ประวัติ Yelp ต้นแบบแอปชื่อดังของไทยอย่าง Wongnai

สำหรับ Jeremy Stoppelman ผู้ก่อตั้ง Yelp นั้นเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญคนหนึ่งกับ paypal บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านการชำระเงิน Online มาก่อน โดย Stoppelman นั้น เรียนด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ โดยจบการศึกษาในช่วงปี 1999 ซึ่งเป็นช่วงก่อนฟองสบู่ดอทคอมแตกพอดี

Stoppelman นั้น เริ่มชีวิตการทำงานที่ @Home Network โดยใช้ระยะเวลาเพียงช่วงสั้น ๆ ในบริษัทดังกล่าว ก่อนจะมาร่วมงานกับ Elon Musk ใน X.com ซึ่งเขาค่อนข้างมีบทบาทสำคัญใน X.com ก่อนจะควบรวมกับ Paypal โดยตำแหน่งสุดท้ายนั้นเขาดูแล Engineer ทั้งหมดในตำแหน่ง VP of Engineering 

ซึ่งหลังจากอยู่กับ Paypal เพียงไม่นาน เขาก็ได้ลาออกไปไปเรียนต่อด้านธุรกิจที่ Harvard Business School ที่มหาวิทยาลัย Harvard 

Stoppelman นั้นเป็นชาวยิว เหมือน ๆ กับหลาย ๆ นักธุรกิจชื่อดังที่ประสบความสำเร็จทางด้านเทคโนโลยี โดยเขาเกิดที่ Arlington รัฐ Verginia โดยมีความสนใจทางด้านคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่เด็ก

เขาได้เริ่มลงทุนในหุ้นตั้งแต่อายุเพียง 14 ปี เท่านั้น ความฝันอย่างนึงในวัยเด็กของเขาก็เหมือนเด็ก ๆ ทั่วไป คือการสร้างเกมส์ขึ้นมา และได้เริ่มศึกษาการเขียนโปรแกรมอย่างจริงจัง โดยเริ่มเรียนด้านโปรแกรมมิ่งภาษาแรกคือ Turbo Pascal 

สำหรับชีวิตการทำงานของเขาใน X.com ของ อีลอน มัสก์ นั้นทำให้ได้เจอะเจอผู้คนมากหน้าหลายตา รวมถึงนักลงทุนชื่อดังอย่าง Max Levchin ซึ่งต่อมาก็เป็น Levchin นี่เองที่กลายมาเป็นนักลงทุนหลักของ Yelp  บริการที่เขาได้ก่อตั้งขึ้นมาหลังจากได้มีโอกาสเข้าไปอบรมในโปรแกรม Business Incubator ของ MRL Ventures

ในช่วงฤดูร้อนของปี 2004 เกิดจุดหักเหสำคัญขึ้นกับ Stoppelman ตอนนั้นเขาป่วยเป็นไข้หวัดอย่างหนัก และไม่สามารถที่จะออกไปไหนได้ และมันทำให้เขาได้คิดถึงไอเดียของ Yelp ที่ต้องการสร้าง Online Community ที่จะช่วยแชร์บริการต่าง ๆ ในท้องถิ่นใกล้เคียง ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของ Yelp ในช่วงแรก ๆ ของการก่อตั้ง

Jeremy Stoppelman CEO ผู้ก่อตั้ง Yelp
Jeremy Stoppelman CEO ผู้ก่อตั้ง Yelp

ซึ่งเขาก็ได้ชักชวนอดีตเพื่อนร่วมงานที่ paypal อย่าง Russel Simmons ซึ่งขณะนั้นทำงานอยู่ที่ MRL Ventures และได้ทำการเสนอไอเดียของ Yelp ให้กับ Levchin ซึ่งท้ายที่สุดก็ได้ให้เงินลงทุนให้กับทั้งสองหนุ่มในการตั้งต้นธุรกิจจำนวน 1 ล้านเหรียญ

ด้วยความสามารถทั้งทางด้านเทคโนโลยีและธุรกิจของ Stoppelman ทำให้เขาสามารถพา Yelp กลายเป็นบริการที่คนแห่มาใช้กันอย่างรวดเร็ว กลายเป็นกระแสปากต่อปาก ด้วยบริการง่าย ๆ ที่ตอนนั้นยังไม่มีใครคิดทำมาก่อน

ซึ่งในเวลาเพียงไม่นาน Yelp ก็มีการเข้ามา Review ของ User ในระบบกว่า 138 ล้าน Reviews และมันได้ทำให้มูลค่าของ Yelp พุ่งสูงขึ้นไปถึง 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ ด้วยความที่เป็นบริการที่ใช้ผลการค้นหาของ Google เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้าง traffic ให้ Yelp นั้น

ในที่สุด Google ก็ได้ยื่นข้อเสนอเพื่อขอซื้อ Yelp จาก Stoppelman เป็นมูลค่ามหาศาลที่ไม่อาจปฏิเสธได้ แต่ Stoppelman ก็ได้ทำสิ่งที่เป็นเรื่องเซอร์ไพรซ์วงการด้วยการปฏิเสธข้อการเข้าซื้อของ Google อย่างไร้เยื่อใย

และในที่สุดในปี 2012 Stoppelman ก็พา Yelp เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ได้สำเร็จ ต้องเรียกได้ว่าเขาสามารถที่จะนำ Startup จากบริษัทเล็ก  ๆ ที่มีพนักงานไม่กี่คน ฝ่าฟันจนสามารถเข้าไปอยู่ตลาดหุ้นได้สำเร็จ

สามารถทำการ Exit ด้วยการพาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้สำเร็จ
สามารถทำการ Exit ด้วยการพาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้สำเร็จ

กล่าวกันว่า สไตล์การบริหารงานของ Stoppelman ในการสร้าง Yelp นั้น เขามักจะเป็นผู้บริหารที่มารับฟังปัญหาลูกน้องอยู่สม่ำเสมอ และพยายามแก้ไขแบบ 1 ต่อ 1 อย่างมืออาชีพ ภายใน Yelp เองเขาก็ไม่ได้มีห้องผู้บริหารส่วนตัว แม้จะเป็น CEO ก็จริงแต่ก็มาคลุกคลีทำงานกับลูกน้องของเขาอยู่เสมอ ซึ่งทำให้เหล่าพนักงาน Yelp รักเขามาก

ซึ่งที่ Yelp เขาได้พาน้องชายเข้าร่วมงานด้วยในตำแหน่ง Senior Vice President of Engineering เขามักจะคอยสอดส่องบริการของตัวเองอยู่สม่ำเสมอ เพื่อหาจุดบกพร่องที่ควรแก้ไข ซึ่งใน Yelp Platform เองนั้นก็มี Review ของเขาอยู่กว่า 1,000 reviews ซึ่งสุดท้ายหลังจากพาบริษัทเข้าตลาดหุ้นได้สำเร็จ หุ้นของเขาที่มีอยู่กว่า 11% นั้นก็ทำให้เขามีมูลค่าทรัพย์สินราว ๆ 111 ล้านเหรียญ – 222 ล้านเหรียญ ซึ่งกลายเป็นอีกหนึ่งบุคคลที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนของ Silicon Valley จวบจนถึงปัจจุบัน

References :
wikipedia.org
https://www.linkedin.com/in/jeremystoppelman
https://www.bloomberg.com/profile/person/16358662

มองสงครามการค้า มองไทย

ข่าวกระแสสงครามการค้าระหว่างจีน กับ สหรัฐ นั้นดูวี่แววแล้วน่าจะไม่จบลงอย่างง่าย ๆ หลังการใช้เรื่องภาษี ถล่มกันไปมา อย่างหนัก เรียกได้ว่าเจ็บตัวด้วยกันทั่งคู่เลยก็ว่าได้

ประเด็นที่ร้อนที่สุดของสงครามการค้าครั้งนี้ น่าจะเป็นเรื่องของ huawei ยักษ์ใหญ่ทางด้านโทรคมนาคมจากจีน ที่โดนแบน จากบริษัทผู้ผลิตทั้ง software และ hardware ของสหรัฐอเมริกา

แน่นอนว่ามีกระแสข่าว ในแง่ลบมากมายที่มากระทบ huawei ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงเรื่องของการค้าขายกับอิหร่าน

การจับกุม Meng Wanzhou รองประธานและ CFO ของ Huawei ในประเทศแคนาดา ที่เป็นข่าวดังไปทั่วโลก โดยสหรัฐฯ กล่าวอ้างว่าว่า Meng Wanzhou พยายามปกปิดความจริงเรื่องที่หัวเว่ยกำลังทำธุรกิจกับอิหร่านซึ่ง ซึ่งฝ่าฝืนมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านของสหรัฐฯ แถมยังมีหลักฐานเพิ่มเติมว่าแอบทำการค้ากับซีเรีย อีกหนึ่งชาติที่มีนโยบายคว่ำบาตรเช่นกัน

ซึ่งแน่นอน มุมหนึ่งนั้น มันดูเหมือนทางฝั่งสหรัฐอเมริกาเอง ก็ทำสิ่งที่ถูกต้อง จากการกระทำของ huawei หลาย ๆ อย่างที่ผ่านมาโดยเฉพาะประเด็นในการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

แต่อีกแง่มุมที่น่าสนใจจากฝั่งจีน ก็คือเรื่องของประเด็นข้อมูลส่วนตัว รวมถึงข้อมูลทางธุรกิจต่าง ๆ ที่เรากำลังปล่อยให้บริษัท เทคโนโลยียักษ์ใหญ่จาก ซิลิกอน วัลเลย์นั้นกำลังดูดข้อมูลของเราไป ผ่านบริการต่าง ๆ ที่อาจจะใช้ฟรีบ้างหรือไม่ฟรีบ้าง

ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านพฤติกรรมผ่าน Social Network ต่าง ๆ อย่าง facebook , instagram หรือ ข้อมูลด้านธุรกิจอย่างการส่งข้อมูลผ่าน email ที่ให้บริการฟรีอย่าง google gmail , yahoo , microsoft hotmail,outlook 

บริการจากต่างแดนที่ยอดฮิตในไทย
บริการจากต่างแดนที่ยอดฮิตในไทย

ซึ่งบริการเหล่านี้นั้น เราจะเห็นได้ว่าไม่สามารถเจาะตลาดจีนได้เลย หากเป็นการล้วงข้อมูลทางดิจิตอลของประชาชนชาวจีน โดยที่ประเทศจีนจะเกิดบริการแบบเดียวกันขึ้นมาเพื่อใช้กันในจีนโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น weibo , youkou , alibaba หรืออื่น ๆ อีกมากมายที่เป็นบริษัทอินเตอร์เน็ตของจีน

ซึ่งส่วนนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะสินค้า และ บริการอื่นๆ  ที่ไม่ใช่บริการที่ใช้ข้อมูลดิจิตอลของคนจีน นั้น จีนได้เปิดเสรีเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็น Brand สินค้าอุปโภคบริโภค หรือ เชน ร้านอาหาร fastfood ชื่อดังของสหรัฐไม่ว่าจะเป็น KFC , McDonald , Starbuck ฯลฯ 

เราจะเห็นได้ชัดว่าบริการเหล่านี้นั้น ไม่ได้ถูกปิดกั้นแต่อย่างใด เหมือนกับบริการที่เป็น ข้อมูลเชิงลึกของพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้ใช้งานชาวจีนที่เป็นดิจิตอล

ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องหนึ่งที่สำคัญก็คือ อุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน เพราะจีนเป็นคอมมิวนิสต์ ส่วนอเมริกา นั้นเป็นประชาธิปไตย การปล่อยให้บริการต่าง ๆ ที่เป็นบริการออนไลน์เข้าไปสู่จีนได้นั้น น่าจะเป็นเรื่องไม่ปลอดภัยเท่าไหร่กับแนวคิดของเหล่านักการเมืองชาวจีน

แล้วหันมามองที่ประเทศเราที่ตอนนี้ เราแทบจะเสพทุกอย่างผ่านบริการของบริษัทเทคโนโลยีจากอเมริกาแทบจะทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นส่วนของ social network อย่าง facebook , instragram หรือบริการด้าน email จากทั้ง google , microsoft ,yahoo

แม้ส่วนของ chat application เราจะใช้ของประเทศญี่ปุ่นอย่าง LINE ก็ตามที แต่เราจะไว้ใจบริการเหล่านี้ได้อย่างไร กับข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลพฤติกรรม รวมถึง ข้อมูลทางธุรกิจต่าง ๆ ที่เรากำลังส่งกันผ่านบริการเหล่านี้

แม้ประเทศเรายังไม่มีบริการแบบนี้จะไปสู้ได้ก็ตาม แต่ เรากำลังปล่อยข้อมูลให้บริษัทพวกเขาเหล่านี้ไปแบบฟรี ๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ นั้นเป็นข้อมูลที่มีผลประโยชน์อย่างมหาศาล ที่ส่งผลโดยตรงต่อทั้ง สังคม เศรษฐกิจ หรือการเมือง แทบจะทั้งสิ้น ซึ่งในทางการเมืองเราจะเห็นได้จากการเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่เหล่า social media เหล่านี้กำลังมีอิทธิพลขึ้นเป็นอย่างมาก

ซึ่งผมคิดว่าสุดท้ายแล้วนั้น ทางเลือกที่ดีสุด เราก็ควรไว้ใจกับบริการที่เป็นคนไทยด้วยกันเอง อย่างตัว blockdit เองที่เป็น social network รูปแบบหนึ่ง หรือ application อื่น ๆ อย่าง wongnai ที่ให้บริการเกี่ยวกับร้านอาหาร หรือ บริการอื่นๆ  อีกมากมายที่เหล่า startup ของไทยกำลังสร้างสรรค์กันอยู่

บริการอย่าง Wongnai ที่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานชาวไทย ได้ไม่แพ้ app ดัง ๆ จากต่างประเทศเลย
บริการอย่าง Wongnai ที่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานชาวไทย ได้ไม่แพ้ app ดัง ๆ จากต่างประเทศเลย

ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคตนั้นเหล่า startup ไทย จะสามารถสร้างบริการต่าง ๆ เพื่อให้คนไทยใช้งานได้ครอบคลุมทุกอย่างจริง ๆ เพราะอย่างน้อยมันก็น่าไว้วางใจกว่า การเอาข้อมูลของพวกเราไปให้กับบริการจากประเทศอื่น ๆ เหมือนที่จีนทำได้สำเร็จนั่นเองครับ

Image References : https://storage.googleapis.com/stateless-thailandbusinessnews/2018/05/china-us-trade-war.jpg

Paypal Mafia ตอนที่ 2 : Jeremy Stoppelman

สำหรับ Jeremy Stoppelman หนึ่งในผู้บทบาทสำคัญกับ paypal  โดยเขาเป็นอีกหนึ่งคนที่ เรียนด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ โดยจบการศึกษาในช่วงปี 1999 ก่อนฟองสบู่ดอทคอมแตกพอดี

Stoppelman นั้น เริ่มชีวิตการทำงานที่ @Home Network โดยใช้ระยะเวลาเพียงช่วงสั้น ๆ ในบริษัทดังกล่าว ก่อนจะมาร่วมงานกับ Elon Musk ใน X.com ซึ่งเขาค่อนข้างมีบทบาทสำคัญใน X.com ก่อนจะควบรวมกับ Paypal โดยตำแหน่งสุดท้ายนั้นเขาดูแล Engineer ทั้งหมดในตำแหน่ง VP of Engineering 

ซึ่งหลังจากอยู่กับ Paypal เพียงไม่นาน เขาก็ได้ลาออกไปไปเรียนต่อด้านธุรกิจที่ Harvard Business School ที่มหาวิทยาลัย Harvard และเขาเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริการเกี่ยวกับการค้นหาร้านอาหารชื่อดังของสหรัฐอย่าง Yelp ( คล้าย ๆ Wongnai ของไทย )

Stoppelman นั้นเป็นชาวยิว เหมือน ๆ กับหลาย ๆ นักธุรกิจชื่อดังที่ประสบความสำเร็จทางด้านเทคโนโลยี โดยเขาเกิดที่ Arlington รัฐ Verginia โดยมีความสนใจทางด้านคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่เด็ก

เขาได้เริ่มลงทุนในหุ้นตั้งแต่อายุเพียง 14 ปี เท่านั้น ความฝันอย่างนึงในวัยเด็กของเขาก็เหมือนเด็ก ๆ ทั่วไป คือการสร้างเกมส์ขึ้นมา และได้เริ่มศึกษาการเขียนโปรแกรมอย่างจริงจัง โดยเริ่มเรียนด้านโปรแกรมมิ่งภาษาแรกคือ Turbo Pascal 

สำหรับชีวิตการทำงานของเขาใน X.com ของ อีลอน มัสก์ นั้นทำให้ได้เจอะเจอผู้คนมากหน้าหลายตา รวมถึงนักลงทุนชื่อดังอย่าง Max Levchin ซึ่งต่อมาก็เป็น Levchin นี่เองที่กลายมาเป็นนักลงทุนหลักของ Yelp  บริการที่เขาได้ก่อตั้งขึ้นมาหลังจากได้มีโอกาสเข้าไปอบรมในโปรแกรม Business Incubator ของ MRL Ventures

โชคชะตาพามาเจอเทพอย่าง อีลอน มัสก์
โชคชะตาพามาเจอเทพอย่าง อีลอน มัสก์ ที่ X.com

ในช่วงฤดูร้อนของปี 2004 เกิดจุดหักเหสำคัญขึ้นกับ Stoppelman ตอนนั้นเขาป่วยเป็นไข้หวัดอย่างหนัก และไม่สามารถที่จะออกไปไหนได้ และมันทำให้เขาได้คิดถึงไอเดียของ Yelp ที่ต้องการสร้าง Online Community ที่จะช่วยแชร์บริการต่าง ๆ ในท้องถิ่นใกล้เคียง ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของ Yelp ในช่วงแรก ๆ 

ซึ่งเขาก็ได้ชักชวนอดีตเพื่อนร่วมงานที่ paypal อย่าง Russel Simmons ซึ่งขณะนั้นทำงานอยู่ที่ MRL Ventures และได้ทำการเสนอไอเดียของ Yelp ให้กับ Levchin ซึ่งท้ายที่สุดก็ได้ให้เงินลงทุนให้กับทั้งสองหนุ่มในการตั้งต้นธุรกิจจำนวน 1 ล้านเหรียญ

ด้วยความสามารถทั้งทางด้านเทคโนโลยีและธุรกิจของ Stoppelman ทำให้เขาสามารถพา Yelp กลายเป็นบริการที่คนแห่มาใช้กันอย่างรวดเร็ว กลายเป็นกระแสปากต่อปาก ด้วยบริการง่าย ๆ ที่ตอนนั้นยังไม่มีใครคิดทำมาก่อน

ซึ่งในเวลาเพียงไม่นาน Yelp ก็มีการเข้ามา Review ของ User ในระบบกว่า 138 ล้าน Reviews และมันได้ทำให้มูลค่าของ Yelp พุ่งสูงขึ้นไปถึง 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ ด้วยความที่เป็นบริการที่ใช้ผลการค้นหาของ Google เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้าง traffic ให้ Yelp นั้น

ในที่สุด Google ก็ได้ยื่นข้อเสนอเพื่อขอซื้อ Yelp จาก Stoppelman เป็นมูลค่ามหาศาลที่ไม่อาจปฏิเสธได้ แต่ Stoppelman ก็ได้ทำสิ่งที่เป็นเรื่องเซอร์ไพรซ์วงการด้วยการปฏิเสธข้อการเข้าซื้อของ Google อย่างไร้เยื่อใย

และในที่สุดในปี 2012 Stoppelman ก็พา Yelp เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ได้สำเร็จ ต้องเรียกได้ว่าเขาสามารถที่จะนำ Startup จากบริษัทเล็ก  ๆ ที่มีพนักงานไม่กี่คน ฝ่าฟันจนสามารถเข้าไปอยู่ตลาดหุ้นได้สำเร็จ

พา Yelp เข้า IPO ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กได้สำเร็จ
พา Yelp เข้า IPO ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กได้สำเร็จ

กล่าวกันว่า สไตล์การบริหารงานของ Stoppelman ในการสร้าง Yelp นั้น เขามักจะเป็นผู้บริหารที่มารับฟังปัญหาลูกน้องอยู่สม่ำเสมอ และพยายามแก้ไขแบบ 1 ต่อ 1 อย่างมืออาชีพ ภายใน Yelp เองเขาก็ไม่ได้มีห้องผู้บริหารส่วนตัว แม้จะเป็น CEO ก็จริงแต่ก็มาคลุกคลีทำงานกับลูกน้องของเขาอยู่เสมอ ซึ่งทำให้เหล่าพนักงาน Yelp รักเขามาก

ซึ่งที่ Yelp เขาได้พาน้องชายเข้าร่วมงานด้วยในตำแหน่ง Senior Vice President of Engineering เขามักจะคอยสอดส่องบริการของตัวเองอยู่สม่ำเสมอ เพื่อหาจุดบกพร่องที่ควรแก้ไข ซึ่งใน Yelp Platform เองนั้นก็มี Review ของเขาอยู่กว่า 1,000 reviews ซึ่งสุดท้ายหลังจากพาบริษัทเข้าตลาดหุ้นได้สำเร็จ หุ้นของเขาที่มีอยู่กว่า 11% นั้นก็ทำให้เขามีมูลค่าทรัพย์สินราว ๆ 111 ล้านเหรียญ – 222 ล้านเหรียญ ซึ่งกลายเป็นอีกหนึ่งบุคคลที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนของ Silicon Valley จวบจนถึงปัจจุบัน

–> อ่านตอนที่ 3 : Andrew McCormack

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Jawed Karim *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

References : wikipedia.org