรวมอุปกรณ์และระบบทางการแพทย์ที่แตกต่างกันมาไว้ในอินเทอร์เฟซเดียวกันเพื่อสร้างมุมมองภาพรวมที่ครอบคลุมเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ดูแลสามารถให้คำแนะนำการรักษาได้อย่างมั่นใจได้จากทุกที่ในโรงพยาบาล ช่วยลดความผันผวนที่เกิดจากภาวะข้อมูลที่มีมากเกินไป

โดยนวัตกรรมล่าสุดอย่างภาพเสมือนของผู้ป่วยแบบอวตาร สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติม โดยการแปลข้อมูลผู้ป่วยที่สำคัญแต่ซับซ้อนให้เป็นจอแสดงผลที่เข้าใจง่าย

5. การตรวจจับความเสี่ยงตั้งแต่เนิ่นๆ และการแทรกแซงโดยอาศัยการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ 

การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ถือเป็นหนึ่งในเทรนด์ของเทคโนโลยีด้านสาธารณสุขในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยการได้รับข้อมูลเชิงลึกด้านการปฏิบัติงานและทางคลินิกจากข้อมูลแบบเรียลไทม์และข้อมูลในอดีต

การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์สามารถช่วยให้ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขปรับปรุงประสิทธิภาพและดำเนินการเตรียมรับมือล่วงหน้าได้ รายงาน Future Health Index (FHI) ของฟิลิปส์ปี 2023 แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารในวงการสาธารณสุข  39% วางแผนอย่างไรที่จะลงทุนใน AI เพื่อคาดการณ์ผลลัพธ์ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 30% ในปี 2021

ในปัจจุบัน การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ช่วยให้ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขคาดการณ์และบริหารจัดการกระบวนการไหลของผู้ป่วยในแต่ละจุดบริการภายในสถานบริการ ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถบริหารทรัพยากรบุคลากรในตำแหน่งที่ต้องการมากที่สุดได้

ความสามารถเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีความสำคัญโดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤต (เช่น การแพร่ระบาดของโควิด-19) และตอนนี้กำลังกลายเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินงานของโรงพยาบาลที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ด้วยการตรวจสอบอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง เช่น เครื่องสแกน MR

การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ยังช่วยระบุได้อีกด้วยว่า อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์บางอย่างถึงเวลาที่ต้องตรวจเช็คบำรุงหรือเปลี่ยนใหม่แล้ว ซึ่งทำให้ 30% ของเคสการให้บริการ สามารถแก้ไขได้และยังช่วยป้องกันเหตุไม่คาดฝันจากกรณีที่อุปกรณ์หยุดทำงานในระหว่างการตรวจได้

เช่นเดียวกันกับในทางด้านคลินิก การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์สามารถรองรับการตรวจหาความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้ป่วยได้ตั้งแต่เนิ่นๆ โดยพิจารณาจากสัญญาณชีพและข้อมูลผู้ป่วยรายอื่นประกอบกัน ความสามารถเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการดูแลผู้ป่วยระยะเฉียบพลัน ซึ่งอาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้ในระยะนี้

การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ยังสามารถช่วยดูแลผู้ป่วยที่บ้านผ่านการระบบทางไกล ตัวอย่างเช่น ในการศึกษาหนึ่งแสดงให้เห็นว่า ระบบนี้สามารถใช้เพื่อช่วยทำนายภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ ด้วยการตรวจจับความเสี่ยงตั้งแต่เนิ่นๆ การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์สามารถเปลี่ยนจากการดูแลเชิงรับเป็นการดูแลเชิงป้องกัน ซึ่งท้ายที่สุดแล้วส่งผลให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นได้

6. การใช้เทคโนโลยีจัดการปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพ

ยังคงมีประชากรหลายพันล้านคนทั่วโลกที่ไม่สามารถเข้าถึงการให้บริการทางสาธารณะสุขที่พวกเขาต้องการได้ แม้กระทั่งในประเทศที่มีทุนสนับสนุนเครื่องมือแพทย์เป็นอย่างดี ความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ความต้องการในเรื่องของ ระบบสาธารณสุขที่เท่าเทียมและยั่งยืน ไม่เคยกลายมาเป็นเรื่องเร่งด่วนมากเท่านี้มาก่อน

ด้วยความร่วมมือกับองค์กร Heart of Australia ภายใต้โครงการโรงพยาบาลเคลื่อนที่ (Hospital on wheels) ได้นำ การถ่ายภาพรังสีวินิจฉัย เช่น X-ray และ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ให้เข้าถึงในพื้นที่ห่างไกลได้มากขึ้น

7. เทคโนโลยีอัจฉริยะที่ช่วยสร้างกิจวัตรประจำวันที่ดีต่อสุขภาพ

เป็นเวลามากกว่า 15 ปีแล้วที่เทคโนโลยีอย่างสมาร์ทวอทช์ทำให้การออกกำลังกายเป็นกิจวัตรเพื่อสุขภาพที่ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างแพร่หลาย และยังก่อให้เกิดอุปกรณ์อัจฉริยะเพื่อสุขภาพที่มีความหลากหลายมากขึ้นตามมา อีกทั้งอุปกรณ์เหล่านี้ยังสามารถตรวจจับสัญญาณชีพจรได้อีกด้วย[1,2]- ซึ่ง

แสดงให้เห็นว่าผู้คนมีความต้องการเทคโนโลยีด้านสาธารณสุขที่สามารถเข้ากับการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างลงตัวและสามารถปรับแต่งตามความชอบและความต้องการของผู้ใช้งานได้

ในปี 2024 นี้มีคาดการณ์ว่าแนวโน้มเทรนด์ของเทคโนโลยีด้านเฮทล์แคร์ยังคงขยายตัวขึ้นเรื่อยๆและผลักดันพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น เช่น ส่งเสริมให้ผู้คนดูแลสุขภาพช่องปากเป็นประจำ เป็นที่ทราบกันดีว่า [3] สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวม

ในขณะที่ผู้คนต้องการที่จะดูแลสุขภาพความเป็นอยู่ของตนเองให้ดีขึ้น แต่ยังคงขาดความเข้าใจและความมุ่งมั่นในการดูแลสุขอนามัยของช่องปากในแต่ละวัน จึงต้องมีการให้คำแนะนำในเรื่องนี้โดย แปรงสีฟันไฟฟ้าใช้งานผ่านAIที่เชื่อมต่อบนแอปพลิเคชั่น สามารถรวบรวมข้อมูลการแปรงฟันและเสนอคำแนะนำส่วนบุคคลเพื่อที่ผู้ใช้งานสามารถนำไปปรับใช้ได้

8. จัดการกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของไอทีด้านการดูแลสุขภาพ 

จากเทรนด์เทคโนโลยีด้านสาธารณสุขที่กล่าวมาทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบดิจิทัลได้สร้างพื้นที่มหาศาลสำหรับการส่งมอบการดูแลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นด้วยการใช้การตัดสินใจทางคลินิกแบบอัลกอริธึมและการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ เช่น เราสามารถใช้ข้อมูลเพื่อส่งมอบข้อมูลเชิงลึกเฉพาะบุคคล
ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ เช่น การแจ้งเตือนทีมดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น หรือ สอนการส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพผ่านแอปพลิเคชั่น

วิธีแก้ปัญหาแบบดิจิทัลสามารถปรับขยายได้อย่างชัดเจน ดังนั้นจึงช่วยสนับสนุนการป้องกันในวงกว้างขึ้น รวมถึงช่วยปรับค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองและการดูแลให้ลดลงได้ และยังช่วยปรับรูปแบบการดูแลเช่นเดียวกับสถานพยาบาลขนาดใหญ่ให้เข้ากับการดูแลภายในบ้านได้ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายบางส่วนลงได้

เพราะในปัจจุบันยังมีผู้คนจำนวนว่า 3.5 พันล้านคนทั่วโลกที่ยังไม่สามารถเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้ ดังนั้นเทคโนโลยีการดูแลสุขภาพแบบดิจิทัลจึงมีส่วนช่วยขยายการเข้าถึงโมเดลการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืนซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมากได้ เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นถึงแนวโน้มของการเติบโตของบริษัทเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ เครื่องมือแพทย์ ซัพพลายเออร์และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆทำงานร่วมกันเพื่อให้แน่ใจว่าได้ตัดสินใจถูกต้องเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของไอทีด้านการดูแลสุขภาพที่กำลังดำเนินอยู่ในปี 2024 และในปีต่อๆไป

9.  การปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ของระบบซัพพลายด์ด้านสาธารณสุขที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

เพื่อตอบสนองความเร่งด่วนในการลดการปล่อยคาร์บอนในด้านสาธารณสุข เรามองเห็นแนวโน้มที่เป็นไปได้มากขึ้นของบริษัทเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ ระบบสาธารณสุขและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆที่ร่วมกันขับเคลื่อนการทำงานที่ยั่งยืนในทุกภาคส่วนของระบบสาธารณสุข รวมไปถึงด้านการจัดการ นวัตกรรม การบริการและการส่งมอบ โดยการเปลี่ยนแปลงด้านความยั่งยืนที่มีผลกระทบมากที่สุดประการหนึ่งกำลังเกิดขึ้นในด้านการจัดซื้อจัดจ้าง

ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขยายข้อกำหนดการเปิดเผยข้อมูล ESG ทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญ การจัดซื้อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนภูมิทัศน์ด้านการจัดหา การดูแลสุขภาพจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยคาดหวังว่าฝ่ายจัดซื้อจะใช้เกณฑ์การประเมินลำดับความสําคัญในการจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์และวิธีการแก้ปัญหาของเทคโนโลยีด้านสาธารณสุข เช่น  อุปกรณ์ที่พัฒนาโดยPhilips

  1. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าซัพพลายเออร์มีการรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและวางแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  2. มุ่งเน้นการหมุนเวียนอุปกรณ์เทคโนโลยีด้านสาธารณสุขและด้านโซลูชั่น
  3. กำหนดให้ซัพพลายเออร์มีความโปร่งใสเกี่ยวกับประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์และEcoDesignสำหรับผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์
  4. กำหนดให้ซัพพลายเออร์สาธิตวิธีที่ข้อเสนอดิจิทัลสนับสนุนการลดคาร์บอนและการลดการใช้วัสดุวัตถุโดยการเพิ่มประสิทธิภาพทรัพยากรและประสิทธิภาพเวิร์กโฟลว์
  5. กําหนดให้ซัพพลายเออร์รายงานผลกระทบทางสังคมต่อสาธารณะ

นับจากนี้เป็นต้นไป การใช้มาตรฐานการจัดซื้อที่ยั่งยืนเช่นนี้จะเป็นกลยุทธ์ที่จำเป็นสำหรับบริษัทเครื่องมือแพทย์และรัฐบาลที่ต้องการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ควบคู่ไปกับการปกป้องสุขภาพของมนุษย์และส่งเสริมความเสมอภาคด้านการดูแลสุขภาพ

10. ร่วมมือกันเพื่อลดผลกระทบด้านสาธารณสุขบนโลก  

ระบบสาธารณสุขเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่คุณค่าที่กว้างขึ้น-เริ่มตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำไปจนถึงการดำเนินงาน, โลจิสติกส์ ระยะการใช้งานและสิ้นสุดระยะการใช้งานที่ปลายน้ำ ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อ ความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านการใช้ประโยชน์จากที่ดิน มลพิษ  การบริโภคและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

เนื่องจากมีการตระหนักอย่างเป็นวงกว้างถึงผลกระทบต่อสุขภาพของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อสุขภาพของผู้คน จึงจะเห็นแนวโน้มอย่างต่อเนื่องของระบบสาธารณสุขที่นำกลยุทธ์มาใช้อย่างแข็งขันในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น  การเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีด้านสาธารณสุขที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและวิธีแก้ปัญหาดิจิทัลอัจฉริยะหรือการปรับใช้เป้าหมายตามหลักวิทยาศาสตร์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก-เป้าหมายบังคับสําหรับบริษัททั้งหมดในแคลิฟอร์เนียที่มีมูลค่ามากกว่า1พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2025

อย่างไรก็ตามความเสี่ยงทางธรรมชาติที่ขยายเพิ่มมากขึ้นอาจถูกมองข้ามเนื่องจากองค์กรเชื่อว่าผลกระทบทางการเงินของความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศมีมากกว่าความเสี่ยงเช่น การตัดไม้ทําลายป่าหรือการสูบน้ำ ซึ่งอย่างหลังมีผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของประชากร

ดังนั้นจึงมีการคาดหวังที่จะเห็นแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในการนำ ‘การประเมินต้นทุนทางธรรมชาติ’ มาใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจให้ดีขึ้นเกี่ยวกับการจัดการการใช้ทรัพยากรและบริษัทต่างๆที่ทุ่มเทเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามหลักวิทยาศาสตร์เพื่อธรรมชาติที่ฟิลิปส์ได้มีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อเพิ่มมูลค่าทางนิเวศวิทยาของร่องรอยผลกระทบจากการผลิต

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 Morgan Stanley รายงานไว้ว่า ‘ไม่ต้องสงสัยเลยว่าวิกฤตปัญหาน้ำที่เพิ่มขึ้นจำเป็นต่อทุกอุตสาหกรรมที่ควรต้องทบทวนเกี่ยวกับการใช้น้ำ’ ฟิลิปส์ไม่ใช่บริษัทที่มีการใช้น้ำมาก อย่างไรก็ตามเนื่องจากโรงงานผลิตหลายแห่งของเราตั้งอยู่ในภูมิภาคที่มีปัญหาเรื่องน้ำจึงได้ริเริ่มโครงการลดปริมาณการใช้น้ำทั้งหมดลง 5% จากระดับปริมาณน้ำในปี 2019

มุมมองจากทั่วโลก รอยเท้าความหลากหลายทางชีวภาพขององค์กรเดียวอาจไม่ใหญ่มากนัก แต่แตกต่างจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เมื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียงอย่างเดียวจะมีผลโดยตรงและการฟื้นฟูระบบนิเวศจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นหากเริ่มการกระจายตัวของพื้นที่รวมเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านนี้ การทํางานร่วมกันตลอดห่วงโซ่คุณค่าเป็นสิ่งสําคัญ

The PodFather กับวลี “อีก 10 ปีจากนี้ไป Apple จะกลายเป็นบริษัทเพลง ไม่ใช่บริษัทคอมพิวเตอร์”

ถ้าโลกนี้ไม่มีคนที่ชื่อ โทนี่ ฟาเดลล์ มันก็ไม่อาจจะทำให้ สตีฟ จ็อบส์ สามารถพลิกฟื้น Apple กลับมาได้สำเร็จ โปรแกรมเมอร์หนุ่มมาดกร่าง หน้าตาและการแต่งตัวออกไปทางแนวไซเบอร์พังค์ เป็นคนมีเสน่ห์ที่รอยยิ้ม และมีหัวคิดแบบเจ้าของกิจการ และที่สำคัญมีความเชี่ยวชาญทางด้านฮาร์ดแวร์โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการฟังเพลง

และเป็น จอห์น รูบินสไตน์ ผู้บริหารที่ดูแลด้านฮาร์ดแวร์ของ Apple ในยุคนั้นที่เป็นคนไปค้นพบโทนี่ ฟาเดลล์ เข้า

ฟาเดลล์ เคยตั้งบริษัทถึง 3 แห่งสมัยเรียนอยู่มหาวิทยาลัยมิชิแกน พอเรียนจบก็ได้เข้าไปทำงานที่ General Magic ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพา แล้วย้ายข้ามห้วยไปยัง Philips บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ระดับโลก

ฟาเดลล์ มีไอเดียอย่างแรงกล้าที่จะทำเครื่องเล่นเพลงที่ดีกว่าเครื่องที่มีขายอยู่ในท้องตลาด เขาเคยไปนำเสนอไอเดียที่ RealNetwork , Sony และ Philips แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ 

และในวันหนึ่งที่ฟาเดลล์ ในขณะที่เขากำลังเล่นสกีอยู่กับลุงที่เมืองเวลรัฐโคโลราโด ระหว่างที่นั่งลิฟต์ขึ้นเขา เพื่อไปเล่นสกีเหมือนอย่างที่เคยทำมาเป็นประจำเสียงโทรศัพท์ก็ดังขึ้น

ปลายสายคือ รูบินสไตน์ ที่เป็นผู้อำนวยด้านด้านฮาร์ดแวร์ ของ Apple ซึ่งได้แจ้งเขาว่ากำลังหาคนที่จะมาช่วยทำ “อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก” ซึ่งคนระดับฟาเดลล์นั้นมีความมั่นใจเต็มเปี่ยมอยู่แล้ว เขาทำอุปกรณ์พวกนี้เก่งในระดับที่หาตัวจับยาก รูบินสไตน์ จึงได้เชิญ ฟาเดลล์ เข้าไปพบที่ office ของ Apple ในคูเปอร์ติโน่

ฟาเดลล์ เข้าใจว่า Apple นั้นจะจ้างไปทำเครื่อง PDA แต่เมื่อได้พบกับ รูบินสไตน์ การสนทนาก็เปลี่ยนเป็นเรื่องเกี่ยวกับ iTunes ที่ Apple เพิ่งได้ทำเสร็จก่อนหน้านั้นไม่นาน

ปัญหาในตอนนั้นคือทาง Apple พยายามที่จะใช้เครื่องเล่น mp3 ที่มีในตลาดเพื่อใช้งานกับ iTunes ซึ่งพบว่า ไม่มีอุปกรณ์ไหนที่สามารถตอบโจทย์ของ Apple ได้เลย ตอนนั้นมีแต่อุปกรณ์เล่น mp3 ห่วย ๆ อยู่เต็มตลาดไปหมด Apple อยากที่จะสร้างเวอร์ชั่นของตัวเองขึ้นมา

ฟาเดลล์ ที่ถูกชักชวนมาสร้างเครื่องเล่น MP3 ให้กับ Apple (CR: Apple Wiki)
ฟาเดลล์ ที่ถูกชักชวนมาสร้างเครื่องเล่น MP3 ให้กับ Apple (CR: Apple Wiki)

และมันทำให้ ฟาเดลล์ รู้สึกตื่นเต้นมาก ๆ เพราะเขาเป็นคนที่รักในเสียงดนตรี และเคยพยายามนำไอเดียที่เขาคิดไปเสนอที่ RealNetworks เหมือนกัน ตอนที่ RealNetworks กำลังนำเสนอเครื่องเล่น mp3 ให้กับบริษัท Palm แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ

แต่ ฟาเดลล์ เป็นคนที่รักอิสระเขาไม่อยากที่จะเป็นพนักงานเต็มตัวของ Apple เขาแค่อยากร่วมงานในฐานะที่ปรึกษาเพียงเท่านั้น

รูบินสไตน์ ได้พยายามบีบบังคับให้ ฟาเดลล์ ทิ้งไพ่ในมือด้วยการมัดมือชก และยืนกรานว่าหาก ฟาเดลล์ ต้องการที่จะเป็นหัวหน้าทีมก็ต้องเข้ามาเป็นพนักงานเต็มตัวของ Apple เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

และมีการเรียกทีมงานทั้งหมดที่จะทำโปรเจกต์นี้กว่า 20 คนเข้ามารวมตัวแล้วยื่นคำขาดกับ ฟาเดลล์ ว่าต้องให้ตัดสินใจโอกาสที่ทาง Apple มอบให้เดี๋ยวนั้น ซึ่งมันก็เป็นเรื่องยากที่จะปฏิเสธ แม้ตัว ฟาเดลล์ จะไม่ค่อยเต็มใจนักแต่ก็ได้เสนอตอบรับมาร่วมทีมในท้ายที่สุด

และสุดท้าย Apple ก็ได้ว่าจ้าง ฟาเดลล์ ในปี 2001 และได้สร้างทีมพัฒนาขนาด 30 คนให้ที่มีทั้ง Designer , Programmers รวมถึง Hardware Engineers เพื่อทำโครงการนี้ 

ช่วงเวลาไม่กี่เดือนหลังจากฟาเดลล์ เข้ามาร่วมทีมทุกคนต่างยุ่งจนแทบจะไม่มีเวลาทะเลาะกัน จ็อบส์อยากให้ iPod (ชื่อที่เรียกแทนเจ้าอุปกรณ์ตัวใหม่นี้) ออกวางตลาดให้ทันช่วงคริสต์มาส์ ซึ่งมันแปลว่าต้องทำเสร็จพร้อมเปิดตัวในเดือนตุลาคมซึ่งมันมีระยะเวลาเพียงแค่ 8 เดือน ถือเป็นช่วงเวลาที่บีบคั้นมาก ๆ สำหรับทุก ๆ คนภายในทีม

ตอนนั้นทีมงานต่างมองหาดูว่ามีบริษัทไหนออกแบบเครื่องเล่น MP3 ที่พอจะใช้เป็นพื้นฐานการทำงานของ Apple ได้บ้าง และได้ตัดสินใจเลือกบริษัทเล็ก ๆ ที่ชื่อ PortalPlayer ให้มาทำเป็นเครื่องต้นแบบ Mp3 Player ของ Apple

PortalPlayer นั้นมีเครื่องต้นแบบอยู่ตัวหนึ่งที่มีขนาดเท่าซองบุหรี่ ซึ่งว่ากันว่ามันมีหน้าตาที่ดูน่าเกลียดมาก ๆ ดูเหมือนวิทยุราคาถูก ที่มีปุ่มเยอะ ๆ ซึ่งมันเป็นที่เข้าใจได้ เพราะว่าบริษัท PortalPlayer เป็นบริษัทฮาร์ดแวร์ ผลิตภัณฑ์ทุกตัวจึงถูกออกแบบโดย Hardware Engineer

แต่ ฟาเดลล์ เห็นตรงกันข้ามเมื่อเขาได้เห็นเจ้าเครื่องตัวนี้ เขารู้สึกทึ่งมากและคิดว่านี่แหละจะเป็นตัวต้นแบบของ iPod ที่ apple จะสร้างขึ้นมา

โดยขณะนั้น PortalPlayer นั้นมีลูกค้าอยู่ถึง 12 ราย และหนึ่งในนั้นคือ IBM ที่ถือว่าเป็นคู่แข่งร่วมวงการกับ Apple โดย IBM กำลังแอบซุ่มทำเครื่องเล่น MP3 ที่ใช้ฮาร์ดดิสก์ขนาดเล็กของ IBM อยู่

ฟาเดลล์ ได้บีบให้ PortalPlayer ทิ้งลูกค้า 12 รายที่เหลือไป และให้มาร่วมงานกับ Apple เพียงบริษัทเดียว ด้วยข้อเสนอ ที่ PortalPlayer มิอาจปฏิเสธได้ลง และเพิ่มทีมงานจนกลายเป็นทีมขนาดใหญ่ ด้วยจำนวนคนถึง 200 คนที่อยู่ในอเมริกา และเหล่า Engineer อีก 80 คนในอินเดียเพื่อเร่งทำให้มันเสร็จก่อนคริสมาสต์

ตอนนี้เรียกได้ว่า iPod หรือ อุปกรณ์เครื่องเล่น MP3 ตัวใหม่ของ apple ได้ทีมงานที่เพียบพร้อมแล้ว โดย PortalPlayer นั้นจะดูแลเรื่อง Hardware , จ๊อบส์ และ ไอฟฟ์ นั้นจะมาดูแลเรื่อง “User Experience” โดยมี ฟาเดลล์ เป็นหัวเรือหลักในการคุมโปรเจ็คนี้

แต่ทุกอย่างมันก็ไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด มันมีข้อบกพร่องมากมายกับเจ้าเครื่อง PortalPlayer ไม่ว่าจะเป็น User Interface ที่ดูซับซ้อน หรือข้อจำกัดในการทำ Playlist ที่ได้ไม่เกิน 10 เพลงเท่านั้น

ฟาเดลล์พบจ็อบส์ ครั้งแรกที่งานเลี้ยงวันเกิดที่บ้านของ แอนดี้ เฮิร์ตซเฟลด์ เมื่อหนึ่งปีก่อนหน้านั้น และเคยได้ยินกิตติศัพท์ของจ็อบส์มามาก ซึ่งหลายเรื่องนั้นฟังแล้วน่าขนลุก แต่เพราะเขายังไม่รู้จักจ็อบส์ดีพอเขาจึงรู้สึกหวั่นใจพอสมควรเมื่อต้องมาประจันหน้ากับจ็อบส์ จริง ๆ ในการประชุมงานเรื่อง iPod

เดือนเมษายน 2001 มีการประชุมนัดสำคัญ วันนั้นจ็อบส์ต้องตัดสินใจเลือกองค์ประกอบพื้นฐานสำหรับเครื่อง iPod ซึ่ง ฟาเดลล์ เป็นคนนำเสนอโดยมี รูบินสไตน์ ,ฟิล ชิลเลอร์ , เจฟฟ์ ร็อบบิน และ สแตน อึง ผู้อำนวยการฝ่ายตลาดของ Apple เข้าร่วมฟังด้วย

การประชุมเริ่มด้วยการนำเสนอเรื่องของศักยภาพของตลาด และเนื้อหาทางการตลาดอื่น ๆ ที่เหล่านักการตลาดมักจะทำกัน แต่จ็อบส์เป็นคนที่มีความอดทนต่ำ สไลด์ชุดไหนที่มีความยาวเกินหนึ่งนาทีเขาจะไม่สนใจทันที และเมื่อถึงฟาเดลล์ที่ต้องกล่าวถึงเรื่องคู่แข่งในตลาดที่ขณะนั้นมีทั้ง Sony  , Creative หรือ Rio  ที่อยู่ในตลาดเครื่องเล่น MP3 เหมือนกัน

แต่จ็อบส์นั้นโบกมืออย่างไม่แยแส จ็อบส์แทบไม่เคยสนใจคู่แข่งเลยด้วยซ้ำ ตอนนี้โปรเจค iPod ยังเป็นความลับอยู่ เหล่าคู่แข่งยังไม่รู้ว่า Apple กำลังทำอะไร

จ็อบส์ ชอบให้เอาสิ่งที่จับต้องได้มาโชว์ เพื่อเขาจะได้สัมผัส ลูบคลำ สำรวจ ฟาเดลล์ จึงได้นำโมเดล 3 แบบเข้ามาในห้องประชุมด้วย รูบินสไตน์ ได้สอนเทคนิคให้จ็อบส์ดูเรียงตามลำดับเพื่อให้ชิ้นที่เขาชอบที่สุดเป็นชิ้นที่เด่นที่สุดทีมงานจึงซ่อนโมเดลที่ชอบไว้ใต้โต๊ะประชุม

จากนั้น ฟาเดลล์ เริ่มเอาโมเดลออกมาโชว์ซึ่งโมเดลเหล่านี้ทำจากโฟมแบบเดียวกับที่ใช้ทำกล่องอาหาร ยัดไส้ตะกั่วเพื่อให้ได้น้ำหนักที่เหมาะสม ตัวอย่างแรกมีช่องใส่เมมโมรี่การ์ดสำหรับบันทึกเพลงแบบถอดได้ จ็อบส์ตัดตัวอย่างนี้ออกทันทีมันดูซับซ้อนไป

ตัวอย่างที่สองนั้นใช้เมมโมรี่แบบ dynamic RAM ซึ่งราคาถูกกว่า แต่เพลงทั้งหมดจะถูก delete ทิ้งทันที หากแบตเตอรี่หมดซึ่งแน่นอนว่าจ๊อบส์ไม่ปลื้มอย่างแน่นอน

จากนั้นแบบที่สามคือ ฟาเดลล์ ได้ทำการจับชิ้นส่วนต่อกันเหมือนเลโก้ เพื่อให้ดูว่าเครื่องเล่นบรรจุฮาร์ดไดร์ฟขนาด 1.8 นิ้วจะมีหน้าตาอย่างไรซึ่งโมเดลนี้ จ็อบส์ดูสนใจมาก ๆ  ซึ่งสุดท้าย จ็อบส์ ก็เลือกแบบดังกล่าว ซึ่งทำให้ ฟาเดลล์ ถึงกับทึ่งมาก เพราะปรกติการประชุมแบบนี้ที่บริษัทอื่น จะต้องตัดสินใจแล้ว ตัดสินใจอีก แต่กับ Apple จ็อบส์ ถือเป็นสิทธิ์ เด็ดขาดสามารถฟันธงได้ทันทีทำให้ทุกอย่างสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว

ตัวอย่างโมเดลต้นแบบของ iPod (CR:Wired)
ตัวอย่างโมเดลต้นแบบของ iPod (CR:Wired)

ต่อจากนั้นเป็นคิวของ ฟิล ชิลเลอร์ ซึ่งดำรงตำแหน่งรองประธานบริษัท มันเป็นไอเดียที่สำคัญที่สุดของ iPod ที่ทำให้แตกต่างจากเครื่องเล่น MP3 อื่น ๆ ในตลาด ชิลเลอร์ ได้นำเสนอล้อกลม ๆ สำหรับใช้เลือกเพลง ( trackwheel ) แค่ใช้นิ้วโป้งหมุนวงล้อ ผู้ใช้จะสามารถเลือกเพลงใน Playlist ได้ ยิ่งหมุนนานก็ยิ่งไล่เพลงได้เร็วขึ้นถึงจะมีเพลงเป็นร้อยเป็นพันเพลงก็สามารถไล่ดูได้ง่ายซึ่งไอเดียนี้ จ็อบส์ร้องอุทาน “นั่นแหละใช่เลย!!!” แล้วสั่งให้ฟาเดลล์กับทีมวิศวกรลงมือทำทันที

โดยหลังจากเริ่มโครงการอย่างเป็นทางการ จ็อบส์ ก็เข้ามาคลุกคลีด้วยทุกวัน จ็อบส์ให้ concept หลักของ iPod คือ “ทำให้ง่ายเข้าไว้!” ทุกฟังก์ชันต้องทำได้ภายใน 3 click ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะบางครั้งทีมงานต้องพยายามแก้ไขปัญหาในส่วนของ User Interface แบบไม่ได้หลับไม่ได้นอนกันเลยทีเดียว

แต่จ็อบส์ก็พยายามหาจุดอ่อน ไปเรื่อย ๆ และให้ทีมงานไปคิดหาวิธีแก้มา ซึ่งบางครั้งทีมงานก็คิดไม่ออกว่าจะไปถึงสิ่งที่จ็อบส์ต้องการได้อย่างไร มันเป็นเรื่องที่บ้ามาก ๆ ในหลายเรื่องที่ทีมงานต้องมานั่งแก้ไขเพื่อให้จ็อบส์นั้นพอใจ จนตอนนั้นมันทำให้ปัญหาเล็ก ๆ ต่าง ๆ แทบมลายหายไปเลยทีเดียว เพราะจ็อบส์จะเห็นรายละเอียดในทุก ๆ จุด และสั่งให้แก้ไขมันทันที

แนวคิดที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จ็อบส์ได้กำหนดไว้ คือ ควรให้ซอฟท์แวร์ iTunes ในคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือจัดการกับฟังก์ชั่นต่าง ๆ ให้มากที่สุดแทนที่จะทำในเครื่อง iPod

และมีคำสั่งอย่างนึงจากจ็อบส์ที่ทำให้ทีมงานต่างอึ้งกันไปเลยทีเดียวกับความเรียบง่ายตามความต้องการของจ็อบส์  โดยจ็อบส์ไม่ต้องการให้ iPod มีปุ่ม เปิด-ปิด และเราจะสังเกตได้ว่าอุปกรณ์อื่น ๆ ของ Apple ก็เป็นอย่างนี้เหมือนกัน คือไม่มีปุ่มสวิตช์ เปิด-ปิด โดยจะเข้าสู่โหมดพักทันทีเมื่อไม่ได้ใช้งานและจะตื่นเมื่อแตะแป้นใด  ๆ ก็ได้

แล้วทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เริ่มเข้าทางอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นชิปที่เก็บเพลงได้เป็นพันเพลง ส่วนของ User Interface และวงล้อที่ช่วยนำทางไปหาเพลงต่าง ๆ การเชื่อมต่อผ่าน FireWire ที่ช่วยให้ดาวน์โหลดเพลงทั้ง 1,000 เพลง ได้ในเวลาไม่ถึง 10 นาที และแบตเตอรี่ก็สามารถใช้งานได้ถึง 1,000 เพลงเช่นกัน

ตอนนี้จ็อบส์ เริ่มรู้แล้วว่าผลิตภัณฑ์ตัวนี้มันเจ๋งแค่ไหน ด้วยคอนเซ็ปต์ของเครื่องที่เรียบง่ายและงดงามมันคือ “หนึ่งพันเพลงในกระเป๋าคุณ” 

จ็อบส์ได้เผยโฉมเครื่อง iPod ครั้งแรก เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2001 ในงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจนเป็นแบบฉบับของตัวเอง ในบัตรเชิญที่ส่งไปยังสื่อนั้นมีข้อความยั่วยวนว่า “คำใบ้: คราวนี้ไม่ใช่ Mac” 

และเมื่อถึงเวลาเผยโฉมผลิตภัณฑ์หลังจากบรรยายสมรรถนะทางเทคนิคแล้วจ็อบส์ไม่ได้เดินไปเปิดผ้าคลุมกำมะหยี่บนโต๊ะอย่างที่เคยทำในทุก ๆ ครั้งที่มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของ Apple แต่เขาแค่พูดขึ้นว่า “ผมบังเอิญมีเจ้านี่อยู่ในกระเป๋า”

เขาล้วงเอาอุปกรณ์สีขาววาววับออกจากกระเป๋ากางเกงยีนส์ “เจ้าเครื่องเล็ก ๆ น่าทึ่งนี่จุเพลงได้ 1,000 เพลง และใส่กระเป๋าผมได้พอดี” เขาใส่มันกลับเข้าไปในกระเป๋าแล้วเดินลงจากเวทีท่ามกลางเสียงปรบมือเกรียวกราวจากเหล่าสาวก

นาทีภาพประวัติศาสตร์ที่จ็อบส์ล้วงเอาอุปกรณ์สีขาววาววับออกจากกระเป๋ากางเกงยีนส์ (CR:Catalign Innovation)
นาทีภาพประวัติศาสตร์ที่จ็อบส์ล้วงเอาอุปกรณ์สีขาววาววับออกจากกระเป๋ากางเกงยีนส์ (CR:Catalign Innovation)

ซึ่งในตอนแรกนั้นบรรดาสาวกแฟนพันธุ์แท้ทางเทคโนโลยีไม่ค่อยเชื่อราคาคุยของจ็อบส์สักเท่าไหร่ โดยเฉพาะการตั้งราคาไว้สูงถึง 399 เหรียญ ทำให้ชาวบล็อกเกอร์ต่างพากันไปเขียนล้อเลียนชื่อ iPod ย่อมาจาก “idiots price our devices” หรือแปลเป็นไทยว่า “คนปัญญาอ่อนเป็นคนตั้งราคาเครื่องให้เรา”

โดยที่วันวางจำหน่ายจริง ๆ ของ iPod ที่ออกสู่ตลาดคือ วันที่ 10 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นหลังเหตุการณ์ 9-11 เพียงหนึ่งเดือน ช่างเป็นลางที่ไม่ดีเลยสำหรับ iPod และไม่เพียงแต่เป็นการออกสู่ตลาดหลังเหตุการณ์เศร้าโศกครั้งยิ่งใหญ่ของชาวอเมริกาเท่านั้นแต่ยังเป็นช่วงเวลาที่ตลาดเทคโนโลยีร่วงตกต่ำแบบสุด ๆ อีกต่างหาก

ไม่เพียงแค่ราคาที่แพงสุดกู่ มันยังต้องใช้คู่กับเครื่อง Macintosh เท่านั้นด้วยซึ่งขณะนั้น Windows แทบจะครองตลาดแบบเบ็ดเสร็จในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

โจนี่ ไอฟฟ์ ได้กล่าวหลังจากเปิดตัว iPod ไว้ว่า  “Apple นำปรัชญาด้านการออกแบบมาใช้กับผลิตภัณฑ์ที่เรายังไม่มี และ iPod ก็เป็นผลิตภัณฑ์ที่เราต้องการมาก ๆ เพื่อเปลี่ยนแปลง Apple เข้าสู่ยุคใหม่อย่างแท้จริง” ซึ่งสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งก็คือพนักงานของ Apple นั้นบ้าดนตรีอยู่เป็นจำนวนมากพนักงานส่วนใหญ่ต่างคลั่งไคล้ในเสียงดนตรี

แม้ว่าสุดท้ายแล้วบทสรุป คือ การสร้างเครื่องเล่น mp3 ตัวใหม่ขึ้นมา แต่เป้าหมายสำคัญของ Apple ไม่ใช่การหาเงิน เป้าหมายอยู่ที่การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่โครตเจ๋งออกสู่ตลาด เพื่อให้สามารถทำเงินมหาศาลจากมันได้มากกว่า

นอกเหนือจากนั้น iPod ยังกลายเป็นแก่นสำคัญของทุกอย่างที่ Apple ถูกชะตากำหนดมาแล้ว ทั้งบทกวีที่เชื่อมโยงกับวิศวกรรม ศิลปะ และ ความคิดสร้างสรรค์ มาบรรจบกับเทคโนโลยี การออกแบบที่กล้าแต่เรียบง่ายการใช้งานที่ง่ายมาก ๆ ซึ่งมันเป็นผลจากการทำงานอย่างหนักและทำอย่างบูรณาการตั้งแต่ต้นจนจบ

ตั้งแต่ FireWire ถึงตัวเครื่อง ซอฟต์แวร์ และการจัดการคอนเทนต์ เมื่อลูกค้าหยิบเครื่อง iPod ออกจากกล่อง มันสวยจนดูคล้ายเรืองแสงได้เทียบกันแล้วดูเหมือนเครื่องเล่นเพลงยี่ห้ออื่น ๆ ถูกออกแบบและผลิตในดินแดนที่ล้าหลังเลยทีเดียว

ต้องยอมรับว่าตอนนั้น iPod โครตที่จะสมบูรณ์แบบเลย มันแทบจะสุดยอดนวัตกรรมใหม่ที่คนทั่วโลกต่างตื่นเต้นกับเจ้า iPod เครื่องนี้ และเพียงไม่นานผู้บริโภคก็ทำให้มันกลายเป็นสินค้าขายดี 

และมันส่งผลชัดเจนในเรื่องตัวเลขยอดขายในไตรมาสแรก หลังจากวางตลาดนั้นสูงถึง 250,000 เครื่อง และอีกสิบแปดเดือนต่อมายอดขายก็ทะยานเพิ่มขึ้นมากกว่า 800,000 เครื่อง ส่งผลให้ iPod เป็นเครื่องเล่นเพลงดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลกทันที

iPod มันกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ยิ่งพวกที่คลั่งเรื่องดีไซน์และเหล่าสาวกของ Apple ต่างหลงรัก iPod กันทั้งนั้น และ มันเริ่มแพร่ขยายลัทธิของ iPod กระจายไปทั่วโลก

มันทำให้ iPod เป็นไอคอนแห่งการฉีกกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ที่มีมาทั้งในเรื่องวิศวกรรมรวมถึงศิลปะด้านการดีไซน์ และเพียงไม่นานก็กระโดดเข้าไปกินเรียบส่วนแบ่งการตลาดถึง 70% ของเครื่องเล่นเพลงแบบพกพาทั่วโลก

มีคนเปรียบเทียบ iPod ว่าเป็น walkman แห่งศตวรรษที่ 21 เป็น walkman แห่งยุคดิจิทัลเป็น walkman ที่ Sony นั้นลืมนึกถึงและเป็นสิ่งที่สื่อมวลชนกล่าวขวัญถึงอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก

ในตลาดเครื่องเล่น MP3 แบบพกพานั้น หลังจากการมาของ iPod ทำให้คู่แข่งต่างๆ เริ่มล้มลุกคลุกคลาน ไม่สามารถที่จะมาต่อกรกับ iPod ของ Apple ได้เลย

โดย Apple ยังคงเดินหน้าสร้างนวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้งมีการออก iPod รุ่นใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ iPod Shuffle , iPod Nano , iPod Video ไปจนถึง iPod Touch  และธุรกิจเพลงกลายเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจ Apple มากขึ้นในท้ายที่สุด

ในเดือนมกราคม 2007 ยอดขาย iPod ทำรายได้ถึงครึ่งหนึ่งของรายได้รวมบริษัทและยังทำให้แบรนด์ Apple เปล่งรัศมีและมีอนาคตที่สดใสมากยิ่งขึ้น

แต่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นคือ iTunes Store ซึ่งขายเพลงได้ถึง 1 ล้านเพลงหลังเปิดตัวได้เพียง 6 วัน ในช่วงเดือนเมษายน 2003 และมียอดขายในปีแรกสูงถึง 70 ล้านเพลง เดือนกุมภาพันธ์ 2006 iTunes Store ขายเพลงที่ 1,000 ล้านส่วนเพลงที่ 10,000 ล้านนั้นขายออกไปในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2010

และสุดท้ายมันก็เป็นไปอย่างที่ ฟาเดลล์ เคยทำนายไว้ว่า “โครงการนี้ (iPod) จะปั้น Apple ขึ้นใหม่ และอีก 10 ปีจากนี้ไป Apple จะกลายเป็นบริษัทเพลงไม่ใช่บริษัทคอมพิวเตอร์”

References :

หนังสือ สตีฟ จ๊อบส์ : Steve Jobs
ผู้เขียน : Walter Isaacson (วอลเตอร์ ไอแซคสัน)
ผู้แปล : ณงลักษณ์ จารุวัฒน์ และคณะ

หนังสือ IPOD…แบรนด์ นวัตกรรมและจักรกลบันเทิง
ผู้เขียน : Dylan Jones
ผู้แปล : กรกฎ พงศ์พีระ

https://en.wikipedia.org/wiki/IPod
https://www.cnet.com/pictures/the-complete-history-of-apples-ipod/
https://www.lifewire.com/history-ipod-classic-original-2000732
https://www.nytimes.com/topic/subject/ipod
https://www.businessinsider.com/apple-ipod-oral-history-tony-fadell-2020-1