ระบบเรียนแบบ Track ของเด็ก ม.ปลาย ที่เลิกจำกัดเด็กด้วยแค่วิทย์-ศิลป์

หลังจากได้เห็นโพสต์จากหน้าฟีดของ facebook ที่เป็นข่าวจากเว็บ Dek-D ที่ได้กล่าวถึงเรื่องราวของการเจาะการเรียนแบบ Track ของ เด็ก ม.ปลาย “กรุงเทพคริสเตียน” ที่เลิกจำกัดแค่วิทย์-ศิลป์

แม้จะเป็นข่าวเก่าเมื่อปี 2019 แต่เรื่องนี้ต้องบอกว่าน่าสนใจมาก ๆ กับการเปลี่ยนแปลงที่ถือว่าเป็นการปฏิรูปครั้งใหญ่ของการศึกษาไทยครั้งนึงเลยก็ว่าได้

ระบบใหม่ที่มีชื่อว่า BCC Next ที่นำวิทย์-ศิลป์ มาแตกแขนงเป็นแผนการเรียน (Tracks) มีการใส่วิชาเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ Track นั้น และลดทอนวิชาที่ไม่จำเป็นลง เช่น ลดสัดส่วนวิชาชีวะใน Track วิศวะ ( อันนี้คนสายวิศวะน่าจะเข้าใจดี) หรือ ลดทอนวิชาเคมีใน Track สถาปัตย์

การแบ่งแค่วิทย์-ศิลป์ เราเคยสงสัยกันบ้างมั๊ยว่าใครเป็นคนกำหนดกฏเกณฑ์นี้ขึ้นมา เมื่อความสามารถของนักเรียน โดยเฉพาะในช่วงมัธยมนั้น มันมีความหลากหลายมาก ๆ แต่ถูกจำกัดไว้เพียงแค่สองทางเลือกนี้เท่านั้น

ผมมองว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ มันก็คงเป็นไปตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกเรา ที่อาชีพต่าง ๆ เริ่มมีความหลากหลาย และสามารถทำเงินเลี้ยงตัวเองในชีวิตจริงเพิ่มมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องถูกจำกัดแค่ วิทย์ กับ ศิลป์ อีกต่อไป

เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ผมได้ รีวิว หนังสือ The Future Is Faster Than You Think: How Converging Technologies Are Transforming Business, Industries, and Our Lives โดย Peter H. Diamandis และ Steven Kotler ไว้ใน podcast พอดิบพอดี

หนังสือ The Future Is Faster Than You Think: How Converging Technologies Are Transforming Business, Industries, and Our Lives  โดย Peter H. Diamandis และ Steven Kotler (CR:medium)
หนังสือ The Future Is Faster Than You Think: How Converging Technologies Are Transforming Business, Industries, and Our Lives โดย Peter H. Diamandis และ Steven Kotler (CR:medium)

ซึ่งมีการวิเคราะห์ในเรื่องการเรียนการสอนในอนาคต ไว้น่าสนใจเช่นเดียว ซึ่งแน่นอนว่า มันไม่ได้จำกัดไว้แค่สายวิทย์ และ ศิลป์ อีกต่อไปเหมือนที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนกำลังทำ

ระบบการศึกษาใหม่ในอนาคตนั้น จะเป็นสถาบันที่สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของโลกที่แตกต่างออกไป และโลกเรากำลังพัฒนาไปด้วยอัตราเร่งที่ค่อนข้างสูงมาก

ในช่วงกลางทศวรรษที่ 18 อเมริกาได้เผยแพร่ระบบการศึกษาแบบอุตสาหกรรมที่ออกแบบมาเพื่อผลิตนักเรียนนักศึกษาที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

เมื่อได้ยินระฆัง นักเรียนก็จะย้ายจาก “สถานีการเรียนรู้” แห่งหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่ง มันทำให้สามารถมั่นใจได้ในเรื่องการควบคุมคุณภาพ และผลิตนักเรียนนักศึกษาที่พร้อมสำหรับความต้องการของสังคมในตอนนั้น

แล้วความต้องการเหล่านั้นคืออะไร? ในยุคนั้นก็คงหนีไม่พ้นโรงงานอุตสาหกรรม ที่ทุกคนต้องมีมาตรฐานเดียวกันเพื่อผลิตให้ได้คุณภาพแบบเดียวกัน

แต่ตอนนี้ ทุกคนอยู่ในทางเดินที่ไม่เหมือนกันอีกต่อไป จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกเรา มันไม่สามารถสร้างชุดประสบการณ์ที่ใช้มาตรฐานเดียวกัน ให้กับนักเรียนทุกคนได้อีกต่อไป

โรงเรียนในปี 2030 หน้าตาจะเป็นเช่นไร

ต้องบอกว่าจินตนาการของโรงเรียนแห่งอนาคตนั้น ได้ถูกจินตนาการไว้แล้วตั้งแต่ปี 1995 เมื่อ นีล สตีเฟนสันนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ได้ตีพิมพ์นวนิยายเรื่อง The Diamond Age

ด้วยทั้งนาโนเทคโนโลยี และ AI จะหลอมรวมกลายเป็นชีวิตประจำวันของเหล่านักเรียนนักศึกษา

The primer จะกลายเป็นคู่หูการเรียนรู้ของนักเรียนที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI และปรับแต่งให้เข้ากับเฉพาะบุคคล

Primer เต็มไปด้วยเซ็นเซอร์ที่ตรวจสอบทุกอย่างตั้งแต่ระดับพลังงานไปจนถึงสภาวะทางอารมณ์ Primer จะสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เฉพาะเจาะจงกับนักเรียนแต่ละคนมากขึ้น

แทนที่จะปั้นเด็กนักเรียนให้เป็นไปตามความต้องการของสังคม Primer จะมีจุดมุ่งหมายในการผลิตนักคิด ที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่มีความหลากหลายมากกว่า

และนั่นคือ Primer จากนิยายอย่าง The Diamond Age แต่ตอนนี้ เทคโนโลยีอย่าง Magic Leap ช่วยให้เรื่องราวในนิยายวิทยาศาสตร์ กลายเป็นจริงมากขึ้น

เทคโนโลยีของ Magic Leap นั้นช่วยให้สามารถสร้างโฮโลแกรมรอบตัว ด้วยการผสมผสานระหว่าง AR และ AI และเปลี่ยนทุกการเดินทางเป็นประวัติศาสตร์

ตัวอย่างเช่น นักเรียนอาจจะเดินไปตามถนนในแมนฮัตตัน จะเห็นอาคารต่าง ๆ เมื่อศตวรรษที่แล้ว และ Magic Leap จะแสดงโฮโลแกรม ที่ทำหน้าที่เป็นนักประวัติศาสตร์เสมือนจริง

เทคโนโลยี VR ของ Magic Leap จะยกระดับประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ (CR:Road to VR)
เทคโนโลยี VR ของ Magic Leap จะยกระดับประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ (CR:Road to VR)

แน่นอนว่าเพียง AR อย่างเดียวคงไม่เพียงพอ แต่การหลอมรวมกันระหว่าง AR และ AI ทำให้สามารถสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่นักเรียนทุกคนสามารถกำหนดเองได้

การเพิ่มเซ็นเซอร์ที่ตอบสนองต่อข้อมูลจากระบบประสาทวิทยา ตัวอย่างเช่น นักเรียนสามารถทำให้ตัวเองอยู่ในกรอบความคิดในการเติบโตได้ (ซึ่งงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าจำเป็นสำหรับการเรียนรู้)

ซึ่งเราจะเริ่มเห็นอนาคตที่แตกต่างไปจากเดิมเป็นอย่างมาก โรงเรียนในอนาคต จะมีสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สามารถปรับแต่งตามความต้องการของนักเรียนแต่ละคนได้

แล้วโรงเรียนจะเป็นอย่างไรในปี 2030 มันอยู่ที่ว่า วันนี้คุณอยากเรียนอะไร นั่นเองครับผม

References : https://www.dek-d.com/education/5329
หนังสือ The Future Is Faster Than You Think: How Converging Technologies Are Transforming Business, Industries, and Our Lives โดย Peter H. Diamandis และ Steven Kotler
https://www.trueplookpanya.com/


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube