Xi Jinping กำลังทำลายเศรษฐกิจของจีนอย่างไร?

ต้องบอกว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา จีนได้กลายเป็นประเทศที่พัฒนาได้รวดเร็วดุจสายฟ้าแลบ ไม่มีประเทศใดในโลกที่พัฒนาเร็วได้เท่าประเทศจีนอีกแล้ว ลองมองย้อนจีนกลับไปในช่วง 20 ปีที่แล้วกับตอนนี้ มันเหมือนอยู่คนละโลกกันเลยด้วยซ้ำ

แน่นอนว่ารูปแบบการปกครองถือเป็นกุญแจสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้จีนก้าวมาถึงจุดนี้ การผสมผสานระหว่างระบอบทุนนิยมตลาดเสรีเข้ากับการควบคุมของรัฐ มันเป็นมนต์สเน่ห์อย่างนึงที่ยากที่ประเทศอื่น ๆ จะเลียนแบบได้ โดยเฉพาะประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย

แต่ดูเหมือนปัญหาเรื่องนโยบาย Zero Covid ของประธานาธิบดี Xi Jinping นั้นยังมีคำถามเกิดขึ้นมากมาย เพราะหลังจากผ่านไปสองเดือน การปิดเมืองเซี่ยงไฮ้ที่เริ่มคลี่คลายลง แต่ดูเหมือนว่าจีนยังห่างไกลกับการเป็นประเทศปลอดโควิด ที่ Xi Jinping ใฝ่ฝันหา

ด้วยการระบาดครั้งใหม่ในกรุงปักกิ่งและเทียนจิน ทำให้มีผู้คนมากกว่า 200 ล้านคนอยู่ภายใต้ข้อจำกัดและเศรษฐกิจกำลังดิ่งลงเหว ยอดค้าปลีกในเดือนเมษายนลดลง 11% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

ปีนี้อาจจะกลายเป็นเรื่องเซอร์ไพรส์ เมื่อผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกลดลง ตลอดทั้งปีจีนอาจต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้เติบโตเร็วกว่าอเมริกาเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1990

ซึ่งแน่นอนว่าความรับผิดชอบต้องตกมาอยู่ในมือของ Xi Jinping ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ นโยบายปลอดโควิดของเขา ซึ่งได้บังคับใช้มาเป็นเวลา 28 เดือน ซึ่งเป็นความคิดที่กลัวว่าโควิด จะแพร่กระจายจนฆ่าคนนับล้านได้

ซึ่งนั่นก็อาจจะเป็นเรื่องจริง แต่เมื่อดูสถานการณ์ในประเทศอื่น ๆ ที่เกิดขึันในตอนนี้ ที่ระดมฉีดวัคซีนที่มีคุณภาพอย่าง mRNA แม้กระทั่งประเทศไทยเราเอง กำลังจะก้าวข้ามผ่านการแพร่ระบาดครั้งนี้ได้สำเร็จแล้ว หรือในตะวันตก ที่คนแทบจะไม่สนใจจะใส่หน้ากากอนามัยกันอีกต่อไปแล้ว

มันทำให้ชาวจีนเสียเวลาอันมีค่าไป การปฏิเสธที่จะนำเข้าวัคซีน mRNA จากตะวันตก ที่มีประสิทธิภาพนั้น ทำให้เกิดปัญหาใหญ่ขึ้นกับประเทศจีน เช่น การต้องถอนตัวจากการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลเอเชียนคัพในเดือนมิถุนายน ปี 2023

เนื่องจากโควิด สายพันธุ์ Omicron สามารถแพร่เชื้อได้อย่างรวดเร็ว นั่นทำให้เกิดการระบาดอย่างหนัก และการล็อกดาวน์ก็ต้องเพิ่มมากขึ้น แต่มันเป็นคำบัญชาของประธานาธิบดี Xi เองที่ต้องการให้จีนปลอดโควิด การวิจารณ์นโยบายเหล่านี้ในประเทศจีน เปรียบเสมือนการฆ่าตัวตาย

รวมถึงความคิดริเริ่มทางเศรษฐกิจที่สร้างสิ่งที่ Xi เรียกว่า “แนวคิดการพัฒนาใหม่” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแบ่งแยกจีน-อเมริกัน ซึ่งเป้าหมายนั้นมีความน่าสนใจ ก็เพื่อจัดการกับความไม่เท่าเทียม ซึ่งถือ เป็นจุดอ่อนอย่างมากในระบอบทุนนิยมเสรีของโลกตะวันตก

นั่นทำให้ผลที่ตามมาได้มีการกวาดล้างอุตสาหกรรมเทคโนโลยีครั้งใหญ่ส่งผลกระทบต่อ GDP ที่มีสัดส่วนถึง 8% รวมถึงในภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่ผลที่ตามมาก็คือยอดขายบ้านลดลงถึง 47% ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

Xi เชื่อว่าอุตสาหกรรมเป้าหมายสำหรับการสนับสนุนจากรัฐมีความสำคัญเกินกว่าจะปล่อยให้เป็นตลาดเสรีที่คาดเดาไม่ได้ เขาอาจคิดว่าบทบาทที่หนักแน่นของรัฐอาจช่วยให้เขามีอำนาจเหนือพรรคและรัฐบาลได้ ท่าทีที่ออกมามันชัดเจนว่าเขาต้องการการควบคุมมากกว่านี้ และเขาคิดว่าการมีภาครัฐขนาดใหญ่เป็นองค์ประกอบของการบรรลุเป้าหมายนั้น

อีกเป้าหมายหนึ่งของ Xi คือการพึ่งพาตนเอง เขาเชื่อว่าจีนควรผลิตผลิตภัณฑ์ทดแทนสำหรับผลิตภัณฑ์หลักที่ซื้อจากต่างประเทศ โดยเฉพาะไมโครชิปและเทคโนโลยีที่สำคัญอื่นๆ เพื่อปกป้องความมั่นคงของชาติ จีนต้องการห่วงโซ่อุปทานที่เป็นอิสระ ควบคุมได้ ปลอดภัย และเชื่อถือได้

ซึ่งก็ต้องบอกว่ารูปแบบเศรษฐกิจเชิงอุดมการณ์ของ Xi Jinping นั้นได้ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อโลกของเรา แม้ว่ามาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาอาจทำให้อุปสงค์เพิ่มสูงขึ้น แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะมีการล็อกดาวน์มากขึ้น และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกที่ต้องเผชิญกับภาวะถดถอย

จุดอ่อนจากการปกครองเพียงคนเดียว

ความน่าสนใจของจีนคือการปกครองที่ขึ้นอยู่กับผู้นำประเทศล้วน ๆ หากได้คนดี ๆ ฉลาด ๆ ก็จะนำประเทศก้าวหน้าอย่างรวดเร็วอย่างที่ได้เห็นกันในทุกวันนี้

แต่นั่นก็เป็นจุดอ่อนที่สำคัญเช่นเดียวกัน ซึ่งจากการต่ออายุในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีออกไป ทำให้ Xi จะกลายเป็นอีกหนึ่งคนที่ครองอำนาจยาวนานมาก ๆ ของประเทศจีน ซึ่งแน่นอนว่าอำนาจมันเป็นสิ่งที่หอมหวลเหมือนสิ่งเสพย์ติด ไม่มีใครที่คิดลงจากอำนาจโดยเฉพาะอำนาจที่ยิ่งใหญ่มาก ๆ อย่างการปกครองประเทศจีน

แต่ด้วยผลกระทบจากการล็อกดาวน์และผู้คนเริ่มตกงานมากขึ้น นั่นอาจจะนำไปสู่ความไม่สงบของประชาชนในประเทศได้ ซึ่งเริ่มมีเสียงบ่นออกมาบ้างแล้วในโลกออนไลน์ผ่านข่าวจากโลกตะวันตกที่เราได้เห็นภาพกัน

ด้วยการเมืองแบบผูกขาดอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ และตอนนี้ในแวดวงการเมืองชั้นสูงของประเทศจีน แทบจะไม่มีคู่แข่งคนใดที่จะขึ้นมาต่อกรกับ Xi Jinping ซึ่ง Xi มีอายุ 68 แล้ว เขาจะได้รับการสานต่ออำนาจอย่างน้อยไปจนถึงปี 2027 ซึ่งนั่นทำให้ข้อบกพร่องของการปกครองแบบคนเดียวในระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก เริ่มที่จะปรากฏให้โลกได้เห็นแล้วนั่นเองครับผม

References : https://www.economist.com/leaders/2022/05/26/how-xi-jinping-is-damaging-chinas-economy
https://www.theatlantic.com/international/archive/2021/01/xi-jinping-china-economy-jack-ma/617552/
https://www.wsj.com/articles/xi-scrambles-as-china-economy-stumbles-beijing-economic-prospects-technology-covid-lockdowns-evergrande-president-for-life-re-election-11652190698


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube