ทำไมยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley ถึงได้ล้มเหลวในดินแดนมังกร

ในฐานะบริการชั้นนำจากอเมริกา หรือ ทั่วโลก บริการอย่าง eBay, Google , Uber , Airbnb , Amazon ทุกบริษัทล้วนแล้วแต่มีความพยายามในการเอาชนะตลาดในประเทศจีน

แม้นักวิเคราะห์หลาย ๆ รายได้พยายามสรุปความล้มเหลวของบริการจาก Silicon Vallley เหล่านี้ว่ามาจากการควบคุมของรัฐบาลจีน

แต่ ไค ฟู ลี อดีตผู้บริหารระดับสูงของทั้ง Microsoft และ Google ทั้งในอเมริกาและประเทศจีนกลับมองต่างออกไป

เขามองว่าการที่บริษัทจากอเมริกันนั้น พยายามทำทุกอย่างในประเทศจีน เหมือนตลาดอื่น ๆ ที่พวกเขาครอบครองได้ทั่วโลก นั่นคือข้อผิดพลาดที่สำคัญที่สุด

การที่บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ ไม่ลงทุนในทรัพยากร หรือให้ความยืดหยุ่นกับทีมงานในประเทศจีน ที่จำเป็นอย่างมากในการแข่งขันกับบริการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศจีนเอง เพื่อปรับบริการต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมชาวจีนนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่บริการเหล่านี้ ไม่สามารถสู้กับบริการท้องถิ่นในประเทศจีนได้

ไค ฟู ลี ได้กล่าวว่า ในบางบริการนั้น อาจจะต้องเริ่มต้นกันใหม่ตั้งแต่ต้น เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดจีน การทำเพียงแค่ แปลเป็นภาษาจีน แล้วใช้ทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนกับในอเมริกานั้น ทำให้ทีมงานที่อยู่ในพื้นที่รู้สึกถึงความไม่ใส่ใจที่แท้จริง

ความแตกต่างที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ บริษัทยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley ได้สูญเสียทรัพยากรบุคคลที่เก่งกาจในประเทศจีนไปเป็นจำนวนมากเนื่องจากปัญหาข้างต้น เหล่าบริษัท สตาร์ทอัพของจีน รวมถึงคนหนุ่มสาวที่มีความทะเยอทะยานที่สุดส่วนใหญ่นั้นมักเลือกที่จะเข้าร่วมกับบริษัทในท้องถิ่น

เพราะพวกเขารู้ดีว่า หากเข้าร่วมกับบริษัทอเมริกัน ผู้บริหารของบริษัทนั้น จะมองพวกเขาเป็นเพียงแค่ แรงงานในพื้นที่ ตลอดไป พวกเขาจะไม่ได้รับโอกาสในการไต่เต้าขึ้นสู่การเป็นผู้บริหารระดับสูงที่แท้จริง ซึ่งสูงสุดเป็นได้เพียงแค่ ผู้จัดการประจำประเทศของบริการนั้น ๆ เพียงเท่านั้น

เพราะฉะนั้น คนหนุ่มสาวเหล่านี้ ที่มีความทะเยอทะยานสูง เลือกที่จะก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพของตัวเอง หรือเข้าร่วมกับบริษัทในประเทศจีน เพื่อเอาชนะบริการยักษ์ใหญ่เหล่านี้ที่มาจาก Silicon Valley นั่นเอง

เพราะฉะนั้นทรัพยากร แรงงานส่วนใหญ่ที่ บริษัทจาก Silicon Valley ได้ไปนั้น มักจะเป็นกลุ่มคนที่ หวังเพียงแค่เงินเดือน หรือ หุ้น มากกว่ากลุ่มคนที่มีความทะเยอทะยานเพื่อเอาชนะในตลาดจีนอย่างแท้จริง

ในขณะที่นักวิเคราะห์จากต่างชาติยังคงสงสัยในคำถามที่ว่า ทำไม บริษัทยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley ไม่สามารถเอาชนะในจีนได้ แต่ บริษัทของจีน กำลังยุ่งอยู่กับการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น

Weibo ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม ไมโครบล็อกที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Twitter ขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีการเพิ่ม Features ต่างๆ มากมาย และทำให้ตอนนี้มีมูลค่ามากกว่า Twitter ที่พวกเขาไป copy มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

หรือบริการอย่าง Didi ที่เลียนแบบมากจาก Uber ได้ขยายบริการและผลิตภัณฑ์อย่างมาก และให้บริการรถโดยสารในประเทศจีนในแต่ละวัน มากกว่าที่ Uber ทำได้ทั่วโลกเสียอีก หรือ Toutiao ซึ่งเป็นแพล็ตฟอร์มข่าวของจีน ที่ถูกเปรียบเทียบกับ BuzzFeed ใช้ อัลกอริธึม Machine Learning ขั้นสูง เพื่อปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้ใช้แต่ละคน

ซึ่งต้องบอกว่า การเติบโตของ Ecosystem ผู้ประกอบการของจีนนั้น เป็นมากกว่าการคิดเพียงแค่แข่งขันกับบริการจาก Silicon Valley หลังจากที่บริษัทต่าง ๆ เช่น Alibaba , Baidu หรือ Tencent นั้นได้พิสูจน์แล้วว่า ตลาดอินเทอร์เน็ตของจีนนั้นสามารถสร้างกำไรได้มากเพียงใด

มันทำให้คลื่นลูกใหม่ของบริษัทด้านการลงทุน ก็เริ่มหลั่งไหลเข้าสู่อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีของประเทศจีน และตลาดก็กำลังร้อนแรงเป็นอย่างมาก จำนวน สตาร์ทอัพในประเทศจีนก็เติบโตขึ้นอย่างทวีคูณ

แม้การต่อสู้กับยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley นั้นจะทำให้เหล่าบริการของจีนยิ่งแข็งแกร่ง แต่การแข่งขันภายในประเทศ กับคู่ต่อสู้ภายประเทศของเขาเองต่างหาก ที่เป็นบทพิสูจน์ที่แท้จริงของบริษัทเทคโนโลยีในประเทศจีน ว่าพวกเขาเจ๋งจริง นั่นเองครับ

References : https://www.vox.com/recode/2019/5/1/18511540/silicon-valley-foreign-money-china-saudi-arabia-cfius-firrma-geopolitics-venture-capital
https://lareviewofbooks.org/article/a-chinese-silicon-valley-not-so-fast/
https://www.businessinsider.com/google-isnt-the-only-silicon-valley-company-struggling-in-china-2010-1
http://parisinnovationreview.cn/en/2016/07/14/why-american-internet-companies-fail-in-china-a-cultural-perspective/
https://startupsventurecapital.com/why-shanghai-china-might-be-the-next-silicon-valley-and-why-we-should-care-811672cb12dd

เมื่อบริการออนไลน์จากจีน ไม่สามารถที่จะก้าวผ่านกำแพงเมืองจีนได้เสียที

ยักษ์ใหญ่ทางด้านบริการออนไลน์ของประเทศจีน หรือ BAT ที่ประกอบไปด้วย Baidu , Alibaba และ Tencent นั้น กำลังพยายามที่จะก้าวข้ามผ่านการเป็นเพียงแค่บริการในประเทศจีนเท่านั้น แต่ดูเหมือนมันเป็นสิ่งที่ยากเย็นแสนเข็ญเหลือเกินสำหรับพวกเขา

เรียกได้ว่า ตัวเลขรายได้นอกประเทศจีนของทั้งสามบริการนั้นมีสัดส่วนเพียงเล็กน้อย Baidu ที่ 1% , Tencent ที่ 5% ส่วน Alibaba ที่มากหน่อยก็ทำได้เพียงแค่ 11% ซึ่งด้วยความพยายามรุกตลาดสากลของ Alibaba โดยการผลักดันโฆษณา ในฐานะผู้สนับสนุนหลักของโอลิมปิกฤดูหนาวปี 2018 ในประเทศเกาหลีใต้

แน่นอนว่าการเข้าสู่ตลาดสหรัฐอเมริกานั้น เป็นความท้าทายมาก ๆ ของ BAT เครื่องมือค้นหาของ Baidu นั้นเคยมีความพยายามในการเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น เมื่อปี 2007 ด้วยการสร้างเครื่องมือค้นหาภาษาญี่ปุ่น ซึ่งมีอักขระคล้ายกับภาษาจีน แต่ในที่สุด ก็ถูกตีพ่ายยับ จากคู่แข่งที่แข็งแกร่งกว่าอย่าง Google และ Yahoo ทำให้ Baidu ต้องหนีออกจากตลาดไปในท้ายที่สุด

Jack Ma นั้นเคยกล่าวไว้ว่าเป้าหมายของ Alibaba คือการได้ยอดขายครึ่งหนึ่งจากนอกประเทศจีน แต่ก็ต้องดิ้นรนอย่างมากเพื่อให้สามารถที่จะตั้งหลักได้ในอเมริกา Jack Ma ได้ขึ้นข่าวพาดหัวหลายครั้ง ในการสัญญากับประธานาธิบดี ทรัมป์ ในการสร้างงานในอเมริกาให้มากขึ้น และเพื่อดึงดูดธุรกิจขนาดเล็กในอเมริกาให้มาใช้บริการของ Alibaba

แต่สงครามการค้าที่ยิ่งทวีความรุนแรงระหว่างจีน กับ อเมริกา ก็ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างพังทลายลงไปอย่างรวดเร็ว

ในฟากฝั่ง Tencent นั้น บริการอย่าง Wechat ที่ความนิยมแบบผูกขาดในประเทศจีน ไม่ได้ทำให้พวกเขาเข้มแข็งมากนักนอกประเทศจีน แม้ขนาดประเทศไทย Wechat ยังไม่สามารถที่จะต่อกรกับ Line จากประเทศ ญี่ปุ่น ได้เลย มีผู้ใช้บริการเพียงแค่น้อยนิด ซึ่งไม่ต้องพูดถึงในอเมริกา ที่ส่วนใหญ่ ผู้ใช้งานก็มีแค่ ชาวอเมริกันเชื้อสายจีน ที่ต้องติดต่อทำมาค้าขายกับประเทศบ้านเกิดเพียงเท่านั้น

แม้ว่ามีความพยายาม ที่จะปรับบริการให้เข้ากับวัฒนธรรมของอเมริกา ไม่มีการเก็บข้อมูลประวัติของข้อความ หรือเพิ่มบริการชำระเงินเข้าไป ก็ไม่สามารถที่จะต่อกรกับบริการเจ้าถิ่นอย่าง Paypal หรือ Stripe ได้

ซึ่งส่วนใหญ่แอปสำหรับชำระเงินของ Wechat นั้นก็มีไว้เพื่อบริการ ผู้บริหารชาวจีน นักท่องเที่ยว หรือ นักเรียนที่มีบัญชีธนาคารจีน และบัตรประจำตัวประชาชนจีนเป็นหลักเพียงเท่านั้น

นวัตกรรมทางด้านออนไลน์ของจีนเจ๋งจริงหรือ?

ต้องบอกว่า อย่าคาดหวังกับนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีชั้นนำจากประเทศจีน ที่จะก้าวไปสู่กระแสหลักในประเทศอย่างอเมริกาในเร็ววันนี้

เนื่องด้วยความแตกต่างทางวัฒนธรรม แบรนด์ที่ชาวอเมริกาไม่เหลียวแล และกฏระเบียบต่าง ๆ ของรัฐบาล รวมถึงความกลัวว่าบริการออนไลน์จากจีนจะไม่ปลอดภัย เป็นเหตุผลทั้งหมดทั้งมวลของการก้าวไปสู่ระดับโลกของ แบรนด์ทางด้านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตจากจีน เพราะมันเป็นเรื่องของปัจจัยทางจิตใจและอารมณ์เสียเป็นส่วนใหญ่

แต่ถามว่า เมื่อดูจากการเจาะตลาดไปยังประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อเมริกานั้น บริการเหล่านี้ ก็ยังถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นเอเชียด้วยกันเอง อย่าง ญี่ปุ่น หรือ ไทย พวกเขาก็ไม่สามารถเจาะเข้ามาได้ มีบริการน้อยมากที่จะฮิตกลายเป็นกระแสหลักนอกประเทศจีน เหมือนบริการจากประเทศอเมริกา

ต้องบอกว่าแม้บริการออนไลน์ของพวกเขาจะเจ๋ง มีนวัตกรรมล้ำเลิศแค่ไหนในประเทศจีน แต่ดูเหมือนว่า นอกกำแพงเมืองจีน นั้น แทบจะไม่มีใครสนใจบริการของพวกเขาแต่อย่างใดนั่นเองครับผม

References : https://chinafund.com/great-firewall-of-china/

Geek Monday EP44 : China’s AI Awakening การเติบโตอย่างเฟื่องฟูของ AI ในประเทศจีน

ขณะที่กระแสของเทคโนโลยีทางด้าน AI ซึ่งกำลังมีบทบาทอยู่ในทั่วโลกนั้น จีนก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ  กำลังดำเนินการในการสร้างและพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ทางรัฐบาลของจีนได้ทำการเทเงินกว่า หนึ่งแสนล้านหยวน หรือ ประมาณ หนึ่งหมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในเทคโนโลยีดังกล่าว

ขณะที่ภาคเอกชนของจีน ก็ทำการลงทุนขนาดใหญ่กับ AI เทคโนโลยีของอนาคต ซึ่งถ้าหากความพยายามดังกล่าวของจีนประสบความสำเร็จนั้น และขณะนี้ก็มีสัญญาณหลายอย่างที่ปรากฏว่าจีน จะกลายเป็นผู้นำด้าน AI ในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งก็จะทำให้สามารถเพิ่ม productivity ของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของจีน

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน Podbean : https://bit.ly/2ReIg5r

ฟังผ่าน Apple Podcast :https://apple.co/2lEqPPg

ฟังผ่าน Google Podcast :  https://bit.ly/2UK66rP

ฟังผ่าน Spotify : https://spoti.fi/3bYye0p 

ฟังผ่าน Youtube https://youtu.be/UZhlEkwgyCI

References Images : https://www.digitalcrew.com.au/blogs-and-insights/chinas-artificial-intelligence-dominance/

Geek Monday EP18 : Tencent กับกลยุทธ์ Make AI Everywhere

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีของจีนที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนผลักดันให้พัฒนาเทคโนโลยี AI รุ่นต่อไป Tencent ก็กำลังประสบความสำเร็จในการลงทุนด้านเทคโนโลยีใหม่

Tencent เป็นนักลงทุนอันดับต้น ๆ (รายงานว่ามีมูลค่า 120 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในการก่อตั้ง UBTech ซึ่งเป็น บริษัท ที่มุ่งเน้นไปที่หุ่นยนต์ ซึ่งหุ่นยนต์ของ UBTech ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ Walker ซึ่งเป็นหุ่นยนต์สองเท้าที่เปิดตัวในงาน Consumer Electronics Show ปี 2018 ที่สามารถเดินลงบันไดได้เหมือนมนุษย์ 

และในบรรดา บริษัท เทคโนโลยีจีนที่รู้จักกันในชื่อ BAT (Baidu, Alibaba และ Tencent), Tencent มีส่วนร่วมในข้อตกลงและความร่วมมือด้าน AI มากที่สุด และการลงทุนด้าน AI ส่วนใหญ่นั้นอยู่ในสหรัฐอเมริกา

ซึ่งในความร่วมมือกับบริษัทในหลายอุตสาหกรรมรวมถึงกลุ่มยานยนต์ปักกิ่ง (BAIC) Tencent ลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยี AI เพื่อใช้ในยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยตนเอง

ในด้านอุตสาหกรรม Healthcare ก็เช่นกัน ที่ AI เป็นหลักสำคัญที่ Tencent ต้องวิจัยและพัฒนา ซึ่งจีนต้องการเป็นผู้นำระดับโลกด้านการแพทย์โดยใช้เทคโนโลยี AI 

สถาบันทางการแพทย์มากกว่า 38,000 แห่ง มีบัญชี WeChat และ 60% ของสถาบันเหล่านี้อนุญาตให้ผู้ป่วยจองนัดหมายออนไลน์ นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาล 2,000 แห่งที่รับชำระเงิน WeChat บริการเหล่านี้อนุญาตให้ Tencent รวบรวมข้อมูลผู้ผู้ป่วยที่มีค่าซึ่งจะช่วยในการฝึกอบรมอัลกอริทึมด้าน AI ให้มีความฉลาดมากยิ่งขึ้น

และในการเป็นหุ้นส่วนล่าสุดกับ Babylon Health ผู้ใช้ WeChat จะสามารถเข้าถึงผู้ช่วยด้านการดูแลสุขภาพแบบเสมือน Tencent ได้ลงทุนใน iCarbonX ซึ่งเป็น บริษัท ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาตัวแทนแบบดิจิทัลของแต่ละบุคคลเพื่อช่วยให้การแพทย์ส่วนบุคคลสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

ความพยายามด้านการวิจัยและพัฒนาภายในของ Tencent ทำให้เกิดการพัฒนาแพลตฟอร์ม AI ในการดูแลสุขภาพอย่าง Miying ที่เปิดตัวในปี 2017 แพลตฟอร์มนี้ช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพสามารถวินิจฉัยโรคมะเร็งประเภทต่างๆและวิเคราะห์รวมถึงจัดการบันทึกการดูแลสุขภาของผู้ป่วยได้

Tencent ถือเป็นผู้เล่นคนสำคัญในความทะเยอทะยานของจีนที่จะเป็นผู้นำด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในระดับโลก เนื่องจากในอนาคต AI จะเปลี่ยนอุตสาหกรรมในทุกประเภท และ Tencent กำลังก้าวนำเพื่อสร้างบริษัทให้แข็งแกร่งในอนาคตด้วยกลยุทธ์ Make AI Everywhere นั่นเองครับ

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน Podbean : 
https://tharadhol.podbean.com/e/geek-monday-ep18-tencent-make-ai-everywhere/

ฟังผ่าน Spotify : https://open.spotify.com/episode/17Wrb6NvMKdGsvQ0wLtHAF

ฟังผ่าน Youtube :
https://youtu.be/4-DZSIp9oFw

บินไปทำงานกันเถอะ! Startup เยอรมันเปิดบริการ Taxi บินได้

แท็กซี่บินได้ที่คุณสามารถสั่งผ่านแอพได้ ซึ่ง Startup เยอรมัน วางแผนที่จะทำให้ใช้งานได้จริงในอีกหกปีข้างหน้า Lilium ซึ่งเปิดตัวในมิวนิค ได้ทำการเปิดตัวต้นแบบแท็กซี่แท็กซี่ทางอากาศ 5 ที่นั่งในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา

โดย Lilium Jet ซึ่งดำเนินการบินครั้งแรกเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาเป็นส่วนหนึ่งของบริการแท็กซี่บินผ่านแอพที่ทาง บริษัท คาดว่าจะ “เปิดให้บริการเต็มรูปแบบในเมืองต่างๆทั่วโลกภายในปี 2568”

เจ็ตที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่สามารถเดินทางได้ 300 กิโลเมตร (186 ไมล์) ใน 60 นาทีต่อการชาร์จหนึ่งครั้งและจะเชื่อมต่อเมืองต่างๆผ่านเครือข่ายในการลงจอดเทียบท่า โดยผู้โดยสารจะสามารถจองเครื่องจากสถานที่ลงจอดที่ใกล้ที่สุดผ่านแอพบนสมาร์ทโฟน

Lilium ไม่ได้เปิดเผยว่าจะต้องเสียค่าบริการเท่าไหร่ แต่ได้อ้างว่ามันเท่า ๆ กับราคาของรถแท็กซี่ทั่วไป Remo Gerber เจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์ของ บริษัท บอกกับ CNN Business ว่ามันมีจุดมุ่งหมายเพื่อคนทั่วไปใช้ไม่ใช่นักธุรกิจผู้ร่ำรวย

มารับคุณถึงหน้าลาดจอดบนตึก ไม่ต้องกังวลรถติดอีกต่อไป
มารับคุณถึงหน้าลาดจอดบนตึก ไม่ต้องกังวลรถติดอีกต่อไป

“ วันนี้เรากำลังก้าวไปอีกขั้นเพื่อทำให้การโดยสารทางอากาศในเมืองให้เกิดขึ้นจริง” Daniel Wiegand ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ Lilium กล่าวในแถลงการณ์ “เราฝันถึงโลกที่ทุกคนสามารถบินได้ทุกที่ที่ต้องการเมื่อใดก็ตามที่พวกเขาต้องการ”ในการทำฝันให้เป็นจริง

บริษัท Lilium อาจจะต้องเจอคู่แข่งที่ใหญ่ที่สุดในธุรกิจนี้คือ Uber( UBER ) ที่ได้เป็นพันธมิตรกับ NASA โดยมีเป้าหมายในการเปิดตัวเครือข่ายแท็กซี่บินภายในปี 2566 เช่นเดียวกัน รวมถึงคู่แข่งยักษ์รายๆ  อื่น ๆ ที่มีการพัฒนาบริการเหล่านี้เช่นเดียวกัน ซึ่งนั่นรวมถึงโบอิ้ง ( BA )และโรลสรอยซ์ ( RYCEF ) ด้วย

Lilium ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2558 อ้างว่าเครื่องบินของตนสามารถ “เดินทางได้นานกว่าคู่แข่งส่วนใหญ่” บริษัทได้รับเงินลงทุนรวมกว่า  100 ล้านดอลลาร์ ซึ่งได้จาก Atomico, กองทุนรวมที่ลงทุนเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งนำโดยผู้ร่วมก่อตั้ง Skype อย่าง Niklas Zennström   และบริษัท เทคโนโลยียักษ์จากจีน คือ Tencent

References : 
https://edition.cnn.com/2019/05/16/tech/lilium-flying-taxi-germany/index.html?utm_medium=social&utm_source=twCNN&utm_content=2019-05-16T14:08:53