COVID-19 กับการสูญเสียความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมของอเมริกา

รัฐบาลสหรัฐใช้จ่ายหลายพันล้านดอลลาร์ทุก ๆ ปีมากกว่ารัฐบาลอื่น ๆ ในโลก เพื่อพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย และหวังจะใช้มันเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ที่คาดเดาไม่ได้อย่างเช่นที่กำลังเกิดขึ้นกับการแพร่ระบาดของ COVID-19

ต้องบอกว่านี่คือความล้มเหลวของนโยบายวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาสมัยใหม่ นโยบายที่ย้อนกลับไปถึงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังสงครามผู้กำหนดนโยบายเรียกร้องให้รัฐสภามีส่วนร่วมในการเสริมสร้างศักยภาพและความคิดทางวิทยาศาสตร์ของประเทศ 

ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือยุคทองของประเทศ การขยายตัวอย่างรวดเร็วของการสนับสนุนจากรัฐบาลสำหรับการวิจัยขั้นพื้นฐานและการศึกษาเพื่อเติมเต็ม ห้องปฏิบัติการวิจัยเชิงลึกที่ใช้ในอุตสาหกรรม ด้วยจุดแข็งที่รวมกันเหล่านี้ทำให้ประเทศมีการค้นพบทางวิทยาศาสตร์อย่างรวดเร็วและวางรากฐานทางเทคโนโลยีสำหรับเศรษฐกิจยุคใหม่ของประเทศทั้งในด้านโทรคมนาคม ด้านการทหารและสุขภาพ  

โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง แต่สหรัฐฯยังคงทำงานอย่างหนักกับ นโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบบเดิม ๆ  แม้อเมริกาจะประสบความสำเร็จในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ทรงพลังที่สุดสำหรับการวิจัยเชิงวิชาการในโลก

แต่ในขณะเดียวกันความสามารถของประเทศในการเปลี่ยนความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ให้กลายเป็นโซลูชั่นที่ใช้งานได้จริงนั้นดูเหมือนจะล้มเหลวไม่เป็นท่า ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการแพร่ระบาดของ COVID-19 

สหรัฐฯ ใช้เวลาในการวิจัยด้านสุขภาพของมนุษย์มากกว่าเรื่องของเกษตรกรรมและพลังงานรวมกัน แต่ดูเหมือนว่ามันยังไม่เพียงพอในการเตรียมตัวไว้สำหรับ COVID-19 ไม่ใช่เพราะเรื่องงบประมาณที่น้อยเกินไปอย่างแน่นอน แต่เพราะมันไม่ได้ถูกใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ  มี 3 บทเรียนที่น่าสนใจที่จะกล่าวถึงในบทความนี้

1. ไม่เพียงแค่ให้ทุนวิจัยอย่างเดียว

ต้องบอกว่าจำนวนเงินที่สหรัฐอเมริกาใช้จ่ายในงานวิจัยโดยเฉพาะเรื่องของวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ที่อยู่นอกระบบงานวิจัยทางด้านการทหารแล้วนั้น ระบบของอเมริกาถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อให้ทุนสนับสนุนการวิจัย แต่ไม่ใช่การแก้ปัญหา 

มหาวิทยาลัยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยระดับชาติมากที่สุดพร้อมกับหน่วยงานภาครัฐและห้องปฏิบัติการที่ไม่แสวงหากำไรอื่น ๆ สถาบันเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ด้วยแรงจูงใจที่ส่งเสริมการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ และผลงานที่ตีพิมพ์ออกมา 

ดังนั้นในขณะที่สหรัฐฯให้เงินสนับสนุนงานวิจัยจำนวนมากในด้านต่าง ๆ เช่น ภูมิคุ้มกันวิทยาและโรคติดเชื้อ แต่ใช้เวลาน้อยมากในการแปลการค้นพบเหล่านั้นเป็นการเตรียมการสำหรับการแพร่ระบาด ซึ่งความจริงแล้วนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นทั้งคู่

ด้วยการตระหนักถึงความต้องการในการแก้ปัญหาสหรัฐอเมริกาจึงเริ่มให้การสนับสนุนความท้าทายที่ยิ่งใหญ่และศูนย์วิจัยที่มุ่งเน้นปัญหาเฉพาะด้าน เช่น การพัฒนาในด้านพลังงานแสงอาทิตย์ที่ถูกกว่า หรือแบตเตอรี่รุ่นต่อไป 

ซึ่งความคิดริเริ่มเหล่านี้เป็นขั้นตอนในทิศทางที่ถูกต้องสำหรับนวัตกรรมของประเทศโดยเฉพาะนวัตกรรมที่ส่งผลด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเงินทุนของรัฐบาลส่วนใหญ่มักจะไหลไปที่นักวิชาการ และนักวิจัยภาครัฐไม่กี่กลุ่ม ซึ่งแน่นอนว่าผลงานของพวกเขาเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการค้นพบและเผยแพร่ในวารสารและการนำเสนอในที่ประชุมทางวิชาการเพียงเท่านั้น

2. หลีกเลี่ยงการระดมทุนเพื่อการวิจัยในระดับอุตสาหกรรม

บริษัท ขนาดใหญ่ไม่ได้สนใจในการระดมทุนในนวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์ในขั้นต้น รัฐบาลสหรัฐล้มเหลวในการตอบสนอง การสนับสนุนจากรัฐบาลสำหรับการวิจัยภาคเอกชนนั้นลดลงไปจากยุครุ่งเรืองในช่วง 50 ปีก่อนเป็นอย่างมาก

ซึ่งผลที่ได้คือผู้คนในอุตสาหกรรมที่รู้วิธีการใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงกับการวิจัยที่ล้ำสมัยและการจัดลำดับความสำคัญของรัฐบาลน้อยกว่าที่เคยเป็นมา และเนื่องจากองค์กรวิจัยของรัฐได้แยกตัวออกจากภาคอุตสาหกรรมจึงมีวิธีการตรวจสอบและปรับขนาดเทคโนโลยีที่สำคัญน้อยมาก เช่น การพัฒนาวัคซีนในโรคระบาด

ยิ่งไปกว่านั้นรัฐบาลยังไม่พร้อมที่จะสนับสนุนรูปแบบการวิจัยในอุตสาหกรรมที่สดใสที่สุดในวันนี้ นั่นก็คือ Startup บริษัทเอกชนจะถูกแยกออกจากการเข้ารับเงินทุนวิจัยส่วนใหญ่อย่างเด็ดขาด ส่วนใหญ่จะเป็นการระดมทุนในภาคเอกชนด้วยกันเอง

ทำให้บริษัท Startup ที่เพิ่งเริ่มต้นจะมีความเสียเปรียบเพราะกฎการระดมทุนถูกสร้างขึ้นสำหรับบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้นที่สามารถทำการวิจัยทางวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง 

โครงการวิจัยขั้นสูงของหน่วยงานทางด้านกลาโหมอย่าง DARPA เป็นหนึ่งในไม่กี่หน่วยงานของรัฐที่มีความยืดหยุ่นในการระดมทุนการวิจัยที่ดีที่สุด  

ตัวอย่าง บริษัทอย่าง Moderna Therapeutics เป็นหนึ่งในหลาย ๆ บริษัท ที่พัฒนาวัคซีนที่เกิดจากงานวิจัยที่ได้รับทุนจาก DARPA ในระยะเริ่มต้น แต่ถึงกระนั้น DARPA ก็ยังต้องการการเชื่อมต่อที่ดีกว่ากับบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม 

Darpa ที่มีงานวิจัยสุดล้ำออกมามากมาย แต่สำหรับวงการทหารเพียงเท่านั้น
Darpa ที่มีงานวิจัยสุดล้ำออกมามากมาย แต่สำหรับวงการทหารเพียงเท่านั้น

โดยทาง DARPA กำลังพัฒนาวิธีการสำหรับผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์เพื่อทำงานร่วมกับนักวิจัยของ DARPA และเชื่อมโยงการวิจัยในภาคอุตสาหกรรมได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่เทคโนโลยีชีวภาพไปจนถึงเทคโนโลยีทางด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์

3. มุ่งเน้นไปสู่สิ่งที่สำคัญสำหรับอนาคต

การที่ระบบยังคงยึดติดอยู่กับลำดับความสำคัญและแนวทางการวิจัยของศตวรรษที่ผ่านมา มันไม่สามารถปรับโฟกัสได้เร็วพอสำหรับปัญหาที่มีความสำคัญสำหรับอนาคตของประเทศ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความปลอดภัยของข้อมูล และโครงสร้างพื้นฐานที่ล้าสมัย หรือ การแพร่ระบาดของโรค

ตัวอย่างผลงานการวิจัยของสหรัฐในปัจจุบันมันแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน โดยเงินทุกดอลลาร์สหรัฐฯ จะใช้ไปกับการวิจัยทางชีววิทยาและการแพทย์เพียงแค่ 15 เซ็นต์เพียงเท่านั้น

ในการวิจัยทางเคมีและฟิสิกส์แม้จะมีศักยภาพมหาศาลสำหรับการคิดค้นในการดักจับคาร์บอนการเก็บพลังงานหรือพลังงานฟิวชั่น ซึ่งได้ทำการวิจัย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตที่ต้องการโซลูชั่นเหล่านี้ทันที เช่นเดียวกับ งานวิจัยทาด้านชีววิทยาและการแพทย์ ที่ต้องการสิ่งที่เป็นโซลูชั่นที่สามารถใช้งานได้ทันที เมื่อเกิดวิกฤติขึ้นนั่นเอง

ต้องบอกว่า Covid-19 เป็นวิกฤตที่น่ากลัว นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสที่ในการทบทวนอีกครั้งว่าการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจะสามารถช่วยเหลือสังคมได้อย่างไรในอนาคต

สำหรับการทุ่มเทงบประมาณไปจำนวนมหาศาลขนาดนี้ของอเมริกา แต่เมื่อเกิดวิกฤติขึ้นจริงกลับไม่สามารถจะช่วยเหลือประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อสถานการณ์ทางด้าน COVID-19 ของอเมริกานั้น ยังวิกฤติอยู่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ณ ปัจจุบัน อย่างที่เราได้เห็นกันนั่นเองครับ

References : https://www.technologyreview.com/2020/06/17/1003322/how-the-us-lost-its-way-on-innovation


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube