Smartphone War ตอนที่ 12 : Fall of Windows (Mobile)

ในขณะที่ Android กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น ฝั่ง Microsoft ก็ได้เริ่มตระหนักแล้วว่าสถานการณ์ของ Windows Mobile เริ่มจะมีปัญหาครั้งใหญ่ เหล่าผู้บริหารของ Microsoft เริ่มรู้ตัวว่า Windows Mobile นั้นไม่สามารถแข่งขันกับ smartphone รุ่นใหม่ ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น iPhone จอสัมผัส หรือ ระบบปฏิบัติการน้องใหม่อย่าง Android

จึงได้เริ่มมีความคิดที่จะสร้าง แพลตฟอร์ม มือถือใหม่ ที่เป็นจอสัมผัสบ้าง โดยจะใช้ code name ว่า “Windows Phone” ซึ่งจะมีการ Design Interface ของหน้าจอรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “Metro” และหันมาใช้เทคโนโลยีของตัวเองในการสร้างระบบปฏิบัติการใหม่นี้ขึ้นมาแทน

Cingular ที่ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น AT&T กำลัง แย่งชิงตลาดลูกค้าเครือข่ายมือถือ มาจากคู่แข่งอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพวกเขาเดิมพันตัวเองด้วย สัญญา Exclusive กับ iPhone ของ Apple ซึ่งค่ายอื่น ๆ ไม่มีสิทธิ์ในการขายนั่นเอง

แม้จะยังไม่ทิ้ง Windows Mobile เสียทีเดียว แต่ตอนนี้ Microsoft ต้องเริ่มแบ่งกำลังพลให้มาดูแลทั้ง Windows Mobile และ Windows Phone ที่เป็นระบบปฏิบัติการในอนาคตของบริษัท 

ซึ่งทุกคนที่อยู่นอก Microsoft ได้สร้างความคาดหวังไว้ค่อนข้างสูงกับ Microsoft ที่จะผงาดกลับคืนมาต่อสู่กับคู่แข่งหน้าใหม่อย่าง Apple และ Google แต่สถานการณ์ของ Windows Mobile ยิ่งแย่ลงเรื่อย ๆ ส่วนแบ่งการตลาดลดลงอย่างฮวบฮาบ จะแทบจะไม่มีที่ยืนในตลาดมือถือโลก

ในขณะที่ Windows Phone อยู่ในระหว่างการเร่งพัฒนานั้น Microsoft มี Project ที่ชื่อว่า Kin ออกตลาดมาเพื่อขัดตาทัพ ไม่ให้สูญเสียลูกค้าไปยัง Android และ iPhone ที่ตอนนี้ ดึงดูดคนเข้ามาใช้แพลตฟอร์มของพวกเขาเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นการแย่งฐานลูกค้ามาจาก Windows Mobile โดยตรง

Kin ที่เป็น มือถือ ขัดตาทัพ นั้น เป็นแนวคิดของอุปกรณ์ที่ใช้ Cloud Solution แบบเต็มรูปแบบ โดยได้ออกมาในเดือนพฤษภาคม ปี 2010 แต่มันสวนทางกับตลาดในขณะนั้นอย่างชัดเจน เพราะ Kin นั้นไม่มีการติดตั้ง App จากนักพัฒนาภายนอก ไม่มี App Store ไม่มีเกม ซึ่งเป็นตลาดที่กำลังเติบโตอย่างมากในระบบปฏิบัติการ iOS และ Android

และที่สำคัญมันต้องทำงานกับเครือข่าย Verizon ที่เป็นคู่แข่งกับ AT&T เท่านั้น ไม่มีแม้กระทั่ง App ปฏิทิน และไม่สามารถเชื่อกับ Outlook ของ Microsoft เองได้ด้วยซ้ำ มันเหมือนเป็นการเดินถอยหลังของมือถือชัด ๆ เป็นยุทธศาสตร์ที่ผิดพลาดเป็นอย่างมากของ Microsoft

ซึ่งแน่นอนว่า หลังจากวางจำหน่ายได้เพียง ไม่ถึง 2 เดือนนั้น Kin ก็ถึงจุดจบอย่างรวดเร็ว มันเป็นมือถือที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง Kin กลายเป็นอุปกรณ์ที่น่าเบื่อ เพราะแทบจะทำอะไรไม่ได้เลย ไม่มี Features ที่ตลาดต้องการ และ แย่ที่สุดคือเรื่องของ Performance ของเครื่องที่ห่วยแตกสุด ๆ 

Kin ผลิตภัณฑ์ขัดตาทัพที่ล้มเหลวที่สุดครั้งนึงของ Microsoft
Kin ผลิตภัณฑ์ขัดตาทัพที่ล้มเหลวที่สุดครั้งนึงของ Microsoft

ตอนนี้ตลาดมือถือได้แข่งกันในเรื่องความรวดเร็ว ความล่าช้าของ Project Windows Phone ได้ทำให้เหล่านักพัฒนามือถือทั่วโลกย้ายไปพัฒนา App ให้กับ Android และ iPhone กันแทบจะทั้งหมด 

สถานการณ์ในตอนนั้น Microsoft ยังไม่มีผลิตภัณฑ์อะไรที่จะมาแข่งกับ iPhone และ Android Phone ได้เลย ซึ่ง Android กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างทวีคูณ แถมได้เหล่าวิศวกรระดับอัจฉริยะของ Google ที่ทุ่มสุดตัวในการพัฒนา Features ต่าง ๆ ให้ตอบรับกับตลาดมือถือที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

ส่วนทางฝั่ง Nokia นั้น ภายในปี 2010 เริ่มตระหนักถึงภัยคุกคามที่ร้ายแรงของ iPhone และ Android ที่กำลังมากัดกินตลาดของ Nokia มากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนแบ่งของ Nokia ในตลาด smartphone ตกลงอย่างฮวบฮาบ ขณะที่ของ Apple และ Android พุ่งขึ้นอย่างไม่มีทีท่าว่าจะหยุด

จนในที่สุด ประธานบริหาร Nokia อย่าง Olli Pekka Callasvuo ถูกไล่ออกไปในที่สุด มันเป็นการปรับตัวที่ช้ามาก ๆ ของ Nokia ซึ่งแผนธุรกิจที่ดูซับซ้อนเข้าใจยาก และเน้นไปที่การชาร์จค่าบริการต่าง ๆ กับลูกค้า ซึ่งเป็นแนวทางตรงกันข้ามกับสิ่งที่ Apple และ Google ทำ

และคนที่มาแทน Callasvuo คือ Stephen elop ที่เป็นอดีตผู้บริหารระดับสูงของ Microsoft ที่ต้องมาพา Nokia ที่สถานการณ์กำลังแย่ ให้กลับมายืนในตลาดมือถือโลกได้อีกครั้ง

และมันเหมือนเหตุบังเอิญ ที่ ขณะที่ Elop เข้ามาทำงานในฐานะผู้นำของ Nokia ฟากฝั่ง Microsoft ก็พัฒนา Windows Phone เสร็จสิ้นเสียที ตอนนั้นผู้บริหาร Microsoft มั่นใจมากว่า Windows Phone จะเป็นไม้เด็ดในการล้ม iPhone และ Android ได้สำเร็จ

Stephen Elop อดีตผู้บริหาร Microsoft ที่ต้องมาช่วยกูสถานการณ์ของ Nokia
Stephen Elop อดีตผู้บริหาร Microsoft ที่ต้องมาช่วยกูสถานการณ์ของ Nokia

สถานการณ์ในขณะนั้น เหล่าผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือที่มีชื่อเสียง เช่น HTC , Asus , LG ,Samsung ต่างตัดสินใจที่จะมาลุยในตลาด Android เพราะเริ่มหงุดหงิดกับความล่าช้าของ Microsoft และยังขาดความใส่ใจต่อ Windows Mobile ซึ่งกำลังจะถูก Microsoft ลอยแพ เพราะ ยอดขายเริ่มลดลงเรื่อย ๆ และที่สำคัญมันไม่สามารถที่จะมาสู้กับระบบปฏิบัติการใหม่ๆ  อย่าง iOS หรือ Android ได้เลย ซึ่งนั่นได้กลายเป็นจุดจบของ Windows Mobile ไปในที่สุดนั่นเอง

และ Elop นี่เอง ได้เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของ Nokia และ Microsoft กับ Windows Phone อีกครั้ง เพราะทางเลือกตอนนั้นมีไม่มาก Symbian ก็ดูจะไม่รุ่งดูโบราณ เมื่อเทียบกับระบบปฏิบัติการอื่น ส่วนอีกระบบปฏิบัติการที่ Nokia แอบซุ่มพัฒนาอย่าง Meego แต่ก็ดูเหมือนว่า Meego ก็ยังไม่พร้อมจะสู้ศึก จึงยังไม่สามารถเป็นอนาคตของ Nokia ได้ แล้ว จะเกิดอะไรขึ้นต่อกับศึก smartphone ครั้งนี้ โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 13 : Trojan Horse

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 Phone & Microsoft *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Smartphone War ตอนที่ 10 : The Loser

ความปรารถนาของ Apple ที่ต้องการควบคุมทุกอย่างมันได้เริ่มเห็นผลในตลาด smartphone Apple ต้องการควบคุมทั้งตลาดแอพ ต้องการยอดขาย และป้องกันไม่ให้ใครมาตัดสินใจว่า iPhone ควรมีรูปลักษณ์อย่างไร 

สิ่งสำคัญอีกประการคือ ตอนนี้ เหล่านักพัฒนาเริ่มได้กลิ่นเงินจากตลาดที่จะใหญ่โตมหาศาลของ Apple มันได้ทำให้นักพัฒนาไหลมากองรวมกันเพื่อพัฒนา App บน iPhone และมันส่งผลโดยตรงต่อยอดขาย iPhone ทันที

เพราะหลังจากเปิดตัว iTunes App Store นั้นยอดขาย iPhone ก็พุ่งขึ้นไป 4 เท่าเป็น 20.25 ล้านเครื่อง และมันได้ผลักดันให้ตลาด smartphone เติบโตขึ้นร้อยละ 20 คนทั่วไปเริ่มหันมาสนใจ smartphone จากเดิมที่มีแต่ผู้ใช้งานเฉพาะกลุ่มเท่านั้น

ซึ่งตอนนี้ คนไม่ได้ซื้อ smartphone เพื่อมาใช้ email กับ ท่องเว๊บอีกต่อไป ตอนนี้ smartphone กำลังจะทำได้ทุกอย่าง เพราะมีเหล่านักพัฒนามากมายที่พร้อมจะมาให้บริการกับลูกค้าที่ต้องการ App ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เกม โปรแกรมจัดการเอกสาร โปรแกรมบัญชี แผนที่ หรือ โปรแกรมจองร้านอาหาร เป็นต้น ทุกอย่างมันสามารถสร้างได้หมดโดย Ecosystem ของ Apple และเหล่านักพัฒนาก็พร้อมจะทำมันอย่างเต็มที่นั่นเอง

การเกิดขึ้นของ iTunes App Store ทำให้คนเริ่มหันมาสนใจ smartphone ขึ้นเป็นวงกว้าง
การเกิดขึ้นของ iTunes App Store ทำให้คนเริ่มหันมาสนใจ smartphone ขึ้นเป็นวงกว้าง

และเมื่อตัวเลขผลกระกอบการต่าง ๆ มันได้เริ่มเปิดเผยออกมาสู่สาธารณะ มันได้เริ่มเห็น Trend ที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนของวงการมือถือโลก ต้นปี 2008 iPhone ได้เริ่มที่จะคว้าส่วนแบ่งของกำไรจำนวนมหาศาลในตลาด smartphone ไปครอบครองอย่างรวดเร็ว

แม้ดูเหมือนว่ายอดขายของ iPhone นั้นจะไม่มากนัก ซึ่งมันทำให้ Microsoft หรือ Nokia ยังไม่ระแคะระคายซักเท่าไหร่ มันเป็นการเข้ามาโกยตลาด Hi-End User ของ Apple ซึ่งตลาดนี้ ลูกค้าพร้อมที่จะเปย์หนักเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดที่พวกเขาต้องการ

และแน่นอนว่า มันเป็นตลาดที่มีกำไรสูง แม้ตัวส่วนแบ่งการตลาดของ Apple จะยังไม่มากนัก แต่กำไรต่อเครื่องของ Apple นั้นสูงมาก และสูงกว่าใครเพื่อนในตลาดมือถือ smartphone ซึ่งลูกค้าของ Apple นั้นพร้อมที่จะจ่ายสูงถึง 600 ดอลลาร์ เพื่อครอบครอง iPhone แต่ละเครื่อง

Nokia จึงไม่ได้เพียงบริษัทเดียวที่โดนผลกระทบดังกล่าว มันได้กลายเป็นผลกระทบไปยังวงกว้าง แม้แต่ Sony Ericsson หรือ Motorola ที่เป็นผู้ผลิตมือถือรายใหญ่นอกทวีปเอเชีย ก็ได้พบกับความจริงที่ว่า iPhone ได้เข้ามาแย่งส่วนกำไรของตลาดของพวกเขาไป และสถานะของบริษัทเหล่านี้ ก็เริ่มสั่นคลอนทันที

แค่เพียงเปิดตัวปีแรกของ iPhone ในปี 2007 นั้น Sony Ericsson เปลี่ยนจากบริษัทที่ทำกำไรได้ตลอดมา พลิกกลับมาขาดทุนได้ทันที และราคาขายโดยเฉลี่ยของโทรศัพท์มือถือ เริ่มพังทลายลง เงิดสดเริ่มไหลออกไปเรื่อย ๆ กำไรและยอดขายเริ่มลดลง

เนื่องจากวงจรการขายของธุรกิจมือถือนั้น เป็นวงจรที่สั้นมาก มันส่งกระทบไปในวงกว้าง ผู้จัดจำหน่ายนั้นก็พร้อมจะเลิกการขายสินค้าที่ดูเหมือนเป็นสินค้ามีตำหนิ เพราะตกรุ่นเร็ว และหายไปจากสายตาของผู้บริโภคอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน

Sony และ Ericsson ที่เป็นบริษัทร่วมทุนกันนั้น ต้องเทเงินเข้ามาเพื่อรักษาสภาพคล่องของบริษัท และมีการปรับโครงสร้างองค์กร ปลดพนักงานออกไปกว่าหลายพันคน ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2011 บริษัทมีการขาดทุนสะสมในช่วง ตั้งแต่ iPhone เริ่มออกจำหน่าย เป็นเงินถึง 169 ล้านปอนด์ 

สถานการณ์ของ Sony Ericsson ดูจะเลวร้ายกว่าใครเพื่อนหลังการเปิดตัวของ iPhone
สถานการณ์ของ Sony Ericsson ดูจะเลวร้ายกว่าใครเพื่อนหลังการเปิดตัวของ iPhone

Palm ก็อยู่ในสถานะไม่ต่างกัน เมื่อ iPhone เข้ามาทำตลาด มันก็ได้ถึงจุดจบของ Palm มีการขาดทุนต่อเนื่องหลายไตรมาสติดต่อกัน หลังการเปิดตัวของ iPhone บริษัทต้องปลดพนักงานออกไปเป็นจำนวนมากเพื่อรักษาสภาพคล่องของบริษัทเช่นเดียวกับเหยื่อรายอื่น ๆ 

ส่วน Microsoft บอลเมอร์ ก็เจอปัญหาที่เกิดขึ้นในแผนกโทรศัพท์มือถือ บริษัทเดนเจอร์ที่ Microsoft เพิ่ง Take Over มานั้น กลายมาเป็นปัญหาที่สำคัญ มันเป็นการรวมกันของสองบริษัทที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม บริษัทเดนเจอร์นั้น ถนัดด้าน Hardware ส่วน Microsoft เกิดมากับ Software ทำให้การทำงานผสานกันนั้นทำได้ยากมาก ๆ และเป็นอุปสรรค์ที่สำคัญของ Microsoft ในการเดินหน้าในตลาดมือถือ smartphone

ความแตกต่างในองค์กรที่รุ่นแรง ได้เป็นตัวบ่อนทำลาย Microsoft ไปเอง มันเป็นปัญหาภายใน ไม่เพียงแค่ iPhone เท่านั้นที่มาเปลี่ยนธุรกิจโทรศัพท์มือถือ แต่ Microsoft ก็เจอปัญหาของตัวเองที่ทำให้ไม่สามารถก้าวต่อไปได้ในเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อเช่นนี้

Apple นั้นไม่เหมือนใคร Apple สร้างสิ่งที่พวกเขารักขึ้นมา และทำนายในสิ่งที่ผู้บริโภคอยากได้มันจริง ๆ ส่วน Microsoft นั้น แม้จะมีแนวคิดในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ทุกคนรัก และไปทำการสำรวจตลาด พอคนไม่ชอบตรงไหน Microsoft ก็เปลี่ยนตามที่พวกเขาชอบกัน แต่สุดท้ายก็จบลงที่ผลิตภัณฑ์ที่ไร้ซึ่งอารมณ์ร่วมกับผู้บริโภค แม้ทุกคนยอมรับก็จริง แต่ไม่มีใครรักผลิตภัณฑ์ของ Microsoft จริง เหมือนกับที่รักผลิตภัณฑ์ของ Apple นั่นเองครับ

–> อ่านตอนที่ 11 : The Rise of Android

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 Phone & Microsoft *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Smartphone War ตอนที่ 9 : Free for All

หลังจากการเปิดตัวอย่างสวยงามของ iPhone ในต้นปี 2007 Google จึงได้เริ่มเห็นสัญญาณอะไรบางอย่างของวงการโทรศัพท์มือถือโลก ว่าโลกของมือถือในอนาคตนั้นจะขับเคลื่อนไปในรูปแบบมือถือจอสัมผัส อย่างที่ iPhone สร้างขึ้นมาอย่างแน่นอน

มันเป็นการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจที่ชาญฉลาดที่สุดครั้งนึงในการเปลี่ยน Android จากเดิมนั้นต้องมีคีย์บอร์ด QWERTY แบบเดียวกับที่ Blackberry ทำ ให้กลายร่างมาเป็นมือถือแบบจอสัมผัสอย่างที่ Apple ทำกับ iPhone

และ Google ก็เริ่มลุยทันที ไม่ปล่อยให้ช้าเกินไป โดยในปี 2007 google ได้เปิดตัว OHA (Open Hanset Alliance) โดย Google จะเสนอตัวในการสร้างระบบปฏิบัติการมือถือให้ฟรี สำหรับผู้ผลิตมือถือรายใหญ่ ๆ ทุกราย

ซึ่งแน่นอนการได้ของฟรีแบบนี้ ใครจะไม่ชอบล่ะ เพราะบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านมือถือจากทั่วโลกต่างตบเท้าเข้าร่วมกับ Google ใน OHA ไม่ว่าจะเป็น HTC , Motorola , T-Mobile , หรือ Qualcom 

และที่สำคัญ เครือข่ายโทรศัพท์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง China Mobile นั้นก็ตอบรับในข้อเสนอดังกล่าวของ Google เพราะมองว่า จีนจะกลายเป็นตลาดใหญ่ของ smartphone ในอนาคตได้อย่างแน่นอน ด้วยการที่จีนเติบโตอย่างรวดเร็วและจำนวนชนชั้นกลางเริ่มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะนั้น การใช้ระบบปฏิบัติการที่ฟรีอย่างที่ Google เสนอนั้น จะเป็นประโยชน์อย่างมากกับประเทศจีน

OHA แนวร่วมที่สำคัญจากทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องในตลาดโทรศัพท์มือถือ
OHA แนวร่วมที่สำคัญจากทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องในตลาดโทรศัพท์มือถือ

ซึ่งแนวคิดหลักของ OHA นั้น Google จะเป็นแกนหลักของทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการค้นหา รวมถึงบริการต่าง ๆ ของ Google ที่จะติดมากับระบบปฏิบัติการใหม่ตัวนี้ โดยระบบจะเปิดให้มากที่สุด ซึ่งผู้ผลิตสามารถเข้าถึง Sourcecode ของระบบปฏิบัติการได้ ซึ่งสวนทางกับสิ่งที่ Apple กับ Microsoft ทำ ที่ปกป้อง Sourcecode ดังไข่ในหิน

แน่นอนว่าสิ่งนี้มันไม่ดีต่อทั้ง Apple และ Microsoft อย่างแน่นอน Google ได้พยายามทำสิ่งที่  Microsoft ทำในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แต่ ตอนนี้พวกเขากำลังทำทุกอย่างแบบฟรี ให้เหล่าผู้ผลิตมือถือเอาไปใช้ได้อย่างสบายใจ เพียงแค่ต้องมีบริการของ Google ติดตั้งค่ามาตั้งแต่โรงงานเท่านั้น

และที่สำคัญเหล่าผู้ผลิตมือถือเริ่มที่จะระแวง Microsoft ขึ้นเรื่อย ๆ เพราะกลัวจะซ้ำรอยเดิมกับตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สุดท้าย คนที่รวยจริง ๆ ก็คือ Microsoft 

และท่ามกลางความไม่ไว้วางใจนี้เองที่ Android ได้แทรกตัวเข้ามา ทำให้รูปแบบของโมเดลธุกริจของ Google นั้นน่าสนใจขึ้นมาทันทีสำหรับเหล่าบริษัทผู้ผลิตมือถือทั่วโลก เพื่อสร้างความแตกต่างกับตลาด Google ได้แปลงสิ่งที่ Microsoft เก็บค่าบริการ มาเปิดให้บริการฟรี

แม้ในขณะนั้น Microsoft ยังดูมั่นใจในตลาดมือถือของตัวเองเป็นอย่างมาก โดยปี 2008 ในงาน Mobile World Congress ที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศ สเปน Microsoft ยังแถลงตัวเลขของ Windows Mobile ที่ดูสวยหรู

โดย สามารถขายสิทธิ์การใช้งาน Windows Mobile ไปได้กว่า 14.3 ล้านชุด ซึ่งในขณะนั้น ทำให้ Microsoft กลายเป็นผู้นำในตลาด Smartphone แซงหน้าทั้ง RIM ที่ผลิต Blackberry และ ไม่ต้องพูดถึง iPhone ที่เพิ่งตั้งไข่ในตลาดโทรศัพท์มือถือ

แต่เหมือน Microsoft นั้นย่ามใจในตลาดโทรศัพท์มือถือ โดยได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารชุดใหม่เกือบทั้งหมด และเป็นจุดสำคัญที่ทำให้เหล่าผู้ผลิตโทรศัพท์ เริ่มรู้สึกว่า Microsoft นั้นยังขาดทิศทางที่ไม่ชัดเจน

และไม่ใช่การเกิดขึ้นของ iPhone แต่เป็นการมาถึงของ Android ของ Google ต่างหากที่เป็นตัวเร่งในการกำจัด Windows Mobile ออกไปจากตลาด Google ทำให้ Microsoft เหนื่อยอีกครั้ง เพราะจะสู้กับของฟรีของ Google ได้อย่างไร

แม้ปีที่รุ่งของ Windows Mobile ตั้งแต่เดือน กรกฏาคมปี 2007 ถึง มิถุนายน ปี 2008 Apple ขาย iPhone ได้ 5.41 ล้านเครื่อง และในปีต่อมาในช่วงเวลาเดียวกัน Apple สามารถจำหน่าย iPhone ไปได้ถึง 20.25 ล้านเครื่อง ซึ่งมันได้ถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญแล้ว ที่สามารถขายได้มากกว่าลิขสิทธิ์ของ Windows Mobile ถึง 2 ล้านหน่วย

สตีฟ บอลเมอร์ ยังดูมั่นใจในตลาด Windows Mobile แทบจะไม่ระแคะระคายสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น
สตีฟ บอลเมอร์ ยังดูมั่นใจในตลาด Windows Mobile แทบจะไม่ระแคะระคายสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น

บรรดาสื่อ รวมถึง นักวิเคราะห์ตามสำนักข่าวใหญ่ ๆ เริ่มสังเกตเห็นปรากฏการณ์ เพราะพวกเค้าสามารถดูจากสถิติการเข้ามาเยี่ยมชมเว๊บไซต์ของสำนักข่าวใหญ่ ๆ เหล่านี้ได้ว่ามาจากอุปกรณ์ใด 

ซึ่งแน่นอนว่าคนที่เป็นสาวก iPhone นั้นเป็นพวกชอบใช้เว๊บไซต์บนมือถือมาก เพราะมันได้ให้ประสบการณ์ที่แตกต่างจาก Smartphone อื่น ๆ ที่เคยมีมาอย่างชัดเจน และยุคของ อินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ มันได้เริ่มต้นแล้วอย่างแท้จริง

และข้อตกลงครั้งสำคัญที่ให้ Google เป็น Search Engine เริ่มต้นใน Browser Safari ของ Apple ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ที่ชาญฉลาดอีกครั้ง เพราะตอนนั้นโลกของ Mobile กับ อินเทอร์เน็ตได้เปลี่ยนไปแล้ว

มันได้ถูกขับเคลื่อนใหม่ด้วย มือถือแบบจอสัมผัส แบบที่ iPhone ทำแล้วนั่นเอง ซึ่งผู้ใช้งานเข้าสู่โปรแกรมการค้นหาผ่าน iPhone โดย Safari มากกกว่าอุปกรณ์ใด ๆ อย่างชัดเจนขึ้นหลังเทศกาลคริสต์มาสปี 2007

ซึ่งข้อมูลส่วนนี้เป็นข้อมูลที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่ยืนยันถึงโลกธุรกิจมือถือยุคใหม่ ได้เปลี่ยนไปแล้ว และดูเหมือน Microsoft แทบจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ ว่ามันกำลังจะเปลี่ยนไปตลอดกาล และข้อมูลที่ google ได้เห็นนั้น มันได้ทำให้โครงการ Android ของ Google ที่นำโดย Andy Rubin สำคัญกับ Google มากขึ้นนั่นเองครับ จะเกิดอะไรขึ้นต่อกับยักษ์ใหญ่ทั้งสามในธุรกิจมือถือ โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 10 : The Loser

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 Phone & Microsoft *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Smartphone War ตอนที่ 4 : Turning point

หลังจากความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงกับ ROKR ที่ทาง Apple ได้ร่วมมือกับ Motorola เพื่อหวังจะเป็นบันไดสำคัญในการก้าวเข้าสู่ธุรกิจมือถือของ Apple ซึ่งแน่นอนว่ามันทำให้ จ๊อบส์ นั้นโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง แทบจะไม่อยากเอ่ยถึงในเรื่องดังกล่าวเลยเสียด้วยซ้ำ

แต่การทดลองครั้งนี้ของ จ๊อบส์ และ Apple มันก็ไม่ได้เสียเปล่าไปเลยเสียทีเดียว เพราะมันทำให้ปลุกไฟของ จ๊อบส์ ให้มีความอยากที่จะสร้างมือถือที่จะปฏิวัติวงการไปแบบสิ้นเชิง มันได้ปลุกไฟของจ๊อบส์ ให้กลับมาลุกโชติช่วงอีกครั้งหลังจากได้ปฏิวัติวงการเพลงสำเร็จไปแล้วด้วย iPod

และแน่นอนว่า จ๊อบส์ ต้องการจับมือกับ Cingular เครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาอีกครั้ง แต่เขารับประกันว่าครั้งนี้จะไม่เลวร้ายเหมือนที่ได้ร่วมผลิต ROKR กับ Motorola อย่างแน่นอน

ซึ่งในขณะนั้น มือถือ ไม่ได้เป็นเป้าหมายแรกของจ๊อบส์ ที่จะปล่อยออกสู่ตลาด แต่มันคือ Tablet ที่ทีมงานของพวกเขากำลังสร้างอยู่ต่างหาก โดยตอนนั้น Apple กำลังพัฒนา Tablet แบบจอสัมผัส จ๊อบส์ จึงสั่งการให้ลูกทีมเปลี่ยนทิศทางของผลิตภัณฑ์มาที่มือถือทันที

แต่การสร้างมือถือตั้งแต่ศูนย์ นั้นมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับบริษัทที่สร้างคอมพิวเตอร์อย่าง Apple แม้กระทั่ง Palm เองก็ต้องดิ้นรนอย่างหนักกว่าจะประสบความสำเร็จในตลาด smartphone แต่มันก็กลายเป็นความสำเร็จเพียงชั่วครู่เท่านั้นสำหรับ Palm เพราะคู่แข่งรายใหญ่ที่น่ากลัวที่สุดมันกำลังจะเกิดขึ้น

อีกบริษัทหนึ่งที่กำลังสร้างผลงานในตลาดมือถือ ที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ บริษัท รีเสิร์ช อิน โมชั่น (Research in Motion หรือ RIM) เป็นบริษัทจากแคนาดา ซึ่งเป็นผู้พัฒนาอุปกรณ์ไร้สายที่มีจุดเด่นในการ “ส่งอีเมล” ถึงมือถือผู้ใช้ ทุกที่ ทุกเวลา โดยรู้จักกันในชื่อว่า “แบล็กเบอร์รี่ (Blackberry)”

ระยะแรกเมื่อปี 2001 “แบล็กเบอร์รี่” เป็นเพียงเพจเจอร์ (Pager) ขนาดเล็ก ที่ผู้ใช้แต่ละคนสามารถพิมพ์ข้อความรับ-ส่งหากันได้เอง โดยมีหน้าจอขาวดำ และ แผงปุ่มกดเหมือนแป้นพิมพ์ของคอมพิวเตอร์

และ Blackberry นี่เองที่ได้กลายเป็น smartphone ที่มีประโยชน์อย่างแท้จริงเครื่องแรก ๆ ของโลก เพราะมีทั้ง email รวมถึงสามารถเชื่อมต่อได้อย่างง่ายได้เมื่อเดินทางไปไหนมาไหน และจุดเด่นที่คนหลงรักก็คือ แป้นพิมพ์ QWERTY 

และรูปแบบการเข้ารหัสของข้อความที่ส่งผ่านกันในเครือข่าย Blackberry นั้น ทำให้เหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่ โดยเฉพาะด้านการเงิน นั้นมั่นใจที่จะใช้งาน เพราะข้อมูลที่มีมูลค่ามหาศาลของเหล่านักการเงินในบริษัทนั้นจะไม่ถูกขโมยออกไปอย่างแน่นอน

Blackberry ที่เน้นด้านความปลอดภัยของข้อมูล
Blackberry ที่เน้นด้านความปลอดภัยของข้อมูล

และทุกส่วนต่าง  ๆ ดังที่กล่าวนี้เองที่ทำให้ในปี 2006 RIM สามารถสร้างรายได้มากกว่า 835 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่ารายรับของ Palm ถึง 2 เท่า และมีกำไรสูงถึง 176 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่ากำไรของ Palm กว่า 10 เท่า สามารถจำหน่ายเครื่อง Blackberry ออกไปได้กว่า 1.8 ล้านเครื่องเลยทีเดียว

ส่วนฟากฝั่ง Microsoft นั้น ก็ดูเหมือนจะเป็นยักษ์ใหญ่ที่ตายใจ ตอนนั้น Microsoft ได้เข้ามาสู่ธุรกิจมือถือมาหลายปีแล้ว และ หลังจากการร่วมกับ Palm ก็หวังจะช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น 

ซึ่ง Microsoft นั้นใช้ Model เดียวกับธุรกิจระบบปฏิบัติการ Windows บน PC ก็คือ การขายสิทธิการใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows Mobile นั่นเอง โดยไม่ได้ลงไปเล่นในตลาด Hardware เหมือนเจ้าอื่น ๆ ที่ทำกัน โดยเน้นทำส่วนที่ตัวเองถนัดอย่าง Software มากกว่า

โดยในปี 2006 นั้น Microsoft สามารถขายสิทธิ์การใช้งาน Windows Mobile ไปยังผู้ผลิตมือถือ Brand ต่าง ๆ ได้ถึง 5.9 ล้านชุด  และหลังจากนั้นอีก 1 ปีให้หลัง สามารถทำยอดขายเพิ่มขึ้นได้เป็นสองเท่า โดยสามารถขายได้ 11 ล้านชุด และมันเป็นช่วงขาขึ้นอย่างชัดเจนสำหรับ Microsoft ในตลาดมือถือโลก

และในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เอง ถ้าพูดถึงระบบปฏิบัติการที่ใช้งานง่ายที่สุด ก็คงเป็น Windows Mobile ของ Microsoft เพราะมีการออกแบบมาตั้งแต่ต้นให้มาจัดการรูปแบบ email ของ Microsoft รวมถึงการท่องเว๊บ การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และแน่นอนว่า Microsoft ต้องการเข้ามาผูกขาดตลาดมือถือให้ได้อีกครั้งหลังจากทำสำเร็จมาแล้วกับ Windows บน PC นั่นเอง

อนาคตของ Windows Mobile ที่ค่อนข้างสดใสมาก ๆ
อนาคตของ Windows Mobile ที่ค่อนข้างสดใสมาก ๆ

ส่วนฟากฝั่งของ Google หลังจากได้ Android ของ Rubin ตอนนี้ Google ก็พร้อมแล้วเช่นเดียวกันสำหรับการกระโจนเข้าสู่ตลาดโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะกลายเป็นอนาคตของอินเตอร์เน็ต Google ก็หวังจะกลายเป็นโปรแกรมการค้นหาอันดับ 1 บนมือถือให้ได้เหมือนกับที่เขาทำได้ผ่านเว๊บไซต์บน PC

จากตอนนี้ เราจะเห็นได้ว่า ช่วงปี 2006-2007 ถือเป็นรอยต่อครั้งสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจมือถือโลก ผู้ที่ดูเหมือนได้เปรียบที่สุด ที่จะกลายเป็นเจ้าตลาดมือถือ ควรจะเป็น Microsoft เพราะตอนนั้น พร้อมทุกอย่าง ทั้งระบบปฏิบัติการ บริการ email ที่อยู่เบื้องหลัง รวมถึงได้จับมือกับ Palm เพื่อช่วยเหลือด้าน Hardware อีกด้วย

รวมถึงเหล่าพัฒนาในขณะนั้น ก็เริ่มเทใจมาที่ Microsoft เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เรียกได้ว่าทุกอย่างพร้อมไปเสียหมดสำหรับ Microsoft อีกเพียงนิดเดียวก็จะถึงเส้นชัยในการกินรวบตลาดแบบที่พวกเขาทำได้บน PC เสียแล้ว

แล้วจุดเปลี่ยนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ธุรกิจมือถือ ในปี 2007 ซึ่งเรียกได้ว่ามันเป็นการเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์ ก่อนยุค 2007 ไปอย่างสิ้นเชิง อุปกรณ์ที่เป็นนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตั้งแต่โลกเราก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนบริษัท Apple ที่แทบจะไม่ติดอันดับในบริษัทยักษ์ใหญ่ Fortune 500 เสียด้วยซ้ำ ในขณะนั้น ให้ก้าวมาสู่บริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกอย่างที่เราเห็นได้อย่างไร โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 5 : That’s iPhone

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 : Phone & Microsoft *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Smartphone War ตอนที่ 1 : Phone & Microsoft

Nokia ถือเป็นผู้บุกเบิกตัวจริงของแนวความคิดเกี่ยวกับ Smartphone ซึ่งคือการสร้างโทรศัพท์มือถือ ที่ทำได้มากกว่าแค่การโทรศัพท์ ซึ่ง แน่นอนว่าต้องทำงานได้เหมือนกับคอมพิวเตอร์แบบมือถือ ที่สามารถทำงานด้วยโปรแกรมของตัวเองได้ และใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด เนื่องจากต้องมีการพกพาอยู่ตลอดเวลา

Nokia ได้เริ่มสร้าง ระบบปฏิบัติการของตัวเอง และ สามารถทำให้ มือถือสามารถท่องเว๊บ และจัดการ Email สำหรับเหล่านักธุรกิจได้ ซึ่ง Nokia ได้ผลิตรุ่นแรกที่เป็น Smartphone ออกมาจริง  ๆ ก็คือรุ่น Nokia Communicator ที่ปล่อยออกมาในช่วงปี 1996 และเพียงแค่ปีเดียวเท่านั้น เนื่องจากยังไม่มีใครเข้ามาแข่งขันในตลาดนี้ ถือว่าเป็นตลาดใหม่ที่ใน ปี 1997 Nokia สามารถขาย Smartphone ไปได้กว่า 80 ล้านเครื่องทั่วโลก เพียงแค่ปีแรกที่ได้ผลิต Smartphone ออกมาเท่านั้น

Nokia Communicator กับการเป็น Smartphone เครื่องแรกของโลก
Nokia Communicator กับการเป็น Smartphone เครื่องแรกของโลก

และเพียงไม่นาน Nokia ก็เจอคู่แข่งรายแรก ซึ่งก็คือ Palm ซึ่งเริ่มต้นจากการผลิตคอมพิวเตอร์มือถือก่อน แล้วค่อยทำการใส่ฟังก์ชั่นของการโทรศัพท์เข้าไป ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นคนละแบบกับ Nokia อย่างสิ้นเชิงเลยก็ว่าได้

แต่ปัญหาใหญ่ของ Plam ก็คือ การมีระบบปฏิบัติการที่ค่อนข้างล้าสมัยมาก ส่วนใหญ่จะทำงานได้ดีกับ PDA ที่ไม่มีฟังก์ชั่นการโทรศัพท์มากกว่า เพราะ Palm ถนัดในเรื่องนี้มากกว่านั่นเอง ซึ่งทำให้ ปี 2004 ผู้บริหารของ Palm เริ่มคิดถึงอนาคตว่า Palm คงก้าวต่อไปข้างหน้าไม่ได้ ต้องมีการหา Partner โดยด่วน

ซึ่ง Palm นั้นได้สร้างแนวคิดแรกของเครื่อง PDA ที่เปรียบเสมือคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กมากกว่า และด้วยการที่ตลาดของ PDA ที่เริ่มหดตัวลงเรื่อย ๆ โทรศัพท์มือถือต่างเริ่มใส่ Features ต่าง ๆ เช่น ปฏิทิน และ แม้แต่การเช็ค Email เข้าไป มันทำให้อนาคตของ PDA นั้นเริ่มมืดมนลงไปทุกทีด้วยนั่นเอง

Palm ที่ในขณะนั้น สร้าง PDA ออกมาขายดิบขายดี
Palm ที่ในขณะนั้น สร้าง PDA ออกมาขายดิบขายดี

และนี่เองก็เป็นที่มาของการเข้ามาร่วมมือกันระหว่าง Palm และ Microsoft ในปี 2005 ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft นั้นการได้ Palm เข้ามาร่วมมือ ถือเป็นหลักชัยครั้งยิ่งใหญ่ของบริษัท ในการที่จะเป็นผู้กำชัยในตลาดมือถือนั่นเอง

ซึ่ง Microsoft ได้มีการออกระบบปฏิบัติการ Windows Mobile มาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ถือว่ายังไม่สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจาก Microsoft นั้นไม่ถนัดได้ตลาดมือถือ หรือ อุปกรณ์พกพา เพราะตัว Windows หลักเองก็ใช้งานกับ PC ที่มีประสิทธิภาพสูงซะเป็นส่วนใหญ่นั่นเอง

ซึ่งการร่วมมือกันครั้งนี้ Palm ได้รับการอนุญาติให้มีการปรับแต่ง Interface กับ Features บางอย่างของ Windows Mobile ได้ เช่น การไม่ต้องรับสายที่เข้ามาแทนการส่งข้อความไปหาคนที่โทรเข้า หรือ ฟังก์ชั่นในการจัดการ Voicemail ให้ง่ายขึ้นเป็นต้น

ซึ่งเหล่าผู้บริหารของ Palm นั้นหันมา Focus ใหม่กับ Windows Mobile ของ Microsoft แทนการพัฒนาระบบปฏิบัติการด้วยตัวเองเหมือนเดิม รวมถึง ไม่สนใจที่จะใช้ระบบปฏิบัติการ Symbian ที่เป็น Open Source แต่มี Nokia เป็นพี่ใหญ่ในการหนุนหลังอยู่

ซึ่งแน่นอน ถือว่าเป็นการเดินเกมที่ถูกต้องอย่างยิ่งสำหรับทั้ง Palm และ Microsoft ในการร่วมมือกันครั้งนี้ เพราะเป็นการผสมผสานที่ลงตัวระหว่างความถนัดของทั้งสอง เพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการ รวมถึง Features ที่ให้ประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน Windows Mobile นั่นเอง

ซึ่งในขณะนั้น ถือเป็นยุครุ่งเรืองสุดขีดของความร่วมมือระหว่างทั้งสอง เพราะ ระบบปฏิบัติการ Windows Mobile กลายเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว และ เหล่านักธุรกิจต่าง ๆ นั้นก็เลือกใช้ Windows Mobile เสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแตกต่างจากผู้ใช้งานทั่วไปที่จะใช้ มือถือของ Nokia 

และที่สำคัญที่สุดก็คือ Ecosystem ของ Windows Mobile นั้นกำลังแจ้งเกิดอย่างสวยงาม เพราะมีเหล่านักพัฒนา Software บนมือถือ มากกว่า 10,000 รายที่กำลังร่วมกันเขียน Application ที่จะใช้กับ Windows Mobile ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้สำหรับระบบปฏิบัติการมือถือที่จะแจ้งเกิดได้ เหมือนกับที่เราเห็นกับ iOS หรือ Android ในปัจจุบัน ที่เมื่อสามารถจูงใจนักพัฒนาได้นั้น ก็สามารถทำให้ ผู้คนหันมาใช้งาน เพราะคนส่วนใหญ่เลือกใช้งานตาม Application ที่มีในระบบปฏิบัติการเป็นหลักนั่นเอง

ซึ่ง ณ ปี 2006 Microsoft Windows Mobile นั้นถือได้ว่าอยู่จุดสูงสุดของ Ecosystem ของ ระบบปฏิบัติการมือถือ กำลังที่จะกลายเป็นระบบปฏิบัติการมือถือ ที่คนใช้งานทั่วโลกได้ เหมือนที่ Microsoft สามารถทำได้กับ Windows on PC ซึ่งตอนนั้น ถือได้ว่าได้นำหน้าทั้ง Symbian ของ Nokia หรือน้องใหม่อย่าง RIM ผู้ผลิต Blackberry จากแคนาดา

แล้วมันเกิดอะไรขึ้น Microsoft ที่ควรจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในระบบปฏบัติการของ Smartphone ทั่วโลก และในตอนนั้นมี Partner ที่สำคัญอย่าง Palm เข้ามาเสริมทัพ กลับกลายเป็น ต้อง สูญหายไปจากระบบปฏิบัติการมือถือโลกอย่างที่เราได้เห็นในทุกวันนี้ โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 2 : Android & Google