เหตุใด Visa และ Mastercard จึงยังไม่ประสบชะตากรรมเดียวกันกับ Kodak

อีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจมาก ๆ ว่าเหตุใดพวกเขายังครองความยิ่งใหญ่ ในยุคที่ธุรกิจด้านฟินเทคเกิดขึ้นมากมายทั่วโลก ซึ่งมาถึงตอนนี้ ในโลกของเรามีบริษัทยูนิคอร์นฟินเทคถึง 332 แห่ง

สิ่งที่โดดเด่นพอๆ กันคือการครอบงำของอาณาจักรเทคโนโลยีทางการเงินของบริษัทมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ที่จัดการกับการชำระเงินไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง โดย 8 ใน 10 อันดับแรก ได้แก่ PayPal, Ant, Stripe, Shopify, Adyen, Block (เดิมคือ Square), Checkout.com และ Afterpay

แรงขับเคลื่อนสำคัญของความเฟื่องฟูที่เกิดขึ้นกับแวดวงฟินเทคทั่วโลกคือการลดลงอย่างต่อเนื่องของการใช้เงินสดในประเทศเศรษฐกิจหลักทั้งหมดของโลก และการเร่งความเร็วของการชำระเงินแบบดิจิทัลไปพร้อม ๆ กัน

จากข้อมูลของ Merchant Machine ประเทศที่มีเศรษฐกิจดิจิทัลมากที่สุด ได้แก่ สวีเดน สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร และเดนมาร์ก ซึ่งพวกเขาดำเนินการชำระเงินด้วยเงินสดในสัดส่วนเพียงแค่ 1 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น

ซึ่งก็ไม่ใช่เพียงแค่บริษัทด้านฟินเทคเท่านั้น เหล่าบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่และธนาคารดั้งเดิมต่างก็มีระบบการชำระเงินด้วยรูปแบบบริการใหม่ ๆ

แต่มีเรื่องแปลกที่เห็นได้ชัดอย่างนึงในธุรกิจนี้ที่ดูเหมือนว่ายักษ์ใหญ่ที่ครองตลาดมานานอย่าง Visa และ Mastercard ดูเหมือนจะไม่สะทกสะท้านกับนวัตกรรมด้านฟินเทคใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด

ไม่เหมือนกับที่ Kodak โดนกำจัดอย่างราบคาบโดยผู้ผลิตกล้องดิจิทัลหรือการล่มสลายของ Blockbuster เมื่อการสตรีมภาพยนตร์เข้ามาแทนที่การเช่าวิดีโอ เพราะตอนนี้สถานการณ์ทางด้านธุรกิจของทั้ง Visa และ Mastercard กำลังเฟื่องฟู

เมื่อเดือนที่แล้ว Visa รายงาน รายได้สุทธิต่อปีที่ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 21% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้ง Visa และ Mastercard มีราคาหุ้นที่ใกล้ถึงจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์

โดยพวกเขามีมูลค่าตลาดรวมกันที่ 765 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งแทบไม่เปลี่ยนแปลงในปีที่ผ่านมา แม้ว่าตลาดในวงกว้างจะลดลงอย่างรวดเร็วก็ตาม ซึ่งทำให้เหล่าผู้ท้าชิงทั้งเล็กและใหญ่รู้สึกหนาว ๆ ร้อน ๆ มากยิ่งขึ้น

เหตุผลนั้นง่ายมาก เพราะแม้แต่ฟินเทคที่ฉลาดที่สุดก็ไม่ได้รบกวนตลาด ซึ่งโดยพื้นฐานพวกเขาเพียงเข้ามาสู่สถาปัตยกรรมการชำระเงินที่มีอยู่แล้วเพียงเท่านั้น

ถึงแม้ว่าเหล่าฟินเทคยอดอัจฉริยะอาจทำให้ชีวิตผู้บริโภคหรือผู้ค้าง่ายขึ้นด้วยการประมวลผลที่เร็วขึ้นหรืออินเทอร์เฟซ ณ จุดขายที่ไหลลื่น แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้กระทบกับธุรกิจของ Visa และ Mastercard เลยแม้แต่น้อย

ทั้ง Visa และ Mastercard เพียงแค่อำนวยความสะดวกให้กับเหล่าบริษัทสตาร์ทอัพด้านฟินเทคทั้งหลาย เนื่องจากพวกเขาเรียกเก็บค่าธรรมเนียมผ่านผู้ค้า (เฉลี่ย 2 เปอร์เซ็นต์ในสหรัฐอเมริกา) ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเงินกินนิ่มสำหรับพวกเขาอยู่แล้ว

แล้วคำถามใหญ่ก็คือ ท่ามกลางความคลั่งไคล้ของนวัตกรรมฟินเทค มันมีโอกาสที่จะมา disrupt ธุรกิจของ Visa หรือ Mastercard ได้หรือไม่? ซึ่งมีห้าเหตุผลที่มีโอกาสที่จะเป็นไปได้

ประการแรก Twitter ตอนนี้อาจดูเหมือนกับว่า Elon Musk กำลังทำลายธุรกิจที่เขาเพิ่งซื้อมาด้วยมูลค่า 44 พันล้านเหรียญ แต่หากไล่มาตั้งแต่รถยนต์ไฟฟ้าไปจนถึงจรวด Musk คือจอมยุทธ์ผู้ทำลายล้างธุรกิจดั้งเดิมตัวจริง ในฐานะหนึ่งในผู้ก่อตั้ง PayPal เขาพยายามที่จะเขย่าโลกของการชำระเงินมาเป็นเวลานานแล้ว และเมื่อเร็ว ๆ นี้มีแผนที่จะเปลี่ยน Twitter ให้เป็นเครื่องมือการชำระเงิน

ประการที่สอง cryptocurrencies แนวคิดของการใช้เหรียญ crypto เพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระเงินกระแสหลักอาจฟังดูไร้สาระ เนื่องจากความโกลาหลในภาคส่วนนี้เกิดขึ้นเป็นโดมิโนหลังจากการล่มสลายของ FTX

แต่บริการหลักบางอย่างใช้ crypto อยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น Ripple ซึ่งใช้เหรียญและโครงสร้างบล็อกเชนในการประมวลผลการชำระเงินข้ามพรมแดนที่มีความรวดเร็ว ราคาถูก สำหรับลูกค้าธนาคารพวกเขาเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีนี้จะเป็นกุญแจสำคัญในอนาคต

ประการที่สาม Alipay จีนเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ Visa และ Mastercard เอาชนะไม่ได้ และ UnionPay เครือข่ายบัตรเครดิตของรัฐเองก็พัฒนาน้อยมาก

นั่นทำให้ภาคเอกชน fintech ไม่ว่าจะเป็น Alipay รวมถึงคู่แข่งอย่าง WeChat มีโอกาสพัฒนาช่องทางการชำระเงินดิจิทัลของตัวเอง แต่ด้วยความตึงเครียดในระดับสูงของจีนในระดับสากล ความทะเยอทะยานของ Alipay ที่จะขยายไปยังต่างประเทศนั้นก็ยังไม่มีความชัดเจนนัก

ประการที่สี่ Apple ในบรรดาบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ทั้งหมด Apple ดูเหมือนจะทะเยอทะยานที่สุดในด้านการชำระเงิน นอกจาก Apple Pay แล้ว ยังมีบัตรเครดิตร่วมกับ Goldman Sachs และบริการ Buy Now Pay Later แม้ทาง Apple จะไม่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนการในอนาคต แต่บางคนเชื่อว่าพวกเขาอาจต้องการบริการที่เลียนแบบ Alipay เช่นเดียวกัน

ล่าสุด JPMorgan ธนาคารขนาดใหญ่ที่ไม่เคยดูเหมือนจะเป็นผู้ที่จะมา disrupt ยักษ์ใหญ่ทางด้านบัตรเครดิต พวกเขาทำเงินหลายพันล้านดอลลาร์ทุกปีจากค่าธรรมเนียมการแลกเปลี่ยน

แต่ JPMorgan ได้จุดประกายไอเดียบางอย่างด้วยการดำเนินการตามแผนเพื่อพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกแบบชำระเงินผ่านธนาคารของคู่แข่งซึ่งช่วยให้สามารถโอนเงินผ่านธนาคารได้ง่าย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะอำนวยความสะดวกในการชำระเงินในโลกของ metaverse ได้ในอนาคต

แม้ตอนนี้ดูเหมือนทั้ง Visa และ Mastercard จะยังดูแข็งแกร่งมาก ๆ ยากที่ใครจะมาล้มพวกเขาได้เหมือนอย่างที่ Kodak เคยล่มสลาย แต่ในอนาคตมันก็ยังไม่มีอะไรที่แน่นอน หากมีการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญของโลกของการชำระเงินอีกครั้งนั่นเองครับผม

References :
https://www.ft.com/content/562559e2-1f17-47f7-92e6-57766c9900b0
https://merchantmachine.co.uk/the-countries-most-reliant-on-cash-in-2022/
https://www.ft.com/content/f6d8d454-2413-4f2b-945d-825d0a68730b
https://fintechlabs.com/115-fintech-unicorns-of-the-21st-century-changes-to-the-list-october-2020/


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube