Geek China EP29 : Baidu Other Investments

• นอกเหนือจากธุรกิจ search engine, digital map, cloud, O2O, fintech, anti-virus ที่ได้เล่าไปใน EP 24-27 แล้ว ไป่ตู้ยังเริ่มมีการลงทุนขยายการลงทุนในด้านธุรกิจอื่น

• เมื่อ M&A สำเร็จ Baidu ก็จะกลายเป็นผู้นำในตลาด OTAในประเทศจีน และดีลนี้ก็สำเร็จในช่วงตุลาคม 2015 เมื่อไป่ตู้ swap หุ้นกับ Ctrip ก็จะถือประมาณ 19% share ใน Ctrip

• Ctrip เป็น OTA ที่ใหญ่ที่สุดในจีน มีรายได้มาจาก 3 ส่วนคือ การจองโรงแรม การจองตั๋วและการท่องเที่ยว ถึงแม้ qunar จะเก็บสะสม business resources มาหลายปี แต่ก็ไม่สามารถ เอาชนะ Ctrip ได้อย่างง่าย โดยเฉพาะในกลุ่มsegmentระดับบน

• ดังนั้นถ้าไป่ตู้รวม Ctrip กับ Qunar ได้ Baidu จะควบคุมตลาด OTAในจีนได้เกือบทั้งหมด ดังนั้นจากคู่แข่งระหว่าง Ctrip และ Qunar ก็มาจับมือกับกลายเป็นพันธมิตร ตอนนี้ ตลาด OTA เปลี่ยนการต่อสู่ระหว่างTencent, Alibaba และ Baidu

• นอกจากต้องการชนะ ในตลาด OTA แล้ว ปลายปี 2014 Baidu ก็ประกาศข่าวใหญ่ในด้านการลงทุนคือ ได้ลงทุนใน Uber กว่า 600 ล้าน USD โดยการแลกกับการถือหุ้นเป็นส่วนน้อย (minority stake) เพื่อที่จะต่อสู้กับ Tencent และ Alibaba ในตลาด ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเรียกจองรถยนต์

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/2XdFZO0

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/Eo7tefFCtYU

ทำไมยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley ถึงได้ล้มเหลวในดินแดนมังกร

ในฐานะบริการชั้นนำจากอเมริกา หรือ ทั่วโลก บริการอย่าง eBay, Google , Uber , Airbnb , Amazon ทุกบริษัทล้วนแล้วแต่มีความพยายามในการเอาชนะตลาดในประเทศจีน

แม้นักวิเคราะห์หลาย ๆ รายได้พยายามสรุปความล้มเหลวของบริการจาก Silicon Vallley เหล่านี้ว่ามาจากการควบคุมของรัฐบาลจีน

แต่ ไค ฟู ลี อดีตผู้บริหารระดับสูงของทั้ง Microsoft และ Google ทั้งในอเมริกาและประเทศจีนกลับมองต่างออกไป

เขามองว่าการที่บริษัทจากอเมริกันนั้น พยายามทำทุกอย่างในประเทศจีน เหมือนตลาดอื่น ๆ ที่พวกเขาครอบครองได้ทั่วโลก นั่นคือข้อผิดพลาดที่สำคัญที่สุด

การที่บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ ไม่ลงทุนในทรัพยากร หรือให้ความยืดหยุ่นกับทีมงานในประเทศจีน ที่จำเป็นอย่างมากในการแข่งขันกับบริการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศจีนเอง เพื่อปรับบริการต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมชาวจีนนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่บริการเหล่านี้ ไม่สามารถสู้กับบริการท้องถิ่นในประเทศจีนได้

ไค ฟู ลี ได้กล่าวว่า ในบางบริการนั้น อาจจะต้องเริ่มต้นกันใหม่ตั้งแต่ต้น เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดจีน การทำเพียงแค่ แปลเป็นภาษาจีน แล้วใช้ทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนกับในอเมริกานั้น ทำให้ทีมงานที่อยู่ในพื้นที่รู้สึกถึงความไม่ใส่ใจที่แท้จริง

ความแตกต่างที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ บริษัทยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley ได้สูญเสียทรัพยากรบุคคลที่เก่งกาจในประเทศจีนไปเป็นจำนวนมากเนื่องจากปัญหาข้างต้น เหล่าบริษัท สตาร์ทอัพของจีน รวมถึงคนหนุ่มสาวที่มีความทะเยอทะยานที่สุดส่วนใหญ่นั้นมักเลือกที่จะเข้าร่วมกับบริษัทในท้องถิ่น

เพราะพวกเขารู้ดีว่า หากเข้าร่วมกับบริษัทอเมริกัน ผู้บริหารของบริษัทนั้น จะมองพวกเขาเป็นเพียงแค่ แรงงานในพื้นที่ ตลอดไป พวกเขาจะไม่ได้รับโอกาสในการไต่เต้าขึ้นสู่การเป็นผู้บริหารระดับสูงที่แท้จริง ซึ่งสูงสุดเป็นได้เพียงแค่ ผู้จัดการประจำประเทศของบริการนั้น ๆ เพียงเท่านั้น

เพราะฉะนั้น คนหนุ่มสาวเหล่านี้ ที่มีความทะเยอทะยานสูง เลือกที่จะก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพของตัวเอง หรือเข้าร่วมกับบริษัทในประเทศจีน เพื่อเอาชนะบริการยักษ์ใหญ่เหล่านี้ที่มาจาก Silicon Valley นั่นเอง

เพราะฉะนั้นทรัพยากร แรงงานส่วนใหญ่ที่ บริษัทจาก Silicon Valley ได้ไปนั้น มักจะเป็นกลุ่มคนที่ หวังเพียงแค่เงินเดือน หรือ หุ้น มากกว่ากลุ่มคนที่มีความทะเยอทะยานเพื่อเอาชนะในตลาดจีนอย่างแท้จริง

ในขณะที่นักวิเคราะห์จากต่างชาติยังคงสงสัยในคำถามที่ว่า ทำไม บริษัทยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley ไม่สามารถเอาชนะในจีนได้ แต่ บริษัทของจีน กำลังยุ่งอยู่กับการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น

Weibo ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม ไมโครบล็อกที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Twitter ขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีการเพิ่ม Features ต่างๆ มากมาย และทำให้ตอนนี้มีมูลค่ามากกว่า Twitter ที่พวกเขาไป copy มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

หรือบริการอย่าง Didi ที่เลียนแบบมากจาก Uber ได้ขยายบริการและผลิตภัณฑ์อย่างมาก และให้บริการรถโดยสารในประเทศจีนในแต่ละวัน มากกว่าที่ Uber ทำได้ทั่วโลกเสียอีก หรือ Toutiao ซึ่งเป็นแพล็ตฟอร์มข่าวของจีน ที่ถูกเปรียบเทียบกับ BuzzFeed ใช้ อัลกอริธึม Machine Learning ขั้นสูง เพื่อปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้ใช้แต่ละคน

ซึ่งต้องบอกว่า การเติบโตของ Ecosystem ผู้ประกอบการของจีนนั้น เป็นมากกว่าการคิดเพียงแค่แข่งขันกับบริการจาก Silicon Valley หลังจากที่บริษัทต่าง ๆ เช่น Alibaba , Baidu หรือ Tencent นั้นได้พิสูจน์แล้วว่า ตลาดอินเทอร์เน็ตของจีนนั้นสามารถสร้างกำไรได้มากเพียงใด

มันทำให้คลื่นลูกใหม่ของบริษัทด้านการลงทุน ก็เริ่มหลั่งไหลเข้าสู่อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีของประเทศจีน และตลาดก็กำลังร้อนแรงเป็นอย่างมาก จำนวน สตาร์ทอัพในประเทศจีนก็เติบโตขึ้นอย่างทวีคูณ

แม้การต่อสู้กับยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley นั้นจะทำให้เหล่าบริการของจีนยิ่งแข็งแกร่ง แต่การแข่งขันภายในประเทศ กับคู่ต่อสู้ภายประเทศของเขาเองต่างหาก ที่เป็นบทพิสูจน์ที่แท้จริงของบริษัทเทคโนโลยีในประเทศจีน ว่าพวกเขาเจ๋งจริง นั่นเองครับ

References : https://www.vox.com/recode/2019/5/1/18511540/silicon-valley-foreign-money-china-saudi-arabia-cfius-firrma-geopolitics-venture-capital
https://lareviewofbooks.org/article/a-chinese-silicon-valley-not-so-fast/
https://www.businessinsider.com/google-isnt-the-only-silicon-valley-company-struggling-in-china-2010-1
http://parisinnovationreview.cn/en/2016/07/14/why-american-internet-companies-fail-in-china-a-cultural-perspective/
https://startupsventurecapital.com/why-shanghai-china-might-be-the-next-silicon-valley-and-why-we-should-care-811672cb12dd

Geek Story EP20 : Masayoshi Son สุดยอดนักลงทุนอัจฉริยะแห่งวงการเทคโนโลยี

ต้องบอกว่าประวัติที่ผ่านมาของ Masayoshi Son นั้น ถือเป็นนักลงทุนที่น่าทึ่ง แม้เขาจะผิดพลาดในการลงทุนกับ WeWork หรือ Uber

แต่คำ ๆ หนึ่ง นั่นก็คือ คำว่า “Believe” ที่เขามักพูดออกสื่ออยู่บ่อย ๆ นั้น สิ่งที่เขาพูดมักจะกลายเป็นความจริงในทุก ๆ ครั้ง ด้วยความเชื่อ และประสบการณ์ของเขานั้น แม้จะมีความผิดพลาดบ้าง

แต่ความเชื่อของเขาโดยส่วนใหญ่นั้นสามารถทำนายอนาคตของเราได้ว่า เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในด้านไหน ที่จะมีบทบาทที่สำคัญอย่างมาก กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ในอนาคตนั่นเองครับ

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/2FSHJmQ

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/31v9Fpp

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2Ejh3vl

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/x4fojSAwPpk

Geek Monday EP35 : อนาคตของรถยนต์แบบบินได้

ดูจากเทรนด์ของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในตอนนี้แล้วนั้น เราจะพบว่า โลกกำลังจะเข้าสู่ยุคของยานพาหนะบินได้ เหมือนจินตนาการที่เกิดขึ้นในหนัง Hollywood ซึ่งจากเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้เราอาจจะได้เห็นยานพาหนะบินได้จริง ๆ ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ก็เป็นได้

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน Podbean : http://bit.ly/30y66N7

ฟังผ่าน Apple Podcast : https://apple.co/3ar7l52

ฟังผ่าน Google Podcast : http://bit.ly/2GgFWVT

ฟังผ่าน Spotify :  https://spoti.fi/2TCMaHl

ฟังผ่าน Youtube : https://youtu.be/ukq2-iWFK9w

References : https://fortune.com/2016/06/09/google-billionaire-larry-page-is-secretly-funding-flying-car-startups/

เมื่ออเมริกากำลังสร้าง Social Credit System เลียนแบบประเทศจีน

ในประเทศจีนตัวเลขสามหลักระหว่าง 350 ถึง 950 ที่บ่งบอกถึง Social Credit Score นั้น สามารถกำหนดได้ว่าจะมีการอนุมัติสินเชื่อบุคคลหรือไม่ หรือพวกเขาสามารถเดินทางออกนอกประเทศได้หรือไม่ และยังครอบคลุมถึงการที่พวกเขาจะสามารถออกเดทในคืนวันศุกร์ได้หรือไม่

หมายเลขนั้นคือคะแนนเครดิตทางสังคม (Social Credit) ของพวกเขาและพวกเขาได้รับผ่านระบบที่ประเทศจีนได้เริ่มดำเนินการขึ้นในปี 2014

ภายใต้ระบบเครดิตทางสังคมหากชาวจีนทำสิ่งที่เจ้าหน้าที่เห็นว่า “ดี” เช่น จ่ายเงินตรงเวลาหรือบริจาคเลือดเป็นประจำ  คะแนนของพวกเขาอาจเพิ่มขึ้น ในทางกลับกันหากพวกเขาทำอะไรที่ “ไม่ดี” เช่นวิจารณ์รัฐบาลหรือจูงสุนัขไปเดินโดยไม่มีสายจูงคะแนนของพวกเขาอาจลดลงได้เช่นเดียวกัน

ชาวอเมริกันหลายคนอาจพบพลังของระบบเครดิตทางสังคมของจีนที่มีความน่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง แต่เรื่องราวของ Fast Company ที่ตีพิมพ์เรื่องราวดังกล่าวนั้น ได้ระบุว่าตอนนี้ผู้คนในสหรัฐอเมริกาก็ได้รับการยอมรับในระบบที่คล้ายคลึงกันนี้ ซึ่งเป็นเพียงการจัดตั้งและบังคับใช้โดยบริษัทเอกชนแทนที่จะเป็นรัฐบาลเหมือนที่จีนทำ

ตัวอย่างเช่น บริษัท ประกันชีวิตสามารถใช้เบี้ยประกันของบุคคลตามเนื้อหาของโซเชียลมีเดียฟีดของลูกค้าได้ ในขณะเดียวกัน บริษัท ที่เรียกว่า  PatronScan ยังคงมีรายชื่อของ“ ลูกค้าที่ไม่น่ารัก” ที่บาร์และร้านอาหารสามารถใช้มันเป็นข้อกำหนดเพื่อยกเว้นผู้เข้าร่วมงานบางคนได้นั่นเอง

และดูเหมือนว่าเหล่าแพลตฟอร์มขนาดใหญ่กำลังได้เปรียบ  ตอนนี้ Airbnb มีรายชื่อของลูกค้ามากกว่า 6 ล้านราย ดังนั้นการสั่ง Ban จากแอพ ก็อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อความสามารถของเหล่าบุคคลต่าง ๆ ในการหาที่พัก และ Airbnb สามารถแบนใครก็ได้ที่ต้องการ โดยที่ไม่จำเป็นต้องให้เหตุผล

Uber ยังสามารถแบนผู้ใช้บางคนไม่ให้เดินทาง ในขณะที่การแบนโดย WhatsApp หรือบริการที่คล้ายกันอาจส่งผลเสียต่อความสามารถของใครบางคนในการสื่อสารกับส่วนที่เหลือของโลกนั่นเอง

ตามที่ Fast Company รายงาน  ลักษณะของระบบสังคมที่ให้ความเชื่อถือกันของสหรัฐคือการลงโทษ ซึ่งการกระทำต่าง ๆ เหล่านี้จะอยู่นอกระบบยุติธรรมปรกติของสังคมที่รัฐเป็นผู้จัดการ

“ มันเป็นระบบกฎหมายทางเลือกที่ผู้ถูกกล่าวหาจะมีสิทธิ์น้อยลง”  ซึ่งมีกล่าวเพิ่มเติมในภายหลังว่าหาก“ แนวโน้มในปัจจุบันมีแนวโน้มที่เป็นไปได้ว่าในอนาคตผู้กระทำความผิดส่วนใหญ่ในอนาคตและแม้แต่กระทั่งเรื่องใหญ่ ๆ อย่างอาชญากรรม ผู้ทำผิดจะถูกลงโทษ ไม่ใช่เพียงแค่จากกฏหมายของรัฐเท่านั้น แต่จะโดยลงโทษโดย บริการต่าง ๆ บน Silicon Valley เช่นเดียวกันนั่นเอง”

References : 
https://www.fastcompany.com