ทำไมกฏหมายในยุคนี้ถึงยังต้องตีความ?

การให้ความเห็นล่าสุด ของนักกฏหมายระดับประเทศ เรื่องที่เกี่ยวกับ สิทธิ์ในการเลือกนายก รวมถึงการจัดตั้งรัฐบาล ของผู้ชนะการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ครั้งนี้ กำลังกลายเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากของสังคมไทย

ตอนนี้เรากำลังตีความ ในกฏหมายที่สำคัญ และ เป็นหลักยึดของประเทศอย่างรัฐธรรมนูญ ซึ่ง ต่างฝ่ายต่างอ้างในสิทธิ์อันชอบธรรมของตัวเองในการเลือกนายกรัฐมนตรี และ การจัดตั้งรัฐบาล

แล้วปัญหาคืออะไร ปัญหาใหญ่คือการตีความของเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ หรือหลายๆ  คนอาจจะเรียกว่า แถ ฝ่ายนึงอ้าง Poppular Vote ประชาชนส่วนใหญ่เลือกพรรคพลังประชารัฐ อีกฝั่งอย่างเพื่อไทย ก็อ้างสิทธิความชอบธรรมจากจำนวนส.ส. ที่ได้รับคัดเลือกเข้ามามากที่สุด ซึ่งตามธรรมเนียมแล้ว ต้องเป็นฝ่ายจัดตั้งรัฐบาล รวมถึงเลือกนายกรัฐมนตรี

สำหรับโดยส่วนตัว ปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าเราเขียนกฏหมายใหญ่อย่างรัฐธรรมนูญ ให้มันชัดเจนไปเลย แบบไม่ต้องตีความ แต่ก็อย่างว่า การตีความกฏหมายมันมีมากว่าหลายพันปี ตั้งแต่การเกิดขึ้นของกฏหมายครั้งแรกเท่าที่นักประวัติศาสตร์จะค้นพบ

มีการค้นพบ หลักฐาน ทางประวัติศาสตร์เก่าแก่ที่สุดที่นักประวัติศาสตร์และนักมานุษยวิทยาค้นพบเกี่ยวกับกฏหมาย คือแท่งหินขนาดใหญ่ซึ่งมีฐานกว้าง 1.90 เมตร และมีความสูงถึง 2.25 เมตร โดยแท่งหินดังกล่าวนี้ขุดพบที่นครซูส ในกรุงบาบิโลน สันนิษฐานว่าเป็นหลักศิลาจารึกที่มนุษย์ได้ประดิษฐ์ไว้ในราว 1,500 ปีก่อนพุทธกาล หรือล่วงมาแล้วประมาณ 4,000 ปี ข้อความบนศิลาจารึกได้กล่าวถึง ข้อกำหนด กฎเกณฑ์และระเบียบต่าง ๆ ในสังคมขณะนั้น อาทิเช่น เรื่องดอกเบี้ย สัญญาครอบครัว ฯลฯ ซึ่งนักประวัติศาสตร์เชื่อกันว่า ศิลาจารึกดังกล่าวนี้ประดิษฐ์ขึ้นในสมัยของพระเจ้าฮัมบูรามี ดังนั้นจึงเรียกหลักศิลาจารึกนี้ว่า”ประมวลกฎหมายฮัมบูรามี” 

มัน 4000 ปีมาแล้ว ที่กฏหมาย ใช้การตีความ เหตุผลนึงน่าจะเรื่องการเขียนกฏหมายให้ละเอียดคงเป็นเรื่องยากในสมัยนั้น ผู้คนต้องอ้างอิงสิ่งเดียวกันคือ หลักศิลาจารึก ชิ้นนั้น ให้เป็นกฏหมายปกครองคนส่วนใหญ่

คราวนี้ตัดภาพมาที่ยุคปัจจุบัน ทำไมเรายังต้องตีความใน ในยุคนี้ ที่ Data Center มีเยอะแยะ ฮาร์ดดิสก์ ราคาโคตรถูก จะเก็บกฏหมายละเอียดขนาดไหนก็ได้

ทำไมเราจะต้องมานั่งตีความอะไรอีกในยุคที่เก็บข้อมูลได้มหาศาลขนาดนี้ จะเก็บละเอียดขนาดไหนก็ได้ แถมยังไม่ต้องท่องจำอีกด้วย ปล่อย bot index ข้อมูลของเนื้อหาทางกฏหมาย แล้ว search ค้นหาเอาได้เลย คลิกเพียงคลิกเดียวก็หาข้อมูลทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้องการเจอ จะเก็บกฏหมายกี่ล้านฉบับกี่ล้านบรรทัด จะเก็บไปให้ละเอียดขนาดไหนก็สามารถเก็บได้ ในยุคต่อไปเราจะได้เลิกความศรีธนญชัย ของกฏหมายแบบที่เคยมีมา นี้เสียที

ผมมองไปถึงยุคอนาคต ที่เราอาจจะไม่จำเป็นต้องมีทนาย และ ผู้พิพากษาอีกต่อไปเลยด้วยซ้ำ เมื่อ งานพวกนี้ Robot หรือ AI สามารถที่จะทำงานแทนได้หมด ตอนนี้โลกเราพัฒนา AI ทั้งเทคนิคของ Natural Language Processing , Machine Learning , Sentiment Analysis , Neural Network

ตัวอย่างในต่างประเทศก็เริ่มมีให้เห็น AI NOW ซึ่งวิจัยโดย สถาบันวิจัยตรวจสอบผลกระทบทางสังคมของ AI ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการโดยมีเป้าหมายเพื่อรวบรวมผู้สนับสนุนด้านกฎหมายวิทยาศาสตร์และทางด้านเทคนิคที่จะมุ่งเน้นไปที่การตัดสินใจเชิงอัลกอริทึมในหลากหลายด้านของกฎหมาย (เช่นการจ้างงาน ผลประโยชน์สาธารณะ หรือ กฏหมายด้านแรงงาน)

ตัวอย่างความแม่นยำในการวิเคราะห์คดีความต่าง ๆ เมื่อมนุษย์เทียบกับ AI
ตัวอย่างความแม่นยำในการวิเคราะห์คดีความต่าง ๆ เมื่อมนุษย์เทียบกับ AI

ซึ่งจากงานวิจัยนั้น มันทำให้เหล่า AI สามารถอ่านกฏหมาย วิเคราะห์กฏหมาย เปรียบเทียบความถูกต้องที่เป็น Logic แบบชัดเจน ไม่คลุมเคลือ ไม่ศรีธนญชัย แถมยังไม่ BIAS เข้าข้างใคร หรือมีอิทธิพลต่อใคร เหมือนที่เคยมีมา เพราะยังไงมนุษย์เราไม่ว่าจะเที่ยงตรง ยุติธรรมขนาดไหน สุดท้ายก็ต้องมีความ BIAS ไม่ว่าข้างใดข้างหนึ่งเสมอนั่นเอง การหาความเป็นกลางของมนุษย์นั้น เป็นเรื่องนามธรรม ที่มันจับต้องได้ยากจริง ๆ 

References : interestingengineering.com