ประวัติ Bill Gates ตอนที่ 5 : Windows to the World

หลังจากเห็นความสำเร็จของ Macintosh กับระบบปฏบัติการใหม่ที่เป็นกราฟฟิก Microsoft ก็ได้เริ่มพัฒนาระบบปฏิบัติการของตัวเองที่ใช้รูปแบบของกราฟฟิก และ ใช้การ input ข้อมูลด้วย เม้าส์ แบบเดียวกับที่ Macintosh ทำ

ซึ่งระบบปฏิบัติการดังกล่าวถูกตั้งชื่อว่า “Windows” โดยเป็นการขยายความสามารถของ MS-DOS และให้ผู้ใช้งานใช้เม้าส์สั่งงานผ่านภาพกราฟฟิกที่ปรากฏบนหน้าจอ ซึ่ง Windows มาจากการที่มีหน้าต่างหลาย ๆ หน้าต่าง แต่ละหน้าต่างจะใช้กับโปรแกรมที่แตกต่างกันออกไปนั่นเอง

เป้าหมายใหญ่ของ Microsoft ก็คือการสร้างมาตรฐานแบบเปิด และนำการสั่งงานด้วยภาพกราฟฟิกมาใช้ในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ MS-DOS นั่นเอง ที่ขณะนั้นได้แพร่หลายไปทั่วโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ซึ่งเนื่องจากการที่ตอนนั้นมีผู้ผลิตคอมพิวเตอร์กว่าพันรายทั่วโลก ทำให้ลูกค้าทั่วไปที่จะซื้อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีตัวเลือกมากมาย แต่ Microsoft นั้นเสนอความสามารถในการทำงานร่วมกันได้กับทุกผู้ผลิต

และเหล่าผู้ผลิต Software ที่เกี่ยวข้องที่ตอนนั้นกลายเป็นตลาดขนาดใหญ่มาก ๆ นับแสนราย แทบจะไม่ต้องกังวลว่า Software ของตนจะนำไปเล่นในเครื่องรุ่นใด แบบใด เพราะ Windows ของ Microsoft นั้นเปิดรับให้กับผู้ผลิตทุกรายนั่นเอง

แม้ตัว Gates เองจะมองว่าความสำเร็จของ Windows นั้นอาจจะต้องใช้เวลาอีกนาน ใน Windows เวอร์ชั่นแรก ๆ นั้น ต้องใช้กับเครื่องที่มีหน่วยความจำสูง ซึ่งมีราคาแพง และ ยังต้องใช้งานร่วมกับโปรแกรมหลายตัว

หลังจากที่ทำการปล่อย Windows 1.0 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแบบ 16 bit ที่มีกราฟฟิก ตัวแรกของ Microsoft โดยออกวางขายในวันที่ 20 พฤศจิกายน 1985 วางขายในรูปแบบของ Floppy Disk โดยผู้ใช้ต้องลง DOS ก่อน แล้วถึงลง Windows 1.0 ตามอีกที สามารถรันโปรแกรมของ MS-DOS ได้แบบ Multitasking โปรแกรมที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows 1.0 เช่น Calculator, Calendar, Clock, Notepad, Paint เป็นต้น

Windows 1.0 ที่มาพร้อมโปรแกรมมากมาย

ซึ่งหลังจากปล่อย Windows ออกมานั้น ก็มีคำถามเกิดขึ้นมากมายกับระบบปฏิบัติการใหม่อย่าง Windows ในเมื่อ MS-DOS มันใช้งานได้ดีอยู่แล้ว ทำไมต้องมีโปรแกรมมาเขียนซ้อนลงไปบน MS-DOS แล้วใครจะเสียเวลาทำงานกับระบบกราฟฟิก ซึ่งกระแสต่อต้านเหล่านี้มีอยู่หลายปี กว่า Windows จะประสบความสำเร็จ

ซึ่งความสำเร็จของ Windows นั้นมีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง โดย Microsoft พยายามเติมความสามารถใหม่ ๆ เข้าไปอย่างต่อเนื่องให้กับ Windows เพื่อลบคำสบประมาท เหล่านี้

และที่สำคัญยังเปิดให้เหล่าผู้ผลิต Software ทั่วโลก ทุกรายสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อทำงานบน Windows โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งหรือขออนุญาติจาก Microsoft ซึ่งแตกต่างจากคู่แข่งอย่าง Macintosh ของ Apple ที่เป็นระบบปิด

Gates นั้นเปิดเสรีเต็มที่ในด้านการพัฒนา Software เพื่อให้ทำงานกับ Windows มันเป็นการเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรม Software ให้ยกระดับจากหน้าจอ Terminal แบบเดิม ๆ ให้กลายมาเป็นระบบกราฟฟิกทั้งหมด ซึ่งแม้จะเป็นโปรแกรมที่มาแข่งกับ Microsoft เอง Gates ก็ไม่เคยโกรธเคืองแต่อย่างใด เขาเพียงต้องการให้อุตสาหกรรม Software ไปในทิศทางที่เขาคิดไว้เท่านั้น

Microsoft นั้นไม่เคยหยุดพัฒนาเพราะรู้ว่าคู่แข่งแต่ละรายนั้นไม่ธรรมดา ไม่ว่าจะเป็น Macintosh , Unix หรือ OS/2 ของ IBM เองก็ตาม Microsoft จะปรับปรุงให้ Windows รุ่นใหม่ ๆ ของเขาดึงดูดใจต่อผู้บริโภคมากที่สุด ทั้งในด้านของราคาและประโยชน์การใช้สอยเองก็ตามที

และในปี 1993 Microsoft ได้ปล่อย Windows 3.11 ออกสู่ตลาด ซึ่งเป็นการต่อยอดมาจาก Windows 3.1 โดยเสริมคุณสมบัติระบบ network และการสร้าง Protocol TCP/IP ที่ช่วยทำให้เครื่อง PC สามารถใช้งานได้ในระบบ Network และคอมพิวเตอร์แบบ Home user สามารถติดต่อผ่านเครือข่าย Internet นับเป็นการเปิดโลกใหม่ให้กับ PC ในแบบที่ไม่มี Windows ตัวไหนทำได้มาก่อนนั่นเอง

Bill Gates กับการในการผลักดัน Windows ให้เป็นเบอร์ 1 ได้สำเร็จ

ซึ่งสุดท้ายด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนสามารถครองใจผู้บริโภคทั่วโลกได้สำเร็จ ก็ทำให้ Windows นั้นกลายเป็นระบบปฏิบัติการหลักที่มีผู้ใช้งานกันทั่วโลก กลายเป็นมาตรฐานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะนั้นได้สำเร็จ

แต่ความท้าทายใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นกับ Gates และ Microsoft คือการเข้ามาของ Internet ซึ่งแน่นอนว่าเป็นความท้าทายครั้งสำคัญของ Gates ที่จะทำให้โลกเห็นว่า Windows เป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการเข้าสู่โลก Internet จะเกิดอะไรขึ้นต่อกับ Microsoft เมื่อเทคโนโลยีกำลังจะหมุนเปลี่ยนผ่านไปยังโลกของ Internet โปรดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 6 : NetScape Killer

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 A Revolution Begins *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

References : http://tahupedia.com/img/uploaded/post/post_4/bill_gates_berhenti_kuliah.jpg

Credit แหล่งข้อมูลบทความ