Geek Story EP118 : ประวัติ Tim Cook ผู้ยกระดับ Apple สู่จุดสูงสุด (ตอนที่ 4)

จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่ Tim Cook ต้องออกมาอยู่ฉากหน้า ก็คือ เมื่อ Jobs ถูกบีบบังคับให้ลาพักรักษาตัวในปี 2009 มันก็ถึงเวลาของ Cook เสียทีที่ต้องออกมาแสดงศักยภาพที่ตัวเขามี ให้โลกได้รู้ แน่นอนว่าถึงตอนนั้น Jobs ก็ไว้วางใจ Cook ถึงระดับสูงสุดแล้ว และพร้อมส่งมอบตำแหน่งที่สำคัญที่สุดในการนำพา Apple เข้าสู่ยุคต่อไปให้กับเขานั่นเอง

มาถึงตอนนี้ก็ใกล้ที่จะถึงยุคเปลี่ยนผ่านของ Apple กันแล้วนะครับ ตัวของ Jobs เองก็เริ่มมีปัญหาทางด้านสุขภาพ ส่วน Cook นั้นก็ได้เรียนรู้ในแทบทุก ๆ อย่างที่ Apple ทำ ในฐานะ COO มาอย่างยาวนาน แล้วจะเกิดอะไรต่อไป กับเรื่องราวของชายที่ชื่อ Tim Cook กับ Apple ที่กำลังก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางด้านเทคโนโลยีของโลก รับฟังกันต่อได้เลยครับผม

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3AmcHuY

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/Rhq_JTB3Rz4

Geek Daily EP57 : Apple Car กับความท้าทายในตลาดรถยนต์หรูมูลค่าสองแสนล้านเหรียญ

นับตั้งแต่โครงการเริ่มต้นในปี 2014 Apple ได้เริ่มต้นอย่างผิดพลาดมากมายในผลิตรถยนต์ของตนเอง โดยมีการปลดพนักงานหลายร้อยคนทั้งในปี 2016 และ 2019 เนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นและการโฟกัสเปลี่ยนจากรถยนต์ไฟฟ้าไปสู่เทคโนโลยีขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติ

หาก Tim Cook ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Apple ต้องการที่จะลุยในตลาดนี้ต่อเขาต้องเผชิญกับทางเลือกที่ยากลำบากในการเข้าสู่ตลาดรถยนต์หรู และความสามารถในการทำกำไรได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
http://bit.ly/3qIHdKg

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/vBgHsG6py9o

Tim Cook กับความอัจฉริยะในการยกระดับ Apple สู่ขีดสูงสุด

Tim Cook ได้เข้าร่วมงานกับ Apple เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ปี 1998 สถานการณ์ของ Apple ในขณะนั้น ไม่ใช่บริษัทที่น่าไปร่วมงานแต่อย่างใด สถานการณ์ทางการเงินอยู่ใกล้ภาวะล้มละลายเต็มที และขวัญกำลังใจของเหล่าพนักงานก็เริ่มต่ำเตี้ยเรี่ยดินมาก ๆ

ตัว Steve Jobs เองเพิ่งกลับมาร่วมงานกับ Apple อีกครั้ง ในฐานะ CEO ชั่วคราว หรือ iCEO เรียกได้ว่าสิ่งเดียวที่ Apple เหลืออยู่ในขณะนั้นก็คือจิตวิญญาณ “Think Different” ที่กำลังมาอีกครั้งจาก Jobs แต่บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงภายในมากมาย และสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับคู่แข่งในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะสินค้าหลักอย่างคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

ส่วนแบ่งทางการตลาดในตลาดคอมพิวเตอร์ของ Apple นั้นลดลงจากร้อยละ 10 เหลือมาอยู่เพียงแค่ร้อยละ 3 เท่านั้น CEO ในขณะนั้นอย่าง Amelio ต้องทำการดึงตัว Steve Jobs กลับมากู้วิกฤติที่แสนสาหัสนี้อีกครั้ง

Jobs ต้องนำพา Apple กลับไปสู่จุดเริ่มต้นอีกครั้ง และเริ่มแก้ไขสถานการณ์โดยยอมรับความจริงที่ว่า Amelio นั้น ทำสิ่งที่ผิดพลาด โดย Jobs เริ่มจัดการเหล่าผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำกำไร เช่น นิวตัน คอมพิวเตอร์มือถือรุ่นแรก ของ Apple ผลงานการสร้างสรรค์ของ John Sculley ผู้ซึ่งเป็นคนทำให้ Jobs ต้องออกจาก Apple ไปในครั้งแรก

Jobs เริ่มตัดสายของผลิตภัณฑ์ที่ไม่จำเป็นออกไปจนเหลือเพียงแค่ 4 รุ่น โดยสองรุ่นแรกคือเครื่องคอมพิวเตอร์ Desktop สำหรับผู้บริโภคทั่วไป และ มืออาชีพ ส่วนอีกสองจะเป็นส่วนของเครื่องแบบพกพา แม้จะดูเสี่ยงมาก ๆ เพราะถ้าตัดเหลือ 4 รุ่นแล้วล้ม ความหมายก็คือ Apple คงเหลือไว้เพียงแค่ชื่อ เข้าสู่ภาวะล้มละลายอย่างแน่นอน

Jobs พยายามตัดผลิตภัณฑ์ของ Apple ให้เหลือน้อยที่สุด
Jobs พยายามตัดผลิตภัณฑ์ของ Apple ให้เหลือน้อยที่สุด

และแน่นอนว่าปัญหาใหญ่ของ Apple ที่เผชิญมาตลอดนั่นก็เรื่องของการวางแผนการผลิต รวมถึงเรื่องการจัดการสินค้าคงคลังต่าง ๆ ส่วนใหญ่นั้น Apple มักจะจ้างซัพพลายเออร์เฉพาะของตัวเองเท่านั้น เนื่องจากส่วนใหญ่จะเป็นชิ้นส่วนประกอบที่กำหนดเองและมีประสิทธิภาพสูง ไม่มีการวางจำหน่ายให้คู่แข่ง และ ไม่สามารถคัดลอก หรือ เลียนแบบได้ง่าย

แต่มันเหมือนเป็นดาบสองคม เพราะ การวางแผนการผลิตจะยากมาก ๆ ความยืดหยุ่นในการผลิตน้อย การประเมินคำสั่งซื้อล่วงหน้าเป็นไปได้ยาก และจะเกิดหายนะขึ้นทันทีหากมีการคาดการคำสั่งซื้อที่ผิดพลาด

เกิดเหตุการณ์ที่เหล่านักลงทุนของ Apple เกลียดอยู่บ่อยครั้ง นั่นก็คือ เมื่อยามที่ Apple มีผลิตภัณฑ์ที่ร้อนแรง แต่มันไม่สามารถส่งไปถึงมือลูกค้าได้เนื่องจากปัญหาเรื่องการผลิตของ Apple นั่นเอง

และเมื่อ Jobs กลับมาอีกครั้งในปี 1997 เขาตั้งใจแน่วแน่ ว่าจะไม่ให้เห็นความผิดพลาดเดิมเกิดขึ้นซ้ำอีก และเริ่มมองหาการเปลี่ยนแปลงทุก ๆ ด้านในเรื่องการปฏิบัติการของ Apple

แม้ก่อนหน้านั้น Cook จะปฏิเสธนายหน้าของ Apple หลายต่อหลายครั้งแล้วก็ตาม เพราะตัว Cook เองก็มีความสุขดีที่ Compaq แต่อย่างน้อยเขาคิดว่าควรจะเข้าไปเจอ Jobs ซักครั้งเพราะชายผู้นี้ เป็นหนึ่งในตำนานผู้สร้างอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์นี้ขึ้นมานั่นเอง

แต่เมื่อเขาได้เข้าไปนั่งฟังกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ของ Jobs สำหรับ Apple ในการพบกันจริง ๆ ครั้งแรก เขาก็ถูกโน้มน้าวโดย Jobs ให้มามีส่วนร่วมของภารกิจเปลี่ยนโลกครั้งใหม่ของ Jobs ซึ่งจะเปลี่ยนแนวคิดของคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นแนวคิดที่ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ที่เคยเห็นมาก่อน

และเมื่อ Jobs ได้เจอกับ Cook นั้น เขาก็เข้าใจทันทีว่าพวกเขาแบ่งปันมุมมองเดียวกันในเรื่องการผลิต ซึ่งสุดท้ายทำให้ให้ Cook คล้อยตามและมาร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับ Jobs ในที่สุด และถือเป็นการจับคู่ที่สมบูรณ์แบบที่สุดครั้งนึงในวงการคอมพิวเตอร์โลก

ในขณะนั้น Cook มีอายุ 37 ปี ได้เข้ามาร่วมงานกับ Apple ในตำแหน่ง รองประธานอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการทั่วโลก ซึ่งเขาได้รับงานใหญ่มาก ๆ ในการรื้อระบบการผลิต และจำหน่ายของ Apple ทั้งหมด และุถือว่าเป็นงานที่ท้าทายเขาที่สุดตั้งแต่เริ่มทำงานมาเลยก็ว่าได้

ซึ่งเพียงแค่ 7 เดือนหลังจากที่ Cook ได้เข้ามาร่วมงานกับ Apple เขาก็สามารถที่จะลดสินค้าคงคลัง จากราวๆ 30 วัน เหลือเพียงแค่ 6 วันเท่านั้น ซึ่งในช่วงเวลาสั้น ๆ เขาได้ทำการปรับปรุงระบบการปฏิบัติการของ Apple โดยให้ความสำคัญกับรายละเอียดแทบจะทุกขั้นตอนการผลิต

Cook นั้นได้เน้นการลดซัพพลายเออร์ลงให้เหลือเพียงไม่กี่ราย เขาไปเยี่ยมซัพพลายเออร์แต่ละราย ตัวอย่างที่ชัดเจนเรื่องนึงเช่น การที่ Cook โน้มน้าวให้ NatSteel ผู้ผลิตแผงวงจรที่เป็น Outsource ของ Apple ย้ายมาตั้งโรงงานใกล้กับโรงงานของ Apple ใน ไอร์แลนด์ แคลิฟอร์เนีย และ สิงคโปร์

ซึ่งการย้ายซัพพลายเออร์เข้ามาใกล้โรงงานนั้นทำให้กระบวนการ JIT (Just-in-time) ทำได้ง่ายขึ้นมาก เนื่องจากส่วนประกอบสามารถส่งมอบได้รวดเร็วขึ้นและมีความถี่ที่มากขึ้นนั่นเอง

และอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญก็คือการ outsource ออกไปให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของ Apple นั่นคือ ปัญหาเรื่องสินค้าคงคลัง ซึ่งสร้างภาระค่าใช้จ่ายมหาศาลให้กับ Apple ซึ่งต้นทุนสินค้าคงคลังเหล่านี้เองที่ทำให้ Apple เกือบเข้าสู่ภาวะล้มละลายมาแล้ว

และเพื่อรองรับการคาดการณ์การผลิต Cook ได้ลงทุนในระบบวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP) ที่ทันสมัยที่สุดจาก SAP ที่สามารถเชื่อมโยงโดยตรง เข้าสู่ระบบไอที ที่เหล่าซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนของ Apple ใช้งานอยู่

Tim Cook ได้ปรับมาใช้ ซอฟต์แวร์อย่าง SAP เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
Tim Cook ได้ปรับมาใช้ ซอฟต์แวร์อย่าง SAP เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต

ไม่ว่าจะเป็นโรงงานประกอบ หรือ ทางฝั่งร้านค้าปลีก ระบบที่ซับซ้อนทำให้ทีมปฏิบัติงานของ Cook ได้เห็นมุมมองที่ชัดเจนของห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด ตั้งแต่วัตถุดิบ จนถึงคำสั่งซื้อของลูกค้าที่ร้านค้าออนไลน์ใหม่ของ Apple ซึ่งเพิ่งเปิดตัวไปเพียงไม่นาน

R/3 ERP เป็นระบบประมวลผลส่วนกลางของการผลิตแบบใหม่ ที่รวดเร็วและทันเวลาของ Apple ชิ้นส่วนถูกสั่งจากซัพพลายเออร์เมื่อจำเป็นเท่านั้น และโรงงานผลิตก็สามารถสร้างกำลังการผลิตที่เพียงพอที่จะตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ทันที

ภายใต้การนำของ Cook เวลาในสินค้าคงคลังของ Apple ลดลังจากเป็นเดือน ๆ เหลือเพียงไม่กี่วัน เพียงแค่ 7 เดือน ต้นทุนในการจัดการเรื่องสินค้าคงคลังลดลงจาก 400 ล้านเหรียญ เหลือเพียงแค่ 78 ล้านเหรียญ

Cook ได้รับเครดิตเป็นอย่างมาก ในการมีบทบาทสำคัญให้ Apple สามารถกลับมาทำกำไรได้สำเร็จ ซึ่งระบบที่เขาได้วางไว้นั้นเป็นตัวกระตุ้นการเติบโตของ Apple ในอีกหลายปีต่อมา ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่า Apple จะไม่มีวันเติบโตอย่างยิ่งใหญ่และมั่นคงมาได้จนถึงทุกวันนี้หากปราศจากความเป็นเลิศของชายที่ชื่อ Tim Cook ที่ช่วยกู้สถานการณ์ด้านการปฏิบัติการในเรื่องการผลิตของ Apple ไว้ได้สำเร็จนั่นเองครับ

References : https://appleinsider.com/articles/20/08/10/apple-ceo-tim-cook-is-now-a-billionaire

Apple ยุคใหม่กับการบริหารซัพพลายเชนระดับเทพของชายที่ชื่อ Tim Cook

ในปี 1998 Steve Jobs กำลังประสบปัญหาร้ายแรงที่สุด บริษัทที่เขาก่อตั้งเมื่อยี่สิบปีก่อนหน้านั้นกำลังจะถึงคราวล่มสลาย ด้วย ผลิตภัณฑ์ที่ล้มเหลว, และการสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดอย่างต่อเนื่อง จน Apple แทบจะไม่มีเหลือที่ยืนบนตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

แม้ Jobs ได้กลับมาเป็นผู้นำของ บริษัท เขาค่อย ๆ จ้องมองที่เรือที่กำลังจะจมอย่างไม่หยุดยั้งโดยมุ่งเน้นไปที่การออกแบบ และการใช้งาน แต่ระบบการผลิตและซัพพลายเชนของ บริษัท นั้นยุ่งเหยิงเกินกว่าความสามารถของเขา และเขาไม่สามารถเห็นวิธีการที่จะแก้ไขมันได้เลย

ดังนั้นเขาจึงหันไปหา Tim Cook ผู้มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ 16 ปีด้วยความมุ่งมั่นอย่างจริงจังในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน Cook เป็นคนบ้างานที่รักความสงบ และอารมณ์ดี

Cook ได้มาทำหน้าที่ใหม่ด้วยการเจรจาข้อตกลงด้านนวัตกรรมกับผู้ผลิตที่ทำสัญญาในจีนและที่อื่น ๆ ที่จะดึง Apple ออกจากธุรกิจการผลิต 

Tim Cook บุกจีนเจรจาต่อรองที่ส่งผลต่อธุรกิจ Apple เป็นอย่างมาก
Tim Cook บุกจีนเจรจาต่อรองที่ส่งผลต่อธุรกิจ Apple เป็นอย่างมาก

และเมื่อ Cook เข้ามา Apple ก็เริ่มมียอดขายที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีเงินสดสำรองที่หลายบริษัทรู้สึกอิจฉา ซึ่งส่งผลดีต่อเหล่าซัพพลายเออร์ที่ทำสัญญากับ Apple ที่ต้องการกระแสเงินสดที่มั่นคงเหนือสิ่งอื่นใดเพื่อป้องกันความไม่แน่นอน 

เมื่อรู้สิ่งนี้ Cook ได้แลกเปลี่ยนสัญญาระยะยาวที่มีกำไรกับผู้ผลิตที่ทำให้ Apple สามารถควบคุมกระบวนการผลิตได้อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ แม้แต่ในกรณีที่ Apple ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงเลยก็ตาม

Cook ลดจำนวนซัพพลายเออร์หลักลง 75% และเจรจาต่อรองขอให้บางรายย้ายเข้าไปใกล้โรงงานในเครือของ Apple เพื่อลดต้นทุนและจัดลำดับความสำคัญของพวกเขาให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นกับ Apple 

เหล่าผู้บริหารระดับสูงที่เป็นลูกน้องของ Cook หลายคน ตกตะลึงกับความสามารถของ Cook ที่เจรจาความสัมพันธ์ด้านซัพพลายเชนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อ Apple โดยหนึ่งในรองประธานฝ่ายวิศวกรรม ได้กล่าวว่า “เมื่อผมอยู่ที่นั่น Cook ได้ตัดสินใจในสิ่งที่เราต้องการและมันเป็นหน้าที่ของการจัดการผลิตภัณฑ์และการจัดการอุปทานเพื่อให้ได้มัน มันแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในลำดับความสำคัญทั้งหมดที่มีต่อกระบวนการผลิตของ Apple” การเปลี่ยนแปลงนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการเจรจาอย่างชาญฉลาดของ Tim Cook

ยกตัวอย่างเช่นในปี 2005 เมื่อ Apple เปิดตัว iPod Nano ที่ใช้หน่วยความจำแบบ Flash Cook ได้เตรียมความพร้อมกับแหล่งซัพพลายเออร์ของหน่วยความจำ Flash ของ Apple ไว้ที่ 1.25 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นการซื้อผลิตภัณฑ์จากคู่แข่งอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ Apple มีกำลังการผลิตที่พร้อมยาวนานถึง 5 ปี

Ipod Nano ที่ต้องเปลี่ยนมาใช้หน่วยความจำแบบ Flash
Ipod Nano ที่ต้องเปลี่ยนมาใช้หน่วยความจำแบบ Flash

อีกหนึ่งกรณีที่น่าสนใจก็คือ เมื่อนักออกแบบของ Apple ต้องการติดตั้งไฟสีเขียวเพื่อแสดงเมื่อมีเปิดกล้องของ Notebook รุ่นใหม่ ซึ่งพวกเขาต้องการเลเซอร์จำนวนหนึ่ง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 250,000 ดอลลาร์ในการตัดรูขนาดเล็กในปลอกอลูมิเนียมของคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการผลิต

Cook ได้เจรจาต่อรองข้อตกลงพิเศษกับซัพพลายเออร์และไปซื้อเลเซอร์หลายร้อยชิ้นซึ่งทำให้เหล่าซัพพลายเออร์นั้นมีความพึงพอใจ ในขณะที่ยังคงรักษาการออกแบบที่สำคัญ และจัดการซัพพลายเชนของ Apple ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดอีกครั้ง

จากนั้น Cook ได้เห็นว่าสินค้าคงคลังสูญเสียมูลค่าระหว่าง 1-2% ของมูลค่าในแต่ละสัปดาห์และเป็นอุปสรรคสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันของบริษัท  Cook แก้ปัญหาโดยใช้ประโยชน์จากห่วงโซ่อุปทานของเขาและทำให้การผลิตของ Apple คล่องตัวขึ้น จนถึงจุดที่สินค้าถูกส่งโดยตรงจากโรงงานไปยังผู้บริโภคได้แบบทันทีทันใด

ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น Cook เริ่มเรียกร้องให้มีการป้อนข้อมูลในการออกแบบส่วนประกอบ เช่นการ์ดหน่วยความจำแฟลช ชิปเซ็ต และเคสคอมพิวเตอร์ที่โดยทั่วไปแล้วคู่ค้าของ Apple นั้นมักจะได้รับการปฏิบัติเหมือนสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีการเจรจาต่อรองกันอย่างมาก 

ซึ่งผลที่ตามมาคือการเจรจาต่อรองกับซัพพลายเออร์กลายเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ Tim Cook สามารถใช้เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์ของ Apple กับคู่แข่ง และสามารถเพิ่มกำไรที่สูงขึ้นให้กับ Apple ได้ในท้ายที่สุดนั่นเอง 

Cook มองเห็นสิ่งต่าง ๆ เร็วกว่า ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของ Apple แค่เพียงความงามเรื่องการ Design นั้นไม่ได้ตอบโจทย์ทางธุรกิจได้ทั้งหมด แต่การสามารถส่งมอบได้ตรงเวลาและในราคาที่แข่งขันได้ต่างหาก คือ รากฐานที่สำคัญที่สุดของ Apple ยุคใหม่นั่นเองครับ เพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจเลย ที่ว่า ทำไม Steve Jobs ถึงมอบความไว้วางใจสูงสุดให้กับชายคนนี้นั่นเองครับผม

–> อ่าน Blog Series : ประวัติ Tim Cook

References : https://www.everythingsupplychain.com/apple-ceo-tim-cook-supply-chain-guru/
https://www.tradegecko.com/blog/supply-chain-management/apple-the-best-supply-chain-in-the-world
https://www.cips.org/supply-management/analysis/2016/february/tim-cook-the-cool-customer-behind-apples-supply-chain-success/

ประวัติ Tim Cook ตอนที่ 10 : Apple’s Best CEO?

ต้องบอกว่า Steve Jobs ถือเป็น CEO ที่ไม่เหมือนใคร ที่เราอาจจะไม่ได้เห็นคนแบบเขาอีกเลยก็ได้ เพราะเขาไม่ได้เป็นแค่เพียง CEO ของ Apple เท่านั้น เขายังเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายดูแลผลิตภัณฑ์ของ Apple เป็นทั้งคนที่ตัดสินใจเรื่องสำคัญทุกอย่างของ Apple แต่ Tim Cook ไม่ใช่คนที่เหมือน Jobs

แต่สิ่งที่หลายคนอาจจะไม่ทราบ ก็คือสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการเติบโตของ Apple ในระยะยาวได้อย่างทุกวันนี้ ไม่ใช่ตัวผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียว แต่เป็นระบบโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นการบริหารซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพ การกระจายเงินและการตลาด ซึ่งเป็น Cook ที่ได้พิสูจน์ความสามารถของเขาสำหรับสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด

แล้วทำไมในสายตานักวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ชื่อดังอย่าง Horace Dediu ถึงมองว่า Cook เป็น CEO ที่ดีที่สุดของ Apple ตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา

แม้ความรู้สึกจะดูขัดแย้งกับหลาย ๆ คน ที่เกิดคำถามว่า Cook จะเป็น CEO ที่ดีกว่า Jobs ได้อย่างไร Jobs เป็นผู้สร้างบริษัทตั้งแต่ต้น เขาได้สร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ไล่มาตั้งแต่ พีซี เครื่องแรก (Apple II) ไปจนถึง iPod , iPhone , iPad และอีกมากมาย

แต่ Dediu มองว่า Steve Jobs ไม่เคยเป็น CEO จริง ๆ Jobs มักจะพยายามหลีกเลี่ยงงานของ CEO ที่แท้จริง เพราะเขามักจะไปขลุกอยู่ในหน้าที่ของ หัวหน้าฝ่ายดูแลผลิตภัณฑ์เสมอต่างหาก

ในตอนที่ Jobs กลับมาในครั้งที่สองเพื่อมาแก้วิกฤตินั้น เขาได้มือดีอย่าง Cook มาช่วยดูแลงานด้านอื่น ๆ ที่เป็นหน้าที่ของ CEO เพื่อให้เขาสามารถทำสิ่งที่เขารักมากที่สุด นั่นก็คือการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ผ่านผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่มีออกมาอย่างต่อเนื่องจากเขาได้นั่นเอง

ตัว Tim Cook เองนั้นอาจจะได้รับการสนับสนุนจากเหล่าพนักงานของ Apple ที่อยู่เบื้องหลังเขา แต่ยังมีคำถามใหญ่สำคัญที่หลาย ๆ คนสงสัยอยู่ นั่นก็คือ Apple สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เช่นเดียวกับที่ Jobs เคยทำได้หรือไม่

แต่ในความเป็นจริงถ้าพิจารณาตลอดการทำงานของ Jobs กับ Apple นั้น ในหลาย ๆ ผลิตภัณฑ์ อย่าง Apple II ที่เปิดตัวในปี 1977 Mac เครื่องแรกที่ตามมาหลังจากนั้น 7 ปี iMac เครื่องแรกที่เปิดตัวในปี 1998

หลังจากนั้น 14 ปีต่อมาก็เป็น iPod , Mac OSX ส่วน iPhone เปิดตัวในปี 2007 หลังจาก iPod หกปี ส่วนผลิตภัณฑ์ชิ้นสุดท้ายที่ Jobs สรรค์สร้างขึ้นอย่าง iPad นั้นก็ตามมาหลังจาก iPhone 3 ปี ในปี 2010

ซึ่งเมื่อมาพิจารณาผลิตภัณฑ์ชิ้นเอกแต่ละตัวของ Jobs นั้นจะพบได้ว่า พวกมันไม่ได้ประสบความสำเร็จในวันที่เปิดตัวเลยในทันที แต่มันจะใช้เวลาพอสมควรก่อนที่จะประสบความสำเร็จ iPod ไม่ได้ขายอย่างถล่มทลายทันที แต่เป็นหลังจาก 3 ปีที่ Apple ได้เพิ่ม USB port เข้าไปให้สามารถใช้งานได้ง่ายในระบบปฏิบัติการ Windows

iPhone ก็ไม่ได้สร้างยอดขายแบบถล่มทลายทันทีหลังเปิดตัว จะมาบูมจริง ๆ ก็หลังจากนั้น 3 ปี หลังจากการเปิดตัวครั้งแรกในปี 2007 ซึ่งผลิตภัณฑ์ Apple น้อยมากที่ได้รับความนิยมอย่างทันทีทันใดหลังจากการเปิดตัว

แน่นอนว่า Steve Jobs ได้รับเครดิตสำหรับผลิตภัณฑ์ที่น่าทึ่งเหล่านี้ทันที และมันก็ควรจะเป็นอย่างนั้น แต่สิ่งสำคัญก็คือ ต้องจำไว้ว่าทุกอย่างที่ประสบความสำเร็จมันไม่ง่ายสำหรับเขาเสมอไป เช่นเดียวกัน Cook ก็ต้องเผชิญกับการต่อสู้ที่เหมือนกันหลายอย่าง ด้วยผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมบางอย่างที่ต้องใช้เวลาพอสมควรตัวอย่างที่เห็นได้ชัดนั่นก็คือ Apple Watch

ต้องบอกว่า Apple Watch ของ Cook นั้นก็กำลังดำเนินการตามรูปแบบที่คล้ายคลึงกันกับผลิตภัณฑ์ของ Jobs การเปิดตัวของ Apple Watch ในยุค Cook นั้น ได้รับการตอบรับด้วยความสงสัย หรือ แม้กระทั่งดูถูกเลยด้วยซ้ำจากสื่อบางราย

แต่อย่างที่เราทราบว่าเพียงแค่ 3 ปีต่อมา Apple Watch กลายเป็น Smartwatch ที่มีส่วนแบ่งมากที่สุดในตลาด และมีขนาดใหญ่กว่าอุตสาหกรรมนาฬิกาสวิสทั้งหมด ซึ่ง Apple คาดว่าจะมียอดขาย Apple Watch กว่า 46 ล้านเครื่องจวบจนถึงปัจจุบัน

Tim Cook กับผลงานของเขาอย่าง Apple Watch
Tim Cook กับผลงานของเขาอย่าง Apple Watch

และมันมีแนวโน้มอย่างมีนัยสำคัญในปีที่ผ่านมาว่า Apple Watch ได้กลายเป็นแพลตฟอร์มที่ตอบสนองความทะเยอทะยานของ Apple ในด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยนวัตกรรมทางด้านซอฟต์แวร์เช่น HealthKit และ ResearchKit

ซึ่งทำให้ Apple ได้มีการวางรากฐานที่สำคัญสำหรับ smartwatch ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูลด้านสุขภาพและการออกกำลังกายของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นอกจากตัว Apple Watch ที่ติดตลาดไปแล้วนั้น Apple ภายใต้การนำของ Tim Cook ยังคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้านอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น AirPods ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมากในตลาดหูฟังไร้สายที่ Apple เข้ามาแย่งชิงตลาดในส่วนนี้ได้อย่างถล่มทลาย

ต้องบอกว่า Cook นั้นเป็นคนที่เห็นคุณค่าของนวัตกรรมในทุกระดับ และเขาก็มีวิสัยทัศน์ที่ดีพอสำหรับการเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และมีความสามารถพิเศษในการรับรู้ว่าผลิตภัณฑ์ไหนจะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีและสามารถทำเงินให้กับ Apple ได้อย่างมหาศาลอย่างที่เราได้เห็นกันในทุกวันนี้นั่นเองครับ

แล้วเราได้อะไรจากการเรื่องราวของ Tim Cook จาก Blog Series ชุดนี้

ต้องบอกว่าจากเรื่องราวของ Tim Cook ใน Blog Series ชุดนี้ เราจะได้เห็นถึงรากฐานความเป็นผู้นำของ Cook ที่ Apple แม้เขาเองจะไม่ได้เป็นนักคิด ศิลปิน ผู้สร้างสรรค์ แบบเดียวกับที่ Steve Jobs เป็น

แต่เราจะเห็นได้ว่าการบริหารของเขาในฐานะ CEO ของ Apple ได้พา Apple ก้าวขึ้นมาอีกระดับ แม้ว่าในตอนที่รับงานนี้ ดูเหมือนว่ามันจะเป็นงานที่ยาก และแทบจะกล่าวได้ว่ามันเป็นงาน ๆ หนึ่งที่ยากที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้

แต่ผ่านมา 8 ปี Cook ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเขาทำได้ และทำได้ดีด้วย เขาสามารถลบคำสบประหม่าต่าง ๆ รวมถึงจากนักวิจารณ์จากสื่อชื่อดังต่าง ๆ ที่ต่างคิดว่า Apple จะต้องถึงคราล่มสลาย เมื่อ Jobs ได้ลาจากโลกนี้ไป

เราจะเห็นได้ว่า การเป็นผู้นำในระดับโลกนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้นำทางด้านการเมือง หรือ ผู้นำทางด้านธุรกิจ ไม่ว่าคุณจะมีบุคลิก ลักษณะส่วนตัวแบบไหน คุณก็สามารถก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดขององค์กรได้

คุณไม่จำเป็นต้องเป็นนักสร้างสรรค์ นักนวัตกรรม หรือ คุณลักษณะนิสัยแบบก้าวร้าว แข็งกร้าว แบบที่ Jobs เป็น แต่ Cook แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างทางด้านการบริหารที่แทบจะตรงข้ามกับ Jobs เขาก็สามารถทำได้สำเร็จ

Cook เป็นคนนอบน้อม ถ่อมตัว รับฟังปัญหา ซึ่งแทบจะตรงข้ามกับ Jobs ทุกอย่างเลยก็ว่าได้ แต่เขาก็สามารถประสบความสำเร็จได้ โลกเรามีผู้นำองค์กร หรือ ผู้นำการเมืองในหลากหลายรูปแบบ คุณไม่จำเป็นต้องเหมือนใครแล้วจะประสบความสำเร็จด้วยการกลายเป็นเบอร์หนึ่งขององค์กรของคุณ

เพราะฉะนั้น เรา ทุกคน ไม่ว่าจะมีบุคลิกลัษณะแบบไหน เป็น คนแข็งกร้าว คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ คนที่นอบน้อมถ่อมตน หรือ คนที่คิดอะไรแบบละเอียดไตร่ตรองถี่ถ้วนที่ดูเหมือนจะขัดใจหลาย ๆ คน ทุกบุคลิกลักษณะของมนุษย์เรานั้น ไม่ได้เป็นข้อจำกัดแต่อย่างใดในการก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดในอาชีพได้ มันอยู่ที่ความสามารถ มันสมอง และความเป็นผู้นำ อย่างที่ Tim Cook แสดงให้เราได้เห็นจาก Blog Series ชุดนี้นั่นเองครับผม

References Image : https://www.wsj.com/articles/the-job-after-steve-jobs-tim-cook-and-apple-1393637952

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The Death of God *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

รวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุดรวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุด

อย่าลืมติดตามผลงานเรื่องต่อ ๆ ไปของผมก่อนใครได้ที่ blockdit นะครับ โหลดได้เลย

อย่าลืม ค้นหา “ด.ดล Blog” แล้ว กด follow กันด้วยนะครับผม