The Science Behind Social Networking กับเบื้องหลังชัยชนะครั้งสำคัญของ facebook ที่มีต่อ myspace

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นได้ตลอดเวลา  บริษัทที่สร้างเครือข่ายทางสังคมในออนไลน์ได้สร้างแพล็ตฟอร์มเหล่านี้ขึ้นมาก็เพื่อเป็นวิธีการทำงาน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความต้องการ ความคิดและนวัตกรรม แนวคิดของเครือข่ายสังคมออนไลน์นั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่นอกเหนือจากชีวิตแบบปรกติของมนุษย์เราที่มีมาอย่างยาวนาน

เป็นเวลาหลายศตวรรษแล้วที่เราได้เห็นว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์นั้น มีความเชื่อมโยงกับผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาทางวัฒนธรรมในมนุษย์ ซึ่งนี่คือหนึ่งในเหตุผลที่ การทำความเข้าใจวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังเครือข่ายสังคมเหล่านี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

เพื่อจุดประสงค์ดังกล่าว เราก็จะต้องเข้าใจว่าทำไม Facebook ซึ่งกลายมาเป็นผู้นำของเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่ถูกปลุกปั้นขึ้นมาจากหอพักที่มหาวิทยาลัย Harvard และสามารถดึงดูดความสนใจของผู้คนนับพันล้านคนทั่วโลก และยังช่วยรักษาความสัมพันธ์ที่มั่นคงให้กับเราทุกคนได้อย่างไร

Facebook และเว๊บไซต์ Social Media อื่น ๆ จะช่วยเชื่อมต่อคุณกับเพื่อนของคุณ ซึ่ง Facebook ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในปี 2005 โดย Mark Zuckerberg เริ่มแรก Zuckerberg และเพื่อนของเขา ได้สร้างสิ่งที่เรียกว่า “Facemash”

โดยเป็นการ hack ข้อมูลเพื่อดูดรูปภาพของทุกคนที่อาศัยอยู่ในหอพักของมหาวิทยาลัย Harvard เข้ามา และได้ทำการสร้าง เว๊บไซต์ เปรียบเทียบหน้าของผู้หญิง แล้วให้โหวต ว่าใคร hot สุด โดยจะทำการสุ่ม หน้าของสาว ๆ ไปเรื่อย ๆ แล้วทำการคำนวนผ่าน algorithm ที่เค้าคิดขึ้น

ด้วยการขยายแนวคิดนี้ Zuckerberg ได้สร้างเว็บไซต์เพื่อทำหน้าที่เสมือน หนังสือรุ่น หรือ “thefacebook” ของมหาวิทยาลัยขึ้นมาก่อนเป็นอันดับแรก

แต่ในเว๊บไซต์ของ Facebook นั้นการเชื่อมโยงกันระหว่างเพื่อนนั้นทำง่าย ๆ เพียงแค่ขอเป็นเพื่อนกับใครบางคน ผู้รับต้องยอมรับคำเชิญนั้น แนวคิดนี้ใหม่มากเพราะมีเพียงไม่กี่ เว๊บไซต์ ในยุคนั้น ที่ช่วยในการสื่อสารประเภทนี้ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ MySpace 

Adam Hartung ผู้ที่ให้ข้อมูลกับ Forbs กล่าวว่า “ MySpace ถูกกำหนดเป้าหมายไปที่ผู้ใช้งานที่เป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน และยังมีการทำการตลาดมาก่อน Facebook ซึ่งสถานการณ์ในตอนนั้น MySapce ได้สร้างความสนใจอย่างมหาศาล และสามารถสร้างมูลค่ามหาศาลได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเริ่มมีนักลงทุนสนใจเพิ่มมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ เครือข่ายสื่อยักษ์ใหญ่อย่าง News Corp

MySpace ที่เกิดก่อน และทุนหนากว่า แต่ก็พ่ายแพ้ให้กับน้องใหม่อย่าง Facebook
MySpace ที่เกิดก่อน และทุนหนากว่า แต่ก็พ่ายแพ้ให้กับน้องใหม่อย่าง Facebook

แล้วมันเกิดอะไรขึ้น ทั้งที่เป็นต่อทุกอย่าง เว๊บไซต์ที่ถูกสร้างขึ้นมาก่อน และมีทุนที่หนากว่าหลายเท่านัก ซึ่งการเข้ามาครอบครอง MySpace ของ News Corp นั้นได้พยายามปรับปรุง MySpace เพื่อเพิ่มกลุ่มผู้ใช้งานใน “ระดับมืออาชีพ” มากขึ้น เพื่อให้เป็นอนาคตของธุรกิจ ซึ่งนั่น เป็นหนึ่งในข้อผิดพลาดที่ร้ายแรงเมื่อต้องมาแข่งขันกับ Facebook ที่ปล่อยให้ตลาดเป็นตัวตัดสินใจว่าธุรกิจควรจะไปในทิศทางใด

และอีกเหตุผลสำคัญที่ Facebook สามารถเอาชนะ MySpace ได้ ก็เป็นเพราะแนวคิดของ Facebook ที่อนุญาตให้ผู้คนในเว็บไซต์สามารถที่จะเชื่อมต่อความสัมพันธ์กันได้แบบอิสระ และตระหนักว่าเหล่าผู้ใช้งานอาจต้องการเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงของพวกเขาในเว็บไซต์ และสามารถเชื่อมต่อกับครอบครัวและเพื่อน ๆ ของพวกเขาได้

โลกของ ​Facebook จึงพยายามรักษาความสัมพันธ์และทำงานภายใต้ทฤษฏีของ Triadic Closures ซึ่งเป็นทฤษฏีที่ถูกตั้งขึ้นมาในยุคของ Social Network โดยความหมายก็คือ การที่คนสองคนจะมีความรู้สึกสนิทสนมกันมากขึ้น ถ้าหากว่าพวกเขามีเพื่อนคนเดียวกัน ซึ่งมีการทดลองจากมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบียพบว่าผู้คนที่ใช้งาน Facebook มีโอกาสที่จะรับใครสักคนเป็นเพื่อนมากขึ้นถึง 80% ถ้าหากมีเพื่อนคนเดียวกันประมาณ 11 คน ทำให้อัตราการเติบโตของเว๊บไซต์ของ Facebook นั้นเร็วกว่า MySpace เป็นอย่างมาก

ซึ่งทฤษฏีนี้อาจกล่าวได้ว่า หากเรายิ่งมีเพื่อนร่วมกันมากก็ยิ่งพร้อมเปิดใจ ซึ่งถ้าหากคุณอยากชนะใจใครสักคน ให้ลองตีสนิทกับเพื่อนเขาดูก่อน แล้วให้เพื่อนช่วยเป็นคนกลางคอยแนะนำให้นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม MySpace ใช้แนวคิดตรงกันข้าม โดยไม่ปล่อยให้ผู้คนที่เกี่ยวข้องในระบบของพวกเขานั้นเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงของพวกเขาได้ เพราะ ​myspace มองว่าเราแทบจะไม่เคยรู้จักกันจริง ๆ คนที่มีเพียงความสนใจร่วมกัน แต่ไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ โดยตรงกับเรา มีโอกาสน้อยที่จะปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันได้ ซึ่งส่วนนี้นี่เองที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ myspace นั้นเติบโตช้ากว่า facebook

Zuckerberg รู้ว่าสิ่งที่เขาคิดค้นขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่มีพลังอย่างมหาศาล ดังนั้นจึงมีการอัพเดท Features ตลอดเวลา โดย Focus ส่วนที่ใช้ในการเชื่อมโยงผู้คน แม้แต่การแพร่กระจายของ Facebook จากฮาร์วาร์ดไปทั่วโลกก็เป็นเพราะการแพร่กระจายแบบปากต่อปาก ซึ่งเป็นประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ facebook ที่แทบจะไม่ต้องใช้เงินทำการตลาดใด ๆ เลยด้วยซ้ำ

ด้วยแนวคิดของ Facebook ทำให้สามารถเอาชนะ MySpace ไปได้ในท้ายที่สุด
ด้วยแนวคิดของ Facebook ทำให้สามารถเอาชนะ MySpace ไปได้ในท้ายที่สุด

Facebook ทำงานบนแนวคิดที่ว่าเมื่อคุณแนะนำตัวเองและโต้ตอบกับเพื่อน คุณจะสามารถ ‘คัดกรอง’ บุคคลนั้นได้หลังจาก ทำการค้นหาความสนใจและแนวความคิดของบุคคลนั้น ๆ ในโปรไฟล์ของบุคคลนั้น ซึ่งหากข้อมูลที่นำเสนอในโปรไฟล์แสดงความไม่ลงรอยกันกับบุคคลที่อ่านข้อมูล ผู้อ่านก็จะไม่สนใจและไม่ติดต่อกับบุคคลนั้น ๆ ในที่สุดนั่นเอง

และดูเหมือนบทเรียนในครั้งนี้ของ MySapce นั้น แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจธรรมชาติของเครือข่ายสังคมออนไลน์ของ Mark Zuckerberg ที่ทำให้เขาสามารถเลือกใช้วิธีบริหารจัดการบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ของเขาได้ก่อนนั่นเอง

และเนื่องจากการที่ Facebook นั้น ไม่มีกฎ ไม่มีแผนใด ๆ ไม่มีตลาด ไม่มีการพยากรณ์ล่วงหน้า ไม่พยายามฉลาดกว่าผู้ใช้เพื่อพิจารณาว่าพวกเขาไม่ควรทำอะไร ไม่มีอคติ ทางความคิดให้ซึ่งทำให้กลายเป็นข้อจำกัดได้ และมุ่งเน้นธุรกิจไปข้างหน้าได้ มันก็ทำให้เราได้เห็นภาพของ Facebook ที่มีผู้ใช้งานหลายพันล้านคนทั่วโลกอย่างในทุกวันนี้ได้นั่นเองครับผม

References : https://blogs.cornell.edu/info2040/2017/09/15/the-science-behind-social-networking-and-why-myspace-lost-to-facebook/
https://www.forbes.com/sites/adamhartung/2011/01/14/why-facebook-beat-myspace/#645304b0147e
http://dujs.dartmouth.edu/2011/02/the-science-behind-social-networking/#.WbvxW2VeBo4

Digital Propaganda เมื่อเราทุกคนกำลังตกเป็นเหยื่อ Bias Algorithm ของ Social Network

Propaganda หรือ การโฆษณาชวนเชื่อต้องบอกว่าเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับโลกของเรามาอย่างยาวนานมากแล้ว แต่ตอนนี้ มันกำลังวิวัฒนการใหม่ผ่านรูปแบบของข้อมูล Digital ที่เกิดขึ้นในโลกของ Social Platform ต่าง ๆ ที่รายล้อมอยู่รอบตัวเราในปัจจุบัน

ที่ผ่านมาการ โฆษณาชวนเชื่อนั้น มีทั้งสิ่งที่ดี และ สิ่งที่เลวร้าย กับผลที่ตามมา ซึ่ง ผลของ Propaganda ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดน่าจะเป็น การโฆษณาชวนเชื่อครั้งใหญ่ ครั้งแรกของรัฐบาลเยอรมนี หลังการพ่ายแพ้ของเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

Hitler ได้ใช้ทฤษฎีการโฆษณาชวนเชื่อของเขาซึ่งเป็นฐานที่ทรงพลังสำหรับการขึ้นสู่อำนาจในปี พ.ศ. 2476 ซึ่งโฆษณาชวนเชื่อที่ถูกกรอกใส่หูประชาชนชาวเยอรมนี อย่างบ้าคลั่งในช่วงนั้น ผ่านสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น TV หรือ วิทยุ ถูกผลิตโดยกระทรวงการโฆษณาชวนเชื่อของประชาชนภายใต้การนำของ โจเซฟ เกิ๊บเบลส์

และเมื่อโลกของเราหมุนไปอย่างรวดเร็ว ตอนนี้สื่อที่มีบทบาทหลักในการชี้นำความเห็นของประชาชน ได้กลายมาเป็นแพลตฟอร์มที่อยู่บนโลกออนไลน์ ที่มี Impact สูงต่อสังคมมากกว่าสื่อในยุคเดิมอย่าง TV หรือ วิทยุ ไปเสียแล้ว

แต่ปัญหาใหญ่ของแพลตฟอร์มเหล่านี้ โดยเฉพาะ Social Network นั่นก็คือ Bias Algorithm ซึ่งแน่นอนว่า บรรดา Feed ต่าง ๆ ที่ส่งมาให้เราในโลก Social นั้นส่วนใหญ่ จะเสนอในสิ่งที่เราชอบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี สำหรับ สินค้า และ บริการ ที่เลือกสิ่งที่เหมาะสมกับเรามาให้เสพผ่าน Feed

แต่ตรงข้ามเลย ในเรื่องแนวคิดทางการเมือง เพราะการได้แนวคิดผ่าน Bias Algorithm เหล่านี้นั้น จะทำให้เราถูก Propaganda หรือ การโฆษณาชวนเชื่อ จากแนวคิดของพรรคการเมืองต่าง ๆ หรือแนวความคิดทางการเมืองต่าง ๆ ได้ง่ายดาย ยิ่งขึ้นมาก ๆ โดยใช้เงินลงทุนที่ต่ำมาก ๆ เมื่อเทียบกับสื่อยุคเดิมอย่าง TV หรือ วิทยุ

ซึ่งที่ผ่านมาเราจะได้เห็นถึงความสุดขั้วทางการเมือง ที่เปลี่ยนใครหลาย ๆ คนให้คิดแบบสุดขั้วมากมาย ทั้งนักวิชาการชื่อดัง อาจารย์มหาลัยชื่อดัง หรือ อีกหลากหลายคนบนโลก Social Network ที่ถูก Digital Propaganda จนแสดงออกมาได้แบบสุดขั้วอย่างที่เราได้เห็นในข่าว หลาย ๆ ครั้ง

เพราะพวกเขาเหล่านั้น ในตอนนี้ เมื่อมาอยู่บนแพลตฟอร์มโลกออนไลน์ แล้วนั้น ก็อาจจะถูก Bias Algorithm ของ Social Network พาไปในโลกของความเห็นทางการเมืองแบบสุดขั้ว และ เจอแต่คนที่มีแนวคิดเดียวกันเท่านั้น ทำให้กลายเป็นว่าเชื่อในทุกข้อมูลที่ถูก feed ผ่านเข้ามาใน Social Network เพราะเป็นสิ่งที่พวกเขาชอบ พวกเขาอยากได้จริง ๆ นั่นเอง

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดน่าจะเป็นเรื่องของ Cambridge Analytica ที่แสดงให้เห็นถึง พลังของ Digital Propaganda ว่าทรงพลังมากแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ หรือ Campaign Brexit ของประเทศอังกฤษ ที่แสดงให้เห็นถึงพลังของ Digital Propaganda เหล่านี้ ว่ากำลังมีบทบาทที่สำคัญโดยเฉพาะในเรื่องของความคิดเห็นทางด้านการเมืองในปัจจุบัน

เพราะฉะนั้น เมื่อเราอยู่ในแพลตฟอร์มเหล่านี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราจะต้องตั้งสติให้มากขึ้นกว่าเดิม รับฟังความเห็นที่หลากหลายขึ้น แม้จะขัดใจเรามากมายขนาดไหน (ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากมาก ๆ ) ในการเสพสื่อจากโลก Online Platform เหล่านี้นั่นเองครับผม

Image References : https://www.pexels.com/photo/graffiti-obey-propaganda-pattern-san-diego-18945/

Tiktok กับความเสี่ยงที่จะโดนเซ็นเซอร์จากรัฐบาลจีน

จาก Feed ของ Instagram, Twitter หรือ Facebook ในการค้นหาเรื่องการประท้วงที่ฮ่องกง เราจะได้เห็นวิดีโอของนักประท้วงที่แฝงตัวอยู่หลายคนในเมืองจีน เช่นเดียวกับการโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลหรือภาพตำรวจที่ยิงสาดผู้ประท้วงด้วยสเปรย์พริกไทย

ทำให้การค้นหาเดียวกันกับวิดีโอบนแอพพลิเคชั่นชื่อดังอย่าง TikTok ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน แม้ว่าและเราจะอาจไม่ทราบว่ามีการประท้วงทั้งหมดทุกแห่งก็ตาม โดย TikTok ซึ่งเจ้าของคือ ByteDance ดูเหมือนจะต้องทำตามนโยบายของรัฐบาลจีน และแน่นอนว่านี่เป็นตัวอย่างที่น่ากลัวของวิธีการที่สื่อสังคมออนไลน์ สามารถจัดการรูปแบบของการควบคุมทางสังคมที่มีอยู่จริงได้สำเร็จ

นักวิจัยมีความกังวลว่าจีนจะทำการตัดผู้ใช้ภาษาจีนของแอปเพื่อบีบเหล่ากลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงและยับยั้งการแพร่กระจายไปยังทั่วโลกของข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการประท้วง ตามที่ วอชิงตันโพสต์เสนอ  โดยการประท้วงในฮ่องกงครั้งแรกจุดประกายเมื่อสามเดือนที่ผ่านมาในการต่อต้านการกฏหมายการส่งผู้ร้ายข้ามแดน แต่การประท้วงได้เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อเรียกร้อง “ประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ” และการแสดงความรับผิดชอบของตำรวจ

ByteDance ปฏิเสธที่จะพูดคุยกับ วอชิงตันโพสต์ เกี่ยวกับ“ ความเป็นอิสระจากการเซ็นเซอร์ในปักกิ่ง” โดยเป็นการออกแถลงการณ์ที่อ้างว่าแอปนั้นเป็น “สถานที่เพื่อความบันเทิงไม่ใช่การเมือง”

นั่นเป็นข้อเรียกร้องที่น่าสงสัย แอปนี้เป็นหนึ่งใน “การส่งออกของสื่อสังคมออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดของแอปที่มาจากประเทศจีน” โดยปัจจุบันติดตั้งบนโทรศัพท์กว่า 1.3 พันล้านเครื่องทั่วโลก

ไม่ว่านักพัฒนาแอพจะวางแผนหรือไม่ก็ตามโซเชียลมีเดียยังคงส่งเสียงต่อสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองและสังคมทำให้ประชาชนในประเทศที่ถูกเซ็นเซอร์มากที่สุดและภูมิภาคต่าง ๆ พยายามที่จะส่งต่อความเชื่อของพวกเขาไปสู่ผู้ชมที่มีอยู่ทั่วโลก 

แต่ปัญหาเดียวก็คือ: นักพัฒนาเหล่านี้นั้นสามารถตัดสินใจที่จะคลิกปุ่มปิดได้ทันทีหากถูกกดดันจากรัฐบาลจีน ตามรายงานของวอชิงตันโพสต์ แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะบอกว่าเนื้อหาใดถูกเซนเซอร์โดย TikTok บ้าง ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอของการประท้วงหรือคำพูดสร้างความเกลียดชังต่าง ๆ ในแอป  ซึ่งการขาดหายไปของวิดีโอประท้วงของฮ่องกงอาจเกิดจากความกลัวของผู้ใช้ว่ารัฐบาลจีนนั้นกำลังติดตามเนื้อหาภายในแอปอย่างใกล้ชิด

ซึ่งการดำเนินงานและนโยบายของ TikTok ในเรื่องนี้นั้น ได้ก่อให้เกิดความกังวลใจสำหรับผู้ใช้แอพที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งวิธีการเซ็นเซอร์แบบเดียวกันนี้ สามารถขยายขอบเขตการตรวจสอบไปยังผู้ชมทั่วโลก ที่ต้องบอกว่า TikTok กำลังมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ใช้งานทั่วโลกในขณะนี้นั่นเองครับ

References : https://www.washingtonpost.com

TikTok vs Facebook The Social War

หากคุณไม่เคยได้ยินแอปโซเชียลมีเดียน้องใหม่อย่าง TikTok ที่ออกแบบมาสำหรับการแชร์ วีดีโอ Viral นั้น ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่วัยรุ่นทั่วโลกในขณะนี้ ถือว่าเป็นคนที่ตก เทรนด์เป็นอย่างยิ่ง

นอกจากนี้ TikTock ยังเป็นคู่แข่งรายใหญ่รายแรกนับตั้งแต่ Snapchat ที่มาขัดขวางตลาดที่ครอบงำโดย Facebook แต่เพียงผู้เดียวมานานแสนนานในตลาด App ทางด้าน Social Network การให้บริการมาเพียงแค่สามปีเท่านั้น แถมยังมาพร้อมกับปัญหาเรื่องของข้อมูลส่วนบุคคล ที่ถูกรายงานออกมาเป็นจำนวนมาก 

TikTok เป็น App จีนที่รอดจากการลงโทษของหน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐในเดือนกุมภาพันธ์เมื่อหลังจากทำการรวมเข้ากับแอพ Musical.ly  ในเดือนสิงหาคม ซึ่งทำให้ถูกฟ้องโดยคณะกรรมาธิการการค้าของสหรัฐฯโดยมีโทษปรับสูงสุด 5.7 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นโทษทางแพ่งที่ใหญ่ที่สุด ในเรื่องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน

การร้องเรียนของ FTC กล่าวว่า Musical.ly ไม่ได้ขอความยินยอมจากผู้ปกครองก่อนมีการรวบรวมชื่อที่อยู่อีเมลและข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ และตั้งข้อสังเกตว่า “มีรายงานข่าวว่ามีผู้ใหญ่ที่ใช้งานพยายามติดต่อกับเด็ก ๆ ผ่านทางแอพ Musical.ly”

TikTock นั้นถูกสร้างโดย ByteDance ในประเทศจีนเมื่อต้นปี 2559 TikTok ได้ถูกดาวน์โหลดไปแล้วกว่า 1 พันล้านครั้งทั่วโลกซึ่งเหนือกว่าทั้ง Facebook และ Instagram ในสถิติยอดแอพที่ถูกติดตั้งเมื่อปีที่แล้ว

TikTok ถูกสร้างโดย ByteDance ภายในระยะเวลาไม่ถึง 3 ปี
TikTok ถูกสร้างโดย ByteDance ภายในระยะเวลาไม่ถึง 3 ปี

TikTok ถูกดาวน์โหลด 663 ล้านครั้งทั่วโลกเมื่อปีที่แล้วเปรียบเทียบกับ Facebook ที่มีการดาวน์โหลด 711 ล้านครั้งในปีที่แล้วและ Instagram มีการดาวน์โหลดถึง 444 ล้านครั้ง และตัวเลขดังกล่าวยังคงเป็นปัญหาอยู่: TikTok มีการ Install เพิ่มขึ้น 188 ล้านครั้ง ในไตรมาสแรกของปีนี้และครองตำแหน่งสูงสุดอีกครั้งในแอพเครือข่ายสังคมออนไลน์ 

ตัวเลขของ TikTok นั้นน่าประทับใจเป็นพิเศษไม่ใช่เพียงเพราะ TikTok เป็น บริษัท เล็ก แต่เป็นเพราะพวกเขาไม่รวมการติดตั้งมากับเครื่อง Android เหมือนที่หลาย ๆ บริการในประเทศจีนทำ หมายความว่าจำนวนการดาวน์โหลดจริงนั้นสูงกว่านี้มาก TikTok เรียกว่า Douyin ในประเทศจีนเป็นปรากฏการณ์ในประเทศที่ทั้ง Facebook นั้นต้องจับตามอง

นอกจาก ByteDance ซึ่งเป็นเจ้าของ TikTok กลายเป็น บริษัท Startup ที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยมีมูลค่ามากกว่า Uber โดยมีมูลค่าสูงถึง 78 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีการระดมทุนจากนักลงทุนที่มีชื่อเสียงระดับโลกบางรายรวมถึง SoftBank ในกลุ่มญี่ปุ่น (รวมถึงนักลงทุนใน Uber เองด้วย)

TikTok แซงหน้า Uber กลายเป็น Startup อันดับหนึ่งของโลก
TikTok แซงหน้า Uber กลายเป็น Startup อันดับหนึ่งของโลก

อย่างไรก็ตาม TikTok ได้ถูกรายงานจากหน่วยงานกำกับดูแลของรัฐบาลและผู้ปกครองเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

ในแถลงการณ์จาก TikTok กล่าวว่า พวกเขาจะแบ่งผู้ใช้ตามความเหมาะสมของอายุ แต่นักวิจารณ์กล่าวว่าไม่มีทางที่จะทำให้แน่ใจว่าเรื่องดังกล่าวนั้นเป็นความจริง 

ในอังกฤษ TikTock เข้ามาทำตลาดในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งกลุ่มองค์กรการกุศลแห่งชาติของอังกฤษเพื่อป้องกันการทารุณกรรมเด็ก ได้ทำการสำรวจเด็กนักเรียน 40,000 คนและค้นพบว่าหนึ่งในสี่ของพวกเขารู้สึกประหลาดใจกับคนแปลกหน้า เด็กนักเรียนหนึ่งใน 20 คนกล่าวว่าพวกเขาถูกขอให้ถอดเสื้อผ้าผ่าน App TikTock ตามข้อมูลจาก NSPCC

TikTok ไม่ใช่แอปโซเชียลมีเดียตัวแรกที่เข้ามาถกเถียงกันเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ๆ แต่ในขณะที่ยักษ์ใหญ่โซเชียลมีเดียเช่น Facebook กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่ Platform ที่เน้นความเป็นส่วนตัวมากยิ่งขึ้น

นั่นหมายความว่าข้อมูลสามารถส่งผ่านไปได้เร็วเกินไป – เหตุผลหนึ่งว่าทำไมอินเดียซึ่งมีสัดส่วนถึง 25 เปอร์เซ็นต์ของการดาวน์โหลดแอป Tiktok ได้สั่งแบนแอปชั่วคราวเมื่อเดือนที่แล้วเพราะกลัวว่าเนื้อหาลามกอนาจารภายใน App นั้นจะถูกเปิดเผย อย่างไรก็ดีสุดท้ายศาลอินเดียยกเลิกคำสั่งห้ามไม่ให้ใช้แพลตฟอร์มนี้ในภายหลัง 

References : 
https://www.cbsnews.com/news/tiktoks-most-downloaded-app-beating-facebook-and-instagram-but-its-popularity-comes-with-data-privacy-concerns/

Failed Startup Stories : Yik Yak Connect with the people around you

ต้องบอกว่ามาด้วย concept ง่าย ๆ เลยสำหรับ social network น้องใหม่ในขณะนั้นอย่าง Yik Yak โดยใช้ concept ง่าย ๆ คือ “a location-based social network that helps you connect with the people around you” ซึ่งในกระแสที่ social network เจ้าใหญ่ได้ยึดครองตลาดไปแทบจะหมดแล้ว ก็ได้เกิดบริการที่ simple คือ ช่วยคุณติดต่อคนรอบกายคุณ ซึ่งเหมือนจะ idea ที่ดีนะ เพราะ facebook ก็เน้นไปในแนว social ขนาดใหญ่ ทั้งครอบครัว เพื่อน เพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นสังคมใหญ่รอบตัวเรามากกว่า แต่ Yik Yak focus ที่ community ขนาดเล็ก ๆ แต่อยู่ใกล้ตัวเราจริง  ๆ ผ่าน location based

ประวัติ Yik Yak

Yik Yak นั้นเริ่มต้นด้วย co-founders สองคนคือ Tyler Droll และ Brooks Buffington ทั้งสองนั้นจบการศึกษาจาก Furman University ใน South Carolina ทั้งคู่เริ่มรู้จักกันตอนเรียน class ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมบนระบบ IOS

หลังจากได้จบการศึกษา ทั้งคู่ได้ตัดสินใจที่จะเริ่ม project Yik Yak แบบ full time โดยที่ Droll นั้นได้ลาออกจาก medical school ก่อนที่โปรเจคนี้จะเริ่มต้นขึ้น ส่วน Buffington นั้นก็หยุดเส้นทางอาชีพด้านการเงินของเค้าไว้ก่อนเพื่อมา focus project นี้ และได้เพื่อนร่วมทีมเพิ่มอีก 1 คนคือ Will Jamieson  โดยพวกเค้าได้ทำ app เสร็จและทำการ Release ใน เดือนพฤษจิกายน ปี 2013

หลังจากนั้นเพียง 12 เดือน Yik Yak ก็ขึ้นสู่อันดับ 9 ของหมวด social media app ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งผลตอบรับในช่วงแรกนั้นเป็นไปอย่างน่าพอใจ และได้ทำการพัฒนา features มาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีกระแสของการทำให้เกิด “cyberbullying” ขึ้นใน apps ก็ได้พัฒนาปรับปรุง features เพื่อลดทอนคำวิจารณ์ของ app เหล่านี้

Funding

Yik Yak นั้นได้รับการลงทุนครั้งแรกโดย Atlanta Ventures ซึ่งมี office อยู่ใน Atlanta Tech Village ในเดือนเมษายนปี 2014 นั้นทางบริษัทได้ประกาศว่าได้รับทุนมูลค่ากว่า 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐจาก หลายบริษัทด้านการลงทุน เช่น Vaizra Investments , DCM , Kevin Colleran และ Azure Capital Partners ซึ่งใช้เวลาเพียง 5 เดือนหลังการ Release ของ Yik Yak  ซึ่งในขณะนั้นมีความตั้งใจที่จะขายตลาดไปทั่วทั้งสหรัฐ และ ทั่วโลก เนื่องจาก apps เริ่มมีกระแสปากต่อปาก ทำให้ยอดดาวน์โหลดสูงมาก

ซึ่งหลังจากนั้นเพียง 2 เดือนหลังจากได้รับเงินทุนรอบก่อน Yik Yak ก็ได้รับเงินทุนเพิ่มเพื่อไปขยายธุรกิจ รวมถึงพัฒนา features จำนวนกว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐ จากนักลงทุนกลุ่มเดิม และเพิ่มด้วยนักลงทุนกลุ่มใหม่คือ Renren Lianhe Holdings และ Tim Draper ที่เริ่มมั่นใจว่าจะสามารถแจ้งเกิดกับบริการ social media น้องใหม่นี้ได้อย่างแน่นอน

ด้วยการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ในปี 2014 ก็ได้รับความสนใจจาก บริษัทด้านการลงทุนยักษ์ใหญ่อย่าง Sequoia Capital ที่ให้เงินลงทุนจำนวนถึง 60 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้มูลค่ารวมของ Yik Yak พุ่งสูงขึ้นถึง 350 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากเพิ่ง launch product มาได้แค่ปีเดียวเท่านั้น

Features เด่น ๆ ของ Yik Yak

  • Yakarma : Yakarma นั้นเป็น score เพื่อใช้วัด ความสำเร็จของ user โดยรูปแบบของ score โดยจะมีการขึ้นลงขึ้นอยู่กับการตอบรับจาก users คนอื่น ๆ ซึ่งการเปลี่ยนค่าของ Yakarma นั้นขึ้นกับ จำนวน upvotes , downvotes จำนวนของ replies รวมถึง comments ที่เกิดขึ้นจาก post ของ user
  • Upvote/Downvote :  Upvote และ Downvote นั้นจะมีผลกระทบต่อ rating ของ user ที่มีการให้ Yak ซึ่ง post ของ user จะได้ความนิยมก็ต่อเมื่อได้รับ upvote มากกว่า downvote ซึ่งจะมี score ขึ้นด้านข้างของ vote และหาก score มีค่าถึง -5 คือ downvote มากกว่า upvote เยอะเกิน 5 post นั้นๆ  ก็จะถูกลบอย่างถาวร
  • Peek :  function “peek” นั้นจะอนุญาติให้ user สามารถมองเห็น commutiny feed ของ Yik Yak อื่นได้  โดยในค่าตั้งต้นนั้น user สามารถ peek ได้เพียงใน สหรัฐ และ International Colleges เท่านั้น  แต่หลังจากได้มีการ update version ในเดือนตุลาคม ปี 2014 user ก็สามารถที่จะ peek ไปยังทุก colleges  หรือ ทุก ๆ เมืองในโลกได้ เป็นการปลดล็อกในที่สุด  แต่จะไม่สามารถ vote หรือ post ใน community นั้นๆ  ได้ user จะสามารถ post ใน local community ได้เท่านั้น
  • Photos : สำหรับ Features นี้นั้น จะให้ user ได้ใส่รูปภาพลงใน Yaks Community ของตนเองได้ ซึ่งได้จำกัดรูปโดยรูปต้องไม่ผิดกฏหมาย หรือ มีเนื้อหาของรูปที่ไม่เหมาะสม และ รูปที่แสดงใบหน้านั้นจะแสดงใน local feed เท่านั้น  และมีในส่วนของ  photo collections ซึ่งจะโชว์ รูปยอดนิยม ที่อัพโหลดจากผู้ใช้ใน location นั้น ๆ 
  • Hidden Features : Yik Yak จะมี features ของการกรองคำที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม และจะมีการเตือนไปยัง user ก่อน แต่หาก user ยังยืนยันที่จะทำการ post ข้อความที่ไม่เหมาะสมเหล่านั้น ก็จะถูกลบออกโดย moderators ของระบบ  และ post ที่มีเบอร์ มือถือ นั้นจะไม่สามารถ post ได้

สุดท้ายก็ต้องปิดบริการ

ปัญหาใหญ่ที่สุดของหลาย social network คือ ปัญหา “cyberbullying” ซึ่ง Yik Yak เป็น social media ที่ based on location ทำให้ปัญหานี้ยิ่งรุนแรงขึ้นไปอีก หลาย  ๆ โรงเรียนทำการ แบน app Yik Yak

ในเดือนพฤษภาคม ปี 2015 Father Michael Engh ประธานของ Santa Clara University ได้ทำการออกแถลงการณ์ หลังจากพบปัญหาการเหยียดผิวมากมายบน app Yik Yak ซึ่งเขาได้กล่าวในแถลงการณ์ไว้ว่า “คำพูดที่แสดงความเกลียดชัง หรือ Hate Speech นั้น ไม่ควรที่จะสับสนกับ Free Speech ใน santa clara university เพราะเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีในชุมชมของชาว santa clara ซึ่งความเห็นที่เป็นอันตรายต่อบุคคล หรือ กลุ่มบุคคลใดนั้น จะก่อให้เกิดความแตกแยก ความหวาดระแวง และความสงสัยกัน”  ซึ่งข้อสรุปนี้เป็นการโต้เถียงเรื่องปัญหา “cyberbullying” รวมถึงปัญหาการเหยียดผิวภายใน app social media ดังกล่าว

และในเดือนตุลาคุม ปี 204 สำนักพิมพ์ online ชื่อดังอย่าง The Huffington Post นั้นได้ทำการเสนอบทความโดย Ryan Chapin ว่าด้วยเรื่องของ “ทำไมมหาลัยของคุณถึงต้องทำการ Ban app Yik Yak”  ซึ่งในบทความได้อ้างการส่งข้อความที่ไม่ระบุตัวตนของ Yik Yak นั้น เป็นแหล่งที่มาของบทสนทนา ที่ไม่เป็นประโยชน์หรืออาจเป็นอันตรายต่อชุมชม และเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจถึงที่สุด

ซึ่งทาง Yik Yak ก็ไม่ได้เฉยเมยต่อปัญหาดังกล่าว ที่เริ่มเกิดขึ้นทั่วประเทศ โดย Droll และ Buffington ได้พัฒนาส่วนของ Geofence โดยทำงานใน backgroud เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว และได้รับความช่วยเหลือจากบริษัท Maponics ในการกำหนดขอบเขตในการเล่น ซึ่ง บริษัท Maponics นั้นมีฐานข้อมูลของแผนที่กว่า 85% ของโรงเรียนมัธยมของประเทศ ซึ่งทำให้สามารถป้องกันการเข้าถึง app Yik Yak ในพื้นที่เหล่านั้นได้

ซึ่งหากมีการเปิดใช้งาน app Yik Yak ในพื้นที่เหล่านั้น จะมีข้อความเตือนขึ้นมาว่า “คุณกำลังพยายามใช้ Yik Yak ในโรงเรียนมัธยม หรือ บริเวรณโรงเรียนมัธยม”  โดย Yik Yak นั้นจะเหมาะสำหรับผู้ที่เรียนมหาลัยขึ้นไป ซึ่งการเปิดเผยจากสื่อนั้น ทำให้กระทบต่อจำนวนผู้ใช้งานของ app จำนวนมาก ทำให้เริ่มมีคนใช้ลดลง และพ่อแม่ผู้ปกครองก็เริ่มกันห้ามลูกเล่น app Yik Yak

ถึงจะมีภาพลบเป็นส่วนมาก แต่ก็มีส่วนดี ๆ ของ Yik Yak เช่นกัน มีงานวิจัยที่ระบุว่า Yik Yak นั้นสามารถใช้ในทางที่ดีได้คือ ไว้ค้นหาความแตกต่าง ทางชาติพันธ์ หรือ อัตลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อสร้างความรู้สึกร่วมในชุมชน หรือ ในมหาลัยวิทยาลัยให้เกิดขึ้นได้ Yik Yak นั้นให้สิทธิ์ ให้เสียงกับกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ให้บทบาทในมหาลัยหรือชุมชนมากยิ่งขึ้น

และในปี 2015 นั้น Yik Yak ยังได้รับความสนใจในการช่วยป้องกันเหตุฆ่าตัวตายที่มหาวิทยาลัย William and Mary ซึ่ง Yik Yak ได้รับการยกย่องเกี่ยวกับการช่วยป้องกันเหตุฆ่าตัวตาย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การช่วยผู้คนในชุมชนนั้นได้ share ความช่วยเหลือ รวมถึงในหลาย ๆ case ก็ได้รับความสนับสนุนในการขอความช่วยเหลือผ่านทาง app Yik Yak เพื่อไม่ให้ฆ่าตัวตาย

จากปัญหาที่รุมเร้าเข้ามามากมาย  ในช่วงปี 2016 จำนวนผู้ใช้ของ Yik Yak นั้นลดลงถึง 76% จากผู้ใช้งานในปี 2015  และในเดือนธันวาคม ของปี 2016 นั้น Yik Yak ได้ปลดพนักงานออกไปกว่า 60% ทีมงานด้าน community , การตลาด , designer รวมถึง ทีมงานที่เป็น engineer ที่ทำตัว production ของ app นั้น ได้รับผลกระทบจากการ lay-off พนักงานแทบจะทั้งหมด ซึ่งปัญหาหลักที่สื่อหลาย ๆ แห่งรายงานตรงกันคือ social network ใด ๆ ที่ไม่มีการเปิดเผยผู้ใช้งานจริง เช่นเดียวกับ Yik Yak นั้นจะมีศักยภาพในการทำให้เกิดปัญหา “cyberbullying” ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของหลายๆ  ชุมชนในปัจจุบัน

ซึ่งสุดท้ายแล้วในเดือนเมษายน ปี 2017 นั้น Yik Yak ก็ต้องประกาศปิดอย่างเป็นทางการ ซึ่งหลังจากมีการออกข่าวไป ก็ทำให้มีผู้ใช้งานอย่างลดลง และ แอป ก็ได้หยุดทำงานจริง ๆ ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2017 ซึ่งถือเป็นจุดสิ้นสุดของ Yik Yak ในตลาด social network

สรุป

จะเห็นได้ว่าตัวอย่างของ Yik Yak นั้นเป็น app ที่มี idea ที่เจ๋งมาก ๆ และสามารถพัฒนาจนคนใช้ติดได้สำเร็จ และเริ่มมีการเติบโตของผู้ใช้อย่างรวดเร็วในเวลาเพียง 1 ปี หลังจากทำการ Release ซึ่งปัญหาที่ตามมานั้นเหล่า co-founder ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ คอยแก้ไขปัญหา เพื่อให้ user กลับมาใช้งานได้สะดวกใจอีกครั้ง แต่ปัญหาอย่าง Cyberbullying หรือ การเหยียดผิวนั้น เป็นปัญหาที่ร้ายแรง ซึ่งหาก app นั้นถูกมองในแง่ลบแล้วนั้นก็ยากที่จะกู้ชื่อเสียงคืนมา ซึ่งการที่จะทำ app ให้คนใช้ติดนั้นไม่ยากอย่างที่ Yik Yak ทำได้ แต่การที่ไม่คิดถึงปัญหาที่ครอบคลุมกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับ Features ที่มีใน app  ก็ทำให้ Yik Yak ก็ต้องจบเส้นทางของธุรกิจไปอย่างรวดเร็วได้เช่นกัน

References : en.wikipedia.org,startuphook.com,hyunjinp.wordpress.com,www.wyff4.com,www.slideshare.net