Paypal Mafia ตอนที่ 7 : David O. Sacks

David O. Sacks เป็นอีกหนึ่งในแก๊งค์ paypal mafia ที่ค่อนข้างมีบทบาทสำคัญกับการเติบโตอย่างรวดเร็วของ paypal ในขณะนั้น  เขามีบทบาททั้งในเรื่องการจัดการคน การออกแบบผลิตภัณฑ์ แม้กระทั่งเรื่องงานด้านการขายและการตลาด เขาก็มีส่วนร่วมสำคัญกับ paypal ในขณะนั้น ถือเป็นอีกหนึ่ง keyman ที่สำคัญในการผลักดัน paypal ให้กลายเป็นที่ยอมรับในตลาดอย่างรวดเร็ว

Sacks นั้นเกิดที่ เมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นที่เดียวกับ Elon Musk แต่ครอบครัวของ Sacks นั้นได้อพยพมายัง Tennessee ในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่เขามีอายุเพียง 5 ขวบเท่านั้น 

เขามีเลือดของผู้ประกอบการที่มาจากคุณปู่ ที่ได้สร้างธุรกิจโรงงานลูกอม ในช่วงปี 1920 เขาเข้าศึกษาปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในช่วงปี 1990-1994 และเปลี่ยนสายมาเรียนทางด้านกฏหมายที่ University of Chicago Law School ในปี 1994-1998

Sacks นั้นได้เริ่มงานในตำแหน่ง Management Consultant ที่บริษัทที่ปรึกษายักษ์ใหญ่อย่าง Mckinsey & Company หลังจากเรียนจบที่ Chicago ทันที

ซึ่งเขาได้เข้ามาร่วมงานกับ paypal ในปี 1999 ในตำแหน่ง COO (Chief Operating Officer) ดูแลผลิตภัณฑ์หลักของบริษัท รวมถึงการบริหารทีมงานที่เกี่ยวข้องกว่า 700 คน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์กับผู้ใช้งาน เขายังมีบทบาทในด้านการขายรวมถึงการตลาด รวมถึงการขยายตลาดไปยังต่างประเทศอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นคนที่ดูแลแทบจะทุกส่วนของบริษัทเลยก็ว่าได้รองจาก CEO เพียงเท่านั้น

ซึ่งในระหว่างที่ Sacks ดำรงตำแหน่ง COO ของ paypal นั้น ทำให้ paypal เติบโตอย่างรวดเร็ว มียอดบริการชำระเงินผ่านระบบ paypal 500 ล้านเหรียญต่อเดือน สามารถสร้างรายได้ให้บริษัทสูงถึง 230 ล้านเหรียญต่อปี 

และที่สำคัญยังสามารถที่จะเอาชนะคู่แข่งคนสำคัญอย่าง ebay ได้ ใน platform ของ ebay เองด้วยซ้ำ ผู้คนแห่แหนมาใช้ paypal กันอย่างถล่มทลายในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าผ่านระบบ ebay และได้ทำให้ paypal กลายเป็นเว๊บไซต์ทางด้านการชำระเงินออนไลน์อันดับหนึ่งของโลกในที่สุด

สามารถเอาชนะ ebay ได้ใน platform ของ ebay เอง
สามารถเอาชนะ ebay ได้ใน platform ของ ebay เอง

Sacks นั้นยังมีบทบาทในด้านการขยายไปสกุลเงินต่าง ๆ กว่า 80 ประเทศ และสุดท้ายก็พา paypal เข้าสู่บริษัทมหาชนผ่านการ IPO ในตลาดหลักทรัพย์ ก่อนที่สุดท้ายจะถูกขายให้กับ ebay เป็นมูลค่ามหาศาลกว่า 1.5 พันล้านเหรียญ

หลังจากพักไปทำตามความฝันด้านอื่น ๆ อยู่เป็นเวลาหลายปี ในปี 2006 Sacks นั้นกลับมาที่ Silicon Valley อีกครั้ง โดยร่วมก่อตั้ง Geni.com เป็นเว๊บไซต์ ที่ใช้ในการลำดับวงศ์ตระกูล ภายในครอบครัว ทำให้สมาชิกในครอบครัวสามารถสร้างแผนผังลำดับวงศ์ตระกูลให้ดูง่าย โดยสามารถทำงานแบบออนไลน์

และที่ Geni นี่เองที่เขาได้เกิดแนวคิดที่จะสร้าง เครื่องมือที่จะใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในองค์กรขึ้น และในปี 2008 Sacks และ Adm Pisoni ได้ทำการสร้างเครื่องมือสื่อสารที่จะใช้ภายในองค์กรรูปแบบใหม่ขึ้นมาที่ต่อมาได้กลายเป็น Yammer 

และในปี 2008 นี่เองที่เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ Sacks หันมาโฟกัสกับ Yammer มากยิ่งขึ้น โดยได้ปรับ Yammer ให้กลายเป็น Enterprise Social Network สำหรับองค์กร ซึ่งจะเป็น Solution ที่มีความปลอดภัยสำหรับการสื่อสารในองค์กร

และเนื่องจากตลาดนี้ยังเป็นตลาดใหม่ ทำให้ Yammer นั้นเติบโตอย่างรวดเร็ว Sacks นั้นได้ปรับมุมมองให้ Yammer กลายเป็น Software-as-a-service (SaaS) และได้ทำให้เติบโตอย่างรวดเร็ว มีผู้ใช้งานกว่า 8 ล้านคนโดยใช้ระยะเวลาเพียงแค่ 4 ปีเท่านั้น

และในที่สุดมันก็ได้ไปเตะตายักษ์ใหญ่ของ Enterprise Software อย่าง Microsoft ที่กำลังหาบริการในลักษณะนี้เพื่อปรับ Microsoft Office ขึ้นเป็นบริการ Online โดย Yammer จะสามารถมาเสริมความแข็งแกร่งในตลาด Enterprise ของ Microsoft ได้อย่างดีเยี่ยว และในขณะนั้น Microsoft ก็เริ่มปรับกลยุทธ์ไปยังระบบ Cloud และมุ่งนำบริการต่าง ๆ ของตัวเองขึ้นสู่ Cloud

Yammer บริการ Enterprise Social Network
Yammer บริการ Enterprise Social Network

และ Deal ก็จบลงด้วยมูลค่ากว่า 1.2 พันล้านเหรียญ โดย Microsoft สามารถนำเอา Yammer มาควบรวมกับบริการของตนเอง โดยในปี 2018 นั้น มีองค์กรธุรกิจกว่า 90,000 องค์กรนั้นได้ใช้บริการของ Yammer ซึ่งรวมถึง กว่า 85% ของบริษัทยักษ์ใหญ่ใน Fortune 500 ก็เป็นลูกค้าที่สำคัญของ Yammer

หลังจากนั้นในปี 2014 Sacks ก็ได้มาลงทุนกับซอฟต์แวร์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่าง Zenefits และได้ถูกขอร้องให้รับตำแหน่ง CEO ชั่วคราว หลังจากเกิดปัญหาเกี่ยวกับใบอนุญาติของบริษัท

หลังจากนั้น Sacks ก็ใช้แนวคิดแบบเดียวกับที่ Yammer มาปรับปรุง Zenefits ให้ปรับโมเดลธุรกิจให้เป็นแบบ Saas (Software-as-a-Service) ซึ่งหลังจากการปรับโมเดลนี้ได้ไม่นาน บริษัทก็เติบโตด้านจำนวนผู้ใช้งานอย่างรวดเร็ว จนถูกยกย่องให้กลายเป็นบริการด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ดีที่สุดในตลาดในขณะนั้น จากนิตยสาร PC Magazine

Zenefits บริการด้าน HR ในรูปแบบ Software-as-a-Service
Zenefits บริการด้าน HR ในรูปแบบ Software-as-a-Service

หลังจากพา Zenefits ขึ้นสู่จุดสูงสุดได้ เขาก็ส่งไม้ต่อให้กับ CEO คนใหม่ และ หันมาลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่มีศักยภาพในการเติบโต เขาเป็นทั้ง Angel Investor ที่ลงทุนในช่วงก่อตั้งของ Startup หลาย ๆ บริษัท ทั้ง AirBnB , EventBrite , Facebook , Slack , SpaceX  หรือแม้กระทั่ง Uber เองก็ผ่านการลงทุนจากเขาแล้วทั้งสิ้น

และในปี 2017 Sacks ได้ร่วมก่อตั้งบริษัทด้านการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีเกิดใหม่ในชื่อ Craft Ventures ได้ระดมทุนเริ่มต้นกว่า 350 ล้านเหรียญ และลงทุนในบริษัทต่าง ๆ เช่น Bird , Bitgo , Cloud9 , Harbour , Multicoin Capital และ SpaceX

–> อ่านตอนที่ 8 : Peter Thiel

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Jawed Karim *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***