ทำไมเกาหลีใต้ถึงให้อภัยผู้นำที่ทุจริตคอรัปชั่น?

Lee Myung-bak ประธานาธิบดีฝ่ายอนุรักษ์นิยมของเกาหลีใต้ตั้งแต่ปี 2008 ถึง 2013 ได้รับการอภัยโทษจาก Yoon Suk-yeol ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน Lee ได้รับโทษเพียงสองปีหลังจากถูกตัดสินจำคุก 17 ปีในปี 2020 ข้อหาติดสินบนและคอร์รัปชัน

เขาเป็นประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนที่สี่ที่ได้รับการอภัยโทษตั้งแต่ประเทศเริ่มมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยในปี 1987

ต้องบอกว่ามีประธานาธิบดีที่ทุจริตมากมายทั่วโลก แต่สิ่งที่มักไม่ค่อยพบเจอก็คือ การที่พวกเขาถูกนำมารับการพิจารณาคดี ถูกตัดสินลงโทษ และได้รับการอภัยโทษจากผู้สืบทอดตำแหน่งของตัวเขาเอง 

เหตุใดจึงเกิดขึ้นบ่อยครั้งในเกาหลีใต้ ต้องบอกว่าการให้อภัยโทษมีบทบาทต่อระบบกฎหมายสมัยใหม่ส่วนใหญ่ ในหลายประเทศ รวมทั้งฝรั่งเศส ตุรกี และสวิตเซอร์แลนด์ โดยอำนาจในการอภัยโทษขึ้นอยู่กับสภานิติบัญญัติเป็นส่วนใหญ่  แต่ก็มีในบางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ที่รัฐบาลสามารถผ่อนผันได้ก็ต่อเมื่อได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานยุติธรรมอย่างศาลฎีกาเพียงเท่านั้น 

ประธานาธิบดีอเมริกัน โดยเฉพาะ Donald Trump บางครั้งถูกกล่าวหาว่าใช้อำนาจในการอภัยโทษในทางที่ผิด แต่มีระบอบประชาธิปไตยเพียงไม่กี่แห่งที่ใช้การอภัยโทษเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองในแบบที่เกาหลีใต้ทำ

วัฏจักรนี้เริ่มต้นด้วย Chun Doo-hwan ผู้นำเผด็จการทหารคนสุดท้าย และ Roh Tae-woo พันธมิตรของ Chun ที่กลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกหลังระบอบประชาธิปไตย ทั้งคู่ถูกตัดสินจำคุกในปี 1996 ในข้อหารับสินบน การทำรัฐประหารในปี 1979 และมีบทบาทในการสังหารหมู่ผู้ประท้วงที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยในปี 1980 พวกเขาได้รับการปล่อยตัวในปีต่อมา 

 Chun Doo-hwan ผู้นำเผด็จการทหารคนสุดท้าย และ Roh Tae-woo พันธมิตรของเขา (CR:DW)
 Chun Doo-hwan ผู้นำเผด็จการทหารคนสุดท้าย และ Roh Tae-woo พันธมิตรของเขา (CR:DW)

Park Geun-hye ผู้สืบทอดตำแหน่งของ Lee Myung-bak ถูกตัดสินจำคุกในปี 2018 ฐานรับสินบนและใช้อำนาจโดยมิชอบ ก่อนได้รับการอภัยโทษจาก Moon Jae-in ผู้สืบทอดตำแหน่งจากพรรคเสรีนิยมในเดือนธันวาคม 2021

วัฒนธรรมแปลก ๆ แบบนี้ของเกาหลีใต้ต้องเรียกได้ว่ามีอายุยืนยาวกว่าระบอบเผด็จการที่สร้างรูปแบบดังกล่าวนี้ขึ้นมา การเมืองของประเทศกลายมาเป็นเกมที่ต้องแลกมาด้วยเลือด ซึ่งช่วยอธิบายว่าทำไมผู้กระทำผิดส่วนใหญ่ถึงถูกนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ไม่มีประธานาธิบดีคนใดลังเลที่จะใช้สำนักงานตำรวจและสำนักงานอัยการเพื่อสอบสวนคู่แข่งทางการเมืองของตน 

เหตุใดผู้ต้องโทษจึงได้รับการอภัยโทษจึงเป็นเรื่องยากที่จะอธิบาย ทั้งสี่กรณีผู้ที่ให้อภัยโทษกับอดีตประธานาธิบดีที่กระทำผิด อ้างถึงความจำเป็นในการสร้างความเป็นเอกภาพของชาติ รวมถึงเรื่องปัญหาสุขภาพของนักโทษ แต่ที่ผ่านมายังไม่มีการอภัยโทษใด ๆ ที่เป็นเรื่องของความเห็นพ้องต้องกันของประชาชนเลยแม้แต่ครั้งเดียว 

การให้อภัยโทษของอดีตประธานาธิบดี Chun และ Roh นำไปสู่การปะทะกันระหว่างผู้ประท้วงและตำรวจปราบจลาจลในปี 1997 ส่วนกรณีของ Park Geun-hye และ Lee Myung-bak ความคิดของประชาชนมีความแตกแยกเป็นอย่างมากว่าควรอภัยโทษให้ทั้งสองหรือไม่ 

Park Geun-hye และ Lee Myung-bak ความคิดของประชาชนมีความแตกแยกเป็นอย่างมากว่าควรอภัยโทษให้ทั้งสองหรือไม่  (CR:Korean Times)
Park Geun-hye และ Lee Myung-bak ความคิดของประชาชนมีความแตกแยกเป็นอย่างมากว่าควรอภัยโทษให้ทั้งสองหรือไม่  (CR:Korean Times)

การสำรวจความคิดเห็นที่จัดทำขึ้นในเดือนธันวาคม 2022 ก่อนที่ Lee จะได้รับอิสรภาพ พบว่าชาวเกาหลีใต้ 53% เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ แต่อีก 39% ไม่เห็นด้วย

การให้อภัยโทษอาจเกี่ยวกับการรักษาฐานอำนาจของตนเอง ในฐานะประธานาธิบดีสามารถคาดหวังได้ว่าผู้ที่จะมาสืบทอดเขาอาจจะเข้ามาตรวจสอบเมื่อตนเองต้องถึงเวลาต้องออกจากตำแหน่ง ทำไม ถึงไม่แสดงความเมตตากรุณาเป็นแบบอย่าง และหวังว่าจะได้รับการปฏิบัติที่ดีในภายหลังเช่นกัน ในกรณีอื่นๆ อาจเป็นช่องทางหนึ่งในการปิดปากกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 

การอภัยโทษของ Park มีขึ้นหลายเดือนก่อนการเลือกตั้ง ประธานาธิบดี Moon Jae-in อาจคำนวณว่าถ้าเธอตายในคุก นั่นจะทำให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคเขาเสียหาย

การให้อภัยโทษมักได้รับแรงบันดาลใจจากพลวัตทางอำนาจภายในกลุ่มชนชั้นนำทางการเมืองเช่นกัน นักการเมืองที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดมักจะมีพันธมิตรที่มีอำนาจอยู่ในรัฐสภา ซึ่งสามารถสนับสนุนการให้มีการอภัยโทษได้ เห็นได้ชัดว่าประธานาธิบดี Yoon Suk-yeol เป็นแฟนตัวยงของ Lee Myung-bak อดีตประธานาธิบดีที่เขาเป็นคนให้อภัยโทษ 

Yoon Suk-yeol เป็นแฟนตัวยงของ Lee Myung-bak อดีตประธานาธิบดีที่เขาเป็นคนให้อภัยโทษ  (CR:Anadolu Agency)
Yoon Suk-yeol ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ที่เป็นแฟนตัวยงของ Lee Myung-bak อดีตประธานาธิบดีที่เขาเป็นคนให้อภัยโทษ  (CR:Anadolu Agency)

เขาได้สร้างทีมบริหารของเขาด้วยลูกน้องของ Lee Myung-bak เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และได้นำนโยบายที่คล้ายคลึงกันหลายอย่างมาใช้ 

ประธานาธิบดี Yoon Suk-yeol ซึ่งเป็นนักการเมืองใหม่และเป็นคนนอกก็หวังที่จะทำให้การเข้าสู่ชนชั้นสูงนี้มีความราบรื่นในระยะยาว Yoon ยังคงวาดภาพตัวเองว่าเป็นผู้ทำสงครามเพื่อความยุติธรรม แต่การตัดสินใจปล่อยตัวผู้กระทำผิดอาจเป็นการเปิดบาดแผลให้กับตัวเขาเอง 

ความเชื่อมั่นของประชานต่ออดีตประธานาธิบดีและผู้สมรู้ร่วมคิดของพวกเขาเป็นช่วงเวลาสำคัญแห่งประวัติศาสตร์สำหรับประชาธิปไตยของเกาหลีใต้ ซึ่งท้ายที่สุดการเพิกเฉยต่อคำตัดสินที่มีความผิดร้ายแรงเหล่านี้อาจจะกลายเป็นสิ่งบั่นทอนศรัทธาของประชาชนและสถาบันหลักของประเทศได้ในท้ายที่สุดนั่นเองครับผม

References :
https://www.economist.com/the-economist-explains/2023/01/06/why-does-south-korea-pardon-its-corrupt-leaders
https://www.aljazeera.com/economy/2022/12/27/south-koreas-jailed-ex-president-lee-gets-presidential-pardon
https://www.reuters.com/world/asia-pacific/south-koreas-former-president-lee-granted-special-pardon-2022-12-27/


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube