Geek China EP29 : Baidu Other Investments

• นอกเหนือจากธุรกิจ search engine, digital map, cloud, O2O, fintech, anti-virus ที่ได้เล่าไปใน EP 24-27 แล้ว ไป่ตู้ยังเริ่มมีการลงทุนขยายการลงทุนในด้านธุรกิจอื่น

• เมื่อ M&A สำเร็จ Baidu ก็จะกลายเป็นผู้นำในตลาด OTAในประเทศจีน และดีลนี้ก็สำเร็จในช่วงตุลาคม 2015 เมื่อไป่ตู้ swap หุ้นกับ Ctrip ก็จะถือประมาณ 19% share ใน Ctrip

• Ctrip เป็น OTA ที่ใหญ่ที่สุดในจีน มีรายได้มาจาก 3 ส่วนคือ การจองโรงแรม การจองตั๋วและการท่องเที่ยว ถึงแม้ qunar จะเก็บสะสม business resources มาหลายปี แต่ก็ไม่สามารถ เอาชนะ Ctrip ได้อย่างง่าย โดยเฉพาะในกลุ่มsegmentระดับบน

• ดังนั้นถ้าไป่ตู้รวม Ctrip กับ Qunar ได้ Baidu จะควบคุมตลาด OTAในจีนได้เกือบทั้งหมด ดังนั้นจากคู่แข่งระหว่าง Ctrip และ Qunar ก็มาจับมือกับกลายเป็นพันธมิตร ตอนนี้ ตลาด OTA เปลี่ยนการต่อสู่ระหว่างTencent, Alibaba และ Baidu

• นอกจากต้องการชนะ ในตลาด OTA แล้ว ปลายปี 2014 Baidu ก็ประกาศข่าวใหญ่ในด้านการลงทุนคือ ได้ลงทุนใน Uber กว่า 600 ล้าน USD โดยการแลกกับการถือหุ้นเป็นส่วนน้อย (minority stake) เพื่อที่จะต่อสู้กับ Tencent และ Alibaba ในตลาด ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเรียกจองรถยนต์

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/2XdFZO0

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/Eo7tefFCtYU

The Greate Cloud กับกฏหมายความปลอดภัยข้อมูลใหม่ ที่บริษัทเอกชนในจีนต้องย้ายข้อมูลไปยัง Cloud ของรัฐ

หลายคนน่าจะรู้จัก The Greate Firewall ของประเทศจีนเป็นอย่างดี ที่เป็นกำแพงเซ็นเซอร์ข้อมูลขนาดยักษ์ที่รัฐบาลจีน ใช้กรองข้อมุลในเรื่องความมั่นคงต่าง ๆ ที่ไหลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของประเทศจีน

แต่จากการออกมาปราบปรามครั้งใหญ่กับบริษัทเทคชั้นนำหลายแห่งในรอบ 10 เดือนที่ผ่านมาก ต้องบอกว่าก้าวต่อไปของรัฐบาลจีนนั้นมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก

ซึ่งกฏหมายความปลอดภัยข้อมูลใหม่ที่กำลังจะออกมานั้น เป็นการบังคับให้เหล่าบริษัทเอกชนย้ายข้อมูลจากบริการ cloud ของตนเอง เช่นในบริการของ Alibaba หรือ Tencent มายังระบบ Cloud ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล

เรียกได้ว่าเป็นการออกกฏหมายที่สร้างปั่นป่วนให้กับธุรกิจเทคโนโลยีของจีนอย่างต่อเนื่องเลยทีเดียว ซึ่ง เมืองแรกที่ได้ออกมาจัดการเรื่องนี้แบบเด็ดขาดก็คือเทียนจิน

เทียนจิน เมืองแรกที่จะมีการจัดการอย่างเด็ดขาด (CR:wikimedia.org)
เทียนจิน เมืองแรกที่จะมีการจัดการอย่างเด็ดขาด (CR:wikimedia.org)

โดยข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะถูกย้ายไปยังโครงสร้างพื้นฐานทางด้านดิจิทัลที่ควบคุมโดยคณะกรรมการกำกับและดูแลทรัพย์สินของรัฐ (Sasac) ภายในสองเดือนหลังจากสิ้นสุดสัญญาเช่าที่มีอยู่เดิม

“ข้อมูลของรัฐวิสาหกิจเป็นทรัพย์สินของรัฐและต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแล” เป็นคำประกาศที่ค่อนข้างมีท่าทีที่แข็งกร้าวจากรัฐบาลจีน

Sasac ดูแลบริษัทในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สุด 97 แห่งของประเทศจีน ซึ่งรวมถึง China National Petroleum Corporation , Baowu Steel และ China Mobile โดยดูแลทรัพย์สินประมาณ 70 ล้านล้านหยวน (10.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)

ซึ่งกฏหมายดังกล่าวที่ออกมานั้น ที่เริ่มด้วยเมืองเทียนจิน มีบทลงโทษที่รุนแรงมาก ๆ หากมีการละเมิด

มีค่าปรับสูงสุด 10 ล้านหยวนสำหรับเรื่องการถ่ายโอนข้อมูลไปยังต่างประเทศที่ไม่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลจีน ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ธุรกิจของประเทศจีนที่โดนเท่านั้น แต่ธุรกิจต่างชาติที่มาทำธุรกิจในประเทศจีนและเก็บข้อมูลผู้ใช้ชาวจีนก็โดนในลักษณะเดียวกัน

แน่นอนว่า มันส่งผลกระทบโดยตรงต่อหลาย ๆ ธุรกิจ ตัวอย่างเช่น Tesla ที่ได้รับเงินทุนจากการระดมทุนในต่างประเทศ ตอนนี้ Tesla ก็ต้องมีการปรับตัวให้มาเก็บข้อมูลภายในประเทศจีนเช่นเดียวกัน

หากวิเคราะห์กันจริง ๆเรื่องนี้ น่าจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานในประเทศจีนโดยตรง ซึ่งตลาดนี้มีการเติบโต 49.7% และมีมูลค่าตลาดสูงถึง 19.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีที่ผ่านมาก

สำหรับกลุ่มบริษัทที่ได้รับผลกระทบได้แก่ Alibaba ซึ่งเป็นผู้นำตลาดด้วยส่วนแบ่งการตลาด 40.6% รองลงมือคือ Tencent และ Huawei ที่ 11% ส่วน China Telecom มีส่วนแบ่งอยู่ที่ราว ๆ 8.7%

Alibaba Cloud ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดอาจโดนผลกระทบไปเต็ม ๆ (CR:Data Center Dynamics)
Alibaba Cloud ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดอาจโดนผลกระทบไปเต็ม ๆ (CR:Data Center Dynamics)

และเมื่อเดือนที่แล้ว หน่วยงานกำกับดูแลด้านโทรคมนาคมของเจ้อเจียง กล่าวหาว่า Alibaba Cloud ละเมิดกฏหมายความปลอดภัยทางไซเบอร์ของจีน ภายหลังการร้องเรียนเกี่ยวกับการรั่วไหลของข้อมูลในปี 2019

ซึ่ง ปัจจัยหลักและสำคัญที่สุดของความกังวลของรัฐบาลจีนนั้น น่าจะมาจากเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ที่บริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้เก็บข้อมูลสำคัญ ๆ ไว้จำนวนมหาศาล

และต้องบอกว่ามันมีข้อมูลบางส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐโดยตรง อย่างเคสของ Didi Chuxing ซึ่งได้ถูกเรียกสอบสวนหลังจากการทำ IPO ในตลาดหุ้นนิวยอร์ก เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

ต้องบอกว่าเป็นการรุกลุยหนักเลยทีเดียวนะครับสำหรับรัฐบาลจีน ในรอบ 10 เดือนที่ผ่านมา ยิ่งการเข้ามาจัดการเรื่องข้อมูลให้เก็บในระบบ cloud ของรัฐถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ๆ

เหมือนว่าเราทำธุรกิจ แต่สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลของเราไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะมีมือที่สามเข้ามายุ่มย่ามในข้อมูล ที่เราหามาได้จากธุรกิจ

และดูเหมือนว่า การบีบเข้ามาเรื่อย ๆ แบบนี้ของรัฐบาลจีน นั้น สุดท้ายเป้าหมายใหญ่ที่สุดของพวกเขา อาจจะเป็นการควบรวมแบบเบ็ดเสร็จ อาจจะเป็นของรัฐเลย 100% หรือ อยู่ในรูปแบบรัฐวิสาหกิจเหมือนกับหลายๆ กิจการยักษ์ใหญ่ในจีนตอนนี้ก็เป็นได้

ก็ต้องมาติดตามดูกันต่อไปนะครับว่าศึกระหว่างบริษัทเทคของจีน กับรัฐบาลที่มีอำนาจล้นฟ้าของประเทศจีนนั้น สุดท้ายจะเป็นเช่นไร แต่แน่นอนว่า ตอนนี้เหล่านักลงทุนต่างขวัญผวาไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากปัญหาเหล่านี้ ซึ่งได้กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับนักลงทุนที่คิดจะลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีของประเทศจีนไปแล้วนั่นเองครับผม

References : https://www.scmp.com/economy/china-economy/article/3146743/data-security-law-china-orders-state-firms-migrate-government
https://www.msn.com/en-in/news/world/now-china-asks-private-firms-to-migrate-data-to-government-run-cloud-services/ar-AANRN2n
https://www.reuters.com/technology/tianjin-asks-govt-firms-move-data-out-alibaba-tencent-clouds-document-2021-08-27/

Geek China EP14 : China Internet Landscape and Digital Giants Part 9

สำหรับใน EP 14 นี้จะมาย้อยเล่าเรื่องราวของยักษ์ใหญ่อย่าง Tencent 腾讯 (HKG: 0700) ในช่วงเวลาปี 2009-2015

ในยุคนี้มีการถือกำเนิดของตัวละครสำคัญในวงการ Digital ของจีน อย่าง Weixin (微信 เวย ซิ่น) หรือ WeChat ที่กลายเป็น Super App สำคัญของคนจีน
EP นี้ จะมาชำแหละการกำเนิดและวิวัฒนาการการกำเนิดของ 微信 WeChat ในยุคนี้อย่างละเอียด

• จุดเปลี่ยนที่สำคัญที่ทำให้ 微信 WeChat กลายมาเป็นปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิตของคนจีน จุดปฏิวัติวงการของ WeChat สิ่งนั้นเป็นอะไร
• ผลิตภัณฑ์ชูธงด้าน social network ของ Tencent ที่เกิดมาในยุคก่อนหน้าอย่าง QQ, QQ 空间 (Q Zone) จะตายไปในยุคนี้หรือไม่

ทั้งหมดติดตามได้ใน EP ที่ 14

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/36GyFfK

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/dAG_IQFu0DQ

Geek China EP9 : China Internet Landscape and Digital Giants Part 4

2001-2008 ช่วงยุคของอาณาจักรทางอินเตอร์เน็ตในประเทศจีนเริ่มแผ่ขยาย (ภาคต่อจาก EP8) เล่าต่อกับช่วงเวลาที่เริ่มแผ่ขยายอาณาจักรของ 3 ก๊กแห่งวงการอินเตอร์เน็ต หรือ The Three Kingdoms: BAT กำลังขยายกิจการในธุรกิจหลัก (Core business)

• Baidu 百度(NASDAQ: BIDU) ผู้บุกเบิกและผู้นำด้าน Search Engine ในจีน
• Alibaba 阿里巴巴 (NYSE: BABA/ SEHK:9988) ผู้บุกเบิกและผู้นำ eCommerce ของจีน
• Tencent 腾讯 (SEHK: 700) ยุคของการเป็นผู้บุกเบิกด้าน Instant messaging (IM) และผู้ครองส่วนแบ่งการตลาดใหญ่ในจีน

มาฟังเรื่องราวการสร้างและขยายธุรกิจแบบเต็ม ๆ ของ Alibaba และ Tencent ในช่วงเวลาปี 2001-2008 ใน EP9

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/2T25xIq

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/31fSqaP

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/gJWcvMicTNo

References Image : https://scioinfotech.com/?p=1463

Geek China EP8 : China Internet Landscape and Digital Giants Part 3

2001-2008 ช่วงยุคของอาณาจักรทางอินเตอร์เน็ตในประเทศจีนเริ่มแผ่ขยาย การกำเนิดและการนำไปใช้งานของอินเตอร์เน็ตจากยุคที่แล้วเริ่มทำให้ผู้คนในประเทศเปิดหูเปิดตามากยิ่งขึ้น ผู้คนสามารถเข้าถึงความรู้ ข้อมูลข่าวสาร สินค้าและบริการ

อีกทั้งเป็นยุคที่สร้างโอกาสแห่งผู้ประกอบการ (entrepreneurs) หลายต่อหลายคนที่ต้องการสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ต่อมา ภาคนี้จะเล่าต่อถึง กลุ่ม Web Portal ขนาดใหญ่ที่กำเนิดจากยุคก่อนหน้าและถือเป็นยุคที่ยิ่งใหญ่ของกลุ่มอำนาจเก่าอย่าง SNS คือ
• Sohu (NASDAQ: SOHU)
• Netease (NASDAQ:NTES)
• Sina (NASDAQ: SINA)

ก่อนที่จะค่อยๆแพ้ไปให้กับ 3 ก๊กแห่งวงการอินเตอร์เน็ต หรือ The Three Kingdoms อย่าง BAT
• Baidu (NASDAQ: BIDU)
• Alibaba (NYSE: BABA/ SEHK:9988)
• Tencent (SEHK: 700)

นอกเหนือจากการสร้างอาณาจักรอย่างดุเดือดของ BAT ยุคนี้เราจะได้พบกับการกำเนิดของบริษัททางอินเตอร์เน็ตที่เกิดในยุคนี้ ได้แก่
• Dianping (ยุคก่อนที่จะมีการรวมตัวกับ Meituan)
JD.com (NASDAQ: JD)
• Qihoo 360 (SHA: 601360)
• Tudou (ก่อนที่จะถูกรวมตัวกับ Youku)
• Youku (NYSE:YOKU)

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3o0xQoL

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3lVOvId

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/lxL4-kUFoe4

References Image : https://digiday.com/media/inside-chinas-triopoly-baidu-tencent-alibaba-dominate-market/