ประวัติ Vladimir Putin ตอนที่ 10 : Londongrad

เมื่อ Roman Abramovich ออกเดินทางเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ว่าการภูมิภาค Chukotka ทางตะวันออกไกล ซึ่งเป็นพื้นที่ห่างไกลที่มีน้ำแข็งปกคลุมข้ามช่องแคบ Bering จากอลาสก้า ในตอนนั้นยังคงเป็นปีแรกของตำแหน่งประธานาธิบดีของ Vladimir Putin จุดหมายปลายทางของเขาคือสถานที่ที่ดูเหมือนพระเจ้าทอดทิ้ง ณ สุดปลายแผ่นดินโลก ห่างจากมอสโก 3,700 ไมล์

Chukotka มีประชากรเบาบางมาโดยตลอด แต่ผู้อยู่อาศัยใน Chukotka ได้ละทิ้งพื้นที่ทั้งหมดหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ประชากรลดลงจาก 153,000 คน เป็น 56,000 คน

เมื่อ Abramovich มาถึงประชากรที่ยังหลงเหลืออยู่กำลังดิ้นรนเอาตัวรอด เต็มไปด้วยความยากจนและประชากรส่วนใหญ่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง Abramovich รู้สึกเบื่อหน่ายกับการทำเงินตลอดเวลา เขาต้องการหาความท้าทาย โดยอ้างว่าเขาต้องการขับเคลื่อน Chukotka สู่การปฏิวัติให้มีชีวิตที่มีอาระธรรม และสัญญาว่าจะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้น เขาชนะการเลือกตั้งผู้ว่าการในเดือนธันวาคม 2000 ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 92

หลังได้รับตำแหน่ง Abramovich ได้ส่งทีมผู้บริหารมาทำงานเพื่อพัฒนามาตรฐานการครองชีพ พวกเขาสร้างรายการโทรทัศน์ และวิทยุใหม่ ลานโบว์ลิ่ง ลานสเก็ตน้ำแข็งที่มีระบบทำความร้อนในร่ม และโรงภาพยนตร์ ราวกับว่าเขากำลังโค้งคำนับทันทีเพื่อแสดงความรู้สึกจงรักภักดีต่อการที่ Putin เรียกร้องให้ธุรกิจขนาดใหญ่ต้องรับผิดชอบทางสังคมมากขึ้นหลังจากยุค 90

อันที่จริง Abramovich เองก็ไม่ได้มีทางเลือกมากนัก เขาถูกส่งไปยัง Chukotka ตามคำสั่งของ Putin เพราะ Putin ต้องการให้ Abramovich ทดแทนจากสิ่งที่เขาได้รับจากบริษัทน้ำมัน Sibneft และ Rusal ยักษ์ใหญ่อะลูมิเนียมที่ควบคุมการผลิตของประเทศมากกว่า 90%

ไม่เพียงเท่านั้นมูลนิธิ Pole of Hope การกุศลของ Abramovich พร้อมที่จะบริจาคเงินจำนวน 203 ล้านดอลลาร์ให้กับ Petromed ซึ่งเป็นบริษัทอุปกรณ์การแพทย์ที่เชื่อมโยงกับ Bank Rossiya เพราะ Putin ต้องการเข้าถึงเงินสดที่เหลือของ Abramovich ด้วย

สาเหตุสำคัญอีกประการก็คือ กฎหมายในสมัยนั้นทำให้การติดคุกของเจ้าหน้าที่ง่ายกว่านักธุรกิจเป็นอย่างมาก

“Putin บอกกับผมว่าถ้า Abramovich ทำผิดกฎหมายในฐานะผู้ว่าการ เขาจะจับ Abramovich เข้าคุกทันที” ผู้ร่วมงานของ Abramovich กล่าว

ความคิดนี้มีรากฐานมาจากระบบซาร์ ในความเชื่อของผู้ชายอย่าง Jean Goutchkov และ Serge de Pahlen สหาย KGB ของ Putin ที่กลายเป็นผู้ปกครองจักรวรรดินิยมคนใหม่ของประเทศ ทรัพย์สินของ Putin จะต้องถูกแบ่งให้คนโปรดของเครมลินที่สวามิภักดิ์ต่อรัฐ

Yevgeny Yasin นักเศรษฐศาสตร์ผู้ทรงอิทธิพล ผู้ซึ่งเคยเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว กล่าวว่า “ภายในปี 2003 ระยะแรกของการเปลี่ยนผ่านรัสเซีย ระยะของระบบทุนนิยมแบบคณาธิปไตย ได้สิ้นสุดลงแล้ว และขั้นตอนที่ระบบทุนนิยมที่เป็นมิตรต่อรัฐกำลังเริ่มต้นขึ้น”

เขากล่าวว่า เหล่าชาย KGB ที่ขึ้นสู่อำนาจ ถือว่าพวกเขามีสิทธิ์ทุกประการที่จะถือว่าความมั่งคั่งของประเทศเป็นของตนเอง “พวกเขาเชื่อว่าพวกเขารักษาประเทศไว้จากการล่มสลายทั้งหมด แต่แท้จริงแล้ว มันคือการยึดอำนาจดี ๆ นี่เอง”

ดูเหมือนว่าในตอนนั้นตะวันตกแทบจะไม่เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งของรัสเซียที่กำลังเกิดขึ้น การขยายตัวของกลุ่ม KGB ในฐานะพันธมิตรของ Putin นั้น ได้เข้ามาควบคุมภาคส่วนพลังงานเชิงกลยุทธ์ของประเทศแทบจะเบ็ดเสร็จ

แต่สำหรับสายตาตะวันตก ธุรกิจที่เหลือของประเทศยังคงดูเหมือนจะเป็นอิสระอยู่ มหาเศรษฐีจากยุค Yeltsin อย่าง Abramovich ถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของความทันสมัยและสนับสนุนตะวันตกในเศรษฐกิจของรัสเซีย

ที่สำคัญที่สุด ตะวันตกมองว่า เมื่อเศรษฐกิจเริ่มเฟื่องฟู พวกเขาก็มีความหวังเพิ่มขึ้นว่า วันหนึ่งชนชั้นกลางที่เกิดขึ้นใหม่จะเรียกร้องความต้องการมากขึ้นในกระบวนการทางการเมือง

ในขณะที่ Abramovich ทำงานหนักเพื่อปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพใน Chukotka ในมอสโกและเมืองใหญ่อื่น ๆ ของภูมิภาค การเปลี่ยนแปลงก็กำลังเกิดขึ้นเช่นกัน

ห้างสรรพสินค้าสไตล์ยุโรปสว่างสดใสใจกลางเมืองผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด แบรนด์ดัง ๆ ก็เริ่มบุกเข้ามา Mango,Benetton ,Diesel และ Adidas เข้ามาแทนที่ห้างสรรพสินค้าสไตล์โซเวียตแบบดั้งเดิม

ร้านอาหารหรูในเมืองต่าง ๆ แม้กระทั่งส่วนที่ไกลที่สุดอย่างไซบีเรียก็มีการเสริ์ฟเนื้อแกะจากนิวซีแลนด์ เนื้อลูกวัวจากออสเตรเลีย และไวน์จากฝรั่งเศส การใช้จ่ายของผู้บริโภคพุ่งสูงขึ้น กลุ่มประชากรชนชั้นกลางเริ่มเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

ในที่สุดผู้คนในรัสเซียก็มีเงินจับจ่ายใช้สอย หลังจากที่ทศวรรษแห่งการออมเงินที่ภาวะเงินเฟ้อทำให้เงินพวกเขาหายไปชั่วข้ามคืน เมื่อราคาน้ำมันที่สูงขึ้น การเติบโตทางเศรษฐกิจก็พุ่งขึ้นโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 6.6% ในช่วงหลายปีหลังจากที่ Putin ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดี ในขณะที่ค่าจ้างรายเดือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึงสี่เท่า

มันได้กลายเป็นช่วงวันเวลาที่สถานะเหมือนพระเจ้าซาร์ของ Putin ได้ถูกสร้างขึ้น แต่มันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาที่ไม่ถูกขีดเขียนไว้ ประชาชนแทบไม่ตั้งข้อสังเกตการทุจริตของรัฐที่เพิ่มขึ้น เมื่อความเป็นอยู่ปากท้องดีขึ้น ก็ไม่มีใครสนใจอะไรอีกต่อไปแล้ว

ไม่ว่าจะเป็นอำนาจตามอำเภอใจของ FSB และการบังคับใช้กฎหมายทุกสาขาในธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็ก พวกเขาไม่สนใจเกี่ยวกับการปราบปรามเสรีภาพของสื่อตราบเท่าที่รายได้ของพวกเขาเติบโตขึ้น ตราบเท่าที่ประเทศกำลังมีเสถียรภาพ

ประชาชนชาวรัสเซียเริ่มใช้ชีวิตเหมือนกับเพื่อนบ้านอื่นๆ ในยุโรป Putin และเจ้าหน้าที่ KGB ของเขา ดูเหมือนจะสั่งจำคุกใครก็ได้ที่พวกเขาต้องการ ตราบใดที่ชนชั้นกลางที่เกิดใหม่ยังคงปลื้มกับชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของพวกเขา

บริษัทรัสเซียกำลังเร่งจดทะเบียนหุ้นในตลาดหุ้นตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลอนดอน ในปี 2005 เพียงปีเดียว พวกเขาจดทะเบียนไปมูลค่ากว่า 4 พันล้านดอลลาร์ เทียบกับ 1.3 พันล้านดอลลาร์ในทุกตลาดในช่วงสิบสามปีหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต

ธุรกิจที่มุ่งหน้าไปยังลอนดอนต้องมีบัญชีที่ได้รับการตรวจสอบตามมาตรฐานสากลเป็นเวลาสามปีภายใต้ข้อกำหนดของพวกเขา เช่นเดียวกับหุ้นอย่างน้อยหกเดือนที่จดทะเบียนในมอสโก เพื่อให้มีคุณสมบัติในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนได้

เหตุผลหนึ่งที่บริษัทรัสเซียมุ่งหน้าสู่ลอนดอนเป็นจำนวนมากก็คือมาตรฐานที่จำเป็นสำหรับการจดทะเบียนบริษัทนั้นเข้มงวดน้อยกว่าในนิวยอร์กมาก ในสหรัฐฯ หากปรากฎว่าสิ่งใดไม่เป็นความจริงหรือทำให้เข้าใจผิด ถือว่าเป็นความผิดทางอาญา ซึ่งไม่มีบริษัทรัสเซียใด ๆ พร้อมสำหรับเรื่องนี้

เงินทุนของรัสเซียทำให้ลอนดอนมีรายได้มหาศาล ทั้งกองทัพนายธนาคาร ทนายความ ที่ปรึกษา และบริษัทประชาสัมพันธ์ ลอนดอนเต็มไปด้วยเงินสดจำนวนมหาศาลของรัสเซียว่อนกระจายไปทั้งเมือง

แทนที่จะเป็นการเปลี่ยนรัสเซียผ่านการบูรณาการเข้ากับตลาดตะวันตก กลับเป็นรัสเซียเองต่างหากที่เปลี่ยนตะวันตก ซึ่งแทนที่จะทำให้รัสเซียต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับระบบที่อิงตามกฎของตน ตะวันตกกลับค่อย ๆ ถูกคอร์รัปชั่น ราวกับว่าถูกฉีดไวรัสเข้าไปในเส้นเลือดประชาธิปไตยเสรีในอุดมคติของพวกเขาแทน

เส้นทางนั้นดูเหมือนจะราบรื่น เมื่อ Roman Abramovich ซื้อสโมสรฟุตบอลเชลซีของลอนดอนในฤดูร้อนปี 2003 ด้วยเงิน 150 ล้านปอนด์ (240 ล้านดอลลาร์) มันเป็นหนึ่งในเครื่อง PR ชั้นดีให้กับนักธุรกิจชาวรัสเซีย

Roman Abramovich ซื้อสโมสรฟุตบอลเชลซีของ   ลอนดอนในฤดูร้อนปี 2003 (CR:BBC)
Roman Abramovich ซื้อสโมสรฟุตบอลเชลซีของ ลอนดอนในฤดูร้อนปี 2003 (CR:BBC)

Roman Abramovich ผู้มีอำนาจลึกลับ หน้างุ่มง่าม และแต่งกายเรียบง่ายในกางเกงยีนส์ ได้รับการยกย่องในขณะที่ทุ่มเงินจำนวนมากเพื่อซื้อนักเตะที่มีชื่อเสียงระดับโลกให้กับเชลซี และยกระดับสนามเหย้าของทีมอย่างสแตมฟอร์ด บริดจ์ ซึ่งมีไม่กี่คนที่คิดจะถามว่าเงินของเขามาจากไหน?

เครมลินของ Putin คำนวณอย่างแม่นยำว่าหนทางที่จะได้รับการยอมรับในสังคมอังกฤษนั้นมาจากความรักที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศ กีฬาประจำชาติที่พวกเขาภาคภูมิใจอย่างฟุตบอลนั่นเอง

Sergei Pugachev ได้กล่าวถึงการเข้าซื้อกิจการสโมสรฟุตบอลครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างหัวหาดสำหรับอิทธิพลของรัสเซียในสหราชอาณาจักร

“Putin บอกผมเป็นการส่วนตัวถึงแผนการของเขาที่จะซื้อสโมสรฟุตบอลเชลซี เพื่อเพิ่มอิทธิพลของเขาและยกระดับโปรไฟล์ของรัสเซีย ไม่เพียงแต่กับชนชั้นสูงเท่านั้น แต่กับคนอังกฤษทั่วไปด้วย” เขากล่าว

Putin เป็นคนสั่งให้ Abramovich ซื้อสโมสร โดยให้อ้างว่าเป็นมหาเศรษฐีชาวรัสเซียและอดีตผู้ร่วมงานของ Abramovich นั่นทำให้แทบไม่มีคำถามใด ๆ เกิดขึ้น ซึ่งการซื้อครั้งนี้ทำให้ Abramovich กลายเป็นคนดังในอังกฤษในทันที

แต่ก็มีข้อมูลอีกมุมนึงจากคนใกล้ชิด Abramovich ที่ปฏิเสธว่านักธุรกิจรายนี้ไม่ได้ทำหน้าที่ภายใต้การดูแลของเครมลินเมื่อทำการซื้อสโมสร แต่ไม่ว่าเรื่องจริงจะเป็นอย่างไร การเลือกเชลซีของ Abramovich กลายเป็นสัญลักษณ์ของเงินรัสเซียที่หลั่งไหลเข้ามาในสหราชอาณาจักรเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นเอง

ไม่ว่าเขาจะต้องการหรือไม่ก็ตาม Abramovich ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องจักรของ Putin ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้พิทักษ์ที่เชื่อถือได้ของเครมลิน

เขามีบทบาทที่สำคัญในการสร้างระบบทุนนิยม KGB เมื่อมันขยายการเข้าถึงไปยังตะวันตก ซึ่งแทนที่ Abramovich จะลงเอยในคุกแบบ Khodorkovsky

Abramovich สามารถขาย Sibneft ให้กับรัฐได้เงินสด 13 พันล้านดอลลาร์ แทนที่จะรวมกิจการกับ Yukos และขายบริษัทให้กับ Exxon หรือ Chevron ของสหรัฐฯ ตามที่เขาและ Khodorkovsky เคยวางแผนไว้

Abramovich กลับโค้งคำนับตามคำสั่งของเครมลิน เขาแทบไม่มีทางเลือก การขาย Sibneft ให้กับ Gazprom ในช่วงปลายปี 2005 เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการในการปฏิวัติพลังงานของเครมลินที่ได้รับความชอบธรรมในระดับสากล เป็นการเติมเชื้อเพลิงให้กับตลาดหุ้นรัสเซียที่กำลังเฟื่องฟู

การพึ่งพาเครมลินของ Putin เริ่มเหนียวแน่นยิ่งขึ้นเมื่อเกิดวิกฤติการณ์ทางการเงินในปี 2008 การล่มสลายของ Lehman Brothers สะท้อนกลับในตลาดหุ้นรัสเซีย โดยลดลงเหลือ 230 พันล้านดอลลาร์ จากมูลค่ากว่า 300 พันล้านดอลลาร์ในเดือนกันยายนและตุลาคมปีนั้นเพียงปีเดียว

มหาเศรษฐีของรัสเซียได้กู้เงินจำนวนมากจากธนาคารตะวันตกเพื่อใช้เป็นทุนในการขยายอาณาจักรธุรกิจอย่างรวดเร็ว แนวปฏิบัติที่เรียกว่า Margin Lending กลายเป็นที่แพร่หลาย โดยเหล่ามหาเศรษฐีจะจำนำหุ้นในธุรกิจของตนเพื่อเป็นหลักประกันเงินกู้หลายพันล้านดอลลาร์

ในขณะที่เกิดวิกฤติทำให้มูลค่าหุ้นลดลง ธนาคารต่างประเทศจึงเรียกร้องให้กู้ยืมเพิ่มเติม สัดส่วนการถือหุ้นที่สำคัญใน Rusal ของ Deripaska และ Vimpelcom ของ Mikhail Fridman ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่อันดับสองของประเทศกำลังตกอยู่ในอันตรายจากการถูกธนาคารตะวันตกยึด

เมื่อรัฐบาลของ Putin ก้าวเข้ามาช่วยมหาเศรษฐีของประเทศ Putin ก็ไม่ได้คืนทรัพย์สินของพวกเขา ธนาคารของรัฐเช่น Sberbank , VTB และ Vneshekonombank ได้ให้เงินกู้ยืมจำนวนหลายพันล้านดอลลาร์แก่ผู้ประกอบการที่มีปัญหา ทำให้พวกเขาตกเป็นเป้าของระบอบการปกครองมากยิ่งขึ้น

“Putin ต้องการให้ผู้คนติดหนี้บุญคุณเขา เขาช่วยบริษัทใหญ่ ๆ แบบนี้ หากรัฐบาลให้เงินกู้ 2 พันล้านดอลลาร์ หรือ 3 พันล้านดอลลาร์ จากนั้นคุณก็ได้รับโทรศัพท์จากเครมลินว่าโปรดให้เงิน 1 พันล้านดอลลาร์สำหรับโครงการ คุณไม่สามารถปฏิเสธได้ คุณต้องปฏิบัติตาม” มหาเศรษฐีรายหนึ่งที่รอดพ้นวิกฤติจากการช่วยเหลือของเครมลินได้กล่าวไว้

มันกลายเป็นนโยบายที่สำคัญของระบอบการปกครองของ Putin นักธุรกิจใหญ่กล่าว “ผมให้เงินกู้แก่คุณ คุณต้องซื่อสัตย์กับผม” ซึ่งมันเป็นแนวทางแบบตะวันออกมาก มันเป็นระบบศักดินา อาณาเขตของผู้ปกครองในเครมลินกำลังขยายออกไปไกลเกินกว่าพันธมิตรของ Putin ในเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก

ต้องบอกว่าข้อมูลเกี่ยวกับการไหลของเงินที่เข้ามาจากรัสเซียสู่ลอนดอนนั้นหายาก ส่วนใหญ่จะเข้ามาในเมืองผ่านเชลล์นอกชายฝั่งเช่น ไซปรัส หมู่เกาะบริติชเวอร์จิ้น และปานามา หรือผ่านทาง British Crown Dependencies of Jersey , Guernsey และ Isle of Man ซึ่งล้วนขึ้นชื่อในการปิดบังความเป็นเจ้าของผ่านขั้นต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อนสูง

นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในลอนดอนต่างทราบดีว่าลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของพวกเขา ซึ่งทุ่มเงินหลายล้านในทรัพย์สินที่ดีที่สุดของลอนดอน มาจากอดีตสหภาพโซเวียต ในขณะที่ทนายความ และนายธนาคารของเมืองเข้าคิวรับเงินหลายพันล้านดอลลาร์ตามคำสั่งของมหาเศรษฐีชาวรัสเซีย ที่มาของเงินจำนวนนี้ และ ใครที่เป็นเจ้าของเงินจริง ๆ แทบไม่มีใครอยากรับรู้

เมื่อลอนดอนได้กลายเป็นที่รู้จักในชื่อ Londongrad มหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดของรัสเซียสองคนคือ Roman Abramovich และ Alisher Usmanov ที่เป็นพันธมิตรที่ดีกับเครมลิน ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในลอนดอน

Alisher Usmanov อีกหนึ่งพันธมิตรที่สำคัญของเครมลินที่มาตั้งถิ่นฐานที่ลอนดอน (CR:Bol News)
Alisher Usmanov อีกหนึ่งพันธมิตรที่สำคัญของเครมลินที่มาตั้งถิ่นฐานที่ลอนดอน (CR:Bol News)

สำหรับผู้ประกอบการชาวรัสเซียคนหนึ่ง กระบวนการดังกล่าวนี้ทำให้เขานึกถึงเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ของสหภาพโซเวียตเมื่อหลายปีก่อน

ในสมัยนั้น สหภาพโซเวียตกำลังจะล่มสลาย KGB กำลังเตรียมส่งตัวแทนไปยังสหรัฐอเมริกา มีแผนการที่จะให้เหล่าตัวแทนมาถึงอเมริกาในฐานะมหาเศรษฐีพร้อมกับเรือยอทช์และคฤหาสน์สุดหรู ซึ่งนั่นจะทำให้สังคมชั้นสูงของอเมริกันหันมามองพวกเขา

แต่เมื่อต้องขออนุมัติจากฝ่ายการเงินของ KGB ก็ต้องเปลี่ยนแนวคิดทันที เพราะรัฐกำลังถังแตกและไม่มีเงินสำหรับโครงการดังกล่าว ถ้าจะไปอเมริกา ก็ต้องไปในฐานะคนเร่ร่อนที่ไม่มีเงินแทน

แต่ตอนนี้ฝันของพวกเขากลายเป็นจริงแล้ว พวกเขามีเรือยอทช์ขนาดใหญ่และเครื่องบินส่วนตัว และที่นี่ (ลอนดอน) พวกเขามีคฤหาสน์สุดหรูหลังใหญ่โต มีสโมสรฟุตบอลเชลซี ไม่ใช่แค่ Abramovich แต่เป็นทั้งกลุ่มมหาเศรษฐีที่จงรักภักดีต่อเครมลิน ซึ่งการแทรกซึมของอาณาจักรรัสเซียเข้าสู่สหราชอาณาจักรประสบความสำเร็จแล้วนั่นเอง

–> อ่านตอนที่ 11 : The Empire Strikes Back

ย้อนไปอ่านตั้งแต่ตอนแรก & Credit แหล่งข้อมูลบทความ


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube