ต้องบอกว่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาการเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นงานในฝันของใครหลายคน US News and World Report เคยจัดให้อาชีพนี้อยู่อันดับหนึ่ง แซงหน้าอาชีพในวงการสาธารณสุขที่ครองแชมป์มาตลอด 3 ปี
เงินเดือนพุ่งกระฉูด สวัสดิการเทพ ทั้งเบี้ยเลี้ยงและชั่วโมงทำงานที่ยืดหยุ่น ทำให้อาชีพนี้เป็นที่หมายปองของคนรุ่นใหม่
แต่ดูเหมือนว่ายุคทองกำลังจะถึงจุดจบ เมื่อเราเริ่มเห็นแนวโน้มว่าในอนาคต โค้ดมากมายในแอปต่างๆ รวมถึง AI จะถูกสร้างโดยวิศวกร AI แทนที่วิศวกรมนุษย์
ข้อมูลจาก US Bureau of Labor Statistics บ่งชี้ว่า ในปี 2019 มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในอเมริกาประมาณ 1.5 ล้านคน และคาดว่าจะเติบโตอีก 22% ถึงปี 2029
แต่ความเจ๋งของ AI ที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดดได้เข้ามาพลิกเกมนี้อย่างสิ้นเชิง ไม่มีใครคาดคิดว่า มาถึงปี 2025 ตำแหน่งงานนักพัฒนาซอฟต์แวร์จะไม่เพิ่มขึ้น แต่กลับดิ่งลงเหวอย่างน่าใจหาย
วงการเทคโนโลยีกำลังเจอศึกหนัก Microsoft ประกาศเลิกจ้าง 5% Meta เจ้าของ Facebook ก็ลดพนักงาน 5% Alphabet ลูกพี่ใหญ่ก็ลดคนเป็นพันๆ
นักพัฒนาซอฟต์แวร์กว่า 110,000 คนทั่วโลกถูกถีบออกจากงาน สะท้อนให้เห็นว่าวงการกำลังสั่นคลอนหนัก พวกเขาต้องฝ่าฝันต่อสู้ในตลาดงานที่แข่งขันกันอย่างโหดเหี้ยม
Meta ที่เคยเป็นความฝันของมืออาชีพด้านซอฟต์แวร์ ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ยกเลิกตำแหน่งถึง 16,000 ตำแหน่ง เพื่อมุ่งเน้นพัฒนา AI ที่กำลังเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง
นี่เป็นจุดจบของนักพัฒนาซอฟต์แวร์จริงหรือ? อนาคตในโลกแรงงานจะเป็นเช่นไร?
ย้อนกลับไปมองประวัติศาสตร์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นกำลังสำคัญของวงการเทคโนโลยีมานาน ตั้งแต่ปลายยุค 90 ถึงต้นยุค 2020 ความต้องการพุ่งทะยาน
ช่วงปี 2000 โลกเข้าสู่ยุคอินเทอร์เน็ตแบบเต็มตัว ต้องการแอปและเว็บใหม่ๆ มากมาย ทำให้การจ้างโปรแกรมเมอร์เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด
ปี 2015 การพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นสาขาที่เนื้อหอมสุดๆ มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาเต็มไปด้วยนักศึกษาที่อยากก้าวเข้าสู่วงการนี้
แต่แล้วเมื่อ AI เทพขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สภาพแวดล้อมเริ่มเปลี่ยนแปลงจนน่าตกใจ
ปี 2020 บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google, Microsoft และ OpenAI เริ่มเสกโมเดล AI ที่สามารถสร้างโค้ดได้โดยอัตโนมัติเกือบทั้งหมด
ChatGPT เป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนโลกไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นเทคโนโลยี AI ที่ได้รับเงินสนับสนุนมหาศาลถึง 10 พันล้านดอลลาร์จาก Microsoft
ความก้าวหน้านี้ส่งสัญญาณชัดว่า AI สามารถทำงานแทนที่นักพัฒนามนุษย์ได้หลายอย่าง ปี 2023 เป็นจุดพลิกผันของวงการ
GitHub Copilot ที่ขับเคลื่อนโดย OpenAI เริ่มช่วยนักพัฒนาสร้างโค้ดทั้งชุดจากการป้อนข้อมูลแค่ไม่กี่บรรทัด ในชณะที่ Microsoft 365 Copilot กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้คนหลายล้านคนใช้และพึ่งพาทุกวัน
ตอนแรก เครื่องมือพวกนี้ถูกมองเป็นแค่ตัวช่วย แต่ไม่นานผู้เชี่ยวชาญก็ตระหนักถึงศักยภาพโครตเทพในการแทนที่งานมนุษย์
บริษัทต่างๆ เริ่มลดพนักงานพัฒนาซอฟต์แวร์ เพราะ AI ทำงานได้แบบจัดเต็มโดยต้องการคนน้อยลงเรื่อยๆ ปี 2025 วงการเทคโนโลยีอยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่แล้ว
การศึกษาปี 2024 เผยว่า 32% ของบริษัทเทคโนโลยีได้นำ AI มาใช้ทำงานเขียนโปรแกรมอัตโนมัติ Meta, Google และ Amazon กำลังใช้ AI แบบจัดเต็มในการเขียนโค้ด ทดสอบซอฟต์แวร์ และดูแลระบบ ส่งผลให้ความต้องการนักพัฒนาแบบเดิมลดฮวบ
ปี 2025 Meta เลิกจ้างคนกว่า 10,000 คน ประมาณ 15% เป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ เป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างสู่การใช้ AI มากขึ้น
กุมภาพันธ์ 2025 Workday เลิกจ้าง 1,750 คน ประมาณ 8.5% ของคนทั่วโลก ในขณะที่ Salesforce และ Cruz ประกาศว่าพวกเขาจะลดพนักงาน
มกราคม 2025 Salesforce ตัดตำแหน่งกว่า 1,000 ตำแหน่ง ลดทีมวิศวกรซอฟต์แวร์ลง 15% อ้างว่า AI ทำงานได้ดีกว่า Salesforce กำลังตัดงานมากกว่า 1,000 ตำแหน่ง และพวกเขาจะจ้างพนักงานขายเพื่อขายผลิตภัณฑ์ AI แทน
น่าสนใจที่การเลิกจ้างไม่ได้จำกัดแค่บริษัทเทคโนโลยี แต่กำลังเกิดขึ้นกับธุรกิจทุกประเภททั่วโลก
45% ของบริษัทที่ไม่ใช่เทคโนโลยีวางแผนแทนที่ทีมพัฒนาบางส่วนด้วย AI ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า การเลิกจ้างวิศวกรซอฟต์แวร์กลายเป็นเรื่องปกติที่ใครๆ ก็ทำกัน
Meta เลิกจ้างคนหลายพันคนในปี 2025 โดยอ้างว่า AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้ ซึ่ง AI กำลังปฏิวัติการเขียนโปรแกรม ทำให้คนที่ไม่มีความรู้มาก่อนสามารถสร้างโค้ดซับซ้อนได้ด้วยคำสั่งภาษาธรรมชาติแบบสบาย ๆ
ปัญหาใหญ่คือ งานทั้งหมดที่เคยทำโดยนักพัฒนา ตอนนี้ AI ทำได้หมด นั่นหมายความว่าเทคโนโลยีนี้แย่งงานไปแล้วหลายแสนตำแหน่ง และจะยังทำต่อไปในทศวรรษหน้า
ถ้าเทคโนโลยียังก้าวกระโดดแบบนี้ งานที่เคยต้องใช้ทีมนักพัฒนาทั้งทีม ก็จะจัดการได้ด้วยระบบอัตโนมัติเพียงไม่กี่ตัว
ChatGPT ช่วยธุรกิจประหยัดเงินได้หลายพันล้าน เทคโนโลยีนี้สามารถเพิ่มผลผลิตในระยะยาวได้มากกว่า 230 พันล้านดอลลาร์
ประกอบกับการที่บริษัทต่าง ๆ เปลี่ยนไปเน้นที่การลดต้นทุนมากขึ้น หลังจากการเติบโตอย่างรวดเร็วในทศวรรษที่ผ่านมา ที่จ้างคนเยอะโดยไม่คิดถึงความยั่งยืน
ปัจจุบันเศรษฐกิจไม่แน่นอนมากขึ้น องค์กรต่างๆ จึงปรับโครงสร้างและกำจัดตำแหน่งที่ไม่จำเป็นออกไป ความก้าวหน้าของ AI ช่วยให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น แต่มีต้นทุนคือการกำจัดงานนักพัฒนาซอฟต์แวร์
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีระบบอัตโนมัติ ประสบการณ์ของมนุษย์ยังมีความสำคัญไม่เปลี่ยนแปลง นักพัฒนาต้องปรับตัวหันไปเน้นงานเชิงกลยุทธ์มากขึ้น
ทั้งงานด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมระบบขั้นสูง การออกแบบโซลูชัน และการดูแล AI นอกจากนี้ ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถแก้ปัญหาซับซ้อนยังเป็นทักษะมนุษย์ที่จำเป็น
ปรากฏการณ์นี้ไม่ได้หมายถึงจุดจบของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่เป็นการขีดชะตาชีวิตของคนในสายอาชีพนี้
นักพัฒนาต้องปรับตัวและเรียนรู้วิธีทำงานกับ AI โดยรับบทบาทเชิงกลยุทธ์มากขึ้น ในขณะที่งานซ้ำๆ และงานพื้นฐานถูกทำให้เป็นอัตโนมัติทั้งหมด
วิชาชีพกำลังเผชิญอนาคตที่ไม่แน่นอน ซึ่งความสามารถในการทำงานร่วมกับ AI อาจสำคัญกว่าความรู้ลึกในภาษาการเขียนโปรแกรมแบบดั้งเดิม
นักพัฒนาที่ปรับตัวได้จะยังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรม แม้ว่ารูปแบบการทำงานจะเปลี่ยนไปมากก็ตามที
การเปลี่ยนแปลงนี้กระทบไม่เฉพาะวงการซอฟต์แวร์ แต่ส่งผลต่ออาชีพอื่นๆ อีกมากมาย World Economic Forum รายงานว่าภายในปี 2030 AI จะทำให้งานกว่า 85 ล้านตำแหน่งทั่วโลกมลายหายไปหมดสิ้น
ในขณะเดียวกันก็จะรังสรรค์งานใหม่ประมาณ 97 ล้านตำแหน่ง ซึ่งต้องการทักษะและความเชี่ยวชาญที่แตกต่างออกไป ซึ่งเป็นโอกาสของตลาดแรงงานยุคใหม่นั่นเองครับผม
ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA
Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ
Geek Forever’s Podcast
“Open Your World With Technology“
AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning
Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ